เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

(1) รวมพระสูตรเรื่องทุกข์ ทุกขสัจจ์ ทุกขอริยสัจ ... สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ 1681
  P1681 P1682 P1683 P1684 P1685 P1686
รวมพระสูตร
เรื่องทุกข์
เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)

 
(1)
ขันธ์๕
424 หลักที่ควรรู้เกี่ยวกับทุกข์
(อริยสัจจากพระโอษฐ์ ๑ หน้าที่ ๒๕๔)
573 ทุกข์คือกระแสการปรุงแต่งทางจิต
(อริยสัจจากพระโอษฐ์ หน้า 262)
571 ขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ เหตุปัจจัยของขันธ์๕ ก็เป็นทุกข์
(อริยสัจจากพระโอษฐ์ หน้า 236)
590-1 ขันธ์ 5 เนื่องด้วยปัจจัยแห่งความเศร้าหมองและบริสุทธิ์
(อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น หน้า 230)
590-2 ขันธ์ 5 ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา นั่นไม่ใช่ของเรา 
(อริยสัจจากพระโอษฐ์ (ภาคต้น) หน้า 233
1384 จักษุเป็นทุกข์ รูปเป็นทุกข์ จักษุวิญญาณเป็นทุกข์ 
(สัปปายสูตรที่ ๒ ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ หน้าที่ ๑๓๗)
579 สุข-ทุกข์ เนื่องจากการมีอยู่แห่งขันธ์ 
(อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคนำ หน้า 268)
1534-1 รูป ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
(อนิจจสูตรที่ ๑ ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ สุตตันต หน้าที่ ๔๒)
1534-2 สิ้นความยินดีในรูป เวทนา... เป็นเหตุหลุดพ้นจากทุกข์
(นันทิขยสูตรที่ ๑ ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ สุตตันต หน้าที่ ๔๒)
B27-1/p6 ความดับทุกข์มี เพราะความดับไปแห่งความเพลิน (นันทิ)
(มรรควิธีที่ง่าย พุทธวจน หน้า 19)

(ชุด1) รวมพระสูตรเรื่องทุกข์ ทุกขสัจจ์ ทุกขอริยสัจ

424

หลักที่ควรรู้เกี่ยวกับทุกข์

(อริยสัจจากพระโอษฐ์ ๑ หน้าที่ ๒๕๔)

รู้จักทุกข์ (ความเกิด ความแก่ เจ็บไข้ ความตาย เป็นทุกข์.. ความยึดมั่นในขันธ์๕ เป็นทุกข์)
รู้จักเหตุเป็นแดนเกิดของทุกข์ (ตัณหา เป็นเหตุเป็นแดนเกิดของทุกข์)
รู้จักความเป็นต่างกันของทุกข์
(ทุกข์มาก-ทุกข์น้อย มีอยู่ ทุกข์คลายช้า-คลายเร็ว มีอยู่)
รู้จักผลของทุกข์
(ความโศกเศร้า ระทมใจ คร่ำครวญ ตีอก ร่ำไห้)
รู้จักความดับไม่เหลือ ของทุกข์
(มีได้ เพราะความดับไม่เหลือของตัณหา)
รู้จักทางดำเนินให้ถึง ความดับไม่เหลือของทุกข์
(อริยมรรคมีองค์ ๘ นั่นเอง)

 

573

ทุกข์คือกระแสการปรุงแต่งทางจิต
(ไม่มีบุคคลผู้ทุกข์)
(อริยสัจจากพระโอษฐ์ หน้า 262)

อุปวาณะ! เรากล่าวว่า ความทุกข์เป็นสิ่งที่อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น
(ปฏิจจสมุปปันนธรรม) ทุกข์นั้น อาศัยปัจจัยอะไรเกิดขึ้นเล่า? อุปวาณะ! ทุกข์อาศัยปัจจัยคือผัสสะเกิดขึ้น
ทุกข์ ที่สมณพราหมณ์พวกหนึ่งบัญญัติว่า ตนทำเอง ก็เป็นทุกข์ที่อาศัยผัสสะเกิดขึ้น
ทุกข์ ที่สมณพราหมณ์พวกหนึ่งบัญญัติว่า ผู้อื่นทำให้ ก็เป็นทุกข์ที่อาศัยผัสสะเกิดขึ้น.
ทุกข์ ที่สมณพราหมณ์พวกหนึ่งบัญญัติว่า ตนทำเองด้วย ผู้อื่นทำให้ด้วย ก็เป็นทุกข์ ที่อาศัยผัสสะเกิดขึ้น
ทุกข์ ที่สมณพราหมณ์พวกหนึ่งบัญญัติว่า ตนทำเองก็หามิได้ผู้อื่นทำให้ก็หามิได้ก็เป็นทุกข์ที่อาศัยผัสสะเกิดขึ้น

 

571

ขันธ์ ๕ เป็นทุกข์  เหตุปัจจัยของขันธ์๕ ก็เป็นทุกข์

(อริยสัจจากพระโอษฐ์ หน้า 236)

รูป(เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) เป็นทุกข์
ถึงแม้เหตุปัจจัย เพื่อการบังเกิดขึ้นของรูป...
ก็เป็นทุกข์
แล้ว รูป.. ที่เกิดจากเหตุปัจจัย อันเป็นทุกข์แล้ว จักเป็นสุขได้อย่างไร


 

590-1

ขันธ์ 5 เนื่องด้วยปัจจัยแห่งความเศร้าหมองและบริสุทธิ์

(อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น หน้า 230)

มหลิ ! ถ้าหากรูปก็ดี เวทนาก็ดี สัญญาก็ดี สังขารทั้งหลายก็ดี และวิญญาณก็ดี เหล่านี้ จักได้เป็นทุกข์โดยถ่ายเดียว อันทุกข์ตามสนอง หยั่งลงสู่ความทุกข์ ไม่หยั่งลงสู่ ความสุข เสียเลยไซร้ สัตว์ทั้งหลาย ก็จะไม่กำหนัดยินดีนักในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ทั้งหลาย และในวิญญาณเหล่านี้

มหลิ ! แต่เพราะเหตุที่ (ตามความรู้สึกของสัตว์ผู้ยังไม่รู้ตามเป็นจริง) รูปก็ดี เวทนาก็ดี สัญญาก็ดี สังขารทั้งหลายก็ดี และวิญญาณก็ดี ยังนำมาซึ่งความสุขอันสุขตามสนอง หยั่งลงสู่ความสุข
ไม่หยั่งลงสู่ความทุกข์ก็มีอยู่ สัตว์ทั้งหลาย จึงกำหนัดยินดีนัก ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขารทั้งหลาย และในวิญญาณ เพราะความกำหนัด ยินดี จึงพัวพันอยู่ในมัน เพราะความพัวพัน จึงเศร้าหมองรอบด้าน
 

590-2

ขันธ์ 5 ไม่เที่ยง
เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา นั่นไม่ใช่ของเรา
 
อริยสัจจากพระโอษฐ์ (ภาคต้น) หน้า 233

ราธะ ! รูป เป็น นิโรธธรรม (มีความก่อขึ้นเป็น ธรรมดา) เวทนาเป็นนิโรธธรรม สัญญาเป็นนิโรธธรรม สังขารทั้งหลาย เป็นนิโรธธรรม และวิญญาณเป็นนิโรธธรรม แล.

ภิกษุ ท. ! รูป ไม่เที่ยง สิ่งใด ไม่เที่ยง
สิ่งนั้น เป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้น เป็น อนัตตา สิ่งใด เป็นอนัตตา พึงเห็นสิ่งนั้น ด้วยปัญญาอันชอบ ตามที่เป็นจริง อย่างนี้ว่า นั่น ไม่ใช่ของเรา (เนตํ มม) นั่นไม่ใช่เรา (เนโสหมสฺมิ) นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา (น เมโส อตฺตา) ดังนี้

ภิกษุ ท. ! เวทนา ไม่เที่ยง สิ่งใด ไม่เที่ยง
สิ่งนั้น เป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้น เป็นอนัตตา สิ่งใด เป็นอนัตตา พึงเห็นสิ่งนั้น ด้วยปัญญาอันชอบ ตามที่เป็นจริง อย่างนี้ ว่า นั่น ไม่ใช่ของเรา (เนตํ มม) นั่นไม่ใช่เรา(เนโสหมสฺมิ) นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา (น เมโส อตฺตา) ดังนี้
(ในกรณี สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็ตรัสทำนองเดียวกับรูป)

 

1384

จักษุเป็นทุกข์ รูปเป็นทุกข์ จักษุวิญญาณเป็นทุกข์
 

(สัปปายสูตรที่ ๒ พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ หน้าที่ ๑๓๗)


จักษุเป็นทุกข์ รูปเป็นทุกข์ จักษุวิญญาณเป็นทุกข์
จักษุสัมผัสเป็นทุกข์ แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา
หรือ อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น
เพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นทุกข์ ฯลฯ

ใจเป็นทุกข์ ธรรมารมณ์เป็นทุกข์ มโนวิญญาณ เป็นทุกข์
มโนสัมผัสเป็นทุกข์ แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา
หรือ อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น
เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยก็เป็นทุกข์
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลปฏิปทาอัน เป็นอุปการะแก่นิพพาน


 

579


สุข-ทุกข์ เนื่องจากการมีอยู่แห่งขันธ์ 

(อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคนำ หน้า 268)

เมื่อรูป มีอยู่
ความรู้สึกที่เป็นสุข หรือ ทุกข์ในใจ ย่อมเกิดขึ้น เพราะอาศัยรูป

เมื่อเวทนา มีอยู่
ความรู้สึกที่เป็นสุข หรือ ทุกข์ในใจ ย่อมเกิดขึ้น เพราะอาศัยเวทนา

เมื่อสัญญา มีอยู่
ความรู้สึกที่เป็นสุข หรือ ทุกข์ในใจ ย่อมเกิดขึ้น เพราะอาศัยสัญญา

เมื่อสังขารทั้งหลาย มีอยู่
ความรู้สึกที่เป็นสุข หรือ ทุกข์ในใจ ย่อมเกิดขึ้น เพราะอาศัยสังขารทั้งหลาย

เมื่อวิญญาณ มีอยู่
ความรู้สึกที่เป็นสุข หรือ ทุกข์ในใจ ย่อมเกิดขึ้น เพราะอาศัยวิญญาณ แล.

 

1534-1

รูป ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา

(อนิจจสูตรที่ ๑ ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๔๒)

สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นเป็นทุกข์
รูปไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์
เวทนาไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์
สัญญาไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์
สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์
วิญญาณไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์

สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา
สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอทั้งหลาย พึงเห็นสิ่งนั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา
เมื่อเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้
จิตย่อมคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น

 

1534-2


สิ้นความยินดีในรูป เวทนา... เป็นเหตุหลุดพ้นจากทุกข์

(นันทิขยสูตรที่ ๑ ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๔๒)

ภิกษุเห็นรูปอันไม่เที่ยงนั่นแหละ ว่าไม่เที่ยง
ความเห็นของเธอนั้นเป็น สัมมาทิฏฐิ

เมื่อเธอเห็นโดยชอบ ย่อมเบื่อหน่ายเพราะสิ้นความยินดี จึงสิ้นความกำหนัด
เพราะสิ้นความกำหนัด จึงสิ้นความยินดี
เพราะสิ้นความยินดี และความกำหนัด
จิตหลุดพ้นแล้ว เรียกว่า หลุดพ้นดีแล้ว
(สิ้นทุกข์)
(ในกรณี ของเวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ก็ตรัสในทำนองเดียวกัน)

 

B27_1
/p6


ความดับทุกข์มี เพราะความดับไปแห่งความเพลิน (นันทิ)

(มรรควิธีที่ง่าย พุทธวจน หน้า 19)

รูป ที่เห็นด้วย ตา ก็ดี
เสียง ที่ฟังด้วย หู ก็ดี
กลิ่น ที่ดมด้วย จมูก ก็ดี
รส ที่ลิ้ม ด้วย ลิ้น ก็ดี
โผฏฐัพพะ ที่สัมผัสด้วย กาย ก็ดี
ธรรมารมณ์ ที่รู้แจ้งด้วย ใจ ก็ดี
อันเป็นสิ่งที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ เป็นที่ยวนตายวนใจให้รัก
เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยอยู่แห่ง ความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดย้อมใจ มีอยู่

ภิกษุย่อมไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่เมาหมกซึ่งอารมณ์ มีรูปเป็นต้นนั้น
เมื่อภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่เมาหมกซึ่งอารมณ์ มีรูปเป็นต้นนั้น อยู่ นันทิ (ความเพลิน) ย่อมดับไป

เรากล่าวว่า “ความดับไม่มีเหลือของทุกข์มีได้ เพราะความดับไม่เหลือ ของความเพลิน” ดังนี้ แล

 
   
 





พุทธวจน : ออนไลน์
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์