เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
ค้นหาคำที่ต้องการ            

 
 (ชุด8) อานิสงฆ์ของ กายคตาสติ 1427
  P1420 P1421 P1422 P1423 P1424 P1425 P1426 P1427
รวมพระสูตร กายคตาสติ
 

(โดยย่อ)

กายคตาสติ อันภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว กุศลธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นไปในส่วน วิชชา ย่อมหยั่งลง ในภายในของภิกษุนั้น เปรียบเหมือนมหาสมุทร อันผู้ใดผู้หนึ่ง ถูกต้องด้วยใจแล้ว แม่น้ำน้อยสายใดสายหนึ่ง ซึ่งไหลไปสู่สมุทร ย่อมหยั่งลงในภายในของผู้นั้น

อานิสงฆ์ของกายคตาสติ

กายคตาสติ อันเจริญกระทำให้มากแล้ว กุศลธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นไปในส่วนวิชชา ย่อมหยั่งลงในภายในของภิกษุนั้น

กายคตาสติ เปรียบเหมือนมหาสมุทรอันผู้ใดผู้หนึ่งถูกต้องด้วยใจ แล้วแม่น้ำน้อยสายใดสายหนึ่ง ซึ่งไหลไปสู่สมุทร ย่อมหยั่งลงในภายในของผู้นั้นฉะนั้น

กายคตาสติ อันเจริญกระทำให้มากแล้ว เป็นไปเพื่อความสังเวชใหญ่
    - เป็นไปเพื่อประโยชน์ใหญ่
    - เป็นไปเพื่อความเกษมจากโยคะใหญ่
    - เป็นไปเพื่อสติและสัมปชัญญะ
    - เป็นไปเพื่อได้ญาณทัสสนะ
    - เป็นไปเพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
    - เป็นไปเพื่อทำให้แจ้งซึ่งผล คือวิชชาและวิมุตติ

กายคตาสติ อันบุคคลเจริญกระทำให้มากแล้ว แม้กายก็สงบ แม้จิตก็สงบ แม้วิตกวิจารก็สงบ ธรรมที่เป็นไปในส่วนแห่งวิชชาแม้ทั้งสิ้น ก็ถึงความเจริญบริบูรณ์

กายคตาสติ อันบุคคลเจริญกระทำให้มากแล้ว อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้นได้เลย และอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมละเสียได้

กายคตาสติ อันบุคคลเจริญกระทำให้มากแล้ว กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญ ไพบูลย์ยิ่ง

กายคตาสติ อันบุคคลเจริญกระทำให้มากแล้ว ย่อมละ อวิชชา เสียได้ วิชชาย่อมเกิดขึ้น ย่อมละอัสมิมานะเสียได้ อนุสัยย่อมถึงความเพิกถอน ย่อมละสังโยชน์เสียได้ ธรรมข้อหนึ่งคืออะไร

กายคตาสติ อันบุคคลเจริญกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความแตกฉานแห่งปัญญา ย่อมเป็นไปเพื่ออนุปาทาปรินิพพาน

กายคตาสติ อันบุคคลเจริญกระทำให้มากแล้ว ย่อมมีการแทงตลอดธาตุมากหลาย ย่อมมีการแทงตลอดธาตุต่างๆ ย่อมมีความแตกฉานในธาตุมากหลาย

กายคตาสติ อันบุคคลเจริญกระทำให้มากแล้ว
    -ย่อมเป็นไปเพื่อทำโสดาปัตติผลให้แจ้ง
    -ย่อมเป็นไปเพื่อทำสกทาคามิผลให้แจ้ง
    -ย่อมเป็นไปเพื่อทำอนาคามิผลให้แจ้ง
    -ย่อมเป็นไปเพื่อทำอรหัตผล

กายคตาสติ อันบุคคลเจริญกระทำให้มากแล้ว
    - ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญา
    - ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญแห่งปัญญา
    - ย่อมเป็นไปเพื่อความไพบูลย์แห่งปัญญา
    - ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาใหญ่
    - ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญามาก
    - ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาไพบูลย์
    - ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาลึกซึ้ง
    - ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาสามารถยิ่ง
    - ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญากว้างขวาง
    - ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มากด้วยปัญญา
    - ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาว่องไว
    - ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาเร็ว
    - ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาร่าเริง
    - ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาแล่น
    - ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาคม
    - ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาชำแรกกิเลส

—---------------------------------------------------------------------------
ชนเหล่าใดไม่บริโภคกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่า ย่อมไม่บริโภคอมตะ ชนเหล่าใดบริโภคกายคตาสติชนเหล่านั้นชื่อว่า ย่อมบริโภคอมตะ

กายคตาสติอันชนเหล่าใดไม่บริโภคแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นไม่บริโภคแล้ว
กายคตาสติอันชนเหล่าใดบริโภคแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นบริโภคแล้ว ฯ

กายคตาสติของชนเหล่าใดเสื่อมแล้ว อมตะของชนเหล่านั้นชื่อว่าเสื่อมแล้ว
กายคตาสติของชนเหล่าใดไม่เสื่อมแล้ว อมตะของชนเหล่านั้นชื่อว่าไม่เสื่อมแล้ว

กายคตาสติอันชนเหล่าใดเบื่อแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นเบื่อแล้ว
กายคตาสติอันชนเหล่าใดชอบใจแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นชอบใจแล้ว

ชนเหล่าใดประมาทกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่าประมาทอมตะ
ชนเหล่าใดไม่ประมาทกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่าไม่ประมาทอมตะ

กายคตาสติอันชนเหล่าใดหลงลืม อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นหลงลืม
กายคตาสติอันชนเหล่าใดไม่หลงลืมอมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นไม่หลงลืม

กายคตาสติอันชนเหล่าใดไม่ซ่องเสพแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นไม่ซ่องเสพแล้ว
กายคตาสติอันชนเหล่าใดซ่องเสพแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นซ่องเสพแล้ว

กายคตาสติอันชนเหล่าใดไม่เจริญแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นไม่เจริญแล้ว
กายคตาสติอันชนเหล่าใดเจริญแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นเจริญแล้ว ฯ

กายคตาสติอันชนเหล่าใดไม่ทำให้มากแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นไม่ทำให้มากแล้ว
กายคตาสติอันชนเหล่าใดทำให้มากแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นทำให้มากแล้ว

กายคตาสติอันชนเหล่าใดไม่รู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นไม่รู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง
กายคตาสติอันชนเหล่าใดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง

กายคตาสติอันชนเหล่าใดไม่กำหนดรู้แล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นไม่กำหนดรู้แล้ว
กายคตาสติอันชนเหล่าใดกำหนดรู้แล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นกำหนดรู้แล้ว

กายคตาสติอันชนเหล่าใดไม่ทำให้แจ้งแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นไม่ทำให้แจ้งแล้ว
กายคตาสติอันชนเหล่าใดทำให้แจ้งแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นทำให้แจ้งแล้ว

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
รวมพระสูตร
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
(ดูทั้งหมด)

 


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ หน้าที่ ๔๗-๕๕


(8) อานิสงฆ์ของ กายคตาสติ


           [๒๒๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติ อันภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว กุศลธรรม อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นไปในส่วนวิชชา ย่อมหยั่งลง ในภายในของภิกษุนั้น เปรียบเหมือนมหาสมุทร อันผู้ใดผู้หนึ่งถูกต้องด้วยใจแล้ว แม่น้ำน้อยสายใดสายหนึ่ง ซึ่งไหลไปสู่สมุทร ย่อมหยั่งลงในภายในของผู้นั้น ฉะนั้น

           [๒๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมข้อหนึ่งซึ่งบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มาก แล้ว เป็นไปเพื่อ ความสังเวชใหญ่ เป็นไปเพื่อประโยชน์ใหญ่ เป็นไปเพื่อความเกษม จากโยคะใหญ่ เป็นไปเพื่อสติ และสัมปชัญญะ เป็นไปเพื่อได้ญาณทัสสนะ เป็นไป เพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบัน เป็นไปเพื่อทำให้แจ้ง ซึ่งผล คือวิชชาและวิมุตติ ธรรมข้อหนึ่ง คืออะไร คือ กายคตาสติ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมข้อหนึ่งนี้แล บุคคลอบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ ความสังเวชใหญ่ ย่อมเป็นไป เพื่อประโยชน์ใหญ่ ย่อมเป็นไปเพื่อความเกษมจากโยคะใหญ่ ย่อมเป็นไปเพื่อสติ และสัมปชัญญะ ย่อมเป็นไปเพื่อได้ ญาณทัสสนะ ย่อมเป็นไปเพื่ออยู่เป็นสุข ในปัจจุบัน ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้แจ้งซึ่งผล คือ วิชชา และวิมุตติ

           [๒๒๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมข้อหนึ่ง บุคคลเจริญแล้ว กระทำ ให้มากแล้ว แม้กาย ก็สงบ แม้จิตก็สงบ แม้วิตกวิจารก็สงบธรรม ที่เป็นไปในส่วน แห่งวิชชา แม้ทั้งสิ้น ก็ถึงความเจริญบริบูรณ์ ธรรมข้อหนึ่ง คืออะไร คือ กายคตาสติ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมข้อหนึ่งนี้แล บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว แม้กาย ก็สงบ แม้จิตก็สงบ แม้วิตกวิจารก็สงบ ธรรมที่เป็นไป ในส่วนแห่งวิชชาแม้ทั้งสิ้น ก็ถึงความเจริญบริบูรณ์ ฯ

           [๒๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมข้อหนึ่งบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มาก แล้ว อกุศลธรรม ที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้นได้เลย และอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมละเสียได้ ธรรมข้อหนึ่ง คืออะไร คือ กายคตาสติ ดูกรภิกษุทั้งหลายเมื่อธรรม ข้อหนึ่งนี้แล บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว อกุศลธรรม ที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้น ได้เลย และอกุศลธรรมขึ้นแล้ว ย่อมละเสียได้ ฯ

           [๒๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมข้อหนึ่งบุคคลเจริญแล้วทำให้มากแล้ว กุศลธรรม ที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไป เพื่อความเจริญ ไพบูลย์ยิ่ง ธรรมข้อหนึ่ง คืออะไร คือ กายคตาสติ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมข้อหนึ่งนี้แล บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไป เพื่อความเจริญ ไพบูลย์ยิ่ง ฯ

           [๒๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมข้อหนึ่งบุคคลเจริญแล้ว กระทำ ให้มากแล้ว ย่อมละ อวิชชา เสียได้ วิชชาย่อมเกิดขึ้น ย่อมละ อัสมิมานะ เสียได้ อนุสัย ย่อมถึงความเพิกถอน ย่อมละสังโยชน์ เสียได้ ธรรมข้อหนึ่งคืออะไร คือ กายคตาสติ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมข้อหนึ่ง นี้แล บุคคลเจริญแล้ว กระทำ ให้มากแล้ว ย่อมละอวิชชาเสียได้ วิชชาย่อมเกิดขึ้น ย่อมละอัสมิมานะ เสียได้อนุสัย ย่อมถึงความเพิกถอน ย่อมละสังโยชน์เสียได้

           [๒๓๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมข้อหนึ่งบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มาก แล้ว ย่อมเป็นไป เพื่อความแตกฉานแห่งปัญญา ย่อมเป็นไปเพื่ออนุปาทาปรินิพพาน ธรรมข้อหนึ่งคืออะไร คือ กายคตาสติ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมข้อหนึ่งนี้แล บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ ความแตกฉานแห่งปัญญา ย่อมเป็นไปเพื่ออนุปาทาปรินิพพาน

           [๒๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมข้อหนึ่ง บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มาก แล้ว ย่อมมีการ แทงตลอดธาตุมากหลาย ย่อมมีการแทงตลอดธาตุต่างๆ ย่อมมีความ แตกฉาน ในธาตุมากหลาย ธรรมข้อหนึ่งคืออะไร คือ กายคตาสติ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมข้อหนึ่งนี้แล บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อม มีการแทงตลอดธาตุ มากหลาย ย่อมมีการแทงตลอดธาตุต่างๆ ย่อมมีความแตกฉาน ในธาตุมากหลาย

           [๒๓๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมข้อหนึ่งบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มาก แล้ว ย่อมเป็นไป เพื่อทำ โสดาปัตติผลให้แจ้ง ย่อมเป็นไปเพื่อทำ สกทาคามิผล ให้แจ้ง ย่อมเป็นไปเพื่อทำ อนาคามิผล ให้แจ้ง ย่อมเป็นไปเพื่อทำ อรหัตผล ให้แจ้ง ธรรมข้อหนึ่งคืออะไร คือ กายคตาสติ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมข้อหนึ่งนี้แล บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทำ โสดาปัตติผล ให้แจ้ง ย่อมเป็นไป เพื่อทำสกทาคามิผล ให้แจ้ง ย่อมเป็นไปเพื่อทำ อนาคามิผล ให้แจ้ง ย่อมเป็นไปเพื่อทำอรหัตผล ให้แจ้ง

           [๒๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมข้อหนึ่ง บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไป เพื่อได้ปัญญา ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญแห่งปัญญา ย่อมเป็นไปเพื่อความไพบูลย์แห่งปัญญา ย่อมเป็นไป เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาใหญ่ ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญามาก ย่อมเป็นไป เพื่อความเป็นผู้มี ปัญญาไพบูลย์ ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มี ปัญญาลึกซึ้ง ย่อมเป็นไป เพื่อความเป็นผู้มี ปัญญาสามารถยิ่ง ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญากว้างขวาง ย่อมเป็นไป เพื่อความเป็นผู้มากด้วยปัญญา ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มี ปัญญาว่องไว ย่อมเป็นไป เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาเร็ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้ มีปัญญาร่าเริง ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาแล่น ย่อมเป็นไปเพื่อความ เป็นผู้มีปัญญาคม ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญา ชำแรกกิเลส ธรรมข้อหนึ่ง คืออะไร คือ กายคตาสติ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมข้อหนึ่งนี้แล บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญา ... ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญา ชำแรกกิเลส

           [๒๓๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ชนเหล่าใด ไม่บริโภค กายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่า ย่อมไม่บริโภคอมตะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ชนเหล่าใดบริโภค กายคตาสติ ชนเหล่านั้น ชื่อว่า ย่อมบริโภคอมตะ ฯ

           [๒๓๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติ อันชนเหล่าใดไม่บริโภคแล้วอมตะ ชื่อว่า อันชนเหล่านั้น ไม่บริโภคแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติ อันชนเหล่าใด บริโภคแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นบริโภคแล้ว ฯ

           [๒๓๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติ ของชนเหล่าใดเสื่อมแล้ว อมตะของชนเหล่านั้น ชื่อว่า เสื่อมแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติ ของชนเหล่าใด ไม่เสื่อมแล้ว อมตะของชนเหล่านั้น ชื่อว่าไม่เสื่อมแล้ว ฯ

           [๒๓๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติ อันชนเหล่าใดเบื่อแล้ว อมตะ ชื่อว่าอันชนเหล่านั้น เบื่อแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติ อันชนเหล่าใด ชอบใจแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้น ชอบใจแล้ว ฯ

           [๒๓๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ชนเหล่าใดประมาท กายคตาสติ ชนเหล่านั้น ชื่อว่าประมาทอมตะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ชนเหล่าใดไม่ประมาท กายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่าไม่ประมาทอมตะ ฯ

           [๒๔๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติ อันชนเหล่าใดหลงลืม อมตะชื่อว่า อันชนเหล่านั้ นหลงลืม ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติ อันชนเหล่าใด ไม่หลงลืมอมตะ ชื่อว่าอันชนเหล่านั้น ไม่หลงลืม ฯ

           [๒๔๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติ อันชนเหล่าใด ไม่ซ่องเสพแล้ว อมตะชื่อว่า อันชนเหล่านั้น ไม่ซ่องเสพแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติ อันชน เหล่าใด ซ่องเสพแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้น ซ่องเสพแล้ว

           [๒๔๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติ อันชนเหล่าใดไม่เจริญแล้ว อมตะ ชื่อว่า อันชนเหล่านั้น ไม่เจริญแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติ อันชนเหล่าใด เจริญแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นเจริญแล้ว

           [๒๔๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติ อันชนเหล่าใด ไม่ทำให้มากแล้ว อมตะ ชื่อว่าอันชนเหล่านั้น ไม่ทำให้มากแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติ อันชนเหล่าใด ทำให้มากแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นทำให้มากแล้ว

           [๒๔๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติ อันชนเหล่าใด ไม่รู้ด้วยปัญญา อันยิ่ง อมตะชื่อว่า อันชนเหล่านั้น ไม่รู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติ อันชนเหล่าใด รู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง อมตะ ชื่อว่าอันชนเหล่านั้น รู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง

           [๒๔๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติ อันชนเหล่าใดไม่กำหนดรู้แล้ว อมตะ ชื่อว่า อันชนเหล่านั้น ไม่กำหนดรู้แล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติ อันชนเหล่าใด กำหนดรู้แล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นกำหนดรู้แล้ว

           [๒๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติ อันชนเหล่าใดไม่ทำให้แจ้งแล้ว อมตะ ชื่อว่า อันชนเหล่านั้น ไม่ทำให้แจ้งแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติ อันชนเหล่าใด ทำให้แจ้งแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้น ทำให้แจ้งแล้ว

 







พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์