เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
สังโยชน์ พุทธวจน
หนังสือพุทธวจนออนไลน์   ดูหนังสือทั้งหมด
90 90 90 90 90
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์  
   
ค้นหาคำที่ต้องการ              

  สังโยชน์ - พุทธวจน ดาวน์โหลดหนังสือ(ไฟล์ PDF)
  
  2 of 11  
 
  สังโยชน์ พุทธวจน  ที่มา : http://watnapp.com/files  
       
    สารบัญ เลขหน้า
ตามหนังสือ
 
  บทที่    
  ๑๗ / อานาปานสติสมาธิเป็นเหตุให้ละสัญโญชน์ได้ 42  
  ๑๘ / เจริญอานาปานสติ ชั่วกาลลัดนิ้วมือชื่อว่า ไม่เหินห่างจากฌาน 43  
  ๑๙ / อานิสงส์ของการเจริญกายคตาสติ 44  
  ๒๐ / ละนันทิ 45  
  ผู้ละสังโยชน์ได้แล้วเรียกว่าอะไร    
  ๒๑ / ความเป็นอริยบุคคล กับการละสัญโญชน์ (บุคคล ๔ จำพวก) 47  
  ๒๒ / ความเป็นอริยบุคคล กับการละกามโยคะและภวโยคะ (บุคคล ๓ จำพวก) 50  
  ๒๓ / อริยบุคคลละสัญโญชน์ได้ไม่เท่ากัน (นัยที่ ๑) 51  
       
  พระสูตรศึกษาเพิ่มเติม เกี่ยวกับสังโยชน์    
  ๒๔ / สัญโญชน์ ๘ 54  
  ๒๕ / ในไฟล์ PDF ต้นฉบับ ไม่มีบทที่ ๒๕ จากบทที่ ๒๔ แล้วข้ามไปบทที่ ๒๖ -  
  ๒๖ / สัญโญชน์ ๗ (นัยที่ ๑) 68  
  ๒๗ / สัญโญชน์ ๗ (นัยที่ ๒) 69  
  ๒๘ / ตัณหาสังโยชน์ 70  
  ๒๙ / กามสัญโญชน์ 71  
  ๓๐ / ความติดใจ ก็เป็นสัญโญชน์ 77  
  ๓๑ / การผูกติดด้วยความเพลิน 81  
        ๓๑_๑ (ผู้มีการอยู่อย่าง อยู่ผู้เดียว)    
       
 
 


หน้า42
๑๗/ อานาปานสติสมาธิเป็นเหตุให้ละสัญโญชน์ได้
-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๔๒๖/๑๔๐๖.

ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติสมาธิ อันเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว เป็นไป เพื่อการละสัญโญชน์ทั้งหลาย.

ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติสมาธิ อันเจริญแล้ว ทำให้ มากแล้ว อย่างไรเล่า จึงเป็นไปเพื่อการละสัญโญชน์ทั้งหลาย.

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปแล้วสู่ป่า หรือ โคนไม้ หรือเรือนว่างก็ตาม นั่งคู้ขาเข้ามาโดยรอบ ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า เธอนั้น มีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว เมื่อ หายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้าสั้น เมื่อ หายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น …

(แต่นี้ได้ตรัสไว้อย่างเดียวกัน ซึ่งเหมือนในหน้า ๑๗๑–๑๗๓จนถึงบรรทัดที่ว่า เราเป็นผู้เห็นซึ่ง ความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ ของหนังสือเล่มนี้ทุกประการ).

ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติสมาธิ อันเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อการละสัญโญชน์ ทั้งหลาย.


หน้า43

๑๘/เจริญอานาปานสติ ชั่วกาลลัดนิ้วมือชื่อว่า ไม่เหินห่างจากฌาน
-บาลี เอก. อํ. ๒๐/๕๔/๒๒๔.

ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุเจริญอานาปานสติ แม้ชั่ว กาลเพียงลัดนิ้วมือ ภิกษุนี้เรากล่าวว่า อยู่ไม่เหินห่างจากฌาน ทำตามคำสอนของพระศาสดา ปฏิบัติตามโอวาท ไม่ฉันบิณฑบาตของชาวแว่นแคว้นเปล่า ก็จะป่วยกล่าวไปไย ถึงผู้กระทำให้มากซึ่งอานาปานสตินั้นเล่า.


หน้า44

๑๙/อานิสงส์ของการเจริญกายคตาสติ
-บาลี เอก. อํ. ๒๐/๕๗/๒๓๓.

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมข้อหนึ่งอันเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทำ โสดาปัตติผลให้แจ้ง
ย่อมเป็นไปเพื่อทำ สกทาคามิผลให้แจ้ง
ย่อมเป็นไปเพื่อทำ อนาคามิผลให้แจ้ง
ย่อมเป็นไปเพื่อทำ อรหัตตผลให้แจ้ง
ธรรมข้อหนึ่งคืออะไร คือ กายคตาสติ.

ภิกษุทั้งหลาย ธรรมข้อหนึ่งนี้แล อันเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทำ โสดาปัตติผลให้แจ้ง
ย่อมเป็นไปเพื่อทำ สกทาคามิผลให้แจ้ง
ย่อมเป็นไปเพื่อทำ อนาคามิผลให้แจ้ง
ย่อมเป็นไปเพื่อทำ อรหัตตผลให้แจ้ง.


หน้า45

๒๐/ละนันทิ

-บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๑๗๙/๒๔๕-๒๔๖.

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเห็นตาอันไม่เที่ยงนั่นแลว่าไม่เที่ยง
ความเห็นของภิกษุนั้น ชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ (สมฺมา ปสฺสํ นิพฺพินฺทติ)
เมื่อเห็นอยู่โดยถูกต้อง ย่อมเบื่อหน่าย (นนฺทิกฺขยา ราคกฺขโย)
เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิ จึงมีความสิ้นไปแห่งราคะ (ราคกฺขยา นนฺทิกฺขโย)
เพราะความสิ้นไปแห่งราคะ จึงมีความสิ้นไปแห่งนันทิ (นนฺทิราคกฺขยา จิตฺตํ สุวิมุตฺตนฺติ วุจฺจติ).
เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิ และราคะ กล่าวได้ว่าจิตหลุดพ้นแล้วด้วยดี

(ในกรณีแห่งอายตนะภายในที่เหลืออีก ๕ คือ หู จมูก ลิ้น กาย ใจ และในกรณีแห่ง อายตนะ ภายนอก ๖ คือ เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมก็ตรัสอย่างเดียวกันกับใน กรณีแห่งตา ทุกประการ).

หน้า47
ผู้ละสังโยชน์ได้แล้วเรียกว่าอะไร

๒๑/ ความเป็นอริยบุคคล กับการละสัญโญชน์ (บุคคล ๔ จำพวก)
-บาลี จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๘๑/๑๓๑.

ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก ๔ จำพวกอะไรบ้าง คือ ภิกษุทั้งหลาย

(1) บุคคลบางคนในโลกนี้ ยังละโอรัมภาคิยสัญโญชน์ไม่ได้ ยังละสัญโญชน์ อันเป็นปัจจัยเพื่อให้ได้อุบัติไม่ได้ ยังละสัญโญชน์อันเป็นปัจจัย เพื่อให้ได้ภพไม่ได้.

(2) บุคคลบางคนในโลกนี้ ละโอรัมภาคิยสัญโญชน์ได้แต่ยังละสัญโญชน์ อันเป็นปัจจัยเพื่อให้ได้อุบัติไม่ได้ ยังละสัญโญชน์อันเป็นปัจจัย เพื่อให้ได้ภพไม่ได้.

(3) บุคคลบางคนในโลกนี้ ละโอรัมภาคิยสัญโญชน์ได้ละสัญโญชน์ อันเป็นปัจจัย เพื่อให้ได้อุบัติได้ แต่ยังละสัญโญชน์อันเป็นปัจจัย เพื่อให้ได้ภพไม่ได้.

(4) บุคคลบางคนในโลกนี้ ละโอรัมภาคิยสัญโญชน์ได้ ละสัญโญชน์ อันเป็นปัจจัย เพื่อให้ได้อุบัติได้ ละสัญโญชน์อันเป็นปัจจัยเพื่อให้ได้ภพได้.

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลจำพวกไหน
ยังละโอรัมภาคิยสัญโญชน์ไม่ได้ (โอรมฺภาคิยานิ สญฺโญชนานิ อปฺปหีนานิ)
ยังละสัญโญชน์ อันเป็นปัจจัยเพื่อให้ได้อุบัติไม่ได้ (อุปฺปตฺติปฏิลาภิกานิสญฺ โญชนานิ อปฺปหีนานิ)
ยังละสัญโญชน์ อันเป็นปัจจัยเพื่อให้ได้ภพไม่ได้ (ภวปฏิลาภิกานิ สญฺโญชนานิ อปฺปหีนานิ)
คือ สกทาคามี (๑)
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้แล
ยังละโอรัมภาคิยสัญโญชน์ไม่ได้
ยังละสัญโญชน์ อันเป็นปัจจัย เพื่อให้ได้อุบัติ ไม่ได้
ยังละสัญโญชน์ อันเป็นปัจจัย เพื่อให้ได้ภพ ไม่ได้.

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลจำพวกไหน
ละโอรัมภาคิยสัญโญชน์ได้ (โอรมฺภาคิยานิ สญฺโญชนานิ ปหีนานิ) แต่ยังละสัญโญชน์ อันเป็นปัจจัย เพื่อให้ได้อุบัติไม่ได้
ยังละสัญโญชน์ อันเป็นปัจจัยเพื่อให้ได้ภพไม่ได้
คือ อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี (๒) (ผู้มีกระแสเบื้องบนไปสู่อกนิฏฐภพ)
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้แล
ละโอรัมภาคิยสัญโญชน์ได้
แต่ยังละสัญโญชน์ อันเป็นปัจจัยเพื่อให้ได้อุบัติไม่ได้
ยังละสัญโญชน์อันเป็นปัจจัย เพื่อให้ได้ภพ ไม่ได้.

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลจำพวกไหน
ละโอรัมภาคิยสัญโญชน์ได้ ละสัญโญชน์
อันเป็นปัจจัยเพื่อให้ได้อุบัติได้ (อุปฺปตฺติปฏิลาภิกานิ สญฺโญชนานิ ปหีนานิ)
แต่ยังละสัญโญชน์ อันเป็นปัจจัย เพื่อให้ได้ภพไม่ได้
คือ อันตราปรินิพพายี (๓)
ภิกษุทั้งหลายบุคคลนี้แล
ละโอรัมภาคิยสัญโญชน์ได้
ละสัญโญชน์ อันเป็นปัจจัย เพื่อให้ได้อุบัติได้
แต่ยังละสัญโญชน์ อันเป็นปัจจัย เพื่อให้ได้ภพไม่ได้.

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลจำพวกไหน
ละโอรัมภาคิยสัญโญชน์ได้
ละสัญโญชน์ อันเป็นปัจจัย เพื่อให้ได้อุบัติได้
ละสัญโญชน์ อันเป็นปัจจัย เพื่อให้ได้ภพได้ (ภวปฏิลาภิกานิสญฺโญชนานิ ปหีนานิ)
คือ อรหันต์ผู้สิ้นอาสวะแล้ว
(๔)
ภิกษุทั้งหลายบุคคลนี้แล
ละโอรัมภาคิยสัญโญชน์ได้
ละสัญโญชน์ อันเป็นปัจจัยเพื่อให้ได้อุบัติได้
ละสัญโญชน์ อันเป็นปัจจัยเพื่อให้ได้ภพได้.

ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก.


หน้า50
๒๒/ ความเป็นอริยบุคคล กับการละกามโยคะและภวโยคะ (บุคคล ๓ จำพวก)
-บาลี อิติวุ. ขุ. ๒๕/๓๐๓/๒๗๖.

ภิกษุทั้งหลาย ผู้ประกอบแล้วด้วยกามโยคะ(กามโยคยุตฺโต) ประกอบแล้วด้วย ภวโยคะ (ภวโยคยุตฺโต) เป็นอาคามี กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ผู้พรากแล้วจากกามโยคะ (กามโยควิสํยุตฺโต) ประกอบแล้วด้วย ภวโยคะ เป็นอนาคามี ไม่กลับมา สู่ความเป็นอย่างนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ผู้พรากแล้วจากกามโยคะ พรากแล้วจากภวโยคะ (ภวโยควิสํยุตฺโต) เป็นอรหันต์ สิ้นอาสวะแล้ว.

สัตว์ทั้งหลาย ผู้ประกอบแล้วด้วยกามโยคะ และภวโยคะย่อมไปสู่สังสารวัฏ ซึ่งมีปกติถึงความเกิด และความตาย.

ส่วนผู้ที่ละกามทั้งหลายได้เด็ดขาด แต่ยังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ ยังประกอบด้วย ภวโยคะ กล่าวว่า เป็นอนาคามี.

ส่วนผู้ที่ตัดความสงสัยได้แล้ว มีมานะและมีภพใหม่ สิ้นแล้ว ถึงความสิ้นไป แห่งอาสวะทั้งหลายแล้ว ผู้นั้นแลถึงฝั่งแล้วในโลก.


หน้า51

๒๓/ อริยบุคคลละสัญโญชน์ได้ไม่เท่ากัน (นัยที่ ๑)
-บาลี จตุกฺก. อํ. ๒๑/๓๒๓/๒๔๑.

ภิกษุทั้งหลาย สมณะมีในธรรมวินัยนี้ สมณะที่ ๒ มีในธรรมวินัยนี้ สมณะที่ ๓ มีในธรรมวินัยนี้ สมณะที่ ๔ มีในธรรมวินัยนี้ ลัทธิอื่นว่างจากสมณะทั้ง ๔ เธอทั้งหลายจงบันลือสีหนาทโดยชอบอย่างนี้เถิด.

ภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะเป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะสัญโญชน์ ๓ สิ้นไป เป็นโสดาบัน มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงจะตรัสรู้ในเบื้องหน้า นี้สมณะ (สมโณ)1.
1. บาลีฉบับมอญ มีคำ ว่า ปฐโม ซึ่งแปลว่า ที่หนึ่ง -คณะผู้รวบรวม

ภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะที่ ๒ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะสัญโญชน์ ๓ สิ้นไป และเพราะราคะโทสะ โมหะเบาบาง เป็นสกทาคามีมาสู่โลกนี้ คราวเดียว เท่านั้น แล้วกระทำที่สุดทุกข์ได้ นี้สมณะที่ ๒ (ทุติโย สมโณ).

ภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะที่ ๓ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะ โอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ สิ้นไป เป็นโอปปาติกะ จะปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้น เป็นธรรมดา นี้สมณะที่ ๓ (ตติโย สมโณ).


ภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะที่ ๔ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระทำให้แจ้ง ซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ นี้สมณะที่ ๔ (จตุตฺโถ สมโณ).

ภิกษุทั้งหลาย สมณะ มีในธรรมวินัยนี้ สมณะที่ ๒มีในธรรมวินัยนี้ สมณะที่ ๓ มีในธรรมวินัยนี้ สมณะที่ ๔มีในธรรมวินัยนี้ ลัทธิอื่นว่างจากสมณะทั้ง ๔ เธอทั้งหลายจงบันลือสีหนาทโดยชอบอย่างนี้เถิด.

(ยังมีที่ตรัสคล้ายคลึงกันถึงสมณะทั้ง ๔ ได้แก่ จูฬสีหนาทสูตร-บาลี มู. ม. ๑๒/๑๒๘/๑๕๔., มหาปรินิพพานสูตร -บาลี มหา. ที.๑๐/๑๗๕/๑๓๘. -คณะผู้รวบรวม)


หน้า54
พระสูตรศึกษาเพิ่มเติม เกี่ยวกับสังโยชน์

๒๔ / สัญโญชน์ ๘
-บาลี ม. ม. ๑๓/๓๓/๓๖.

พระผู้มีพระภาคเสร็จการบิณฑบาต ในย่านตลาดแห่งอังคุตตราปนิคม แล้วเสด็จเข้าไปประทับ เพื่อทิวาวิหาร (พักกลางวัน)ในไพรสณฑ์ ใกล้นิคมนั้น ประทับนั่งอยู่ ณ โคนต้นไม้แห่งหนึ่ง

คหบดีคนหนึ่งชื่อ โปตลิยะ ผู้อาศัยอยู่ ในนิคมนั้น ซึ่งได้จัดตัวเองไว้ในฐานะ เป็นผู้สำเร็จกิจแห่งชีวิต พ้นจากข้อผูกพัน ของฆราวาส ยกทรัพย์สมบัติให้ลูก หลานหมดแล้ว ดำรงชีวิตอย่างคนหลุดพ้น ตามที่เขาสมมติกัน นุ่งห่มอย่างคน ที่ถือกันว่าหลุดพ้นแล้ว ถือร่ม สวมรองเท้า เดินเที่ยวหาความพักผ่อนตามราวป่า ได้เข้าไปสู่ไพรสณฑ์ ที่พระองค์กำลังประทับอยู่ ทักทายให้เกิดความคุ้นเคยกัน แล้ว ยืนอยู่ ณ ที่ข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสแก่โปตลิยคหบดี ผู้ยืนอยู่
อย่างนั้น ว่า คหบดี อาสนะมีอยู่ ถ้าท่านประสงค์ เชิญนั่งเถิด.

เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว โปตลิยคหบดี โกรธน้อยใจ ว่า พระสมณโคดม ตรัสเรียกเราด้วยคำว่า คหบดี แล้วได้นิ่งเสียพระผู้มีพระภาค ได้ตรัสกะโปตลิยคหบดี ครั้งที่ ๒ ว่าคหบดี อาสนะมีอยู่ ถ้าท่านประสงค์ เชิญนั่งเถิด.

เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว โปตลิยคหบดีโกรธ น้อยใจว่า พระสมณโคดม ตรัสเรียกเราด้วยคำว่า คหบดี แล้วได้นิ่งเสียเป็นครั้งที่ ๒ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะโปตลิยคหบดี เป็นครั้งที่ ๓ ว่าคหบดี อาสนะมีอยู่ ถ้าท่านประสงค์ เชิญนั่งเถิด.

เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว โปตลิยคหบดีโกรธน้อยใจว่า พระสมณโคดม ตรัสเรียกเราด้วยคำว่า คหบดี แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ท่านพระโคดม พระดำรัสที่พระองค์ตรัสเรียกข้าพเจ้าด้วยคำว่า คหบดีนั้น ไม่เหมาะ ไม่ควรเลย.

คหบดี ก็อาการของท่าน เพศของท่าน เครื่องหมายของท่านเหล่านั้น เหมือนคหบดี ทั้งนั้น.

จริงเช่นนั้น ท่านพระโคดม ก็แต่ว่าการงานทั้งปวง ข้าพเจ้าห้ามเสียแล้ว โวหารทั้งปวง ข้าพเจ้าตัดขาดแล้ว.

คหบดี ก็การงานทั้งปวง ท่านห้ามเสียแล้ว โวหารทั้งปวง ท่านตัดขาดแล้ว อย่างไรเล่า.

ท่านพระโคดม ขอประทานโอกาส สิ่งใดของข้าพเจ้า ที่มีเป็นทรัพย์ก็ดี เป็นข้าวเปลือกก็ดี เป็นเงินก็ดี เป็นทองก็ดี สิ่งนั้นทั้งหมด ข้าพเจ้ามอบให้ เป็นมรดกแก่บุตรทั้งหลาย ข้าพเจ้ามิได้สอนมิได้ว่าเขาในสิ่งนั้น ๆ

ข้าพเจ้ามีอาหาร และเครื่องนุ่งห่มเป็นอย่างยิ่งอยู่ ท่านพระโคดมการงานทั้งปวง ข้าพเจ้าห้ามเสียแล้ว โวหารทั้งปวง ข้าพเจ้าตัดขาดแล้ว ด้วยประการอย่างนี้แล.

คหบดี ท่านกล่าวการตัดขาดโวหาร เป็นอย่างหนึ่งส่วนการตัดขาดโวหาร ในอริยวินัย เป็นอีกอย่างหนึ่ง.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็การตัดขาดโวหารในอริยวินัยเป็นอย่างไรเล่า สาธุพระองค์ผู้เจริญ การตัดขาดโวหารในอริยวินัย มีอยู่ด้วยประการใด ขอพระผู้มีพระภาค โปรดแสดงธรรมแก่ข้าพเจ้า ด้วยประการนั้นเถิด.

คหบดี ถ้าอย่างนั้น ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว.

คหบดี ธรรม ๘ ประการ นี้ย่อมเป็นไปเพื่อตัดขาดโวหารในอริยวินัย ๘ ประการอะไรบ้าง คือ
(อฏฺฐ โข อิเม คหปติ ธมฺมา อริยสฺส วินเย โวหารสมุจฺเฉทายสํวตฺตนฺติ กตเม อฏฺฐ)

(1) อาศัยการไม่ฆ่าสัตว์ เพื่อละการฆ่าสัตว์
(อปาณาติปาตํ นิสฺสาย ปาณาติปาโต ปหาตพฺโพ)

(2) อาศัยการถือเอาแต่ของที่เขาให้ เพื่อละการถือเอาของที่เขาไม่ได้ให้
(ทินฺนาทานํ นิสฺสาย อทินฺนาทานํ ปหาตพฺพํ)

(3) อาศัยวาจาสัตย์ เพื่อละการพูดเท็จ
(สจฺจํ วาจํ นิสฺสาย มุสาวาโท ปหาตพฺโพ)

(4) อาศัยวาจาไม่ยุยง เพื่อละวาจายุยง
(อปิสุณํ วาจํ นิสฺสาย ปิสุณา วาจา ปหาตพฺพา)

(5) อาศัยความไม่โลภเพราะความกำหนัด เพื่อละความโลภเพราะความกำหนัด
(อคิทฺธิโลภํ นิสฺสาย คิทฺธิโลโภ ปหาตพฺโพ)

(6) อาศัยความไม่โกรธเพราะถูกนินทา เพื่อละความโกรธเพราะถูกนินทา
(อนินฺทาโทสํ นิสฺสาย นินฺทาโทโส ปหาตพฺโพ)

(7) อาศัยความไม่คับแค้นเพราะความโกรธ เพื่อละความคับแค้นเพราะความโกรธ (อโกธุปายาสํ นิสฺสาย โกธุปายาโส ปหาตพฺโพ)

(8) อาศัยการไม่ดูหมิ่นท่าน เพื่อละการดูหมิ่นท่าน
(อนติมานํ นิสฺสาย อติมาโน ปหาตพฺโพ)

คหบดี ธรรม ๘ ประการนี้แล เรากล่าวโดยย่อยังไม่ได้จำแนกโดยพิสดาร ย่อมเป็นไปเพื่อตัดขาดโวหารในอริยวินัย.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ธรรม ๘ ประการนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสโดยย่อ ไม่ได้ทรง จำแนกโดยพิสดาร ย่อมเป็นไปเพื่อตัดขาดโวหารในอริยวินัย สาธุพระองค์ ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาค โปรดอาศัยความกรุณาจำแนกธรรม ๘ ประการนี้ โดยพิสดารแก่ข้าพเจ้าเถิด.

คหบดี ถ้าอย่างนั้นท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว.

คหบดี คำที่เรากล่าวแล้วดังนี้ว่า อาศัยการไม่ฆ่าสัตว์ เพื่อละการฆ่าสัตว์ เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร คหบดีอริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณา เห็นดังนี้ว่า เราเป็นผู้ฆ่าสัตว์ เพราะเหตุแห่งสัญโญชน์เหล่าใด เราปฏิบัติเพื่อละ เพื่อตัดสัญโญชน์เหล่านั้น

อนึ่ง ถ้าเราเป็นผู้ฆ่าสัตว์แม้ตนเองก็ยังติเตียนตนได้ เพราะการฆ่าสัตว์เป็นปัจจัย วิญญูชนพิจารณาแล้วพึงติเตียนได้ เพราะการฆ่าสัตว์ เป็นปัจจัย เมื่อตายไป ทุคติเป็นอันหวังได้ เพราะการฆ่าสัตว์เป็นปัจจัย การฆ่าสัตว์นี้ นั่นแหละ เป็น สัญโญชน์ เป็นนิวรณ์ อนึ่ง อาสวะที่เป็นเหตุคับแค้น และกระวนกระวาย เหล่าใด พึงเกิดขึ้นเพราะการฆ่าสัตว์เป็นปัจจัย

เมื่อบุคคลงดเว้นจากการฆ่าสัตว์แล้ว อาสวะที่เป็นเหตุคับแค้น และ กระวน กระวาย เหล่านั้น ย่อมไม่มี คำที่เรากล่าวแล้วดังนี้ว่า อาศัยการไม่ฆ่าสัตว์ เพื่อละการฆ่าสัตว์ เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้.

คำที่เรากล่าวแล้วดังนี้ว่าอาศัยการถือเอาแต่ของที่เขาให้ เพื่อ ละการถือเอาของ ที่เขาไม่ได้ให้ เรากล่าวแล้ว เพราะอาศัยอะไร คหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราเป็นผู้ถือเอาของที่เขาไม่ได้ให้ เพราะเหตุ แห่งสัญโญชน์เหล่าใด เราปฏิบัติเพื่อละ เพื่อตัดสัญโญชน์เหล่านั้น

อนึ่ง ถ้าเราเป็นผู้ถือเอาของที่เขาไม่ได้ให้ แม้ตนเองก็ยังติเตียนตนได้ เพราะการถือเอาของที่เขาไม่ได้ให้เป็นปัจจัย วิญญูชนพิจารณาแล้วพึงติเตียนได้ เพราะการถือเอาของที่เขาไม่ได้ให้เป็นปัจจัย เมื่อตายไป ทุคติเป็นอันหวังได้ เพราะการถือเอาของที่เขาไม่ได้ให้เป็นปัจจัย การถือเอาของที่เขาไม่ได้ให้นี้ นั่นแหละ เป็นสัญโญชน์ เป็นนิวรณ์

อนึ่ง อาสวะที่เป็นเหตุคับแค้น และกระวนกระวายเหล่าใด พึงเกิดขึ้น เพราะการ ถือเอาของที่เขาไม่ได้ให้เป็นปัจจัย เมื่อบุคคลงดเว้น จากการถือเอาของ ที่เขาไม่ได้ให้แล้ว อาสวะที่เป็นเหตุคับแค้นและกระวนกระวายเหล่านั้น ย่อมไม่มี คำที่เรากล่าวแล้วดังนี้ว่า อาศัยการถือเอาแต่ของที่เขาให้ เพื่อละการถือเอาของ ที่เขาไม่ได้ให้ เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้.

คำที่เรากล่าวแล้วดังนี้ว่า อาศัยวาจาสัตย์ เพื่อละการพูดเท็จ เรากล่าวแล้ว เพราะอาศัยอะไร คหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราเป็นผู้พูดเท็จเพราะเหตุแห่งสัญโญชน์เหล่าใด เราปฏิบัติเพื่อละ เพื่อตัดสัญโญชน์เหล่านั้น

อนึ่ง ถ้าเราเป็นผู้พูดเท็จ แม้ตนเองก็ยังติเตียนตนได้ เพราะการพูดเท็จเป็นปัจจัย วิญญูชนพิจารณาแล้วพึงติเตียนได้ เพราะการพูดเท็จเป็นปัจจัย เมื่อตายไปทุคติ เป็นอันหวังได้ เพราะการพูดเท็จเป็นปัจจัย การพูดเท็จนี้นั่นแหละ เป็นสัญโญชน์ เป็นนิวรณ์

อนึ่ง อาสวะที่เป็นเหตุคับแค้น และกระวนกระวายเหล่าใด พึงเกิดขึ้นเพราะการ พูดเท็จเป็นปัจจัย เมื่อบุคคลงดเว้นจากการพูดเท็จแล้วอาสวะ ที่เป็นเหตุคับแค้น และกระวนกระวายเหล่านั้น ย่อมไม่มีคำที่เรากล่าวแล้วดังนี้ว่า อาศัยวาจาสัตย์ เพื่อละการพูดเท็จเรากล่าวแล้ว เพราะอาศัยข้อนี้.

คำที่เรากล่าวแล้วดังนี้ว่า อาศัยวาจาไม่ยุยง เพื่อละวาจายุยง เรากล่าวแล้ว เพราะอาศัยอะไร คหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราเป็นผู้กล่าววาจายุยง เพราะเหตุแห่งสัญโญชน์เหล่าใด เราปฏิบัติเพื่อละ เพื่อตัดสัญโญชน์เหล่านั้น

อนึ่ง ถ้าเราเป็นผู้กล่าววาจายุยง แม้ตนเอง ก็ยังติเตียนตนได้ เพราะวาจายุยง เป็นปัจจัย วิญญูชนพิจารณาแล้ว พึงติเตียนได้ เพราะวาจายุยงเป็นปัจจัย เมื่อตายไป ทุคติเป็นอันหวังได้ เพราะวาจายุยง เป็นปัจจัย วาจายุยงนี้ นั่นแหละ เป็นสัญโญชน์ เป็นนิวรณ์

อนึ่ง อาสวะที่เป็นเหตุคับแค้นและกระวนกระวายเหล่าใด พึงเกิดขึ้นเพราะวาจา ยุยง เป็นปัจจัย เมื่อบุคคลงดเว้นจากวาจายุยงแล้ว อาสวะที่เป็นเหตุคับแค้น และกระวนกระวายเหล่านั้น ย่อมไม่มีคำที่เรากล่าวแล้ว ดังนี้ว่า อาศัยวาจาไม่ยุยง เพื่อละวาจายุยงเรากล่าวแล้ว เพราะอาศัยข้อนี้.

คำที่เรากล่าวแล้วดังนี้ว่าอาศัยความไม่โลภ เพราะความกำหนัด เพื่อละความโลภ เพราะความกำหนัด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร คหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราเป็นผู้มีความโลภ เพราะความกำหนัด เพราะเหตุแห่ง สัญโญชน์เหล่าใด เราปฏิบัติเพื่อละ เพื่อตัดสัญโญชน์เหล่านั้น

อนึ่ง ถ้าเราเป็นผู้มีความโลภ เพราะความกำหนัด แม้ตนเองก็ยังติเตียนตนได้ จากความโลภ เพราะความกำหนัดเป็นปัจจัย วิญญูชนพิจารณาแล้ว พึงติเตียนได้ จากความโลภ เพราะความกำหนัดเป็นปัจจัย เมื่อตายไป ทุคติเป็นอันหวังได้ จากความโลภ เพราะความกำหนัดเป็นปัจจัย ความโลภ เพราะความกำหนัดนี้ นั่นแหละ เป็นสัญโญชน์ เป็นนิวรณ์

อนึ่ง อาสวะที่เป็นเหตุคับแค้น และกระวนกระวายเหล่าใด พึงเกิดขึ้นจาก ความโลภ เพราะความกำหนัดเป็นปัจจัย เมื่อบุคคลไม่โลภ เพราะความกำหนัด อาสวะที่เป็นเหตุคับแค้น และกระวนกระวายเหล่านั้น ย่อมไม่มี คำที่เรากล่าว แล้วดังนี้ว่า อาศัยความไม่โลภเพราะความกำหนัด เพื่อละความโลภ เพราะความกำหนัด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้.

คำที่เรากล่าวแล้วดังนี้ว่า อาศัยความไม่โกรธเพราะถูกนินทา เพื่อละความโกรธ เพราะถูกนินทา เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร คหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราเป็นผู้มีความโกรธเพราะถูกนินทา เพราะเหตุแห่ง สัญโญชน์เหล่าใด เราปฏิบัติเพื่อละ เพื่อตัดสัญโญชน์เหล่านั้น

อนึ่ง ถ้าเราเป็นผู้มีความโกรธเพราะถูกนินทา แม้ตนเองก็ยังติเตียนตนได้ จากความโกรธเพราะถูกนินทาเป็นปัจจัย วิญญูชนพิจารณาแล้ว พึงติเตียนได้ จากความโกรธเพราะถูกนินทาเป็นปัจจัย เมื่อตายไป ทุคติเป็นอันหวังได้ จากความโกรธเพราะถูกนินทาเป็นปัจจัยความโกรธ เพราะถูกนินทานี้นั่นแหละ เป็นสัญโญชน์ เป็นนิวรณ์

อนึ่ง อาสวะที่เป็นเหตุคับแค้น และกระวนกระวายเหล่าใด พึงเกิดขึ้นจาก ความโกรธ เพราะถูกนินทาเป็นปัจจัยเมื่อบุคคลไม่โกรธ เพราะถูกนินทา อาสวะ ที่เป็นเหตุคับแค้น และกระวนกระวายเหล่านั้น ย่อมไม่มี คำที่เรากล่าวแล้ว ดังนี้ว่า อาศัยความไม่โกรธ เพราะถูกนินทา เพื่อละความโกรธ เพราะถูกนินทา เรากล่าวแล้ว เพราะอาศัยข้อนี้.

คำที่เรากล่าวแล้วดังนี้ว่า อาศัยความไม่คับแค้น เพราะความโกรธ เพื่อละ ความคับแค้น เพราะความโกรธ เรากล่าวแล้ว เพราะอาศัยอะไร คหบดี อริยสาวก ในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราเป็นผู้มีความคับแค้น เพราะความโกรธ เพราะเหตุแห่งสัญโญชน์เหล่าใด เราปฏิบัติเพื่อละ เพื่อตัดสัญโญชน์เหล่านั้น

อนึ่ง ถ้าเราเป็นผู้มีความคับแค้น เพราะความโกรธ แม้ตนเองก็ยังติเตียนตน ได้จากความคับแค้น เพราะความโกรธเป็นปัจจัย วิญญูชนพิจารณาแล้ว พึงติเตียนได้ จากความคับแค้น เพราะความโกรธเป็นปัจจัย เมื่อตายไป ทุคติ เป็นอันหวังได้ จากความคับแค้น เพราะความโกรธเป็นปัจจัย ความคับแค้น เพราะความโกรธนี้นั่นแหละ เป็นสัญโญชน์ เป็นนิวรณ์

อนึ่ง อาสวะที่เป็นเหตุคับแค้น และกระวนกระวายเหล่าใด พึงเกิดขึ้น จากความ คับแค้น เพราะความโกรธเป็นปัจจัยเมื่อบุคคลไม่คับแค้น เพราะความโกรธ อาสวะที่เป็นเหตุคับแค้น และกระวนกระวายเหล่านั้น ย่อมไม่มี คำที่เรากล่าวแล้ว ดังนี้ว่าอาศัยความไม่คับแค้น เพราะความโกรธ เพื่อละความคับแค้น เพราะความโกรธ เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้.

คำที่เรากล่าวแล้วดังนี้ว่า อาศัยการไม่ดูหมิ่นท่าน เพื่อละการดูหมิ่นท่าน เรากล่าวแล้ว เพราะอาศัยอะไร คหบดีอริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็น ดังนี้ว่า เราเป็นผู้ดูหมิ่นท่าน เพราะเหตุแห่ สัญโญชน์เหล่าใด เราปฏิบัติเพื่อละ เพื่อตัดสัญโญชน์เหล่านั้น

อนึ่ง ถ้าเราเป็นผู้ดูหมิ่นท่าน แม้ตนเองก็ยังติเตียนตนได้ เพราะการดูหมิ่นท่านเป็นปัจจัย วิญญูชนพิจารณาแล้วพึงติเตียนได้ เพราะการดูหมิ่นท่านเป็นปัจจัย เมื่อตายไป ทุคติเป็นอันหวังได้ เพราะการดูหมิ่นท่านเป็นปัจจัย การดูหมิ่นท่านนี้นั่นแหละ เป็นสัญโญชน์ เป็นนิวรณ์

อนึ่ง อาสวะที่เป็นเหตุคับแค้นและกระวนกระวายเหล่าใด พึงเกิดขึ้น เพราะการดูหมิ่นท่านเป็นปัจจัย เมื่อบุคคลไม่ดูหมิ่นท่าน อาสวะที่เป็นเหตุ คับแค้น และกระวนกระวายเหล่านั้น ย่อมไม่มี คำที่เรากล่าวแล้วดังนี้ว่า อาศัยการไม่ดูหมิ่นท่าน เพื่อละการดูหมิ่นท่าน เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้.

คหบดี เหล่านี้แล ธรรม ๘ ประการที่เรากล่าวโดยย่อ ไม่ได้จำแนกโดยพิสดาร ย่อมเป็นไปเพื่อละ เพื่อตัดขาดโวหารในอริยวินัย

คหบดี แต่เพียงเท่านี้จะได้ชื่อว่าเป็นการตัดขาดโวหารทั้งหมดทั้งสิ้น โดยประการ ทั้งปวงในอริยวินัยก็หามิได้.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า โปรดแสดงซึ่งธรรม อันเป็นการ ตัดขาด ซึ่งโวหารนั้น ๆ ทั้งหมดทั้งสิ้นโดยประการทั้งปวง ในอริยวินัยแก่ ข้าพระองค์เถิด.

คหบดี ถ้าอย่างนั้น ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว.
(ต่อจากนี้ พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสถึงกามและโทษของกาม ซึ่งเปรียบด้วยท่อน กระดูก ไม่สามารถสนองความหิว ของสุนัขหิว ชิ้นเนื้อในปากนกมีนกอื่นแย่ง จุดคบเพลิง ถือทวนลม หลุมถ่านเพลิง อันน่ากลัว ของในฝันซึ่งตื่นแล้ว ก็หายไป ของยืม ซึ่งต้องคืนเจ้าของ และเปรียบด้วยผลไม้ ที่สุกแล้ว ย่อมฆ่า ต้นของมันเอง อันอริยสาวกใคร่ครวญเห็นโทษ ทุกข์ อุปายาสะ อันยิ่ง ด้วยปัญญาอันชอบ ตามที่เป็นจริง แล้วละอุเบกขามีอารมณ์ต่าง ๆ เสียได้ แล้วเจริญอุเบกขา มีอารมณ์เดียว อันเป็นที่ดับอุปาทาน ในโลกามิส โดยไม่มี ส่วนเหลือ อริยสาวกนั้น อาศัยสติอันบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา มีอารมณ์เดียว อันไม่มีอื่นยิ่งกว่านี้แล้ว ระลึกได้ ซึ่งปุพเพนิวาสานุสสติญาณ มีอย่างเป็นอเนก และมีจักษุทิพย์เห็นสัตว์จุติอุบัติ ไปตามกรรมของตน และ ในที่สุด ได้กระทำ ให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะใน ทิฏฐธรรม ด้วยปัญญา อันยิ่งเอง แล้วแลอยู่ และตรัสต่อไปว่า)


คหบดี ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล ชื่อว่าเป็นการตัดขาดโวหารในอริยวินัยได้ทั้งหมด ทั้งสิ้น โดยประการทั้งปวง.

คหบดี ท่านจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร ท่านได้เห็นการตัดขาดซึ่งโวหาร เหล่านี้ ว่ามีอยู่ในท่านบ้างไหม.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ จะมีอะไรกันเล่าสำ หรับข้าพระองค์ข้าพระองค์ยังห่างไกล
จากการตัดขาดโวหารอย่างนี้ในอริยวินัยนั้น.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในกาลก่อน ข้าพระองค์ได้สำคัญพวกปริพาชกเดียรถีย์ เหล่าอื่น ซึ่งไม่ใช่ผู้รู้ทั่วถึง ว่าเป็นผู้รู้ทั่วถึง ได้คบพวกปรพิ าชกเดียรถีย์ เหล่าอื่น ผู้ไม่รู้ทั่วถึง ในฐานะเป็นการคบผู้รู้ทั่วถึง ได้ตั้งผู้ไม่รู้ทั่วถึงไว้ในฐานะ แห่งผู้รู้ ทั่วถึง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สำคัญภิกษุทั้งหลายผู้รู้ทั่วถึง ว่าเป็นผู้ไม่รู้ ทั่วถึง ได้คบภิกษุผู้รู้ทั่วถึง ในฐานะเป็นการคบผู้ไม่รู้ทั่วถึง ได้ตั้ง ผู้รู้ทั่วถึงไว้ ในฐานะแห่งผู้ไม่รู้ทั่วถึง.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บัดนี้ ข้าพระองค์รู้จักพวกปริพาชกเดียรถีย์เหล่าอื่น ซึ่งไม่ใช่ผู้รู้ทั่วถึง ว่าเป็นผู้ไม่รู้ทั่วถึง จักคบผู้ไม่รู้ทั่วถึง ในฐานะเป็นการคบ ผู้ไม่รู้ทั่วถึง จักตั้งผู้รู้ไม่รู้ทั่วถึงไว้ในฐานะแห่งผู้ไม่รู้ทั่วถึง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จักรู้จัก ภิกษุทั้งหลายผู้รู้ทั่วถึงว่าเป็นผู้รู้ทั่วถึง จักคบผู้รู้ทั่วถึงในฐานะ เป็นการคบผู้รู้ทั่วถึง จักตั้งผู้รู้ทั่วถึงไว้ในฐานะแห่งผู้รู้ทั่วถึง.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคได้ทรงยังความรักสมณะ ของข้าพระองค์ ให้เกิดขึ้นในหมู่สมณะ ยังความเลื่อมใสสมณะของ ข้าพระองค์ให้เกิดขึ้นในหมู่ สมณะ ยังความเคารพสมณะของ ข้าพระองค์ให้เกิดขึ้นในหมู่สมณะแล้ว.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์ไพเราะนัก ภาษิตของพระองค์ แจ่มแจ้ง นัก (อภิกฺกนฺตํ ภนฺเต อภิกฺกนฺตํ ภนฺเต : บาลีคำ เดียวกันนี้ แต่ไทยมีหลายสำนวน เช่น ไพเราะนัก พระเจ้าข้า ไพเราะนักพระเจ้าข้า).

เปรียบเหมือนการหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่อง ประทีปไว้ในที่มืด ด้วยตั้งใจว่า คนมีตาดีจะได้เห็นรูปดังนี้ พระองค์ ทรงประกาศธรรม โดยอเนกปริยายอย่างนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ข้าพเจ้า ขอถึงพระผู้มีพระภาค พระธรรม และพระภิกษุสงฆ์เป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาค โปรดทรงจำ ข้าพเจ้าว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.

*************************************************
หน้า -
๒๕ / บทที่ ๒๕ นี้ ไม่มีในหนังสือสังโยชน์ จากบทที่ ๒๔ ก็ข้ามไปบทที่ ๒๖

*************************************************


หน้า68
๒๖ / สัญโญชน์ ๗ (นัยที่ ๑)
-บาลี สตฺตก. อํ. ๒๓/๗/๘.

ภิกษุทั้งหลาย สัญโญชน์ ๗ ประการเหล่านี้ ๗ ประการอะไรบ้าง คือ

(1) อนุนยสัญโญชน์ (สัญโญชน์คือความยินดี)
(2) ปฏิฆสัญโญชน์ (สัญโญชน์คือความยินร้าย)
(3) ทิฏฐิสัญโญชน์ (สัญโญชน์คือความเห็น)
(4) วิจิกิจฉาสัญโญชน์ (สัญโญชน์คือความลังเลสงสัย)
(5) มานสัญโญชน์ (สัญโญชน์คือความถือตัว)
(6) ภวราคสัญโญชน์ (สัญโญชน์คือความกำหนัดในภพ)
(7) อวิชชาสัญโญชน์ (สัญโญชน์คืออวิชชา)
ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้แล สัญโญชน์ ๗ ประการ.

(ในสังคีติสูตร -บาลี ปา. ที. ๑๑/๒๖๖/๓๓๘. ได้กล่าวถึงสัญโญชน์ ๗ ด้วยนัยที่ต่าง ออกไป คือ กามสัญโญชน์ ปฏิฆสัญโญชน์ ทิฏฐิสัญโญชน์ วิจิกิจฉาสัญโญชน์ มานสัญโญชน์ ภวราคสัญโญชน์ อวิชชาสัญโญชน์ -คณะผู้รวบรวม)


หน้า69
๒๗/สัญโญชน์ ๗ (นัยที่ ๒)
-บาลี สตฺตก. อํ. ๒๓/๘/๑๐.

ภิกษุทั้งหลาย สัญโญชน์ ๗ ประการเหล่านี้ ๗ ประการอะไรบ้าง คือ
(1) อนุนยสัญโญชน์ (สัญโญชน์คือความยินดี)
(2) ปฏิฆสัญโญชน์ (สัญโญชน์คือความยินร้าย)
(3) ทิฏฐิสัญโญชน์ (สัญโญชน์คือความเห็น)
(4) วิจิกิจฉาสัญโญชน์ (สัญโญชน์คือความลังเลสงสัย)
(5) มานสัญโญชน์ (สัญโญชน์คือความถือตัว)
(6) อิสสาสัญโญชน์ (สัญโญชน์คือความริษยา)1
(7) มัจฉริยสัญโญชน์ (สัญโญชน์คือความตระหนี่)

ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้แล สัญโญชน์ ๗ ประการ.

1. สามารถศึกษาความหมายเพิ่มเติมโดยดูที่คำ ว่า ความริษยาอันชั่วช้า ได้ที่ พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่ม ๒๔ หน้า ๓๗ ข้อ ๒๓ -คณะผู้รวบรวม.


หน้า70

๒๘/ตัณหาสังโยชน์
-บาลี อิติวุ. ขุ. ๒๕/๒๓๖/๑๙๓.

ภิกษุทั้งหลาย เราไม่มองเห็นสังโยชน์อื่น แม้อย่างหนึ่งซึ่งเมื่อสัตว์ทั้งหลาย (สตฺตา) ถูกสังโยชน์ผูกมัดแล้ว ย่อมแล่นไป ท่องเที่ยวไป ตลอดกาลยืดยาวนาน เหมือนอย่างสังโยชน์คือ ตัณหานี้เลย.

ภิกษุทั้งหลาย เพราะว่าสัตว์ทั้งหลายที่ถูกสังโยชน์คือ ตัณหาผูกมัดแล้ว ย่อมแล่นไป ท่องเที่ยวไป ตลอดกาลยืดยาวนาน (ตณฺหาสํโยชเนน หิ ภิกฺขเว สํยุตฺตา สตฺตา ทีฆรตฺตํสนฺธาวนฺติ สํสรนฺตีติ).

บุรุษผู้มีตัณหาเป็นเพื่อนสอง ท่องเที่ยวไปตลอดกาลยืดยาวนาน ย่อมไม่ล่วงพ้น สังสารวัฏอันมีความเป็นอย่างนี้ และความเป็นอย่างอื่นไปได้.

ภิกษุรู้ซึ่งตัณหา อันเป็นเหตุให้เกิดแห่งทุกข์นี้โดยความเป็นโทษแล้ว พึงเป็นผู้ ไม่มีตัณหา ไม่มีความถือมั่นมีสติอยู่.


หน้า71

๒๙/กามสัญโญชน์
-บาลี อุปริ. ม. ๑๔/๓๖/๓๗.

ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้เพราะสลัด ทิฏฐิ อันคล้อยตามขันธ์ส่วนอดีต และสลัดทิฏฐิ อันคล้อยตามขันธ์ส่วนอนาคตเสียได้ กามสัญโญชน์ทั้งปวงจึงตั้งอยู่ไม่ได้ (ปุพฺพนฺตานุทิฏฺฐีนญฺจ ปฏินิสฺสคฺคา อปรนฺตานุทิฏฺฐีนญฺจปฏินิสฺสคฺคา สพฺพโส กามสญฺโญชนานํ อนธิฏฺฐานา)

ย่อมเข้าถึงปีติอันเกิดจากวิเวกอยู่ ด้วยสำคัญว่า นั่นสงบ นั่นประณีต คือการเข้าถึง ปีติ อันเกิดจากวิเวกอยู่ ปีติอันเกิดจากวิเวกนั้น ของเธอ ย่อมดับไปได้ เพราะปีติอันเกิดจากวิเวกดับ ย่อมเกิดโทมนัส เพราะโทมนัสดับ ย่อมเกิดปีติอันเกิดจากวิเวก เปรียบเหมือนร่มเงาละที่แห่งใด แดดย่อมแผ่ไปยัง ที่แห่งนั้น แดดละ*ที่แห่งใด ร่มเงาก็ย่อมแผ่ไปยังที่แห่งนั้น ฉันใดก็ฉันนั้น เหมือนกัน เพราะปีติอันเกิดจากวิเวกดับ ย่อมเกิดโทมนัส เพราะโทมนัสดับ ย่อมเกิดปีติอันเกิดจากวิเวก.
* (จากไป เคลื่อนไป)

ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตย่อมทราบเรื่องนี้ดี สมณะหรือพราหมณ์นี้แล เพราะสลัด ทิฏฐิ อันคล้อยตามขันธ์ส่วนอดีตและสลัด ทิฏฐิ อันคล้อยตามขันธ์ส่วนอนาคต เสียได้ กามสัญโญชน์ทั้งปวงจึงตั้งอยู่ไม่ได้ ย่อมเข้าถึงปีติอันเกิดจากวิเวกอยู่ ด้วยสำคัญว่า นั่นสงบ นั่นประณีต คือ การเข้าถึงปีติอันเกิดจากวิเวกอยู่ ปีติ อันเกิดจากวิเวกนั้นของเธอย่อมดับไปได้

เพราะปีติอันเกิดจากวิเวกดับ ย่อมเกิดโทมนัส เพราะโทมนัสดับ ย่อมเกิดปีติ อันเกิดจากวิเวก เรื่องปีติอันเกิดจากวิเวกดังนี้นั้น อันปัจจัยปรุงแต่ง เป็นของหยาบ และความดับของสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งมีอยู่ ตถาคตทราบว่าสิ่งนี้ ยังมีอยู่ จึงเห็นอุบายเครื่องออกไปพ้น จากสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งนั้น เป็นไปเพื่อ ล่วงสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งนั้นได้.

ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้เพราะสลัด ทิฏฐิ อันคล้อยตามขันธ์ส่วนอดีต และสลัด ทิฏฐิ อันคล้อยตามขันธ์ส่วนอนาคตเสียได้ กามสัญโญชน์ทั้งปวงจึงตั้งอยู่ไม่ได้ และเพราะก้าวล่วงปีติอันเกิดจากวิเวกได้ ย่อมเข้าถึงสุขปราศจากอามิสอยู่ (นิรามิสํ สุขํ) ด้วยสำคัญว่า นั่นสงบนั่นประณีต คือ การเข้าถึงนิรามิสสุข1อยู่

สุขปราศจากอามิสนั้น ของเธอย่อมดับไปได้ เพราะสุขปราศจากอามิสดับ ย่อมเกิดปีติอันเกิดจากวิเวก เพราะปีติอันเกิดจากวิเวกดับ ย่อมเกิดสุข ปราศจากอามิส เปรียบเหมือนร่มเงาละที่แห่งใด แดดย่อมแผ่ไปยังที่แห่งนั้น แดดละที่แห่งใด ร่มเงาก็ย่อมแผ่ไป
1. นิรามิสสุข = สุขปราศจากอามิส -คณะผู้รวบรวม

ยังที่แห่งนั้น ฉันใดก็ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะสุขปราศจากอามิสดับ ย่อมเกิดปีติ อันเกิดจากวิเวก เพราะปีติอันเกิดจากวิเวกดับ ย่อมเกิดสุขปราศจากอามิส.

ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตย่อมทราบเรื่องนี้ดี สมณะหรือพราหมณ์นี้แล เพราะสลัด ทิฏฐิ อันคล้อยตามขันธ์ส่วนอดีต และสลัด ทิฏฐิ อันคล้อยตามขันธ์ส่วนอนาคต เสียได้ กามสัญโญชน์ทั้งปวงจึงตั้งอยู่ไม่ได้ และเพราะก้าวล่วงปีติ อันเกิดจากวิเวกได้ ย่อมเข้าถึงสุขปราศจากอามิสอยู่ ด้วยสำคัญว่า นั่นสงบ นั่นประณีต คือ การเข้าถึงนิรามิสสุขอยู่ สุขปราศจากอามิสนั้น ของเธอ ย่อมดับไปได้

เพราะสุขปราศจากอามิสดับ ย่อมเกิดปีติอันเกิดจากวิเวก เพราะปีติอันเกิดจาก วิเวกดับ ย่อมเกิดสุข ปราศจากอามิส เรื่องสุขปราศจากอามิสดังนี้นั้น อันปัจจัย ปรุงแต่ง เป็นของหยาบ และความดับของสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งมีอยู่ ตถาคตทราบว่า สิ่งนี้ยังมีอยู่ จึงเห็นอุบายเครื่องออกไปพ้นจาก สิ่งที่ปัจจัย ปรุงแต่งนั้น เป็นไปเพื่อล่วงสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งนั้นได้.

ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้เพราะสลัด ทิฏฐิ อันคล้อย ตามขันธ์ส่วนอดีต และสลัด ทิฏฐิ อันคล้อยตามขันธ์ส่วนอนาคตเสียได้ กามสัญโญชน์ ทั้งปวง จึงตั้งอยู่ไม่ได้ และเพราะก้าวล่วงปีติอันเกิดจากวิเวก ก้าวล่วงสุขปราศจากอามิสได้ ย่อมเข้าถึงอทุกขมสุขเวทนาอยู่ ด้วยสำคัญว่านั่น สงบ นั่นประณีต คือ การเข้าถึงอทุกขมสุขเวทนา อยู่อทุกขมสุขเวทนานั้น ของเธอย่อมดับไปได้ เพราะอทุกขมสุข-เวทนาดับ ย่อมเกิดสุขปราศจากอามิส

เพราะสุขปราศจากอามิสดับ ย่อมเกิดอทุกขมสุขเวทนา เปรียบเหมือนร่มเงา ละที่แห่งใด แดดย่อมแผ่ไปยังที่แห่งนั้น แดดละที่แห่งใดร่มเงาก็ย่อมแผ่ไปยัง ที่แห่งนั้น ฉันใดก็ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะอทุกขมสุขเวทนาดับ ย่อมเกิดสุข ปราศจากอามิส เพราะสุขปราศจากอามิสดับ ย่อมเกิดอทุกขมสุขเวทนา.

ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตย่อมทราบเรื่องนี้ดี สมณะหรือพราหมณ์นี้แล เพราะสลัด ทิฏฐิ อันคล้อยตามขันธ์ส่วนอดีต และสลัด ทิฏฐิ อันคล้อยตามขันธ์ส่วนอนาคต เสียได้ กามสัญโญชน์ทั้งปวง จึงตั้งอยู่ไม่ได้ และเพราะก้าวล่วงปีติอันเกิดจาก วิเวก ก้าวล่วงสุขปราศจากอามิสได้ ย่อมเข้าถึงอทุกขมสุขเวทนา อยู่ด้วย

สำคัญว่า นั่นสงบ นั่นประณีต คือ การเข้าถึงอทุกขมสุข-เวทนาอยู่ อทุกขมสุข เวทนานั้น ของเธอย่อมดับไปได้ เพราะอทุกขมสุขเวทนาดับ ย่อมเกิดสุข ปราศจากอามิส เพราะสุข ปราศจากอามิสดับ ย่อมเกิด อทุกขมสุขเวทนา เรื่องอทุกขมสุข-เวทนาดังนี้ นั้น อันปัจจัยปรุงแต่ง เป็นของหยาบ และความดับ ของสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งมีอยู่ ตถาคตทราบว่า สิ่งนี้ยังมีอยู่ จึงเห็นอุบาย เครื่องออก ไปพ้น จากสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งนั้น เป็นไปเพื่อล่วงสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่ง นั้นได้.

ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้เพราะสลัด ทิฏฐิ อันคล้อยตามขันธ์ส่วนอดีต และสลัด ทิฏฐิ อันคล้อยตามขันธ์ ส่วนอนาคต เสียได้ กามสัญโญชน์ทั้งปวงจึงตั้งอยู่ไม่ได้ และเพราะก้าวล่วงปีติอันเกิดจาก วิเวก ก้าวล่วงสุขปราศจากอามิส ก้าวล่วงอทุกขมสุขเวทนาได้ ย่อมเล็งเห็นตัวเองว่า เป็นผู้สงบแล้ว เป็นผู้ดับแล้ว เป็นผู้ไม่มีอุปาทาน.

ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตย่อมทราบเรื่องนี้ดี สมณะหรือพราหมณ์นี้แล เพราะสลัด ทิฏฐิ อันคล้อยตามขันธ์ส่วนอดีต และสลัด ทิฏฐิ อันคล้อยตามขันธ์ ส่วนอนาคตเสียได้ กามสัญโญชน์ทั้งปวงจึงตั้งอยู่ไม่ได้ และเพราะก้าวล่วงปีติ อันเกิดจากวิเวก ก้าวล่วงสุขปราศจากอามิส ก้าวล่วงอทุกขมสุข-เวทนาได้ ย่อมเล็งเห็นตัวเองว่า เป็นผู้สงบแล้ว เป็นผู้ดับแล้ว เป็นผู้ไม่มีอุปาทาน ท่านผู้นี้ย่อมกล่าวยืนยันปฏิปทา ที่ให้สำเร็จนิพพานอย่างเดียวโดยแท้ ก็สมณะหรือพราหมณ์นี้เมื่อถือมั่น

ทิฏฐิอันคล้อยตามขันธ์ส่วนอดีต ก็ชื่อว่ายังถือมั่นอยู่หรือเมื่อถือมั่น ทิฏฐิ อันคล้อยตามขันธ์ส่วนอนาคต ก็ชื่อว่ายังถือมั่นอยู่ หรือเมื่อถือมั่นกามสัญโญชน์ ก็ชื่อว่ายังถือมั่นอยู่หรือ เมื่อถือมั่นปีติอันเกิดจากวิเวก ก็ชื่อว่ายังถือมั่นอยู่ หรือเมื่อถือมั่นสุข ปราศจากอามิส ก็ชื่อว่ายังถือมั่นอยู่ หรือเมื่อถือมั่น อทุกขมสุขเวทนา ก็ชื่อว่ายังถือมั่นอยู่ และแม้ข้อที่ท่านผู้นี้ เล็งเห็นตัวเองว่า เป็นผู้สงบแล้ว เป็นผู้ดับแล้ว เป็นผู้ไม่มีอุปาทานนั้น บัณฑิตก็เรียกว่าอุปาทาน ของสมณพราหมณ์นี้

เรื่องอุปาทานดังนี้นั้นอันปัจจัยปรุงแต่ง เป็นของหยาบ และความดับของสิ่งที่ ปัจจัยปรุงแต่งมีอยู่ ตถาคตทราบว่าสิ่งนี้ยังมีอยู่ จึงเห็นอุบายเครื่องออกไป พ้นจาก สิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งนั้น เป็นไปเพื่อล่วง สิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งนั้นได้.

ภิกษุทั้งหลาย ก็บทอันประเสริฐ สงบ ไม่มีบทอื่นยิ่งกว่า (อนุตฺตรํ สนฺตํ วรํ ปทํ) ที่ตถาคตตรัสรู้ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง คือความรู้เหตุเกิด (สมุทย) ความตั้งอยู่ ไม่ได้ (อตฺถงฺคม) รสอร่อย (อสฺสาท) โทษ (อาทีนว) และอุบายเครื่องออกไปพ้น (นิสฺสรณ) แห่งผัสสายตนะทั้ง ๖ ตามความเป็นจริง แล้วหลุดพ้นได้ด้วยไม่ถือมั่น (อนุปาทาวิโมกฺโข)

ภิกษุทั้งหลาย บทอันประเสริฐสงบ ไม่มีบทอื่นยิ่งกว่านี้นั้น คือ ความรู้เหตุเกิด ความตั้งอยู่ไม่ได้ รสอร่อย โทษ และอุบายเครื่องออกไปพ้น แห่งผัสสายตนะทั้ง ๖ ตามความเป็นจริง แล้วหลุดพ้นได้ด้วยไม่ถือมั่น.


หน้า77
๓๐/ความติดใจ ก็เป็นสัญโญชน์

-บาลี ติก. อํ. ๒๐/๓๓๙/๕๕๒.

ภิกษุทั้งหลาย เหตุ ๓ อย่างเหล่านี้ ทำให้เกิดกรรม (ตีณีมานิ ภิกฺขเว นิทานานิ กมฺมานํ สมุทยาย) ๓ อย่างอะไรบ้าง คือ

(1) ภิกษุทั้งหลาย ความพอใจย่อมเกิดเพราะปรารภธรรม อันเป็นที่ตั้งแห่ง ฉันทราคะ ในอดีต (อตีเตภิกฺขเว ฉนฺทราคฏฺฐานิเย ธมฺเม อารพฺภ ฉนฺโท ชายติ)

(2) ภิกษุทั้งหลาย ความพอใจย่อมเกิดเพราะปรารภธรรม อันเป็นที่ตั้งแห่ง ฉันทราคะ ในอนาคต (อนาคเตภิกฺขเว ฉนฺทราคฏฺฐานิเย ธมฺเม อารพฺภ ฉนฺโท ชายติ)

(3) ภิกษุทั้งหลาย ความพอใจย่อมเกิดเพราะปรารภธรรม อันเป็นที่ตั้งแห่ง ฉันทราคะ ในปัจจุบัน (ปจฺจุปฺปนฺเนภิกฺขเว ฉนฺทราคฏฺฐานิเย ธมฺเม อารพฺภ ฉนฺโท ชายติ)

ภิกษุทั้งหลาย ความพอใจย่อมเกิดเพราะปรารภธรรม อันเป็นที่ตั้งแห่ง ฉันทราคะ ในอดีต เป็นอย่างไร

คือภิกษุทั้งหลาย บุคคลตรึกตรองตามด้วยใจถึงธรรม อันเป็นที่ตั้งแห่ง ฉันทราคะ ในอดีต เมื่อตรึกตรองตามด้วยใจอยู่ ย่อมเกิด ความพอใจ (ฉนฺทชาโต)

ผู้ที่เกิดความพอใจแล้วก็ชื่อว่าถูกธรรมเหล่านั้นผูกไว้แล้ว ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าว ความติดใจ (เจตโส สาราโค) นั้นว่าเป็นสัญโญชน์ ภิกษุทั้งหลาย ความพอใจ ย่อมเกิดเพราะปรารภธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะในอดีต เป็นอย่างนี้แล.

ภิกษุทั้งหลาย ความพอใจย่อมเกิดเพราะปรารภธรรม อันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะ ในอนาคตเป็นอย่างไร คือ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลตรึกตรองตามด้วยใจถึงธรรม อันเป็นที่ตั้ง แห่งฉันทราคะในอนาคต

เมื่อตรึกตรองตามด้วยใจอยู่ย่อมเกิดความพอใจ ผู้ที่เกิดความพอใจแล้ว ก็ชื่อว่า ถูกธรรมเหล่านั้นผูกไว้แล้ว ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความติดใจนั้นว่า เป็น สัญโญชน์ ภิกษุทั้งหลาย ความพอใจย่อมเกิด เพราะปรารภธรรม อันเป็นที่ตั้ง แห่งฉันทราคะในอนาคต เป็นอย่างนี้แล.

ภิกษุทั้งหลาย ความพอใจย่อมเกิดเพราะปรารภธรรม อันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะ ในปัจจุบัน เป็นอย่างไร คือภิกษุทั้งหลาย บุคคลตรึกตรองตามด้วยใจถึงธรรม อันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะในปัจจุบัน

เมื่อตรึกตรองตามด้วยใจอยู่ย่อมเกิดความพอใจ ผู้ที่เกิดความพอใจแล้ว ก็ชื่อว่า ถูกธรรมเหล่านั้นผูกไว้แล้วภิกษุทั้งหลาย เรากล่าว ความติดใจนั้นว่าเป็น สัญโญชน์

ภิกษุทั้งหลาย ความพอใจย่อมเกิด เพราะปรารภธรรม อันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะ ในปัจจุบัน เป็นอย่างนี้แล.ภิกษุทั้งหลาย เหตุ ๓ อย่างเหล่านี้แล ทำให้เกิด กรรม.

ภิกษุทั้งหลาย เหตุ ๓ อย่างเหล่านี้ ทำ.ห้เกิดกรรม(ตีณีมานิ ภิกฺขเว นิทานานิ กมฺมานํ สมุทยาย) ๓ อย่างอะไรบ้าง คือ

(1) ภิกษุทั้งหลาย ความพอใจย่อมไม่เกิดเพราะปรารภธรรม อันเป็นที่ตั้งแห่ง ฉันทราคะ ในอดีต (อตีเต ภิกฺขเว ฉนฺทราคฏฺฐานิเย ธมฺเม อารพฺภ ฉนฺโท น ชายติ)

(2) ภิกษุทั้งหลาย ความพอใจย่อมไม่เกิดเพราะปรารภธรรม อันเป็นที่ตั้งแห่ง ฉันทราคะ ในอนาคต (อนาคเต ภิกฺขเว ฉนฺทราคฏฺฐานิเย ธมฺเม อารพฺภ ฉนฺโท น ชายติ)

(3) ภิกษุทั้งหลาย ความพอใจย่อมไม่เกิดเพราะปรารภธรรม อันเป็นที่ตั้งแห่ง ฉันทราคะ ในปัจจุบัน (ปจฺจุปฺปนฺเน ภิกฺขเว ฉนฺทราคฏฺฐานิเย ธมฺเม อารพฺภ ฉนฺโท น ชายติ)

ภิกษุทั้งหลาย ความพอใจย่อมไม่เกิด เพราะปรารภธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่ง ฉันทราคะ ในอดีต เป็นอย่างไร คือภิกษุทั้งหลาย บุคคลรู้ชัดซึ่งผล อันจะเกิด ต่อไปของธรรม อันเป็นที่ตั้งแห่ง ฉันทราคะในอดีต ครั้นรู้ชัดแล้ว ก็กลับใจเสีย จากเรื่องนั้น

ครั้นกลับใจ ได้แล้ว ก็คลายใจออก และแทงตลอดด้วยปัญญา ภิกษุทั้งหลาย ความพอใจ ย่อมไม่เกิด เพราะปรารภธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่ง ฉันทราคะในอดีต เป็นอย่างนี้แล.

ภิกษุทั้งหลาย ความพอใจย่อมไม่เกิด เพราะปรารภธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่ง ฉันทราคะ ในอนาคต เป็นอย่างไร คือ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลรู้ชัดซึ่งผล อันจะเกิดต่อไปของธรรม อันเป็นที่ตั้งแห่ง ฉันทราคะ ในอนาคต

ครั้นรู้ชัดแล้ว ก็กลับใจเสียจากเรื่องนั้น ครั้นกลับใจได้แล้ว ก็คลายใจออก และ แทงตลอด ด้วยปัญญา ภิกษุทั้งหลาย ความพอใจย่อมไม่เกิดเพราะปรารภธรรม อันเป็นที่ตั้ง แห่งฉันทราคะในอนาคต เป็นอย่างนี้แล.

ภิกษุทั้งหลาย ความพอใจย่อมไม่เกิด เพราะปรารภธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่ง ฉันทราคะ ในปัจจุบัน เป็นอย่างไร คือ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลรู้ชัดซึ่งผล อันจะเกิดต่อไปของธรรม อันเป็นที่ตั้งแห่ง ฉันทราคะในปัจจุบัน

ครั้นรู้ชัดแล้ว ก็กลับใจเสียจากเรื่องนั้น ครั้น กลับใจ ได้แล้ว ภิกษุทั้งหลาย ความพอใจ ย่อมไม่เกิดเพราะปรารภธรรม อันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะในปัจจุบัน เป็นอย่างนี้แล.

ภิกษุทั้งหลาย เหตุ ๓ อย่างเหล่านี้แล ทำให้เกิดกรรม.

หน้า97

๓๑/การผูกติดด้วยความเพลิน
-บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๔๓/๖๖.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ ภิกษุจึงชื่อว่าเป็นผู้มีการอยู่ อย่างมีเพื่อนสอง พระเจ้าข้า.

มิคชาละ รูปทั้งหลายที่จะรับรู้ได้ด้วยตา อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยอยู่แห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความ กำหนัดมีอยู่ (รูปา อิฏฺฐา กนฺตา มนาปา ปิยรูปา กามูปสญฺหิตา รชนิยา) ถ้าหากว่า ภิกษุย่อมเพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญสยบมัวเมา ซึ่งรูปนั้น เมื่อภิกษุเพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญสยบมัวเมาซึ่งรูปนั้นอยู่ นันทิ (ความเพลิดเพลิน) ย่อมเกิดขึ้น (อุปฺปชฺชติ นนฺทิ) เมื่อนันทิ มีอยู่ สาราคะ (ความพอใจอย่างยิ่ง) ย่อมมี (นนฺทิยา สติ สาราโค โหติ) เมื่อสาราคะ มีอยู่ สัญโญคะ (ความผูกติดกับอารมณ์)ย่อมมี (สาราเค สติ สญฺโญโค โหติ). มิคชาละ ภิกษุผู้ประกอบพร้อมแล้วด้วยการผูกติด (กับอารมณ์) ด้วยความเพลิน (นนฺทิสญฺโญชนสํยุตฺโต) นั่นแหละเราเรียกว่า ผู้มีการอยู่อย่างมีเพื่อนสอง.

มิคชาละ เสียงทั้งหลายที่จะรับรู้ได้ด้วยหู อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก … ถ้าหากว่าภิกษุย่อมเพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ สยบมัวเมา ซึ่งเสียงนั้น… นันทิ ย่อมเกิดขึ้น เมื่อนันทิ มีอยู่ สาราคะ ย่อมมี เมื่อสาราคะ มีอยู่ สัญโญคะ ย่อมมี.มิคชาละ ภิกษุผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยการผูกติด(กับอารมณ์) ด้วยความเพลิน นั่นแหละ เราเรียกว่าผู้มีการอยู่อย่างมีเพื่อนสอง.

มิคชาละ กลิ่นทั้งหลายที่จะรับรู้ได้ด้วยจมูก อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก …ถ้าหากว่าภิกษุย่อมเพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ สยบมัวเมา ซึ่งกลิ่นนั้น… นันทิ ย่อมเกิดขึ้น เมื่อนันทิ มีอยู่ สาราคะ ย่อมมีเมื่อสาราคะ มีอยู่ สัญโญคะ ย่อมมี. มิคชาละ ภิกษุผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยการผูกติด (กับอารมณ์) ด้วยความเพลิน นั่นแหละ เราเรียกว่า ผู้มีการอยู่ อย่างมีเพื่อนสอง.

มิคชาละ รสทั้งหลาย ที่จะรับรู้ได้ด้วยลิ้น อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก … ถ้าหากว่าภิกษุย่อมเพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ สยบมัวเมา ซึ่งรสนั้น … นันทิย่อมเกิดขึ้น เมื่อนันทิ มีอยู่ สาราคะ ย่อมมี เมื่อสาราคะ มีอยู่สัญโญคะ ย่อมมี. มิคชาละ ภิกษุผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยการผูกติด (กับอารมณ์) ด้วยความเพลิน นั่นแหละ เราเรียกว่า ผู้มีการอยู่ อย่างมีเพื่อนสอง.

มิคชาละ โผฏฐัพพะทั้งหลาย ที่จะรับรู้ได้ด้วยกาย อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก …ถ้าหากว่าภิกษุย่อมเพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ สยบมัวเมา ซึ่งโผฏฐัพพะนั้น … นันทิ ย่อมเกิดขึ้น เมื่อนันทิ มีอยู่สาราคะ ย่อมมี เมื่อสาราคะ มีอยู่ สัญโญคะ ย่อมมี.มิคชาละ ภิกษุผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยการ ผูกติด(กับอารมณ์) ด้วยความเพลิน นั่นแหละ เราเรียกว่า ผู้มีการอยู่อย่างมี เพื่อนสอง.

มิคชาละ ธรรมทั้งหลายที่จะรับรู้ได้ด้วยมโน อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยอยู่แห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่ง ความกำหนัด มีอยู่ ถ้าหากว่าภิกษุย่อมเพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ สยบมัวเมา ซึ่งธรรมนั้น เมื่อภิกษุ เพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ สยบมัวเมาซึ่งธรรมนั้นอยู่ นันทิ ย่อมเกิดขึ้น เมื่อนันทิ มีอยู่ สาราคะย่อมมี เมื่อสาราคะ มีอยู่ สัญโญคะ ย่อมมี.
มิคชาละ ภิกษุผู้ ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยการผูกติด(กับอารมณ์) ด้วยความเพลิน นั่นแหละ เราเรียกว่า ผู้มีการอยู่อย่างมีเพื่อนสอง.

มิคชาละ ภิกษุผู้มีปกติอยู่ด้วยอาการอย่างนี้ถึงจะเสพเสนาสนะ อันเป็นป่า และ ป่าทึบ ซึ่งเงียบสงัดมีเสียงรบกวนน้อย ไร้ซึ่ง ลมจากผู้คน (วิชนวาตานิ) ควรเป็น ที่ทำการ อันสงัดของมนุษย์ (มนสุ สฺ ราหเสยยฺ กานิ) สมควรเป็น ที่หลีกเร้น เช่นนี้แล้วก็ตาม ถึงอย่างนั้น

ภิกษุนั้น เราก็ยังคงเรียกว่าผู้มีการอยู่อย่างมีเพื่อนสอง ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะว่า ตัณหานั่นแหละเป็นเพื่อนสองของภิกษุนั้น ตัณหานั้นอันเขายังละไม่ได้ ดังนั้น ภิกษุนั้น เราจึงเรียกว่า ผู้มีการอยู่อย่างมีเพื่อนสอง (ตณฺหา หิสฺส ทุติยา สาสฺส อปฺปหีนา ตสฺมา สทุติยวิหารีติ วุจฺจติ).

31_1
(ผู้มีการอยู่อย่าง อยู่ผู้เดียว)
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ ภิกษุจึงชื่อว่าเป็นผู้มีการ อยู่อย่าง อยู่ผู้เดียว พระเจ้าข้า.

มิคชาละ รูปทั้งหลายที่จะรับรู้ได้ด้วย ตา อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะ น่ารัก เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยอยู่แห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความ กำหนัดมีอยู่ (รูปา อิฏฺฐา กนฺตา มนาปา ปิยรูปา กามูปสญฺหิตา รชนิยา)

ถ้าหากว่าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่สยบมัวเมาซึ่งรูปนั้น เมื่อภิกษุไม่ เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญไม่สยบมัวเมาซึ่งรูปนั้น นั่นแหละ

นันทิ ย่อมดับ (นนฺทิ นิรุชฺฌติ)เมื่อนันทิ ไม่มีอยู่ สาราคะ ย่อมไม่มี (นนฺทิยา อสติ สาราโค น โหติ)เมื่อสาราคะ ไม่มีอยู่ สัญโญคะ ย่อมไม่มี(สาราเค อสติ สญฺโญโค น โหติ).

มิคชาละ ภิกษุผู้ไม่ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยการผูกติด(กับอารมณ์) ด้วยความเพลิน (นนฺทิสญฺโญชนวิสํยุตฺโต) นั่นแหละเราเรียกว่า ผู้มีการอยู่ อย่างอยู่ผู้เดียว.

มิคชาละ เสียงทั้งหลายที่จะรับรู้ได้ด้วย หู อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก … ถ้าหากว่าภิกษไม่เพลิดเพลิน ไม่พรำสรรเสริญ ไม่สยบมัวเมา ซึ่งเสียงนั้น… นันทิ ย่อมดับ เมื่อนันทิ ไม่มีอยู่ สาราคะ ย่อมไม่มี เมื่อสาราคะ ไม่มีอยู่ สัญโญคะ ย่อมไม่มี.

มิคชาละ ภิกษุผู้ไม่ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยการผูกติด(กับอารมณ์) ด้วยความเพลิน นั่นแหละ เราเรียกว่า ผู้มีการอยู่อย่างอยู่ผู้เดียว.

มิคชาละ กลิ่นทั้งหลาย ที่จะรับรู้ได้ด้วย จมูก อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก … ถ้าหากว่าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ กลิ่นนั้น… นันทิ ย่อมดับ เมื่อนันทิ ไม่มีอยู่ สาราคะ ย่อมไม่มีเมื่อสาราคะ ไม่มีอยู่ สัญโญคะ ย่อมไม่มี.

มิคชาละ ภิกษุผู้ไม่ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยการผูกติด(กับอารมณ์) ด้วยความ เพลิน นั่นแหละ เราเรียกว่า ผู้มีการอยู่อย่างอยู่ผู้เดียว.

มิคชาละ รสทั้งหลายที่จะรับรู้ได้ด้วย ลิ้น อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะ น่ารัก … ถ้าหากว่าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่สยบมัวเมา ซึ่งรสนั้น… นันทิ ย่อมดับ เมื่อนันทิ ไม่มีอยู่ สาราคะ ย่อมไม่มีเมื่อสาราคะ ไม่มีอยู่ สัญโญคะ ย่อมไม่มี.

มิคชาละ ภิกษุผู้ไม่ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยการผูกติด(กับอารมณ์) ด้วยความ เพลิน นั่นแหละ เราเรียกว่า ผู้มีการอยู่อย่างอยู่ผู้เดียว.

มิคชาละ โผฏฐัพพะทั้งหลายที่จะรับรู้ได้ด้วย กาย อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก …ถ้าหากว่าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่สยบมัวเมา ซึ่งโผฏฐัพพะนั้น … นันทิ ย่อมดับ เมื่อนันทิ ไม่มีอยู่สาราคะ ย่อมไม่มี เมื่อสาราคะ ไม่มีอยู่ สัญโญคะ ย่อมไม่มี.

มิคชาละ ภิกษุผู้ไม่ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยการผูกติด(กับอารมณ์) ด้วยความ เพลิน นั่นแหละ เราเรียกว่า ผู้มีการอยู่อย่างอยู่ผู้เดียว.

มิคชาละ ธรรมทั้งหลายที่จะรับรู้ได้ด้วย มโน อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยอยู่แห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่ง ความกำหนัด มีอยู่

ถ้าหากว่าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่สยบมัวเมา ซึ่งธรรมนั้น
เมื่อภิกษุ ไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญไม่สยบมัวเมาซึ่งธรรมนั้น นั่นแหละ นันทิ ย่อมดับ เมื่อนันทิไม่มีอยู่ สาราคะ ย่อมไม่มี เมื่อสาราคะ ไม่มีอยู่ สัญโญคะ ย่อมไม่มี.

มิคชาละ ภิกษุผู้ไม่ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยการผูกติด (กับอารมณ์) ด้วยความ เพลิน นั่นแหละ เราเรียกว่า ผู้มีการอยู่อย่างอยู่ผู้เดียว.

มิคชาละ ภิกษุผู้มี ปกติอยู่ด้วยอาการอย่างนี้ แม้จะอยู่ในหมู่บ้าน อันระคนไปด้วย ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาพระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชา เดียรถีย์ สาวกของ เดียรถีย์ทั้งหลายก็ตาม ถึงอย่างนั้น

ภิกษุนั้น เราก็ยังคงเรียกว่าผู้มีการอยู่อย่างอยู่ผู้เดียว ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะว่า ตัณหานั่นแหละ เป็นเพื่อนสองของภิกษุนั้น ตัณหานั้นอันเขาละได้แล้ว ดังนั้น ภิกษุนั้น เราจึงเรียกว่า ผู้มีการอยู่อย่างอยู่ผู้เดียว
(ตณฺหา หิสฺส ทุติยา สาสฺส ปหีนา ตสฺมา เอกวิหารีติ วุจฺจติ).

------------------------------------------------------------------------------------------

บทถัดไป บทที่ ๓๒/ โยคะ ๔ ( หน้า 89 )

  Top Next