เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
รวม้รื่อง สังโยชน์ พุทธวจน
หนังสือพุทธวจนออนไลน์   ดูหนังสือทั้งหมด
90 90 90 90 90
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์  
   
ค้นหาคำที่ต้องการ              

  สังโยชน์ - พุทธวจน ดาวน์โหลดหนังสือ(ไฟล์ PDF)
  
  4 of 11  
 
  สังโยชน์ พุทธวจน  ที่มา : http://watnapp.com/files  
       
    สารบัญ เลขหน้า
ตามหนังสือ
 
  บทที่    
  ๔๒ / สฬายตนวิภังค์ (การจำแนกอายตนะ โดยละเอียด) 116  
         ๔๒_๑ (อายตนะภายใน ๖ ภายนอก ๖)    
         ๔๒_๒ (วิญญาณ ๖)    
         ๔๒_๓ (ผัสสะ ๖)    
         ๔๒_๔ (มโนปวิจาร ๑๘ : โสมนัส๖ โทมนัส๖ อุเบกขา๖)    
         ๔๒_๕ (สัตตบท ๓๖)    
         ๔๒_๖ (โสมนัสอาศัยเรือน ๖ประการ)    
         ๔๒_๗ (โสมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖ ประการ)    
         ๔๒_๘ (โทมนัสอาศัยเรือน ๖ ประการ)    
         ๔๒_๙ (โทมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖ ประการ)    
         ๔๒_๑๐ (อุเบกขาอาศัยเรือน ๖ ประการ)    
         ๔๒_๑๑ (อุเบกขาอาศัยเนกขัมมะ ๖ ประการ)    
  ๔๓ / เจริญสติปัฏฐาน ๔ เพื่อละ โอรัมภาคิยสังโยชน์ 135  
  ๔๔ / เจริญสติปัฏฐาน ๔ เพื่อละ อุทธัมภาคิยสังโยชน์ 137  
  ๔๕ / ผลของการเจริญสติปัฏฐาน ๔ 139  
  ๔๖ / ปฏิปทาให้ถึงการเจริญสติปัฏฐาน 140  
  ๔๗ / ถ้าเจริญสติปัฏฐาน ๔ จะเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน 142  
  ๔๘ / เจริญสัมมัปปธาน ๔ เพื่อละ โอรัมภาคิยสัญโญชน์ 144  
       
 
 



หน้า 116
๔๒/ สฬายตนวิภังค์ (การจำแนกอายตนะ โดยละเอียด)
-บาลี อุปริ. ม. ๑๔/๔๐๐/๖๑๗

ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสฬายตนวิภังค์แก่เธอ ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง สฬายตนวิภังค์ นั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว.

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงทราบ
อายตนะภายใน ๖ (ฉ อชฺฌตฺติกานิ อายตนานิ)
อายตนะภายนอก ๖ (ฉ พาหิรานิ อายตนานิ)
วิญญาณ ๖ (ฉ วิญฺญาณกายา)
ผัสสะ ๖ (ฉ ผสฺสกายา)
มโนปวิจาร ๑๘ 1 (อฏฺฐารส มโนปวิจารา)
สัตตบท ๓๖ 2 (ฉตฺตึส สตฺตปทา)
1 มโนปวิจาร แปลว่า ความพิจารณาทางใจ, ใจที่พิจารณาอย่างทั่วถึง -คณะผู้รวบรวม
2 สัตตบท แปลว่า ทางไปของสัตว์ -คณะผู้รวบรวม


ในธรรมเหล่านั้น เธอทั้งหลายอาศัยธรรมนี้แล้ว จงละธรรมนี้เสีย และพึงทราบ สติปัฏฐาน ๓ (ตโย สติปฏฺฐานา) ที่พระอริยะเสพ ซึ่งเมื่อเสพอยู่ชื่อว่า เป็นผู้สอน (สตฺถา) ควรเพื่อสั่งสอนหมู่ อันเราเรียกว่าเป็นสารถีผู้สามารถฝึกบุรุษ ที่ ควรฝึก ได้อย่างยอดเยี่ยมกว่า อาจารย์ผู้ฝึกทั้งหลาย นี้เป็นอุทเทสแห่ง สฬายตนวิภังค์.


๔๒_๑ (อายตนะภายใน ๖ ภายนอก ๖)

คำที่เรากล่าวแล้วว่า พึงทราบอายตนะภายใน ๖ ดังนี้นั้น
เราอาศัยอะไรกล่าว คือ
อายตนะคือตา (จกฺขฺวายตนํ)
อายตนะคือหู (โสตายตนํ)
อายตนะคือจมูก (ฆานายตนํ)
อายตนะคือลิ้น (ชิวฺหายตนํ)
อายตนะคือกาย (กายายตนํ)
อายตนะคือใจ (มนายตนํ)
คำที่เรากล่าวแล้วว่า พึงทราบ อายตนะภายใน ๖ ดังนี้นั้น
เราอาศัยความข้อนี้ กล่าวแล้ว.

คำที่เรากล่าวแล้วว่า พึงทราบอายตนะภายนอก ๖ ดังนี้นั้น
เราอาศัยอะไรกล่าว คือ
อายตนะคือรูป (รูปายตนํ)
อายตนะคือเสียง (สทฺทายตนํ)
อายตนะคือกลิ่น (คนฺธายตนํ)
อายตนะคือรส (รสายตนํ)
อายตนะคือโผฏฐัพพะ (โผฏฺฐพฺพายตนํ)
อายตนะคือธรรม (ธมฺมายตนํ)

คำที่เรา กล่าวแล้วว่า พึงทราบอายตนะภายนอก ๖ ดังนี้นั้น
เราอาศัยความข้อนี้ กล่าวแล้ว.

๔๒_๒ (วิญญาณ ๖)

คำที่เรากล่าวแล้วว่า พึงทราบวิญญาณ ๖ ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าว คือ จักขุวิญญาณ (ความรู้แจ้งทางตา)
โสตวิญญาณ (ความรู้แจ้งทางหู)
ฆานวิญญาณ (ความรู้แจ้งทางจมูก)
ชิวหาวิญญาณ (ความรู้แจ้งทางลิ้น)
กายวิญญาณ (ความรู้แจ้งทางกาย)
มโนวิญญาณ (ความรู้แจ้งทางใจ)
คำที่เรา กล่าวแล้วว่า พึงทราบวิญญาณ ๖ ดังนี้นั้น
เราอาศัยความ ข้อนี้กล่าวแล้ว.

๔๒_๓ (ผัสสะ ๖)

คำที่เรากล่าวแล้วว่า พึงทราบผัสสะ ๖ ดังนี้นั้น เรา อาศัยอะไรกล่าว คือ จักขุสัมผัส (สัมผัสทางตา)
โสตสัมผัส (สัมผัสทางหู)
ฆานสัมผัส (สัมผัสทางจมูก)
ชิวหาสัมผัส (สัมผัส ทางลิ้น)
กายสัมผัส (สัมผัสทางกาย)
มโนสัมผัส (สัมผัสทางใจ)
คำที่เรากล่าวแล้ว ว่า พึงทราบผัสสะ ๖ ดังนี้นั้น
เราอาศัย ความข้อนี้กล่าวแล้ว.

๔๒_๔ (มโนปวิจาร ๑๘ : โสมนัส๖ โทมนัส๖ อุเบกขา๖)

คำที่เรากล่าวแล้วว่า พึงทราบมโนปวิจาร ๑๘ ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าว คือ
บุคคล เห็นรูปทางตาแล้ว ย่อมพิจารณารูป (รูปํ อุปวิจรติ) อันเป็นที่ตั้งแห่ง โสมนัส ย่อมพิจารณารูป อันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส ย่อมพิจารณารูป อันเป็น ที่ตั้งแห่ง อุเบกขาไว้
ฟังเสียงทางหูแล้ว ดมกลิ่นทางจมูกแล้ว … ลิ้มรสทางลิ้นแล้วถูกต้องโผฏฐัพพะ ทางกายแล้วรู้แจ้งธรรมทางใจแล้ว
ย่อมพิจารณาธรรมอันเป็น ที่ตั้งแห่งโสมนัส
ย่อมพิจารณาธรรม อันเป็นที่ตั้ง แห่งโทมนัส
ย่อมพิจารณาธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขาไว้

การพิจารณา ฝ่ายโสมนัส ๖ ฝ่ายโทมนัส ๖ ฝ่ายอุเบกขา ๖ ย่อมมีด้วย ประการฉะนี้ คำที่เรากล่าวแล้วว่า พึงทราบมโนปวิจาร ๑๘ ดังนี้นั้น เราอาศัยความข้อนี้ กล่าวแล้ว.

๔๒_๕ (สัตตบท ๓๖)

คำที่เรากล่าวแล้วว่า พึงทราบสัตตบท ๓๖ ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าว คือ โสมนัสอาศัยเรือน ๖ (เคหสิตานิํ โสมนสฺสานิ)
โสมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖
โทมนัสอาศัยเรือน ๖
โทมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖
อุเบกขาอาศัยเรือน ๖
อุเบกขา อาศัยเนกขัมมะ ๖

๔๒_๖ (โสมนัสอาศัยเรือน ๖ประการ)
ในสัตตบท ๓๖
นั้น
โสมนัสอาศัยเรือน ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ

โสมนัสย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคล ผู้พิจารณาเห็นการได้
เฉพาะซึ่งรูปที่ พึงรู้แจ้งทางตา อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ น่ารื่นรมย์ ใจ (อิฏฺฐานํ กนฺตานํ มนาปานํ มโนรมานํ) ประกอบด้วย โลกามิส โดยเป็นของ อันตนได้เฉพาะ หรือหวนระลึก ถึงรูป ที่ตนเคยได้มาก่อน อันล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว แปรปรวน ไปแล้ว โสมนัส เช่นนี้เราเรียกว่า โสมนัส อาศัยเรือน

โสมนัสย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้พิจารณาเห็นการได้
เฉพาะซึ่งเสียงที่ พึงรู้แจ้งทางหู

โสมนัสย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้พิจารณาเห็นการได้
เฉพาะซึ่งกลิ่นที่ พึงรู้แจ้งทางจมูก

โสมนัสย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้พิจารณาเห็นการได้
เฉพาะซึ่งรสที่ พึงรู้แจ้งทางลิ้น

โสมนัสย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้พิจารณาเห็นการได้
เฉพาะซึ่งโผฏฐัพพะที่ พึงรู้แจ้งทางกาย

โสมนัสย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้พิจารณาเห็นการได้
เฉพาะซึ่งธรรมที่ พึงรู้แจ้ง ทางใจ ที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ น่ารื่นรมย์ ใจ ประกอบด้วยโลกามิส โดยเป็นของ อันตนได้เฉพาะ หรือหวนระลึกถึงธรรม ที่ตนเคยได้มาก่อน อันล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว แปรปรวนไปแล้ว

โสมนัสเช่นนี้ เราเรียกว่า โสมนัสอาศัยเรือน
เหล่านี้แลโสมนัสอาศัยเรือน ๖ ประการ


๔๒_๗ (โสมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖ ประการ)
ในสัตตบท ๓๖ นั้น โสมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ

เพราะรู้ความที่ รูปทั้งหลายนั่นแลว่าไม่เที่ยง เห็นความแปรปรวน ความคลายกำหนัด และความดับว่า รูป ในกาลก่อนและในบัดนี้ ทั้งหมดนั้น ล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ตามที่เป็นจริงอย่างนั้น
เพราะเห็นด้วยปัญญาโดยชอบ โสมนัสย่อมเกิดขึ้น โสมนัสเช่นนี้ เราเรียกว่า โสมนัสอาศัยเนกขัมมะ

เพราะรู้ความที่ เสียงทั้งหลายนั่นแลว่าไม่เที่ยง …
โสมนัสย่อมเกิดขึ้น … เราเรียกว่า โสมนัสอาศัยเนกขัมมะ

เพราะรู้ความที่ กลิ่นทั้งหลายนั่นแลว่าไม่เที่ยง …
โสมนัสย่อมเกิดขึ้น … เราเรียกว่า โสมนัสอาศัยเนกขัมมะ

เพราะรู้ความที่ รสทั้งหลายนั่นแลว่าไม่เที่ยง …
โสมนัสย่อมเกิดขึ้น … เราเรียกว่า โสมนัสอาศัยเนกขัมมะ

เพราะรู้ความที่ โผฏฐัพพะทั้งหลายนั่นแลว่าไม่เที่ยง …
โสมนัสย่อมเกิดขึ้น … เราเรียกว่า โสมนัสอาศัยเนกขัมมะ

เพราะรู้ความที่ ธรรมทั้งหลายนั่นแลว่าไม่เที่ยง
เห็นความแปรปรวน ความคลายกำหนัด และความดับว่า ธรรมในกาลก่อน และในบัดนี้ ทั้งหมดนั้น ล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ตามที่เป็นจริงอย่างนั้น เพราะเห็นด้วยปัญญาโดยชอบ โสมนัสย่อมเกิดขึ้น

โสมนัสเช่นนี้ เราเรียกว่า โสมนัสอาศัยเนกขัมมะ
เหล่านี้แลโสมนัส อาศัยเนกขัมมะ ๖ ประการ


๔๒_๘ (โทมนัสอาศัยเรือน ๖ ประการ)
ในสัตตบท ๓๖ นั้น โทมนัสอาศัยเรือน ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ

โทมนัสย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้เห็นความไม่ได้เฉพาะ ซึ่งรูปที่พึงรู้แจ้งทางตา ที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ น่า รื่นรมย์ใจ ประกอบด้วยโลกามิส โดยความ เป็นของอันตน ไม่ได้เฉพาะ หรือหวนระลึกถึงรูปที่ตน ไม่เคยได้มาก่อน (อปฺปฏิลาภํ วา อปฺปฏิลาภโต สมนุปสฺสโต) อันล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว แปรปรวน ไปแล้ว โทมนัสเช่นนี้เราเรียกว่า โทมนัสอาศัยเรือน

โทมนัสย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคล ผู้เห็นความไม่ได้
เฉพาะซึ่งเสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู …

โทมนัสย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้เห็นความไม่ได้
เฉพาะซึ่งกลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก …

โทมนัสย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้เห็นความไม่ได้
เฉพาะซึ่งรสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น …

โทมนัสย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้เห็นความไม่ได้
เฉพาะซึ่งโผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้ง ทางกาย …

โทมนัสย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้เห็นความไม่ได้
เฉพาะซึ่งธรรมที่พึงรู้แจ้งทางใจ ที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ น่ารื่นรมย์ใจ ประกอบด้วยโลกามิส โดยความ เป็นของ อันตน ไม่ได้เฉพาะ หรือหวนระลึกถึง ธรรมที่ตนไม่เคยได้มาก่อน อันล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว แปรปรวนไปแล้ว

โทมนัสเช่นนี้ เราเรียกว่า โทมนัสอาศัยเรือน
เหล่านี้แลโทมนัสอาศัยเรือน ๖ ประการ


๔๒_๙ (โทมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖ ประการ)
ในสัตตบท ๓๖ นั้น โทมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ

เพราะรู้ ความที่รูป ทั้งหลายนั้นแลว่าไม่เที่ยง เห็นความแปรปรวน ความคลาย กำหนัด และความดับว่า รูปในกาลก่อนและในบัดนี้ ทั้งหมดนั้น ล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวน เป็นธรรมดา ตามที่เป็นจริงอย่างนั้น

เพราะเห็นด้วยปัญญา โดยชอบ โทมนัสย่อมเกิดขึ้น แล้วตั้งความปรารถนา ในอนุตตรวิโมกข์ว่า ในกาลไร เราจักบรรลุตทายตนัง (ตทายตนํ) 1 ที่ พระอริยะ ทั้งหลาย ได้บรรลุอยู่ในบัดนี้ เพราะความปรารถนาเป็นปัจจัย โทมนัส จึงเกิดขึ้น แก่ บุคคลผู้ตั้งความปรารถนาในอนุตตรวิโมกข์ ด้วยประการฉะนี้ โทมนัสเช่นนี้ เราเรียกว่า โทมนัสอาศัยเนกขัมมะ เพราะรู้ความที่เสียงทั้งหลาย นั้นแลว่า ไม่เที่ยง …โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น …2 เราเรียกว่า โทมนัสอาศัย เนกขัมมะ
1. ข้อสังเกต ให้ดูความหมายของตทายตน ได้ทั้งพระไตรปฎิกฉบับสยามรัฐ เล่มที่
๒๕ หน้า ๒๐๖ ข้อ ๑๕๘ -คณะผู้รวบรวม.
2. ขอ้ สงั เกต ในกรณีโทมนัส อาศัยเนกขัมมะ จะมีเพิ่มว่าแล้วตั้งความปรารถนาใน
อนุตตรวิโมกข์ว่า ในกาลไร เราจักบรรลุตทายตนัง … โทมนัสจึงเกิดขึ้น …
-คณะผู้รวบรวม


เพราะรู้ความที่กลิ่นทั้งหลายนั้นแลว่าไม่เที่ยง … โทมนัสย่อมเกิดขึ้น … เราเรียกว่า โทมนัสอาศัยเนกขัมมะ เพราะรู้ความที่รสทั้งหลายนั้นแลว่าไม่เที่ยง … โทมนัสย่อม เกิดขึ้น … เราเรียกว่า โทมนัสอาศัยเนกขัมมะ

เพราะรู้ความที่โผฏฐัพพะทั้งหลายนั้นแล ว่าไม่เที่ยง … โทมนัสย่อมเกิดขึ้น … เราเรียกว่า โทมนัสอาศัยเนกขัมมะ เพราะรู้ความ ที่ธรรมทั้งหลายนั้นแล ว่า ไม่เที่ยง เห็นความแปรปรวน ความคลายกำหนัด และความดับ ว่าธรรม ในกาลก่อนและในบัดนี้ ทั้งหมดนั้น ล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวน เป็นธรรมดา ตามที่เป็นจริงอย่างนั้น

เพราะเห็นด้วยปัญญาโดยชอบ โทมนัสย่อมเกิดขึ้น แล้วตั้งความปรารถนา ในอนุตตรวิโมกข์ว่า ในกาลไร เราจักบรรลุตทายตนัง ที่พระอริยะ ทั้งหลายได้ บรรลุอยู่ใน บัดนี้เพราะความปรารถนาเป็นปัจจัย โทมนัสจึงเกิดขึ้น แก่เขา ผู้ตั้งความปรารถนาในอนุตตรวิโมกข์ ด้วยประการฉะนี้

โทมนัสเช่นนี้เราเรียกว่า โทมนัส อาศัยเนกขัมมะ เหล่านี้แลโทมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖ ประการ.

๔๒_๑๐ (อุเบกขาอาศัยเรือน ๖ ประการ)
ในสัตตบท ๓๖ นั้น อุเบกขาอาศัยเรือน ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ

เพราะเห็นรูปทางตา อุเบกขาจึงเกิดขึ้นแก่ปุถุชน ผู้โง่เขลา งมงาย ผู้ยังไม่ชนะ กิเลส ยังไม่ชนะวิบาก ผู้ไม่เห็นโทษ ไม่ได้สดับ เป็นคนกิเลสหนา อุเบกขาเช่นนี้ ยังล่วงพ้นรูป ไม่ได้ เพราะฉะนั้น เราจึงเรียกอุเบกขานั้นว่า อุเบกขาอาศัยเรือน เพราะฟังเสียงทางหู อุเบกขาจึงเกิดขึ้น…

เพราะดมกลิ่นทางจมูก อุเบกขา จึงเกิดขึ้น… เพราะลิ้มรสทางลิ้น อุเบกขาจึงเกิดขึ้น… เพราะถูกต้องโผฏฐัพพะ ทางกาย อุเบกขาจึงเกิดขึ้น…

เพราะรู้แจ้ง ธรรม ทางใจ อุเบกขาจึงเกิดขึ้นแก่ ปุถุชน ผู้โง่เขลา งมงาย ผู้ยังไม่ชนะกิเลส ยังไม่ชนะวิบาก ผู้ไม่เห็น โทษ ไม่ได้สดับ เป็นคนกิเลสหนา อุเบกขาเช่นนั้นยังล่วงพ้น ธรรมไม่ได้ เพราะฉะนั้น

เราจึงเรียกอุเบกขานั้นว่า อุเบกขา อาศัยเรือน
เหล่านี้แลอุเบกขาอาศัยเรือน ๖ ประการ.


๔๒_๑๑ (อุเบกขาอาศัยเนกขัมมะ ๖ ประการ)
ในสัตตบท ๓๖ นั้น อุเบกขาอาศัยเนกขัมมะ ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ

เพราะรู้ความที่รูปทั้งหลายนั้น แลว่าไม่เที่ยง เห็นความ แปรปรวน ความคลายกำหนัด และความดับว่า รูปในกาลก่อนและในบัดนี้ ทั้งหมดนั้น ล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ตามที่เป็นจริง อย่างนั้น

เพราะเห็นด้วยปัญญาโดยชอบ อุเบกขาย่อมเกิดขึ้น (รูปานํ เตฺวว อนิจฺจตํ วิทิตฺวา วิปริณามวิราคนิโรธํ ปุพฺเพ เจว รูปา เอตรหิ จ สพฺเพ เต รูปา อนิจฺจา ทุกฺขา วิปริณามธมฺมาติ เอวเมตํ ยถาภูตํ สมฺมปฺปญฺญาย ปสฺสโต อุปฺปชฺชติ อุเปกฺขา) อุเบกขาเช่นนี้นั้นย่อมล่วงพ้นรูปได้ เพราะ ฉะนั้น เราจึงเรียกอุเบกขา นั้นว่า อุเบกขาอาศัยเนกขัมมะ.1
1.สำนวนการแปลในวรรคนี้เรียงตามสุคตวินโย -คณะผู้รวบรวม

เพราะรู้ความที่เสียงทั้งหลายนั้นแลว่าไม่เที่ยง … อุเบกขาย่อมเกิดขึ้น … เราจึงเรียกอุเบกขานั้นว่า อุเบกขา อาศัยเนกขัมมะ.

เพราะรู้ความที่กลิ่นทั้งหลายนั้นแลว่าไม่เที่ยง … อุเบกขาย่อมเกิดขึ้น … เราจึงเรียกอุเบกขานั้นว่า อุเบกขา อาศัยเนกขัมมะ.

เพราะรู้ความที่รสทั้งหลายนั้นแลว่าไม่เที่ยง … อุเบกขาย่อมเกิดขึ้น … เราจึงเรียกอุเบกขานั้นว่า อุเบกขา อาศัยเนกขัมมะ.

เพราะรู้ความที่โผฏฐัพพะทั้งหลายนั้นแลว่าไม่เที่ยง … อุเบกขาย่อมเกิดขึ้น … เราจึงเรียกอุเบกขานั้นว่า อุเบกขา อาศัยเนกขัมมะ.

เพราะรู้ความที่ธรรมทั้งหลายนั้นแลว่าไม่เที่ยง เห็นความแปรปรวน ความคลาย กำหนัด และความดับว่า ธรรม ในกาลก่อนและในบัดนี้ ทั้งหมดนั้น ล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ตามที่เป็นจริงอย่างนั้น

เพราะเห็นด้วยปัญญาโดยชอบ อุเบกขาย่อมเกิดขึ้น อุเบกขาเช่นนี้นั้น ย่อมล่วง พ้นธรรมได้ เพราะฉะนั้น เราจึงเรียก อุเบกขานั้นว่า อุเบกขาอาศัยเนกขัมมะ เหล่านี้แล อุเบกขาอาศัยเนกขัมมะ ๖ ประการ คำที่เรากล่าวแล้วว่า พึงทราบสัตตบท ๓๖ ดังนี้นั้น เราอาศัยความข้อนี้ กล่าวแล้ว.

คำที่เรากล่าวแล้วว่า ในสัตตบท ๓๖ นั้น เธอทั้งหลาย อาศัยธรรมนี้ แล้วจงละ ธรรมนี้เสีย เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นภิกษุทั้งหลาย1 ในสัตตบท ๓๖ นั้น เธอทั้งหลาย จงอาศัยพึ่งพิงโสมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖ นั้นแล้ว จงละ
1. ข้อสังเกต มีคำ ว่า ภิกษุทั้งหลาย อยู่ในทุกย่อหน้าของสัตตบท ๓๖ -คณะผู้รวบรวม.

จงก้าวล่วงโสมนัสอาศัยเรือน ๖ นั้นเสีย การละ การก้าวล่วง โสมนัสเหล่านั้น มีได้ ด้วยอาการ อย่างนี้

ในสัตตบท ๓๖ นั้น เธอทั้งหลายอาศัยพึ่งพิงโทมนัส อาศัยเนกขัมมะ ๖ นั้นแล้ว จงละ จงก้าวล่วงโทมนัส อาศัยเรือน ๖ นั้นเสีย การละการก้าวล่วง โทมนัส เหล่านั้น มีได้ ด้วยอาการอย่างนี้

ในสัตตบท ๓๖ นั้น เธอทั้งหลายอาศัยพึ่งพิงอุเบกขา อาศัยเนกขัมมะ ๖ นั้นแล้ว จงละ จงก้าวล่วงอุเบกขา อาศัยเรือน ๖ นั้นเสีย การละ การก้าวล่วง อุเบกขา เหล่านั้น มีได้ด้วยอาการอย่างนี้

ในสัตตบท ๓๖ นั้น เธอทั้งหลายอาศัยพึ่งพิงโสมนัส อาศัยเนกขัมมะ ๖ นั้นแล้ว จงละ จงก้าวล่วงโทมนัสอาศัย เนกขัมมะ ๖ นั้นเสีย การละ การก้าวล่วง โทมนัส เหล่านั้น มีได้ด้วยอาการอย่างนี้

ในสัตตบท ๓๖ นั้น เธอทั้งหลายอาศัยพึ่งพิงอุเบกขา อาศัยเนกขัมมะ ๖ นั้นแล้ว จงละ จงก้าวล่วงโสมนัสอาศัย เนกขัมมะ ๖ นั้นเสีย การละ การก้าวล่วงโสมนัส เหล่านั้น มีได้ ด้วยอาการอย่างนี้

ภิกษุทั้งหลาย อุเบกขาที่มีประเภทต่างกัน อาศัย อารมณ์ต่างกันก็มี อุเบกขา ที่เป็นประเภทเดียวกัน อาศัย อารมณ์เดียวกันก็มี (อตฺถิ ภิกฺขเว อุเปกฺขา นานตฺตา นานตฺตสิตา อตฺถิ อุเปกฺขา เอกตฺตา เอกตฺตสิตา)

อุเบกขาที่มีประเภทต่างกัน อาศัยอารมณ์ต่างกันก็มี เป็นอย่างไร คือ อุเบกขาในรูป ก็มี อุเบกขาในเสียงก็มี อุเบกขาใน กลิ่นก็มี อุเบกขาในรสก็มี อุเบกขาในโผฏฐัพพะก็มี อุเบกขา ในธรรมก็มี (อตฺถิ ภิกฺขเว อุเปกฺขา รูเปสุ อตฺถิ สทฺเทสุ อตฺถิ คนฺเธสุ อตฺถิ รเสสุ อตฺถิ โผฏฺฐพฺเพสุ อตฺถิ ธมฺเมสุ) 1
1. ข้อสังเกตในพระไตรปิฎกฉบับบาลีสยามรัฐ พ.ศ. ๒๕๓๘ ไม่มี อุเบกขาในธรรม แต่มีเชิงอรรถ ในที่เดียวกันนี้ว่า โป. เอตฺถนฺตเร อตฺถิ ธมฺเมสูติ ทิสฺสติ ซึ่งหมายถึง อุเบกขาในธรรม (เมื่อเทียบ เคียงตามหลักธรรมแล้วในส่วนของมโนปวิจาร ๑๘ จะหายไป ไม่ครบ ๑๘ จึงได้ใส่ไว้) -คณะผู้รวบรวม.

นี้จัดเป็นอุเบกขาที่มีประเภทต่างกัน อาศัยอารมณ์ ต่างกัน อุเบกขาที่เป็น ประเภทเดียวกัน อาศัยอารมณ์เดียวกัน เป็นอย่างไร

คือ อุเบกขาที่อาศัยอากาสานัญจายตนก็มี อุเบกขาที่ อาศัย วิญญาณัญจายตน ก็มี อุเบกขาที่อาศัยอากิญจัญญายตน ก็มี อุเบกขาที่อาศัย เนวสัญญานา สัญญายตนก็มี นี้จัดเป็น อุเบกขาที่เป็นประเภทเดียวกัน อาศัยอารมณ์เดียวกัน

ในอุเบกขา ๒ ประการนั้น เธอทั้งหลายอาศัยพึ่งพิง อุเบกขาที่เป็นประเภท เดียวกัน อาศัย อารมณ์เดียวกันแล้ว จงละ จงก้าวล่วงอุเบกขาที่มีประเภทต่างกัน อาศัยอารมณ์ ต่างกัน นั้นเสีย การละ การก้าวล่วงอุเบกขานี้ มีได้ด้วย อาการอย่างนี้

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายอาศัยพึ่งพิงอตัมมยตา1 แล้ว จงละ จงก้าวล่วง อุเบกขา ที่เป็น ประเภทเดียวกัน อาศัย อารมณ์เดียวกันเสีย การละ การก้าวล่วง อุเบกขานี้มีได้ด้วย อาการอย่างนี้
1. ในบทนี้ อตัมมยตา เป็นไปเพื่อละอรูปสัญญา ๔ (ผืนนาประณีต : ปณีตาย ธาตุยา) มีความหมายเทียบได้กับการใช้ เนตํ มม เนโสหมสฺมิ น เมโส อตฺตา ในหลายๆ พระสูตรที่ใช้ใน การ ละ ผืนนาเลว ผืนนาปานกลาง ผืนนาประณีต และจิต มโน วิญญาณ และในพระสูตรนี้ได้ใช้ สติปัฏฐาน ๓ ต่อจากอตัมมยตา จึงเป็นผู้สอนควร แก่การสอน หมู่ -คณะผู้รวบรวม

คำที่เรากล่าวแล้วว่า ในสัตตบท ๓๖ นั้น เธอทั้งหลาย อาศัยธรรมนี้แล้ว จงละธรรมนี้เสีย ดังนี้นั้น เราอาศัยความ ข้อนี้กล่าวแล้ว

คำที่เรากล่าวแล้วว่า พึงทราบสติปัฏฐาน ๓ ที่พระอริยะ เสพ ซึ่งเมื่อเสพ ชื่อว่าเป็นผู้สอน ควรเพื่อสั่งสอนหมู่ เพราะ อาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น

ภิกษุทั้งหลาย ผู้สอนในโลกนี้เป็นผู้อนุเคราะห์ แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล อาศัย ความเอ็นดู จึงแสดงธรรม แก่สาวกทั้งหลายว่า นี้เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล แก่เธอทั้งหลาย นี้เป็นไปเพื่อสุขแก่เธอทั้งหลาย

สาวกทั้งหลายของ ผู้สอนนั้น ย่อมไม่ฟัง ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งจิตรับรู้ และ ประพฤติหลีกเลี่ยงคำสอนของผู้สอน ในข้อนั้น ตถาคตไม่มีใจยินดี ไม่ชื่นชม และไม่ถูกรั่วรด1 มีสติสัมปชัญญะอยู่ ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า สติปัฏฐาน ประการที่ ๑ ที่พระอริยะเสพ ซึ่งเมื่อเสพ ชื่อว่าเป็นผู้สอนควรเพื่อ สั่งสอนหมู่
1. ไม่ถูกรั่วรด หมายถึง ไม่ถูกครอบงำ -คณะผู้รวบรวม

อีกประการหนึ่ง ผู้สอนเป็นผู้อนุเคราะห์ แสวงหา ประโยชน์เกื้อกูล อาศัยความ เอ็นดู จึงแสดงธรรมแก่สาวก ทั้งหลายว่า นี้เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล แก่เธอ ทั้งหลาย นี้เป็นไปเพื่อสุขแก่เธอทั้งหลาย

สาวกทั้งหลายของผู้สอนนั้น บางพวก ไม่ฟัง ไม่เงี่ยโสต สดับ ไม่ตั้งจิตรับรู้ และประพฤติ หลีกเลี่ยงคำสอน ของผู้สอน บางพวกฟังด้วยดี เงี่ยโสต สดับ ตั้งจิตรับรู้ ไม่ประพฤติหลีกเลี่ยงคำสอน ของผู้สอน ในข้อนั้น ตถาคตก็ไม่มีใจ ยินดี ไม่ชื่นชม ไม่มีใจยินดีก็มิใช่

ไม่ชื่นชมก็มิใช่ เว้นความมีใจยินดีและความไม่มีใจยินดีทั้ง ๒ อย่างนั้นแล้ว จึงเป็นผู้วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า สติปัฏฐาน ประการที่ ๒ ที่พระอริยะเสพ ซึ่งเมื่อเสพ ชื่อว่าเป็นผู้สอนควรเพื่อ สั่งสอนหมู่

อีกประการหนึ่ง ผู้สอนเป็นผู้อนุเคราะห์ แสวงหา ประโยชน์เกื้อกูล อาศัยความ เอ็นดู จึงแสดงธรรมแก่สาวก ทั้งหลายว่า นี้เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่เธอ ทั้งหลาย นี้เป็นไปเพื่อสุขแก่เธอทั้งหลาย

สาวกทั้งหลายของผู้สอนนั้น ย่อมฟัง ด้วยดี เงี่ยโสตสดับ ตั้งจิตรับรู้ ไม่ประพฤติ หลีกเลี่ยงคำสอนของผู้สอน ในข้อนั้น ตถาคตมีใจยินดี ชื่นชม และไม่ถูกรั่วรด มีสติสัมปชัญญะอยู่

ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า สติปัฏฐานประการที่ ๓ ที่พระอริยะเสพ ซึ่งเมื่อเสพ ชื่อว่า เป็นผู้สอนควรเพื่อ สั่งสอนหมู่

คำที่เรากล่าวแล้วว่า พระอริยะเสพธรรม คือ สติปัฏฐาน ๓ ซึ่งเมื่อเสพ ชื่อว่า เป็นผู้สอน ควรเพื่อสั่งสอนหมู่ ดังนี้นั้น เราอาศัยความข้อนี้กล่าวแล้ว

คำที่เรากล่าวแล้วว่า พระอริยะนั้นอันเราเรียกว่า เป็น สารถีผู้สามารถฝึกบุรุษ ที่ควรฝึก ได้อย่างยอดเยี่ยมกว่าอาจารย์ ผู้ฝึกทั้งหลาย เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น

ภิกษุทั้งหลาย ช้างที่ควรฝึก อันควาญช้างบังคับให้วิ่ง ย่อมวิ่งไปสู่ทิศเดียว เท่านั้น คือ ทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ทิศเหนือ หรือทิศใต้

ม้าที่ควรฝึก อันคนฝึกม้าบังคับให้วิ่ง ย่อมวิ่งไปสู่ ทิศเดียวเท่านั้น คือ ทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ทิศเหนือ หรือทิศใต้

โคที่ควรฝึก อันคนฝึกโคบังคับให้วิ่ง ย่อมวิ่งไปสู่ ทิศเดียวเท่านั้น คือ ทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ทิศเหนือ หรือทิศใต้

แต่บุรุษที่ควรฝึก อันตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะ สอนให้วิ่ง ย่อมวิ่งไปได้ ตลอดทั้ง ๘ ทิศ คือ

ผู้มีรูป ย่อมเห็นรูปทั้งหลายได้ นี้เป็นทิศที่ ๑

ผู้มีสัญญาในอรูปในภายใน ย่อมเห็นรูปทั้งหลายใน ภายนอกได้ นี้เป็นทิศที่ ๒

เป็นผู้น้อมใจว่างามทั้งนั้น
นี้เป็นทิศที่ ๓

เพราะก้าวล่วงรูปสัญญา เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะ ไม่ใส่ใจนานัตตสัญญา โดย ประการทั้งปวง จึงบรรลุอากาสา นัญจายตนอยู่ ด้วยการทำในใจว่า อากาศ ไม่มีที่สิ้นสุด นี้เป็นทิศที่ ๔

เพราะก้าวล่วงอากาสานัญจายตนได้ โดยประการ ทั้งปวง จึงบรรลุวิญญา ณัญจายตนอยู่ ด้วยการทำในใจว่า วิญญาณไม่มีที่สิ้นสุด นี้เป็นทิศที่ ๕

เพราะก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนได้ โดยประการ ทั้งปวง จึงบรรลุอากิญ จัญญายตนอยู่ ด้วยการทำในใจว่า อะไรๆ ก็ไม่มี นี้เป็นทิศที่ ๖

เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญายตนได้ โดยประการ ทั้งปวง จึงบรรลุเนวสัญญา นาสัญญายตน อยู่ นี้เป็นทิศที่ ๗

เพราะก้าวล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนได้ โดยประการ ทั้งปวง จึงบรรลุ สัญญาเวทยิตนิโรธ อยู่ นี้เป็นทิศที่ ๘

ภิกษุทั้งหลาย บุรุษที่ควรฝึก อันตถาคต อรหันตสัมมาสัมพุทธะ สอนให้วิ่ง ย่อมวิ่งไปได้ตลอดทั้ง ๘ ทิศ คำที่เรากล่าวแล้ว ว่า พระอริยะนั้น อันเราเรียกว่า เป็นสารถีผู้สามารถฝึกบุรุษ ที่ควรฝึกได้ อย่างยอดเยี่ยมกว่าอาจารย์ ผู้ฝึกทั้งหลาย ดังนี้นั้น เราอาศัยความ ข้อนี้ กล่าวแล้ว.



หน้า 135
๔๓/ เจริญสติปัฏฐาน ๔ เพื่อละ โอรัมภาคิยสังโยชน์

-บาลี นวก. อํ. ๒๓/๔๘๐/๒๗๑.

ภิกษุทั้งหลาย โอรัมภาคิยสังโยชน์ (สังโยชน์เบื้องต่ำ) ๕ ประการ เหล่านี้ ๕ ประการเป็นอย่างไร คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส กามฉันทะ พยาบาท ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้แล โอรัมภาคิย สังโยชน์ ๕ ประการ.

ภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ เพื่อละ โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการเหล่านี้ สติปัฏฐาน ๔ เป็นอย่างไร คือ

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียรเผา กิเลส (อาตาปี) มีสัมปชัญญะ (สมฺปชาโน) มีสติ (สติมา) นำ
อภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้ (วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ)
ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่
ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและ โทมนัสในโลกออกเสียได้.

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้ เพื่อละโอรัมภาคิย สังโยชน์ ๕ ประการแล.

 (ในสูตรอื่น -บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๕๔/๘๔๒. ตรัสว่าให้เจริญสติปัฏฐาน ๔ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์.
ในสูตรอื่น -บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๓๒/๗๗๘. ตรัสว่าเพราะมีการกระทำ ให้เจริญ มีการกระทำ ให้มาก ซึ่งสติปัฏฐาน ๔ในเมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว สัทธรรมย่อมตั้งอยู่นาน. -คณะผู้รวบรวม)



หน้า 137

๔๔/ เจริญสติปัฏฐาน ๔ เพื่อละ อุทธัมภาคิยสังโยชน์
-บาลี นวก. อํ. ๒๓/๔๘๑/๒๗๔.

ภิกษุทั้งหลาย อุทธัมภาคิยสังโยชน์ (สังโยชน์เบื้องสูง) ๕ ประการเหล่านี้ ๕ ประการเป็นอย่างไร คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้แล อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ.

ภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ เพื่อละ อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการเหล่านี้ สติปัฏฐาน ๔ เป็นอย่างไร คือ

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร เผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลก ออกเสียได้.

ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ …
ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ …
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่

มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌา และ โทมนัสในโลก ออกเสียได้.

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้ เพื่อละอุทธัมภา คิยสังโยชน์ ๕ ประการแล.

(ในสูตรอื่นตรัสว่า ให้เจริญสติปัฏฐาน ๔ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอุทธัมภาคิยสังโยชน์.-คณะผู้รวบรวม)


หน้า 139

๔๕/ผลของการเจริญสติปัฏฐาน ๔
-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๔๑/๘๐๕.

ภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้ สติปัฏฐาน ๔ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ย่อมพิจารณาเห็นกาย
ในกายอยู่ มีความเพียร เผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌา และโทมนัสในโลกออกเสียได้.
ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ …
ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ …
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและ โทมนัสในโลกออกเสียได้.

ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้แล สติปัฏฐาน ๔.

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้ อันเจริญ กระทำให้มากแล้ว พึงหวังผล ได้ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ
อรหัตตผลในปัจจุบัน (ทิฏฺเฐวธมฺเม อญฺญา สติ)
หรือเมื่อ ยังมีอุปาทิเหลืออยู่ก็จะ เป็นอนาคามี (อุปาทิเสเส อนาคามิตาติ).


หน้า140

๔๖/ ปฏิปทาให้ถึงการเจริญสติปัฏฐาน
-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๔๔/๘๑๕.

ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสติปัฏฐาน การเจริญสติปัฏฐาน และปฏิปทา อันให้ถึงการ เจริญสติปัฏฐาน แก่เธอ ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง.

ภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน (สติปฏฺฐานํ) เป็นอย่างไร
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ย่อมพิจารณา เห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร เผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลก ออกเสียได้
ย่อมพิจารณา เห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ …
ย่อมพิจารณา เห็นจิตในจิตอยู่
ย่อมพิจารณา เห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสใน โลกออกเสียได้.
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า สติปัฏฐาน.

ภิกษุทั้งหลาย การเจริญสติปัฏฐาน (สติปฏฺฐานภาวนา) เป็นอย่างไร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นในกาย
พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเสื่อมในกาย
พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้น และ ความเสื่อม ในกายอยู่
มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌา และ โทมนัสในโลก ออกเสียได้

พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้น … ความเสื่อม … ความเกิดขึ้น และ ความเสื่อม ในเวทนาทั้งหลาย …

พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้น … ความเสื่อม … ความเกิดขึ้น และ ความเสื่อม ในจิต

พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้น ในธรรมทั้งหลาย
พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเสื่อม ในธรรมทั้งหลาย
พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นและความเสื่อม ในธรรม ทั้งหลายอยู่ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลก ออกเสียได้.

ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า การเจริญสติปัฏฐาน.

ภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทาอันให้ถึงการเจริญสติปัฏฐาน (สติปฏฺฐาน ภาวนาคามินี ปฏิปทา)เป็นอย่างไร

ภิกษุทั้งหลาย อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ

ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ปฏิปทาอันให้ถึงการเจริญสติปัฏฐาน.


หน้า 142
๔๗/ ถ้าเจริญสติปัฏฐาน ๔ จะเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน
โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน

-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๕๔/๘๓๙.

ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญ สติปัฏฐาน ๔ เมื่อกระทำให้มาก ซึ่ง สติปัฏฐาน ๔ ก็เป็น ผู้น้อมไปสู่นิพพาน (นิพฺพานนินฺโน) โน้มไปสู่นิพพาน (นิพฺพาน- โปโณ) โอนไปสู่นิพพาน (นิพฺพานปพฺภาโร) ฉันนั้นเหมือนกัน.

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญสติปัฏฐาน ๔ เมื่อกระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน ๔ อย่างไร จึงจะเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร
เผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัส ในโลกออกเสียได้.

ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ …
ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ …
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่
มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌา
และโทมนัสในโลกออกเสียได้.

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญสติปัฏฐาน ๔ เมื่อ กระทำให้มาก ซึ่งสติปัฏฐาน ๔ อย่างเหล่านี้แล จึงจะเป็น ผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน.


หน้า144

๔๘/เจริญสัมมัปปธาน ๔ เพื่อละโอรัมภาคิยสัญโญชน์
-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๓๒๑/๑๐๙๕. 1

ภิกษุทั้งหลาย โอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ ประการ เหล่านี้ ๕ ประการเป็นอย่างไร คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส กามฉันทะ พยาบาท ภิกษุทั้งหลาย
เหล่านี้แล โอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ ประการ.

ภิกษุทั้งหลาย สัมมัปปธาน2(จตฺตาโร สมฺมปฺปธานา) อันภิกษุพึงเจริญ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละ โอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ ประการเหล่านี้ ภิกษุทั้งหลาย สัมมัปปธาน ๔ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

(1) ย่อมยังความพอใจให้เกิดขึ้น ย่อมพยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้ เพื่อบาปอกุศล- ธรรมที่ยังไม่เกิด ไม่ให้เกิดขึ้น

(2) ย่อมยังความพอใจให้เกิดขึ้น ย่อมพยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้ เพื่อบาปอกุศล- ธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ให้ละไป

1. ที่มาพระสูตรบาลีได้มีการย่อไว้โดยแสดงที่ -บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๓๒๑/๑๐๙๕-๑๐๙๘.ซึ่งจะต้องเทียบเคียงจาก -บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๙๐/349 -๓๕๔.

2. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานใช้ว่า สัมมัปธาน -คณะผู้รวบรวม

 (3) ย่อมยังความพอใจให้เกิดขึ้น ย่อมพยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้ เพื่อกุศลธรรม ที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น

(4) ย่อมยังความพอใจให้เกิดขึ้น ย่อมพยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้ เพื่อกุศลธรรม ที่เกิดขึ้นแล้ว (อุปฺปนฺนานํ กุสลานํ ธมฺมานํ) ให้ตั้งอยู่ (ฐิติยา) ไม่เลือนหาย (อสมฺโมสาย) ให้มียิ่งๆ ขึ้นไป (ภิยฺโยภาวาย) ให้ไพบูลย์ (เวปุลฺลาย) ให้เจริญ (ภาวนาย) ให้บริบูรณ์ (ปาริปูริยา).

ภิกษุทั้งหลาย สัมมัปปธาน ๔ เหล่านี้ อันภิกษุ พึงเจริญ เพื่อความรู้ยิ่ง (อภิญฺญาย) เพื่อกำหนดรู้ (ปริญฺญาย) เพื่อความสิ้นไป (ปริกฺขยาย) เพื่อละ (ปหานาย) โอรัมภาคิย- สัญโญชน์ ๕ ประการแล.

--------------------------------------------------------------------------------------------------------
บทถัดไป บทที่ ๔๙ เจริญสัมมัปปธาน ๔ หน้า146

  Top Next