เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
รวม้รื่อง สังโยชน์ พุทธวจน
หนังสือพุทธวจนออนไลน์   ดูหนังสือทั้งหมด
90 90 90 90 90
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์  
   
ค้นหาคำที่ต้องการ              

  สังโยชน์ - พุทธวจน ดาวน์โหลดหนังสือ(ไฟล์ PDF)
  
  11 of 11    
 
  สังโยชน์ พุทธวจน  ที่มา : http://watnapp.com/files  
       
    สารบัญ เลขหน้า
ตามหนังสือ
 
  บทที่    
  ๑๐๓ / การเห็นเพื่อละสัญโญชน์ 296  
  ๑๐๔ / การเห็นเพื่อเพิกถอนสัญโญชน์ 298  
  ๑๐๕ / ธรรมโดยย่อ เพื่อการหลุดพ้น (นัยที่ ๑) 300  
  ๑๐๖ / ธรรมโดยย่อ เพื่อการหลุดพ้น (นัยที่ ๒) 302  
  ๑๐๗ / ข้อปฏิบัติเพื่อบรรลุมรรคผล ของคนเจ็บไข้ 303  
  ๑๐๘ / เจริญกายคตาสติ เป็นไปเพื่อปัญญา 304  
  ๑๐๙ / ละอนุสัย ๓ ได้ เพราะละเวทนาได้* 307  
  ๑๑๐ / ละอนุสัย ๓ ได้เพราะละเวทนาได้ * 308  
  ๑๑๑ / การละเวทนา ๓ 311  
  *(ห้วเรื่องเหมือนกัน)    
  จบ    
 
 



หน้า 296
๑๐๓/การเห็นเพื่อละสัญโญชน์

-บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๓๗/๕๗.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อรู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่อย่างไร จึงจะละสัญโญชน์ได้.

ภิกษุ เมื่อรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งตา โดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละสัญโญชน์ได้.

เมื่อรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งรูปทั้งหลาย … .
เมื่อรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งจักษุวิญญาณ … .
เมื่อรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งจักษุสัมผัส … .
เมื่อรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น เพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละสัญโญชน์ได้.

ภิกษุ เมื่อรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งหู … ซึ่งเสียงทั้งหลาย
… ซึ่งโสตวิญญาณ … ซึ่งโสตสัมผัส … ซึ่งสุขเวทนา ทุกขเวทนา
หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะโสตสัมผัสเป็นปัจจัย
โดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละสัญโญชน์ได้.

ภิกษุ เมื่อรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งจมูก … ซึ่ง กลิ่น ทั้งหลาย
… ซึ่งฆานวิญญาณ … ซึ่งฆานสัมผัส … ซึ่งสุขเวทนา ทุกขเวทนา
หรืออ ทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัย
โดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละสัญโญชน์ได้.

ภิกษุ เมื่อรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งลิ้น … ซึ่งรสทั้งหลาย
… ซึ่งชิวหาวิญญาณ … ซึ่งชิวหาสัมผัส … ซึ่งสุขเวทนา
ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละสัญโญชน์ได้.

ภิกษุ เมื่อรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งกาย … ซึ่งโผฏฐัพพะ
ทั้งหลาย … ซึ่งกายวิญญาณ … ซึ่งกายสัมผัส … ซึ่งสุขเวทนา
ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น เพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละสัญโญชน์ได้.

ภิกษุ เมื่อรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งใจ … ซึ่งธรรมทั้งหลาย
… ซึ่งมโนวิญญาณ … ซึ่งมโนสัมผัส … ซึ่งสุขเวทนา ทุกขเวทนา
หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย
โดยความเป็นของ ไม่เที่ยง ย่อมละสัญโญชน์ได้.

ภิกษุ เมื่อรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล ย่อมละ สัญโญชน์ได้.



หน้า298

๑๐๔/การเห็นเพื่อเพิกถอนสัญโญชน์

-บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๓๘/๕๘.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อรู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่อย่างไร สัญโญชน์ จึงถึงความ เพิกถอน.

ภิกษุ เมื่อรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งตา โดยความเป็นอนัตตา
สัญโญชน์จึงถึงความเพิกถอน.
เมื่อรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งรูปทั้งหลาย … .
เมื่อรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งจักษุวิญญาณ … .
เมื่อรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งจักษุสัมผัส … .
เมื่อรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น เพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัยโดยความเป็นอนัตตา สัญโญชน์จึงถึงความเพิกถอน.

ภิกษุ เมื่อรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งหู … ซึ่งเสียงทั้งหลาย
… ซึ่งโสตวิญญาณ … ซึ่งโสตสัมผัส … ซึ่งสุขเวทนา ทุกขเวทนา
หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะโสตสัมผัสเป็นปัจจัย
โดยความเป็นอนัตตา สัญโญชน์จึงถึงความเพิกถอน.

ภิกษุ เมื่อรู้อยู่ เห็นอยู่ ซึ่งจมูก … ซึ่งกลิ่น ทั้งหลาย
… ซึ่งฆานวิญญาณ … ซึ่งฆานสัมผัส … ซึ่งสุขเวทนา ทุกขเวทนา
หรือ อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัย
โดยความเป็นอนัตตา สัญโญชน์จึงถึงความเพิกถอน.

ภิกษุ เมื่อรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งลิ้น … ซึ่งรสทั้งหลาย
… ซึ่งชิวหาวิญญาณ … ซึ่งชิวหาสัมผัส … ซึ่งสุขเวทนา
ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะชิวหา สัมผัสเป็นปัจจัย
โดยความเป็นอนัตตา สัญโญชน์จึงถึงความเพิกถอน.

ภิกษุ เมื่อรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งกาย … ซึ่งโผฏฐัพพะ ทั้งหลาย
… ซึ่งกายวิญญาณ … ซึ่งกายสัมผัส … ซึ่งสุขเวทนา ทุกขเวทนา
หรือ อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น เพราะกายสัมผัส เป็นปัจจัย โดยความเป็นอนัตตา สัญโญชน์จึงถึงความเพิกถอน.

ภิกษุ เมื่อรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งใจ … ซึ่งธรรมทั้งหลาย
… ซึ่งมโนวิญญาณ … ซึ่งมโนสัมผัส … ซึ่งสุขเวทนา ทุกขเวทนา
หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย
โดยความเป็นอนัตตา สัญโญชน์จึงถึงความเพิกถอน.

ภิกษุ เมื่อรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล สัญโญชน์ จึงถึงความเพิกถอน.

[จากพระสูตรที่พบตอนนี้ ในหน้า 296 และหน้า 298มีการเห็น ๒ แบบ คือ เห็นโดยความเป็นของ ไม่เที่ยง และเห็นโดยความเป็นอนัตตาการเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง ให้ผล ๔ แบบ คือ ย่อมละอวิชชาได้ วิชชาย่อมเกิดขึ้น, ย่อมละสัญโญชน์ได้ (สญฺโญชนา ปหียนฺตีติ),ย่อมละ อาสวะได้, ย่อมละอนุสัยได้ส่วนการเห็นโดยความเป็นอนัตตา ให้ผล ๓ แบบ คือ สัญโญชน์จึงถึง ความเพิกถอน (สญฺโญชนา สมุคฺฆาตํ คจฺฉนฺตีติ), อาสวะจึงถึงความเพิกถอน, อนุสัยจึงถึงความ เพิกถอน -คณะผู้รวบรวม]

หน้า300
๑๐๕/ธรรมโดยย่อ เพื่อการหลุดพ้น (นัยที่ ๑)

-บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๒๘/๓๖๔.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอโอกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรม แก่ข้าพระองค์โดยย่อ ซึ่งเมื่อข้าพระองค์ได้ฟังแล้วจะ เป็นผู้หลีกออกผู้เดียว เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่เถิด.

อานนท์ เธอจะสำคัญความข้อนี้ ว่าอย่างไร
รูปเที่ยง หรือไม่เที่ยง.
ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.
เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
ควรหรือหนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา
นั่นเป็นตัวตนของเรา ดังนี้.
ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

อานนท์ เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต หรือปัจจุบันก็ตาม อันมีอยู่ในภายใน หรือภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียด ก็ตาม เลวหรือประณีต ก็ตาม มีในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม รูปทั้งหมดนั้น เธอพึง เห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา.

(ในกรณีแห่งเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็มีการตรัสถาม และการทูลตอบ ซึ่งได้ตรัสอย่างเดียวกันทุกตัวอักษร กับในกรณีแห่งรูป ต่างกันแต่เพียงชื่อ แห่งขันธ์แต่ละขันธ์เท่านั้น).

อานนท์ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป แม้ใน เวทนา แม้ในสัญญา แม้ในสังขาร แม้ในวิญญาณ

เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้น แล้ว ย่อม มีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว เธอย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำสำเร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.


หน้า302
๑๐๖/ธรรมโดยย่อ เพื่อการหลุดพ้น (นัยที่ ๒)

-บาลี อุ. ขุ. ๒๕/๘๓/๔๙.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ความเป็นไปแห่งอันตรายแก่ชีวิตของ พระผู้มีพระภาคก็ดี ความเป็นไปแห่งอันตราย แก่ชีวิตของข้าพระองค์ก็ดี รู้ได้ยากแล

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรม แก่ข้าพระองค์ ขอพระสุคต โปรดแสดงธรรม เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อ ความสุข แก่ข้าพระองค์ สิ้นกาลนานเถิด.

พาหิยะ เพราะเหตุนั้นแล เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เมื่อเห็นแล้ว สักว่าเห็น (ทิฏฺเฐ ทิฏฺฐมตฺตํ ภวิสฺสติ) เมื่อฟังแล้ว สักว่าฟัง (สุเต สุตมตฺตํ ภวิสฺสติ) เมื่อรู้สึกแล้ว สักว่ารู้สึก (มุเต มุตมตฺตํ ภวิสฺสติ) เมื่อรู้แจ้งแล้ว สักว่ารู้แจ้ง (วิญฺญาเต วิญฺญาตมตฺตํ ภวิสฺสติ) พาหิยะ เธอพึงศึกษาอย่างนี้แล.

พาหิยะ ในกาลใด เมื่อเธอเห็นจักเป็นเพียง สักว่าเห็น เมื่อฟังจักเป็นเพียง สักว่า ฟัง เมื่อรู้สึกจัก เป็นเพียงสักว่ารู้สึก เมื่อรู้แจ้งจักเป็นเพียงสักว่ารู้แจ้ง ในกาลนั้น เธอย่อมไม่มี.

ในกาลใด เธอไม่มี เธอก็ไม่ปรากฏในโลกนี้ ไม่ปรากฏในโลกอื่น ไม่ปรากฏใน ระหว่างแห่งโลกทั้งสอง นั่นแหละ คือที่สุดแห่งทุกข์.


หน้า303

๑๐๗/ ข้อปฏิบัติเพื่อบรรลุมรรคผล
ของคนเจ็บไข้

-บาลี ปญฺจก. อํ. ๒๒/๑๖๐/๑๒๑.

ภิกษุทั้งหลาย ถ้าธรรม ๕ ประการ ไม่เว้นห่างไปเสีย จากคนเจ็บไข้ทุพพลภาพ คนใด เธอนั้นพึงหวังผลข้อนี้ คือ จักทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ได้ต่อกาลไม่นานเลย

ธรรม ๕ ประการเป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
(๑) พิจารณาเห็นความไม่งามในกาย
(๒) มีความสำคัญว่าเป็นของปฏิกูลในอาหาร
(๓) มีความสำคัญว่าโลกทั้งปวงไม่มีอะไรที่น่ายินดี
(๔) พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง
(๕) มีมรณสัญญาอันตั้งไว้ดีแล้วในภายใน

ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการเหล่านี้ ไม่เว้นห่าง ไปเสียจากคนเจ็บไข้ ทุพพลภาพคนใด เธอนั้นพึงหวังผลข้อนี้ คือ จักทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่ง เองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ได้ต่อกาลไม่นานเลย.


หน้า304

๑๐๘/เจริญกายคตาสติ เป็นไปเพื่อปัญญา
-บาลี เอก. อํ. ๒๐/๕๕/๒๒๕.

ภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันผู้ใดผู้หนึ่งเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว กุศลธรรม อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นไป ในส่วนวิชชา ย่อมหยั่งลงในภายในของผู้นั้น เปรียบเหมือน มหาสมุทรอันผู้ใดผู้หนึ่งถูกต้องด้วยใจแล้วแม่น้ำน้อยสายใด สายหนึ่งซึ่งไหลไปสู่สมุทร ย่อมหยั่งลงในภายในของผู้นั้น ฉะนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมข้อหนึ่งอันเจริญแล้ว กระทำ ให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ ความสังเวชใหญ่ เป็นไปเพื่อ ประโยชน์ใหญ่ เป็นไปเพื่อความเกษมจาก โยคะ ใหญ่ เป็นไปเพื่อสติและสัมปชัญญะ เป็นไปเพื่อได้ญาณทัสสนะ เป็นไปเพื่ออยู่ เป็นสุขในปัจจุบัน เป็นไปเพื่อทำให้แจ้งซึ่งผล คือวิชชาและวิมุตติ ธรรมข้อหนึ่ คือ อะไร คือ กายคตาสติ.

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมข้อหนึ่งอันเจริญแล้ว กระทำ ให้มากแล้ว แม้กายก็สงบ (กาโยปิ ปสฺสมฺภติ) แม้จิตก็สงบ (จิตฺตํปิ ปสฺสมฺภติ) แม้วิตกวิจารก็สงบ (วิตกฺกวิจาราปิ วูปสมฺมนฺติ) ธรรมที่เป็นไปในส่วนแห่งวิชชาแม้ทั้งสิ้น ก็ถึงความ เจริญบริบูรณ์ ธรรมข้อหนึ่งคืออะไร คือ กายคตาสติ.

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมขอ้ หนึ่ง อันเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว อกุศลธรรม ที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้นได้เลย และอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมละเสียได้ ธรรมข้อหนึ่ง คืออะไร คือ กายคตาสติ.

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมข้อหนึ่งอันเจริญแล้ว กระทำ ให้มากแล้ว กุศลธรรมที่ยัง ไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และกุศลธรรม ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญ ไพบูลย์ยิ่ง ธรรม ข้อหนึ่งคืออะไร คือ กายคตาสติ.

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมข้อหนึ่งอันเจริญแล้ว กระทำ ให้มากแล้ว ย่อมละอวิชชา เสียได้ วิชชาย่อมเกิดขึ้น ย่อมละ อัสมิมานะเสียได้ อนุสัยย่อมถึงความเพิกถอน ย่อมละสังโยชน์ เสียได้ ธรรมข้อหนึ่งคืออะไร คือ กายคตาสติ.

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมข้อหนึ่งอันเจริญแล้ว กระทำ ให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ ความแตกฉานแห่งปัญญา ย่อม เป็นไปเพื่ออนุปาทาปรินิพพาน ธรรมข้อหนึ่ง คืออะไร คือ กายคตาสติ.

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมข้อหนึ่งอันเจริญแล้ว กระทำ ให้มากแล้ว ย่อมมีการ แทงตลอดธาตุมากหลาย ย่อมมีการ แทงตลอดธาตุต่างๆ ย่อมมีความแตกฉาน ในธาตุมากหลาย ธรรมข้อหนึ่งคืออะไร คือ กายคตาสติ.

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมข้อหนึ่งอันเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ
ได้ปัญญา (ปญฺญาปฏิลาภ)
ปัญญาเจริญ (ปญฺญาวุฑฺฒิ)
ปัญญามั่งคั่ง (ปญฺญาเวปุลฺล)
ปัญญาใหญ่ (มหาปญฺญตา)
ปัญญาแน่น (ปุถุปญฺญตา)
ปัญญาไพบูลย์ (วิปุลปญฺญตา)
ปัญญาลึกซึ้ง (คมฺภีรปญฺญตา)
ปัญญาสามารถยิ่ง (อสมตฺถปญฺญตา)
ปัญญาเสมือนแผ่นดิน (ภูริปญฺญตา)
ปัญญามาก (ปญฺญาพาหุลฺลา)
ปัญญาว่องไว (สีฆปญฺญตา)
ปัญญาเร็ว (ลหุปญฺญตา)
ปัญญาร่าเริง (หาสปญฺญตา)
ปัญญาแล่น (ชวนปญฺญตา)
ปัญญาคม (ติกฺขปญฺญตา)
ปัญญาเจาะแทงกิเลส (นิพฺเพธิกปญฺญตา)

ธรรมข้อหนึ่งคืออะไร คือ กายคตาสติ.


หน้า 307
๑๐๙/ ละอนุสัย ๓ ได้ เพราะละเวทนาได้

-บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๒๕๔/๓๖๓.

ภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ เหล่านี้ เวทนา ๓ เป็น อย่างไร คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา.

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงละราคานุสัยใน สุขเวทนา พึงละปฏิฆานุสัยใน ทุกขเวทนา พึงละอวิชชานุสัย ในอทุกขมสุขเวทนา เพราะเหตุที่ภิกษุละ ราคานุสัย ใน สุขเวทนา ละปฏิฆานุสัยในทุกขเวทนา ละอวิชชานุสัยใน อทกุ ขมสขุ เวทนา ภิกษุนี้เราเรียกว่า เป็นผู้ไม่มีราคานุสัย มีความเห็นชอบ ตัดตัณหา ได้เด็ดขาด เพิกถอนสังโยชน์ได้แล้ว ได้กระทำที่สุดแห่งทุกข์แล้ว เพราะละ มานะ ได้โดยชอบ.


หน้า 308
๑๑๐/ละอนุสัย ๓ ได้เพราะละเวทนาได้

-บาลี อุปริ. ม. ๑๔/๕๑๘/๘๒๓.

ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยตาด้วย รูปทั้งหลายด้วย จึงเกิดจักขุวิญญาณ การประจวบพร้อมแห่งธรรม ๓ ประการ นั่นคือ ผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา อันเป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง เป็นอทุกขมสุข1 บ้าง (อุปฺปชฺชติ
เวทยิตํ สุขํ วา ทุกฺขํ วา อทุกฺขมสุขํ วา).

เพราะอาศัยหูด้วย เสียงทั้งหลายด้วย จึงเกิด โสตวิญญาณ การประจวบพร้อม แห่งธรรม ๓ ประการ นั่นคือ ผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา อันเป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง เป็นอทุกขมสุขบ้าง.

เพราะอาศัยจมูกด้วย กลิ่นทั้งหลายด้วย จึงเกิด ฆานวิญญาณ การประจวบพร้อม แห่งธรรม ๓ ประการ นั่นคือ ผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา อันเป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง เป็นอทุกขมสุขบ้าง.

เพราะอาศัยลิ้นด้วย รสทั้งหลายด้วย จึงเกิด ชิวหาวิญญาณ การประจวบพร้อม แห่งธรรม ๓ ประการ นั่นคือ ผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา อันเป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง เป็นอทุกขมสุขบ้าง.
1.อทุกขมสุข = ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุข -คณะผู้รวบรวม

เพราะอาศัยกายด้วย โผฏฐัพพะทั้งหลายด้วย จึง เกิดกายวิญญาณ การประจวบ พร้อมแห่งธรรม ๓ ประการ นั่นคือ ผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา อันเป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง เป็นอทุกขมสุขบ้าง.

เพราะอาศัยใจด้วย ธรรมทั้งหลายด้วย จึงเกิด มโนวิญญาณ การประจวบพร้อม แห่งธรรม ๓ ประการ นั่นคือ ผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา อันเป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง เป็นอทุกขมสุขบ้าง.

บุคคลนั้น เมื่อสุขเวทนา ถูกต้องอยู่ ย่อมเพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ สยบมัวเมา อยู่ อนุสัยคือราคะ ย่อมนอนตาม แก่บุคคลนั้น (ตสฺส ราคานุสโย อนุเสติ).

เมื่อทุกขเวทนา ถูกต้องอยู่ เขาย่อมเศร้าโศก ระทมใจ คร่ำครวญ ตีอกร่ำไห้ ถึงความหลงใหลอยู่ อนุสัยคือปฏิฆะ ย่อมนอนตามแก่บุคคลนั้น (ตสฺส ปฏิฆานุสโย อนุเสติ).

เมื่ออทุกขมสุขเวทนา ถูกต้องอยู่ เขาย่อมไม่รู้ตาม เป็นจริงซึ่งเหตุเกิด (สมุทย) ความตั้งอยู่ไม่ได้ (อตฺถงฺคม) รสอร่อย (อสฺสาท) โทษ (อาทีนว) อุบายเครื่องออก ไปพ้น (นิสฺสรณ) ของเวทนานั้น อนุสัยคืออวิชชา ย่อมนอนตามแก่บุคคลนั้น (ตสฺส อวิชฺชานุสโย อนุเสติ).

บุคคลนั้นหนอ ยังละราคานุสัย อันเกิดจากสุขเวทนาไม่ได้ (สุขาย เวทนาย ราคานุสยํ อปฺปหาย) ยังบรรเทาปฏิฆานุสัย อันเกิดจากทุกขเวทนาไม่ได้
(ทุกฺขาย เวทนาย ปฏิฆานุสยํ อปฺปฏิวิโนเทตฺวา) ยังถอนอวิชชานุสัย อันเกิดจาก อทุกขมสุขเวทนาไม่ได้ (อทุกฺขมสุขาย เวทนาย อวิชฺชานุสยํ อสมูหนิตฺวา) เมื่อยังละ อวิชชาไม่ได้ และยังทำวิชชาให้เกิดขึ้นไม่ได้แล้ว (อวิชฺชํ อปฺปหาย วิชฺชํ อนุปฺปาเทตฺวา) เขาจักทำที่สุดแห่งทุกข์ใน ทิฏฐธรรมนี้ ได้นั้น (ทิฏฺเฐว ธมฺเม ทุกฺขสฺสนฺตกโร ภวิสฺสตีติ) ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จักมีได้ (เนตํ ฐานํ วิชฺชติ).


หน้า311

๑๑๑/การละเวทนา ๓

-บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๒๕๖/๓๖๗

ภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ เหล่านี้ เวทนา ๓ เป็นอย่างไร คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา.


ภิกษุทั้งหลาย พึงเห็นสุขเวทนาโดยความเป็น ทุกข์ พึงเห็นทุกขเวทนา โดย ความเป็นลูกศร พึงเห็น อทุกขมสุขเวทนาโดยความเป็นของไม่เที่ยง.

ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่ภิกษุเห็นสุขเวทนา โดยความเป็นทุกข์ เห็น ทุกขเวทนา โดยความเป็นลูกศร เห็นอทุกขมสุขเวทนาโดยความเป็นของ ไม่เที่ยง ภิกษุนี้ เรากล่าวว่า มีความเห็นชอบ ตัดตัณหาได้เด็ดขาด เพิกถอน สัญโญชน์ได้แล้ว ได้กระทำ ที่สุดแห่งทุกข์แล้ว เพราะละ มานะได้โดยชอบ.

หมายเหตุ นอกจากพระสูตรที่ปรากฏในหนังสือเล่มนี้แล้ว พระศาสดายังได้ตรัสถึงสังโยชน์ และข้อปฏิบัติเพื่อการละสังโยชน์ และธรรมะที่เกี่ยวกับอริยบุคคลไว้อีกมาก ด้วยข้อจำกัด ด้านความหนาของหนังสือ จึงได้รวบรวมมาไว้เพียงบางส่วน ผู้สนใจสามารถศึกษาเพิ่มเติม
ได้จาก หนังสือพุทธวจน-หมวดธรรม เล่ม 1-1๙ และจากพระไตรปิฎก.


สังโยชน์ จบ

  Top ไปหน้าแรก