เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
รวม้รื่อง สังโยชน์ พุทธวจน
หนังสือพุทธวจนออนไลน์   ดูหนังสือทั้งหมด
90 90 90 90 90
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์  
   
ค้นหาคำที่ต้องการ              

  สังโยชน์ - พุทธวจน ดาวน์โหลดหนังสือ(ไฟล์ PDF)
  
  3 of 11  
 
  สังโยชน์ พุทธวจน  ที่มา : http://watnapp.com/files  
       
    สารบัญ เลขหน้า
ตามหนังสือ
 
  บทที่    
  ๓๒ / โยคะ ๔ 89  
  ๓๓ / สัญโญคะ วิสัญโญคะ 92  
  ๓๔ / ความพัวพันด้วยสัญโญชน์และความยึดมั่น 96  
  ๓๕ / ความพัวพันและความหมกมุ่นด้วย สัญโญชน์ และ ความยึดมั่น 98  
  ๓๖ / ผู้มีสัญโญชน์ในภายใน และในภายนอก 100  
  ๓๗ / อนุสัย ๗ 103  
  ๓๘ / อนุสัย ๕ 104  
  ๓๙ / อนุสัย ๓ (ราคะ ปฏิฆะ อวิชชา) 106  
  ๔๐ / อนุสัย ๓ (มานะ ภวราคะ อวิชชา) 109  
          ๔๐-๑ ปุริสคติ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ    
         ๔๐_๒ อนุปาทาปรินิพพานเป็นอย่างไร    
  ๔๑ / อหังการ มมังการ มานานุสัย 114  
       
 
 




หน้า89
๓๒/โยคะ ๔
-บาลี จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๓/๑๐.

ภิกษุทั้งหลาย โยคะ ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นอย่างไร คือ กามโยคะ ภวโยคะ ทิฏฐิโยคะ อวิชชาโยคะ.

ภิกษุทั้งหลาย กามโยคะเป็นอย่างไร บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมไม่รู้ชัดซึ่ง เหตุเกิด (สมุทย) ความตั้งอยู่ไม่ได้ (อตฺถงฺคม) รสอร่อย (อสฺสาท) โทษ (อาทีนว) และอุบายเครื่องออกไปพ้น (นิสฺสรณ) แห่งกามทั้งหลาย ตามความเป็นจริง
เมื่อเขาไม่รู้ชัดซึ่งเหตุเกิด ความตั้งอยู่ไม่ได้รสอร่อย โทษ และอุบายเครื่อง ออกไปพ้น แห่งกามทั้งหลายตามความเป็นจริง
กามทั้งหลาย
ความกำหนัดในกาม (กามราโค)
ความเพลิดเพลินในกาม (กามนนฺทิ)
ความเยื่อใย ในกาม (กามสิเนโห)
ความหมกมุ่น ในกาม (กามมุจฺฉา)
ความกระหายในกาม (กามปิปาสา)
ความเร่าร้อนในกาม (กามปริฬาโห)
ความหยั่งลงในกาม (กามชฺโฌสานํ) และ
ความอยากในกาม (กามตณฺหา) ย่อมเกิดขึ้น
นี้เราเรียกว่า กามโยคะ
ภิกษุทั้งหลาย กามโยคะ เป็นดังนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ภวโยคะเป็นอย่างไร บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมไม่รู้ชัดซึ่ง เหตุเกิด ความตั้งอยู่ไม่ได้ รสอร่อยโทษ และอุบายเครื่องออกไปพ้นแห่งภพ ทั้งหลาย ตามความเป็นจริง
เมื่อเขาไม่รู้ชัดซึ่งเหตุเกิด ความตั้งอยู่ไม่ได้รสอร่อย โทษ และอุบายเครื่องออก ไปพ้นแห่งภพทั้งหลาย ตามความเป็นจริง ภพทั้งหลาย ความกำหนัดในภพ ความเพลิดเพลินในภพ ความเยื่อใยในภพ ความหมกมุ่นในภพ ความกระหาย ในภพ ความเร่าร้อนในภพ ความหยั่งลง ในภพ และความอยากในภพย่อมเกิดขึ้น นี้เราเรียกว่า ภวโยคะ
ภิกษุทั้งหลาย กามโยคะ ภวโยคะ เป็นดังนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ทิฏฐิโยคะเป็นอย่างไร บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมไม่รู้ชัดซึ่ง เหตุเกิด ความตั้งอยู่ไม่ได้ รสอร่อยโทษ และอุบายเครื่องออกไปพ้น แห่งทิฏฐิ ทั้งหลาย ตามความเป็นจริง
เมื่อเขาไม่รู้ชัดซึ่งเหตุเกิด ความตั้งอยู่ไม่ได้รสอร่อย โทษ และอุบายเครื่อง ออก ไปพ้นแห่งทิฏฐิทั้งหลาย ตามความเป็นจริง ทิฏฐิทั้งหลาย ความกำหนัด ในทิฏฐิ ความเพลิดเพลินในทิฏฐิ ความเยื่อใยในทิฏฐิ ความหมกมุ่น ในทิฏฐิ ความกระหาย ในทิฏฐิ ความเร่าร้อนในทิฏฐิ ความหยั่งลงในทิฏฐิ และ ความอยาก ในทิฏฐิ ย่อมเกิดขึ้น
นี้เราเรียกว่า ทิฏฐิโยคะ
ภิกษุทั้งหลาย กามโยคะ ภวโยคะ ทิฏฐิโยคะ เป็นดังนี้.

ภิกษุทั้งหลาย อวิชชาโยคะเป็นอย่างไร บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมไม่รู้ชัด ซึ่งเหตุเกิด ความตั้งอยู่ไม่ได้รสอร่อย โทษ และอุบายเครื่องออกไปพ้นแห่ง ผัสสายตนะ ๖ ตามความเป็นจริง
เมื่อเขาไม่รู้ชัดซึ่งเหตุเกิด ความตั้งอยู่ไม่ได้ รสอร่อย โทษ และอุบายเครื่องออก ไปพ้นแห่งผัสสายตนะ ๖ ตามความเป็นจริง ความไม่รู้ ความไม่หยั่งรู้ใน ผัสสายตนะ ๖ ย่อมเกิดขึ้น (ฉสุ ผสฺสายตเนสุ อวิชฺชา อญฺญาณํ1 สานุเสติ) นี้เราเรียกว่า อวิชชาโยคะ
ภิกษุทั้งหลาย กามโยคะภวโยคะ ทิฏฐิโยคะ อวิชชาโยคะ เป็นดังนี้.

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยอกุศลธรรมอันเป็นบาป อันเป็นเครื่อง เศร้าหมอง เป็นเหตุให้เกิดในภพใหม่ มีความกระวนกระวาย มีทุกข์เป็นวิบาก มีชาติ ชราและมรณะ อีกต่อไป ฉะนั้น เราจึงเรียกว่าผู้ไม่เกษมจากโยคะ.
ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้แล โยคะ ๔ ประการ.
(ควรดูประกอบเพิ่มเติมเรื่อง “ความพรากจากโยคะ ๔”ในหน้า 273 ของหนังสือเล่มนี้. -คณะผู้รวบรวม)
1. อญฺญาณํ เป็นคำ ที่มีความหมายแตกต่างกันไป สำนวนแปลในบทนี้ ได้เทียบเคียง ความหมายจากพจนานุกรม ๔ เล่ม เพื่อให้ถูกต้องตามบริบท โดยรวม -คณะผู้รวบรวม


หน้า92
๓๓/สัญโญคะ วิสัญโญคะ
-บาลี สตฺตก. อํ. ๒๓/๕๘/๔๘.

ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมปริยายอันเป็น สัญโญคะ และ วิสัญโญคะ แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว.

ภิกษุทั้งหลาย ธรรมปริยายอันเป็นสัญโญคะ1 และ วิสัญโญคะ2(สญฺโญควิสญฺโญโค ธมฺมปริยาโย) เป็นอย่างไร.
1. คำ ว่า สญฺโญค ในบทนี้ใช้สำ นวนแปลว่า การเกี่ยวข้อง
2. คำ ว่า วิสญฺโญค ในบทนี้ใช้สำ นวนแปลว่า การไม่เกี่ยวข้อง


ภิกษุทั้งหลาย หญิงย่อมสนใจในความเป็นหญิงใน ภายใน ทั้งกิริยา ท่าทาง ความไว้ตัว ความพอใจ เสียง และ เครื่องประดับของหญิง เธอย่อมยินดี พอใจ ในความเป็น หญิงอย่างนั้นของตน

เมื่อเธอยินดี พอใจในความเป็นหญิง อย่างนั้น ของตนแล้ว ย่อมสนใจ ในความเป็นชาย ในภายนอก ทั้งกิริยา ท่าทาง ความไว้ตัว ความพอใจ เสียง และเครื่อง ประดับของชาย

เธอย่อมยินดี พอใจในความเป็นชาย อย่างนั้น เมื่อเธอยินดี พอใจในความ เป็นชาย อย่างนั้นแล้ว ย่อมมุ่งหวังการเกี่ยวข้อง กับชาย และมุ่งหวังสุขโสมนัส ที่เกิดขึ้น เพราะการเกี่ยวข้องกับชายเป็นปัจจัย.3
3. คำ ว่า ปัจจัย แปลว่า เหตุ -คณะผู้รวบรวม

ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลาย ผู้พอใจในความเป็น หญิงก็ถึงการเกี่ยวข้อง กับชาย ด้วยอาการอย่างนี้แล หญิง จึงไม่ล่วงพ้นในความเป็นหญิงไปได้.

ภิกษุทั้งหลาย ชายย่อมสนใจในความเป็นชายใน ภายใน ทั้งกิริยา ท่าทาง ความไว้ตัว ความพอใจ เสียง และ เครื่องประดับของชาย เขาย่อมยินดี พอใจในความเป็นชาย อย่างนั้นของตน

เมื่อเขายินดี พอใจในความเป็นชายอย่าง นั้นของตนแล้ว ย่อมสนใจในความเป็น หญิงในภายนอก ทั้งกิริยา ท่าทาง ความไว้ตัว ความพอใจ เสียง และเครื่อง ประดับของหญิง เขาย่อมยินดี พอใจในความเป็นหญิงอย่างนั้น

เมื่อเขายินดี พอใจในความเป็นหญิงอย่างนั้นแล้ว ย่อม มุ่งหวังการเกี่ยวข้อง กับหญิง และมุ่งหวังสุขโสมนัสที่เกิดขึ้น เพราะการเกี่ยวข้องกับหญิงเป็นปัจจัย.

ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลาย ผู้พอใจในความ เป็นชาย ก็ถึง การเกี่ยวข้อง กับ หญิง ด้วยอาการอย่างนี้แล ชายจึงไม่ล่วงพ้นในความเป็นชายไปได้.

ภิกษุทั้งหลาย การเกี่ยวข้อง ย่อมมี ด้วยอาการอย่าง นี้แล.

ภิกษุทั้งหลาย การไม่เกี่ยวข้อง (หญิง) เป็นอย่างไร.
ภิกษุทั้งหลาย หญิงย่อมไม่สนใจในความเป็นหญิง ในภายใน ทั้งกิริยา ท่าทาง ความไว้ตัว ความพอใจ เสียง และ เครื่องประดับของหญิง

เมื่อเธอไม่ยินดี ไม่พอใจในความ เป็นหญิงอย่างนั้นของตนแล้ว ย่อมไม่สนใจใน ความเป็นชาย ในภายนอก ทั้งกิริยา ท่าทาง ความไว้ตัว ความพอใจ เสียง และ เครื่องประดับ ของชาย

เมื่อเธอไม่ยินดี ไม่พอใจในความ เป็นชายอย่างนั้นแล้ว ย่อมไม่มุ่งหวัง การเกี่ยวข้อง กับชาย และไม่มุ่งหวังสุขโสมนัสที่เกิดขึ้น เพราะการเกี่ยวข้องกับ ชายเป็นปัจจัย.

ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายผู้ไม่พอใจในความเป็น หญิง ก็ถึงการไม่เกี่ยวข้อง กับชาย ด้วยอาการอย่างนี้แล หญิงจึงล่วงพ้นในความเป็นหญิงไปได้.

ภิกษุทั้งหลาย ชายย่อมไม่สนใจในความเป็นชายใน ภายใน ทั้งกิริยา ท่าทาง ความไว้ตัว ความพอใจ เสียง และ เครื่องประดับของชาย

เมื่อเขาไม่ยินดี ไม่พอใจ ในความเป็น ชายอย่างนั้นแล้ว ย่อมไม่สนใจในความ เป็นหญิง ในภายนอก ทั้งกิริยา ท่าทาง ความไว้ตัว ความพอใจ เสียง และเครื่อง ประดับของหญิง

เมื่อเขาไม่ยินดี ไม่พอใจในความเป็นหญิง อย่างนั้นแล้ว ย่อมไม่มุ่งหวังการ เกี่ยวข้องกับหญิง และไม่ มุ่งหวังสุขโสมนัส ที่เกิดขึ้น เพราะการเกี่ยวข้อง กับหญิงเป็นปัจจัย.

ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายผู้ไม่พอใจในความเป็น ชาย ก็ถึงการไม่เกี่ยวข้อง กับหญิง ด้วยอาการอย่างนี้แล ชายจึงล่วงพ้นในความเป็นชายไปได้.

ภิกษุทั้งหลาย การไม่เกี่ยวข้องย่อมมี ด้วยอาการ อย่างนี้แล.

ภิกษุทั้งหลาย นี้แลชื่อว่า ธรรมปริยายอันเป็น สัญโญคะ และวิสัญโญคะ (การเกี่ยวข้อง และการไม่เกี่ยวข้อง).


หน้า96
๓๔/ความพัวพันด้วยสัญโญชน์และความยึดมั่น
-บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๒๖/๓๖๐.

ภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรมีอยู่ เพราะอาศัยอะไร เพราะยึดมั่นอะไร จึงเกิดความ พัวพันด้วยสัญโญชน์ และ ความยึดมั่น (สญฺโญชนาภินิเวสวินิพนฺธาติ).

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อรูปมีอยู่ เพราะอาศัยรูป เพราะ ยึดมั่นรูป จึงเกิดความพัวพัน ด้วย สัญโญชน์และความยึดมั่น เมื่อเวทนามีอยู่ ... เมื่อสัญญามีอยู่ ... เมื่อสังขาร มีอยู่ ... เมื่อวิญญาณมีอยู่ เพราะอาศัยวิญญาณ เพราะยึดมั่น วิญญาณ จึงเกิดความพัวพัน ด้วย สัญโญชน์และความยึดมั่น.

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้น เป็นอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง.
ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.
เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็น ธรรมดา พึงเกิดความพัวพัน ด้วยสัญโญชน์และความยึดมั่น เพราะไม่อาศัยสิ่งนั้นบ้างหรือ.
ไม่ใช่เช่นนั้น พระเจ้าข้า.

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้น เป็นอย่างไร เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง.
ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.
เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็น ธรรมดา พึงเกิดความพัวพันด้วย สัญโญชน์และความยึดมั่น เพราะไม่อาศัยสิ่งนั้นบ้างหรือ.
ไม่ใช่เช่นนั้น พระเจ้าข้า.

ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป แม้ในเวทนา แม้ในสัญญา แม้ใน สังขาร แม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะ คลายกำหนัด จึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมี ญาณหยั่งรู้ ว่า หลุดพ้นแล้ว เธอย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำ เสร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความเป็น อย่างนี้มิได้มี.


หน้า98
๓๕/ความพัวพันและความหมกมุ่นด้วย สัญโญชน์ และ ความยึดมั่น
-บาลี ขนฺธ สํ. ๑๗/๒๒๗/๓๖๒.

ภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรมีอยู่ เพราะอาศัยอะไร เพราะยึดมั่นอะไร จึงเกิดความ พัวพัน และความหมกมุ่นด้วย สัญโญชน์ และความยึดมั่น (สญฺโญชนาภินิเวสวินิพนฺธาชฺโฌสานา).

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อรูปมีอยู่ เพราะอาศัยรูป เพราะ ยึดมั่นรูป จึงเกิดความพัวพัน และความหมกมุ่นด้วยสัญโญชน์ และความยึดมั่น เมื่อเวทนามีอยู่ ... เมื่อสัญญา มีอยู่ ... เมื่อสังขารมีอยู่ ... เมื่อวิญญาณมีอยู่ เพราะอาศัยวิญญาณ เพราะยึดมั่น วิญญาณ จึงเกิดความพัวพันและความหมกมุ่น ด้วยสัญโญชน์ และความยึดมั่น.

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้น เป็นอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง.
ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.
เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา พึงเกิดความพัวพันและ ความหมกมุ่นด้วยสัญโญชน์ และความยึดมั่น เพราะไม่อาศัยสิ่งนั้นบ้างหรือ.
ไม่ใช่เช่นนั้น พระเจ้าข้า.

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อ นั้นเป็นอย่างไร
เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง.
ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.
เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็น ธรรมดา พึงเกิดความพัวพันและ ความหมกมุ่นด้วยสัญโญชน์ และความยึดมั่น เพราะไม่อาศัยสิ่งนั้นบ้างหรือ.
ไม่ใช่เช่นนั้น พระเจ้าข้า.

ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป แม้ในเวทนา แม้ในสัญญา แม้ใน สังขาร แม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด

เพราะ คลายกำหนัด จึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมี ญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว เธอย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความเป็น อย่างนี้มิได้มี.


หน้า100
๓๖/ ผู้มีสัญโญชน์ในภายใน และในภายนอก
-บาลี ทุก. อํ. ๒๐/๘๐/๒๘๑.

ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวกับภิกษุทั้งหลายว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย เราจักแสดง บุคคลผู้มีสัญโญชน์ในภายใน และบุคคลผู้มีสัญโญชน์ในภายนอก ท่านทั้งหลาย จงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว.

ผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลผู้มีสัญโญชน์ในภายใน (อชฺฌตฺตสญฺโญชโน) เป็นอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวมแล้วในปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วย อาจาระ และโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ใน สิกขาบททั้งหลาย

ภิกษุนั้นเมื่อกายแตกทำลาย ย่อมเข้าถึง หมู่เทพหมู่ใดหมู่หนึ่ง ครั้นจุติจาก อัตภาพ นั้นแล้ว เป็นอาคามี กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้ นี้เรียกว่า บุคคลผู้มี สัญโญชน์ในภายใน เป็นอาคามี กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้.

ผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลผู้มีสัญโญชน์ในภายนอก (พหิทฺธาสญฺโญชโน) เป็นอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวมแล้วในปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วยอาจาร ะและ โคจร มีปกติเห็นภัย ในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ ในสิกขาบททั้งหลาย

ภิกษุนั้นย่อมบรรลุเจโตวิมุตติอันสงบ อย่างใดอย่างหนึ่ง ภิกษุนั้นเมื่อกายแตก ทำลาย ย่อมเข้าถึงหมู่ เทพหมู่ใด หมู่หนึ่ง ครั้นจุติจากอัตภาพนั้นแล้ว เป็นอนาคามี ไม่กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้ นี้เรียกว่า บุคคลผู้มีสัญโญชน์ ในภายนอก เป็นอนาคามี ไม่กลับมาสู่ความเป็น อย่างนี้.

ผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีศีล สำรวมแล้วในปาติโมกขสังวร ถึงพร้อม ด้วยอาจาระและ โคจร มีปกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทาน ศึกษา อยู่ในสิกขาบททั้งหลาย

ภิกษุนั้นย่อมปฏิบัติเพื่อความหน่าย เพื่อคลาย เพื่อความ ดับกาม ทั้งหลาย ย่อมปฏิบัติเพื่อ ความหน่าย เพื่อคลาย เพื่อความ ดับ ภพ ทั้งหลาย ย่อมปฏิบัติ เพื่อสิ้นตัณหา เพื่อสิ้นความโลภ

ภิกษุนั้น เมื่อกายแตกทำลาย ย่อมเข้าถึง หมู่เทพหมู่ใดหมู่หนึ่ง ครั้นจุติจาก อัตภาพนั้น แล้ว เป็นอนาคามี ไม่กลับมาสู่ความ เป็นอย่างนี้ นี้เรียกว่า บุคคลผู้มี สัญโญชน์ ในภายนอก เป็นอนาคามี ไม่กลับมาสู่ความ เป็น อย่างนี้.

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านพระสารีบุตรว่า สารีบุตร เทวดาที่มีจิตเสมอกัน มากองค์ เข้าไปหาเรา จนถึงที่อยู่ ไหว้เราแล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ครั้นแล้ว บอกว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระสารีบุตรกำลังเทศนา ถึงบุคคล ผู้มีสัญโญชน์ในภายใน และบุคคลผู้มีสัญโญชน์ใน ภายนอกแก่ภิกษุทั้งหลาย อยู่ที่ปราสาทของนางวิสาขามิคาร มารดาในบุพพาราม

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บริษัทร่าเริง ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาค ทรงพระกรุณา เสด็จไปหาท่านพระสารีบุตร จนถึงที่อยู่เถิด

สารีบุตร ก็เทวดา เหล่านั้นยืนอยู่ ในโอกาส (พื้นที่) แม้เท่าปลายเหล็กแหลม จดลง ๑๐ องค์บ้าง ๒๐ องค์บ้าง ๓๐ องค์บ้าง ๔๐ องค์บ้าง ๕๐ องค์บ้าง ๖๐ องค์บ้าง แต่ก็ไม่เบียดกัน และกัน.

สารีบุตร ก็เธอพึงมีความคิดอย่างนี้ว่าจิตอย่างนั้น ซึ่งเป็นเหตุให้เทวดาเหล่านั้น ยืนอยู่ได้ในโอกาสแม้เท่าปลาย เหล็กแหลมจดลง ๑๐ องค์บ้าง … ๖๐ องค์บ้าง เป็นจิต อันเทวดาเหล่านั้น อบรมแล้ว ในภพนั้นแน่นอน

สารีบุตร ก็ข้อนั้นเธอไม่ควรเห็นเช่นนี้ สารีบุตร ก็จิตอย่างนั้น ซึ่งเป็นเหตุให้ เทวดา เหล่านั้นยืนอยู่ได้ในโอกาสแม้เท่าปลาย เหล็กแหลมจดลง ๑๐ องค์บ้าง … แต่ก็ไม่เบียดกันและกัน เทวดาเหล่านั้นได้อบรมแล้วในศาสนานี้เอง เพราะฉะนั้นแหละ

สารีบุตร เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักเป็นผู้มี อินทรีย์สงบ มีใจ สงบอยู่ เธอพึง ศึกษาอย่างนี้แหละ สารีบุตร กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ของผู้มีอินทรีย์สงบ มีใจสงบ ก็จักสงบด้วย เพราะเหตุนั้นแหละ

สารีบุตร เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่าจักนำ กายและจิตที่สงบแล้วเท่านั้น เข้าไป ในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย สารีบุตร เธอพึงศึกษาอย่างนี้แหละ สารีบุตร พวก อัญญเดียรถีย์ ปริพาชก ที่ไม่ได้ฟังธรรมบรรยายนี้ ได้พากัน ฉิบหายเสียแล้ว.


หน้า103
๓๗/ อนุสัย ๗
-บาลี สตฺตก. อํ. ๒๓/๘/๑๑.

ภิกษุทั้งหลาย อนุสัย ๗ ประการเหล่า นี้ ๗ ประการ เป็นอย่างไร คือ อนุสัยคือ กามราคะ อนุสัยคือ ปฏิฆะ อนุสัยคือ ทิฏฐิ อนุสัยคือ วิจิกิจฉา อนุสัยคือ มานะ อนุสัยคือ ภวราคะ อนุสัยคือ อวิชชา

ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้แล อนุสัย ๗ ประการ.

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อละ เพื่อตัด อนุสัย ๗ ประการเหล่านี้ ๗ ประการเป็นอย่างไร คือ อนุสัยคือกามราคะ … อนุสัยคือ อวิชชา ภิกษุย่อมอยู่ประพฤติ พรหมจรรย์เพื่อละ เพื่อตัด อนุสัย ๗ ประการ เหล่านี้แล.

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ภิกษุ

ละอนุสัย คือกามราคะเสียได้ ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา
ละอนุสัย คือ ปฏิฆะเสียได้ ...
ละอนุสัย คือ ทิฏฐิเสียได้ ...
ละอนุสัย คือ วิจิกิจฉาเสียได้ ...
ละอนุสัย คือ มานะเสียได้ ...
ละอนุสัย คือ ภวราคะเสียได้ ...
ละอนุสัย คือ อวิชชาเสียได้ ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไป เป็นธรรมดา

เมื่อนั้น ภิกษุนี้ เรากล่าวว่า ตัดตัณหาได้แล้ว เพิกถอนสัญโญชน์ได้แล้ว กระทำ ที่สุดทุกข์ได้แล้ว เพราะรู้ คือ ละมานะเสียได้ โดยชอบ.


หน้า104
๓๘/ อนุสัย ๕
-บาลี ม. ม. ๑๓/๑๕๔/๑๕๓.

มาลุงก๎ยบุตร เธอจำโอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ ที่เรา แสดงแล้วว่าอย่างไร.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ยังจำ ได้ซึ่งโอรัมภาคิย สัญโญชน์ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส กามฉันทะ พยาบาท ที่พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ยังจำได้ซึ่งโอรัมภาคิย สัญโญชน์ ๕ ที่พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงแล้วอย่างนี้.

มาลุงก๎ยบุตร เธอจำโอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ เหล่านี้ ที่เราแสดงแล้วอย่างนี้ แก่ใครหนอ.

มาลุงก๎ยบุตร นักบวช พวกอัญญเดียรถีย์จักโต้เถียง ด้วยคำโต้เถียง อันเปรียบ ด้วยเด็กนี้ได้ มิใช่หรือว่า

แม้แต่ความคิดว่ากายของตนดังนี้ ย่อมไม่มีแก่เด็กอ่อนผู้ยัง นอนหงายอยู่ ก็สักกายทิฏฐิ จักเกิดขึ้นแก่เด็กนั้น แต่ที่ไหน ส่วนสักกายทิฏฐิ อันเป็นอนุสัย (สกฺกายทิฏฺฐานุสโย) เท่านั้น ย่อมนอนตาม แก่เด็กนั้น

แม้แต่ความคิดว่าธรรมทั้งหลาย ดังนี้ ย่อมไม่มีแก่ เด็กอ่อน ผู้ยังนอนหงายอยู่ ก็ความสงสัยใน ธรรมทั้งหลายจักเกิดขึ้นแก่เด็กนั้น แต่ที่ไหน ส่วนวิจิกิจฉา อันเป็นอนุสัย (วิจิกิจฺฉานุสโย) เท่านั้น ย่อมนอนตาม แก่เด็กนั้น

แม้แต่ความคิดว่าศีลทั้งหลายดังนี้ ย่อมไม่มีแก่เด็กอ่อน ผู้ยัง นอนหงายอยู่ ก็สีลัพพตปรามาสในศีลทั้งหลายจักเกิดขึ้น แก่เด็กนั้นแต่ที่ไหน ส่วนสีลัพพต ปรามาสอันเป็นอนุสัย (สีลพฺพตปรามาสานุสโย) เท่านั้น ย่อมนอนตาม แก่เด็กนั้น

แม้แต่ ความคิดว่ากามทั้งหลายดังนี้ ย่อมไม่มีแก่ เด็กอ่อน ผู้ยังนอน หงายอยู่ ก็กามฉันทะในกามทั้งหลาย จักเกิดขึ้นแก่เด็กนั้น แต่ที่ไหน ส่วนกามราคะอัน เป็น อนุสัย (กามราคานุสโย) เท่านั้น ย่อมนอนตาม แก่เด็กนั้น

แม้แต่ความคิดว่าสัตว์ทั้งหลาย ดังนี้ ย่อมไม่มีแก่เด็กอ่อน ผู้ยัง นอนหงายอยู่ ก็ความพยาบาท ในสัตว์ทั้งหลายจักเกิดขึ้นแก่เด็กนั้นแต่ที่ไหน ส่วนพยาบาท อันเป็นอนุสัย (พฺยาปาทานุสโย) เท่านั้น ย่อมนอนตามแก่เด็กนั้น … 1
1. สามารถศึกษาเนื้อความเต็มได้ที่ พระไตรปิฎกฉบับหลวง เล่ม ๑๓ หน้า ๑๒๓ ข้อ ๑๕๓ -คณะผู้รวบรวม


หน้า 106
๓๙/ อนุสัย ๓ (ราคะ ปฏิฆะ อวิชชา)
-บาลี อุปริ. ม. ๑๔/๕๑๖/๘๒๒.

ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยตาด้วย รูปทั้งหลายด้วย จึงเกิดจักขุวิญญาณ การประจวบพร้อมแห่งธรรม ๓ ประการ นั่นคือ ผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา อันเป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง เป็นอทุกขมสุข1 บ้าง (อุปฺปชฺชติ
เวทยิตํ สุขํ วา ทุกฺขํ วา อทุกฺขมสุขํ วา).

1. อทุกขมสุข = ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุข -คณะผู้รวบรวม

เพราะอาศัยหูด้วย เสียงทั้งหลายด้วย จึงเกิด โสตวิญญาณ การประจวบพร้อม แห่งธรรม ๓ ประการ นั่นคือ ผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา อันเป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง เป็นอทุกขมสุขบ้าง.

เพราะอาศัยจมูกด้วย กลิ่นทั้งหลายด้วย จึงเกิด ฆานวิญญาณ การประจวบพร้อม แห่งธรรม ๓ ประการ นั่นคือ ผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา อันเป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง เป็นอทุกขมสุขบ้าง.

เพราะอาศัยลิ้นด้วย รสทั้งหลายด้วย จึงเกิด ชิวหาวิญญาณ การประจวบพร้อม แห่งธรรม ๓ ประการ นั่นคือ ผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา อันเป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง เป็นอทุกขมสุขบ้าง.

เพราะอาศัยกายด้วย โผฏฐัพพะทั้งหลายด้วย จึง เกิดกายวิญญาณ การประจวบพร้อมแห่งธรรม ๓ ประการ นั่นคือ ผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา อันเป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง เป็นอทุกขมสุขบ้าง.

เพราะอาศัยใจด้วย ธรรมทั้งหลายด้วย จึงเกิด มโนวิญญาณ การประจวบพร้อม แห่งธรรม ๓ ประการ นั่นคือ ผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา อันเป็น สุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง เป็นอทุกขมสุขบ้าง.

บุคคลนั้น เมื่อสุขเวทนา ถูกต้องอยู่ ย่อมเพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ สยบ มัวเมาอยู่ อนุสัยคือราคะ ย่อมนอนตาม แก่บุคคลนั้น (ตสฺส ราคานุสโย อนุเสติ).

เมื่อทุกขเวทนา ถูกต้องอยู่ เขาย่อมเศร้าโศก ระทมใจ คร่ำครวญ ตีอกร่ำไห้ ถึงความหลงใหลอยู่ อนุสัยคือปฏิฆะ ย่อมนอนตามแก่บุคคลนั้น (ตสฺส ปฏิฆา นุสโย อนุเสติ).

เมื่ออทุกขมสุขเวทนา ถูกต้องอยู่ เขาย่อมไม่รู้ตาม เป็นจริงซึ่งเหตุเกิด (สมุทย) ความตั้งอยู่ไม่ได้ (อตฺถงฺคม) รสอร่อย (อสฺสาท) โทษ (อาทีนว) อุบาย เครื่อง ออกไปพ้น (นิสฺสรณ) ของเวทนานั้น อนุสัยคืออวิชชา ย่อมนอนตามแก่ บุคคลนั้น (ตสฺส อวิชฺชานุสโย อนุเสติ).

บุคคลนั้นหนอ ยังละราคานุสัย อันเกิดจากสุขเวทนาไม่ได้
(สุขาย เวทนาย ราคานุสยํ อปฺปหาย)

ยังบรรเทาปฏิฆานุสัย อันเกิดจากทุกขเวทนาไม่ได้
(ทุกฺขาย เวทนาย ปฏิฆานุสยํ อปฺปฏิวิโนเทตฺวา)

ยังถอนอวิชชานุสัย อันเกิดจากอทุกขมสุขเวทนาไม่ได้
(อทุกฺขมสุขาย เวทนาย อวิชฺชานุสยํ อสมูหนิตฺวา)

เมื่อยังละอวิชชาไม่ได้ และยังทำวิชชาให้เกิดขึ้นไม่ได้แล้ว
(อวิชฺชํ อปฺปหาย วิชฺชํ อนุปฺปาเทตฺวา)

เขาจักทำที่สุดแห่งทุกข์ในทิฏฐธรรมนี้ได้นั้น
(ทิฏฺเฐว ธมฺเม ทุกฺขสฺสนฺตกโร ภวิสฺสตีติ)

ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จักมีได้
(เนตํ ฐานํ วิชฺชติ).



หน้า 109

๔๐/อนุสัย ๓
(มานะ ภวราคะ อวิชชา)
-บาลี สตฺตก. อํ. ๒๓/๗๑/๕๒.


ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงปุริสคติ ๗ ประการ และ อนุปาทาปรินิพพาน เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว

42-1
ภิกษุทั้งหลาย ก็ปุริสคติ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ

(1) ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติ อย่างนี้แล้ว ย่อมได้อุเบกขา ว่า ถ้าเราไม่พึงมี ของเราก็ไม่พึงมี ถ้าเราจักไม่มี ของเราก็จักไม่มี สิ่งใดมีอยู่ สิ่งใดมีแล้ว เราจะละสิ่งนั้น ดังนี้ เธอย่อมไม่ยินดีในภพ (ภเว น รชฺชติ) ไม่ติดข้องในสมภพ (สมฺภเว น สชฺชติ) ย่อมพิจารณาเห็นบท อันสงบระงับ อย่างยิ่งด้วยปัญญาอันชอบ

ก็บทนั้นแล เธอนั้นยังทำให้ แจ้งไม่ได้โดยอาการ ทั้งปวง อนุสัยคือมานะ เธอก็ยังละ ไม่ได้โดยอาการทั้งปวง อนุสัยคือภวราคะ เธอก็ยังละไม่ได้ โดยอาการทั้งปวง อนุสัยคืออวิชชา เธอก็ยังละไม่ได้โดย อาการทั้งปวง

เพราะ โอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ สิ้นไป เธอนั้นย่อมเป็น อันตราปรินิพพายี เปรียบเหมือน เมื่อนายช่าง ตีแผ่นเหล็กที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน สะเก็ดไฟ สำเร็จแล้ว ดับไป ฉะนั้น.1 (ปปฺปฏิกา นิพฺพตฺติตฺวา 2 นิพฺพาเยยฺย)
1. อุปมานี้ พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับหลวงไม่ได้ใส่ไว้ แต่มีมาโดยภาษาบาลี จึงได้
เทียบเคียงสำ นวนแปลมาจากพระไตรปิฎกฉบับอื่น. -คณะผู้รวบรวม
2. นิพฺพตฺติตฺวา = สำ เร็จแล้ว, เสร็จแล้ว -คณะผู้รวบร

(2) ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติ อย่างนี้แล้ว ย่อมได้อุเบกขา ว่า ถ้าเราไม่พึงมี ของเราก็ไม่ พึงมี ถ้าเราจักไม่มี ของเราก็จักไม่มี สิ่งใดมีอยู่ สิ่งใดมี แล้ว เราจะละสิ่งนั้น ดังนี้ เธอย่อมไม่ยินดีในภพ ไม่ติดข้อง ในสมภพ ย่อมพิจารณาเห็นบทอันสงบระงับอย่างยิ่งด้วย ปัญญาอันชอบ ก็บทนั้นแล เธอนั้น ยังทำให้แจ้งไม่ได้โดย อาการทั้งปวง อนุสัยคือมานะ … อนุสัยคือ ภวราคะ … อนุสัย คืออวิชชา เธอก็ยังละไม่ได้โดยอาการทั้งปวง เพราะ โอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ สิ้นไป เธอย่อมเป็นอันตราปรินิพพายี เปรียบเหมือน เมื่อนายช่างตีแผ่นเหล็ก ที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน สะเก็ดไฟ สำเร็จแล้ว ลอยไป แล้วก็ดับ ฉะนั้น (ปปฺปฏิกา นิพฺพตฺติตฺวา อุปฺปติตฺวา นิพฺพาเยยฺย).

(3) ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติ อย่างนี้แล้ว … เพราะ โอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ สิ้นไป เธอย่อมเป็นอันตราปรินิพพายี เปรียบเหมือน เมื่อนายช่างตี แผ่นเหล็กที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน สะเก็ดไฟสำเร็จแล้ว ลอยไป ตกยังไม่ถึงพื้นก็ดับ ฉะนั้น (ปปฺปฏิกา นิพฺพตฺติตฺวา อุปฺปติตฺวา อนุปหจฺจตลํ นิพฺพาเยยฺย).

(4) ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติ อย่างนี้แล้ว … เพราะ โอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ สิ้นไป เธอย่อมเป็นอุปหัจจปรินิพพายี เปรียบเหมือนเมื่อ นายช่างตี แผ่นเหล็กที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน สะเก็ดไฟสำเร็จแล้ว ลอยไปตกถึง พื้นแล้วก็ดับ ฉะนั้น (ปปฺปฏิกา นิพฺพตฺติตฺวา อุปฺปติตฺวา อุปหจฺจตลํ นิพฺพาเยยฺย).

(5) ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติ อย่างนี้แล้ว …เพราะ โอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ สิ้นไป เธอย่อมเป็นอสังขารปรินิพพายี เปรียบเหมือน เมื่อนายช่างตี แผ่นเหล็กที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน สะเก็ดไฟสำเร็จแล้ว ลอยไป
แล้วตกลงที่กองหญ้าหรือกองไม้เล็กๆ สะเก็ดนั้นย่อมให้ ไฟเกิดขึ้น และ ควัน เกิดขึ้น ครั้นให้ไฟเกิดขึ้นและควัน เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเผากองหญ้า หรือกองไม้ เล็กๆ นั้นให้หมดไป จนหมดเชื้อแล้วก็ดับ ฉะนั้
(ปปฺปฏิกา นิพฺพตฺติตฺวา อุปฺปติตฺวา ปริตฺเต ติณปุญฺเช วา กฏฺฐปุญฺเช วา นิปเตยฺย สา ตตฺถ อคฺคิมฺปิ ชเนยฺย ธูมมฺปิ ชเนยฺย อคฺคิมฺปิ ชเนตฺวา ธูมมฺปิ ชเนตฺวา ตเมว ปริตฺตํ ติณปุญฺชํ วา กฏฺฐปุญฺชํ วา ปริยาทิยิตฺวา อนาหารา นิพฺพาเยยฺย).

(6) ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติ อย่างนี้แล้ว … เพราะ โอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ สิ้นไป เธอย่อมเป็นสสังขารปรินิพพายี เปรียบเหมือน เมื่อนายช่างตี แผ่นเหล็กที่ถูกเผา อยู่ตลอดวัน สะเก็ดไฟสำเร็จแล้ว ลอยไป แล้วตกลง ที่กองหญ้าหรือกองไม้เขื่องๆ สะเก็ดนั้นย่อมให้ ไฟเกิดขึ้น และควัน เกิดขึ้น ครั้นให้ไฟ เกิดขึ้นและควัน เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเผากองหญ้า หรือ กองไม้ เขื่องๆ นั้นให้หมดไป จนหมดเชื้อ แล้วก็ดับ ฉะนั้น (ปปฺปฏิกา นิพฺพตฺติตฺวา อุปฺปติตฺวา วิปุเล ติณปุญฺเช วา กฏฺฐปุญฺเช วา นิปเตยฺย สา ตตฺถ อคฺคิมฺปิ ชเนยฺย ธูมมฺปิ ชเนยฺย อคฺคิมฺปิ ชเนตฺวา ธูมมฺปิ ชเนตฺวา ตเมว วิปุลํ ติณปุญฺชํ วา กฏฺฐปุญฺชํ วา ปริยาทิยิตฺวา อนาหารา นิพฺพาเยยฺย).

(7) ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติ อย่างนี้แล้ว … เพราะ โอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ สิ้นไป เธอย่อมเป็นอุทธังโสโตอกนิฏฐคามี (ผู้มีกระแส ในเบื้องบนไปสู่ อกนิฏฐภพ) เปรียบเหมือนเมื่อนายช่าง ตีแผ่นเหล็ก ที่ถูกเผา อยู่ตลอดวัน สะเก็ดไฟสำเร็จ แล้ว ลอยไป แล้วตกลงที่กอง หญ้าหรือกองไม้ ใหญ่ๆ สะเก็ดนั้นย่อมให้ไฟเกิดขึ้นและ ควันเกิดขึ้น ครั้นให้ไฟเกิดขึ้น และ ควันเกิดขึ้นแล้ว ย่อมเผา กองหญ้าหรือกองไม้ใหญ่ๆ นั้นให้หมดไป แล้วจึง ลามไปไหม้ไม้กอและป่าไม้ ครั้นไหม้ไม้กอและป่าไม้แล้ว ลามมา ถึงที่สุด หญ้าเขียว ที่สุดภูเขา ที่สุดชายน้ำ หรือภูมิภาคอัน น่ารื่นรมย์ หมดเชื้อแล้วก็ดับ ฉะนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้แล ปุริสคติ ๗ ประการ.


42-2 (อนุปาทาปรินิพพานเป็นอย่างไร)

ภิกษุทั้งหลาย ส่วนอนุปาทาปรินิพพานเป็นอย่างไร
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใน ธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้แล้ว ย่อมได้อุเบกขาว่า ถ้าเราไม่พึงมี ของเรา ก็ไม่พึงมี ถ้าเรา จักไม่มี ของเราก็จักไม่มี สิ่งใดมีอยู่ สิ่งใดมีแล้ว เราจะละ สิ่งนั้น ดังนี้ เธอย่อมไม่ยินดีในภพ ไม่ติดข้องในสมภพ ย่อมพิจารณาเห็นบท อันสงบระงับ อย่างยิ่งด้วยปัญญาอันชอบก็บทนั้นแล

เธอนั้นทำให้แจ้งแล้วโดยอาการทั้งปวง อนุสัย คือมานะ เธอก็ละได้แล้ว โดยอาการทั้งปวง อนุสัยคือ ภวราคะ เธอก็ละได้แล้วโดยอาการทั้งปวง อนุสัย คืออวิชชา เธอก็ละได้แล้ว โดยอาการทั้งปวง เธอย่อมกระทำให้แจ้งซึ่ง เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะ ทั้งหลายสิ้นไป ด้วย ปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.

ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า อนุปาทาปรินิพพาน.

ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้แล ปุริสคติ ๗ ประการ และ อนุปาทาปรินิพพาน.


หน้า114

๔๑/ อหังการ มมังการ มานานุสัย
-บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๒๕/๑๙๑.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่อย่างไร จึงจะไม่มีอหังการ มมังการ และมานานุสัย ในกายที่มีวิญญาณนี้ และ ในนิมิตทั้งปวงในภายนอก.

ภิกษุ รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง
ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต หรือ ปัจจุบันก็ดี ทั้งที่เป็น ภายใน หรือ ภายนอกก็ดี หยาบหรือ ละเอียดก็ดี เลวหรือประณีตก็ดี มีในที่ไกล หรือที่ใกล้ก็ดี อริยสาวก ย่อมพิจารณาเห็นรูปทั้งหมดนั้น ด้วยปัญญาอันชอบ ตามที่เป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ ของเรา (เนตํ มม) นั่นไม่ใช่ เป็นเรา (เนโสหมสฺมิ) นั่นไม่ใช่ตัวตน ของเรา (น เมโส อตฺตา).

เวทนาอย่างใดอย่างใดหนึ่ง
อริยสาวกย่อมพิจารณา เห็นเวทนาทั้งหมดนั้น ด้วยปัญญาอันชอบ ตามที่เป็นจริง อย่าง นี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา

สัญญา อย่างใดอย่างหนึ่ง
อริยสาวกย่อมพิจารณา เห็นสัญญาทั้งหมดนั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามที่เป็นจริง อย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา

สังขาร อย่างใดอย่างหนึ่ง
อริยสาวกย่อมพิจารณา เห็นสังขารทั้งหมดนั้น ด้วยปัญญาอันชอบ ตามที่เป็นจริง อย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา

วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง
ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต หรือปัจจุบันก็ดี ทั้งที่เป็นภายในหรือภายนอกก็ดี หยาบ หรือ ละเอียดก็ดี เลวหรือประณีตก็ดี มีในที่ไกลหรือที่ใกล้ก็ดี

อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นวิญญาณทั้งหมดนั้น ด้วยปัญญาอันชอบ ตามที่ เป็นจริง อย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่ เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตน ของเรา.

ภิกษุ เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล จึงจะไม่มีอหังการ มมังการ และ มานานุสัย1 ในกายที่มี วิญญาณนี้ และในนิมิตทั้งปวงในภายนอก (สวิญฺญาณเก กาเย พหิทฺธา จ สพฺพนิมิตฺเตสุ อหงฺการมมงฺการมานานุสยา น โหนฺตีติ).

1. อหังการ = ทิฏฐิอันเป็นเหตุให้กระทำ ความถือตัวว่าเรา

มมังการ = ตัณหาอันเป็นเหตุให้กระทำ การยึดถือว่าของเรา
มานานุสัย = อนุสัย คือ มานะ (ความเคยชิน คือ ความถือตัว) -คณะผู้รวบรวม


--------------------------------------------------------------------------------------------------------
บทถัดไป บทที่ 42 สฬายตนวิภังค์ หน้า 116)

  Top Next