เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
  
หนังสือพุทธวจนออนไลน์   ดูหนังสือทั้งหมด
90 90 90 90 90
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์  
   
ค้นหาคำที่ต้องการ           

  ตถาคต-พุทธวจน   ดาวน์โหลดหนังสือ(ไฟล์ PDF)
  
    1 of 6  
 
  จากหนังสือ ตถาคต(พุทธวจน)  ที่มา : http://watnapp.com/book  
       
    สารบัญ หน้า  
  เรื่องที่ควรทราบก่อน 1  
  1. เรื่องย่อ ที่ควรทราบก่อน 2  
  2. การปรากฏของพระตถาคต มีได้ยากในโลก 8  
  3. การปรากฏของพระตถาคต มีได้ยากในโลก (นัยที่ ๒) 10  
  4. โลกธาตุหนึ่ง มีพระพุทธเจ้าเพียงองค์เดียว 12  
  5. การบังเกิดขึ้นของตถาคต คือความปรากฏขึ้นแห่งแสงสว่าง 13  
  6. ธรรมชาติ ๓ อย่าง ทำให้ พระองค์เกิดขึ้นเป็นประทีปของโลก 15  
  7. การมีธรรมของพระตถาคตอยู่ในโลก คือความสุขของโลก 16  
  8. พระตถาคตเกิดขึ้น เพื่อความสุขของโลก 18  
  9. ผู้เชื่อฟังพระตถาคต จะได้รับประโยชน์สุขสิ้นกาลนาน 19  
  10 . การบังเกิดขึ้นของตถาคต ไม่ได้กระทบต่อกฎของธรรมชาติ 20  
  11 . ทรงขนานนามพระองค์เองว่า “พุทธะ” 24  
  12 . เหตุที่ทำให้ได้พระนามว่า “อรหันตสัมมาสัมพุทธะ” 26  
  13 . เหตุที่ทำให้ได้พระนามว่า “อรหันตสัมมาสัมพุทธะ” (นัยที่ ๒) 27  
  14 . ทรงขนานนามพระองค์เองว่า “ตถาคต” 29  
  15 . เหตุที่ทำให้ทรงพระนามว่า “ตถาคต” 30  
  16 . ทรงพระนามว่า “ตถาคต” เพราะทรงเป็นกาลวาที ภูตวาที 32  
  17 . เหตุที่ทำให้ได้พระนามว่า “อนุตตรปุริสทัมมสารถิ” 34  
  18 . ไวพจน์แห่งคำว่า “ตถาคต” 37  
  เรื่องตั้งแต่ก่อนประสูติจนถึงก่อนบรรพชา 41  
  19 . การเกิดแห่งวงศ์สากยะ 42  
  20 . การอยู่ในหมู่เทพชั้นดุสิต 43  
  21 . การจุติจากดุสิตลงสู่ครรภ์ 45  
  22 . เกิดแสงสว่าง เนื่องด้วยการจุติจากดุสิต 46  
  23 . แผ่นดินไหว เนื่องด้วยการจุติ
48  
  24 . การลงสู่ครรภ์ 49  
  25 . การอยู่ในครรภ์ 50  
  26 . การประสูติ 52  
  27.  เกิดแสงสว่าง เนื่องด้วยการประสูติ 54
  28 . แผ่นดินไหว เนื่องด้วยการประสูติ 55  
  29 . ประกอบด้วยมหาปุริสลักขณะ ๓๒ 56  
  30 . ประสูติได้ ๗ วัน พระชนนีทิวงคต 59  
  31 . ทรงได้รับการบำเรอ 60  
       
 
 





ตถาคต Page 1/6



คำนำ


สัตว์โลกนี้หนอ ถึงทั่วแล้วซึ่งความทุกข์ ย่อมปรากฏการเกิด การแก่ การตาย การจุติ และการบังเกิดอีก ก็เมื่อสัตว์โลกไม่รู้จักอุบายเครื่องออกไปพ้นจากทุกข์ คือ ชาติ ชรา และมรณะแล้วการออกจากทุกข์นี้ จักปรากฏขึ้นได้อย่างไร.

ถ้าธรรมชาติ ๓ อย่างเหล่านี้ คือ ชาติ ชรา และมรณะไม่พึงมีอยู่ในโลกแล้วไซร้ ตถาคตก็ไม่ต้อง เกิดขึ้นในโลกเป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธะ.

ตลอดกาลเพียงใด ที่ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะยังไม่บังเกิดขึ้นในโลก ความปรากฏแห่ง แสงสว่างอันใหญ่หลวงความส่องสว่างอันใหญ่หลวง ก็ยังไม่มี ตลอดกาลเพียงนั้น.

แต่ว่า ในกาลใดแล ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะบังเกิดขึ้นในโลก ในกาลนั้น ความปรากฏแห่ง แสงสว่างอันใหญ่หลวง ความส่องสว่างอันใหญ่หลวงย่อมมี ลำดับนั้นยอ่ มมกี ารบอก การแสดง การบัญญัติ การแต่งตั้ง การเปิดเผย การจำแนกแจกแจง การกระทำให้เข้าใจได้ง่าย ซึ่งอริยสัจทั้งสี่คือ ทุกขอริยสัจ ทุกขสมุทยอริยสัจ ทุกขนิโรธอริยสัจ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ตถาคตเป็นผู้ฉลาดในเรื่องโลกนี้ ฉลาดในเรื่องโลกอื่น เป็นผู้ฉลาดต่อวัฏฏะ อันเป็นที่อยู่ของมาร ฉลาดต่อวิวัฏฏะอันไม่เป็นที่อยู่ของมาร เป็นผู้ฉลาดต่อวัฏฏะ อันเป็นที่อยู่ของมฤตยู ฉลาดต่อวิวัฏฏะ อันไม่เป็นที่อยู่ของมฤตยู ทั้งโลกนี้แลโลกอื่น ตถาคตผู้รู้ชัดเข้าใจชัด ได้ประกาศไว้ชัดแจ้งแล้ว เพราะความรู้โลกทั้งปวง.

สารีบุตร ! ถ้าผู้ใดจะพึงกล่าวให้ถูกให้ชอบว่า “สัตว์มีความไม่หลงเป็นธรรมดา บังเกิดขึ้นในโลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุขแก่มหาชน เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์เพื่อความเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย” ดังนี้แล้ว ผู้นั้นพึงกล่าวซึ่งเราผู้เดียวเท่านั้น.

พราหมณ์ ! เปรียบเหมือนดอกบัวเขียว บัวหลวง หรือบัวขาว, มันเกิดในน้ำ เจริญในน้ำ โผล่ขึ้นพ้นน้ำตั้งอยู่ น้ำไม่เปียกติดมันได้ ฉันใด ก็ฉันนั้นนะพราหมณ์ ! เรานี้เกิดในโลกเจริญในโลก ก็จริง แต่เราครอบงำโลกเสียได้แล้ว และอยู่ในโลก โลกไม่ฉาบทาแปดเปื้อนเราได้ พราหมณ์ ! ท่านจงจำเราไว้ว่า เป็น “พุทธะ” ดังนี้เถิด.

พุทธวจน ฉบับ ตถาคต จึงเป็นการรวบรวมพุทธวจน อันเป็นประวัติของบุคคลเอก ที่ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ ได้ทรงตรัสเกี่ยวกับพระองค์เองไว้ ในแง่มุมต่างๆ เพื่อให้สาวกของตถาคต ทั้งหลาย ได้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง อันจะนำไปสู่การมีศรัทธาอันหยั่งลงมั่น ไม่หวั่นไหว และการเลื่อมใสอย่างยิ่ง ถึงที่สุดโดยส่วนเดียว เพื่อเป็นประโยชน์ ในการที่จะรับเอาธรรมะอันถูกต้อง ที่ออกจากพระโอษฐ์ ของพระผู้มีพระภาคเจ้า โดยตรงยังผลให้เกิดการปฏิบัติที่ตรงทาง และนำไปสู่การกระทำที่สุดแห่งทุกข์ คือ ความพ้นจาก ชาติ ชรา และมรณะได้อย่างแท้จริง.

คณะงานธัมมะ วัดนาป่าพง

หน้า 2

01 เรื่องย่อ ที่ควรทราบก่อน
-บาลี มหา. ที. ๑๐/๒-๘/๒-๙.

ภิกษุทั้งหลาย ! นับแต่นี้ไป ๙๑ กัป พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะ พระนามว่าวิปัสสีได้บังเกิดขึ้นแล้วในโลก.

ภิกษุทั้งหลาย ! นับแต่นี้ไป ๓๑ กัป พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะ พระนามว่าสิขี ได้บังเกิดขึ้นแล้วในโลก.

ภิกษุทั้งหลาย ! ในกัปที่ ๓๑ นั่นเอง พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะ พระนามว่าเวสสภูได้บังเกิดขึ้นแล้วในโลก.

ภิกษุทั้งหลาย ! ในภัททกัปนี้แหละ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะ พระนามว่ากกุสันธะได้บังเกิดขึ้นแล้วในโลก.

ภิกษุทั้งหลาย ! ในภัททกัปนี้แหละ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะ พระนามว่าโกนาคมนะได้บังเกิดขึ้นแล้วในโลก.

ภิกษุทั้งหลาย ! ในภัททกัปนี้แหละ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะ พระนามว่ากัสสปะได้บังเกิดขึ้นแล้วในโลก.
หน้า 3
ภิกษุทั้งหลาย !
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะ พระนามว่าวิปัสสี มีประมาณอายุขัย ๘๐,๐๐๐ ปี.

พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะ พระนามว่าสิขี มีประมาณอายุขัย ๗๐,๐๐๐ ปี.

พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะ พระนามว่าเวสสภู มีประมาณอายุขัย ๖๐,๐๐๐ ปี.

พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะ พระนามว่ากกุสันธะ มีประมาณอายุขัย ๔๐,๐๐๐ ปี.

พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะ พระนามว่าโกนาคมนะ มีประมาณอายุขัย ๓๐,๐๐๐ ปี.

พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะ พระนามว่ากัสสปะ มีประมาณอายุขัย ๒๐,๐๐๐ ปี.

ภิกษุทั้งหลาย ! พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะ พระนามว่าวิปัสสี มีขัณฑะและติสสะ เป็นอัครสาวกคู่เลิศ.

พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะ พระนามว่าสิขี มีอภิภู และสัมภวะ เป็นอัครสาวกคู่เลิศ.

พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะ พระนามว่าเวสสภู มีโสนะและอุตตระ เป็นอัครสาวกคู่เลิศ.
หน้า 4
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะ พระนามว่ากกุสันธะ มีวิธูระและสัญชีวะ เป็นอัครสาวกคู่เลิศ.

พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะ พระนามว่าโกนาคมนะ มีภิยโยสะและอุตตระ เป็นอัครสาวกคู่เลิศ.

พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะ พระนามว่ากัสสปะ มีติสสะและภารทวาชะ เป็นอัครสาวกคู่เลิศ.

ภิกษุทั้งหลาย !
ภิกษุผู้เป็นอุปัฏฐากอันเลิศของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะ พระนามว่าวิปัสสีมีชื่อว่าอโสกะ.

ภิกษุผู้เป็นอุปัฏฐากอันเลิศของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะ พระนามว่าสิขี มีชื่อว่าเขมังกระ.

ภิกษุผู้เป็นอุปัฏฐากอันเลิศของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะ พระนามว่าเวสสภู มีชื่อว่าอุปสันตะ.

ภิกษุผู้เป็นอุปัฏฐากอันเลิศของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะ พระนามว่ากกุสันธะ มีชื่อว่าวุฑฒิชะ.

ภิกษุผู้เป็นอุปัฏฐากอันเลิศของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะ พระนามว่าโกนาคมนะ มีชื่อว่าโสตถิชะ.

ภิกษุผู้เป็นอุปัฏฐากอันเลิศของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะ พระนามว่ากัสสปะ มีชื่อว่าสัพพมิตตะ.
หน้า 5
ภิกษุทั้งหลาย ! พระราชานามว่าพันธุมาเป็นบิดาพระเทวีนามว่าพันธุมดีเป็นมารดาผู้ให้กำเนิด ของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธะ พระนามว่าวิปัสสี นครชื่อว่าพันธุมดี ได้เป็นราชธานี ของพระเจ้าพันธุมา.

พระราชานามว่าอรุณะเป็นบิดา พระเทวีนามว่าปภาวดีเป็นมารดาผู้ให้กำเนิด ของพระผู้มีพระภาคอรหันต- สัมมาสัมพุทธะ พระนามว่าสิขี นครชื่อว่าอรุณวดี ได้เป็นราชธานี ของพระเจ้าอรุณะ.

พระราชานามว่าสุปปตีตะเป็นบิดา พระเทวีนามว่ายสวดี เป็นมารดาผู้ให้กำเนิดของ พระผู้มีพระภาคอรหันต-สัมมาสัมพุทธะ พระนามว่าเวสสภู นครชื่อว่าอโนมะ ได้เป็นราชธานี ของพระเจ้าสุปปตีตะ.

พราหมณ์ชื่อว่าอัคคิทัตตะเป็นบิดา พราหมณีชื่อว่าวิสาขาเป็นมารดาผู้ให้กำเนิด ของพระผู้มีพระภาค อรหันต- สัมมาสัมพุทธะ พระนามว่ากกุสันธะ สมัยนั้นมีพระราชานามว่าเขมะ นครชื่อว่าเขมวดี ได้เป็นราชธานีของพระเจ้าเขมะพราหมณ์ ชื่อว่ายัญญทัตตะเป็นบิดา พราหมณีชื่อว่าอุตตราเป็นมารดาผู้ให้กำเนิด ของพระผู้มีพระภาคอรหันต-สัมมาสัมพุทธะ พระนามว่าโกนาคมนะ สมัยนั้นมีพระราชานามว่าโสภะ นครชื่อว่าโสภวดี ได้เป็นราชธานี ของพระเจ้าโสภะ.
หน้า 6
พราหมณ์ชื่อว่าพรหมทัตตะเป็นบิดา พราหมณีชื่อธนวดีเป็นมารดาผู้ให้กำเนิด ของพระผู้มีพระภาคอรหันต- สัมมาสัมพุทธะ พระนามว่ากัสสปะ นครชื่อว่าพาราณสี ได้เป็นราชธานีของพระเจ้ากิงกี.

ภิกษุทั้งหลาย ! ในภัททกัปป์นี้ ในบัดนี้เราผู้เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธะ ได้บังเกิดขึ้นแล้วในโลก. ภิกษุทั้งหลาย ! ในบัดนี้เราผู้อรหันตสัมมา-สัมพุทธะ เป็นกษัตริย์โดยชาติ บังเกิดแล้วในขัตติยสกุล. ภิกษุทั้งหลาย ! ในบัดนี้เราผู้อรหันตสัมมา-สัมพุทธะ โดยโคตร เป็นโคตมโคตร.

ภิกษุทั้งหลาย ! ในบัดนี้ประมาณอายุขัย (แห่งสัตว์ในยุค) ของเราสั้นมาก  ผู้ที่เป็นอยู่ได้นาน ก็เพียงร้อยปีเป็นอย่างยิ่ง ที่เกินร้อยปีขึ้นไปมีน้อยนัก.

ภิกษุทั้งหลาย ! ในบัดนี้เราผู้อรหันตสัมมา-สัมพุทธะ ได้ตรัสรู้ ณ ควงแห่งไม้อัสสัตถะ. ภิกษุทั้งหลาย ! ในบัดนี้สาวกสองรูปมีนามว่าสารีบุตร และโมคคัลลานะ เป็นอัครสาวกคู่เลิศของเรา.

ภิกษุทั้งหลาย ! ในบัดนี้สาวกสันนิบาตของเรามีเพียงครั้งเดียว และมีภิกษุถึง ๑๒๕๐ รูป.

สังฆสันนิบาต
หน้า 7
แห่งสาวกของเราในครั้งนี้ ผู้เข้าประชุมล้วนแต่เป็นพระขีณาสพทั้งสิ้น. ภิกษุทั้งหลาย ! ในบัดนี้ภิกษุ ผู้เป็นอุปัฏฐากใกล้ชิดของเรา คือ อานนท์ จัดเป็นอุปัฏฐากอันเลิศ.

ภิกษุทั้งหลาย ! ในบัดนี้พระราชานามว่าสุทโธทนะเป็นบิดาของเรา พระเทวีนามว่ามายาเป็นมารดา ผู้ให้กำเนิดแก่เรา นครชื่อกบิลพัสดุ์เป็นราชธานี (แห่งบิดาของเรา).

หน้า
8

02 การปรากฏของพระตถาคต มีได้ยากในโลก
-บาลี เอก. อํ. ๒๐/๒๙/๑๔๐, -บาลี จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๗๗/๑๒๘.

ภิกษุทั้งหลาย ! การมาปรากฏของบุคคลเอก (ไม่มีใครซ้ำสอง) มีได้ยากในโลก. ใครเล่า เป็นบุคคลเอก ? ตถาคตผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้ชอบเอง เป็นบุคคลเอก (ไม่มีใครซ้ำสอง).

ภิกษุทั้งหลาย ! การมาปรากฏของบุคคลเอกนี้แลมีได้ยากในโลก.

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุที่ตถาคตผู้อรหันต-สัมมาสัมพุทธะเกิดขึ้น จึงเกิดมีของน่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีสี่อย่างนี้ปรากฏขึ้น. สี่อย่างอะไรเล่า ?

(๑) ภิกษุทั้งหลาย ! ประชาชนทั้งหลาย พอใจในกามคุณ ยินดีในกามคุณ บันเทิงอยู่ในกามคุณ, ครั้นตถาคตแสดง ธรรมที่ไม่เกี่ยวข้องกับกามคุณ ประชาชนเหล่านั้นก็ฟัง เงี่ยหูฟัง ตั้งใจฟัง เพื่อให้เข้าใจทั่วถึง. ภิกษุทั้งหลาย !นี่คือของน่าอัศจรรย์ ไม่เคยมี อย่างที่หนึ่ง มีขึ้นมา เพราะการบังเกิดของตถาคต ผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ.

(๒) ภิกษุทั้งหลาย ! ประชาชนทั้งหลาย พอใจในการถือตัว ยินดีในการถือตัว บันเทิงอยู่ในการถือตัว ครั้นตถาคตแสดง ธรรมที่กำจัดการถือตัว ประชาชนเหล่านั้นก็ฟัง เงี่ยหูฟัง ตั้งใจฟัง เพื่อให้เข้าใจทั่วถึง. ภิกษุทั้งหลาย !นี่คือของน่าอัศจรรย์ ไม่เคยมี อย่างที่สอง มีขึ้นมาเพราะการบังเกิด ของตถาคต ผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ.

(๓) ภิกษุทั้งหลาย ! ประชาชนทั้งหลาย พอใจในความวุ่นวายไม่สงบ ยินดีในความวุ่นวายไม่สงบ บันเทิงอยู่ในความวุ่นวายไม่สงบ ครั้นตถาคตแสดง ธรรมที่เป็นไปเพื่อความสงบ ประชาชนเหล่านั้น ก็ฟัง เงี่ยหูฟัง ตั้งใจฟังเพื่อให้เข้าใจทั่วถึง. ภิกษุทั้งหลาย ! นี่คือของน่าอัศจรรย์ไม่เคยมี อย่างที่สาม มีขึ้นมาเพราะการบังเกิดของตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ.

(๔) ภิกษุทั้งหลาย ! ประชาชนทั้งหลาย ประกอบอยู่ด้วยอวิชชา เป็นคนบอด ถูกความมืดครอบงำ เอาแล้ว ครั้นตถาคตแสดง ธรรมที่กำจัดอวิชชา ประชาชนเหล่านั้นก็ฟัง เงี่ยหูฟัง ตั้งใจฟัง เพื่อให้เข้าใจทั่วถึง. ภิกษุทั้งหลาย !นี่คือของน่าอัศจรรย์ ไม่เคยมี อย่างที่สี่ มีขึ้นมาเพราะการบังเกิดของตถาคต ผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ.

หน้า 10

03 การปรากฏของพระตถาคต มีได้ยากในโลก (นัยที่ ๒)
-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๖๘/๑๗๔๔.

ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าสมมติว่ามหาปฐพีอันใหญ่หลวงนี้มีน้ำท่วมถึงเป็นอันเดียวกันทั้งหมด  บุรุษคนหนึ่ง ทิ้งแอกซึ่งมีรูเจาะได้เพียงรูเดียว ลงไปในน้ำนั้น ลมตะวันออก พัดให้ลอยไป ทางทิศตะวันตก ลมตะวันตกพัดให้ลอยไปทางทิศตะวันออก ลมทิศเหนือ พัดให้ลอยไปทางทิศใต้ ลมทิศใต้พัดให้ลอยไปทางทิศเหนือ อยู่ดังนี้. ในน้ำนั้นมีเต่าตัวหนึ่ง ตาบอด ล่วงไปร้อยปี มันจะผุดขึ้นมาครั้งหนึ่งๆ.

ภิกษุทั้งหลาย ! เธอทั้งหลาย จะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร  จะเป็นไปได้ไหม ที่เต่าตาบอด ร้อยปีจึงจะผุดขึ้นสักครั้งหนึ่ง จะพึงยื่นคอเข้าไปในรู ซึ่งมีอยู่เพียงรูเดียวในแอกนั้น ?
“ข้อนี้ยาก ที่จะเป็นไปได้ พระเจ้าข้า ! ที่เต่าตาบอดนั้นร้อยปีผุดขึ้นเพียงครั้งเดียว จะพึงยื่น คอ เข้าไปในรูซึ่งมีอยู่พียงรูเดียวในแอกนั้น ”.

ภิกษุทั้งหลาย ! ยากที่จะเป็นไปได้ ฉันเดียวกันที่ใครๆ จะพึงได้ความเป็นมนุษย์  ยากที่จะเป็นไปได้
11
ฉันเดียวกัน ที่ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ จะเกิดขึ้นในโลก ยากที่จะเป็นไปได้ ฉันเดียวกัน ที่ธรรมวินัยอันตถาคตประกาศแล้ว จะรุ่งเรืองไปทั่วโลก.

ภิกษุทั้งหลาย ! แต่ว่าบัดนี้ ความเป็นมนุษย์ก็ได้แล้ว  ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ ก็บังเกิดขึ้นในโลกแล้ว  และธรรมวินัยอันตถาคตประกาศแล้ว ก็รุ่งเรืองไปทั่วโลกแล้ว.

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้น ในกรณีนี้ พวกเธอพึงกระทำ􀄁โยคกรรม เพื่อให้รู้ว่า “นี้ทุกข์  นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับแห่งทุกข์  นี้หนทางให้ถึงความดับแห่งทุกข์”ดังนี้เถิด.

หน้า 12

04 โลกธาตุหนึ่ง มีพระพุทธเจ้าเพียงองค์เดียว
-บาลี อุปริ. ม. ๑๔/๑๗๑/๒๔๕.

อานนท์ ! ภิกษุผู้ฉลาดในฐานะและอฐานะนั้น ย่อมรู้ว่า ข้อนี้มิใช่ฐานะ ข้อนี้มิใช่โอกาสที่จะมี คือข้อที่ในโลกธาตุอันเดียว จะมีพระตถาคต ผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ สององค์เกิดขึ้นพร้อมกัน ไม่ก่อนไม่หลังกัน นั่นมิใช่ฐานะที่จะมีได้. ส่วนฐานะอันมีได้นั้น คือข้อที่ในโลกธาตุอันเดียว มีพระตถาคต ผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ องค์เดียวเกิดขึ้นนั่นเป็นฐานะที่จะมีได้.

หน้า 13

05 การบังเกิดขึ้นของตถาคต คือความปรากฏขึ้นแห่งแสงสว่าง
-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๕๓/๑๗๒๑.

ภิกษุทั้งหลาย ! ตลอดกาลเพียงใด ที่ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ ยังไม่บังเกิดขึ้นในโลก  ความปรากฏ แห่งแสงสว่างอันใหญ่หลวง ความส่องสว่างอันใหญ่หลวง ก็ยังไม่มีตลอดกาล เพียงนั้น ในกาลนั้น มีอยู่แต่ความมืด เป็นความมืดซึ่งกระทำความบอด กลางคืนกลางวัน ก็ยัง ไม่ปรากฏ เดือนหรือกึ่งเดือน ก็ไม่ปรากฏ ฤดูหรือปี ก็ไม่ปรากฏก่อน.

ภิกษุทั้งหลาย ! แต่ว่า ในกาลใด ดวงจันทร์และ ดวงอาทิตย์บังเกิดขึ้นในโลก ในกาลนั้น ความปรากฏแห่ง แสงสว่างอันใหญ่หลวง ความส่องสว่างอันใหญ่หลวง ย่อมมีในกาลนั้น ย่อมไม่มีความมืด อันเป็นความมืดซึ่งกระทำความบอด ลำดับนั้น กลางคืนกลางวัน ย่อมปรากฏเดือน หรือกึ่งเดือน ย่อมปรากฏ ฤดูหรือปี ย่อมปรากฏนี้ฉันใด.

ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนี้ ก็ฉันนั้น ตลอดกาลเพียงใดที่ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ ยังไม่บังเกิดขึ้นในโลก ความปรากฏแห่งแสงสว่างอันใหญ่หลวง ความส่องสว่างอันใหญ่หลวง ก็ยังไม่มีตลอดกาลเพียงนั้น ในกาลนั้นมีอยู่แต่ความมืด เป็นความมืดซึ่งกระทำความบอด การบอกการแสดง การบัญญัติ การแต่งตั้ง การเปิดเผย การจำแนกแจกแจง การกระทำให้เข้าใจได้ง่าย ซึ่งอริยสัจจ์ทั้งสี่ ก็ยังไม่มีก่อน.

ภิกษุทั้งหลาย ! แต่ว่าในกาลใดแล ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ บังเกิดขึ้นในโลก ในกาลนั้นความปรากฏแห่ง แสงสว่างอันใหญ่หลวง ความส่องสว่างอันใหญ่หลวง ย่อมมี ในกาลนั้น ย่อมไม่มีความมืด อันเป็นความมืดซึ่งกระทำความบอด ลำดับนั้น ย่อมมีการบอกการแสดง การบัญญัติ การแต่งตั้ง การเปิดเผย การจำแนกแจกแจง การกระทำให้เข้าใจได้ง่าย ซึ่งอริยสัจจ์ทั้งสี่

อริยสัจจ์ทั้งสี่เหล่าไหนเล่า คือ

ทุกข-อริยสัจจ์
ทุกขสมุทย-อริยสัจจ์
ทุกข-นิโรธอริยสัจจ์
ทุกข-นิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจจ์.


ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้น ในกรณีนี้ พวกเธอพึงกระทำโยคกรรมเพื่อให้รู้ว่า “นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับแห่งทุกข์ นี้ทางให้ถึงความดับแห่งทุกข์” ดังนี้เถิด.

หน้า15

06 ธรรมชาติ ๓ อย่าง ทำให้ พระองค์เกิดขึ้นเป็นประทีปของโลก
-บาลี ทสก. อํ. ๒๔/๑๕๔/๗๖.

ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าธรรมชาติ ๓ อย่างเหล่านี้ ไม่พึงมีอยู่ในโลกแล้วไซร้ ตถาคตก็ไม่ต้องเกิดขึ้น ในโลก เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธะ และธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว ก็ไม่ต้องรุ่งเรืองไปในโลก.

ธรรมชาติ ๓ อย่าง นั้นคืออะไรเล่า ? คือ ชาติด้วย ชราด้วย มรณะด้วย

ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมชาติ ๓ อย่างเหล่านี้แล ถ้าไม่มีอยู่ในโลกแล้วไซร้ ตถาคตก็ไม่ต้องเกิดขึ้น ในโลก เป็นอรหันต-สัมมาสัมพุทธะ  และธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว ก็ไม่ต้องรุ่งเรืองไปในโลก.

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุใดแล ที่ธรรมชาติ ๓ อย่างเหล่านี้ มีอยู่ในโลก เพราะเหตุนั้น ตถาคตจึงต้อง เกิดขึ้นในโลกเป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธะ  และธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว จึงต้องรุ่งเรืองไปในโลก.

หน้า16

07 การมีธรรมของพระตถาคต อยู่ในโลก คือความสุขของโลก
-บาลี จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๙๗/๑๖๐.

ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อพระสุคตก็ดี ระเบียบวินัยของพระสุคตก็ดี ยังคงมีอยู่ในโลกเพียงใด อันนั้น ก็ยังเป็นไป เพื่อความเกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขของชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์ แก่โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อความเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย อยู่เพียงนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย ! พระสุคตนั้นคือใครเล่า? คือตถาคตบังเกิดขึ้นในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ ผู้ตรัสรู้ชอบเอง ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เป็นผู้ไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกคนควรฝึก ไม่มีใครยิ่งกว่า เป็นครูของเทวดา และมนุษย์ เป็นผู้เบิกบานแล้ว จำแนกธรรมออกสอนสัตว์ นี้คือ พระสุคต.

ภิกษุทั้งหลาย ! ระเบียบวินัยของพระสุคตนั้นคืออะไรเล่า? คือตถาคตนั้น แสดงธรรมไพเราะ ในเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถะพร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ธรรมที่ตถาคต

แสดง พรหมจรรย์ที่ตถาคตประกาศ นี้แล คือ ระเบียบวินัยของพระสุคต.

ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อพระสุคตก็ดี ระเบียบวินัยของพระสุคตก็ดี ยังคงมีอยู่ในโลกเพียงใด อันนั้น ก็ยังเป็นไป เพื่อความเกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขของชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์ แก่โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อความเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายอยู่เพียงนั้น.

หน้า 18

08 พระตถาคตเกิดขึ้น เพื่อความสุขของโลก
-บาลี มู. ม. ๑๒/๓๗/๔๖.

พราหมณ์เอย ! มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง กลางคืนแท้ๆ ก็เข้าใจ ไปว่ากลางวัน1 กลางวันแท้ๆ ก็เข้าใจไปว่ากลางคืน ข้อนี้เรากล่าวว่า เป็นเพราะสมณพราหมณ์เหล่านั้น เป็นผู้อยู่ด้วยความหลง.

พราหมณ์เอย ! ส่วนเราตถาคต ย่อมเข้าใจกลางคืนเป็นกลางคืน กลางวันเป็นกลางวัน.

พราหมณ์เอย ! เมื่อใครจะเรียกผู้ใด ให้เป็นการถูกต้องว่า เป็นสัตว์ผู้มีความไม่หลงอยู่เป็นปรกติ และเกิดขึ้นเพื่อความเกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อความเกื้อกูล เพื่อความสุข ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายแล้ว เขาเมื่อจะเรียกให้ถูกต้อง เช่นนั้น พึงเรียกเราตถาคตนี้แลว่าเป็นสัตว์ผู้มีความไม่หลงอยู่เป็นปรกติ เกิดขึ้นเพื่อความเกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมากเพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อความเกื้อกูล เพื่อความสุข ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย.

1. คำ ว่า กลางคืน กลางวัน ในที่นี้ มิได้มีความหมายตามตัวหนังสือ. -ผู้แปล

หน้า 19

09 ผู้เชื่อฟังพระตถาคต จะได้รับประโยชน์สุขสิ้นกาลนาน
-บาลี มู. ม. ๑๒/๔๒๑/๓๙๑.

ภิกษุทั้งหลาย ! เราแล เป็นผู้ฉลาดในเรื่อง โลกนี้ฉลาดในเรื่องโลกอื่น เป็นผู้ฉลาดต่อวัฏฏะ อันเป็นที่อยู่ของมาร ฉลาดต่อวิวัฏฏะอันไม่เป็นที่อยู่ของมาร เป็นผู้ฉลาดต่อวัฏฏะ อันเป็นที่อยู่ ของมฤตยู ฉลาดต่อวิวัฏฏะอันไม่เป็นที่อยู่ของมฤตยู ชนเหล่าใดถือว่าเรื่องนี้ควรฟังควรเชื่อ ข้อนั้นจักเป็นไป เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่ชนทั้งหลายเหล่านั้นสิ้นกาลนาน.

(ครั้นพระผู้มีพระภาคได้ตรัสคำนี้แล้ว ได้ตรัสคำอื่นอีกดังนี้ว่า)
ทั้งโลกนี้แลโลกอื่น ตถาคตผู้ทราบดีอยู่ได้ประกาศไว้ชัดแจ้งแล้ว. ทั้งที่ที่มารไปไม่ถึง และที่ที่มฤตยูไปไม่ถึง ตถาคตผู้รู้ชัดเข้าใจชัด ได้ประกาศไว้ชัดแจ้งแล้ว เพราะความรู้โลกท้งปวง.

ประตูนครแห่งความไม่ตาย ตถาคตเปิดโล่งไว้แล้ว เพื่อสัตว์ทั้งหลายเข้าถึงถิ่นอันเกษม. กระแสแห่งมารผู้มีบาป ตถาคตปิดกั้นเสียแล้ว กำจัดเสียแล้ว ทำให้หมด พิษสงแล้ว .

ภิกษุทั้งหลาย ! เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มากมูมด้วยปราโมทย์ ปรารถนาธรรมอันเกษมจากโยคะเถิด.

หน้า 20

10 การบังเกิดขึ้นของตถาคต ไม่ได้กระทบต่อกฎของธรรมชาติ
-บาลี นิทาน. สํ. ๑๖/๓๐/๖๑.

(๑) ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะย่อมมี. ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุที่ พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม จะไม่บังเกิดขึ้นก็ตาม ธรรมธาตุนั้น ย่อมตั้งอยู่แล้ว นั่นเทียว คือ ความตั้งอยู่แห่งธรรมดา (ธัมมัฏฐิตตา) คือ ความเป็นกฎตายตัวแห่งธรรมดา (ธัมมนิยามตา) คือ ความที่เมื่อมีสิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น (อิทัปปัจจยตา).

ตถาคตย่อมรู้พร้อมเฉพาะ ย่อมถึงพร้อมเฉพาะซึ่งธรรมธาตุนั้น  ครั้นรู้พร้อมเฉพาะแล้ว ถึงพร้อมเฉพาะแล้ว ย่อมบอก ย่อมแสดง ย่อมบัญญัติ ย่อมตั้งขึ้นไว้ ย่อมเปิดเผย ย่อมจำแนกแจกแจง ย่อมทำให้เป็นเหมือนการหงายของที่คว่ำ และได้กล่าวแล้วในบัดนี้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ! ท่านทั้งหลายจงมาดู เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะย่อมมี”ดังนี้.

ภิกษุท้้งหลาย ! เพราะเหตุดังนี้แล  ธรรมธาตุใดในกรณีนั้น อันเป็นตถตา คือความเป็นอย่างนั้น เป็นอวิตถตาคือ ความไม่ผิดไปจากความเป็นอย่างนั้น เป็นอนัญญถตาคือ ความไม่เป็นไป โดยประการอื่น เป็นอิทัปปัจจยตา คือความที่เมื่อมีสิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมนี้ เราเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท (คือธรรมอันเป็นธรรมชาติ อาศัยกันแล้วเกิดขึ้น)

(๒) ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะภพเป็นปัจจัยชาติย่อมมี. ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุที่ พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม..1

(๓) ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยภพย่อมมี. ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุที่ พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม..

(๔) ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะตัณหาเป็นปัจจัยอุปาทานย่อมมี. ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุท ี่พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม …

(๕) ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเวทนาเป็นปัจจัยตัณหาย่อมมี. ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุที่ พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม …

1. การละ … เช่นนี้ หมายความว่า ข้อความในข้อ (๒) เป็นต้นไปจนกระทั่ง ถึงข้อ(๑๐) นี้ ซ้ำกันโดยตลอดกับในข้อ (๑) ต่างกันแต่เพียงปัจจยาการ แต่ละอันเท่านั้น สำ หรับข้อสุดท้าย คือข้อ (๑๑) จะพิมพ์ไว้เต็มเหมือนข้อ (๑) อีกครั้งหนึ่ง. –ผู้แปล

(๖) ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะผัสสะเป็นปัจจัยเวทนาย่อมมี. ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม …

(๗) ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัยผัสสะย่อมมี. ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม …

(๘) ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะนามรูปเป็นปัจจัยสฬายตนะย่อมมี. ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม, …

(๙) ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยนามรูปย่อมมี. ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม …

(๑๐) ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะสังขารเป็นปัจจัยวิญญาณย่อมมี. ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม …

(๑๑) ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยสังขารทั้งหลายย่อมมี. ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม จะไม่บังเกิดขึ้นก็ตาม ธรรมธาตุนั้น ย่อมตั้งอยู่แล้วนั่นเทียว
คือ ความตั้งอยู่แห่งธรรมดา (ธัมมัฏฐิตตา)
คือ ความเป็นกฎตายตัว แห่งธรรมดา (ธัมมนิยามตา)
คือ ความที่เมื่อสื่งนี้ สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น (อิทัปปัจจยตา).

ตถาคตย่อมรู้พร้อมเฉพาะ ย่อมถึงพร้อมเฉพาะซึ่งธรรมธาตุนั้น ครั้นรู้พร้อมเฉพาะแล้ว ถึงพร้อมเฉพาะแล้ว ย่อมบอก ย่อมแสดง ย่อมบัญญัติ ย่อมตั้งขึ้นไว้ย่อมเปิดเผย ย่อมจำแนก แจกแจง ย่อมทำให้เป็นเหมือน การหงายของที่คว่ำ และได้กล่าวแล้วในบัดนี้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ! ท่านทั้งหลายจงมาดู เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยสังขารทั้งหลายย่อมมี” ดังนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุดังนี้แล ธรรมธาตุใดในกรณีนั้น อัน
เป็น ตถตา คือ ความเป็นอย่างนั้น
เป็น อวิตถตา คือ ความไม่ผิดไปจากความเป็นอย่างนั้น
เป็น อนัญญถตา คือ ความไม่เป็นไป โดยประการอื่น
เป็น อิทัปปัจจยตา คือ ความที่เมื่อมีสิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น

ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมนี้ เราเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท (คือธรรมอันเป็นธรรมชาติ อาศัยกันแล้วเกิดขึ้น).

หน้า 24

11 ทรงขนานนามพระองค์เองว่า “พุทธะ”
-บาลี จตุกฺก. อํ. ๒๑/๔๙/๓๖.

(การสนทนากับโทณพราหมณ์ เริ่มในที่นี้ด้วยพราหมณ์ทูลถาม)

“ท่านผู้เจริญของเรา ! ท่านเป็นเทวดาหรือ ?”
พราหมณ์เอย ! เราไม่ได้เป็นเทวดาดอก.

“ท่านผู้เจริญของเรา ! ท่านเป็นคนธรรพ์หรือ ?”
พราหมณ์เอย ! เราไม่ได้เป็นคนธรรพ์ดอก.

“ท่านผู้เจริญของเรา ! ท่านเป็นยักษ์หรือ ?”
พราหมณ์เอย ! เราไม่ได้เป็นยักษ์ดอก.

“ท่านผู้เจริญของเรา ! ท่านเป็นมนุษย์หรือ ?”
พราหมณ์เอย ! เราไม่ได้เป็นมนุษย์ดอก.

“ท่านผู้เจริญของเรา ! เราถามอย่างไรๆ ท่านก็ตอบว่ามิได้เป็นอย่างนั้นๆ ถ้าเช่นนั้นท่านเป็นอะไรเล่า ?”

พราหมณ์เอย ! อาสวะเหล่าใด ที่จะทำให้เราเป็นเทวดา เพราะยังละมันไม่ได้ อาสวะเหล่านั้นเราละได้ ขาดถอนขึ้นทั้งรากแล้ว ทำให้เหมือนตาลยอดด้วน ไม่ให้มี

ไม่ให้เกิดขึ้น อีกต่อไปแล้ว. พราหมณ์เอย ! อาสวะเหล่าใด ที่จะทำให้เราเป็น คนธรรพ์ เป็นยักษ์ เป็นมนุษย์ เพราะยังละมันไม่ได้ อาสวะเหล่านั้น เราละได้ขาด ถอนขึ้นทั้งรากแล้ว ทำให้เหมือนตาลยอดด้วน ไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปแล้ว.

พราหมณ์ ! เปรียบเหมือน ดอกบัวเขียว บัวหลวง หรือบัวขาว มันเกิดในน้ำ เจริญในน้ำ โผล่ขึ้นพ้นน้ำ ตั้งอยู่น้ำไม่เปียกติดมันได ฉันใดก็ฉันนั้นนะพราหมณ์ ! เรานี้เกิดในโลก เจริญในโลก ก็จริง แต่เราครอบงำโลกเสียได้แล้ว และอยู่ในโลก โลกไม่ฉาบทาแปดเปื้อนเราได้.

พราหมณ์ ! ท่านจงจำเราไว้ว่า เป็น “พุทธะ” ดังนี้เถิด.

หน้า 26

12 เหตุที่ทำให้ได้พระนามว่า “อรหันตสัมมาสัมพุทธะ”
-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๔๓/๑๗๐๓.

ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐ ๔ อย่างเหล่านี้ มีอยู่ สี่อย่างเหล่าไหนเล่า ? สี่อย่างคือ
ความจริงอันประเสริฐ คือ ทุกข์  
ความจริงอันประเสริฐ คือ เหตุให้เกิดทุกข์  
ความจริงอันประเสริฐ คือ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์
ความจริงอันประเสริฐ คือ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ 
นี้แล ความจริงอันประเสริฐ ๔ อย่าง.

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะได้ตรัสรู้ตามความเป็นจริงซึ่งความจริงอันประเสริฐ ๔ อย่างเหล่านี้แล ตถาคตจึงมีนามว่า “อรหันตสัมมาสัมพุทธะ” ดังนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้น ในกรณีนี้ พวกเธอทั้งหลาย พึงกระทำความเพียร เพื่อให้รู้ว่า“นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์   นี้ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์” ดังนี้แล.

หน้า 27

13 เหตุที่ทำให้ได้พระนามว่า“อรหันตสัมมาสัมพุทธะ” (นัยที่ ๒)
-บาลี ขนฺธ. สํ.๑๗/๘๑/๑๒๕.

ภิกษุทั้งหลาย ! ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ หลุดพ้นแล้วจากรูป เพราะความเบื่อหน่าย ความคลายกำหนัด ความดับ และความไม่ยึดมั่น จึงได้นามว่า“สัมมาสัมพุทธะ”.

ภิกษุทั้งหลาย ! แม้ภิกษุผู้ปัญญา-วิมุตต์ ก็หลุดพ้นแล้วจากรูป เพราะความ เบื่อหน่าย ความคลายกำหนัด ความดับ และความไม่ยึดมั่น จึงได้นามว่า
“ปัญญาวิมุตต์”.

(ในกรณีแห่ง เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ก็ได้ตรัสไว้ มีข้อความแสดงหลักเกณฑ์ อย่างเดียวกัน กับในกรณีแห่งรูปที่กล่าวแล้ว).

ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนั้น อะไรเป็นความผิดแผกแตกต่างกัน อะไรเป็นความมุ่งหมาย ที่แตกต่างกัน อะไรเป็นเครื่องกระทำให้แตกต่างกัน ระหว่างตถาคตผู้อรหันต-สัมมาสัมพุทธะ กับภิกษุผู้ปัญญาวิมุตต์ ?

ภิกษุทั้งหลาย ! ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะได้ทำมรรคที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ได้ทำมรรค ที่ยังไม่มีใครรู้ ให้มีคนรู้ ได้ทำมรรคที่ยังไม่มีใครกล่าว ให้เป็นมรรคที่กล่าวกันแล้ว
ตถาคต
เป็นมัคคัญญู (รู้มรรค)
เป็นมัคควิทู (รู้แจ้งมรรค)
เป็นมัคคโกวิโท (ฉลาดในมรรค).


ภิกษุทั้งหลาย ! ส่วนสาวกทั้งหลาย ในกาลนี้ เป็นมัคคานุคา (ผู้เดินตามมรรค) เป็นผู้ตามมาในภายหลัง.

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้แล เป็นความผิดแผกแตกต่างกัน เป็นความมุ่งหมาย ที่แตกต่างกัน เป็นเครื่องกระทำ ให้แตกต่างกัน ระหว่าง ตถาคตผู้อรหันต สัมมาสัมพุทธะ กับภิกษุผู้ ปัญญาวิมุตต์.

หน้า 29

14 ทรงขนานนามพระองค์เองว่า “ตถาคต”
-บาลี อุปริ. ม. ๑๔/๑๗/๑๖.

ภิกษุทั้งหลาย ! อีกประการหนึ่ง ตถาคตบังเกิดขึ้นในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ ผู้ตรัสรู้ชอบเอง ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เป็นผู้ดำเนินไปดี เป็นผู้รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกคนที่ควรฝึก อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า เป็นครูของเทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม ตถาคตนั้น ทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว สอนโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก หมู่สัตว์พร้อมทั้ง สมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ให้รู้แจ้งตาม ตถาคตนั้นแสดงธรรมไพเราะ ในเบื้องต้น ในท่ามกลาง ในที่สุดพร้อมทั้งอรรถะ พร้อมทั้งพยัญชนะ ประกาศพรหมจรรย์อันบริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง.

หน้า 30

15 เหตุที่ทำให้ทรงพระนามว่า “ตถาคต”
-บาลี จตุกฺก. อํ. ๒๑/๓๐/๒๓, -บาลี อิติวุ. ขุ. ๒๕/๓๒๑/๒๙๓.

ภิกษุทั้งหลาย ! โลกเป็นสภาพที่ตถาคต ได้รู้พร้อมเฉพาะแล้ว ตถาคตจึงเป็น ผู้ถอนตน จากโลกได้แล้ว.

เหตุให้เกิดโลก เป็นสภาพที่ตถาคตได้รู้พร้อมเฉพาะแล้ว ตถาคตจึงละเหตุ ให้เกิดโลกได้แล้ว.

ความดับไม่เหลือของโลก เป็นสภาพ ที่ตถาคต รู้พร้อม เฉพาะแล้ว ตถาคตจึงทำให้แจ้งความดับไม่เหลือ ของโลกได้แล้ว.

ทางให้ถึงความดับไม่เหลือของโลก เป็นสิ่งที่ตถาคตรู้พร้อมเฉพาะแล้ว ตถาคตจึงทำให้เกิดมีขึ้น ได้แล้ว ซึ่งทางให้ถึงความดับไม่เหลือของโลกนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย ! อายตนะอันใด ที่พวกมนุษยโลกพร้อมทั้งเทวโลก มาร พรหม ที่หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณ-พราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ ได้เห็น ได้ฟัง ได้ดมลิ้ม สัมผัส ได้รู้แจ้ง ได้บรรลุ ได้แสวงหา ได้เที่ยวผูกพันติดตามโดยน้ำใจ อายตนะนั้น ตถาคตได้รู้พร้อมเฉพาะแล้วทั้งสิ้น เพราะเหตุนั้น จึงได้นามว่า “ตถาคต”.

ภิกษุทั้งหลาย ! ในราตรีใด ตถาคตได้ตรัสรู้ และในราตรีใด ตถาคตปรินิพพาน ในระหว่างนั้น ตถาคตได้กล่าวสอน พร่ำสอน แสดงออกซึ่งคำใด คำนั้นทั้งหมด ย่อมมีโดยประการเดียวกันทั้งสิ้น ไม่แปลกกันโดยประการอื่น เพราะเหตุนั้น จึงได้นามว่า “ตถาคต”.

ภิกษุทั้งหลาย ! ในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มาร พรหม ในหมู่สัตว์พร้อมทั้ง สมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดา และมนุษย์ ตถาคตเป็นผู้เป็นยิ่ง ไม่มีใครครอบงำ เป็นผู้เห็นสิ่งทั้งปวงโดยเด็ดขาด เป็นผู้มีอำนาจสูงสุด (โดยธรรม)แต่ผู้เดียว เพราะเหตุนั้น จึงได้นามว่า “ตถาคต”.

หน้า 32

16 ทรงพระนามว่า “ตถาคต” เพราะทรงเป็นกาลวาที ภูตวาที
-บาลี ปา. ที. ๑๑/๑๔๘/๑๑๙.

จุนทะ ! แม้เป็นเรื่องในอดีต ถ้าไม่จริง ไม่แท้ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ตถาคตย่อมไม่พยากรณ์ ซึ่งเรื่องนั้น

จุนทะ ! แม้เป็นเรื่องในอดีต ถ้าเป็นเรื่องจริงเรื่องแท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ตถาคต ก็ย่อมไม่พยากรณ์ ซึ่งเรื่องแม้นั้น

จุนทะ ! แม้เป็นเรื่องในอดีต ถ้าเป็นเรื่องจริงเรื่องแท้ เรื่องประกอบด้วยประโยชน์ ตถาคต ย่อมเป็นผู้รู้กาลอันสมควร ในเรื่องนั้น เพื่อพยากรณ์ปัญหานั้น.

จุนทะ ! แม้เป็นเรื่องในอนาคต ถ้าไม่จริง ไม่แท้ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ตถาคต ย่อมไม่พยากรณ์ ซึ่งเรื่องนั้น

จุนทะ ! แม้เป็นเรื่องในอนาคต ถ้าเป็นเรื่องจริงเรื่องแท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ตถาคต ก็ย่อมไม่พยากรณ์ ซึ่งเรื่องแม้นั้น

จุนทะ ! แม้เป็นเรื่องในอนาคต ถ้าเป็นเรื่องจริงเรื่องแท้ เรื่องประกอบด้วยประโยชน์ ตถาคต ย่อมเป็นผู้รู้กาลอันสมควรในเรื่องนั้น เพื่อพยากรณ์ปัญหานั้น.

จุนทะ ! แม้เป็นเรื่องในปัจจุบัน ถ้าไม่จริง ไม่แท้ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ตถาคต ย่อมไม่พยากรณ์ ซึ่งเรื่องนั้น

จุนทะ ! แม้เป็นเรื่องในปัจจุบัน ถ้าเป็นเรื่องจริงเรื่องแท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ตถาคต ก็ย่อมไม่พยากรณ์ ซึ่งเรื่องแม้นั้น

จุนทะ ! แม้เป็นเรื่องในปัจจุบัน ถ้าเป็นเรื่องจริงเรื่องแท้ เรื่องประกอบด้วยประโยชน์ ตถาคต ย่อมเป็นผู้รู้กาลอันสมควรในเรื่องนั้น เพื่อพยากรณ์ปัญหานั้น.

จุนทะ ! ด้วยเหตุดังนี้แล ตถาคตจึงเป็นกาลวาทีสัจจวาที ภูตวาที อัตถวาที ธัมมวาที วินยวาที ในธรรมทั้งหลาย ที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน  เพราะเหตุนั้นจึงได้นามว่า “ตถาคต”.

หน้า 34

17 เหตุที่ทำให้ได้พระนามว่า “อนุตตรปุริสทัมมสารถิ”
-บาลี อุปริ. ม. ๑๔/๔๐๙/๖๓๗.

ภิกษุทั้งหลาย ! คำที่เรากล่าวแล้วว่า “ตถาคตนั้นเป็นผู้อันบุคคลกล่าวว่า เป็นสารถีฝึกบุรุษ ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่าในบรรดาอาจารย์ผู้ฝึกทั้งหลาย” ดังนี้นั้น  คำนั้น เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไรเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย ! ช้างที่ควรฝึก อันควาญช้างฝึกจนรู้บทแห่งการฝึกแล้ว ก็แล่นไปได้สู่ทิศทางเดียว เท่านั้นคือ ทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ทิศเหนือ หรือทิศใต้.

ภิกษุทั้งหลาย ! ม้าที่ควรฝึก อันควาญม้าฝึกจนรู้บทแห่งการฝึกแล้ว ก็แล่นไปได้สู่ทิศทางเดียว เท่านั้น คือทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ทิศเหนือ หรือทิศใต้.

ภิกษุทั้งหลาย ! โคที่ควรฝึก อันผู้ฝึกโคจนรู้บทแห่งการฝึกแล้ว ก็แล่นไปได้สู่ทิศทางเดียวเท่านั้น คือ ทิศตะวันออกทิศตะวันตก ทิศเหนือ หรือทิศใต้.

ภิกษุทั้งหลาย ! ส่วนบุรุษที่ควรฝึก อันตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ ฝึกจนรู้บทแห่งการฝึกแล้ว ก็แล่นไปได้สู่ทิศทั้งแปด: เป็นผู้มีรูป ย่อมเห็นรูปทั้งหลาย นี้คือทิศที่ ๑

เป็นผู้ไม่มีสัญญาในรูปอันเป็นภายใน ย่อมเห็นซึ่งรูปทั้งหลาย อันเป็นภายนอก นี้เป็นทิศที่ ๒  

เป็นผู้น้อมใจด้วยความรู้สึกว่า “งาม” เท่านั้น นี้เป็นทิศที่ ๓

เพราะก้าวล่วงเสียได้ซึ่งรูปสัญญา เพราะความดับไปแห่งปฏิฆสัญญา เพราะไม่ใส่ใจนานัตตสัญญา โดยประการทั้งปวง เป็นผู้เข้าถึงซึ่งอากาสานัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่า “อนันโต อากาโส” ดังนี้ แล้วแลอยู่ นี้เป็นทิศที่ ๔

เพราะก้าวล่วงเสียได้ซึ่งอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง เป็นผู้เข้าถึงซึ่งวิญญาณัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่า “อนันตัง วิญญาณัง” ดังนี้แล้วแลอยู่ นี้เป็นทิศที่ ๕

เพราะก้าวล่วงเสียได้ซึ่งวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง เป็นผู้เข้าถึงซึ่งอากิญจัญญายตนะ อันมีการทำในใจว่า “นัตถิ กิญจิ” ดังนี้ แล้วแลอยู่ นี้เป็นทิศที่ ๖ 

เพราะก้าวล่วงเสียได้ซึ่งอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง เป็นผู้เข้าถึงซึ่ง เนวสัญญานา สัญญายตนะ แล้วแลอยู่ นี้เป็นทิศที่ ๗

เพราะก้าวล่วงเสียได้ซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวง เป็นผู้เข้าถึงซึ่ง สัญญาเวทยิตนิโรธ แล้วแลอยู่ นี้เป็นทิศที่ ๘.

ภิกษุทั้งหลาย ! บุรษ ที่ควรฝึกอัน ตถาคตผู้อรหันต-สัมมาสัมพุทธะฝึกจนรู้บท แห่งการฝึกแล้ว ก็แล่นไปได้สู่ทิศทั้ง ๘ เหล่านี้.

ภิกษุทั้งหลาย ! คำที่เรากล่าวแล้วว่า “ตถาคตนั้นเป็นผู้อันบุคคลกล่าวว่า เป็นสารถีฝึกบุรุษ ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า ในบรรดาอาจารย์ผู้ฝึกทั้งหลาย” ดังนี้นั้น คำนั้น เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยความข้อนี้ ดังนี้แล.

หน้า 37

18 ไวพจน์แห่งคำว่า “ตถาคต”
-บาลี ปา. ที. ๑๑/๙๑/๕๕, -บาลี อฏฺฐก. อํ. ๒๓/๓๕๒/๑๙๒.

วาเสฏฐะทั้งหลาย ! ก็ศรัทธาของผู้ใดแล ตั้งมั่นในตถาคต ฝังลงรากแล้ว ดำรงอยู่ได้มั่นคง อันสมณะหรือพราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆในโลก ก็ตาม ไม่ชักนำไปทางอื่นได้ ผู้นั้นควรจะกล่าวได้อย่างนี้ว่า “เราเป็นบุตร เป็นโอรส เกิดจากปากของพระผู้มีพระภาคเกดิ โดยธรรม อัน ธรรมเนรมิต เป็นทายาทแห่งธรรม” ดังนี้้

ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? เพราะคำว่า “ธรรมกาย” บ้าง“พรหมกาย” บ้าง “ธรรมภูต” บ้าง “พรหมภูต” บ้าง นี้เป็นคำสำหรับเรียกแทนชื่อตถาคต แล.

ภิกษุทั้งหลาย ! คำว่า “สมณะ” เป็นคำแทนชื่อ ของตถาคต.
ภิกษุทั้งหลาย ! คำว่า “พราหมณ์” (ผู้ประเสริฐ)เป็นคำแทนชื่อของตถาคต.
ภิกษุทั้งหลาย ! คำว่า “เวทคู” (ผู้จบเวท)เป็นคำแทนชื่อของตถาคต.
ภิกษุทั้งหลาย ! คำว่า “ภิสักโก” (หมอผ่าตัด)เป็นคำแทนชื่อของ ตถาคต.
ภิกษุทั้งหลาย ! คำว่า “นิมมโล” (ไม่มีมลทิน)เป็นคำแทนชื่อของตถาคต.
ภิกษุทั้งหลาย ! คำว่า “วิมโล” (ผู้ปราศจากมลทิน)เป็นคำแทนชื่อของตถาคต.
ภิกษุทั้งหลาย ! คำว่า “ญาณี” (ผู้มีญาณ)เป็นคำแทนชื่อของตถาคต.
ภิกษุทั้งหลาย ! คำว่า “วิมุตโต”(หลุดพ้น)เป็นคำแทนชื่อของตถาคต.1

1. ยังมีสูตรอื่นที่ได้กล่าวถึงพระนามของตถาคตไว้ เช่น -บาลี สุ. ขุ. ๒๕/๔๐๗/๓๕๔,-บาลี พุทฺธว. ขุ. ๓๓/๕๔๓/๒๖. ซึ่งมีความก้ำกึ่งว่าเป็น พุทธวจนหรือไม่ จึงไม่ได้นำใส่มาไว้ในเล่มนี้ -ผู้รวบรวม

หน้า 42

19 การเกิดแห่งวงศ์สากยะ
-บาลี สี. ที. ๙/๑๒๐-๑๒๑/๑๔๙.

อัมพัฏฐะ ! เรื่องดึกดำบรรพ์ พระเจ้าอุกกากราชปรารถนาจะยกราชสมบัติ ประทานแก่โอรสของ พระมเหสี ที่โปรดปรานต้องพระทัย จึงได้ทรงขับราชกุมาร ผู้มีชนมายุแก่กว่า คือเจ้า อุกกามุข กรกัณฑุ หัตถินีกะ สินีปุระ ออกจากราชอาณาจักร ไปตั้งสำนักอยู่ ณ ป่าสากใหญ่ (มหาสากวนสณฺโฑ) ใกล้สระโบกขรณี ข้างภูเขาหิมพานต์. เธอเหล่านั้น กลัวชาติจะระคนกัน จึงสมสู่กับพี่น้องหญิงของเธอเอง.

ต่อมาพระเจ้าอุกกากราชตรัสถามอำมาตย์ว่า บัดนี้กุมารเหล่านั้นอยู่ที่ไหน อำมาตย์กราบทูลว่า บัดนี้กุมารเหล่านั้นเสด็จอยู่ณ ป่าสากใหญ่ ซึ่งอยู่ใกล้ สระโบกขรณี ข้างภูเขาหิมพานต์ พระกุมารทั้งหลาย กลัวชาติระคนกัน จึงสมสู่ กับภคินีของตนเอง.

ขณะนั้นพระเจ้าอุกกากราชทรงเปล่งพระอุทานว่า กุมารผู้อาจหาญหนอ กุมารผู้อาจหาญ อย่างยิ่งหนอ. (สกฺยา วต โภ กุมารา ปรมสกฺยา วต โภ กุมาราติ) เพราะเหตุนั้นเป็นเดิม จึงเป็นพวกที่ได้ชื่อว่า ‘สากยะ’1 (สกฺยา) สืบมา…

1. ชื่อนี้มีมูลมาจากต้นสากก็ได้, แห่งคำ ว่ากล้าหาญก็ได้, เพราะสักก-กล้าหาญ. สักกเราเรียกในเสียง ภาษาไทยกันว่า สากยะ. -ผู้แปล

หน้า 43

20 การอยู่ในหมู่เทพชั้นดุสิต
-บาลี อุปริ. ม. ๑๔/๒๔๗-๒๔๘/๓๖๐-๓๖๒.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้อนี้ ข้าพระองค์ได้ฟังมาเฉพาะพระพักตร์ พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้จำมาแต่ที่เฉพาะ พระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า “อานนท์ ! โพธิสัตว์ มีสติ รู้ตัวทั่วพร้อม บังเกิดขึ้นในหมู่เทพชั้นดุสิต” ดังนี้.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้อที่พระโพธิสัตว์ มีสติ รู้ตัวทั่วพร้อมบังเกิดขึ้น ในหมู่เทพชั้นดุสิตนี้ ข้าพระองค์ย่อมถือไว้ว่า เป็นของน่าอัศจรรย์ ไม่เคยมี เกี่ยวกับพระผู้มีพระภาค.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้อนี้ ข้าพระองค์ได้ฟังมาเฉพาะพระพักตร์ พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้จำมาแต่ที่เฉพาะพระพักตร์ พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า “อานนท์ ! โพธิสัตว์ มีสติ รู้ตัวทั่วพร้อม ดำรงอยู่ในหมู่เทพชั้นดุสิต” ดังนี้.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้อที่พระโพธิสัตว์ มีสติ รู้ตัวทั่วพร้อมดำรงอยู่ในหมู่เทพ ชั้นดุสิตนี้ ข้าพระองค์ย่อมถือไว้ว่า เป็นของน่าอัศจรรย์ไม่เคยมีเกี่ยวกับพระผู้มี พระภาค.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้อนี้ ข้าพระองค์ได้ฟังมาเฉพาะพระพักตร์ พระผู้มี พระภาคเจ้า ได้จำมาแต่ที่เฉพาะพระพักตร์ พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า “อานนท์ ! โพธิสัตว์ มีสติ รู้ตัวทั่วพร้อม ดำรงอยู่ในหมู่เทพชั้นดุสิต จนกระทั่งตลอดกาล แห่งอายุ” ดังนี้.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้อที่พระโพธิสัตว์ มีสติ รู้ตัวทั่วพร้อมดำรงอยู่ในหมู่เทพ ชั้นดุสิต จนกระทั่งตลอดกาลแห่งอายุนี้ ข้าพระองค์ย่อมถือไว้ว่าเป็นของ น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีเกี่ยวกับ พระผู้มีพระภาค.

หน้า 45

21 การจุติจากดุสิตลงสู่ครรภ์

-บาลี อุปริ. ม. ๑๔/๒๔๘/๓๖๓.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้อนี้ ข้าพระองค์ได้ฟังมาเฉพาะพระพักตร์ พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้จำมาแต่ที่ เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า “อานนท์ ! โพธิสัตว์ มีสติ รู้ตัวทั่วพร้อม จุติจาก หมู่เทพชั้นดุสิต* ก้าวลงสู่ครรภ์แห่งมารดา” ดังนี้.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! แม้ข้อนี้ ข้าพระองค์ย่อมถือไว้ว่าเป็นของน่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีเกี่ยวกับ พระผู้มีพระภาค.
* (เทวดาชั้นกามภพ : 1.จาตุ 2.ดาวดึงส์ 3.ยามา 4.ดุสิต 5.นิมาน 6.ปรนิมมิต)

หน้า 46

22เกิดแสงสว่าง เนื่องด้วย การจุติจากดุสิต

-บาลี อุปริ. ม. ๑๔/๒๔๘-๒๔๙/๓๖๔.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้อนี้ ข้าพระองค์ได้ฟังมาเฉพาะพระพักตร์ พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้จำมาแต่ที่เฉพาะ พระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า “อานนท์ ! โพธิสัตว์ มีสติ รู้ตัวทั่วพร้อม จุติจากหมู่เทพชั้นดุสิตแล้ว ก้าวลงสู่ครรภ์แห่งมารดา ในขณะนั้นแสงสว่างอันโอฬาร จนหาประมาณมิได้ ยิ่งใหญ่กว่าอานุภาพของเทวดาทั้งหลายจะบันดาลได้ ได้ปรากฏขึ้น ในโลกพร้อม ทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์.(ทั่วทั้งโลกธาตุ)

ถึงแม้ในโลกันตริกนรก อันโล่ง โถงไม่มีอะไรปิดกั้นแต่มืดมน หาการเกิดแห่ง จักขุวิญญาณมิได้ อันแสงสว่างแห่งดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์ อันมีฤทธิ์อานุภาพอย่างนี้ส่องไปไม่ถึงนั้น แม้ในที่นั้น แสงสว่างอันโอฬาร จนหาประมาณมิได้ยิ่งใหญ่กว่าอานุภาพของเทวดาทั้งหลาย จะบันดาลได้ ก็ได้ปรากฏขึ้นเหมือนกัน สัตว์ที่เกิดอยู่ ณ ที่นั้น จะรู้จักกันได้

ด้วยแสงสว่างนั้น พากันร้องว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลายเอ๋ยผู้อื่นอันเกิดอยู่ในที่นี้ นอกจากเรา ก็มีอยู่เหมือนกัน ดังนี้. และหมื่นโลกธาตุนี้ ก็หวั่นไหว สั่นสะเทือนสะท้าน. แสงสว่าง อันโอฬาร จนหาประมาณมิได้ ได้ปรากฏขึ้นในโลก เกินกว่าอานุภาพของเทวดาทั้งหลายจะบันดาลได้” ดังนี้.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! แม้ข้อนี้ ข้าพระองค์ย่อมถือไว้ว่าเป็นของน่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีเกี่ยวกับ พระผู้มีพระภาค.
(มีพระสูตรที่ได้ตรัสไว้เช่นเดียวกันนี้อีก คือ สัตตมสูตร ภยวัคค์-บาลี จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๗๖/๑๒๗. -ผู้แปล)

หน้า 48

23 แผ่นดินไหว เนื่องด้วยการจุติ

-บาลี อฏฺฐก. อํ. ๒๓/๓๒๒, ๓๒๓/๑๖๗.

อานนท์ ! เหตุปัจจัยที่ทำให้ปรากฏการไหวแห่งแผ่นดินอันใหญ่หลวง มีอยู่แปดประการ. ...อานนท์ ! เมื่อใด โพธิสัตว์จุติจากหมู่เทพชั้นดุสิต มีสติสัมปชัญญะ ก้าวลงสู่ครรภ์แห่งมารดา  เมื่อนั้นแผ่นดิน ย่อมหวั่นไหว ย่อมสั่นสะเทือน ย่อมสั่นสะท้าน. อานนท์ !นี้เป็นเหตุปัจจัยคำรบสาม แห่งการปรากฏการไหว ของแผ่นดินอันใหญ่หลวง.

หน้า 49

24 การลงสู่ครรภ์

-บาลี อุปริ. ม. ๑๔/๒๔๙/๓๖๕.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้อนี้ ข้าพระองค์ได้ฟังมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มี พระภาคเจ้า ได้จำมาแต่ที่ เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า “อานนท์ ! ในกาลใด โพธิสัตว์กำลังก้าวลงสู่ครรภ์ แห่งมารดา ในกาลนั้น เทพบุตรทั้งหลาย ย่อมทำการอารักขาในทิศทั้งสี่แก่โพธิสัตว์ โดยประสงค์ว่า มนุษย์ หรืออมนุษย์หรือใครๆก็ตาม อย่าได้เบียดเบียนโพธิสัตว์ หรือมารดา แห่งโพธิสัตว์เลย” ดังนี้.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! แม้ข้อนี้ข้าพระองค์ย่อมถือไว้ว่าเป็นของน่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีเกี่ยวกับ พระผู้มีพระภาค.

หน้า 50

25 การอยู่ในครรภ์

-บาลี อุปริ. ม. ๑๔/๒๔๙-๒๕๑/๓๖๖-๓๖๙, ๓๗๑.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้อนี้ ข้าพระองค์ได้ฟังมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มี พระภาคเจ้า ได้จำมาแต่ที่เฉพาะ พระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า“อานนท์ ! ในกาลใด โพธิสัตว์ก้าวลงสู่ครรภ์ แห่งมารดา ในกาลนั้น มารดาแห่งโพธิสัตว์ ย่อมเป็นผู้มีศีลอยู่โดยปกติ เป็นผู้เว้นจากปาณาติบาต เว้นจากอทินนาทาน เว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร เว้นจากมุสาวาท เว้นจากสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้ง ของความประมาท” ดังนี้.

…“อานนท์ ! ในกาลใด โพธิสัตว์ก้าวลงสู่ครรภ์แห่งมารดา ในกาลนั้น มารดาแห่งโพธิสัตว์ ย่อมไม่มีความคิดอันเจือด้วยกามคุณในบุรุษทั้งหลาย อนึ่ง มารดาแห่งโพธิสัตว์ย่อมเป็นผู้ที่บุรุษใดๆ ไม่คิดจะล่วงเกินด้วยจิตอันกำหนัด” ดังนี้.

…“อานนท์ ! ในกาลใด โพธิสัตว์ก้าวลงสู่ครรภ์แห่งมารดา ในกาลนั้นมารดาแห่ง โพธิสัตว์ เป็นผู้มีลาภด้วยกามคุณทั้งห้า 1 มารดาแห่งโพธิสัตว์นั้น อิ่มเอิบด้วย กามคุณทั้งห้า เพียบพร้อมด้วย กามคุณทั้งห้า ให้เขาประคบประหงมอยู่” ดังนี้.

1. กามคุณห้า ในทีนี่้ หมายเพียงเครื่องบำรุงตามธรรมดา มิได้หมายถึงที่เกียวกับ กามารมณ์โดยตรง เพราะมีปฎิเสธอยู่ในข้อต้นจากนี้อยู่แล้ว. -ผู้แปล

…“อานนท์ ! ในกาลใด โพธิสัตว์ก้าวลงสู่ครรภ์แห่งมารดา ในกาลนั้น มารดาแห่งโพธิสัตว์ ย่อมไม่มีอาพาธไรๆ มีความสุขไม่อ่อนเพลีย อนึ่ง มารดาแห่งโพธิสัตว์ ย่อมแลเห็นโพธิสัตว์ ผู้อยู่ในครรภ์มารดา มีอวัยวะน้อยใหญ่สมบูรณ์ มีอินทรีย์ไม่ทราม. เหมือนอย่างว่าแก้วไพฑูรย์ อันงดงามโชติช่วงสดใสเจียระไนดีแล้ว มีด้ายร้อยอยู่ในแก้วนั้น สีเขียวเหลืองแกมเขียว แดง ขาว หรือเหลือง ก็ตาม บุรุษที่ตายังดีเอาแก้วนั้นวางบนฝ่ามือแล้ว ย่อมมองเห็นชัดเจนว่า นี้แก้วไพฑูรย์ อันงดงามโชติช่วงสดใส เจียระไนดีแล้ว นี้ด้ายซึ่งร้อยอยู่ในแก้วนั้น จะเป็นสีเขียว เหลืองแกมเขียว แดง ขาวหรือเหลือง ก็ตาม ฉันใดก็ฉันนั้น ที่มารดาแห่งโพธิสัตว์เป็นผู้ไม่มีอาพาธ มีความสบาย ไม่อ่อนเพลีย แลเห็นโพธิสัตว์ผู้นั่งอยู่ในครรภ์ มีอวัยวะน้อยใหญ่สมบูรณ์ มีอินทรีย์ไม่ทราม”ดังนี้.

…“อานนท์ ! หญิงอื่นๆ อุ้มครรภ์ไว้เก้าเดือนบ้างสิบเดือนบ้าง จึงจะคลอด ส่วนมารดาแห่งโพธิสัตว์ ไม่เป็นเช่นนั้น ย่อมอุ้มครรภ์ไว้สิบเดือนเต็มทีเดียว แล้วจึงคลอด”ดังนี้.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! แม้ข้อนี้ๆ ข้าพระองค์ย่อมถือไว้ว่าเป็นของน่าอัศจรรย์ ไม่เคยมี เกี่ยวกับพระผู้มี พระภาค.

หน้า 52

26 การประสูติ

-บาลี อุปริ. ม. ๑๔/๒๕๑-๒๕๓/๓๗๒-๓๗๗.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้อนี้ ข้าพระองค์ได้ฟังมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มี พระภาคเจ้า ได้จำมาแต่ที่เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า ว่า “อานนท์ ! หญิงอื่นๆ ย่อมนั่งคลอดบ้าง นอนคลอดบ้าง. ส่วนมารดาแห่งโพธิสัตว์ หาเป็นอย่างนั้นไม่ มารดาแห่งโพธิสัตว์ ย่อมยืนคลอดโพธิสัตว์” ดังนี้.

…“อานนท์ ! ในกาลใด โพธิสัตว์ออกมาจากท้องแห่งมารดา ในกาลนั้น เทวดาทั้งหลายย่อมเข้ารับก่อน ส่วนมนุษย์ทั้งหลายย่อมเข้ารับต่อ ภายหลัง” ดังนี้.

…“อานนท์ ! ในกาลใด โพธิสัตว์ออกมาจากท้องแห่งมารดายังไม่ทันถึงแผ่นดิน เทพบุตรทั้งสี่ ย่อมรับเอามาวางตรงหน้าแห่งมารดา ทูลว่า แม่เจ้าจงพอพระทัยเถิด บุตรอันมีศักดาใหญ่ ของแม่เจ้าเกิดแล้ว ดังนี้.

…“อานนท์ ! ในกาลใด โพธิสัตว์ออกมาจากท้องแห่งมารดา ในกาลนั้น เป็นผู้สะอาดหมดจด ไม่เปื้อนด้วยเมือก ไม่เปื้อนด้วยเสมหะ ไม่เปื้อนด้วยเลือด ไม่เปื้อนด้วยหนอง ไม่เปื้อนด้วยของ ไม่สะอาด อย่างใดๆ เป็นผู้บริสุทธิ์สะอาด หมดจดมาทีเดียว. เหมือนอย่างว่าแก้วมณีที่วาง

อยู่บนผ้าเนื้อเกลี้ยงอันมาแต่แคว้นกาสี แก้วก็ไม่เปื้อนผ้าผ้าก็ไม่เปื้อนแก้ว เพราะเหตุใด เพราะเหตุว่ามัน เป็นของสะอาดหมดจดทั้งสองอย่าง  ฉันใดก็ฉันนั้น ที่โพธิสัตว์ออกมาจากท้องแห่งมารดา เป็นผู้สะอาดหมดจด ไม่เปื้อนด้วยเมือก ไม่เปื้อนด้วยเสมหะ ไม่เปื้อนด้วยเลือด ไม่เปื้อนด้วยหนอง ไม่เปื้อนด้วยของไม่สะอาดอย่างใดๆ เป็นผู้บริสุทธิ์สะอาดหมดจดมาทีเดียว” ดังนี้.

…“อานนท์ ! ในกาลใด โพธิสัตว์ออกมาจากท้องแห่งมารดา ในกาลนั้น ท่อธารแห่งนํ้าสองท่อ ปรากฏจากอากาศ เย็นท่อหนึ่ง ร้อนท่อหนึ่ง อันเขาใช้ในกิจอันเนื่องด้วยน้ำแก่โพธิสัตว์ และแก่มารดา” ดังนี้.

…“อานนท์ ! โพธิสัตว์ผู้คลอดแล้วเช่นนี้ เหยียบพื้นดินด้วยฝ่าเท้าอันสม่ำเสมอ มีพระพักตร์ ทางทิศเหนือ ก้าวไป ๗ ก้าว มีฉัตรสีขาวกั้นอยู่ ณ เบื้องบน ย่อมเหลียวดูทิศทั้งหลาย และกล่าว อาสภิวาจา1 ว่า “เราเป็นผู้เลิศแห่งโลก เราเป็นผู้เจริญที่สุดแห่งโลก เราเป็นผู้ประเสริฐสุดแห่งโลก. ชาตินี้เป็นชาติ สุดท้าย. บัดนี้ภพใหม่ย่อมไม่มี” ดังนี้.

1. อาสภิวาจา คือวาจาอันประกาศความสูงสุด ภาษาบาลีมีว่า อคฺโคหมสฺมิ โลกสฺสเชฏโฐหมสฺมิ โลกสฺส เสฏโฐหมสฺมิ โลกสฺส. อยมนฺติมาชาติ. นตฺถิทานิ ปุนพภฺโว.อคฺโค หมายถึงเป็นยอดคน. เชฏฺโฐ หมายถึงพี่ใหญ่ กว่าเขาทั้งหมด. เสฏฺโฐหมายถึง สูงด้วยคุณธรรม กว่าเขาทั้งหมด. คำ ทั้งสามนี้น่าคิดดู. -ผู้แปล

หน้า 54

27 เกิดแสงสว่าง เนื่องด้วยการประสูติ

-บาลี อุปริ. ม. ๑๔/๒๕๓-๒๕๔/๓๗๘.

…“อานนท์ ! ในกาลใด โพธิสัตว์คลอดจากท้องแห่งมารดา ในกาลนั้นแสงสว่างอันโอฬาร จนหาประมาณมิได้ ยิ่งใหญ่กว่าอานุภาพของเทวดาทั้งหลาย จะบันดาลได้ได้ปรากฏขึ้นในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลกในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์.

ถึงแม้ในโลกันตริกนรก อันโล่งโถงไม่มีอะไรปิดกั้นแต่มืดมน หาการเกิดแห่งจักขุวิญญาณมิได้ อันแสงสว่างแห่งดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์ อันมีฤทธิ์อานุภาพอย่างนี้ ส่องไปไม่ถึงนั้น แม้ในที่นั้น แสงสว่างอันโอฬาร จนหาประมาณมิได้ ยิ่งใหญ่กว่าอานุภาพของเทวดาทั้งหลายจะบันดาลได้ ก็ได้ปรากฏขึ้นเหมือนกัน. สัตว์ที่เกิดอยู่ในที่นั้น จะรู้จักกันได้ด้วยแสงสว่างนั้น พากันร้องว่า ‘ท่านผู้เจริญทั้งหลายเอ๋ยผู้อื่นอันเกิดอยู่ในที่นี้ นอกจากเราก็มีอยู่เหมือนกัน’ ดังนี้.

และหมื่นโลกธาตุนี้ก็หวั่นไหวสั่นสะเทือนสะท้าน. แสงสว่าง อันโอฬารจนหาประมาณมิได้ ได้ปรากฏขึ้นในโลก เกินกว่าอานุภาพของเทวดาทั้งหลาย จะบันดาลได้” ดังนี้.

หน้า 55

28 แผ่นดินไหว เนื่องด้วยการประสูติ
-บาลี อฏฺฐก. อํ. ๒๓/๓๒๒, ๓๒๓/๑๖๗.

อานนท์ ! เหตุปัจจัยที่ทำให้ปรากฏการไหวแห่งแผ่นดินอันใหญ่หลวง มีอยู่แปดประการ. ...อานนท์ ! เมื่อใด โพธิสัตว์ มีสติสัมปชัญญะ ออกจากท้องแห่งมารดา เมื่อนั้น แผ่นดินย่อมหวั่นไหว ย่อมสั่นสะเทือน ย่อมสั่นสะท้าน. อานนท์ ! นี้เป็นเหตุปัจจัยคำรบสี่ แห่งการปรากฏการไหว แห่งแผ่นดินอันใหญ่หลวง.

หน้า 56

29 ประกอบด้วยมหาปุริสลักขณะ ๓๒

-บาลี ปา. ที. ๑๑/๑๕๗-๑๕๙/๑๓๐.

ภิกษุทั้งหลาย ! มหาบุรุษ (คือพระองค์เองก่อนผนวช) ผู้ประกอบด้วย มหาปุริสลักขณะ ๓๒ ประการ ย่อมมีคติเป็นสอง หาเป็นอย่างอื่นไม่ คือ :-

ถ้าเป็นฆราวาส ย่อมเป็นจักรพรรดิผู้ประกอบด้วยธรรม เป็นพระราชาโดยธรรม มีแว่นแคว้น จดมหาสมุทรทั้งสี่ เป็นที่สุด มีชนบทอันบริบูรณ์ ประกอบด้วยแก้ว ๗ ประการ.

แก้ว ๗ ประการ ย่อมเกิดแก่มหาบุรุษนั้น คือ จักรแก้ว ช้างแก้วม้าแก้ว แก้วมณี นางแก้ว คหบดีแก้ว และปริณายกแก้วเป็นที่ ๗. มีบุตรผู้กล้าหาญ มีแววแห่งคนกล้าอันใครๆจะย่ำยีมิได้ ตามเสด็จกว่า ๑๐๐๐.

มหาบุรุษนั้นชนะแล้วครอบครองแผ่นดินมีสาครเป็นที่สุดโดยรอบ ไม่มีหลักตอเสี้ยนหนาม มั่งคั่ง เบิกบาน เกษม ร่มเย็น ปราศจากเสนียดคือโจร ทรงครอบครองโดยธรรมอันสม่ำเสมอ มิใช่โดยอาญาและศาสตรา.

ถ้าออกบวชจากเรือน เป็นผู้ไม่มีประโยชน์เกื้อกูลด้วยเรือน ย่อมเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า มีกิเลสเครื่องปกปิดอันเปิดแล้ว ในโลก.

ภิกษุทั้งหลาย! มหาปุริสลักขณะ ๓๒ ประการนั้น เหล่าไหนเล่า คือ :-
๑. มหาบุรุษ มีพื้นเท้าสม่ำเสมอ.
๒. มหาบุรุษ ที่ฝ่าเท้ามีจักรเกิดแล้ว, มีซี่ตั้งพัน พร้อมทั้งกงและดุม.
๓. มหาบุรุษ มีส้นเท้ายาว.
๔. มหาบุรุษ มีข้อนิ้วยาว.
๕. มหาบุรุษ มีฝ่ามือฝ่าเท้าอ่อนละมุน.
๖. มหาบุรุษ มีลายฝ่ามือฝ่าเท้าดุจตาข่าย.
๗. มหาบุรุษ มีข้อเท้าอยู่สูง.
๘. มหาบุรุษ มีแข้งดุจแข้งเนื้อทราย.
๙. มหาบุรุษ ยืนไม่ย่อตัวลงแตะเข่าได้ด้วยมือทั้งสอง.
๑๐. มหาบุรุษ มีองคชาตตั้งอยู่ในฝัก.
๑๑. มหาบุรุษ มีสีกายดุจทอง คือมีผิวหนังดุจทอง.
๑๒. มหาบุรุษ มีผิวหนังละเอียด ละอองจับไม่ได้.
๑๓. มหาบุรุษ มีขนขุมละเส้น เส้นหนึ่งๆอยู่ขุมหนึ่งๆ.
๑๔. มหาบุรุษ มีปลายขนช้อนขึ้น สีดุจดอกอัญชันขึ้นเวียนขวา.
๑๕. มหาบุรุษ มีกายตรงดุจกายพรหม.
๑๖. มหาบุรุษ มีเนื้อนูนหนาในที่ ๗ แห่ง (คือหลังมือหลังเท้าบ่าคอ).
๑๗. มหาบุรุษ มีกายข้างหน้า ดุจราชสีห์.
๑๘. มหาบุรุษ มีหลังเต็ม (ไม่มีร่องหลัง).
๑๙. มหาบุรุษ มีทรวดทรงดุจต้นไทร กายกับวาเท่ากัน.
๒๐. มหาบุรุษ มีคอกลมเกลี้ยง.
๒๑. มหาบุรุษ มีประสาทรับรสอันเลิศ.
๒๒. มหาบุรุษ มีคางดุจคางราชสีห์.
๒๓. มหาบุรุษ มีฟัน ๔๐ ซี่บริบูรณ์.
๒๔. มหาบุรุษ มีฟันเรียบเสมอ.
๒๕. มหาบุรุษ มีฟันสนิท (ชิด).
๒๖. มหาบุรุษ มีเขี้ยวสีขาวงาม.
๒๗. มหาบุรุษ มีลิ้น (ใหญ่และยาว) เพียงพอ.
๒๘. มหาบุรุษ มีเสียงดุจเสียงพรหม พูดเหมือนนกการวิก.
๒๙. มหาบุรุษ มีตาเขียวสนิท (สีนิล).
๓๐. มหาบุรุษ มีตาดุจตาวัว.
๓๑. มหาบุรุษ มีอุณาโลมหว่างคิ้ว ขาวอ่อนเหมือนสำลี.
๓๒. มหาบุรุษ มีศีรษะรับกับกรอบหน้า.
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เป็นมหาปุริสลักขณะ ๓๒ ประการของมหาบุรุษ.

หน้า 59

30 ประสูติได้ ๗ วัน พระชนนีทิวงคต
-บาลี อุ. ขุ. ๒๕/๑๔๕/๑๑๑.

…ถูกแล้วอานนท์ ! ถูกแล้วอานนท์ ! จริงเทียวมารดาแห่ง โพธิสัตว์มีชนมายุน้อย. เมื่อประสูติพระโพธิสัตว์แล้วได้ ๗ วัน มารดาแห่งโพธิสัตว์ย่อมสวรรคต ย่อมเข้าถึงเทวนิกาย ชั้นดุสิต.(ชั้นเดียวกับพระโพธิสัตว์)

หน้า 60

31 ทรงได้รับการบำเรอ
-บาลี ติก. อํ. ๒๐/๑๘๓-๑๘๕/๔๗๘.

ภิกษุทั้งหลาย ! เราเป็นผู้ละเอียดอ่อน ละเอียดอ่อนอย่างยิ่ง ละเอียดอ่อนอย่างที่สุด ดังเราจะเล่าให้ฟัง.

ภิกษุทั้งหลาย ! เขาขุดสระ ๓ สระในวังแห่งบิดาของเรา ในสระหนึ่งปลูกอุบล (บัวเขียว) สระหนึ่งปลูกปทุม (บัวหลวง) สระหนึ่งปลูกบุณฑริกะ (บัวขาว) เพื่อประโยชน์แก่เรา.

ภิกษุทั้งหลาย ! มิใช่ว่าจันทน์ที่เราใช้อย่างเดียวที่มาแต่เมืองกาสี ถึงผ้าโพก เสื้อ ผ้านุ่ง ผ้าห่ม ก็ล้วนมาแต่เมืองกาสี. ภิกษุทั้งหลาย ! เขาคอยกั้นเศวตฉัตรให้เราด้วยหวังว่าความหนาว ความร้อน ละออง หญ้า หรือน้ำค้าง อย่าได้ถูกต้องเรา ทั้งกลางวันและกลางคืน.

ภิกษุทั้งหลาย ! มีปราสาทสำหรับเรา ๓ หลัง หลังหนึ่งสำหรับฤดูหนาว หลังหนึ่งสำหรับฤดูร้อน และหลังหนึ่งสำหรับฤดูฝน. เราอยู่บนปราสาทสำหรับฤดูฝนตลอดสี่เดือนฤดูฝน ให้เขาบำเรอ อยู่ด้วยดนตรีอันปราศจากบุรุษ ไม่ลงจากปราสาททั้งหลาย.

ภิกษุทั้งหลาย ! ในวังของบิดาเรา เขาให้ข้าวสุกแห่งข้าวสาลี เจือด้วยเนื้อแก่ทาสและคนงาน (ดาษดื่น) เช่นเดียวกับที่ที่อื่น เขาให้ข้าวปลายเกรียน กับน้ำส้มแก่พวกทาสและคนใช้.

ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อเราเพียบพร้อมไปด้วยการได้ตามใจตัวถึงเพียงนี้ มีการได้รับความ ประคบประหงม ถึงเพียงนี้ ความคิดก็ยังบังเกิดแก่เราว่า “ปุถุชนที่มิได้ยินได้ฟังทั้งที่ตัวเอง จะต้องแก่ ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้ แต่ครั้นเห็นคนอื่นแก่ ก็นึกอิดหนาระอาใจ สะอิดสะเอียน ไม่นึกถึงตัวเสียเลย. ถึงเราเองก็เหมือนกัน จะต้องแก่ ไม่ข้ามพ้นความแก่ไปได้ แต่ว่าเมื่อจะต้องแก่ ไม่พ้นความแก่ไปได้แล้วจะมาลืมตัว อิดหนาระอาใจ สะอิดสะเอียน เมื่อเห็นคนอื่นแก่นั้น ไม่เป็นการสมควรแก่เรา”.

ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อเราพิจารณาได้เช่นนี้ ความมัวเมาในความหนุ่มของเรา ได้หายไปหมดสิ้น. ภิกษุทั้งหลาย ! ปุถุชนที่ไม่ได้ยินได้ฟัง ทั้งที่ตัวเองจะต้องเจ็บไข้ ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้ ครั้นเห็นคนอื่นเจ็บไข้ ก็นึกอิดหนาระอาใจ สะอิดสะเอียน ไม่นึกถึงตัวเสียเลย.

ถึงเราเองก็เหมือนกัน จะต้องเจ็บไข้ ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้ แต่ว่าเมื่อจะต้องเจ็บไข้ ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้แล้วจะมาลืมตัว อิดหนาระอาใจ สะอิดสะเอียน เมื่อเห็นคนอื่นเจ็บไข้นั้น ไม่เป็นการสมควรแก่เรา.

ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อเราพิจารณาได้เช่นนี้ ความมัวเมาในความไม่มีโรค ของเราก็หายไปหมดสิ้น. ภิกษุทั้งหลาย ! ปุถุชนที่ไม่ได้ยินได้ฟัง ทั้งที่ตัวเองจะต้องตาย ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้ ครั้นเห็นคนอื่นตายก็อิดหนาระอาใจ สะอิดสะเอียน ไม่นึกถึงตัวเสียเลย.

ถึงเราเองก็เหมือนกัน จะต้องตาย ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้แต่ว่าเมื่อจะต้องตาย ไม่ล่วงพ้นความตาย ไปได้แล้ว จะมาลืมตัว อิดหนาระอาใจ สะอิดสะเอียน เมื่อเห็นคนอื่นตายนั้นไม่เป็นการสมควรแก่เรา.

ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อเราพิจารณาได้เช่นนี้ ความมัวเมาในชีวิตความเป็นอยู่ ของเราได้หายไปหมดสิ้น.