เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
สังโยชน์ พุทธวจน
หนังสือพุทธวจนออนไลน์   ดูหนังสือทั้งหมด
90 90 90 90 90
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์  
   
ค้นหาคำที่ต้องการ              

  สังโยชน์ - พุทธวจน ดาวน์โหลดหนังสือ(ไฟล์ PDF)
  
  1 of 11  
 
  สังโยชน์ พุทธวจน  ที่มา : http://watnapp.com/files  
       
    สารบัญ เลขหน้า
ตาม หนังสือ
 
       
  สังโยชน์ พุทธวจน เปิดธรรมที่ถูกปิด -  
  พุ ท ธ ว จ น ฉบับ ๒๐ สังโยชน์ -  
  คำอนุโมทนา -  
  คำนำ -  
  อักษรย่อ -  
  สารบัญ -  
  ทำความเข้าใจสังโยชน์ โดยสรุป 1  
 
   
  สังโยชน์คืออะไร    
  ๐๑ / ที่ตั้งแห่งสัญโญชน์ และสัญโญชน์ 3  
  ๐๒ / ที่ตั้งแห่งอุปาทาน และอุปาทาน 5  
  ๐๓ / ความเพลิน คือ อุปาทาน 7  
  ๐๔ / นิวรณ์ (เครื่องกั้น) คือ อวิชชา 13  
  สังโยชน์มีอะไรบ้าง    
  ๐๕ / นิวรณ์ ๕ คือ เครื่องร้อยรัด 14  
  ๐๖ / สังโยชน์ ๑๐ 17  
  ข้อเสียของการมีสังโยชน์    
  ๐๗ / เพราะมีสังโยชน์ สัตว์จึงท่องเที่ยวไปแล้วในสังสารวัฏ 19  
  ๐๘ / สัตว์ผู้มีอวิชชา ได้ท่องเที่ยวไปแล้วตลอดกาล ยืดยาวนาน 22  
  ๐๙ / เรียกว่า “สัตว์” เพราะมี ฉันทะ ราคะ นันทิ ตัณหา ในขันธ์ ๕ 24  
  ๑๐ / ฉันทะ เป็นมูลเหตุแห่งทุกข์ 27  
  ข้อดีของการละสังโยชน์    
  ๑๑ / ละสังโยชน์ได้ จะได้อมตะ 31  
  ๑๒ / ละสังโยชน์ได้ จะพ้นจากอบาย ทุคติ วินิบาต นรก 32  
  ๑๓ / ก้าวข้ามปุถุชนภูมิเมื่อละสังโยชน์ข้อแรกได้ 33  
  วิธีในการละสังโยชน์    
  ๑๔ / เหตุเกิดแห่งสักกายทิฏฐิ 36  
  ๑๕ / ปฏิปทาอันให้ถึงความดับ ไม่เหลือแห่งสักกายะ 38  
  ๑๖ / รอบรู้ซึ่งสักกายะ 40  
       
 
 


P1

สังโยชน์
พุทธวจน เปิดธรรมที่ถูกปิด

ภิกษุทั้งหลาย เราไม่มองเห็นสังโยชน์อื่น แม้อย่างหนึ่ง ซึ่งเมื่อสัตว์ทั้งหลาย ถูกสังโยชน์ผูกมัดแล้ว ย่อมแล่นไป ท่องเที่ยวไป ตลอดกาลยืดยาวนาน เหมือนอย่างสังโยชน์ คือ ตัณหานี้เลย (ตณฺหาสํโยชนํ).

ภิกษุทั้งหลาย เพราะว่าสัตว์ทั้งหลายที่ถูก สังโยชน์ คือ ตัณหาผูกมัดแล้ว (ตณฺหาสํโยชเนน สํยุตฺตา) ย่อมแล่นไป ท่องเที่ยวไป ตลอดกาลยืดยาวนาน.
-บาลี อิติวุ. ขุ. ๒๕/๒๓๖/๑๙๓.

มิคชาละ ภิกษุผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยการผูกติด (กับอารมณ์) ด้วยความเพลิน (นนฺทิสญฺโญชน- สํยุตฺโต) นั่นแหละ เราเรียกว่า ผู้มีการอยู่อย่างมี เพื่อนสอง … .-บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๔๓/๖๖.

ภิกษุทั้งหลาย รูป เป็นธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์ ความกำหนัดด้วยอำนาจ ความพอใจ (ฉนฺทราโค) ในรูป ชื่อว่า สังโยชน์ ภิกษุทั้งหลาย เวทนา … สัญญา … สังขาร … วิญญาณ เป็นธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์ ความกำหนัดด้วยอำนาจ ความพอใจใน เวทนา … สัญญา … สังขาร … วิญญาณ ชื่อว่า สังโยชน์ … .

ภิกษุทั้งหลาย รูป เป็นธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน ความกำหนัดด้วยอำนาจ ความพอใจ (ฉนฺทราโค) ในรูป ชื่อว่า อุปาทาน ภิกษุทั้งหลาย เวทนา … สัญญา … สังขาร … วิญญาณ เป็นธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน ความกำหนัดด้วยอำนาจ ความพอใจในเวทนา … สัญญา … สังขาร … วิญญาณ ชื่อว่า อุปาทาน … .
-บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๐๒/๓๐๘-๓๐๙.

… ก็บุคคลย่อมย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำสรรเสริญ ย่อมเมาหมกอยู่ซึ่งรูป เมื่อเขานั้นเพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ เมาหมกอยู่ซึ่งรูป ความเพลิน (นนฺทิ) ย่อมเกิดขึ้น ความเพลินใด ในรูป ความเพลินนั้น คือ อุปาทาน ... ความเพลินใด ในเวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณ ความเพลินนั้น คือ อุปาทาน … .
-บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๘/๒๗.

ภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์ ๗ ประการเหล่า๗ ประการอะไรบ้าง คือ อนุนยสังโยชน์ ปฏิฆสังโยทิฏฐิสังโยชน์ วิจิกิจฉาสังโยชน์ มานสังโยภวราคสังโยชน์ อวิชชาสังโยชน์ ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้แลสังโยชน์ ๗ ประการ
-บาลี สตฺตก. อํ. ๒๓/๗/๘.

ภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์ ๑๐ ประการเหล่า๑๐ ประการอะไรบ้าง คือ
โอรัมภาคิยสังโย (สังโยชน์เบื้องต่ำ) ๕ ประการ และ
อุทธัมภาคิยสังโย (สังโยชน์เบื้องสูง) ๕ ประการ.

ภิกษุทั้งหลาย ก็ โอรัมภาคิยสังโย๕ ประการอะไรบ้าง คือ
สักกายทิฏฐิ วิจิกิจสีลัพพตปรามาส กามฉันทะ พยาบาท …

ภิกษุทั้งหลาย ก็ อุทธัมภาคิยสังโย๕ ประการอะไรบ้าง คือ
รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา …

ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้แลสังโยชน์ ๑๐ ประการ
-บาลี ทสก.


P2
พุ ท ธ ว จ น

ฉบับ ๒๐ สังโยชน์
ข้อมูลธรรมะนี้ จัดทำเพื่อประโยชน์ทางการศึกษาสู่สาธารณชน เป็นธรรมทาน ลิขสิทธิ์ในต้นฉบับนี้ได้รับการสงวนไว้ ในการจะจัดทำ หรือเผยแผ่ โปรดใช้ความละเอียดรอบคอบ เพื่อรักษาความถูกต้องของข้อมูล ให้ขออนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร และปรึกษาด้านข้อมูลในการจัดทำ เพื่อความสะดวกและประหยัด

ติดต่อได้ที่ ตัวแทนคณะศิษย์
คุณสหัทญา คุ้มชนะ ๐๙ ๒๕๒๖ ๑๒๓๖
มูลนิธิพุทธโฆษณ์ ๐๘ ๒๒๒๒ ๕๗๙๐-๙๔
มูลนิธิพุทธวจน ๐๘ ๑๔๕๗ ๒๓๕๒
คุณอารีวรรณ ๐๘ ๕๐๕๘ ๖๘๘๘
ปีที่พิมพ์ ๒๕๖๓
ศิลปกรรม ณรงค์เดช เจริญปาละ, ปริญญา ปฐวินทรานนท์
จัดทำโดย มูลนิธิพุทธโฆษณ์
(เว็บไซต์ www.buddhakos.org)

P3
คำอนุโมทนา

ขออนุโมทนากับคณะงานธัมมะ ผู้จัดทำหนังสือ พุทธวจน ฉบับ สังโยชน์ ที่มีความตั้งใจและมีเจตนาอันเป็น กุศล ในการเผยแผ่คำสอน ของตถาคต อรหันตสัมมาสัมพุทธะ ที่ออกจากพระโอษฐ์ของพระองค์เอง ในการรวบรวม คำสอน ของตถาคต อันเกี่ยวข้องกับสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น ตัณหา เป็นเครื่องผูก ที่ยังต้องแล่นไป ท่องเที่ยวไป ในสังสารวัฏ.

ด้วยเหตุอันดีที่ได้กระทำมาแล้วนี้ ขอจงเป็นเหตุ ปัจจัยให้ผู้มีส่วนร่วมในการ ทำหนังสือ และผู้ที่ได้อ่าน ได้ศึกษา ได้นำไปปฏิบัติ พึงสำเร็จสมหวัง พบความเจริญ รุ่งเรืองของชีวิตได้จริงในทางโลก และได้ดวงตาเห็นธรรม สำเร็จผลยังนิพพาน สมดังความปรารถนา ตามเหตุปัจจัย ที่ได้สร้างมาอย่างดีแล้ว ด้วยเทอญ.

ขออนุโมทนา
ภิกขุคึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล


P4
คำนำ

ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ชื่อว่า สังโยชน์ เราไม่มองเห็นสังโยชน์อื่นแม้อย่างหนึ่ง ซึ่งเมื่อ สัตว์ทั้งหลาย ถูกสังโยชน์ผูกมัดแล้ว ย่อมแล่นไป ย่อม ท่องเที่ยวไปในสังสารวัฏ ตลอดกาล ยืดยาวนานถึงเพียงนี้ เหมือนอย่างตัณหาสังโยชน์ เพราะว่าสัตว์ทั้งหลาย ที่ถูก สังโยชน์ คือ ตัณหาผูกมัดแล้ว ย่อมแล่นไปท่องเที่ยวไป ตลอดกาลยืดยาวนาน สัตว์เหล่านั้น ได้เสวยทุกข์ ความเผ็ดร้อน ความพินาศ ได้เพิ่มพูนปฐพี ที่เป็นป่าช้าตลอดกาลนาน เหมือนอย่างนั้น ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ก็พอแล้ว เพื่อจะเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง พอแล้วเพื่อจะ คลายกำหนัด พอแล้วเพื่อจะหลุดพ้น

พุทธวจน ฉบับ สังโยชน์ เป็นการรวบรวมตถาคตภาษิต โดยร้อยเรียงข้อ ธรรม ตามสุคตวินโย อันเกี่ยวข้องกับสังโยชน์ไว้ ทั้งลักษณะของสังโยชน์ สังโยชน์เป็นอย่างไร การเกิดขึ้น ของสังโยชน์ โทษของสังโยชน์ และข้อปฏิบัติ เพื่อละสังโยชน์ เพื่อให้ผู้ที่เสพคบ จะก้าวลงสู่หนทาง แห่งความถูกต้อง ก้าวลง สู่ภูมิแห่งสัปบุรุษ ล่วงพ้นปุถุชนภูมิ อันเป็นเหตุให้พ้นจาก นรก กำเนิดเดรัจฉาน หรือเปรตวิสัย และเป็นยาถ่ายอันเป็นอริยะ ที่ได้ผลโดยส่วนเดียว ไม่มีที่จะไม่ได้ผล เป็นยาถ่ายซึ่งอาศัยแล้ว สัตว์ที่มีความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย มีโสกะปริเทวะ ทุกขะโทมนัส อุปายาสะทั้งหลายเป็นธรรมดา จะพ้นจากความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย โสกะปริเทวะ ทุกขะโทมนัส อุปายาสะ ทั้งหลาย

และเมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหา เป็นเครื่องผูก ได้เจริญอานาปานสติสมาธิ ซึ่งเมื่อเจริญ แล้ว ทำให้มากแล้ว จะเป็นไปเพื่อการ ละสังโยชน์ทั้งหลาย เพราะเหตุว่าการเจริญอานาปานสติ แม้ชั่วกาลเพียง ลัดนิ้วมือ ตถาคตกล่าวว่า เป็นผู้อยู่ไม่เหินห่างจากฌาน ทำตามคำสอน ของพระศาสดา ปฏิบัติตามโอวาท และมีอมตะ คือ ความสิ้นไป แห่งราคะ ความสิ้นไปแห่งโทสะ ความสิ้นไปแห่งโมหะ เป็นที่สุดจบ

ส่วนอริยสาวกเหล่าใด ละโมหะได้แล้ว ทำลายกอง แห่งความมืดได้แล้ว ย่อมไม่ต้องท่องเที่ยวไปอีก เพราะ อวิชชาอันเป็นต้นเหตุ ย่อมไม่มีแก่อริยสาวก เหล่านั้น ถ้าเราไม่พึงมี ของเราก็ไม่พึงมี ถ้าเราจักไม่มี ของเรา ก็จักไม่มี ดังนี้.

คณะงานธัมมะ วัดนาป่าพง


P5
อักษรย่อ
เพื่อความสะดวกแก่ผู้ที่ยังไม่เข้าใจเรื่องอักษรย่อ
ที่ใช้หมายแทนชื่อคัมภีร์ ซึ่งมีอยู่โดยมาก
มหาวิ. วิ. มหาวิภังค์ วินัยปิฎก.
ภิกฺขุนี. วิ. ภิกขุนีวิภังค์ วินัยปิฎก.
มหา. วิ. มหาวรรค วินัยปิฎก.
จุลฺล. วิ. จุลวรรค วินัยปิฎก.
ปริวาร. วิ. ปริวารวรรค วินัยปิฎก.
สี. ที. สีลขันธวรรค ทีฆนิกาย.
มหา. ที. มหาวรรค ทีฆนิกาย.
ปา. ที. ปาฏิกวรรค ทีฆนิกาย.
มู. ม. มูลปัณณาสก์ มัชฌิมนิกาย.
ม. ม. มัชฌิมปัณณาสก์ มัชฌิมนิกาย.
อุปริ. ม. อุปริปัณณาสก์ มัชฌิมนิกาย.
สคาถ. สํ. สคาถวรรค สังยุตตนิกาย.
นิทาน. สํ. นิทานวรรค สังยุตตนิกาย.
ขนฺธ. สํ. ขันธวารวรรค สังยุตตนิกาย.
สฬา. สํ. สฬายตนวรรค สังยุตตนิกาย.
มหาวาร. สํ. มหาวารวรรค สังยุตตนิกาย.
เอก. อํ. เอกนิบาต อังคุตตรนิกาย.
ทุก. อํ. ทุกนิบาต อังคุตตรนิกาย.
ติก. อํ. ติกนิบาต อังคุตตรนิกาย.
จตุกฺก. อํ. จตุกกนิบาต อังคุตตรนิกาย.
ปญฺจก. อํ. ปัญจกนิบาต อังคุตตรนิกาย.
ฉกฺก. อํ. ฉักกนิบาต อังคุตตรนิกาย.
สตฺตก. อํ. สัตตกนิบาต อังคุตตรนิกาย.
อฏฺฐก. อํ. อัฏฐกนิบาต อังคุตตรนิกาย.
นวก. อํ. นวกนิบาต อังคุตตรนิกาย.
ทสก. อํ. ทสกนิบาต อังคุตตรนิกาย.
เอกาทสก. อํ. เอกาทสกนิบาต อังคุตตรนิกาย.
ขุ. ขุ. ขุททกปาฐะ ขุททกนิกาย.
ธ. ขุ. ธรรมบท ขุททกนิกาย.
อุ. ขุ. อุทาน ขุททกนิกาย.
อิติวุ. ขุ. อิติวุตตกะ ขุททกนิกาย.
สุตฺต. ขุ. สุตตนิบาต ขุททกนิกาย.
วิมาน. ขุ. วิมานวัตถุ ขุททกนิกาย.
เปต. ขุ. เปตวัตถุ ขุททกนิกาย.
เถร. ขุ. เถรคาถา ขุททกนิกาย.
เถรี. ขุ. เถรีคาถา ขุททกนิกาย.
ชา. ขุ. ชาดก ขุททกนิกาย.
มหานิ. ขุ. มหานิทเทส ขุททกนิกาย.
จูฬนิ. ขุ. จูฬนิทเทส ขุททกนิกาย.
ปฏิสมฺ. ขุ. ปฏิสัมภิทามรรค ขุททกนิกาย.
อปท. ขุ. อปทาน ขุททกนิกาย.
พุทฺธว. ขุ. พุทธวงส์ ขุททกนิกาย.
จริยา. ขุ. จริยาปิฎก ขุททกนิกาย.

ตัวอย่าง : ๑๔/๑๗๑/๒๔๕ ให้อ่านว่า ไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ เล่ม ๑๔ หน้า ๑๗๑ ข้อที่ ๒๔๕


P6
สารบัญ (ตามหนังสือ)

สังโยชน์คืออะไร 2
1. ที่ตั้งแห่งสัญโญชน์ และสัญโญชน์ หน้า 3
2. ที่ตั้งแห่งอุปาทาน และอุปาทาน 5
3. ความเพลิน คือ อุปาทาน 7
4. นิวรณ์ (เครื่องกั้น) คือ อวิชชา 13
5. นิวรณ์ ๕ คือ เครื่องร้อยรัด 14


สังโยชน์มีอะไรบ้าง หน้า
16
6. สังโยชน์ ๑๐ 17

ข้อเสียของการมีสังโยชน์ หน้า18
7. เพราะมีสังโยชน์ สัตว์จึงท่องเที่ยวไปแล้วในสังสารวัฏ หน้า19
8. สัตว์ผู้มีอวิชชา ได้ท่องเที่ยวไปแล้วตลอดกาลยืดยาวนาน 22
9. เรียกว่า “สัตว์” เพราะมี ฉันทะ ราคะ นันทิ ตัณหา ในขันธ์ ๕ 24
10 . ฉันทะ เป็นมูลเหตุแห่งทุกข์ 27

ข้อดีของการละสังโยชน์ หน้า30
11 . ละสังโยชน์ได้ จะได้อมตะ 31
12 . ละสังโยชน์ได้ จะพ้นจากอบาย ทุคติ วินิบาต นรก 32
13 . ก้าวข้ามปุถุชนภูมิ เมื่อละสังโยชน์ข้อแรกได้ 33

วิธีในการละสังโยชน์ หน้า35
14 . เหตุเกิดแห่งสักกายทิฏฐิ 36
15 . ปฏิปทาอันให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งสักกายะ 38
16 . รอบรู้ซึ่งสักกายะ 40
17 . อานาปานสติสมาธิ เป็นเหตุให้ละสัญโญชน์ได้ 42
18 . เจริญอานาปานสติ ชั่วกาลลัดนิ้วมือชื่อว่าไม่เหินห่างจากฌาน 43
19 . อานิสงส์ของการเจริญกายคตาสติ 44
20 . ละนันทิ 45


ผู้ละสังโยชน์ได้แล้วเรียกว่าอะไร หน้า46
21 . ความเป็นอริยบุคคล กับการละสัญโญชน์ (บุคคล ๔ จำพวก) 47
22 . ความเป็นอริยบุคคล กับการละกามโยคะและภวโยคะ (บุคคล ๓ จำพวก) 50

23 . อริยบุคคลละสัญโญชน์ได้ไม่เท่ากัน (นัยที่ ๑) 51

พระสูตรศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับสังโยชน์ หน้า53
24 . สัญโญชน์ ๘ 54
25 . สัญโญชน์ ๗ (นัยที่ ๑) 68
(หนังสือต้นฉบับจากไฟล์ pdf ไม่มีบทที่ 25)
26 . สัญโญชน์ ๗ (นัยที่ ๒) 69
27 . ตัณหาสังโยชน์ 70
28 . กามสัญโญชน์ 71
29 . ความติดใจ ก็เป็นสัญโญชน์ 77
30 . การผูกติดด้วยความเพลิน 81
31 . โยคะ ๔ 89
32 . สัญโญคะ วิสัญโญคะ 92
33 . ความพัวพันด้วยสัญโญชน์และความยึดมั่น 96
34 . ความพัวพันและความหมกมุ่นด้วยสัญโญชน์และความยึดมั่น 98
35 . ผู้มีสัญโญชน์ในภายใน และในภายนอก 100
36 . อนุสัย ๗ 103
37 . อนุสัย ๕ 104
38 . อนุสัย ๓ (ราคะ ปฏิฆะ อวิชชา) 106
39 . อนุสัย ๓ (มานะ ภวราคะ อวิชชา) 109
40 . อหังการ มมังการ มานานุสัย 114
41 . สฬายตนวิภังค์ (การจำแนกอายตนะ โดยละเอียด) 116
42 . เจริญสติปัฏฐาน ๔ เพื่อละ โอรัมภาคิยสังโยชน์ 135
43 . เจริญสติปัฏฐาน ๔ เพื่อละ อุทธัมภาคิยสังโยชน์ 137
44 . ผลของการเจริญสติปัฏฐาน ๔ 139
45 . ปฏิปทาให้ถึงการเจริญสติปัฏฐาน 140
46 . ถ้าเจริญสติปัฏฐาน ๔จะเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน
47 . เจริญสัมมัปปธาน ๔ เพื่อละ โอรัมภาคิยสัญโญชน์ 144
48 . เจริญสัมมัปปธาน ๔ เพื่อละ อุทธัมภาคิยสัญโญชน์ 146
49 . เจริญอิทธิบาท ๔ เพื่อละ โอรัมภาคิยสัญโญชน์ 148
50 . เจริญอิทธิบาท ๔ เพื่อละ อุทธัมภาคิยสัญโญชน์ 150
51 . ผลของการเจริญอิทธิบาท ๔ 152
52 . เจริญอินทรีย์ ๕ เพื่อละ โอรัมภาคิยสัญโญชน์ 153
53 . เจริญอินทรีย์ ๕ เพื่อละ อุทธัมภาคิยสัญโญชน์ 155
54 . ผลของการเจริญอินทรีย์ ๕ 157
55 . เจริญพละ ๕ เพื่อละ โอรัมภาคิยสัญโญชน์ 158
56 . เจริญพละ ๕ เพื่อละ อุทธัมภาคิยสัญโญชน์ 160
57 . อินทรีย์ ๕ กับ พละ ๕ 162
58 . เจริญโพชฌงค์ ๗ เพื่อละ โอรัมภาคิยสัญโญชน์ 164
59 . เจริญโพชฌงค์ ๗ เพื่อละ อุทธัมภาคิยสัญโญชน์ 166
60 . เจริญโพชฌงค์ ๗ ย่อมเป็นไปเพื่อละธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสัญโญชน์ 168
61 . ผลของการเจริญโพชฌงค์ ๗ (นัยที่ ๑)

เหตุจากการเจริญอานาปานสติ หน้า170
62 . ผลของการเจริญโพชฌงค์ ๗ (นัยที่ ๒)

เหตุจากการได้ฟังธรรม แล้วระลึกถึง ตรึกถึงธรรมนั้น 186
63 . เจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘เพื่อละ โอรัมภาคิยสัญโญช น์191
64 . เจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อละ อุทธัมภาคิยสัญโญชน์ 193
65 . เจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘

ละสัญโญชน์ได้ไม่ยาก หน้า195
66 . เจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อละ อนุสัย ๗ 197
67 . เจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อละ โยคะ ๔ 198
68 . เจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อละ อาสวะ ๓ 199
69 . เจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อละ ตัณหา ๓ 200
70 . เจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อละ อุปาทานขันธ์ ๕ 201
71 . เจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อละ ภพ ๓ 202
72 . เจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อละ การแสวงหา ๓ 203
73 . เจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อละ กามคุณ ๕ 204
74 . เจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อละ นิวรณ์ ๕ 206
75 . ยาถ่ายอันเป็นอริยะ 207
76 . ทุกข์เกิด เพราะเห็นสัญโญชนิยธรรมโดยความเป็นอัสสาทะ (นัยที่ ๑) 210
77 . ทุกข์ดับ เพราะเห็นสัญโญชนิยธรรมโดยความเป็นอาทีนวะ (นัยที่ ๑) 212
78 . ทุกข์เกิด เพราะเห็นสัญโญชนิยธรรมโดยความเป็นอัสสาทะ (นัยที่ ๒) 214
79 . ทุกข์ดับ เพราะเห็นสัญโญชนิยธรรมโดยความเป็นอาทีนวะ (นัยที่ ๒) 216
80 . ผลของการเห็นอัสสาทะ และนิพพิทาในธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งสัญโญชน์
81 . สิ่งที่ควรพิจารณาเนืองๆ เพื่อละสัญโญชน์ 219
82 . ปฏิปทาเพื่อละโอรัมภาคิยสัญโญชน์ 226
83 . การน้อมใจเพื่อตัดโอรัมภาคิยสัญโญชน์ 233
84 . สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา 240
85 . สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ 243
86 . ขันธ์ ๕ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา 248
87 . สิ่งใดไม่ใช่ของเธอ เธอจงละมันเสีย 252
88 . ผลของการมีมิตรดี (นัยที่ ๑) 260
89 . ผลของการมีมิตรดี (นัยที่ ๒) 261
90 . ผลของการมีมิตรดี (นัยที่ ๓) 262
91 . ผู้มีความเพียรเป็นเครื่องตื่น 264
92 . ผู้มีความหลีกเร้นเป็นที่มายินดี 265
93 . อานิสงส์ ของการเจริญสัญญาแบบต่างๆ 266
94 . ความพรากจากโยคะ ๔ 273
95 . อานิสงส์การฟังธรรม และการใคร่ครวญเนื้อความแห่งธรรม โดยกาลอันควร 276
96 . ประโยชน์ของการฟังกุศลธรรม 281
97 . ผลของการพิจารณาเห็นสังขารโดยความไม่เที่ยง 288
98 . ผลของการพิจารณาเห็นสังขารโดยความเป็นทุกข์ 289
99 . ผลของการพิจารณาเห็นธรรมโดยความเป็นอนัตตา 290
100 . ผลของการพิจารณาเห็นนิพพานโดยความเป็นสุข 291
101 . ผลของการเจริญอนิจจสัญญา 292
102 . การเห็นเพื่อละสัญโญชน์ 296
103 . การเห็นเพื่อเพิกถอนสัญโญชน์ 298
104 . ธรรมโดยย่อ เพื่อการหลุดพ้น (นัยที่ ๑) 300
105 . ธรรมโดยย่อ เพื่อการหลุดพ้น (นัยที่ ๒) 302
106 . ข้อปฏิบัติเพื่อบรรลุมรรคผล ของคนเจ็บไข้ 303
107 . เจริญกายคตาสติ เป็นไปเพื่อปัญญา 304
108 . ละอนุสัย ๓ ได้ เพราะละเวทนาได้ 307
109 . ละอนุสัย ๓ ได้เพราะละเวทนาได้ 308
110 . การละเวทนา ๓ 311


P7
ทำความเข้าใจสังโยชน์ โดยสรุป
สังโยชน์คืออะไร หน้า 2
สังโยชน์มีอะไรบ้าง หน้า 16
ข้อเสียของการมีสังโยชน์ หน้า 18
ข้อดีของการละสังโยชน์ หน้า 30
วิธีในการละสังโยชน์ หน้า 35
ผู้ละสังโยชน์ได้แล้วเรียกว่าอะไร หน้า 46

หมายเหตุ คำว่า สังโยชน์ในหนังสือเล่มนี้ จะมีการใช้ตัวสะกด
ทั้งสัญโญชน์ และสังโยชน์ ตามบาลีในพระสูตรนั้นๆ



สังโยชน์คืออะไร


๐๑/ ที่ตั้งแห่งสัญโญชน์ และสัญโญชน์
-บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๐๒/๓๐๘.

ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมเป็นที่ตั้งแห่ง สัญโญชน์ และสัญโญชน์ เธอทั้งหลายจงฟัง.

ภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งสัญโญชน์ เป็นอย่างไร และ
สัญโญชน์เป็นอย่างไร.

ภิกษุทั้งหลาย รูป เป็นธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสัญโญชน์ ความกำหนัด ด้วยอำนาจ ความพอใจในรูป ชื่อว่า สัญโญชน์ (รูปํ ภิกฺขเว สญฺโญชนิโย ธมฺโม โย ตตฺถ ฉนฺทราโค ตํ ตตฺถ สญฺโญชนํ).

ภิกษุทั้งหลาย เวทนา เป็นธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสัญโญชน์
ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในเวทนา ชื่อว่า สัญโญชน์.

ภิกษุทั้งหลาย สัญญา เป็นธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสัญโญชน์
ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในสัญญา ชื่อว่า สัญโญชน์.

ภิกษุทั้งหลาย สังขาร เป็นธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสัญโญชน์
ความกำหนัด ด้วยอำนาจความพอใจในสังขาร ชื่อว่าสังโยญชน์.

ภิกษุทั้งหลาย วิญญาณ เป็นธรรมเป็นที่ตั้งแห่ง สัญโญชน์ ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในวิญญาณ ชื่อว่า สัญโญชน์ (วิญฺญาณํ สญฺโญชนิโย ธมฺโม โย ตตฺถ ฉนฺทราโค ตํ ตตฺถ สญฺโญชนํ).

ภิกษุทั้งหลาย (ขันธ์) เหล่านี้เรียกว่า ธรรมทั้งหลาย อันเป็นที่ตั้งแห่งสัญโญชน์ (ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ) นี้เรียกว่า สัญโญชน์ (อิเม วุจฺจนฺติ ภิกฺขเว สญฺโญชนิยา ธมฺมา อิทํ สญฺโญชนนฺติ)

(ในสูตรอื่นทรงแสดงธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสัญโญชน์ ด้วยอายตนะ ภายในหก -บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๑๑๐/๑๕๙. และอายตนะภายนอกหก -บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๑๓๕/๑๘๙. -คณะผู้รวบรวม)

๐๒/ ที่ตั้งแห่งอุปาทาน และอุปาทาน
-บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๐๒/๓๐๙.

ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมเป็นที่ตั้งแห่ง อุปาทาน และอุปาทาน เธอทั้งหลายจงฟัง.

ภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่ง อุปาทานเป็นอย่างไร และอุปาทานเป็นอย่างไร.

ภิกษุทั้งหลาย รูป เป็นธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในรูป ชื่อ ว่า อุปาทาน
(รูปํ ภิกฺขเว อุปาทานิโย ธมฺโม โย ตตฺถ ฉนฺทราโค ตํ ตตฺถ อุปาทานํ).

ภิกษุทั้งหลาย เวทนา เป็นธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในเวทนาชื่อว่า อุปาทาน.

ภิกษุทั้งหลาย สัญญา เป็นธรรมเป็นที่ตั้งแห่ง อุปาทาน ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในสัญญา ชื่อว่า อุปาทาน.

ภิกษุทั้งหลาย สังขาร เป็นธรรมเป็นที่ตั้งแห่ง อุปาทาน ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในสังขาร ชื่อว่า อุปาทาน.

ภิกษุทั้งหลาย วิญญาณ เป็นธรรมเป็นที่ตั้งแห่ง อุปาทาน ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในวิญญาณชื่อว่า อุปาทาน (วิญฺญาณํ อุปาทานิโย ธมฺโม โย ตตฺถ ฉนฺทราโค ตํ ตตฺถ อุปาทานํ).

ภิกษุทั้งหลาย (ขันธ์) เหล่านี้เรียกว่า ธรรมทั้งหลาย อันเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน (ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ) นี้เรียกว่า อุปาทาน (อิเม วุจฺจนฺติ ภิกฺขเว อุปาทานิยา ธมฺมา อิทํอุปาทานนฺติ).

(ในสูตรอื่นทรงแสดงธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทานด้วยอายตนะ ภายในหก -บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๑๑๐/๑๖๐. และอายตนะภายนอกหก -บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๑๓๖/๑๙๐. -คณะผู้รวบรวม)


๐๓/ ความเพลิน คือ อุปาทาน

-บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๘/๒๗.

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงเจริญสมาธิเถิด
ภิกษุผู้มีจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริง
ก็ภิกษุย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งอะไร คือ

ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริง ซึ่งความเกิด และความดับ แห่งรูป
ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริง ซึ่งความเกิด และความดับ แห่งเวทนา
ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริง ซึ่งความเกิด และความดับ แห่งสัญญา
ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริง ซึ่งความเกิด และความดับ แห่งสังขาร
ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริง ซึ่งความเกิด และความดับ แห่งวิญญาณ.

ภิกษุทั้งหลาย อะไรเป็นความเกิดแห่งรูป
อะไร เป็นความเกิดแห่งเวทนา
อะไร เป็นความเกิดแห่งสัญญา
อะไร เป็นความเกิดแห่งสังขาร
อะไร เป็นความเกิดแห่งวิญญาณ.

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในกรณีนี้ ย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำสรรเสริญ ย่อมสยบมัวเมาอยู่ ก็บุคคลย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำสรรเสริญ ย่อมสยบมัวเมาอยู่ ซึ่งอะไร ย่อม เพลิดเพลิน ย่อมพร่ำสรรเสริญ ย่อมสยบมัวเมาอยู่ ซึ่งรูปเมื่อเขาเพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ สยบมัวเมาอยู่ ซึ่งรูป ความเพลินย่อมเกิดขึ้น ความเพลินใดในรูป ความเพลินนั้น คือ อุปาทาน
(อุปฺปชฺชติ นนฺทิ ยา รูเป นนฺทิ ตทุปาทานํ)

เพราะอุปาทานของเขานั้น เป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขะโทมนัส อุปายาสะ ทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน ความเกิดขึ้น พร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในกรณีนี้ ย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำสรรเสริญ ย่อมสยบมัวเมาอยู่ … ซึ่งเวทนา เมื่อเขาเพลิดเพลิน พร่ำรรเสริญ สยบมัวเมาอยู่ ซึ่งเวทนา ความเพลินย่อมเกิดขึ้น ความเพลินใดในเวทนา ความเพลินนั้น คือ อุปาทาน …

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในกรณีนี้ ย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำสรรเสริญ ย่อมสยบมัวเมาอยู่ … ซึ่งสัญญา เมื่อ เขาเพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ สยบมัวเมาอยู่ซึ่งสัญญา ความเพลินย่อมเกิดขึ้น ความเพลินใดในสัญญา ความเพลินนั้น คือ อุปาทาน …

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในกรณีนี้ ย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำสรรเสริญ ย่อมสยบมัวเมาอยู่ … ซึ่งสังขารเมื่อเขา เพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ สยบมัวเมาอยู่ซึ่งสังขาร ความเพลินย่อมเกิดขึ้น ความเพลินใดในสังขาร ความเพลินนั้น คือ อุปาทาน …

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในกรณีนี้ ย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำสรรเสริญ ย่อมสยบมัวเมาอยู่ … ซึ่งวิญญาณ เมื่อเขาเพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ สยบมัวเมาอยู่ซึ่งวิญญาณ ความเพลินย่อมเกิดขึ้น ความเพลินใดในวิญญาณ ความเพลินนั้น คือ อุปาทาน (อุปฺปชฺชติ นนฺทิ ยา วิญฺญาเณ นนฺทิ ตทุปาทานํ)

เพราะอุปาทานของเขานั้นเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขะ โทมนัสอุปายาสะ ทั้งหลาย จึงเกิดขึ้น ครบถ้วน ความเกิดขึ้น พร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.

ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นความเกิดแห่งรูป ความเกิดแห่งเวทนา ความเกิดแห่ง สัญญา ความเกิดแห่งสังขาร และความเกิดแห่งวิญญาณ.

ภิกษุทั้งหลาย อะไรเป็นความดับแห่งรูป อะไรเป็นความดับแห่งเวทนา อะไร เป็นความดับแห่งสัญญา อะไรเป็นความดับแห่งสังขาร อะไรเป็นความดับ แห่งวิญญาณ.

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในกรณีนี้ ย่อมไม่ เพลิดเพลิน ย่อมไม่พร่ำสรรเสริญ ย่อมไม่สยบมัวเมาอยู่

ก็บุคคลย่อมไม่เพลิดเพลิน ย่อมไม่พร่ำสรรเสริญ ย่อมไม่สยบ มัวเมาอยู่ซึ่งอะไร ย่อมไม่เพลิดเพลิน ย่อมไม่พร่ำสรรเสริญ ย่อมไม่สยบมัวเมาอยู่ซึ่งรูป เมื่อเขาไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำ สรรเสริญไม่สยบมัวเมาอยู่ซึ่งรูป ความเพลินในรูป ย่อมดับ เพราะมีความดับแห่งความเพลิน จึงมีความดับ แห่งอุปาทาน (ยา รูเป นนฺทิ สา นิรุชฺฌติ ตสฺส นนฺทินิโรธา อุปาทานนิโรโธ)

เพราะมี ความดับ แห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ เพราะมี ความดับ แห่งภพ จึงมีความดับ แห่งชาติ เพราะมีความดับ แห่งชาตินั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาสะทั้งหลาย จึงดับสิ้น ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในกรณีนี้ ย่อมไม่ เพลิดเพลิน ย่อมไม่พร่ำสรรเสริญ ย่อมไม่สยบมัวเมาอยู่ …ซึ่งเวทนา เมื่อเขาไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่สยบมัวเมาอยู่ซึ่งเวทนา ความเพลินในเวทนาย่อมดับ เพราะมีความดับ แห่งความเพลิน จึงมีความดับแห่งอุปาทาน …

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในกรณีนี้ ย่อมไม่เพลิดเพลิน ย่อมไม่พร่ำสรรเสริญ ย่อมไม่สยบมัวเมาอยู่ …ซึ่งสัญญา เมื่อเขาไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่สยบมัวเมาอยู่ซึ่งสัญญา ความเพลินในสัญญาย่อมดับ เพราะมีความดับ แห่งความเพลิน จึงมีความดับแห่งอุปาทาน …

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในกรณีนี้ ย่อมไม่เพลิดเพลิน ย่อมไม่พร่ำสรรเสริญ ย่อมไม่สยบมัวเมาอยู่ …ซึ่งสังขาร เมื่อเขาไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่สยบมัวเมาอยู่ซึ่งสังขาร ความเพลินในสังขารย่อมดับ เพราะมี ความดับแห่งความเพลิน จึงมีความดับแห่งอุปาทาน …

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในกรณีนี้ ย่อมไม่เพลิดเพลิน ย่อมไม่พร่ำสรรเสริญ ย่อมไม่สยบมัวเมาอยู่ ก็บุคคล ย่อมไม่เพลิดเพลิน ย่อมไม่พร่ำสรรเสริญ ย่อมไม่สยบ มัวเมาอยู่ซึ่งอะไร ย่อมไม่เพลิดเพลิน ย่อมไม่พร่ำสรรเสริญ ย่อมไม่สยบมัวเมาอยู่ซึ่งวิญญาณ เมื่อเขาไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่สยบมัวเมาอยู่ซึ่งวิญญาณ ความเพลิน ในวิญญาณย่อมดับ เพราะมีความดับ แห่งความเพลิน จึงมีความดับแห่งอุปาทาน (ยา วิญฺญาเณ นนฺทิ สา นิรุชฺฌติ ตสฺส นนฺทินิโรธา อุปาทานนิโรโธ)

เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความดับ แห่งชาติ เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขะโทมนัสอุปายาสะทั้งหลายจึงดับสิ้น ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.

ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นความดับแห่งรูป ความดับ แห่งเวทนา ความดับแห่งสัญญา ความดับแห่งสังขาร และความดับแห่งวิญญาณ.

๐๔/ นิวรณ์ (เครื่องกั้น) คือ อวิชชา
-บาลี อิติวุ. ขุ. ๒๕/๒๓๕/๑๙๒.

ภิกษุทั้งหลาย เราไม่มองเห็นนิวรณ์อื่น แม้อย่างหนึ่ง ซึ่งเมื่อหมู่สัตว์ (ปชา) ถูกนิวรณ์หุ้มห่อแล้ว ย่อมแล่นไป ท่องเที่ยวไป ตลอดกาลยืดยาวนาน เหมือนอย่างนิวรณ์ คือ อวิชชานี้เลย.

ภิกษุทั้งหลาย เพราะว่าหมู่สัตว์ผู้ถูกนิวรณ์ คือ อวิชชาหุ้มห่อแล้ว ย่อมแล่นไป ท่องเที่ยวไป ตลอดกาล ยืดยาวนาน.

ธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นเหตุให้หมู่สัตว์ถูก ธรรมนั้นหุ้มห่อแล้ว ต้องท่องเที่ยวไปตลอดกาลยืดยาวนาน เหมือนหมู่สัตว์ผู้ถูกโมหะหุ้มห่อแล้ว ไม่มีเลย.

ส่วนอริยสาวกเหล่าใด ละโมหะแล้ว ทำลายกองแห่ง ความมืดได้แล้ว อริยสาวกเหล่านั้น ย่อมไม่ท่องเที่ยวไปอีก เพราะอวิชชาอันเป็นต้นเหตุ ย่อมไม่มีแก่อริยสาวกเหล่านั้น.

๐๕/ นิวรณ์ ๕ คือ เครื่องร้อยรัด
-บาลี สี. ที. ๙/๓๐๕/๓๗๗.

วาเสฏฐะ เปรียบเหมือนแม่น้ำอจิรวดี น้ำเต็มเปี่ยม เสมอขอบฝั่ง กาก้มลงดื่มได้ ครั้งนั้น บุรุษผู้ต้องการฝั่ง แสวงหาฝั่ง ไปยังฝั่ง ประสงค์จะข้ามฝั่งไป เขากลับนอนคลุม ตลอดศีรษะเสียที่ฝั่ง วาเสฏฐะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้น
ว่าอย่างไร บุรุษนั้นพึงไปสู่ฝั่งโน้นจากฝั่งนี้แห่งแม่น้ำอจิรวดี ได้หรือไม่.

ไม่ได้เลย ท่านพระโคดมผู้เจริญ.

วาเสฏฐะ ฉันนั้นก็เหมือนกัน นิวรณ์ ๕ เหล่านี้ ในอริยวินัยเรียกว่า เครื่องปิดบ้าง เครื่องกั้นบ้าง เครื่องคลุมบ้าง เครื่องร้อยรัดบ้าง นิวรณ์ ๕ อะไรบ้าง คือ กามฉันทนิวรณ์ พยาบาทนิวรณ์ ถีนมิทธนิวรณ์ อุทธัจจ กุกกุจจนิวรณ์ วิจิกิจฉานิวรณ์

วาเสฏฐะ นิวรณ์ ๕ เหล่านี้ ในอริยวินัยเรียกว่า เครื่องปิดบ้าง เครื่องกั้นบ้าง เครื่องคลุมบ้าง เครื่องร้อยรัดบ้าง.

วาเสฏฐะ พวกพราหมณ์ผู้ได้ไตรวิชชา ถูกนิวรณ์ ๕ เหล่านี้ปิดแล้ว กั้นแล้ว คลุมแล้ว ร้อยรัดแล้ว ก็พราหมณ์ ผู้ได้ไตรวิชชาเหล่านั้น ละธรรมที่ทำบุคคล ให้เป็นพราหมณ์เสีย

สมาทานธรรม ประพฤติธรรมที่ไม่ทำบุคคลให้เป็นพราหมณ์ เขาถูกนิวรณ์ ๕ ปิดแล้ว กั้นแล้ว คลุมแล้ว ร้อยรัดแล้ว เบื้องหน้าจากการตาย เพราะกายแตกทำลาย จะเข้าถึง ความเป็นสหายแห่งพรหม ข้อนี้ไม่เป็นฐานะ ที่จะมีได้.



สังโยชน์มีอะไรบ้าง

๐๖ / สังโยชน์ ๑๐
-บาลี ทสก. อํ. ๒๔/๑๘/๑๓.

ภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์ ๑๐ ประการเหล่า นี้ ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ โอรัมภาคิยสังโยชน์ (สังโยชน์เบื้องต่ำ) ๕ ประการ และอุทธัมภาคิยสังโยชน์ (สังโยชน์เบื้องสูง) ๕ ประการ.

โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส กามฉันทะ พยาบาท เหล่านี้แล โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ.

อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา เหล่านี้แล อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ.

ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้แล สังโยชน์ ๑๐ ประการ.


ข้อเสียของการมีสังโยชน์

๐๗/เพราะมีสังโยชน์ สัตว์จึงท่องเที่ยวไปแล้วในสังสารวัฏ
-บาลี นิทาน. สํ. ๑๖/๒๑๙/๔๓๘., -บาลี มหาวาร. สํ.๑๙/๕๔๑,๕๕๐/๑๖๙๘,๑๗๑๖.

ภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้น เบื้องปลายไม่ได้ ที่สุดเบื้องต้น ที่สุดเบื้องปลายย่อมไม่ปรากฏ
(อนมตคฺโคยํ ภิกฺขฺเว สํสาโร ปพฺพา โกฏิน ปญญายติ)

เมื่อเหล่าสัตว์ ผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูก
(อวิชฺชานีวรณานํ สตฺตานํ ตณฺหาสญฺโญชนานํ) ท่องเที่ยวไปมาอยู่ สัตว์เหล่านั้นได้ เสวยทุกข์ ความเผ็ดร้อน ความพินาศ ได้เพิ่มพูนปฐพีที่เป็น ป่าช้าตลอดกาลนานเหมือนอย่างนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนท่อนไม้ อันบุคคล ซัดขึ้นไปสู่อากาศ บางคราว ตกเอาโคนลง บางคราวตกเอา ตอนกลางลง บางคราวตกเอาปลายลง ข้อนี้ฉันใด.

ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูก ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน บางคราวแล่นจากโลกนี้สู่โลกอื่น บางคราว แล่นจากโลกอื่น สู่โลกนี้

ข้อนั้นเพราะเหตุอะไรเล่า

ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุว่า สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้น เบื้องปลายไม่ได้ ที่สุดเบื้องต้น ที่สุดเบื้องปลายย่อมไม่ปรากฏ

เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็น เครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูก ท่องเที่ยวไปมาอยู่ สัตว์เหล่านั้น ได้เสวยทุกข์ ความเผ็ดร้อน ความพินาศ ได้เพิ่มพูนปฐพี ที่เป็นป่าช้าตลอดกาลนานเหมือนอย่างนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ก็พอแล้วเพื่อ จะเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง พอแล้วเพื่อจะคลายกำหนัด พอแล้วเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้.
… … …
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนท่อนไม้ อันบุคคล ซัดขึ้นไปสู่อากาศ บางคราว ตกเอาโคนลง บางคราวตกเอา ตอนกลางลง บางคราวตกเอาปลายลง ข้อนี้ฉันใด.

ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูก ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน บางคราวแล่นจากโลกนี้สู่โลกอื่น บางคราวแล่นจากโลกอื่น สู่โลกนี้ ข้อนั้นเพราะเหตุอะไรเล่า ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุว่า สัตว์เหล่านั้นไม่เห็นอริยสัจทั้งสี่.

อริยสัจทั้งสี่อะไรบ้าง คือ อริยสัจคือทุกข์ อริยสัจ คือเหตุให้เกิดทุกข์ อริยสัจ คือความดับไม่เหลือของทุกข์ อริยสัจคือทางดำเนิน ให้ถึงความดับไม่เหลือ ของทุกข์.

ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ เธอพึง ประกอบโยคกรรม อันเป็นเครื่อง กระทำให้รู้ว่า ทุกข์เป็นอย่างนี้ เหตุให้เกิดทุกข์เป็นอย่างนี้ ความดับไม่เหลือ ของทุกข์ เป็นอย่างนี้ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือ ของทุกข์ เป็นอย่างนี้ ดังนี้.
… … …
ภิกษุทั้งหลาย เพราะไม่รู้ถึง ไม่แทงตลอดซึ่ง อริยสัจสี่อย่าง เราและ พวกเธอทั้งหลาย จึงได้ท่องเที่ยว ไปแล้วในสังสารวัฏ ตลอดกาลยืดยาวนาน ถึงเพียงนี้. ภิกษุทั้งหลาย อริยสัจสี่อย่าง อะไรบ้าง.

ภิกษุทั้งหลาย เพราะไม่รู้ถึง ไม่แทงตลอดซึ่งอริยสัจ คือทุกข์ อริยสัจ คือเหตุให้เกิดทุกข์ อริยสัจคือความดับ ไม่เหลือของทุกข์ อริยสัจคือทางดำเนิน ให้ถึงความดับไม่ เหลือของทุกข์ เรา และ พวกเธอทั้งหลาย จึงได้ท่องเที่ยวไป แล้วในสังสารวัฏ ตลอดกาลยืดยาวนานถึงเพียงนี้.

ภิกษุทั้งหลาย เมื่ออริยสัจคือทุกข์ เหตุให้เกิด ทุกข์ ความดับไม่เหลือของทุกข์ ทางดำเนินให้ถึงความดับ ไม่เหลือของทุกข์ เป็นความจริงที่เรา และพวกเธอทั้งหลาย รู้ถึงและแทงตลอดแล้ว ตัณหาในภพ ก็ถูกถอนขึ้นขาด ตัณหาที่จะนำไปสู่ภพ ก็สิ้นไปหมด บัดนี้ ความต้องเกิดขึ้นอีก มิได้มี ดังนี้.

๐๘/สัตว์ผู้มีอวิชชา ได้ท่องเที่ยวไปแล้วตลอดกาล ยืดยาวนาน
-บาลี นิทาน. สํ. ๑๖/๒๑๖/๔๓๑.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กัปหนึ่งนานเท่าไหร่หนอ.

ภิกษุ กัปหนึ่งนานแล มิใช่ง่ายที่จะนับกัปนั้นว่า เท่านี้ปี เท่านี้ ๑๐๐ ปี เท่านี้ ๑,๐๐๐ ปี หรือว่าเท่านี้ ๑๐๐,๐๐๐ ปี. ก็พระองค์อาจจะอุปมาได้ไหม พระเจ้าข้า.
อาจอุปมาได้ ภิกษุ.

ภิกษุ เปรียบเหมือน นครที่ทำด้วยเหล็ก ยาว ๑ โยชน์ กว้าง ๑ โยชน์ สูง ๑ โยชน์ เต็มด้วยเมล็ดพันธุ์ผักกาด มีเมล็ดพันธุ์ผักกาดรวมกันเป็นกลุ่มก้อน บุรุษพึงหยิบเอา เมล็ดพันธุ์ผักกาดเมล็ดหนึ่งๆ ออกจากนครนั้นโดยล่วงไป
๑๐๐ ปีต่อเมล็ด เมล็ดพันธุ์ผักกาดกองใหญ่นั้น พึงถึง ความสิ้นไป หมดไป เพราะความพยายามนี้ยังเร็วกว่า ส่วนกัปหนึ่งยังไม่ถึงความสิ้นไป หมดไป กัปนานอย่างนี้แล บรรดากัปที่นานอย่างนี้ พวกเธอท่องเที่ยวไปแล้ว มิใช่ ๑ กัป มิใช่ ๑๐๐ กัป มิใช่ ๑,๐๐๐ กัป มิใช่ ๑๐๐,๐๐๐ กัป.

ข้อนั้นเพราะเหตุอะไรเล่า เพราะเหตุว่า สงสารนี้ กำหนดที่สุดเบื้องต้น เบื้องปลายไม่ได้ ที่สุดเบื้องต้น ที่สุดเบื้องปลายย่อมไม่ปรากฏ เมื่อเหล่าสัตว์ ผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูก ท่องเที่ยวไปมาอยู่ สัตว์เหล่านั้น ได้เสวยทุกข์ ความเผ็ดร้อน ความพินาศ ได้เพิ่มพูนปฐพีที่ เป็นป่าช้า ตลอดกาลนานเหมือนอย่างนั้น.

ภิกษุ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ก็พอแล้วเพื่อจะ เบื่อหน่ายในสังขาร ทั้งปวง พอแล้วเพื่อจะคลายกำหนัด พอแล้วเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้.

๐๙/ เรียกว่า “สัตว์” เพราะมี ฉันทะ ราคะ นันทิ ตัณหา ในขันธ์ ๕
-บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๓๒/๓๖๗.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า สัตว์ สัตว์ (สตฺโต สตฺโตติ) ดังนี้ อันว่าสัตว์มีได้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรเล่า พระเจ้าข้า.

ราธะ ฉันทะ (ความพอใจ) ราคะ (ความกำหนัด) นันทิ (ความเพลิน) ตัณหา (ความอยาก) ใดๆ มีอยู่ในรูป เพราะการติด แล้ว ข้องแล้วในรูปนั้น เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่าสัตว์ (ผู้ข้องติด ในขันธ์ทั้ง ๕) ดังนี้
(รูเป โย ฉนฺโท โย ราโค ยา นนฺทิ ยา ตณฺหา ตตฺร สตฺโต ตตฺร วิสตฺโต ตสฺมา สตฺโตติ วุจฺจติ).

ราธะ ฉันทะ ราคะ นันทิ ตัณหาใดๆ มีอยู่ใน เวทนา  
เพราะการติดแล้ว ข้องแล้วในเวทนานั้น
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่าสัตว์ ดังนี้.

ราธะ ฉันทะ ราคะ นันทิ ตัณหาใดๆ มีอยู่ใน สัญญา
เพราะการติดแล้ว ข้องแล้วในสัญญานั้น
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่าสัตว์ ดังนี้.

ราธะ ฉันทะ ราคะ นันทิ ตัณหาใดๆ มีอยู่ใน สังขารทั้งหลาย
เพราะการติดแล้ว ข้องแล้วในสังขาร ทั้งหลายนั้น
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่าสัตว์ ดังนี้.

ราธะ ฉันทะ ราคะ นันทิ ตัณหาใดๆ มีอยู่ใน วิญญาณ
เพราะการติดแล้ว ข้องแล้วในวิญญาณนั้น
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่าสัตว์ ดังนี้
(วิญฺญาเณ โย ฉนฺโท โย ราโค ยา นนฺทิ ยา ตณฺหา ตตฺร สตฺโต ตตฺร วิสตฺโต ตสฺมา สตฺโตติ วุจฺจติ).

ราธะ เปรียบเหมือนพวกกุมารน้อยๆ หรือกุมารี น้อยๆ เล่นเรือนน้อยๆ ที่ทำด้วยดินอยู่ ตราบใด เขายังมี ราคะ มีฉันทะ มีความรัก มีความกระหาย มีความเร่าร้อน และมีตัณหา ในเรือนน้อยที่ทำด้วยดินเหล่านั้น ตราบนั้น พวกเด็กน้อยๆ นั้น ย่อมอาลัยเรือนน้อยที่ทำด้วยดินเหล่านั้น ย่อมอยากเล่น ย่อมอยากมีเรือนน้อยที่ทำด้วยดินเหล่านั้น ย่อมยึดถือเรือนน้อย ที่ทำด้วยดินเหล่านั้น ว่าเป็นของเรา ดังนี้.

ราธะ แต่เมื่อใด พวกกุมารน้อยๆ หรือกุมารีน้อยๆ เหล่านั้น ปราศจากราคะแล้ว ปราศจากฉันทะแล้ว ปราศจาก ความรักแล้ว ปราศจากความกระหายแล้ว ปราศจากความ เร่าร้อนแล้ว ปราศจากตัณหาแล้ว ในเรือนน้อย ที่ทำด้วยดิน เหล่านั้น ในกาลนั้น พวกเขาย่อมทำเรือนน้อยๆ ที่ทำด้วยดิน เหล่านั้น ให้กระจัดกระจาย เรี่ยราย เกลื่อนกล่นไป กระทำ ให้จบการเล่นเสียด้วยมือ และเท้าทั้งหลาย อุปมานี้ฉันใด.

ราธะ อุปไมยก็ฉันนั้น คือ แม้พวกเธอทั้งหลาย

จงเรี่ยรายกระจายออก ซึ่งรูป จงขจัดเสีย จงทำให้ แหลกลาญ จงทำให้จบการเล่นอย่างถูกวิธี จงปฏิบัติเพื่อ ความสิ้นไปแห่งตัณหาเถิด

จงเรี่ยรายกระจายออก ซึ่งเวทนา จงขจัดเสีย จงทำให้แหลกลาญ จงทำให้จบการเล่นอย่างถูกวิธี จงปฏิบัติ เพื่อความสิ้นไปแห่งตัณหาเถิด

จงเรี่ยรายกระจายออก ซึ่งสัญญา จงขจัดเสีย จงทำให้แหลกลาญ จงทำให้จบการเล่นอย่างถูกวิธี จงปฏิบัติ เพื่อความสิ้นไปแห่งตัณหาเถิด

จงเรี่ยรายกระจายออก ซึ่งสังขารทั้งหลาย จงขจัดเสีย จงทำให้แหลกลาญ จงทำให้จบการเล่นอย่างถูกวิธี จงปฏิบัติเพื่อความสิ้นไปแห่งตัณหาเถิด

จงเรี่ยรายกระจายออก ซึ่งวิญญาณ จงขจัดเสีย จงทำให้แหลกลาญ จงทำให้จบการเล่นอย่างถูกวิธี จงปฏิบัติ เพื่อความสิ้นไปแห่งตัณหาเถิด.

ราธะ เพราะว่า ความสิ้นไปแห่งตัณหานั้น คือ นิพพาน ดังนี้.

๑๐/ฉันทะ เป็นมูลเหตุแห่งทุกข์
-บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๔๐๓-๔๐๕/๖๒๗.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอโอกาส ขอพระผู้มีพระภาค โปรดทรงแสดง ซึ่งเหตุเกิดและความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งทุกข์ แก่ข้าพระองค์เถิด.

คามณิ ถ้าเราพึงปรารภอดีตกาลแสดงเหตุเกิดและ ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งทุกข์ (ทุกฺขสฺส สมุทยญฺจ อตฺถงฺคมญฺจ) แก่ท่าน ว่า ในอดีตกาลได้มีแล้วอย่างนี้ ความสงสัย ความเคลือบแคลง ในข้อนั้นจะพึงมีแก่ท่าน ถ้าเราพึงปรารภ อนาคตกาล แสดง เหตุเกิดและความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งทุกข์แก่ท่านว่า ในอนาคตกาล จักมีอย่างนี้ แม้ในข้อนั้นความสงสัย ความเคลือบแคลงจะพึงมี แก่ท่าน อนึ่งเล่า เรานั่งอยู่ ณ ที่นี้แหละ จักแสดงเหตุเกิด และความตั้งอยู่ไม่ได้ แห่งทุกข์แก่ท่าน ซึ่งนั่งอยู่ที่นี้เหมือนกัน ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว.

คามณิ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นอย่างไร โสกะปริเทวะ ทุกขะโทมนัส อุปายาสะ จะพึงเกิดขึ้นแก่ท่าน เพราะหมู่มนุษย์ในอุรุเวลกัปปนิคม ที่ถูกฆ่า ถูกจองจำ ถูกทำให้เสื่อมเสีย หรือถูกติเตียน มีอยู่แก่ท่านหรือ.

มีอยู่ พระเจ้าข้า.

คามณิ ก็โสกะปริเทวะ ทุกขะโทมนัสอุปายาสะ จะไม่พึงเกิดขึ้นแก่ท่าน เพราะหมู่มนุษย์ ในอุรุเวลกัปปนิคม ที่ถูกฆ่า ถูกจองจำ ถูกทำให้เสื่อมเสีย หรือถูกติเตียน มีอยู่ แก่ท่านหรือ.

มีอยู่ พระเจ้าข้า.

คามณิ อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัย ที่โสกะปริเทวะ ทุกขะ โทมนัสอุปายาสะ จะพึงเกิดขึ้นแก่ท่าน เพราะหมู่มนุษย์ ชาวอุรุเวลกัปปนิคมบางพวกถูกฆ่า ถูกจองจำ ถูกทำให้ เสื่อมเสีย หรือถูกติเตียน หรือว่าอะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัย ที่โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัสอุปายาสะ จะไม่พึงเกิดขึ้นแก่ท่าน เพราะ หมู่มนุษย์ชาวอุรุเวลกัปปนิคมบางพวก ถูกฆ่า ถูกจองจำ ถูกทำให้เสื่อมเสีย หรือถูกติเตียน.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โสกะปริเทวะ ทุกขะโทมนัสอุปายาสะ จะพึง เกิด ขึ้น แก่ข้าพระองค์ เพราะหมู่มนุษย์ชาวอรุ เวลกัปปนิคม เหล่าใด ที่ถูกฆ่า ถูก จองจำ ถูก ทำ ให้เสื่อมเสีย หรือ ถูกติเตียน ก็เพราะข้าพระองค์ มีฉันทราคะ (ฉนฺทราโค) ในหมู่มนุษย์ชาวอุรุเวลกัปปนิคมเหล่านั้น ส่วน โสกะปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาสะ จะไม่พึงเกิดขึ้นแก่ข้าพระองค์ เพราะ หมู่มนุษย์ ชาวอุรุเวลกัปปนิคม เหล่าใด ถูกฆ่า ถูกจองจำ ถูกทำ ให้เสื่อมเสีย หรือถูกติเตียน ก็เพราะข้าพระองค์ ไม่มีฉันทราคะในหมู่มนุษย์ชาวอุรุเวลกัปป นิคมเหล่านั้น พระเจ้าข้า.

คามณิ ด้วยธรรมนี้ อันท่านเห็นแล้ว รู้แจ้งแล้ว บรรลุแล้ว หยั่งลงทั่วถึงแล้ว อันไม่ขึ้นอยู่กับกาล ท่านจงนำไป ซึ่งนัยนี้สู่อดีต และอนาคตว่า ทุกข์ใดๆ ที่เกิดขึ้นแล้วในอดีต ทุกข์ทั้งหมดนั้น มีฉันทะเป็นมูล (ฉนฺทมูลกํ) มีฉันทะเป็นเหตุ (ฉนฺทนิทานํ) เพราะว่า ฉันทะเป็นมูลเหตุแห่งทุกข์ (ฉนฺโท หิ มูลํ ทุกฺขสฺส) ทุกข์ใดๆ อันจะเกิดขึ้นในอนาคต ทุกข์ทั้งหมดนั้น มีฉันทะเป็นมูล มีฉันทะเป็นเหตุ เพราะว่าฉันทะเป็น มูลเหตุแห่งทุกข์ ดังนี้.

[ในสูตรอื่น ตรัสว่า ฉันทะเป็นมูลของอุปาทานขันธ์ ๕ (ปญฺจุปาทานกฺขนฺธา ฉนฺทมูลกาติ) -บาลี อุปริ. ม. ๑๔/๑๐๑/๑๒๑.]



ข้อดีของการละสังโยชน์


๑๑/ละสังโยชน์ได้ จะได้อมตะ

-บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๔๕๑/๗๓๒.

ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงซึ่ง อมตะ (ความไม่ตาย) แก่พวกเธอทั้งหลาย พวกเธอทั้งหลาย จงฟังความข้อนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย อมตะ เป็นอย่างไรเล่า.

ภิกษุทั้งหลาย ความสิ้นไปแห่งราคะ ความสิ้นไป แห่งโทสะ ความสิ้นไป แห่งโมหะ อันใด.

ภิกษุทั้งหลาย อันนี้แล เราเรียกว่า อมตะ.

๑๒/ ละสังโยชน์ได้ จะพ้นจากอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
-บาลี นวก. อํ. ๒๓/๓๙๑/๒๑๖.

สารีบุตร อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล เป็นผู้ทำพอประมาณในสมาธิ เป็นผู้ทำพอประมาณในปัญญา เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป บุคคลนั้นเป็นสัตตักขัตตุปรมะ จะท่องเที่ยวอยู่ในเทวดา และมนุษย์ ๗ ครั้งเป็นอย่างยิ่ง แล้วจะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ สารีบุตร นี้บุคคลจำพวกที่ ๙ ที่มีเชื้อเหลือ เมื่อทำกาละ ย่อมพ้นจากนรก พ้นจากกำเนิดเดรัจฉาน พ้นจากเปรตวิสัย พ้นจากอบาย ทุคติ และวินิบาต.

๑๓ / ก้าวข้ามปุถุชนภูมิเมื่อละสังโยชน์ข้อแรกได้
-บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๗๘/๔๖๙.

ภิกษุทั้งหลาย ตา เป็นสิ่งไม่เที่ยง มีความแปรปรวน เป็นปกติ มีความเปลี่ยน เป็นอย่างอื่นเป็นปกติ หู... จมูก.. ลิ้น.. กาย.. ใจ เป็นสิ่งไม่เที่ยง มีความแปรปรวน เป็นปกติ มีความเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นเป็นปกติ.

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลใด มีความเชื่อ น้อมจิตไปใน ธรรม ๖ อย่างนี้ ด้วยอาการ อย่างนี้ บุคคลนี้เราเรียกว่าเป็น สัทธานุสารี ก้าวลงสู่สัมมัตตนิยาม (หนทางแห่งความถูกต้อง) ก้าวลงสู่สัปปุริสภมิ (ภูมิแห่งสัปบุรษ ) ล่วงพ้นปุถชนภูมิ ไม่ใช่ฐานะ ที่จะกระทำกรรม อันบุคคลทำแล้ว จะเกิดในนรก กำเนิด เดรัจฉาน หรือเปรตวิสัย (อภพฺโพ ตํ กมฺมํ กาตุํ ยํ กมฺมํ กตฺวา นิรยํ วา ติรจฺฉานโยนึ วา ปิตฺติวิสยํ วา อุปปชฺเชยฺย) และไม่ใช่ฐานะที่จะ ทำกาละ ตราบเท่า ที่ยังไม่ทำให้แจ้ง ซึ่งโสดาปัตติผล.

ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๖ อย่างเหล่านี้ ทนต่อการ เพ่งโดยประมาณอันยิ่ง แห่งปัญญา ของบุคคลใด ด้วยอาการ อย่างนี้ บุคคลนี้เราเรียกว่า ธัมมานุสารี ก้าวลงสู่สัมมัตตนิยาม ก้าวลงสู่สัปปุริสภูมิ ล่วงพ้นปุถุชนภูมิ ไม่ใช่ฐานะ ที่จะกระทำกรรม อันบุคคลทำแล้วจะเกิดในนรก กำเนิดเดรัจฉาน หรือเปรตวิสัย

และไม่ใช่ฐานะที่จะทำกาละ ตราบเท่าที่ยังไม่ทำให้แจ้งซึ่ง โสดาปัตติผล.

(พระสูตรที่ยกมานี้ ได้ตรัสถึงความไม่เที่ยงของธรรม ๖ อย่างคือ อายตนะ ภายในหก คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ส่วนในสูตรถัดไป ทรงแสดงอารมณ์นั้น ด้วยอายตนะ ภายนอกหก คือ รูป เสียง กลิ่น รสโผฏฐัพพะ ธรรม ก็มี, แสดงด้วย วิญญาณหก ก็มี, ด้วยสัมผัสหก ก็มี,ด้วยเวทนาหก ก็มี, ด้วยสัญญาหก ก็มี, ด้วยสัญเจตนาหก ก็มี,ด้วยตัณหาหก ก็มี, ด้วยธาตุหก ก็มี, และด้วยขันธ์ห้า ก็มี ซึ่งได้แสดงไว้ด้วย หลักการปฏิบัติอย่างเดียวกัน. -คณะผู้รวบรวม)


วิธีในการละสังโยชน์


๑๔/ เหตุเกิดแห่งสักกายทิฏฐิ

-บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๒๕-๒๒๖/๓๕๖-๓๕๗.

ภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรมีอยู่ เพราะอาศัยอะไร
เพราะยึดมั่นอะไร จึงเกิดมีสักกายทิฏฐิ.

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อรูปมีอยู่ เพราะอาศัยรูป เพราะ ยึดมั่นรูป จึงเกิดมีสักกายทิฏฐิ เมื่อเวทนามีอยู่ … เมื่อสัญญามีอยู่ … เมื่อสังขาร มีอยู่ ... เมื่อวิญญาณมีอยู่ เพราะอาศัยวิญญาณ เพราะยึดมั่น วิญญาณ จึงเกิดมีสักกายทิฏฐิ.

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้น เป็นอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง.
ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.
เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา เพราะไม่อาศัยสิ่งนั้น สักกายทิฏฐิจะพึงเกิดมีขึ้นบ้างหรือ.
ไม่ใช่เช่นนั้น พระเจ้าข้า.

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้น เป็นอย่างไร เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเที่ยง หรือไม่เที่ยง.
ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.
เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา เพราะไม่อาศัยสิ่งนั้น สักกายทิฏฐิจะพึงเกิดมีขึ้นบ้างหรือ.
ไม่ใช่เช่นนั้น พระเจ้าข้า.

ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสังขาร
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลาย กำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว เธอย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ได้ทำสำเร็จแล้ว กิจอื่น เพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

(ในสูตรอื่น ได้ตรัสถึงเหตุเกิดของอัตตานุทิฏฐิ ก็มีลักษณะอย่างเดียวกัน -บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๒๖/๓๕๘.).

๑๕/ ปฏิปทาอันให้ถึงความดับ ไม่เหลือแห่งสักกายะ
-บาลี อุปริ. ม. ๑๔/๕๑๖/๘๒๑.

ภิกษุทั้งหลาย ก็ปฏิปทาอันให้ถึงความเกิดขึ้นพร้อม แห่งสักกายะ มีอยู่อย่างนี้ คือ บุคคล ย่อมสำคัญเห็นซึ่งตามว่า
นั่นของเรา (เอตํ มม)
นั่นเป็นเรา (เอโสหมสฺมิ)
นั่นเป็นตัวตนของเรา (เอโส เม อตฺตา).

ย่อมสำคัญเห็นซึ่งรูปทั้งหลาย … .
ย่อมสำคัญเห็นซึ่งจักษุวิญญาณ … .
ย่อมสำคัญเห็นซึ่งจักษุสัมผัส … .
ย่อมสำคัญเห็นซึ่งสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขม-
สุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย …
ย่อมสำคัญเห็นซึ่งตัณหา (ตณฺหํ) ว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรานั่นเป็นตัวตนของเรา.

(ในกรณีแห่งหมวดโสตะก็ดี – ฆานะก็ดี – ชิวหาก็ดี – กายะก็ดี– มนะก็ดี ได้ตรัสไว้ มีนัยเดียวกัน กับในกรณีแห่งหมวดจักษุนั้น ทุกประการต่างกัน แต่เพียงชื่อ ซึ่งต้องเปลี่ยน ไป ตามหมวดนั้นๆ เท่านั้น)

ภิกษุทั้งหลาย ก็ปฏิปทาอันให้ถึงความดับไม่เหลือ แห่งสักกายะ มีอยู่อย่างนี้ คือ
บุคคล ย่อมตามเห็นด้วยดีซึ่งตาว่า นั่นไม่ใช่ของเรา (เนตํ มม) นั่นไม่ใช่เป็นเรา (เนโสหมสฺมิ) นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา (น เมโส อตฺตา)

ย่อมตามเห็นด้วยดีซึ่งรูปทั้งหลาย … .
ย่อมตามเห็นด้วยดีซึ่งจักษุวิญญาณ … .
ย่อมตามเห็นด้วยดีซึ่งจักษุสัมผัส … .
ย่อมตามเห็นด้วยดีซึ่งสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ
อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย …
ย่อมตามเห็นด้วยดีซึ่งตัณหาว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา.

(ในกรณีแห่งหมวดโสตะ – ฆานะ ไปจนกระทั่งหมวดมนะ ก็ได้ตรัสไว้มีนัยอย่างเดียวกัน กับที่ตรัสไว้ในกรณีแห่งหมวดจักษุนั้น ทุกประการต่างกันแต่เพียงชื่อซึ่งต้องเปลี่ยนไป ตามหมวดนั้นๆ เท่านั้น)

๑๖/รอบรู้ซึ่งสักกายะ
-บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๙๓-๑๙๔/๒๘๔-๒๘๘.

ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสักกายะ สักกายสมุทัย สักกายนิโรธ และ สักกายนิโรธคามินีปฏิปทา แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง.

ภิกษุทั้งหลาย ก็สักกายะเป็นอย่างไร.
สักกายะนั้น ควรจะกล่าวว่าคือ อุปาทานขันธ์ ๕
อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นอย่างไร
อุปาทานขันธ์ ๕ นั้น ได้แก่
อุปาทานขันธ์ คือรูป (รูปูปาทานขันธ์)
อุปาทานขันธ์ คือเวทนา (เวทนูปาทานขันธ์)
อุปาทานขันธ์ คือสัญญา (สัญญูปาทานขันธ์)
อุปาทานขันธ์ คือสังขาร (สังขารูปาทานขันธ์)
อุปาทานขันธ์ คือวิญญาณ (วิญญาณูปาทานขันธ์)
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า สักกายะ.

ภิกษุทั้งหลาย ก็สักกายสมุทัยเป็นอย่างไร.
สักกายสมุทัยนั้น คือ ตัณหาอันนำให้เกิดในภพใหม่ ประกอบด้วยความกำหนัด ด้วยอำนาจความเพลินทำให้ เพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้นๆ กล่าวคือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า สักกายสมุทัย.

ภิกษุทั้งหลาย ก็สักกายนิโรธเป็นอย่างไร.
สักกายนิโรธ คือ ความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือ ความสละทิ้ง ความสละคืน ความหลุดพ้น ความไม่อาลัย ซึ่งตัณหานั้น
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า สักกายนิโรธ.
(โย ตสฺสา เยว ตณฺหาย อเสสวิราคนิโรโธ จาโค ปฏินิสฺสคฺโคมุตฺติ อนาลโย อยํ วุจฺจติ ภิกฺขเว สกฺกายนิโรธนฺโต)

ภิกษุทั้งหลาย ก็สักกายนิโรธคามินีปฏิปทาเป็นอย่างไร.
สักกายนิโรธคามินีปฏิปทา คือ อริยมรรคอันประกอบ ด้วยองค์ ๘ นี้ กล่าวคือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า สักกายนิโรธคามินีปฏิปทา.

------------------------------------------------------------------------------------------
บทถัดไป บทที่ 17 อานาปานสติสมาธิ เป็นเหตุให้ละสัญโญชน์ได้ ( หน้า 42 )

  Top Next