เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

รวมทุกพระสูตร ของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า วิปัสสี (7) 1707
  P1701 P1702 P1703 P1704 P1705 P1706 P1707
รวมพระสูตร
เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 
  พระสูตรที่เกี่ยวข้อง (คัดเฉพาะพุทธวจน)
มหาปทานสูตร (๑๔)/ พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๐ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑ - ๔๙
เหตุให้พระศาสนาดำรงอยู่ไม่นาน และนาน / พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎก หน้าที่ ๙ - ๑๐
  (ย่อ)

1 รับสั่งให้ภิกษุ 6,800,000 รูป จาริกไป เพื่อแสดงธรรมงามในเบื้องต้น ท่ามกลาง ที่สุด

2 เทวดาพรหมทราบ จึงปรากฎเฉพาะหน้า ขอให้ภิกษุแสดงธรรมแก่สัตว์โลกที่มีกิเลสเบาบาง

3 ทุกๆ 6 ปี ภิกษุจะกลับมายังพันธุมดีนคร เพื่อแสดงพระปาติโมกข์

4 เทวดาทั้งหลายร้องเตือนภิกษุ เพื่อสวดพระปาติโมกข์ในพันธุมดีนคร

5 พระวิปัสสี ทรงสวดพระปาติโมกข์ในที่ประชุม

6 เหตุให้พระศาสนาดำรงอยู่ไม่นานและนาน
   ส.เหตใดศาสนาของพระผู้มีพระภาคพระนามว่าวิปัสสี สิขี แล เวสสภู ไม่ดำรงอยู่นาน
      แต่ของพระผู้มีพระภาคพระนามกกุสันธะ โกนาคมนะ และ กัสสปะ ดำรงอยู่นาน
    
พ. พระนามวิปัสสี พระนามสิขี และพระนาม เวสสภู ทรงท้อพระหฤทัย เพื่อจะทรงแสดงธรรม       โดยพิสดารแก่สาวก อนึ่ง สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก        อัพภูตธรรม เวทัลละ ของพระผู้มีพระภาคทั้งสามพระองค์นั้น มีน้อย (บทบัญญัติมีน้อย)
 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๐ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑ - หน้าที่ ๔๙
๑. มหาปทานสูตร (๑๔)
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

1
(รับสั่งให้ภิกษุ 6,800,000 รูป จาริกไปเพื่อแสดงธรรมงามในเบื้องต้น ท่ามกลาง ที่สุด)

          [๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่าวิปัสสี ในเวลาเย็น เสด็จออกจากที่เร้นแล้ว ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย มาว่า ภิกษุทั้งหลาย วันนี้เราไปเร้นอยู่ในที่ลับ เกิดความรำพึงในใจว่า ในพระนครพันธุมดี ราชธานี มีภิกษุสงฆ์อาศัยอยู่เป็นจำนวนมากประมาณ หกล้านแปดแสนรูป ถ้ากระไร เราพึงอนุญาตภิกษุทั้งหลายว่า ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเที่ยวจาริกไป เพื่อประโยชน์ แก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์ สัตว์โลก เพื่อ ประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทพดาและ มนุษย์ทั้งหลาย แต่อย่าได้ไป ทางเดียวกันสองรูป

          เธอทั้งหลาย จงแสดงธรรมงาม ในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด จงประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ในโลกนี้สัตว์พวกที่มีกิเลส เพียงดังธุลีในจักษุเบาบางยังมีอยู่ เพราะไม่ได้ฟังธรรม สัตว์พวกนั้นจึงเสื่อมเสีย ไป ผู้ที่รู้ทั่วถึงธรรมได้ยังจักมี แต่ว่า โดยหกปี ๆ ล่วงไป พวกเธอพึงกลับมายัง พระนครพันธุมดีราชธานี เพื่อแสดงปาติโมกข์
----------------------------------------------------------------------------------

2
(ท้าวมหาพรหมทราบความรำพึง จึงมาปรากฎเฉพาะหน้า ขอให้ภิกษุแสดงธรรมแก่สัตว์โลกที่มีกิเลสเบาบาง)

          ภิกษุทั้งหลาย ทันใดนั้นแล ท้าวมหาพรหมองค์หนึ่งได้ทราบความรำพึง ในใจของเราด้วยใจ แล้วจึงได้หายตัวที่ พรหมโลก มาปรากฏเฉพาะหน้าเรา เปรียบเหมือน บุรุษที่มีกำลังเหยียดออกซึ่ง แขนที่คู้เข้าไว้ หรือคู้เข้าซึ่งแขน ที่เหยียดออกไว้ ฉะนั้นภิกษุทั้งหลาย ที่นั้น ท้าวมหาพรหมนั้น กระทำผ้าอุตตราสงค์ เฉวียงบ่าข้างหนึ่งประนมอัญชลีมาทางเราแล้ว พูดกะเราว่า

          ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ข้าแต่พระสุคต ข้อนี้เป็นอย่างนั้น บัดนี้ในพระนครพันธุมดีราชธานี มีภิกษุสงฆ์อาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ประมาณ หกล้านแปดแสนรูป ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงอนุญาตภิกษุ ทั้งหลายเถิดว่า ภิกษุทั้งหลายพวกเธอจงเที่ยวจาริกไปเพื่อประโยชน์แก่ชนเป็น อันมาก เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์สัตว์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่เทพดาและมนุษย์ทั้งหลายแต่อย่าได้ไปทางเดียวกัน สองรูป

          ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงแสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด จงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์ สิ้นเชิง ในโลกนี้สัตว์พวกที่มีกิเลสเพียงดังธุลีในจักษุเบาบางยังมีอยู่ เพราะไม่ได้ ฟังธรรม สัตว์พวกนั้นจึงเสื่อมเสียไป ผู้ที่รู้ทั่วถึงธรรมได้ยังจักมี
----------------------------------------------------------------------------------

3
(ทุกๆ 6 ปี ภิกษุจะกลับมายังพันธุมดีนคร เพื่อแสดงพระปาติโมกข์)

          ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญแม้ข้าพระองค์ ก็จักกระทำโดยที่จะให้ภิกษุทั้งหลาย กลับมายังพระนคร พันธุมดีราชธานี เพื่อแสดงพระปาติโมกข์โดยหกปีๆ ล่วงไป ภิกษุทั้งหลาย ท้าวมหาพรหมนั้นพูดกะเรา ดังนี้แล้วไหว้เรา กระทำประทักษิณ แล้วหายไปในที่นั้นเอง

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต พวกเธอจงเที่ยวจาริกไปเพื่อประโยชน์ แก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์สัตว์โลก เพื่อ ประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทพดาและมนุษย์ทั้งหลาย แต่อย่าได้ไป ทางเดียวกันสองรูป ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงแสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด จงประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้ง พยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ในโลกนี้ สัตว์พวกที่มีกิเลสเพียงดังธุลีใน จักษุเบาบางยังมีอยู่ เพราะไม่ได้ฟังธรรมสัตว์พวกนั้นจึงเสื่อมเสียไป ผู้ที่รู้ทั่วถึง ธรรมได้ยังจักมีแม้เราก็จักกระทำ โดยที่ให้พระนครพันธุมดีเป็นสถานที่อันเธอ ทั้งหลายพึงกลับมาแสดงพระปาติโมกข์โดยหกปีๆ ล่วงไป ดังนี้

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ภิกษุทั้งหลายได้เที่ยวจาริกไปในชนบท โดยวันเดียวเท่านั้นโดยมาก
----------------------------------------------------------------------------------

4
(เทวดาทั้งหลายร้องเตือนภิกษุ เพื่อสวดพระปาติโมกข์ในพันธุมดีนคร)

          [๕๓] ก็โดยสมัยนั้นแล ในชมพูทวีปมีอาวาสอยู่ ๘๔,๐๐๐ อาวาส เมื่อล่วงไป ได้พรรษาหนึ่งแล้ว เทพดาทั้งหลายได้ร้องประกาศว่า ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ล่วงไปพรรษาหนึ่งแล้ว บัดนี้ ยังเหลือห้าพรรษา โดยอีกห้าพรรษาล่วงไป ท่านทั้งหลาย พึงเข้าไปยังพระนครพันธุมดีราชธานี เพื่อสวดพระปาติโมกข์ เมื่อล่วงไปได้สองพรรษาแล้ว เทพดาทั้งหลายได้ร้องประกาศว่า

          ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ล่วงไปสองพรรษาแล้ว บัดนี้ยังเหลือสี่พรรษา โดยอีกสี่พรรษา ล่วงไป ท่านทั้งหลาย พึงเข้าไปยังพระนครพันธุมดีราชธานี เพื่อสวด พระปาติโมกข์ เมื่อล่วงไปได้สามพรรษาแล้ว เทพดาทั้งหลายได้ร้องประกาศว่า

          ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ล่วงไปสามพรรษาแล้ว บัดนี้ยังเหลือสาม พรรษา โดยอีกสามพรรษาล่วงไป ท่านทั้งหลายพึงเข้าไปยังพระนครพันธุมดีราชธานี เพื่อสวดพระปาติโมกข์ เมื่อล่วงไปได้สี่พรรษาแล้ว เทพดาทั้งหลายได้ร้องประกาศว่า

          ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ล่วงไปสี่พรรษาแล้ว บัดนี้ยังเหลือสองพรรษา โดยอีก สองพรรษาล่วงไป ท่านทั้งหลายพึงเข้าไปยังพระนครพันธุมดีราชธานี เพื่อสวดพระปาติโมกข์เมื่อล่วงไปได้ห้าพรรษาแล้ว เทพดาทั้งหลายได้ร้องประกาศว่า

          ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลายล่วงไปห้าพรรษาแล้ว บัดนี้ ยังเหลือพรรษาเดียว โดยอีกพรรษาเดียวล่วงไป ท่านทั้งหลายพึงเข้าไปยังพระนคร พันธุมดี ราชธานี เพื่อ สวดพระปาติโมกข์ เมื่อล่วงไปได้หกพรรษาแล้ว เทพดาทั้งหลาย ได้ร้องประกาศว่า ล่วงไปหกพรรษาแล้ว บัดนี้ถึงเวลาละ ท่านทั้งหลายพึงเข้าไปยังพระนครพันธุมดี ราชธานี เพื่อสวดพระปาติโมกข์

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้น บางพวกไปด้วยอิทธานุภาพ ของตน บางพวกไปด้วยอิทธานุภาพของเทวดา เข้าไปยังพระนครพันธุมดี ราชธานี โดยวันเดียวนั้น เพื่อสวดพระปาติโมกข์
----------------------------------------------------------------------------------

5
(พระวิปัสสี ทรงสวดพระปาติโมกข์ในที่ประชุม)


          [๕๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมา สัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี ทรงสวดพระปาติโมกข์ในที่ประชุม พระภิกษุสงฆ์ดังนี้ ขันติคือความทนทานเป็นตบะอย่างยิ่ง พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ตรัสว่า
พระนิพพานเป็นธรรมอย่างยิ่ง ผู้ทำร้ายผู้อื่นผู้เบียดเบียนผู้อื่นไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะเลย การไม่ทำบาปทั้งสิ้นการยังกุศลให้ถึงพร้อม การทำจิตของตน ให้ผ่องใส นี้เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
การไม่กล่าวร้าย ๑ การไม่ทำร้าย ๑ ความสำรวมในพระปาติโมกข์ ๑ ความเป็นผู้รู้ ประมาณในภัตตาหาร ๑

          การออกมหาภิเนษกรมณ์ การบรรพชา การตั้งความเพียร การตรัสรู้การ ประกาศพระธรรมจักรของพระผู้มีพระภาค อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่าวิปัสสี เป็นอย่างนี้ๆ ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ พวกข้าพระองค์นั้น ประพฤติพรหมจรรย์ ในพระผู้มีพระภาค พระนามว่าวิปัสสี คลายกามฉันท์ ในกามทั้งหลายแล้วจึงได้ บังเกิดในที่นี้


พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๑ มหาวิภังค์ ภาค ๑ หน้าที่ ๙-๑๐


6
เหตุให้พระศาสนาดำรงอยู่ไม่นาน และนาน

              [๗] ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรไปในที่สงัดหลีกเร้นอยู่ ได้มีความปริวิตก แห่งจิตเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า พระศาสนาของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย พระองค์ไหน ไม่ดำรงอยู่นาน ของพระองค์ไหนดำรงอยู่นาน ดังนี้ ครั้นเวลาสายัณห์ ท่านออกจากที่เร้นแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายบังคม นั่ง ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง แล้วกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระพุทธเจ้าไปในที่สงัดหลีกเร้นอยู่ ณ ตำบลนี้ ได้มีความปริวิตกแห่งจิตเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า พระศาสนาของพระผู้มีพระภาค พุทธเจ้าทั้งหลาย พระองค์ไหนไม่ดำรงอยู่นาน ของพระองค์ไหนดำรงอยู่นาน

          พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรสารีบุตร พระศาสนาของพระผู้มีพระภาค พระนามวิปัสสี พระนามสิขี และพระนามเวสสภู ไม่ดำรงอยู่นาน ของพระผู้มีพระภาค พระนามกกุสันธะ พระนามโกนาคมนะ และพระนามกัสสปะ ดำรงอยู่นาน

          ส. อะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัย ให้พระศาสนาของพระผู้มีพระภาค พระนาม วิปัสสี พระนามสิขี และพระนามเวสสภู ไม่ดำรงอยู่นาน พระพุทธเจ้าข้า?

          ภ. ดูกรสารีบุตร พระผู้มีพระภาค พระนามวิปัสสี พระนามสิขี และพระนาม เวสสภู ทรงท้อพระหฤทัย เพื่อจะทรงแสดงธรรมโดยพิสดารแก่สาวกทั้งหลาย อนึ่ง สุตตะ เคยยะเวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ ของพระผู้มีพระภาคทั้งสามพระองค์นั้น มีน้อย (บทบัญญัติมีน้อย)

          สิกขาบทก็มิได้ทรงบัญญัติ ปาติโมกข์ ก็มิได้ทรงแสดงแก่สาวก เพราะ อันตรธาน แห่งพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเหล่านั้น เพราะอันตรธานแห่งสาวกผู้ตรัสรู้ ตามพระพุทธเจ้าเหล่านั้น สาวกชั้นหลังที่ต่างชื่อกัน ต่างโคตรกัน ต่างชาติกัน ออกบวชจากตระกูลต่างกัน จึงยังพระศาสนานั้นให้ อันตรธานโดยฉับพลัน

          ดูกรสารีบุตร ดอกไม้ต่างพรรณที่เขากองไว้บนพื้นกระดาน ยังไม่ได้ร้อยด้วย ด้าย ลมย่อมกระจาย ขจัด กำจัด ซึ่งดอกไม้เหล่านั้นได้ ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะเขาไม่ได้ร้อยด้วยด้าย ฉันใด เพราะอันตรธานแห่งพระผู้มีพระภาค พุทธเจ้า เหล่านั้น เพราะอันตรธานแห่งสาวกผู้ตรัสรู้ตามพระพุทธเจ้าเหล่านั้น สาวกชั้นหลัง ที่ต่างชื่อกันต่างโคตรกัน ต่างชาติกัน ออกบวชจากตระกูลต่างกัน จึงยังพระศาสนา นั้น ให้อันตรธานโดยฉับพลัน ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า เหล่านั้น ทรงท้อพระหฤทัยเพื่อจะทรงกำหนดจิตของสาวกด้วยพระหฤทัย แล้วทรง สั่งสอนสาวก

          ดูกรสารีบุตร เรื่องเคยมีมาแล้ว พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามเวสสภู ทรงกำหนดจิตภิกษุสงฆ์ด้วยพระหฤทัยแล้วทรงสั่งสอน พร่ำสอน ภิกษุสงฆ์ประมาณพันรูป ในไพรสนฑ์อันน่าพึงกลัวแห่งหนึ่งว่า พวกเธอจงตรึกอย่างนี้ อย่าได้ตรึกอย่างนั้น จงทำในใจอย่างนี้ อย่าได้ทำในใจอย่างนั้น จงละส่วนนี้ จงเข้าถึงส่วนนี้อยู่เถิด ดังนี้

          ลำดับนั้นแลจิตของภิกษุประมาณพันรูปนั้น อันพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมา สัมพุทธเจ้า พระนามเวสสภูทรงสั่งสอนอยู่อย่างนั้น ทรงพร่ำสอนอยู่อย่างนั้น ได้หลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่นในเพราะความที่ไพรสณฑ์ อันน่า พึงกลัวนั้นซิ เป็นถิ่นที่น่าสยดสยอง จึงมีคำนี้ว่า ผู้ใดผู้หนึ่งซึ่งยังไม่ ปราศจาก ราคะเข้าไปสู่ไพรสณฑ์นั้น โดยมากโลมชาติย่อมชูชัน (ขนลุกด้วยความกลัว)

          ดูกรสารีบุตร อันนี้แลเป็นเหตุ อันนี้แลเป็นปัจจัย ให้พระศาสนาของ พระผู้มีพระภาค พระนามวิปัสสี พระนามสิขี และพระนามเวสสภูไม่ดำรงอยู่นาน

          ส. อะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัย ให้พระศาสนาของพระผู้มีพระภาค พระนาม กกุสันธะ พระนามโกนาคมนะ และพระนามกัสสปะ ดำรงอยู่นาน พระพุทธเจ้าข้า?

          ภ. ดูกรสารีบุตร พระผู้มีพระภาค พระนามกกุสันธะ พระนามโกนาคมนะ และ พระนามกัสสปะ มิได้ทรงท้อพระหฤทัย เพื่อจะทรงแสดงธรรมโดยพิสดาร แก่ สาวก ทั้งหลาย อนึ่ง สุตตะเคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ ของพระผู้มีพระภาคทั้งสามพระองค์นั้น มีมาก สิกขาบทก็ทรง บัญญัติ ปาติโมกข์ ก็ทรงแสดงแก่สาวก เพราะอันตรธานแห่งพระผู้มีพระภาค พุทธเจ้า เหล่านั้น เพราะอันตรธานแห่งสาวกผู้ตรัสรู้ตามพระพุทธเจ้าเหล่านั้น สาวกชั้นหลังที่ ต่างชื่อกัน ต่างโคตรกัน ต่างชาติกัน ออกบวชจากตระกูลต่างกัน จึงดำรงพระศาสนา นั้นไว้ได้ ตลอดระยะกาลยืนนาน

           ดูกรสารีบุตร ดอกไม้ต่างพรรณที่เขากองไว้บนพื้นกระดาน ร้อยดีแล้วด้วย ด้าย ลมย่อมกระจายไม่ได้ ขจัดไม่ได้ กำจัดไม่ได้ซึ่งดอกไม้เหล่านั้น ข้อนั้นเพราะ เหตุไร เพราะเขาร้อยดีแล้วด้วยด้าย ฉันใด เพราะอันตรธานแห่งพระผู้มีพระภาค พุทธเจ้าเหล่านั้น เพราะอันตรธานแห่งสาวกผู้ตรัสรู้ตามพระพุทธเจ้าเหล่านั้น สาวก ชั้นหลังที่ต่างชื่อกัน ต่างโคตรกัน ต่างชาติกัน ออกบวชจากตระกูลต่างกัน จึงดำรง พระศาสนานั้นไว้ได้ตลอดระยะกาลยืนนาน ฉันนั้น เหมือนกัน

          ดูกรสารีบุตร อันนี้แลเป็นเหตุ อันนี้แลเป็นปัจจัย ให้พระศาสนาของ พระผู้มีพระภาค พระนามกกุสันธะ พระนามโกนาคมนะ และพระนามกัสสปะ ดำรงอยู่นาน

 





พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์