เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
รวม้รื่อง สังโยชน์ พุทธวจน
หนังสือพุทธวจนออนไลน์   ดูหนังสือทั้งหมด
90 90 90 90 90
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์  
   
ค้นหาคำที่ต้องการ              

  สังโยชน์ - พุทธวจน ดาวน์โหลดหนังสือ(ไฟล์ PDF)
  
  9 of 11  
 
  สังโยชน์ พุทธวจน  ที่มา : http://watnapp.com/files  
       
    สารบัญ เลขหน้า
ตามหนังสือ
 
  บทที่    
  ๘๗ / ขันธ์ ๕ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา 251  
  ๘๘ / สิ่งใดไม่ใช่ของเธอ เธอจงละมันเสีย 252  
  ๘๙ / ผลของการมีมิตรดี (นัยที่ ๑) 260  
  ๙๐ / ผลของการมีมิตรดี (นัยที่ ๒) 261  
  ๙๑/ ผลของการมีมิตรดี (นัยที่ ๓) 262  
  ๙๒ / ผู้มีความเพียรเป็นเครื่องตื่น 264  
  ๙๓ / ผู้มีความหลีกเร้นเป็นที่มายินดี 265  
       
 
 



หน้า251
๘๗/ ขันธ์ ๕ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา

-บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๙,๑๐๑/๔๕,๑๕๒.

ภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง แม้เหตุปัจจัยที่ให้รูป เกิดขึ้น ก็ไม่เที่ยง รูปที่เกิดจากสิ่งที่ไม่เที่ยง จะเป็นของ เที่ยงได้อย่างไร.

ภิกษุทั้งหลาย เวทนาไม่เที่ยง แม้เหตุปัจจัยที่ ให้เวทนาเกิดขึ้น ก็ไม่เที่ยง เวทนาที่เกิดจากสิ่งที่ไม่เที่ยง จะเป็นของเที่ยงได้อย่างไร.

ภิกษุทั้งหลาย สัญญาไม่เที่ยง แม้เหตุปัจจัยที่ ให้สัญญาเกิดขึ้น ก็ไม่เที่ยง สัญญาที่เกิดจากสิ่งที่ไม่เที่ยง จะเป็นของเที่ยงได้อย่างไร.

ภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง แม้เหตุปัจจัย ที่ให้สังขารทั้งหลาย เกิดขึ้น ก็ไม่เที่ยง สังขารทั้งหลายที่เกิด จากสิ่งที่ไม่เที่ยง จะเป็นของเที่ยง ได้อย่างไร.

ภิกษุทั้งหลาย วิญญาณไม่เที่ยง แม้เหตุปัจจัยที่ให้ วิญญาณเกิดขึ้น ก็ไม่เที่ยง วิญญาณที่เกิดจากสิ่งที่ไม่เที่ยง จะเป็นของเที่ยงได้อย่างไร.

ภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นทุกข์ แม้เหตุปัจจัยที่ให้รูป เกิดขึ้น ก็เป็นทุกข์ รูปที่เกิดจาก สิ่งที่เป็นทุกข์ จะเป็นสุข ได้อย่างไร.

ภิกษุทั้งหลาย เวทนาเป็นทุกข์ แม้เหตุปัจจัยที่ ให้เวทนาเกิดขึ้น ก็เป็นทุกข์ เวทนาที่เกิดจากสิ่งที่เป็นทุกข์ จะเป็นสุขได้อย่างไร.

ภิกษุทั้งหลาย สัญญาเป็นทุกข์ แม้เหตุปัจจัยที่ ให้สัญญาเกิดขึ้น ก็เป็นทุกข์ สัญญาที่เกิดจากสิ่งที่เป็นทุกข์ จะเป็นสุขได้อย่างไร.

ภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายเป็นทุกข์ แม้เหตุปัจจัย ที่ให้สังขารทั้งหลาย เกิดขึ้นก็เป็นทุกข์ สังขารทั้งหลายที่ เกิดจากสิ่งที่เป็นทุกข์ จะเป็นสุขได้อย่างไร.

ภิกษุทั้งหลาย วิญญาณเป็นทุกข์ แม้เหตุปัจจัยที่ ให้วิญญาณเกิดขึ้น ก็เป็นทุกข์ วิญญาณที่เกิดจากสิ่งที่เป็นทุกข์ จะเป็นสุขได้อย่างไร.

ภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นอนัตตา แม้เหตุปัจจัยที่ ให้รูปเกิดขึ้น ก็เป็นอนัตตา รูปที่เกิดจากสิ่งที่เป็นอนัตตา จะเป็นอัตตาได้อย่างไร.

ภิกษุทั้งหลาย เวทนาเป็นอนัตตา แม้เหตุปัจจัยที่ ให้เวทนาเกิดขึ้น ก็เป็นอนัตตา เวทนาที่เกิดจากสิ่งที่เป็น อนัตตา จะเป็นอัตตาได้อย่างไร.

ภิกษุทั้งหลาย สัญญาเป็นอนัตตา แม้เหตุปัจจัยที่ ให้สัญญาเกิดขึ้น ก็เป็นอนัตตา สัญญาที่เกิดจากสิ่งที่เป็น อนัตตา จะเป็นอัตตาได้อย่างไร.

ภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายเป็นอนัตตา แม้เหตุ ปัจจัยที่ให้สังขารทั้งหลาย เกิดขึ้น ก็เป็นอนัตตา สังขารทั้งหลาย ที่เกิดจากสิ่งที่เป็นอนัตตา จะเป็นอัตตา ได้อย่างไร.

ภิกษุทั้งหลาย วิญญาณเป็นอนัตตา แม้เหตุปัจจัยที่ ให้วิญญาณเกิดขึ้น ก็เป็นอนัตตา วิญญาณที่เกิดจากสิ่งที่เป็น อนัตตา จะเป็นอัตตาได้อย่างไร.

ภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็น อนัตตา สิ่งนั้น นั่น ไม่ใช่ของเรา (เนตํ มม) นั่น ไม่ใช่เป็นเรา (เนโสหมสฺมิ) นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา (น เมโส อตฺตา) ข้อนี้
อริยสาวกพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้.

ภิกษุทั้งหลาย เวทนาไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้น เป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็น อนัตตา สิ่งนั้น นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ ตัวตนของเรา ข้อนี้อริยสาวกพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้.

ภิกษุทั้งหลาย สัญญาไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้น เป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็น อนัตตา สิ่งนั้น นั่น ไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ ตัวตนของเรา ข้อนี้อริยสาวกพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็น จริงอย่างนี้.

ภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใด เป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็น อนัตตา สิ่งนั้น นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ ตัวตนของเรา ข้อนี้อริยสาวกพึงเห็นด้วยปัญญา อันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้.

ภิกษุทั้งหลาย วิญญาณไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใด เป็นอนัตตา สิ่งนั้น นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เป็นเรา นั่น ไม่ใช่ตัวตนของเรา ข้อนี้อริยสาวกพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความ เป็นจริงอย่างนี้.

ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ย่อม เบื่อหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน สังขารทั้งหลาย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลาย กำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว เธอย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้น แล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ได้ทำสำเร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.


หน้า252
๘๘/ สิ่งใดไม่ใช่ของเธอ เธอจงละมันเสีย
-บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๑๐๐/๑๔๙.

ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่ใช่ของเธอ สิ่งนั้นเธอจงละมัน เสีย สิ่งนั้นอันเธอละ ได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล และความสุขแก่เธอ.

ภิกษุทั้งหลาย อะไรเล่า ที่ไม่ใช่ของเธอ.

ภิกษุทั้งหลาย
ตา (จกฺขุํ) ไม่ใช่ของเธอ เธอจง ละมัน(ตํ) เสีย สิ่งนั้นอันเธอละ ได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์ เกื้อกูลและความสุขแก่เธอ (จกฺขํ ภิกฺขเว น ตุมฺมหากํ ตํ ปชหถ ตํ โว ปหินํ หิตาย สุขาย ภวิสฺสติ).

รูป (รูปา) ไม่ใช่ของเธอ เธอจงละมันเสีย สิ่งนั้นอันเธอ ละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่เธอ.

จักษุวิญญาณ ไม่ใช่ของเธอ เธอจงละมันเสีย สิ่งนั้น อันเธอละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความ สุขแก่เธอ.

จักษุสัมผัส ไม่ใช่ของเธอ เธอจงละมันเสีย สิ่งนั้นอัน เธอละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุข แก่เธอ.

สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ ทอทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น เพราะจักษุสัมผัส เป็นปัจจัย ไม่ใช่ของเธอ เธอจงละมันเสีย สิ่งนั้นอันเธอละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลและ ความสุขแก่เธอ.

หู (โสตํ) ไม่ใช่ของเธอ เธอจงละมันเสีย สิ่งนั้นอันเธอ ละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่เธอ.

เสียง (สทฺทา) ไม่ใช่ของเธอ เธอจงละมันเสีย สิ่งนั้น อันเธอละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุข แก่เธอ.

โสตวิญญาณ ไม่ใช่ของเธอ เธอจงละมันเสีย สิ่งนั้น อันเธอละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุข แก่เธอ.

โสตสัมผัส ไม่ใช่ของเธอ เธอจงละมันเสีย สิ่งนั้นอันเธอ ละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่เธอ.

สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น เพราะโสตสัมผัสเป็น ปัจจัย ไม่ใช่ของเธอ เธอจงละมันเสีย สิ่งนั้นอันเธอละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อ ประโยชน์ เกื้อกูลและ ความสุขแก่เธอ.

จมูก (ฆานํ) ไม่ใช่ของเธอ เธอจงละมันเสีย สิ่งนั้น อันเธอละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุข แก่เธอ.

กลิ่น (คนฺธา) ไม่ใช่ของเธอ เธอจงละมันเสีย สิ่งนั้น อันเธอละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความ สุขแก่เธอ.

ฆานวิญญาณ ไม่ใช่ของเธอ เธอจงละมันเสีย สิ่งนั้น อันเธอละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุข แก่เธอ.

ฆานสัมผัส ไม่ใช่ของเธอ เธอจงละมันเสีย สิ่งนั้น อันเธอละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุข แก่เธอ.

สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น เพราะฆานสัมผัส เป็นปัจจัย ไม่ใช่ของเธอ เธอจงละมันเสีย สิ่งนั้นอันเธอละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อ ประโยชน์เกื้อกูลและ ความสุขแก่เธอ.

ลิ้น (ชิวฺหา) ไม่ใช่ของเธอ เธอจงละมันเสีย สิ่งนั้น อันเธอละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุข แก่เธอ.

รส (รสา) ไม่ใช่ของเธอ เธอจงละมันเสีย สิ่งนั้น อันเธอละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุข แก่เธอ.

ชิวหาวิญญาณไม่ใช่ของเธอ เธอจงละมันเสีย สิ่งนั้น อันเธอละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุข แก่เธอ.

ชิวหาสัมผัส ไม่ใช่ของเธอ เธอจงละมันเสีย สิ่งนั้น อันเธอละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุข แก่เธอ.

สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น เพราะชิวหา สัมผัส เป็นปัจจัย ไม่ใช่ของเธอ เธอจงละมันเสีย สิ่งนั้นอันเธอละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อ ประโยชน์ เกื้อกูลและ ความสุขแก่เธอ.

กาย (กาโย) ไม่ใช่ของเธอ เธอจงละมันเสีย สิ่งนั้น อันเธอละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุข แก่เธอ.

โผฏฐัพพะ (โผฏฐัพพา) ไม่ใช่ของเธอ เธอจงละมันเสีย สิ่งนั้นอันเธอละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลและ ความสุขแก่เธอ.

กายวิญญาณ ไม่ใช่ของเธอ เธอจงละมันเสีย สิ่งนั้น อันเธอละได้แล้ว จักเป็นไป เพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุข แก่เธอ.

กายสัมผัส ไม่ใช่ของเธอ เธอจงละมันเสีย สิ่งนั้น อันเธอละได้แล้ว จักเป็นไป เพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุข แก่เธอ.

สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น เพราะกายสัมผัสเป็น ปัจจัย ไม่ใช่ของเธอ เธอจงละมันเสีย สิ่งนั้นอันเธอละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อ ประโยชน์เกื้อกูลและ ความสุขแก่เธอ.

ใจ (มโน) ไม่ใช่ของเธอ เธอจงละมันเสีย สิ่งนั้นอันเธอ ละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อ ประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่เธอ.

ธรรม (ธมฺมา) ไม่ใช่ของเธอ เธอจงละมันเสีย สิ่งนั้น อันเธอละได้แล้ว จักเป็นไป เพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุข แก่เธอ.

มโนวิญญาณ ไม่ใช่ของเธอ เธอจงละมันเสีย สิ่งนั้น อันเธอละได้แล้ว จักเป็นไป เพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุข แก่เธอ.

มโนสัมผัส ไม่ใช่ของเธอ เธอจงละมันเสีย สิ่งนั้น อันเธอละได้แล้ว จักเป็นไป เพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุข แก่เธอ.

สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น เพราะมโนสัมผัสเป็น ปัจจัย ไม่ใช่ของเธอ เธอจงละมันเสีย สิ่งนั้นอันเธอละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อ ประโยชน์เกื้อกูลและ ความสุขแก่เธอ.
------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนอะไรๆ ในเชตวัน (เชต วเน) นี้ ที่เป็นหญ้า เป็นไม้ เป็นกิ่งไม้ เป็นใบไม้ ที่คนเขาขน ไปทิ้ง หรือเผาเสีย หรือทำตามปัจจัยของเขา พวกเธอรู้สึก อย่างนี้บ้างหรือไม่ว่า คนเขาขนเราไป หรือเผาเรา หรือทำ แก่เรา ตามปัจจัยของเขา.
ไม่รู้สึกอย่างนั้นเลย พระเจ้าข้า.

ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะเหตุว่าความรู้สึกว่าตัวตน (อตฺตา) ของตน(อตฺตนิยา) ของข้าพระองค์ไม่มีในสิ่งเหล่านั้น พระเจ้าข้า.

ภิกษุทั้งหลาย ฉันใดก็ฉันนั้น ตา ... รูป ... จักษุวิญญาณ ... จักษุสัมผัส … สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัส เป็นปัจจัย ไม่ใช่ ของเธอ เธอจงละมันเสีย สิ่งนั้นอันเธอละได้แล้ว จักเป็นไป
เพื่อประโยชน์เกื้อกูล และความสุขแก่เธอ

หู ... เสียง ... โสตวิญญาณ ... โสตสัมผัส … สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะ โสตสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่ใช่ของเธอ เธอจงละ มันเสีย สิ่งนั้น อันเธอละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล และความสุข แก่เธอ

จมูก ... กลิ่น ... ฆานวิญญาณ ... ฆานสัมผัส … สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะ ฆานสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่ใช่ของเธอ เธอจงละ มันเสีย สิ่งนั้น อันเธอละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล และความสุข แก่เธอ

ลิ้น ... รส ... ชิวหาวิญญาณ ... ชิวหาสัมผัส … สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะ ชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่ใช่ของเธอ เธอจง ละมันเสีย สิ่งนั้น อันเธอละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล และความสุข แก่เธอ

กาย ... โผฏฐัพพะ ... กายวิญญาณ ... กายสัมผัส … สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะ กายสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่ใช่ของเธอ เธอจงละมันเสีย สิ่งนั้น อันเธอละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล และความสุข แก่เธอ

ใจ ... ธรรม ... มโนวิญญาณ ... มโนสัมผัส … สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะ มโนสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่ใช่ของเธอ เธอจงละ มันเสีย สิ่งนั้น อันเธอละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล และความสุข แก่เธอ.
(ในสูตรอื่น ทรงแสดงโดยนัยขันธ์ ๕ -บาลี มู. ม.๑๒/๒๗๙/๒๘๗., -บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๔๒/๗๑. -คณะผู้รวบรวม)


หน้า260
๘๙/ ผลของการมีมิตรดี (นัยที่ ๑)
-บาลี ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๗๒/๓๓๘.

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีมิตรชั่ว มีสหายชั่ว มีพวกพ้องชั่ว เสพคบ เข้าไปนั่งใกล้ มิตรชั่ว และประพฤติตามมิตรชั่ว เหล่านั้นอยู่ จักบำเพ็ญอภิสมาจาริกธรรม (อภิสมาจาริกํ ธมฺมํ) ให้บริบูรณ์ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ เมื่อภิกษุไม่บำเพ็ญ อภิสมาจาริกธรรมให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญเสขธรรมให้ บริบูรณ์ ข้อนี้ไม่เป็น ฐานะที่จะมีได้ เมื่อไม่บำเพ็ญเสขธรรม ให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญศีลทั้งหลาย ให้บริบูรณ์ (สีลานิ ปริปูเรสฺสตีติ) ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้เมื่อไม่บำเพ็ญศีล ทั้งหลายให้บริบูรณ์แล้ว จักละกามราคะ รูปราคะ หรืออรูปราคะ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะ ที่จะมีได้.

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีพวกพ้องดี เสพคบ เข้าไปนั่งใกล้มิตรดี และประพฤติตามมติ รดเหลานั้นอยู่ จัก บำเพ็ญ อภิสมาจาริกธรรมให้บริบูรณ์ ข้อนี้ย่อมเป็นฐานะ ที่จะมีได้ เมื่อภิกษุบำเพ็ญอภิสมาจาริกธรรมให้บริบรูณ์แล้ว
จักบำเพ็ญเสขธรรมให้บริบูรณ์ ข้อนี้ย่อมเป็นฐานะที่จะมีได้ เมื่อบำเพ็ญเสขธรรม ให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญศีลทั้งหลาย ให้บริบูรณ์ ข้อนี้ย่อมเป็นฐานะที่จะมีได้ เมื่อบำเพ็ญศีล ทั้งหลายให้บริบูรณ์แล้ว จักละกามราคะ รูปราคะ หรืออรูปราคะ (กามราคํ วา รูปราคํ วา อรูปราคํ วา) ข้อนี้ย่อมเป็นฐานะที่จะมีได้.


หน้า261

๙๐/ ผลของการมีมิตรดี (นัยที่ ๒)
-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๑๑๒/๔๑๑.

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อพระอาทิตย์จะขึ้น สิ่งที่ขึ้นก่อน สิ่งที่เป็นนิมิตมาก่อน คือ แสงเงินแสงทอง ฉันใด สิ่งที่เป็น เบื้องต้น เป็นนิมิตมาก่อน เพื่อความบังเกิด ขึ้นแห่งโพชฌงค์ ๗ แก่ภิกษุ คือ ความเป็นผู้มีมิตรดี ฉันนั้นเหมือนกัน

ภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้มีมิตรดี พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญโพชฌงค์ ๗ จักกระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗.

ภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้มีมิตรดี ย่อมเจริญโพชฌงค์ ๗ ย่อมกระทำให้มาก ซึ่งโพชฌงค์ ๗ อย่างไรเล่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญ สติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อโวสสัคคะ ย่อมเจริญ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ … ย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ … ย่อมเจริญ ปีติสัมโพชฌงค์ … ย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ … ย่อมเจริญสมาธิ สัมโพชฌงค์ … ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อโวสสัคคะ.

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีมิตรดี ย่อมเจริญโพชฌงค์ ๗ ย่อมกระทำให้มาก ซึ่ง โพชฌงค์ ๗ อย่างนี้แล.


หน้า 262

๙๑/ ผลของการมีมิตรดี (นัยที่ ๓)
-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๒/๔.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมนี้ เป็นครึ่งหนึ่งของพรหมจรรย์ กล่าวคือความเป็นผู้มี มิตรดี มีสหายดี มีพวกพ้องดี.

อานนท์ อย่ากล่าวอย่างนั้น อานนท์ อย่ากล่าว อย่างนั้น อานนท์ ธรรมนี้ เป็น พรหมจรรย์ทั้งหมดทีเดียว กล่าวคือ ความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีพวกพ้องดี.

อานนท์ อันภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีพวกพ้องดี พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ จักกระทำให้มากซึ่งอริยมรรค อันประกอบ ด้วยองค์ ๘.

อานนท์ ก็ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีพวกพ้องดี ย่อมเจริญอริยมรรค อันประกอบ ด้วยองค์ ๘ ย่อมกระทำ ให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างไรเล่า

อานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อโวสสัคคะ ย่อมเจริญสัมมาสังกัปปะ … ย่อมเจริญ สัมมาวาจา … ย่อมเจริญ สัมมากัมมันตะ … ย่อมเจริญสัมมาอาชีวะ … ย่อมเจริญ สัมมาวายามะ … ย่อมเจริญสัมมาสติ … ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อโวสสัคคะ.

อานนท์ ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีพวกพ้องดี ย่อมเจริญอริยมรรค อันประกอบ
ด้วยองค์ ๘ ย่อมกระทำ ให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล.

อานนท์ ข้อที่ว่าความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีพวกพ้องดี เป็นพรหมจรรย์ทั้งสิ้น ทีเดียวนั้น อันใครๆ พึงทราบโดยปริยายแม้นี้.

อานนท์ เพราะอาศัยเราแลเป็นกัลยาณมิตร
สัตว์ที่มีความเกิดเป็นธรรมดา ย่อมหลุดพ้นจากความเกิด
สัตว์ที่ มีความแก่เป็นธรรมดา ย่อมหลุดพ้นจากความแก่
สัตว์ที่ มีความตายเป็นธรรมดา ย่อมหลุดพ้นจากความตาย
สัตว์ที่ มีโสกะปริเทวะ ทุกขะโทมนัส อุปายาสะเป็นธรรมดา ย่อมหลุดพ้นจาก โสกะปริเทวะ ทุกขะโทมนัส อุปายาสะ.

อานนท์ โดยปริยายนี้แล อันใครๆ พึงทราบว่า ความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีพวกพ้องดี นี้เป็นพรหมจรรย์ ทั้งสิ้นทีเดียว ดังนี้.
(มีสูตรอื่นที่ตรัสไว้ทำ นองเดียวกัน -บาลี สคา. สํ. ๑๕/๑๒๗/๓๘๓. -คณะผู้รวบรวม)


หน้า264

๙๒/ผู้มีความเพียรเป็นเครื่องตื่น
-บาลี อิติวุ. ขุ. ๒๕/๒๖๑/๒๒๕.

ภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุพึงเป็นผู้มีความเพียรเป็น เครื่องตื่น มีสติสัมปชัญญะ มีจิตตั้งมั่น เบิกบาน ผ่องใส และพึงเป็นผู้เห็นแจ้งในกุศลธรรมทั้งหลาย สมควร แก่กาล ในการประกอบความเพียรนั้นเนือง ๆ เถิด

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุ มีความ เพียรเป็นเครื่องตื่น มีสติสัมปชัญญะ มีจิต ตั้งมั่น เบิกบาน และผ่องใส เห็นแจ้งในกุศลธรรมทั้งหลาย สมควรแก่กาลในการ ประกอบความเพียรนั้นเนือง ๆ พึงหวังผล ได้ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน (ทิฏฺเฐว ธมฺเม อญฺญา สติ) หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ ก็จะเป็น อนาคามี (อุปาทิเสเส อนาคามิตาติ).

เธอทั้งหลายที่ตื่นอยู่ จงฟังคำนี้ (ชาครนฺตา สุณาเถตํ) เธอเหล่าใด ผู้หลับอยู่ เธอเหล่านั้นจงตื่น (เย สุตฺตา เต ปพุชฺฌถ) ผู้ตื่นจากความหลับเป็นคุณประเสริฐ เพราะภัยย่อมไม่มีแก่ ผู้ตื่นอยู่ ผู้ใดตื่นอยู่ มีสติสัมปชัญญะ มีจิตตั้งมั่น เบิกบาน
และผ่องใส พิจารณาธรรมอยู่โดยชอบโดยกาลอันควร ผู้นั้นมีสมาธิเป็นธรรมเอก ผุดขึ้น ก็จะพึงกำจัดความมืดเสียได้ เพราะเหตุนั้นแล

ภิกษุพึงประพฤติธรรม เป็นเครื่องตื่น ภิกษุผู้มีความเพียร มีปัญญาเป็นเครื่อง รักษาตน มีปกติได้ฌาน ตัดสังโยชน์ในชาติและชราได้แล้ว พึงถูกต้อง สัมโพธิอย่าง ยอดเยี่ยมในอัตภาพ นี้แล.


หน้า 265
๙๓/ ผู้มีความหลีกเร้นเป็นที่มายินดี
-บาลี อิติวุ. ขุ. ๒๕/๒๕๙/๒๒๓.

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีความหลีกเร้น เป็นที่มายินดี ยินดีแล้ว ในความหลีกเร้น จงเป็นผู้ตาม ประกอบเจโตสมถะในภายใน มีฌานไม่เสื่อม ประกอบด้วย วิปัสสนา พอกพูนสุญญาคารอยู่เถิด.

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเธอทั้งหลายมีความหลีกเร้น เป็นที่มายินดี ยินดีแล้ว ในความ หลีกเร้น ประกอบเจโตสมถะ ในภายใน มีฌานไม่เสื่อม ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูน สุญญาคารอยู่ พึงหวังผลได้ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อรหัตตผล ในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ ก็จะเป็น อนาคามี.

ชนเหล่าใดมีจิตสงบแล้ว มีปัญญาเป็นเครื่องรักษาตน มีสติ มีฌาน ไม่มีความ ยินดีในกามทั้งหลาย ย่อมเห็นแจ้ง ธรรมโดยชอบ เป็นผู้ยินดีแล้วในความ ไม่ประมาท มีปกติ เห็นภัยในความประมาท ชนเหล่านั้นเป็นผู้จะไม่เสื่อม ดำรงอยู่ใกล้นิพพานเทียว.

--------------------------------------------------------------------------------------------------------
บทถัดไป บทที่ ๙๔ / อานิสงส์ ของการเจริญสัญญาแบบต่างๆ หน้า 266

  Top Next