เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
รวม้รื่อง สังโยชน์ พุทธวจน
หนังสือพุทธวจนออนไลน์   ดูหนังสือทั้งหมด
90 90 90 90 90
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์  
   
ค้นหาคำที่ต้องการ              

  สังโยชน์ - พุทธวจน ดาวน์โหลดหนังสือ(ไฟล์ PDF)
  
  7 of 11  
 
  สังโยชน์ พุทธวจน  ที่มา : http://watnapp.com/files  
       
    สารบัญ เลขหน้า
ตามหนังสือ
 
  บทที่    
  ๗๐ / เจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อละ ตัณหา ๓ 200  
  ๗๑ / เจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อละ อุปาทานขันธ์ ๕ 201  
  ๗๒ / เจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อละ ภพ ๓ 202  
  ๗๓ / เจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อละ การแสวงหา ๓ 203  
  ๗๔ / เจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อละ กามคุณ ๕ 204  
  ๗๕ / เจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อละ นิวรณ์ ๕ 206  
  ๗๖ / ยาถ่ายอันเป็นอริยะ 207  
  ๗๗ / ทุกข์เกิด เพราะเห็นสัญโญชนิยธรรม โดยความเป็นอัสสาทะ (นัยที่ ๑) 210  
  ๗๘ / ทุกข์ดับ เพราะเห็นสัญโญชนิยธรรม โดยความเป็นอาทีนวะ (นัยที่ ๑) 212  
  ๗๙ / ทุกข์เกิด เพราะเห็นสัญโญชนิยธรรมโดยความเป็น อัสสาทะ (นัยที่ ๒) 214  
  ๘๐ / สังโยชน์ทุกข์ดับ เพราะเห็นสัญโญชนิยธรรม โดยความเป็นอาทีนวะ (นัยที่ ๒) 216  
  ๘๑ / ผลของการเห็นอัสสาทะ และนิพพิทา ในธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งสัญโญชน์ 217  
  ๘๒ / สิ่งที่ควรพิจารณาเนืองๆเพื่อละสัญโญชน์ 219  
 
 



หน้า
200
๗๐/เจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘

เพื่อละ ตัณหา ๓

-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๘๖/๓๒๙.

ภิกษุทั้งหลาย ตัณหา ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นอย่างไร คือ กามตัณหา ภวตัณหา  วิภวตัณหา ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้แล ตัณหา ๓ อย่าง.

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญ อริยมรรคอันประกอบ ด้วยองค์ ๘ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละตัณหา ๓ อย่างนี้

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันอาศัยวิเวก อาศัย วิราคะ อาศัย นิโรธ น้อมไปเพื่อโวสสัคคะ ย่อมเจริญสัมมาสังกัปปะ … ย่อมเจริญ สัมมาวาจา … ย่อมเจริญสัมมากัมมันตะ … ย่อมเจริญสัมมาอาชีวะ … ย่อมเจริญ สัมมาวายามะ … ย่อมเจริญสัมมาสติ … ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อโวสสัคคะ.

ภิกษุทั้งหลาย อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เหล่านี้ อันภิกษุพึงเจริญ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละ ตัณหา ๓ อย่างเหล่านี้.



หน้า201

๗๑/เจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘

เพื่อละ อุปาทานขันธ์ ๕

-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๙๐/๓๔๗.

ภิกษุทั้งหลาย อุปาทานขันธ์ ๕ อย่างนี้ ๕ อย่าง เป็นอย่างไร ได้แก่ อุปาทานขันธ์ คือรูป
อุปาทานขันธ์ คือเวทนา 
อุปาทานขันธ์ คือสัญญา
อุปาทานขันธ์ คือสังขาร
อุปาทานขันธ์ คือวิญญาณ
ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้แล อุปาทานขันธ์ ๕ อย่าง.

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคอันประกอบ ด้วยองค์ ๘ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอุปาทานขันธ์ ๕ อย่างนี้

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใน ธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันอาศัยวิเวก อาศัย วิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อโวสสัคคะ ย่อมเจริญสัมมา สังกัปปะ … ย่อมเจริญ สัมมาวาจา … ย่อมเจริญสัมมากัมมันตะ … ย่อมเจริญสัมมาอาชีวะ … ย่อมเจริญ สัมมาวายามะ … ย่อมเจริญสัมมาสติ … ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อโวสสัคคะ.

ภิกษุทั้งหลาย อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เหล่านี้ อันภิกษุพึงเจริญ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละ อุปาทานขันธ์ ๕ อย่างเหล่านี้.


หน้า
202
๗๒/เจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘
เพื่อละ ภพ ๓

-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๘๔/๓๑๗.

ภิกษุทั้งหลาย ภพ ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นอย่างไร คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้แล ภพ ๓ อย่าง.

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคอันประกอบ ด้วยองค์ ๘ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละภพ ๓ อย่างนี้

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัย นิโรธ น้อมไปเพื่อโวสสัคคะ ย่อมเจริญสัมมาสังกัปปะ … ย่อมเจริญสัมมาวาจา … ย่อมเจริญสัมมากัมมันตะ … ย่อมเจริญสัมมาอาชีวะ … ย่อมเจริญสัมมาวายามะ … ย่อมเจริญสัมมาสติ … ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อโวสสัคคะ.

ภิกษุทั้งหลาย อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เหล่านี้ อันภิกษุพึงเจริญ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละ ภพ ๓ อย่างเหล่านี้.


หน้า
203
๗๓/เจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘

เพื่อละ การแสวงหา ๓

-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๘๒/๓๐๔.

ภิกษุทั้งหลาย การแสวงหา ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็น อย่างไร คือ การแสวงหา กาม การแสวงหาภพ การแสวงหาพรหมจรรย์ ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้แล การแสวงหา ๓ อย่าง.

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคอันประกอบ ด้วยองค์ ๘ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละการแสวงหา ๓ อย่างนี้

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใน ธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญ สัมมาทิฏฐิ อันอาศัยวิเวก อาศัย วิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อโวสสัคคะ ย่อมเจริญสัมมาสังกัปปะ … ย่อมเจริญ สัมมาวาจา … ย่อมเจริญสัมมากัมมันตะ … ย่อมเจริญสัมมาอาชีวะ … ย่อมเจริญ สัมมาวายามะ … ย่อมเจริญสัมมาสติ … ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อโวสสัคคะ.

ภิกษุทั้งหลาย อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เหล่านี้ อันภิกษุพึงเจริญ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละ การแสวงหา ๓ อย่างเหล่านี้.


หน้า 204

๗๔/เจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘

เพื่อละ กามคุณ ๕

-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๘๙/๓๔๓.

ภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ อย่างนี้ ๕ อย่างเป็น อย่างไร คือ
รูปทั้งหลาย
ที่จะรับรู้ได้ด้วยตา อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะ น่ารัก เป็นที่เข้าไปตั้ง อาศัยอยู่ แห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
เสียงทั้งหลาย
ที่จะรับรู้ได้ด้วยหู
กลิ่นทั้งหลาย ที่จะรับรู้ได้ด้วยจมูก
รสทั้งหลาย
ที่จะรับรู้ได้ด้วยลิ้น
โผฏฐัพพะทั้งหลาย ที่จะรับรู้ได้ด้วยกาย อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยอยู่แห่ง ความใคร่ เป็น ที่ตั้งแห่งความ กำหนัด ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้แล กามคุณ ๕ อย่าง.

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคอันประกอบ ด้วยองค์ ๘ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละกามคุณ ๕ อย่างนี้

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัย นิโรธ น้อมไปเพื่อโวสสัคคะ ย่อมเจริญสัมมาสังกัปปะ … ย่อมเจริญสัมมาวาจา … ย่อมเจริญสัมมากัมมันตะ … ย่อมเจริญสัมมาอาชีวะ … ย่อมเจริญสัมมาวายามะ … ย่อมเจริญสัมมาสติ … ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อโวสสัคคะ.

ภิกษุทั้งหลาย อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เหล่านี้ อันภิกษุพึงเจริญ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละ กามคุณ ๕ อย่างเหล่านี้.


หน้า
206
๗๕/เจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘

เพื่อละ นิวรณ์ ๕

-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๙๐/๓๔๕.

ภิกษุทั้งหลาย นิวรณ์ ๕ อย่างนี้ ๕ อย่างเป็นอย่างไร คือ กามฉันทนิวรณ์ พยาบาทนิวรณ์ ถีนมิทธนิวรณ์ อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ วิจิกิจฉานิวรณ์

ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้แล นิวรณ์ ๕ อย่าง.

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคอันประกอบ ด้วยองค์ ๘ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละนิวรณ์ ๕ อย่างนี้

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัย นิโรธ น้อมไปเพื่อโวสสัคคะ ย่อมเจริญสัมมาสังกัปปะ … ย่อมเจริญสัมมาวาจา … ย่อมเจริญสัมมากัมมันตะ … ย่อมเจริญสัมมาอาชีวะ … ย่อมเจริญสัมมาวายามะ … ย่อมเจริญสัมมาสติ … ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อโวสสัคคะ.


ภิกษุทั้งหลาย อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เหล่านี้ อันภิกษุพึงเจริญ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละ นิวรณ์ ๕ อย่างเหล่านี้.


หน้า207
๗๖/ยาถ่ายอันเป็นอริยะ

-บาลี ทสก. อํ. ๒๔/๒๓๓/๑๐๘.

ภิกษุทั้งหลาย แพทย์ทั้งหลาย ย่อมให้ยาถ่ายเพื่อ กำจัดโรค ที่มีน้ำดีเป็นเหตุ บ้าง ที่มีเสมหะเป็นเหตุบ้าง ที่มีลมเป็นเหตุบ้าง ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า ยาถ่ายชนิดนั้นมีอยู่ มิใช่ไม่มี แต่ว่ายาถ่ายชนิดนั้น บางทีก็ได้ผล บางที ก็ไม่ได้ผล.

ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดง ยาถ่ายอันเป็นอริยะ (อริย วิเรจนํ) อันเป็นยาถ่าย ที่ได้ผลโดยส่วนเดียว ไม่มีที่จะไม่ได้ผล
เป็นยาถ่ายซึ่งอาศัยแล้ว สัตว์ที่มีความเกิดเป็น ธรรมดา (ชาติธมฺมา สตฺตา)
จะพ้นจากความเกิด สัตว์ที่มี ความแก่ เป็นธรรมดา (ชราธมฺมา สตฺตา)
จะพ้นจากความแก่สัตว์ที่มี ความตาย เป็นธรรมดา (มรณธมฺมา สตฺตา)
จะพ้นจากความตาย สัตว์ที่มีโสกะปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาสะ ทั้งหลายเป็น ธรรมดา (โสกปริเทวทุกฺขโทมนสฺสุปายาสธมฺมา สตฺตา)
จะพ้นจาก โสกะปริเทวะ ทุกขะโทมนัสอุปายาสะทั้งหลาย พวกเธอจงฟัง จงทำในใจให้ดี เราจักกล่าว.

ภิกษุทั้งหลาย ยาถ่ายอันเป็นอริยะ ที่ได้ผลโดย ส่วนเดียว ไม่มีที่จะไม่ได้ผล เป็นยาถ่ายซึ่งอาศัยแล้ว สัตว์ที่มี ความเกิดเป็นธรรมดา จะพ้นจากความเกิด สัตว์ที่มีความแก่เป็นธรรมดา จะพ้นจากความแก่ สัตว์ที่มีความตายเป็นธรรมดา จะพ้นจากความตาย สัตว์ที่มีโสกะปริเทวะ ทุกขะ โทมนัสอุปายาสะ ทั้งหลาย เป็นธรรมดา จะพ้นจากโสกะปริเทวะ ทุกขะโทมนัสอุปายาสะ ทั้งหลายได้นั้น เป็นอย่างไร.

ภิกษุทั้งหลาย ผู้มีสัมมาทิฏฐิ ย่อมระบายมิจฉา ทิฏฐิออกได้(1) กล่าวคือ
บาป อกุศลธรรม เป็นอเนก เกิดขึ้น เพราะมิจฉาทิฏฐิเหล่าใดเป็นปัจจัย
บาป อกุศลธรรม เหล่านั้นเป็นสิ่งที่เขาระบายออกได้แล้ว และ
กุศลธรรม เป็นอเนก ที่มีสัมมาทิฏฐิเป็นปัจจัย ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์. ภิกษุทั้งหลาย ผู้มีสัมมาสังกัปปะ ย่อมระบาย มิจฉาสังกัปปะออกได้(2)
ภิกษุทั้งหลาย ผู้มีสัมมาวาจา ย่อมระบายมิจฉา- วาจาออกได้(3)
ภิกษุทั้งหลาย ผู้มีสัมมากัมมันตะ ย่อมระบาย มิจฉากัมมันตะออกได้(4)
ภิกษุทั้งหลาย ผู้มีสัมมาอาชีวะ ย่อมระบาย มิจฉาอาชีวะออกได้ (5)
ภิกษุทั้งหลาย ผู้มีสัมมาวายามะ ย่อมระบาย มิจฉาวายามะออกได้ (6)
ภิกษุทั้งหลาย ผู้มีสัมมาสติ ย่อมระบายมิจฉาสติ ออกได้ (7)
ภิกษุทั้งหลาย ผู้มีสัมมาสมาธิ ย่อมระบายมิจฉา สมาธิออกได้ (8)
ภิกษุทั้งหลาย ผู้มีสัมมาญาณะ ย่อมระบายมิจฉา ญาณะออกได้ (9)

ภิกษุทั้งหลาย ผู้มีสัมมาวิมุตติ ย่อมระบายมิจฉาวิมุตติออกได้(10)
กล่าวคือบาปอกุศลธรรม เป็นอเนกเกิดขึ้น เพราะมิจฉาวิมุตติเหล่าใดเป็นปัจจัย
บาปอกุศลธรรม เหล่านั้น เป็นสิ่งที่เขาระบายออกได้แล้ว และ กุศลธรรม เป็นอเนกที่มี สัมมาวิมุตติเป็นปัจจัย ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์.

ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้แล ยาถ่ายอันเป็นอริยะ อันเป็น ยาถ่ายที่ได้ผลโดย ส่วนเดียว ไม่มีที่จะไม่ได้ผล เป็นยาถ่าย ซึ่งอาศัยแล้ว สัตว์ที่มีความเกิดเป็น ธรรมดา จะพ้นจาก ความเกิด สัตว์ที่มีความแก่เป็นธรรมดา จะพ้นจากความแก่ สัตว์ที่มีความตายเป็นธรรมดา จะพ้นจากความตาย สัตว์ที่มี โสกะปริเทวะ ทุกขะโทมนัสอุปายาสะทั้งหลายเป็นธรรมดา จะพ้นจากโสกะปริเทวะ ทุกขะโทมนัส อุปายาสะทั้งหลาย.

หน้า210
๗๗/ ทุกข์เกิด เพราะเห็นสัญโญชนิยธรรม

โดยความเป็นอัสสาทะ
(นัยที่ ๑)
-บาลี นิทาน. สํ. ๑๖/๑๐๓/๒๐๐.

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเห็นอัสสาทะเนืองๆ ใน ธรรมทั้งหลาย อันเป็นที่ตั้งแห่ง สัญโญชน์1 อยู่ ตัณหาย่อม เจริญ
เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
เพราะมี อุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขะโทมนัส อุปายาสะ ทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน ความเกิดขึ้นพร้อม แห่งกองทุกข์ ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.
1 ธรรมอันเป็น ที่ตั้งสัญโญชน์ หรือ สัญโญชนยิธรรมนั้นได้แก่ รูป , เวทนา, สัญญา,สังขาร, วิญญาณ (-บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๐๒/๓๐๘.) ; ตา, หู, จมูก, ลิ้น, กาย, ใจ
(-บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๑๑ ๐/๑๕๙.) ; รูป, เสียง, กลิ่น, รส, โผฏฐัพพะ, ธรรม
(-บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๑๓๕/๑๘๙.) -คณะผู้รวบรวม

ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนประทีปน้ำมันพึงลุก อยู่ได้เพราะอาศัยน้ำมันและไส้ บุรุษพึงเติมน้ำมันและ เปลี่ยนไส้ใหม่อยู่ตลอดเวลา ที่ควรเติมควรเปลี่ยน ทุกระยะๆ เมื่อเป็นอย่างนี้ ประทีปน้ำมันนั้น ซึ่งมีอาหารอย่างนั้น มีเชื้อ อย่างนั้น ก็พึงลุกโพลงตลอดกาลนาน แม้ฉันใด

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเห็นอัสสาทะ เนืองๆ ในธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่ง สัญโญชน์อยู่ ตัณหาย่อมเจริญ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะมีตัณหา เป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะมีอุปาทานเป็น ปัจจัย จึงมีภพ เพราะมีภพ เป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะมีชาติ เป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาสะ ทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน ความเกิดขึ้นพร้อม แห่งกองทุกข์ ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.

(ในสูตรอื่น มีข้อความเหมือนสูตรข้างบนนี้ ผิดกันแต่ว่าทรง เริ่มต้นสูตรด้วยคำ อุปมาก่อน แล้ว จึงกล่าวถึงข้อธรรมซึ่งเป็นตัวอุปไมย -บาลี นิทาน. สํ. ๑๖/๑๐๔/๒๐๔.)
(ในสูตรอื่น แสดงข้อธรรมอย่างเดียวกันกับสูตรข้างบนนี้ ต่างกันแต่อุปมา โดยทรงอุปมาด้วย ต้นไม้ ยังอ่อนอยู่ มีผู้คอยพรวนดิน รดน้ำ ใส่ปุ๋ย จึงเจริญเติบโต -บาลี นิทาน. สํ. ๑๖/๑๐๗/๒๑๒.)



หน้า212
๗๘/ทุกข์ดับ เพราะเห็นสัญโญชนิยธรรม

โดยความเป็นอาทีนวะ
(นัยที่ ๑)
-บาลี นิทาน. สํ. ๑๖/๑๐๔/๒๐๒.

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเห็นอาทีนวะเนืองๆ ใน ธรรมทั้งหลาย อันเป็นที่ตั้งแห่ง สัญโญชน์อยู่ ตัณหาย่อมดับ เพราะมีความดับแห่งตัณหา จึงมีความดับแห่ง อุปาทาน เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ เพราะมี ความดับ แห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ เพราะมีความดับแห่ง ชาตินั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขะโทมนัสอุปายาสะ ทั้งหลายจึงดับสิ้น ความดับลงแห่ง กองทุกข์ ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.

ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนประทีปน้ำมันพึงลุก อยู่ได้เพราะอาศัยน้ำมันและไส้ บุรุษไม่พึงเติมน้ำมันและ ไม่เปลี่ยนไส้ใหม่ตลอดเวลา ที่ควรเติมควรเปลี่ยน ทุกระยะๆ เมื่อเป็นอย่างนี้ เพราะหมดอาหาร เพราะสิ้น เชื้อเก่าก็เป็น ประทีป น้ำมันที่หมดเชื้อแล้วดับไป แม้ฉันใด

ภิกษทั้งหลาย เมื่อภิกษุเห็นอาทีนวะเนืองๆ ในธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้ง แห่ง สัญโญชน์อยู่ ตัณหาย่อมดับ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะมี ความดับแห่งตัณหา จึงมีความดับแห่งอุปาทาน เพราะมี ความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ เพราะมีความดับ แห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ เพราะมีความดับแห่งชาติ
นั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขะโทมนัสอุปายาสะ ทั้งหลายจึงดับสิ้น ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.

(ในสูตรอื่น มีข้อความเหมือนสูตรข้างบนนี้ ผิดกันแต่ว่าทรงเริ่มต้นสูตรด้วยคำ อุปมาก่อน แล้วจึงกล่าวถึงข้อธรรมซึ่งเป็นตัวอุปไมย -บาลี นิทาน. สํ. ๑๖/๑๐๔/๒๐๕.)
(ในสูตรอื่น แสดงข้อธรรมอย่างเดียวกันกับสูตรข้างบนนี้ต่างกัน แต่อุปมา โดยทรงอุปมาด้วย ต้นไม้ยังอ่อนอยู่ มีผู้ตัดที่โคน ขุดเอารากออก ตัดเป็นท่อนน้อย ท่อนใหญ่ ผ่าให้เป็นชิ้นๆ ตากลม ตากแดดเอาไฟเผา จนเป็นเขม่า แล้วนำ ไปโปรยลงในลม หรือลอยในแม่น้ำ -บาลี นิทาน. สํ. ๑๖/๑๐๗/๒๑๔.)



หน้า214
๗๙/ ทุกข์เกิด เพราะเห็นสัญโญชนิยธรรม
โดยความเป็น อัสสาทะ
(นัยที่ ๒)
-บาลี นิทาน. สํ. ๑๖/๑๐๘/๒๑๖.

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเห็นอัสสาทะเนืองๆ ใน ธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้ง แห่งสัญโญชน์อยู่ การก้าวลงแห่ง นามรูป ย่อมมี (นามรูปสฺส อวกฺกนฺติ โหติ) เพราะมีนามรูป เป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ
เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
เพราะ มีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
เพราะมีตัณหาเป็น ปัจจัย จึงมีอุปาทาน
เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขะโทมนัสอุปายาสะทั้งหลาย
จึงเกิดขึ้นครบถ้วน ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการ อย่างนี้.

ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนต้นไม้ใหญ่มีรากหยั่งลง และแผ่ไปข้างๆ รากทั้งหมดนั้น ย่อมดูดโอชารสไปเบื้องบน เมื่อเป็นอย่างนี้ ต้นไม้ใหญ่นั้น ซึ่งมีอาหารอย่างนั้น มีเชื้ออย่างนั้น พึงเป็นอยู่ตลอดกาลนาน แม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเห็นอัสสาทะเนืองๆ ในธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่ง

สัญโญชน์อยู่ การก้าวลงแห่งนามรูป ย่อมมี ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ
เพราะมีสฬายตนะ เป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
เพราะมีตัณหาเป็น ปัจจัย จึงมีอุปาทาน
เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขะโทมนัสอุปายาสะทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน ความเกิดขึ้นพร้อมแห่ง กองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.

(ในสูตรอื่น มีข้อความคล้ายสูตรข้างบนนี้ ผิดกันแต่ที่ทรงตรัสว่าการก้าวลงแห่งวิญญาณ แทนจะเป็นการก้าวลงแห่งนามรูป แล้วไล่เรียงข้อธรรมไปตามแนวของปฏิจจสมุปบาท -บาลี นิทาน. สํ. ๑๖/๑๐๙/๒๒๐.)


หน้า216
๘๐/สังโยชน์ทุกข์ดับ เพราะเห็นสัญโญชนิยธรรม

โดยความเป็นอาทีนวะ
(นัยที่ ๒)
-บาลี นิทาน. สํ. ๑๖/๑๐๙/๒๑๘.

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเห็นอาทีนวะเนืองๆ ใน ธรรมทั้งหลาย อันเป็นที่ตั้งแห่ง สัญโญชน์อยู่ นามรูปก็ไม่ก้าวลง
เพราะมีความดับแห่งนามรูป จึงมีความดับแห่ง สฬายตนะ
เพราะมีความดับแห่งสฬายตนะ จึงมีความดับ แห่งผัสสะ
เพราะมีความดับแห่งผัสสะ จึงมีความดับแห่ง เวทนา
เพราะมีความดับแห่งเวทนา จึงมีความดับแห่งตัณหา
เพราะมีความดับแห่งตัณหา จึงมีความดับแห่งอุปาทาน
เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ
เพราะมี ความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ
เพราะมีความดับแห่งชาติ นั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาสะ ทั้งหลายจึงดับสิ้น ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วย อาการอย่างนี้.

ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนต้นไม้ใหญ่ยืนต้น อยู่อย่างนั้น ทีนั้นบุรุษเอา จอบ และภาชนะมา ตัดต้นไม้นั้น ที่โคนต้นแล้ว ขุดลงไป

ครั้นขุดลงไปแล้ว คุ้ยเอา รากใหญ่เล็ก แม้เท่าก้านแฝกขึ้น บุรุษนั้นพึงทอน ต้นไม้นั้น เป็นท่อนเล็ก ท่อนใหญ่ แล้วพึงผ่า

ครั้นผ่าแล้วจักให้เป็นชิ้นๆ ครั้นจัก ให้เป็นชิ้นๆ แล้ว พึงผึ่งลม ตากแดด ครั้น ผึ่งลมตากแดดแล้ว พึงเอาไฟเผา ครั้นเอาไฟเผาแล้ว พึงทำให้เป็นเขม่า

ครั้นทำให้เป็นเขม่าแล้ว พึงโปรยที่ลมแรงหรือลอยในแม่น้ำ มีกระแสอันเชี่ยว ก็เมื่อเป็นอย่างนี้ ต้นไม้ใหญ่นั้น ถูกตัด เอารากขึ้นแล้ว ถูกทำให้เป็นดังตาล ยอดด้วน ถึงความไม่มี ไม่เกิดอีกต่อไป แม้ฉันใด.

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเห็นอาทีนวะเนืองๆ ในธรรม ทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่ง สัญโญชน์อยู่ นามรูปก็ไม่ก้าวลง ฉันนั้นเหมือนกัน
เพราะมีความดับแห่งนามรูป จึงมีความดับ แห่งสฬายตนะ
เพราะมีความดับแห่งสฬายตนะ จึงมีความดับ แห่งผัสสะ
เพราะมีความดับแห่งผัสสะ จึงมีความดับแห่ง เวทนา
เพราะมีความดับแห่งเวทนา จึงมีความดับแห่งตัณหา
เพราะมีความดับแห่งตัณหา จึงมีความดับแห่งอุปาทาน
เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ
เพราะมี ความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ เพราะมีความดับแห่ง ชาติ นั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขะโทมนัสอุปายาสะทั้งหลายจึงดับสิ้น ความดับลง แห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.

(ในสูตรอื่น มีข้อความคล้ายสูตรข้างบนนี้ ผิดกันแต่ที่ทรงตรัสว่าวิญญาณก็ไม่ก้าวลง แทนจะเป็น นามรูปก็ไม่ก้าวลง แล้วไล่เรียงข้อธรรมไปตามแนวของปฏิจจสมุปบาท -บาลี นิทาน. สํ. ๑๖/๑๑๐/๒๒๒.)


หน้า217
๘๑/ผลของการเห็นอัสสาทะ และนิพพิทา

ในธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งสัญโญชน์

-บาลี ทุก. อํ. ๒๐/๖๕/๒๕๒.

ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นอย่างไร คือ การเห็นรสอร่อยเนืองๆ (อสฺสาทานุปสฺสิตา) ในธรรมทั้งหลาย อันเป็นที่ตั้งแห่งสัญโญชน์ การเห็นความ เบื่อหน่ายเนืองๆ (นิพฺพิทานุปสฺสิตา)ในธรรมทั้งหลาย อันเป็นที่ตั้งแห่งสัญโญชน์.


ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เห็นรสอร่อยเนืองๆ ในธรรม ทั้งหลายอัน เป็นที่ตั้งแห่ง สัญโญชน์อยู่ ย่อมละราคะไม่ได้ ย่อมละโทสะไม่ได้ ย่อมละโมหะไม่ได้

เรากล่าวว่า บุคคล ยังละราคะไม่ได้ ยังละโทสะไม่ได้ ยังละโมหะไม่ได้แล้ว
ย่อมไม่พ้นจากชาติ ชรามรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขะโทมนัส อุปายาสะ ย่อมไม่พ้น ไปจากทุกข์.

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เห็น ความเบื่อหน่ายเนืองๆ ในธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้ง แห่ง สัญโญชน์อยู่ ย่อมละ ราคะได้ ย่อมละโทสะได้ ย่อมละโมหะได้

เรากล่าวว่า บุคคลผู้ละราคะ ละโทสะ ละโมหะได้แล้ว ย่อมพ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขะโทมนัสอุปายาสะ ย่อมพ้นไปจากทุกข์ได้.

ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้แล ธรรม ๒ อย่าง.

หน้า219
๘๒/สิ่งที่ควรพิจารณาเนืองๆเพื่อละสัญโญชน์

-บาลี ปญฺจก. อํ. ๒๒/๘๑/๕๗.

ภิกษุทั้งหลาย ฐานะ ๕ ประการนี้ อันสตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิต ควรพิจารณาเนืองๆ ๕ ประการ เป็นอย่างไร คือ สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิต
ควรพิจารณาเนืองๆ ว่า
(1) เรามีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้
(2) เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้
(3) เรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้
(4) เราจะต้องพลัดพรากจากของรัก ของชอบใจทั้งสิ้น
(5) เรามีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็น เผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่ง ทำกรรมใดไว้ ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม เราจะเป็นผู้รับผลของ กรรมนั้น

ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือ บรรพชิต จึงควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรามีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ ไปได้

ภิกษุทั้งหลาย ความมัวเมาในความเป็นหนุ่มสาวมีอยู่แก่ สัตว์ทั้งหลาย ซึ่งเป็นเหตุ ให้สัตว์ทั้งหลายประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต เมื่อเขา พิจารณาฐานะนั้นอยู่เนืองๆ ย่อมละความมัวเมาในความเป็น หนุ่มสาวนั้นได้ โดยสิ้นเชิง หรือว่าทำให้เบาบางลงได้

ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจ ประโยชน์นี้แล สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือ บรรพชิต จึงควร พิจารณาเนืองๆ ว่า เรามีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้น ความแก่ไปได้.

ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือ
บรรพชิต จึงควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้น ความเจ็บไข้ไปได้

ภิกษุทั้งหลาย วามมัวเมาในความไม่มีโรคมีอยู่แก่สัตว์ ทั้งหลาย ซึ่งเป็นเหตุ ให้สัตว์ทั้งหลาย ประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต เมื่อเขาพิจารณาฐานะ นั้น อยู่เนืองๆ ย่อมละความมัวเมา ในความไม่มีโรคนั้น ได้โดยสิ้นเชิง หรือ ว่าทำให้เบาบางลงได้

ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจ ประโยชน์นี้แล สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือ บรรพชิต จึงควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้น ความเจ็บไข้ไปได้.

ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือ บรรพชิต จึงควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้น ความตายไปได้

ภิกษุทั้งหลาย ความมัวเมาในชีวิตมีอยู่แก่สัตว์ทั้งหลาย ซึ่งเป็น เหตุให้สัตว์ ทั้งหลาย ประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต เมื่อเขาพิจารณา ฐานะนั้น อยู่เนืองๆ ย่อมละความมัวเมาในชีวิต นั้นได้โดยสิ้นเชิง หรือว่าทำให้ เบาบาง ลงได้

ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์นี้แล สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือ บรรพชิต จึงควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้น ความตาย ไปได้.

ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือ บรรพชิต จึงควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เราจะต้องพลัดพรากจากของรัก ของชอบใจ ทั้งสิ้น

ภิกษุทั้งหลาย ความพอใจ ความรักใคร่ในของรักมีอยู่แก่สัตว์ทั้งหลาย ซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์ทั้งหลาย ประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต เมื่อเขา พิจารณาฐานะนั้นอยู่เนืองๆ ย่อมละความพอใจ ความรักใคร่นั้นได้โดยสิ้นเชิง หรือว่าทำให้ เบาบางลงได้

ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์นี้แล สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือ บรรพชิต จึงควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เราจะต้อง พลัดพรากจากของรักของชอบใจ ทั้งสิ้น.

ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือ บรรพชิต จึงควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรามีกรรมเป็นของตน เป็นทายาท แห่งกรรม มีกรรมเป็น กำเนิด มีกรรมเป็น เผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็น ที่พึ่งทำ กรรมใดไว้ ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม เราจักเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น

ภิกษุทั้งหลาย กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต มีอยู่แก่สัตว์ ทั้งหลาย เมื่อเขา พิจารณาฐานะนั้นอยู่เนืองๆ ย่อมละทุจริต เหล่านั้นได้โดยสิ้นเชิง หรือว่าทำให้ เบาบางลงได้

ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์นี้แล สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือ บรรพชิต จึงควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรามี กรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่ง ทำกรรมใดไว้ ดีก็ตาม
ชั่วก็ตาม เราจักเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ไม่ใช่เราแต่ผู้เดียวเท่านั้น ที่มีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้น ความแก่ไปได้ โดยที่แท้ สัตว์ทั้งปวง ที่มี การมา การไป การจุติ การอุบัติ ล้วนมีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้น ความแก่ ไปได้

เมื่ออริยสาวกนั้นพิจารณาฐานะนั้นอยู่เนืองๆ มรรคย่อมเกิดขึ้น อริยสาวกนั้น ย่อมเสพ อบรม ทำให้มาก ซึ่งมรรคนั้น เมื่อเสพ อบรม ทำให้มาก ซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสัญโญชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป.

อริยสาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ไม่ใช่เรา แต่ผู้เดียวเท่านั้นที่มีความเจ็บไข้ เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้น ความเจ็บไข้ไปได้ โดยที่แท้ สัตว์ทั้งปวงที่มีการมา การไป การจุติ การอุบัติ ล้วนมีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้น ความเจ็บไข้ ไปได้

เมื่ออริยสาวกนั้นพิจารณาฐานะนั้นอยู่ เนืองๆ มรรคย่อมเกิดขึ้น อริยสาวก นั้น ย่อมเสพ อบรม ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเสพ อบรม ทำให้มากซึ่งมรรค นั้นอยู่ ย่อมละสัญโญชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป.

อริยสาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ไม่ใช่เรา แต่ผู้เดียวเท่านั้นที่มีความตาย เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้น ความตายไปได้ โดยที่แท้ สัตว์ทั้งปวงที่มีการมา การไป การจุติ การอุบัติ ล้วนมีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้น ความตายไปได้

เมื่ออริยสาวกนั้น พิจารณาฐานะนั้นอยู่ เนืองๆ มรรคย่อมเกิดขึ้น อริยสาวกนั้น ย่อมเสพ อบรม ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเสพ อบรม ทำให้มากซึ่งมรรค นั้นอยู่ ย่อมละสัญโญชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป.

อริยสาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ไม่ใช่เรา แต่ผู้เดียวเท่านั้น ที่จะต้อง พลัดพราก จากของรักของชอบใจ ทั้งสิ้น โดยที่แท้ สัตว์ทั้งปวงที่มีการมา การไป การจุติ การอุบัติ ล้วนจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น

เมื่ออริยสาวกนั้นพิจารณาฐานะนั้นอยู่เนืองๆ มรรคย่อม เกิดขึ้น อริยสาวกนั้น ย่อมเสพ อบรม ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเสพ อบรม ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสัญโญชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป.

อริยสาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ไม่ใช่เรา แต่ผู้เดียวเท่านั้นที่มีกรรม เป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่ง ทำกรรมใดไว้ ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม เราจักเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น

โดยที่แท้สัตว์ทั้งปวงที่มีการมา การไป การจุติ การอุบัติ ล้วนมีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็น กำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่ง ทำกรรมใดไว้ ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม จักเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น

เมื่ออริยสาวกนั้น พิจารณาฐานะนั้นอยู่เนือง ๆ มรรคย่อมเกิดขึ้น อริยสาวกนั้น ย่อมเสพ อบรม ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเสพ อบรม ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละ สัญโญชน์ได้ อนุสัย ย่อมสิ้นไป.

สัตว์ทั้งหลาย ย่อมมีความแก่เป็นธรรมดา มีความ เจ็บไข้เป็นธรรมดา มีความตาย เป็นธรรมดา สัตว์ทั้งหลาย ย่อมเป็นไปตามธรรมดา พวกปุถุชนย่อมเกลียด ถ้าเราพึง เกลียดธรรมนั้น ในพวกสัตว์ผู้มีอย่างนั้น เป็นธรรมดา ข้อนั้น ไม่สมควรแก่เรา

ผู้เป็นอยู่อย่างนี้ เรานั้นเป็นอยู่อย่างนี้ ทราบธรรมที่หาอุปธิมิได้ เห็นการออกบวช โดยเป็นธรรมเกษม ครอบงำความมัวเมาทั้งปวง ในความ ไม่มีโรค ในความเป็น หนุ่มสาว และในชีวิต ความอุตสาหะได้มีแล้วแก่เราผู้เห็น เฉพาะซึ่งนิพพาน

บัดนี้เราไม่ควรเพื่อเสพกามทั้งหลาย จักเป็นผู้ประพฤติ ไม่ถอยหลัง ตั้งหน้า ประพฤติพรหมจรรย์.

--------------------------------------------------------------------------------------------------------
บทถัดไป บทที่ ๘๓ / ปฏิปทาเพื่อละ โอรัมภาคิยสัญโญชน์ หน้า 226

  Top Next