เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
รวม้รื่อง สังโยชน์ พุทธวจน
หนังสือพุทธวจนออนไลน์   ดูหนังสือทั้งหมด
90 90 90 90 90
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์  
   
ค้นหาคำที่ต้องการ              

  สังโยชน์ - พุทธวจน ดาวน์โหลดหนังสือ(ไฟล์ PDF)
  
  6 of 11  
 
  สังโยชน์ พุทธวจน  ที่มา : http://watnapp.com/files  
       
    สารบัญ เลขหน้า
ตามหนังสือ
 
  บทที่    
  ๖๒ / ผลของการเจริญโพชฌงค์ ๗ (นัยที่ ๑) เหตุจากการเจริญอานาปานสติ 170  
  ๖๓ / ผลของการเจริญโพชฌงค์ ๗ (นัยที่ ๒) เหตุจากการได้ฟังธรรมแล้วระลึกถึง ตรึกถึงธรรมนั้น 186  
  ๖๔ / เจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อละ โอรัมภาคิยสัญโญชน์ 191  
  ๖๕ / เจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อละ อุทธัมภาคิยสัญโญชน์ 193  
  ๖๖ / เจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ละสัญโญชน์ได้ไม่ยาก 195  
  ๖๗ / เจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อละ อนุสัย ๗ 197  
  ๖๘ / เจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อละ โยคะ ๔ 198  
  ๖๙ / เจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อละ อาสวะ ๓ 199  
       
 
 



หน้า 170
๖๒/ผลของการเจริญโพชฌงค์ ๗ (นัยที่ ๑)

เหตุจากการเจริญอานาปานสติ

-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๔๒๔/๑๔๐๒.

ภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันเอกนั้นมีอยู่ ซึ่งเมื่อเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมทำธรรมทั้ง ๔ ให้บริบูรณ์ ครั้นธรรม ทั้ง ๔ นั้น อันเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมทำธรรมทั้ง ๗ ให้ บริบูรณ์ ครั้นธรรมทั้ง ๗ นั้น อันเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว
ย่อมทำธรรมทั้ง ๒ ให้บริบูรณ์ได้.

ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติสมาธินี้แล เป็นธรรม อันเอก ซึ่งเมื่อเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมทำสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ สติปัฏฐาน ๔ อันเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ยอ่ มทำ โพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ โพชฌงค์ ๗ อันเจริญแล้ว
ทำให้มากแล้ว ย่อมทำวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้.

ภิกษุทั้งหลาย ก็อานาปานสติสมาธิ อันเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างไรเล่า จึงทำสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้.

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปแล้วสู่ป่า หรือ โคนไม้ หรือเรือนว่างก็ตาม นั่งคู้ขาเข้ามาโดยรอบ ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า เธอนั้น มีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว เมื่อ หายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าเรา หายใจเข้าสั้น เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น

ย่อมฝึกหัดศึกษาว่า เรา1 เป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกาย ทั้งปวง หายใจเข้า
ย่อมฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะ ซึ่งกายทั้งปวง หายใจออก
ย่อมฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็น ผู้ทำกายสังขารให้รำงับหายใจเข้า
ย่อมฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับหายใจออก
ย่อมฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ หายใจเข้า
ย่อมฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ หายใจออก
ย่อมฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข หายใจเข้า
ย่อมฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข หายใจออก
ย่อมฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่ง
จิตตสังขาร หายใจเข้า ย่อมฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้
พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจออก

1. สำนวนแปลนี้มีทั้งคำ ว่า "เรา" และไม่มีคำ ว่า "เรา" -คณะผู้รวบรวม

ย่อมฝึกหัดศึกษาว่าเราเป็นผู้ทำ จิตตสังขารให้รำงับ หายใจเข้า ย่อมฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำจิตตสังขารให้รำงับ หายใจออก

ย่อมฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต หายใจเข้า ย่อมฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต หายใจออก
ย่อมฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำจิต ให้ปราโมทย์ยิ่ง หายใจเข้า ย่อมฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำจิต ให้ปราโมทย์ยิ่ง หายใจออก
ย่อมฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำจิต ให้ตั้งมัน หายใจเข้า
ย่อมฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำจิต ให้ตั้งมั่น หายใจออก
ย่อมฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำจิต ให้ปล่อยอยู่ หายใจเข้า
ย่อมฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำจิต ให้ปล่อยอยู่ หายใจออก
ย่อมฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้เห็น ซึ่งความไม่เที่ยง อยู่เป็นประจำ หายใจเข้า
ย่อมฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้เห็น ซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ หายใจออก
ย่อมฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้เห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า
ย่อมฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้เห็น ซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำ หายใจออก
ย่อมฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้เห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ หายใจเข้า
ย่อมฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้เห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ หายใจออก
ย่อมฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้เห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า
ย่อมฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้เห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ หายใจออก

ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุ เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเรา หายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น
ย่อมฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็น ผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกาย ทั้งปวง หายใจเข้า ย่อมฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะ ซึ่งกายทั้งปวง หายใจออก ย่อมฝึกหัดศึกษาว่าเราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับหายใจเข้า ย่อมฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับ หายใจออก

ภิกษุทั้งหลาย สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า เป็นผู้เห็นกาย ในกายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลก ออกเสียได้.

ภิกษุทั้งหลาย เราย่อมกล่าว ลมหายใจเข้าและ ลมหายใจออก ว่าเป็นกาย อันหนึ่งๆ ในกายทั้งหลาย.


ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ภิกษุนั้น ย่อมชื่ออว่าเป็นผู้เห็นกายในกาย อยู่เป็นประจำ มีความเพียร เผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌา และ โทมนัส ในโลก ออกเสียได้.

ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุ
ย่อมฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะ ซึ่งปิติ หายใจเข้า
ย่อมฝึกหัดศึกษา ว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ หายใจออก
ย่อมฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข หายใจเข้า
ย่อมฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข หายใจออก
ย่อมฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจเข้า
ย่อมฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้ พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจออก
ย่อมฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำจิตตสังขารให้รำงับ หายใจเข้า
ย่อมฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำจิตตสังขารให้รำงับ หายใจออก

ภิกษุทั้งหลาย สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า เป็นผู้เห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย อยู่เป็นประจำ มีความเพียร เผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัส ในโลก ออกเสียได้.

ภิกษุทั้งหลาย เราย่อมกล่าวการทำ ในใจเป็นอย่างดี ต่อ ลมหายใจเข้า และ ลมหายใจออก ว่าเป็น เวทนาอันหนึ่งๆ ในเวทนาทั้งหลาย.

ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ภิกษุนั้น ย่อมชื่อว่าเป็นผู้เห็นเวทนา ในเวทนาทั้งหลายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและ โทมนัสในโลกออกเสียได้.

ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุ ย่อมฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะ ซึ่งจิต หายใจเข้า ย่อมฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต หายใจออก
ย่อมฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่ง หายใจเข้า
ย่อมฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่ง หายใจออก
ย่อมฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำ จิตให้ตั้งมั่น หายใจเข้า
ย่อมฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่น หายใจออก
ย่อมฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่ หายใจเข้า
ย่อมฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่ หายใจออก

ภิกษุทั้งหลาย สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า เป็นผู้เห็น จิตในจิตอยู่เป็นประจำ มีความ เพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลก ออกเสียได้.

ภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าวการเจริญอานาปานสติ สมาธิ ว่าเป็นสิ่งที่มีได้แก่ผู้มี สติอันลืมหลงแล้ว ไม่มี สัมปชัญญะ (นาหํ ภิกฺขเว มุฏฺฐสฺสติสฺส อสมฺปชานสฺส อานาปานสฺสติ สมาธิภาวนํ วทามิ).1
1. เทียบเคียงได้ที่ -บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๔๑๙/๑๓๘๔. และ -บาลี อุปริ. ม. ๑๔/๑๙๖/๒๘๙.-คณะผู้รวบรวม

ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ภิกษุนั้นย่อม ชื่อ ว่าเป็นผู้เห็น จิต ในจิต อยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัส ในโลกออกเสียได้.

ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุ ย่อมฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้เห็นซึ่งความไม่เที่ยง อยู่เป็นประจำ หายใจเข้า ย่อมฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้เห็นซึ่งความไม่เที่ยง อยู่เป็นประจำ หายใจออก

ย่อมฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้เห็นซึ่งความจางคลาย อยู่เป็นประจำ หายใจเข้า
ย่อมฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้เห็น ซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำ หายใจออก
ย่อมฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้เห็นซึ่งความดับไม่เหลือ อยู่เป็นประจำ หายใจเข้า
ย่อมฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้เห็นซึ่ง ความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ หายใจออก
ย่อมฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้เห็นซึ่งความสลัดคืน อยู่เป็นประจำ หายใจเข้า
ย่อมฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้เห็น ซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ หายใจออก

ภิกษุทั้งหลาย สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า เป็นผู้เห็น ธรรมในธรรมทั้งหลาย อยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัส ในโลกออกเสียได้.

เธอเห็นการละอภิชฌาและโทมนัสทั้งหลายด้วยปัญญา จึงเป็นผู้เข้าไปเพ่ง เฉพาะ เป็นอย่างดี (โส ยนฺตํ โหติ อภิชฺฌาโทมนสฺสานํ ปหานํ ตํ ปญฺญาย ทิสฺวา สาธุกํ อชฺฌุเปกฺขิตา โหติ).1
1. -บาลี อุปริ. ม. ๑๔/๑๙๗/๒๙๐. มีเนื้อความว่า โส ยนฺตํ อภิชฺฌาโทมนสฺสานํ ปหานํปญฺญาย ทิสฺวา สาธุกํ อชฺฌุเปกฺขิตา โหติ (ไม่มีคำ ว่า โหติ) -คณะผู้รวบรวม

ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ภิกษุนั้น ย่อมชื่อว่าเป็นผู้เห็นธรรมในธรรม ทั้งหลายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและ โทมนัสในโลกออกเสียได้.

ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติสมาธิ อันเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมทำสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้.

ภิกษุทั้งหลาย ก็สติปัฏฐาน ๔ อันเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างไรเล่า จึงทำ โพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ได้.

ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุเป็นผู้เห็นกายในกาย อยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผา กิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัส ในโลกออกเสียได้ สมัยนั้น สติของ ภิกษุผู้เข้าไปตั้งไว้แล้ว เป็นธรรมชาติไม่ลืมหลง (อุปฏฺฐิตสฺส
ตสฺมึ สมเย สติ โหติ อสมฺมุฏฺฐา)
.

ภิกษุทั้งหลาย
สมัยใด
สติของภิกษุผู้เข้าไปตั้งไว้แล้ว เป็นธรรมชาติ ไม่ลืมหลง (ภิกฺขุโน อุปฏฺฐิตา สติ โหติ อสมฺมุฏฺฐา)
สมัยนั้น
สติสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุน้้นปรารภแล้ว
สมัยนั้น
ภิกษุชื่อว่า ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์
สมัยนั้น
สติสัมโพชฌงค์ของภิกษุชื่อว่าถึงความเจริญบริบูรณ์.
เธอนั้น เมื่อเป็นผู้มีสติเช่น นั้นอยู่ ย้อมทำการเลือก ย่อมทำการเฟ้น ย่อมทำการ ใคร่ครวญซึ่งธรรมนั้นด้วยปัญญา (โส ตถา สโต วิหรนฺโต ตํ ธมฺมํ ปญฺญาย ปวิจินติ ปวิจรติ ปริวีมํสมาปชฺชติ).

ภิกษุทั้งหลาย
สมัยใด
ภิกษุเมื่อเป็น ผู้มีสติเช่นนั้นอยู่ ย่อมทำการเลือก ย่อมทำการเฟ้น ย่อมทำการใคร่ครวญ ซึ่งธรรมนั้นด้วยปัญญา (ภิกฺขุ ตถา สโต วิหรนฺโต ตํ ธมฺมํ ปญฺญาย ปวิจินติ ปวิจรติ ปริวีมํสมาปชฺชติ)
สมัยนั้น
ธัมมวิจย สัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว
สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
สมัยนั้น ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ของภิกษุ ชื่อว่าถึงความ เจริญบริบูรณ์.
เธอนั้น เมื่อเลือกเฟ้นใคร่ครวญอยู่ซึ่งธรรมนั้น ด้วยปัญญา ความเพียร อันไม่ย่อ หย่อน ชื่อว่าเป็นธรรม อันภิกษุนั้นปรารภแล้ว (ตสฺส ตํ ธมฺมํ ปญฺญาย ปวิจินโต ปวิจรโต ปริวีมํสมาปชฺชโต อารทฺธํ โหติ วิริยํ อสลฺลีนํ).

ภิกษุทั้งหลาย
สมัยใด
ภิกษุนั้นเมื่อเลือกเฟ้นใคร่ครวญอยู่ซึ่งธรรมนั้น ด้วยปัญญา ความเพียร อันไม่ ย่อหย่อน ชื่อว่าเป็นธรรมอันภิกษุนั้นปรารภแล้ว (ภิกฺขุโน ตํ ธมฺมํ ปญฺญาย ปวิจินโต ปวิจรโต ปริวีมํสมาปชฺชโต อารทฺธํ โหติ วิริยํ อสลฺลีนํ)
สมัยนั้น
วิริยสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว
สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า ย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์
สมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์ ของภิกษุชื่อว่า ถึงความ เจริญบริบูรณ์.
เธอนั้น เมื่อมีความเพียรอันปรารภแล้ว ปีติอันเป็น นิรามิสก็เกิดขึ้น (อารทฺธวิริยสฺส อุปฺปชฺชติ ปีติ นิรามิสา).

ภิกษุทั้งหลาย
สมัยใด
ภิกษุนั้นเมื่อมีความเพียรอันปรารภแล้ว ปีติอันเป็น นิรามิส ก็เกิดขึ้น (ภิกฺขุโน อารทฺธ วิริยสฺส อุปฺปชฺชติ ปีติ นิรามิสา)
สมัยนั้น
ปีติ สัมโพชฌงค์ ก็เป็น อันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว
สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญ ปีติสัมโพชฌงค์
สมัยนั้น
ปีติสัมโพชฌงค์ของภิกษุชื่อว่าถึงความเจริญบริบูรณ์.
เธอนั้น เมื่อมีใจประกอบด้วยปีติ แม้กายก็รำงับ แม้จิตก็รำงับ (ปีติมนสฺส กาโยปิ ปสฺสมฺภติ จิตฺตมฺปิ ปสฺสมฺภติ).

ภิกษุทั้งหลาย
สมัยใด
ภิกษุนั้น เมื่อมีใจประกอบด้วย ปีติ แม้กายก็รำงับ แม้จิต ก็รำงับ (ภิกฺขุโน ปีติมนสฺส กาโยปิ ปสฺสมฺภติ จิตฺตมฺปิ ปสฺสมฺภติ)
สมัยนั้น
ปัสสัทธิ สัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว
สมัยนั้น
ภิกษุชื่อว่า ย่อมเจริญ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ (ปสสฺทธิ สมโฺพชฌฺงคฺ)
สมัยนั้น ปัสัสทธิ สัมโพชฌงค์ ของภิกษุชื่อว่าถึงความเจริญบริบูรณ์.
เธอนั้น เมื่อมีกายอันสงบแล้ว มีความสุขอยู่ จิตย่อมตั้งมั่น (ปสฺสทฺธกายสฺส สุขิโน จิตฺตํ สมาธิยติ).

ภิกษุทั้งหลาย
สมัยใด
ภิกษุนั้น เมื่อมีกายอันสงบแล้ว มีความสุข อยู่ จิตย่อม ตั้งมั่น (ภิกขุโนปสสฺ ทธฺ กายสสฺ สขุ โิ น จติ ตฺ ํสมาธิยติ)
สมัยนั้น
สมาธิสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว
สมัยนั้น
ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญ สมาธิสัมโพชฌงค์ (สมาธิสมฺโพชฺฌงฺคํ)
สมัยนั้น
สมาธิสัมโพชฌงค์ ของภิกษุ ชื่อว่าถึงความเจริญบริบูรณ์. เธอเป็นผู้มีจิตตั้งมั่นแล้ว จึงเป็นผู้เข้าไปเพ่งเฉพาะเป็นอย่างดี (โส ตถา สมาหิตํ จิตฺตํ สาธุกํ อชฺฌุเปกฺขิตา โหติ).

ภิกษุทั้งหลาย
สมัยใด ภิกษุเป็นผู้มีจิตตั้งมั่นแล้ว จึงเป็นผู้เข้าไปเพ่งเฉพาะ เป็นอย่างดี (ภิกฺขุ ตถา สมาหิตํ จิตฺตํ สาธุกํ อชฺฌุเปกฺขิตา โหติ)
สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว
สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า ย่อมเจริญ อุเบกขาสัมโพชฌงค์
สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของภิกษุ ชื่อว่าถึงความเจริญบริบูรณ์.

ภิกษุทั้งหลาย
สมัยใด ภิกษุเป็นผู้เห็นเวทนา ในเวทนาทั้งหลายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผา กิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลก ออกเสียได้
สมัยนั้น สติของภิกษุผู้เข้าไปตั้งไว้แล้ว เป็นธรรมชาติ ไม่ลืมหลง …

ภิกษุทั้งหลาย
สมัยใด ภิกษุเป็นผู้เห็นจิตในจิต อยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผา กิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและ โทมนัสในโลกออกเสียได้
สมัยนั้น สติของ ภิกษุผู้เข้าไปตั้งไว้แล้ว เป็นธรรมชาติไม่ลืมหลง …

ภิกษุทั้งหลาย
สมัยใด ภิกษุเป็นผู้เห็นธรรมในธรรม ทั้งหลายอยู่เป็น ประจำ มีความเพียร เผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลก ออกเสียได้
สมัยนั้น สติของภิกษุผู้เข้าไปตั้งไว้แล้ว เป็นธรรมชาติไม่ลืมหลง.

ภิกษุทั้งหลาย
สมัยใด สติของภิกษุผู้เข้าไปตั้งไว้แล้ว เป็นธรรมชาติ ไม่ลืมหลง
สมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ ก็เป็น อันว่าภิกษุนั้น ปรารภแล้ว
สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า ย่อมเจริญ สติสัมโพชฌงค์
สมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ของภิกษุชื่อว่าถึงความเจริญบริบูรณ์.
เธอนั้น เมื่อเป็นผู้มีสติเช่นนั้นอยู่ ย่อมทำการเลือก ย่อมทำการเฟ้น ย่อมทำการ ใคร่ครวญซึ่งธรรมนั้นด้วยปัญญา.

ภิกษุทั้งหลาย
สมัยใด ภิกษุเมื่อเป็นผู้มีสติเช่น นั้นอยู่ ย่อมทำการเลือก ย่อมทำการเฟ้น ย่อมทำการใคร่ครวญ ซึ่งธรรมนั้นด้วยปัญญา
สมัยนั้น ธัมมวิจย สัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว
สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
สมัยนั้น ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ของภิกษุ ชื่อว่าถึงความ เจริญบริบูรณ์.
เธอนั้น เมื่อเลือกเฟ้น ใคร่ครวญอยู่ซึ่งธรรมนั้น ด้วยปัญญา ความเพียรอันไม่ย่อ หย่อน ชื่อว่าเป็นธรรม อันภิกษุนั้นปรารภแล้ว.

ภิกษุทั้งหลาย
สมัยใด ภิกษุนั้น เมื่อเลือกเฟ้นใคร่ครวญ อยู่ซึ่งธรรมนั้น ด้วยปัญญา ความเพียร อันไม่ย่อหย่อน ชื่อว่า เป็นธรรมอันภิกษุนั้น ปรารภแล้ว
สมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว
สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า ย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์
สมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์ของภิกษุ ชื่อว่าถึงความ เจริญบริบูรณ์.
เธอนั้น เมื่อมีความเพียรอันปรารภแล้ว ปีติอันเป็น นิรามิสก็เกิดขึ้น.

ภิกษุทั้งหลาย
สมัยใด ภิกษุนั้น เมื่อมีความเพียรอัน ปรารภแล้ว ปีติอันเป็น นิรามิสก็เกิดขึ้น
สมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้น ปรารภแล้ว
สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญ ปีติสัมโพชฌงค์
สมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ของ ภิกษุชื่อว่า ถึงความเจริญบริบูรณ์.
เธอนั้น เมื่อมีใจประกอบด้วยปีติ แม้กายก็รำงับ แม้จิตก็รำงับ (ปีติมนสฺส กาโยปิ ปสฺสมฺภติ จิตฺตมฺปิ ปสฺสมฺภติ).

ภิกษุทั้งหลาย
สมัยใด ภิกษุนั้น เมื่อมีใจประกอบด้วย ปีติ แม้กายก็รำงับ แม้จิตก็รำงับ (ภิกฺขุโน ปีติมนสฺส กาโยปิ ปสฺสมฺภติ จิตฺตมฺปิ ปสฺสมฺภติ)
สมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่า ภิกษุนั้นปรารภแล้ว
สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า ย่อมเจริญปัสสัทธิ สัมโพชฌงค์ (ปสฺสทฺธิสมฺโพชฺฌงฺคํ)
สมัยนั้น ปัสสัทธิ สัมโพชฌงค์ ของภิกษุชื่อว่าถึงความเจริญบริบูรณ์.
เธอนั้นเมื่อมีกายอันสงบแล้ว มีความสุขอยู่ จิตย่อมตั้งมั่น (ปสฺสทฺธกายสฺส สุขิโน จิตฺตํ สมาธิยติ).

ภิกษุทั้งหลาย
สมัยใด ภิกษุนั้นเมื่อมีกายอันสงบแล้ว มีความสุข อยู่ จิตย่อม ตั้งมั่น(ภิกฺขุโนํ ปสฺสทฺธกายสฺส สุขิโน จิตฺตํ สมาธิยติ)
สมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้น ปรารภแล้ว
สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญ สมาธิสัมโพชฌงค์ (สมาธิสมฺโพชฺฌงฺคํ)
สมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ของภิกษุชื่อว่า ถึงความเจริญบริบูรณ์.
เธอเป็นผู้มีจิตตั้งมั่นแล้ว จึงเป็นผู้เข้าไปเพ่งเฉพาะ เป็นอย่างดี.

ภิกษุทั้งหลาย
สมัยใด ภิกษุ เป็นผู้มีจิตตั้งมั่นแล้ว จึงเป็นผู้เข้าไปเพ่งเฉพาะ เป็นอย่างดี สมัยนั้น อุเบกขา สัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว
สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์
สมัยนั้น อุเบกขา สัมโพชฌงค์ ของภิกษุชื่อว่าถึงความเจริญบริบูรณ์.

ภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ อันเจริญแล้ว ทำให้ มากแล้ว อย่างนี้แล ย่อมทำ โพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ได้.

ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ อันเจริญแล้ว ทำให้ มากแล้วอย่างไรเล่า จึงจะทำ วิชชา และวิมุตติ ให้บริบูรณ์ได้.

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้

ย่อมเจริญ สติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัย วิราคะ
อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อ โวสสัคคะ

ย่อมเจริญ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัย วิราคะ
อาศัยนิโรธ น้อมไป เพื่อโวสสัคคะ

ย่อมเจริญ วิริยสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัย วิราคะ
อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อ โวสสัคคะ

ย่อมเจริญ ปีติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัย วิราคะ
อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อ โวสสัคคะ

ย่อมเจริญ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัย วิราคะ
อาศัยนิโรธ น้อมไป เพื่อโวสสัคคะ

ย่อมเจริญ สมาธิสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัย วิราคะ
อาศัยนิโรธ น้อมไป เพื่อโวสสัคคะ

ย่อมเจริญ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัย วิราคะ
อาศัยนิโรธ น้อมไป เพื่อโวสสัคคะ

ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ อันเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ย่อมทำ วิชชา และวิมุตติให้บริบูรณ์ได้ ดังนี้.



หน้า 186
๖๓/ผลของการเจริญโพชฌงค์ ๗ (นัยที่ ๒)

เหตุจากการได้ฟังธรรมแล้วระลึกถึง ตรึกถึงธรรมนั้น

-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๙๘/๓๗๓.

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่าใดเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติ ญาณทัสสนะ การได้เห็นภิกษุเหล่านั้นก็ดี การได้ฟังภิกษุเหล่านั้นก็ดี การเข้าไป หาภิกษุเหล่านั้นก็ดี การเข้าไปนั่งใกล้ภิกษุเหล่านั้นก็ดี การระลึกถึงภิกษุ เหล่านั้นก็ดี การบวชตามภิกษุเหล่านั้นก็ดี

แต่ละอย่างๆ เรากล่าวว่ามีอุปการะ มาก ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะว่าผู้ที่ได้ฟัง ธรรมของภิกษุ เห็นปานนั้นแล้ว ย่อมหลีกออก อยู่ด้วย ๒ วิธี คือ หลีกออกด้วย กาย และ หลีกออกด้วยจิต เมื่อเธอหลีกออกอย่อย่างนั้นแล้ว ย่อมระลึกถึง ย่อม ตรึกถึง ธรรมนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุหลีกออกอยู่อย่างนั้นแล้ว ย่อมระลึกถึง ย่อมตรึก ถึงธรรมนั้น สมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ ก็เป็น อันว่าภิกษุนั้น ปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญ สติสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ ของ ภิกษุชื่อว่า ถึงความเจริญบริบูรณ์ …

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเป็นผู้มีสติเช่นนั้นอยู่ ย่อมทำการเลือก ย่อมทำการเฟ้น ย่อมทำการใคร่ครวญ ซึ่งธรรมนั้นด้วยปัญญา สมัยนั้น ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว …

ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุนั้น เมื่อเลือกเฟ้น ใคร่ครวญอยู่ซึ่งธรรมนั้น ด้วย ปัญญา ความเพียรอันไม่ ย่อหย่อน ชื่อว่าเป็นธรรมอันภิกษุนั้นปรารภแล้ว สมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว …

ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุนั้น เมื่อมีความเพียร อันปรารภแล้ว ปีติอันเป็นนิรามิสก็เกิดขึ้น สมัยนั้น ปีติ สัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้น ปรารภแล้ว …

ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุนั้น เมื่อมีใจประกอบ ด้วยปีติ แม้กายก็รำงับ แม้จิตก็รำงับ สมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว …

ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุนั้น เมื่อมีกายอันสงบแล้ว มีความสุขอยู่ จิตย่อมตั้งมั่น สมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว …

ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุ เป็นผู้มีจิตตั้งมั่นแล้ว จึงเป็นผู้เข้าไปเพ่งเฉพาะ เป็นอย่างดี สมัยนั้น อุเบกขา สัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ สมัยนั้นอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ของภิกษุชื่อว่าถึงความเจริญบริบูรณ์.

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อโพชฌงค์ ๗ เหล่านี้ อันเจริญ กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ ผล ๗ ประการ อานิสงส์ ๗ ประการ ย่อมเป็นสิ่งที่หวังได้ คือ

(1) ย่อมสำเร็จในปัจจุบัน
(ทิฏฺเฐว ธมฺเม ปฏิกจฺจ อญฺญํ อาราเธติ)

(2) ถ้าไม่สำเร็จในปัจจุบัน ย่อมสำเร็จในกาล แห่งมรณะ
(โน เจ ทิฏฺเฐว ธมฺเม ปฏิกจฺจ อญฺญํ อาราเธติ อถ มรณกาเล อญฺญํ อาราเธติ)

(3) ถ้าไม่สำเร็จในปัจจุบัน และไม่สำเร็จในกาล แห่งมรณะ เพราะโอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ สิ้นไป ย่อมเป็น อันตราปรินิพพายี
(โน เจ ทิฏฺเฐว ธมฺเม ปฏิกจฺจ อญฺญํ อาราเธติ โน เจ มรณกาเล อญฺญํ อาราเธติ อถ ปญฺจนฺนํ โอรมฺภาคิยานํ สญฺโญชนานํ ปริกฺขยา อนฺตราปรินิพฺพายี โหติ)

(4) ถ้าไม่สำเร็จในปัจจุบัน ไม่สำเร็จในกาลแห่งมรณะ เพราะโอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ สิ้นไป ไม่ได้เป็น อันตราปรินิพพายี เพราะโอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ สิ้นไป ย่อมเป็นอุปหัจจปรินิพพายี
(โน เจ ทิฏฺเฐว ธมฺเม ปฏิกจฺจ อญฺญํ อาราเธติ โน เจ มรณกาเล อญฺญํ อาราเธติ โน เจ ปญฺจนฺนํ โอรมฺภาคิยานํ สญฺโญชนานํ ปริกฺขยา อนฺตราปรินิพฺพายี โหติ อถ ปญฺจนฺนํ โอรมฺภาคิยานํ สญฺโญชนานํ ปริกฺขยา อุปหจฺจปรินิพฺพายี โหติ)

 (5) ถ้าไม่สำเร็จในปัจจุบัน ไม่สำเร็จในกาลแห่ง มรณะ เพราะโอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ สิ้นไป ไม่ได้เป็น อันตราปรินิพพายี เพราะโอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ สิ้นไป ไม่ได้เป็นอุปหัจจปรินิพพายี เพราะโอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ สิ้นไป ย่อมเป็นอสังขารปรินิพพายี
(โน เจ ทิฏฺเฐว ธมฺเม ปฏิกจฺจ อญฺญํ อาราเธติ โน เจ มรณกาเล อญฺญํ อาราเธติ โน เจ ปญฺจนฺนํ โอรมฺภาคิยานํ สญฺโญชนานํ ปริกฺขยา อนฺตราปรินิพฺพายี โหติ โน เจ ปญฺจนฺนํ โอรมมฺภาคิยานํ สญฺโญชนานํ ปริกฺขยา อุปหจฺจปรินิพฺพายี โหติ อถ ปญฺจนฺนํ โอรมฺภาคิยานํ สญฺโญชนานํ ปริกฺขยา อสงฺขารปรินิพฺพายี โหติ)

(6) ถ้าไม่สำเร็จในปัจจุบัน ไม่สำเร็จในกาลแห่ง มรณะ เพราะโอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ สิ้นไป ไม่ได้เป็น อันตราปรินิพพายี เพราะโอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ สิ้นไป ไม่ได้เป็นอุปหัจจปรินิพพายี เพราะโอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ สิ้น ไป ไม่ได้เป็นอสังขารปรินิพพายี เพราะโอรัมภาคิย สัญโญชน์ ๕ สิ้นไป ย้อมเป็นสสังขารปรินิพพายี
(โน เจ ทฏิ เฺ ฐว ธมฺเม ปฏิกจฺจ อญฺญํ อาราเธติ โน เจ มรณกาเล อญฺญํ อาราเธติ โน เจ ปญฺจนฺนํ โอรมฺภาคิยานํ สญฺโญชนานํ ปริกฺขยา อนฺตราปรินิพฺพายี โหติ โน เจ ปญฺจนฺนํ โอรมฺภาคิยานํ สญฺโญชนานํ ปริกฺขยา อุปหจฺจปรินิพฺพา ยี โหติ โน เจ ปญฺจนฺนํ โอรมฺภาคิยานํ สญฺโญชนานํ ปริกฺขยา อสงฺขารปรินิพฺพายี โหติ อถ ปญฺจนฺนํ โอรมฺภาคิยานํ สญฺโญชนานํ ปริกฺขยา สสงฺขารปรินิพฺพายี โหติ)


(7) ถ้าไม่สำเร็จในปัจจุบัน ไม่สำเร็จในกาลแห่งมรณะ เพราะโอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ สิ้นไป ไม่ได้เป็นอันตรา ปรินิพพายี เพราะโอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ สิ้นไป ไม่ได้เป็น อุปหัจจปรินิพพายี เพราะโอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ สิ้นไป ไม่ได้เป็นอสังขารปรินิพพายี เพราะโอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ สิ้นไป ไม่ได้เป็น สสังขารปรินิพพายี เพราะโอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ สิ้นไป ย่อมเป็น อุทธังโสโตอกนฏิ ฐคามี
(โน เจ ทิฏฺเฐว ธมฺเม ปฏิกจฺจ อญฺญํ อาราเธติ โน เจ มรณกาเล อญฺญํ อาราเธติ โน เจ ปญฺจนฺนํ โอรมฺภาคิยานํ สญฺโญชนานํ ปริกฺขยา อนฺตราปรินิพฺพายี โหติ โน เจ ปญฺจนฺนํ โอรมฺภาคิยานํ สญฺโญชนานํ ปริกฺขยา อุปหจฺจปรินิพฺพายี โหติ โน เจ ปญฺจนฺนํ โอรมฺภาคิยานํ สญฺโญชนานํ ปริกฺขยา อสงฺขารปรินิพฺพา ยี โหติ โน เจ ปญฺจนฺนํ โอรมฺภาคิยานํ สญฺโญชนานํ ปริกฺขยา สสงฺขาร ปรินิพฺพายี โหติ อถ ปญฺจนฺนํ โอรมฺภาคิยานํ สญฺโญชนานํ ปริกฺขยา อุทฺธํโสโต โหติ อกนิฏฺฐคามี)


ภิกษุทั้งหลาย เมื่อโพชฌงค์ ๗ เหล่านี้ อันเจริญ กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ ผล ๗ ประการ อานิสงส์ ๗ ประการเหล่านี้แล ย่อมเป็นสิ่งที่หวังได้.


หน้า
191

๖๔/เจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘
เพื่อละ โอรัมภาคิยสัญโญชน์

-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๙๐/๓๔๙.

ภิกษุทั้งหลาย โอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ ประการ เหล่านี้ ๕ ประการเป็นอย่างไร คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส กามฉันทะ พยาบาท ภิกษุทั้งหลาย
เหล่านี้แล โอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ ประการ.

ภิกษทั้งหลาย ภิกษุพึง เจริญอริยมรรค อันประกอบ ด้วยองค์ ๘ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละ โอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ ประการเหล่านี้ ภิกษุทั้งหลาย อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุ ในธรรมวินัยนี้

(1) ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันอาศัยวิเวก อาศัย วิราคะ
อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อโวสสัคคะ (ความสละลง)

(2) ย่อมเจริญสัมมาสังกัปปะ อันอาศัยวิเวก อาศัย วิราคะ
อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อโวสสัคคะ (โวสฺสคฺคปริณามึ)

(3) ย่อมเจริญสัมมาวาจา อันอาศัยวิเวก อาศัย วิราคะ
อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อโวสสัคคะ

 (4) ย่อมเจริญสัมมากัมมันตะ อันอาศัยวิเวก อาศัย วิราคะ
อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อโวสสัคคะ

(5) ย่อมเจริญสัมมาอาชีวะ อันอาศัยวิเวก อาศัย วิราคะ
อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อโวสสัคคะ

(6) ย่อมเจริญสัมมาวายามะ อันอาศัยวิเวก อาศัย วิราคะ
อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อโวสสัคคะ

(7) ย่อมเจริญสัมมาสติ อันอาศัยวิเวก อาศัย วิราคะ
อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อโวสสัคคะ

(8) ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัย วิราคะ
อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อโวสสัคคะ

ภิกษุทั้งหลาย อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘

เหล่านี้ อันภิกษุพึงเจริญ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละ โอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ ประการแล.

หน้า
193

๖๕/ เจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘
เพื่อละ อุทธัมภาคิยสัญโญชน์

-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๙๐/๓๕๑.

ภิกษุทั้งหลาย อุทธัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ ประการ เหล่านี้ ๕ ประการเป็นอย่างไร คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้แล อุทธัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ ประการ.

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคอันประกอบ ด้วยองค์ ๘ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละ อุทธัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ ประการเหล่านี้

ภิกษุทั้งหลาย อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรม วินัยนี้

(1) ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันอาศัยวิเวก อาศัย วิราคะ
อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อโวสสัคคะ

(2) ย่อมเจริญสัมมาสังกัปปะ อันอาศัยวิเวก อาศัย วิราคะ
อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อโวสสัคคะ

(3) ย่อมเจริญสัมมาวาจา อันอาศัยวิเวก อาศัย วิราคะ
อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อโวสสัคคะ

(4) ย่อมเจริญสัมมากัมมันตะ อันอาศัยวิเวก อาศัย วิราคะ
อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อโวสสัคคะ

(5) ย่อมเจริญสัมมาอาชีวะ อันอาศัยวิเวก อาศัย วิราคะ
อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อโวสสัคคะ

(6) ย่อมเจริญสัมมาวายามะ อันอาศัยวิเวก อาศัย วิราคะ
อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อโวสสัคคะ

(7) ย่อมเจริญสัมมาสติ อันอาศัยวิเวก อาศัย วิราคะ
อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อโวสสัคคะ

(8) ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัย วิราคะ
อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อโวสสัคคะ

ภิกษุทั้งหลาย อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เหล่านี้ อันภิกษุพึงเจริญ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละ อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการแล.

(ในสูตรอื่นตรัสว่า ให้เจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ มีอันกำ จัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำ จัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำ จัดโมหะเป็นที่สุด หรือเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อันหยั่ง ลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด หรือเจริญอริยมรรคอันประกอบ ด้วยองค์ ๘ อันน้อมไปสู่นิพพานโน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน เพื่อละอุทธัมภาคิยสัญโญชน์-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๙๒/๓๕๔. -คณะผู้รวบรวม)



หน้า 195

๖๖/เจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘

ละสัญโญชน์ได้ไม่ยาก

-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๗๖/๒๘๘.

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรือเดินสมุทรที่ผูกด้วยเครื่องผูก คือหวาย แช่อยู่ในน้ำตลอด ๖ เดือน เขายกขึ้นบกใน ฤดูหนาว เครื่องผูกต้องลม และแดดแล้ว อันฝนตก รดแล้ว ย่อมจะเสียไป ผุไป โดยไม่ยากเลย ฉันใดก็ฉันนั้น

เมื่อภิกษุ เจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ กระทำให้มาก ซึ่งอริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ สัญโญชน์ทั้งหลาย ย่อมสงบไป หมดไป โดยไม่ยากเลย (อปฺปกสิเรเนว สญฺโญชนานิ ปฏิปฺปสฺสมฺภนฺติ ปูติกานิ ภวนฺติ).

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบ ด้วยองค์ ๘ กระทำให้มาก ซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วย องค์ ๘ อย่างไรเล่า สัญโญชน์ทั้งหลายจึงสงบไป หมดไป โดยไม่ยากเลย ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัย นิโรธ น้อมไปเพื่อโวสสัคคะ ย่อมเจริญสัมมา สังกัปปะ ... ย่อมเจริญสัมมาวาจา … ย่อมเจริญสัมมากัมมันตะ … ย่อมเจริญ สัมมาอาชีวะ … ย่อมเจริญสัมมาวายามะ … ย่อมเจริญสัมมาสติ … ย่อมเจริญ สัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อโวสสัคคะ.

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วย องค์ ๘ กระทำให้มาก ซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล สัญโญชน์ทั้งหลายจึงสงบ หมดไป โดยไม่ยากเลย.


หน้า
197
๖๗/เจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘

เพื่อละ อนุสัย ๗

-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๘๙/๓๔๑.

ภิกษุทั้งหลาย อนุสัย ๗ อย่างนี้ ๗ อย่างเป็นอย่างไร ได้แก่ อนุสัยคือกามราคะ อนุสัยคือปฏิฆะ อนุสัยคือทิฏฐิ อนุสัยคือวิจิกิจฉา อนุสัยคือมานะ อนุสัยคือ ภวราคะ อนุสัยคืออวิชชา ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้แล อนุสัย ๗ อย่าง.

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคอันประกอบ ด้วยองค์ ๘ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอนุสัย ๗ อย่างนี้

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันอาศัยวิเวก อาศัย วิราคะ อาศัย นิโรธ น้อมไปเพื่อโวสสัคคะ ย่อมเจริญสัมมาสังกัปปะ … ย่อมเจริญ สัมมาวาจา … ย่อมเจริญสัมมากัมมันตะ … ย่อมเจริญสัมมาอาชีวะ … ย่อมเจริญ สัมมาวายามะ … ย่อมเจริญสัมมาสติ … ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อโวสสัคคะ.

ภิกษุทั้งหลาย อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เหล่านี้ อันภิกษุพึงเจริญ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละ อนุสัย ๗ อย่างเหล่านี้.


หน้า
198
๖๘/ เจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘

เพื่อละ โยคะ ๔

-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๘๘/๓๓๕.

ภิกษุทั้งหลาย โยคะ ๔ อย่างนี้ ๔ อย่างเป็นอย่างไร คือ กามโยคะ ภวโยคะ ทิฏฐิโยคะ อวิชชาโยคะ ภิกษุ ทั้งหลาย เหล่านี้แล โยคะ ๔ อย่าง.

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคอันประกอบ ด้วยองค์ ๘ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละโยคะ ๔ อย่างนี้

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันอาศัยวิเวก อาศัย วิราคะ อาศัย นิโรธ น้อมไปเพื่อโวสสัคคะ ย่อมเจริญสัมมาสังกัปปะ … ย่อมเจริญ สัมมาวาจา … ย่อมเจริญสัมมากัมมันตะ … ย่อมเจริญสัมมาอาชีวะ … ย่อมเจริญ สัมมาวายามะ … ย่อมเจริญสัมมาสติ … ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อโวสสัคคะ.

ภิกษุทั้งหลาย อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เหล่านี้ อันภิกษุพึงเจริญ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละ โยคะ ๔ อย่างเหล่านี้.


หน้า
199
๖๙/ เจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘

เพื่อละ อาสวะ ๓

-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๘๔/๓๑๕.

ภิกษุทั้งหลาย อาสวะ ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็น อย่างไร คือ อาสวะคือกาม อาสวะคือภพ อาสวะคือ อวิชชา ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้แล อาสวะ ๓ อย่าง.

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคอันประกอบ ด้วยองค์ ๘ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอาสวะ ๓ อย่างนี้

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันอาศัยวิเวก อาศัย วิราคะ อาศัย นิโรธ น้อมไปเพื่อโวสสัคคะ ย่อมเจริญสัมมาสังกัปปะ … ย่อมเจริญ สัมมาวาจา … ย่อมเจริญสัมมากัมมันตะ … ย่อมเจริญสัมมาอาชีวะ … ย่อมเจริญ สัมมาวายามะ … ย่อมเจริญสัมมาสติ … ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อโวสสัคคะ.

ภิกษุทั้งหลาย อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เหล่านี้ อันภิกษุพึงเจริญ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละ อาสวะ ๓ อย่างเหล่านี้.

--------------------------------------------------------------------------------------------------------
บทถัดไป บทที่ ๗๐ เจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อละ ตัณหา ๓ (หน้า 203)

  Top Next