เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

รวมทุกพระสูตร ของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า วิปัสสี (2) 1702
  P1701 P1702 P1703 P1704 P1705 P1706 P1707
รวมพระสูตร
เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 
  พระสูตรที่เกี่ยวข้อง (คัดเฉพาะพุทธวจน)
มหาปทานสูตร (๑๔)/ พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๐ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑ - ๔๙
เหตุให้พระศาสนาดำรงอยู่ไม่นาน และนาน / พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎก หน้าที่ ๙ - ๑๐
  (ย่อ)

1. การจุติของโพธิสัตว์ ของพระพุทธเจ้าพระนามว่า วิปัสสี
เมื่อนั้นเกิดแสงสว่างอันยิ่งใหญ่ปรากฎในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก แม้ช่องว่างที่สุด ของโลก แม้ในที่มึดมิด ที่ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ส่องไปไม่ถึง

2. ในเวลาที่พระโพธิสัตว์เสด็จลงสู่ครรภ์พระมารดา เทวบุตร ๔ องค์เข้าไปรักษาทิศทั้ง ๔ (การประสูติของพระพุทธเจ้า วิปัสสี)
- โดยตั้งใจว่าใครก็ตามอย่าได้เบียดเบียนพระโพธิสัตว์ หรือพระมารดา
- พระมารดาทรงศีล งดเว้นการฆาสัตว์ ... (ศีล ๕)
- พระมารดาย่อมไม่มีใจใฝ่กามคุณ และบุรุษใดๆไม่มีความกำหนัดจะล่วงเกิน
- พระมารดาของพระโพธิสัตว์ย่อมได้กามคุณ ๕ (ความสุขทางตา หู จมูก ลิ้น กาย)
- อาพาธใดๆ ย่อมไม่เกิดแก่พระมารดาของพระโพธิสัตว์เลย
- พระมารดาเห็นพระโพธิสัตว์ภายในพระครรภ์ มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง
- โพธิสัตว์ เปรียบเหมือนแก้วไพฑูรย์ อันงาม เกิดเองอย่างบริสุทธิ์
- พระมารดาทรงสำราญ ไม่ลำบากพระกาย
- พระโพธิสัตว์ประสูติได้ ๗ วัน พระมารดาย่อมทิวงคต เสด็จเข้าถึงชั้นดุสิต
- พระมารดาของพระโพธิสัตว์ตั้งพระครรภ์ครบ ๑๐ เดือนถ้วนจึงประสูติ
- พระมารดาของพระโพธิสัตว์ประทับยืนประสูติพระโพธิสัตว์
- พระโพธิสัตว์เสด็จออกจากพระครรภ์ พวกเทวดารับก่อน พวกมนุษย์รับทีหลัง
- เทวบุตร ๔ องค์ประคองรับ พระโพธิสัตว์นั้นแล้ววางไว้เบื้องหน้าพระมารดา
- เทวบุตร ๔ องค์กราบทูลว่า ขอจงมีพระทัยยินดีเถิด พระโอรสของพระองค์มีศักดิ์ใหญ่
- เสด็จออกจากครรภ์อย่างง่ายดายทีเดียว ไม่เปรอะเปื้อนด้วยน้ำ ด้วยเสมหะ ด้วยโลหิต
- เหมือนแก้วมณีอันบุคคลวางลงไว้ในผ้ากาสิกพัสตร์ ย่อมไม่เปรอะเปื้อนเลย
- ธารน้ำปรากฏจากอากาศ สองธาร เย็นธารหนึ่ง ร้อนธารหนึ่ง สำหรับกระทำกิจการคลอด
- พระโพธิสัตว์ประทับยืนด้วยพระบาททั้งสองอันสม่ำเสมอ ผินพระพักตร์ทางทิศอุดร
- พระโพธิสัตว์ดำเนินไป ๗ ก้าว เทพดากั้นเสวตฉัตรตามเสด็จ ทรงเหลียวแลดูทั่วทุกทิศ
- ทรงเปล่งวาจาว่าอันองอาจว่า เราเป็นยอดของโลก เราเป็นผู้ประเสริฐแห่งโลก
- ความเกิดของเรานี้เป็นครั้งที่สุด บัดนี้ความเกิดอีกมิได้มี
- แสงสว่างอันยิ่งไม่มีประมาณ ย่อมปรากฏล่วงเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลาย
- สัตว์ทั้งหลายที่เกิดในสถานที่อันมึดมิดก็จำกันได้ ด้วยแสงสว่างนั้น (ความมึดในนรก)
 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๐ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑ - หน้าที่ ๔๙
๑. มหาปทานสูตร (๑๔)
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

1
(การจุติของโพธิสัตว์ ของพระพุทธเจ้าพระนามว่า วิปัสสี)

          [๑๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระโพธิสัตว์พระนามว่า วิปัสสี จุติ จากชั้นดุสิตแล้ว มีพระสติสัมปชัญญะ เสด็จลงสู่พระครรภ์ของพระมารดา ข้อนี้ เป็นธรรมดาในเรื่องนี้

          [๑๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดามีอยู่ดังนี้ เมื่อใดพระโพธิสัตว์ จุติจากชั้น ดุสิต เสด็จลงสู่พระครรภ์ ของพระมารดา เมื่อนั้น ในโลก พร้อมทั้ง เทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ แสงสว่างอันยิ่ง ไม่มีประมาณปรากฎในโลก ล่วงเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลาย ช่องว่างซึ่งอยู่ ที่สุดโลก มิได้ถูกอะไรปกปิดไว้ ที่มืดมิดก็ดี สถานที่ที่พระจันทร์และ พระอาทิตย์ เหล่านี้ ซึ่งมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากปานนี้ส่องแสงไปไม่ถึงก็ดี ในที่ทั้งสองชนิดนั้น แสงสว่างอันยิ่งไม่มีประมาณ ย่อมปรากฎล่วงเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลาย ถึงสัตว์ทั้งหลาย ที่เกิดในสถานที่เหล่านั้น ก็จำกันและกันได้ ด้วยแสงนั้น ว่า พ่อเฮ้ย ได้ยินว่า ถึงสัตว์พวกอื่นที่เกิดในนี้ก็มีอยู่เหมือนกัน ทั้งหมื่นโลกธาตุนี้ ย่อมหวั่นไหว สะเทื้อนสะท้าน ทั้งแสงสว่างอันยิ่งไม่มีประมาณ ย่อมปรากฎในโลก ล่วงเทวานุภาพ ของเทวดาทั้งหลาย ข้อนี้เป็นธรรมดาในเรื่องนี้
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

2

(ในเวลาที่พระโพธิสัตว์เสด็จลงสู่ครรภ์พระมารดา เทวบุตร ๔ องค์ ย่อมเข้าไป รักษาทิศทั้ง ๔) (การประสูติของพระพุทธเจ้า วิปัสสี)

          [๑๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดามีอยู่ดังนี้ ในเวลาที่พระโพธิสัตว์ เสด็จลงสู่ พระครรภ์ พระมารดา เทวบุตร ๔ องค์ ย่อมเข้าไปรักษาทิศทั้ง ๔ โดยตั้งใจว่า ใครๆ คือ มนุษย์ หรืออมนุษย์ก็ตาม อย่าเบียดเบียนพระโพธิสัตว์ หรือพระมารดาของ พระโพธิสัตว์ นั้นได้ ข้อนี้เป็นธรรมดาในเรื่องนี้

          [๑๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดามีอยู่ดังนี้ ในเวลาที่พระโพธิสัตว์เสด็จลงสู่ พระครรภ์ ของพระมารดา พระมารดาของพระโพธิสัตว์โดยปรกติทรงศีล งดเว้น จากการฆ่าสัตว์ งดเว้นจากการลักทรัพย์ งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม งดเว้น จากการกล่าวเท็จ งดเว้นจากการดื่มน้ำเมาคือ สุราและเมรัยอันเป็นฐานแห่ง ความ ประมาท ข้อนี้เป็นธรรมดา ในเรื่องนี้

          [๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดามีอยู่ดังนี้ ในเวลาที่พระโพธิสัตว์ เสด็จลงสู่ พระครรภ์ ของพระมารดา พระมารดาของพระโพธิสัตว์ย่อมไม่เกิดมานัส ซึ่งเกี่ยว ด้วยกามคุณ ในบุรุษทั้งหลาย พระมารดาของ พระโพธิสัตว์ ย่อมเป็นหญิงที่บุรุษใดๆ ซึ่งมีจิตกำหนัดแล้ว จะล่วงเกินไม่ได้ ข้อนี้เป็นธรรมดาในเรื่องนี้

          [๑๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดามีอยู่ดังนี้ ในเวลาที่พระโพธิสัตว์เสด็จลงสู่ พระครรภ์ของพระมารดา พระมารดาของพระโพธิสัตว์ย่อมได้กามคุณ ๕ พระนาง เพียบพร้อม พรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ ได้รับบำเรออยู่ ข้อนี้เป็นธรรมดาในเรื่องนี้

          [๑๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดามีอยู่ดังนี้ ในเวลาที่พระโพธิสัตว์ เสด็จลงสู่ พระครรภ์ ของพระมารดา อาพาธใดๆ ย่อมไม่เกิดแก่พระมารดาของพระโพธิสัตว์ เลย พระมารดาของพระโพธิสัตว์ ย่อมทรง สำราญ ไม่ลำบากพระกาย และพระมารดา ของพระโพธิสัตว์ ทอดพระเนตรเห็นพระโพธิสัตว์ ซึ่งเสด็จอยู่ ภายในพระครรภ์ มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนแก้วไพฑูรย์ อันงาม เกิดเองอย่างบริสุทธิ์ แปดเหลี่ยม นายช่างเจียรไนดีแล้ว สุกใส แวววาว สมส่วนทุกอย่าง มีด้าย เขียว เหลือง แดง ขาวหรือนวล ร้อยอยู่ในนั้น บุรุษผู้มีจักษุ จะพึงหยิบแก้วไพฑูรย์นี้นั้น วางไว้ในมือแล้วพิจารณาเห็นว่า แก้วไพฑูรย์นี้ งาม เกิดเองอย่างบริสุทธิ์ แปดเหลี่ยม นายช่าง เจียรไนดีแล้วสุกใสแวววาว สมส่วน ทุกอย่าง มีด้าย เขียว เหลือง แดง ขาว หรือนวล ร้อยอยู่ในแก้วไพฑูรย์นั้น แม้ฉันใด

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ในเวลาที่พระโพธิสัตว์ เสด็จลงสู่ พระครรภ์ ของพระมารดา อาพาธใดๆ ย่อมไม่เกิดแก่พระมารดาของพระโพธิสัตว์เลย พระมารดาของพระโพธิสัตว์ทรงสำราญ ไม่ลำบากพระกาย และพระมารดาของ พระโพธิสัตว์ ย่อมทอดพระเนตรเห็นพระโพธิสัตว์ผู้เสด็จอยู่ ณ ภายในพระครรภ์ มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน มี อินทรีย์ไม่บกพร่องข้อนี้เป็นธรรมดาในเรื่องนี้

          [๑๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดามีอยู่ดังนี้ ในเมื่อพระโพธิสัตว์ประสูติ แล้วได้ ๗ วัน พระมารดาของพระโพธิสัตว์ ย่อมทิวงคตเสด็จเข้าถึงชั้นดุสิต ข้อนี้ เป็นธรรมดาในเรื่องนี้

          [๒๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดามีอยู่ดังนี้ หญิงอื่นๆบริหารครรภ์ ๙ เดือนบ้าง ๑๐ เดือนบ้าง จึงคลอด พระมารดาของพระโพธิสัตว์ หาเหมือนอย่างนั้น ไม่พระมารดา ของพระโพธิสัตว์ บริหารพระโพธิสัตว์ ด้วยพระครรภ์ครบ ๑๐ เดือน ถ้วน จึงประสูติ ข้อนี้เป็นธรรมดาในเรื่องนี้

          [๒๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดามีอยู่ดังนี้ พระมารดาของพระโพธิสัตว์ ย่อมไม่ประสูติ เหมือนหญิงอื่นๆ ซึ่งนั่งหรือนอนคลอด ส่วนพระมารดาของ พระโพธิสัตว์ ประทับยืน ประสูติ พระโพธิสัตว์ ข้อนี้เป็นธรรมดาในเรื่องนี้

          [๒๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดามีอยู่ดังนี้ ในเวลาที่พระโพธิสัตว์ เสด็จออก จากพระครรภ์พระมารดา พวกเทวดารับก่อน พวกมนุษย์รับทีหลัง ข้อนี้ เป็นธรรมดา ในเรื่องนี้

          [๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดามีอยู่ดังนี้ ในเวลาที่พระโพธิสัตว์เสด็จ ออกจากพระครรภ์พระมารดา และยังไม่ทันถึงแผ่นดิน เทวบุตร ๔ องค์ประคองรับ พระโพธิสัตว์นั้นแล้ววางไว้เบื้องหน้าพระมารดา กราบทูลว่า ขอจงมีพระทัยยินดี เถิด พระเทวี พระโอรสของพระองค์ที่เกิดมีศักดิ์ใหญ่ นี้เป็นธรรมดา ในเรื่องนี้

          [๒๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดามีอยู่ดังนี้ ในเวลาที่พระโพธิสัตว์เสด็จ ออกจากพระครรภ์ พระมารดา เสด็จออกอย่างง่ายดายทีเดียว ไม่เปรอะเปื้อน ด้วยน้ำ ไม่เปรอะเปื้อนด้วยเสมหะ ไม่เปรอะเปื้อน ด้วยโลหิต ไม่เปรอะเปื้อนด้วย อสุจิ อย่างใด อย่างหนึ่ง เป็นผู้บริสุทธิ์ผุดผ่อง

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย แก้วมณีอันบุคคล วางลงไว้ใน ผ้ากาสิกพัสตร์ แก้วมณี ย่อมไม่ทำ ผ้ากาสิกพัสตร์ให้เปรอะเปื้อนเลย ถึงแม้ผ้ากาสิกพัสตร์ ก็ไม่ทำแก้วมณี ให้เปรอะเปื้อน เพราะเหตุไรจึงเป็นดังนั้น เพราะสิ่งทั้งสองเป็นของ บริสุทธิ์ แม้ฉันใด

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน แลในเวลาที่พระโพธิสัตว์เสด็จออกจาก พระครรภ์ พระมารดา เสด็จออกอย่างง่ายดาย ทีเดียว ไม่เปรอะเปื้อนด้วยน้ำ ไม่เปรอะเปื้อน ด้วยเสมหะ ไม่เปรอะเปื้อน ด้วยโลหิต ไม่เปรอะเปื้อนด้วยอสุจิ อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นผู้บริสุทธิ์ผุดผ่อง ข้อนี้เป็น ธรรมดาในเรื่องนี้

          [๒๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดามีอยู่ดังนี้ ในเวลาที่พระโพธิสัตว์ เสด็จ ออกจาก พระครรภ์พระมารดา ธารน้ำย่อมปรากฏจากอากาศสองธาร เย็นธาร หนึ่ง ร้อนธารหนึ่ง สำหรับกระทำอุทกกิจ แก่ พระโพธิสัตว์ และพระมารดา ข้อนี้ เป็นธรรมดาในเรื่องนี้

          [๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดามีอยู่ดังนี้ พระโพธิสัตว์ผู้ประสูติแล้ว ได้ครู่หนึ่ง ประทับยืนด้วย พระบาททั้งสอง อันสม่ำเสมอ ผินพระพักตร์ทางด้าน ทิศอุดร เสด็จดำเนินไปเจ็ดก้าว และ เมื่อฝูงเทพดากั้นเสวตฉัตรตามเสด็จอยู่ ทรงเหลียวแลดู ทั่วทุกทิศ เปล่งวาจาว่าอันองอาจว่า เราเป็นยอดของโลก เราเป็นใหญ่แห่งโลก เราเป็นผู้ประเสริฐแห่งโลก ความเกิดของเรานี้เป็นครั้ง ที่สุด บัดนี้ความเกิดอีกมิได้ มี ดังนี้ ข้อนี้เป็นธรรมดาในเรื่องนี้

          [๒๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดามีอยู่ดังนี้ เมื่อใด พระโพธิสัตว์ เสด็จออก จากพระครรภ์พระมารดา เมื่อนั้น ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์เทวดา และมนุษย์ แสงสว่างอันยิ่ง ไม่มีประมาณ ย่อมปรากฏล่วง เทวานุภาพของเทวดาทั้งหลาย ช่องว่าง ซึ่งอยู่ที่สุดโลกมิได้ถูก อะไร ปกปิด ที่มืดมิดก็ดี สถานที่ที่พระจันทร์และพระอาทิตย์เหล่านี้ ซึ่งมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากปานนี้ส่องแสงไปไม่ถึงก็ดี ในที่ทั้งสองชนิดนั้น แสงสว่างอันยิ่ง ไม่มีประมาณ ย่อมปรากฏล่วงเทวานุภาพ ของเทวดาทั้งหลาย ถึงสัตว์ทั้งหลาย ที่เกิดในสถานที่ เหล่านั้น ก็จำกันและกันได้ ด้วยแสงสว่างนั้นว่า พ่อเฮ้ย ได้ยินว่า ถึงสัตว์พวกอื่นที่เกิดในนี้ ก็มีอยู่เหมือนกัน และหมื่นโลกธาตุนี้ ย่อมหวั่นไหวสะเทื้อน สะท้าน ทั้งแสงสว่างอันยิ่งไม่มีประมาณ ย่อมปรากฏในโลก ล่วงเทวานุภาพของ เทวดาทั้งหลาย ข้อนี้เป็นธรรมดาในเรื่องนี้

 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์