เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม

  พระเทวทัต
ค้นหาคำที่ต้องการ    

  ผู้มีบทบาทสำคัญในพุทธศาสนา    
1 พระโมคคัลลานะ (อัครสาวกเบื้องซ้าย) 8 พระอุบาลี (ยอดเยี่ยมด้านผู้ทรงวินัย) 15 ภารทวาชะ (ผู้ยอดเยี่ยมด้านบันลือสีหนาท)
2 พระเทวทัต (ปลงพระชนม์พระพุทธเจ้า) 9 อนาถบิณฑิกคหบดี (ผู้สร้างวิหารเชตวัน) 16 วักกลิ (ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นย่อมเห็นตถาคต)
3 นิครนถ์ (โต้วาทะกับพระพุทธเจ้า) 10 พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี (ภิกษุณีรูปแรก) 17 คามณี (แปลว่านายบ้าน หรือผู้ใหญ่บ้าน)
4 พระมหากัปปินะ (นั่งคู้บังลังค์ ตั้งกายตรง) 11 พระราหุล (เอตทัคคะผู้ใคร่ต่อการศึกษา) 18 พระมหากัจจานะ (ผู้จำแนกอรรถแห่งภาษิต)
5 พระสารีบุตร (อัครสาวกเบื้องขวา) 12 หมอชีวกโกมารภัจจ์ (แพทย์พระพุทธเจ้า) 19 อัคคิเวสนะ (ชื่อตระกูลปริพาชก)
6 พระมหากัสสป (ผู้ทรงธุดงค์ อยู่ป่าเป็นวัตร) 13 ราธะ (ตรัสสอนเรื่อง"สัตว์" กับราธะ) 20 สุสิมะปริพาชก (คิดว่าผู้หลุดพ้นคือผู้มีฤทธิ์)
7 พระอนุรุทธะ (พระอรหันต์ผู้มีทิพย์จักษุ) 14 เอตทัคคะ (ผู้ยอดเยี่ยมด้านต่างๆ 74 ท่าน) 21 พระอุทายี (มีความเห็นแย้งกับพระสารีบุตร)
           

เรื่องราวสำคัญของพระเทวทัต (จากพระไตรปิฎก) T103
           ออกไปหน้าหลัก 3 of 5
  45 เรื่องราวของ พระเทวทัต จากพระไตรปิฎกฉบับหลวง คัดเฉพาะคำสอนจากพระโอษฐ์
  23. เรื่องปล่อยช้างนาฬาคิรี ทำร้ายพระผู้มีพระภาค ช้างชูงวง หูชัน หางชี้ วิ่งรี่ไปทางพระผู้มีพระภาค
  24. ทรงแผ่เมตตาจิตไปสู่ช้างนาฬาคิรี เจ้าอย่าทำร้ายตถาคตด้วยจิตของเพฌฆาตเลย นั่นเหตุแห่งทุกข์ ไม่มีสุคติเลย
  25. เรื่องวัตถุ ๕ ประการ พระเทวทัตหวังทำให้เกิดสังฆเภทแก่ศาสนา
  26. พระเทวทัตโฆษณาวัตถุ ๕ ประการ ว่าเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักน้อย
  27. พระเทวทัตได้ภิกษุบวชใหม่ ๕๐๐ รูป มาเป็นพรรคพวก เพื่อหวังความเป็นใหญ่ในหมู่สงฆ์
  28. ภิกษุยืนร้องให้ คิดว่าพระสารีบุตร พระโมคคัลลานะชอบใจธรรมะของพระเทวทัต
  29. พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะพาภิกษุ ๕๐๐ กลับ พร่ำสอนอยู่ด้วย อนุศาสนี เจือด้วยอาเทศนาปาฏิหาริย์
  30. โลหิตร้อนได้พุ่งออกจากปากพระเทวทัต หลังรู้ว่าภิกษุ ๕๐๐ ออกมุ่งหน้าไปทางเวฬุวัน อันเป็นที่ประทับของพระผู้มีพระภาค
 
 


(23)

ฉบับหลวง  เล่มที่ ๗ วินัยปิฎก จุลวรรค ภาค ๒ หน้าที่ ๑๒๔

เรื่องปล่อยช้างนาฬาคิรี

         [๓๗๗] สมัยนั้น ในกรุงราชคฤห์ มีช้างชื่อนาฬาคิรี เป็นสัตว์ดุร้าย ฆ่ามนุษย์ ครั้งนั้น พระเทวทัตเข้าไปสู่กรุงราชคฤห์ แล้วไปยังโรงช้าง ได้กล่าวกะ พวกควาญช้าง ว่า พนาย เราเป็นพระราชญาติ สามารถจะแต่งตั้งผู้ที่อยู่ในตำแหน่ง ต่ำไว้ในตำแหน่ง สูงได้ สามารถจะเพิ่มได้ทั้งเบี้ยเลี้ยง และเงินเดือน พนาย ถ้า กระนั้นเวลาใดพระสมณ โคดม ทรงพระดำเนินมาตรอกนี้เวลานั้น พวกท่านจง ปล่อย ช้างนาฬาคิรี เข้าไปยังตรอกนี้ ควาญช้างเหล่านั้นรับคำ พระเทวทัต แล้ว

         ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาค ทรงครองอันตรวาสก แล้วทรงถือบาตร จีวร เสด็จเข้าไปยังกรุงราชคฤห์ พร้อมกับภิกษุมากรูป ทรงพระดำเนินถึงตรอกนั้น ควาญช้าง เหล่านั้นได้แลเห็นพระผู้มีพระภาค ทรงพระดำเนินถึงตรอกนั้น จึงปล่อยช้าง นาฬาคิรี ให้ไปยังตรอกนั้น

         ช้างนาฬาคิรี ได้แลเห็นพระผู้มีพระภาค ทรงพระดำเนินมา แต่ไกล เทียว แล้วได้ชูงวง หูชันหางชี้ วิ่งรี่ไปทางพระผู้มีพระภาค

         ภิกษุเหล่านั้น ได้แลเห็นช้าง นาฬาคิรี วิ่งมาแต่ไกลเทียวแล้ว ได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า ช้างนาฬาคิรี นี้ดุร้าย หยาบช้า ฆ่ามนุษย์ เดินเข้ามายังตรอกนี้แล้ว ขอพระผู้มีพระภาค จงเสด็จกลับเถิด ขอพระสุคต จงเสด็จกลับเถิดพระพุทธเจ้าข้า

          พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า มาเถิด ภิกษุทั้งหลาย เธออย่ากลัวเลย ข้อที่บุคคล จะปลงชีวิตตถาคต ด้วยความพยายามของผู้อื่นนั่น ไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาส เพราะพระตถาคตทั้งหลาย ย่อมไม่ปรินิพพาน ด้วยความพยายาม ของผู้อื่น

          แม้ครั้งที่สอง ภิกษุเหล่านั้น ...

         แม้ครั้งที่สาม ภิกษุเหล่านั้นได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า 
ช้างนาฬาคิรี นี้ดุร้าย หยาบช้า ฆ่ามนุษย์ เดินเข้ามายังตรอกนี้แล้ว ขอพระผู้มี พระภาค จงเสด็จกลับเถิด ขอพระสุคตจงเสด็จกลับเถิด พระพุทธเจ้าข้า

          พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า มาเถิดภิกษุทั้งหลาย อย่ากลัวเลย ข้อที่บุคคล จะปลงชีวิตตถาคต ด้วยความพยายามของผู้อื่น นั่นไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาส เพราะ พระตถาคตทั้งหลาย ย่อมไม่ปรินิพพาน ด้วยความพยายาม ของผู้อื่น

          [๓๗๘] คราวนั้น คนทั้งหลาย หนีขึ้นไปอยู่บนปราสาทบ้าง บนเรือน โล้นบ้าง บนหลังคาบ้าง บรรดาคนเหล่านั้น พวกที่ไม่มีศรัทธา ไม่เลื่อมใส ไร้ปัญญา กล่าวอย่างนี้ว่า ชาวเราผู้เจริญ พระมหาสมณโคดม พระรูปงาม จัก ถูกช้างเบียดเบียน

          ส่วนพวกที่มีศรัทธา เลื่อมใส ฉลาด มีปัญญา กล่าวอย่างนี้ว่า ชาวเรา ผู้เจริญ ไม่นานเท่าไรนัก พระพุทธนาค จักทรงทำสงครามกับช้าง



(24)
ฉบับหลวง  เล่มที่ ๗ วินัยปิฎก จุลวรรค ภาค ๒ หน้าที่ ๑๒๕

ทรงแผ่เมตตาจิตไปสู่ช้างนาฬาคิรี

          ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแผ่เมตตาจิตไปสู่ช้างนาฬาคิรี

          ลำดับนั้น ช้างนาฬาคิรีได้สัมผัสพระเมตตาจิต ของพระผู้มีพระภาคแล้ว 
ลดงวงลงแล้วเข้าไปทางพระผู้มีพระภาค แล้วได้ยืนอยู่ตรงพระพักตร์พระผู้มีพระภาค
 ขณะนั้น พระผู้มีพระภาค ทรงยกพระหัตถ์ขวาลูบกระพองช้างนาฬาคิรี พลางตรัสกะ ช้างนาฬาคิรี ด้วยพระคาถา ว่าดังนี้:

          [๓๗๙] ดูกรกุญชร เจ้าอย่าเข้าไปหาพระพุทธนาค เพราะการเข้าไปหา พระพุทธนาค ด้วยวธกะจิตเป็นเหตุแห่งทุกข์ ผู้ฆ่าพระพุทธนาค จากชาตินี้ไปสู่ ชาติหน้า ไม่มีสุคติเลย เจ้าอย่าเมา และอย่าประมาท เพราะคนเหล่านั้น เป็นผู้ประมาท แล้วจะไปสู่สุคติ

           ไม่ได้ เจ้านี่แหละ จักทำโดยประการที่จักไปสู่สุคติได้

          [๓๘๐] ลำดับนั้น ช้างนาฬาคิรี เอางวงลูบละอองธุลีพระบาท ของพระผู้มี พระภาค แล้วพ่นลงบนกระหม่อม ย่อตัวถอยออกไปชั่วระยะ ที่แลเห็นพระผู้มีพระภาค
ไปสู่โรงช้างแล้วได้ยืนอยู่ณ ที่ของตน

          ก็แล ช้างนาฬาคิรี เป็นสัตว์อัน พระพุทธนาค ทรงทรมานแล้ว ด้วยประการนั้น

          [๓๘๑] สมัยนั้น คนทั้งหลายขับร้องคาถานี้ ว่าดังนี้:
         คนพวกหนึ่ง ย่อมฝึกช้างและม้า ด้วยใช้ท่อนไม้บ้าง ใช้ขอบ้างใช้แส้บ้าง สมเด็จพระพุทธเจ้าผู้แสวงพระคุณใหญ่ ทรงทรมานช้าง โดยมิต้องใช้ท่อนไม้ มิต้องใช้ศัสตรา

          คนทั้งหลายต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า พระเทวทัตนี้เป็นคน มีบาป ไม่มีบุญ เพราะพยายามปลงพระชนม์ พระสมณโคดม ผู้มีฤทธิ์มากอย่างนี้
มีอานุภาพ มากอย่างนี้ ลาภสักการะของพระเทวทัตเสื่อม ส่วนลาภสักการะของ พระผู้มีพระภาคเจริญยิ่งขึ้น

          [๓๘๒] สมัยต่อมา พระเทวทัตเสื่อมลาภสักการะแล้ว พร้อมทั้งบริษัท ได้เที่ยว ขอในสกุลทั้งหลายมาฉัน ประชาชนทั้งหลาย ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน 
โพนทะนา ว่า ไฉน พระสมณะ เชื้อสายพระศากยบุตร จึงเที่ยวขอในสกุลทั้งหลาย มาฉันเล่าของที่ปรุง เสร็จแล้ว ใครจะไม่พอใจของที่ดีใครจะไม่ชอบใจ

          ภิกษุทั้งหลาย ได้ยินพวกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ พวกที่เป็นผู้
มักน้อย...ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระเทวทัตพร้อม กับบริษัท จึงเที่ยวขอในสกุลทั้งหลาย มาฉันเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี พระภาค

          พระผู้มีพระภาค ... ตรัสถามว่า ดูกรเทวทัต ข่าวว่า เธอพร้อมกับบริษัท
 เที่ยวขอในสกุลทั้งหลายมาฉัน จริงหรือ

         พระเทวทัตทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า

          พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ทรงติเตียน ...ครั้นแล้ว ทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะ
 ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติโภชนะสำหรับ ๓ คนในสกุลแก่ภิกษุทั้งหลาย

         อาศัยอำนาจประโยชน์ ๓ ประการ คือเพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก๑ เพื่ออยู่ผาสุก
ของภิกษุผู้มีศีลเป็นที่ รัก ๑ เพื่ออนุเคราะห์สกุล ด้วยหวังว่า ภิกษุทั้งหลายที่มี ความปรารถนาลามก อย่าอาศัย ฝักฝ่าย ทำลาย สงฆ์ ๑ ในการ ฉันเป็นหมู่ พึงปรับอาบัติตามธรรม


(25)

ฉบับหลวง เล่มที่ ๗ วินัยปิฎก จุลวรรค ภาค ๒ หน้าที่ ๑๒๗

เรื่องวัตถุ ๕ ประการ


วัตถุ ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักน้อย ความเป็นผู้ไม่สั่งสม เพื่อการปรารภ ความเพียร ....ข้าพระพุทธเจ้า ขอประทานพระวโรกาส
1. พึงถือการอยู่ป่าเป็นวัตรตลอดชีวิต
2. พึงถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรตลอดชีวิต
3. พึงถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตรตลอดชีวิต
4. พึงถืออยู่โคนไม้เป็นวัตรตลอดชีวิต
5. ไม่พึงฉันปลาและเนื้อตลอดชีวิต

พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า อย่าเลย เทวทัต



           [๓๘๓] ครั้งนั้น พระเทวทัตเข้าไปหาพระโกกาลิกะ พระกตโมรกติส สกะ พระขัณฑเทวีบุตร พระสมุททัตตะ แล้วได้กล่าวว่า มาเถิดท่านทั้งหลาย พวกเราจัก ทำสังฆเภท จักรเภท แก่พระสมณโคดม

           เมื่อพระเทวทัตกล่าวอย่างนี้ แล้วพระโกกาลิกะได้กล่าวว่า พระสมณโคดม
มีฤทธิ์มากมีอานุภาพมาก พวกเราจักทำสังฆเภท จักรเภท แก่พระสมณโคดม อย่างไรได้

          พระเทวทัตกล่าวว่า มาเถิดท่านทั้งหลาย พวกเราจักเข้าไปเฝ้าพระสมณ โคดม แล้วทูลขอวัตถุ ๕ ประการว่า พระผู้มีพระภาค ตรัสคุณแห่งความเป็นผู้ มักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่ สั่งสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยายพระพุทธเจ้าข้า

         วัตถุ ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักน้อย ความเป็นผู้สันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สั่งสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย ข้าพระพุทธเจ้า ขอประทานพระวโรกาส

         ภิกษุทั้งหลาย พึงถือการอยู่ป่าเป็นวัตรตลอดชีวิต รูปใดอาศัยบ้านอยู่ รูปนั้นพึงต้องโทษ

         ภิกษุทั้งหลาย พึงถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรตลอดชีวิต รูปใดยินดีกิจ นิมนต์ รูปนั้นพึงต้องโทษ

           ภิกษุทั้งหลาย พึงถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตรตลอดชีวิต รูปใดยินดีคหบดีจีวร รูปนั้น พึงต้องโทษ

         ภิกษุทั้งหลาย พึงถืออยู่โคนไม้เป็นวัตรตลอดชีวิต รูปใดเข้าอาศัยที่มุง ที่บัง รูปนั้น พึงต้องโทษ

           ภิกษุทั้งหลาย ไม่พึงฉันปลาและเนื้อตลอดชีวิต รูปใดฉันปลาและเนื้อ รูปนั้น พึงต้องโทษ พระสมณโคดมจักไม่ทรงอนุญาตวัตถุ ๕ ประการนี้ แต่พวกเรา นั้น จักให้ ประชาชนเชื่อถือวัตถุ ๕ ประการนี้

           พระโกกาลิกะกล่าวว่า ท่านทั้งหลาย พวกเราสามารถเพื่อทำสังฆเภท จักรเภท แก่พระสมณโคดมด้วยวัตถุ ๕ ประการนี้แน่ เพราะมนุษย์ทั้งหลายเลื่อมใส  ในความ ปฏิบัติเศร้าหมองฯ

         [๓๘๔] ครั้งนั้น พระเทวทัต พร้อมกับบริษัทเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายบังคมแล้วนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เมื่อนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้าพระผู้มีพระภาค ตรัสคุณแห่งความเป็นผู้มักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการ ที่น่าเลื่อมใส ความไม่สั่งสมการ ปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย พระพุทธเจ้าข้า

         วัตถุ ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักน้อย ความเป็นผู้สันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส ความไม่สั่งสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย ข้าพระพุทธเจ้า ขอประทานพระวโรกาส ภิกษุทั้งหลายพึงถือ การ อยู่ป่าเป็นวัตรตลอดชีวิต รูปใดอาศัยบ้านอยู่ รูปนั้นพึงต้องโทษ ภิกษุทั้งหลาย พึงถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรตลอดชีวิต รูปใดยินดีกิจนิมนต์ รูปนั้นพึงต้องโทษ

           ภิกษุทั้งหลาย พึงถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตรตลอดชีวิต รูปใดยินดีคหบดีจีวร รูปนั้นพึงต้องโทษภิกษุทั้งหลาย พึงถือการอยู่โคนไม้เป็นวัตรตลอดชีวิต รูปใดเข้า อาศัย ที่มุงที่บัง รูป นั้นพึงต้องโทษ ภิกษุทั้งหลาย ไม่พึงฉันปลาและเนื้อตลอดชีวิต รูปใดฉันปลาและ เนื้อ รูปนั้นพึง ต้องโทษ

          พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า อย่าเลย เทวทัต

         ภิกษุใดปรารถนา ภิกษุนั้นจงถือการอยู่ป่าเป็นวัตร รูปใดปรารถนา จงอยู่ใน บ้าน รูปใดปรารถนา จงถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร รูปใดปรารถนา จงยินดีกิจนิมนต์ รูปใด ปรารถนา จงถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร รูปใดปรารถนา จงยินดีคหบดีจีวร เราอนุญาต โคนไม้ เป็นเสนาสนะ ๘ เดือน เราอนุญาตปลา และเนื้อที่บริสุทธิ์ โดย ส่วนสาม คือ ไม่ได้เห็น ไม่ได้ยิน ไม่รังเกียจ             

         ครั้งนั้น พระเทวทัตคิดว่า พระผู้มีพระภาค ไม่ทรงอนุญาต วัตถุ ๕ ประการ นี้ จึง ร่าเริงดีใจพร้อมกับบริษัทลุกจากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณ แล้วกลับไป


(26)
ฉบับหลวง เล่มที่ ๗ วินัยปิฎก จุลวรรค ภาค ๒ หน้าที่ ๑๒๙๗


พระเทวทัตโฆษณาวัตถุ ๕ ประการ

         พระเทวทัตโฆษณาวัตถุ ๕ ประการ

          [๓๘๕] ต่อมา พระเทวทัต พร้อมกับบริษัทเข้าไปสู่กรุงราชคฤห์แล้ว ประกาศ ให้ประชาชนเข้าใจวัตถุ ๕ ประการ ว่า ท่านทั้งหลาย พวกอาตมาเข้าไปเฝ้า
 พระสมณโคดมทูลขอวัตถุ ๕ ประการ ว่า พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคตรัสคุณ แห่งความเป็นผู้มัก น้อย ...การปรารภ ความเพียร โดยอเนกปริยาย พระพุทธเจ้าข้า

           วัตถุ ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักน้อย...การปรารภความ เพียร โดยอเนกปริยาย ข้าพระพุทธเจ้า ขอประทานพระวโรกาส ภิกษุทั้งหลายพึงถือ อยู่ป่า เป็นวัตรตลอดชีวิต รูปใดอาศัยบ้านอยู่ รูปนั้นพึงต้องโทษ ...

           ภิกษุทั้งหลาย ไม่พึงฉันปลาและเนื้อตลอดชีวิต รูปใดฉันปลาและเนื้อ รูปนั้น พึงต้องโทษ วัตถุ ๕ ประการนี้พระสมณโคดมไม่ทรงอนุญาต แต่พวกอาตมา สมาทานประพฤติตามวัตถุ ๕ ประการนี้

           [๓๘๖] บรรดาประชาชนเหล่านั้น พวกที่ไม่มีศรัทธา ไม่เลื่อมใส ไร้ปัญญา กล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้ เป็นผู้กำจัด มีความ ประพฤติ ขัดเกลา ส่วนพระสมณโคดมประพฤติมักมาก ย่อมคิดเพื่อความมักมาก

           ส่วนพวกที่มีศรัทธา เลื่อมใส เป็นผู้ฉลาด มีปัญญา ย่อมเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่าไฉนพระเทวทัต จึงได้พยายามเพื่อทำลายสงฆ์ เพื่อทำลายจักร เล่า 

         ภิกษุทั้งหลาย ได้ยินพวกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็น ผู้มัก น้อย ..ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระเทวทัตจึงได้พยายาม เพื่อทำลาย สงฆ์ เพื่อทำลายจักร แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค

         พระผู้มีพระภาค ...ทรงสอบถามว่า ดูกรเทวทัต ข่าวว่าเธอพยายามเพื่อ ทำลายสงฆ์ เพื่อทำลายจักรจริงหรือ

         พระเทวทัตทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า

           พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อย่าเลย เทวทัต เธออย่าชอบใจการทำลายสงฆ์ เพราะการทำลายสงฆ์ มีโทษหนักนัก ผู้ใดทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน ย่อมประสพ โทษตั้งกัป ย่อมไหม้ในนรกตลอดกัป ส่วนผู้ใดสมานสงฆ์ผู้แตกกันแล้ว ให้พร้อม เพรียงกัน ย่อมประสพบุญอันประเสริฐ ย่อมบรรเทิงในสวรรค์ตลอดกัป อย่าเลย เทวทัต เธออย่าชอบใจการทำลายสงฆ์เลย เพราะการทำลายสงฆ์มีโทษหนักนัก

           [๓๘๗] ครั้งนั้นเป็นเวลาเช้า ท่านพระอานนท์ นุ่งอันตรวาสก ถือบาตร จีวร เข้าไปบิณฑบาตยังกรุงราชคฤห์ พระเทวทัตได้พบท่านพระอานนท์ กำลังเที่ยว บิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ จึงเข้าไปหาท่านพระอานนท์ แล้วได้กล่าวว่า ท่านอานนท์ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ผมจักทำอุโบสถจักทำสังฆกรรม แยกจากพระผู้มีพระภาค แยกจากภิกษุสงฆ์

           ครั้นท่านพระอานนท์ เที่ยวบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์แล้ว เวลาปัจฉาภัตร กลับจากบิณฑบาต เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายบังคม นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เมื่อนั่งเรียบร้อยแล้วจึงกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า เมื่อเช้านี้ ข้าพระพุทธเจ้า นุ่งอันตรวาสก ถือบาตร และจีวร เข้าไปบิณฑบาตยังกรุงราชคฤห์   

           พระเทวทัต พบข้าพระพุทธเจ้ากำลังเที่ยวบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ แล้วเข้ามาหา ข้าพระพุทธเจ้า ครั้นแล้วกล่าวว่า ท่านอานนท์ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ผมจักทำ อุโบสถ จักทำสังฆกรรม แยกจากพระผู้มีพระภาค แยกจากภิกษุสงฆ์ วันนี้พระเทวทัตจักทำลายสงฆ์ พระพุทธเจ้าข้า

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเรื่องนั้นแล้ว ทรงเปล่งอุทานในเวลา นั้นว่าดังนี้:


         [๓๘๘] ความดี คนดีทำง่าย ความดี คนชั่วทำยาก ความชั่วคนชั่ว ทำง่าย แต่อารยชน ทำความชั่วได้ยาก

ทุติยภาณวาร จบ


(27)
ฉบับหลวง เล่มที่ ๗ วินัยปิฎก จุลวรรค ภาค ๒ หน้าที่ ๑๓๐

พระเทวทัตได้ภิกษุบวชใหม่ ๕๐๐ รูป มาเป็นพรรคพวก

          [๓๘๙] ครั้งนั้น ถึงวันอุโบสถ พระเทวทัต ลุกจากอาสนะ ประกาศให้ ภิกษุทั้งหลายจับสลากว่า ท่านทั้งหลาย พวกเราเข้าไปเฝ้าพระสมณโคดม แล้วทูล ขอวัตถุ ๕ ประการว่า

         พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคตรัสคุณแห่ง ความเป็นผู้มักน้อย... การปรารภ ความเพียรโดยอเนกปริยาย วัตถุ ๕ ประการนี้ ย่อมเป็น ไปเพื่อความ เป็นผู้มักน้อย ..การปรารภความเพียรโดยอเนกปริยาย

           ข้าพระพุทธเจ้าขอประทานพระวโรกาส ภิกษุทั้งหลาย พึงถืออยู่ป่าเป็นวัตร ตลอดชีวิต รูปใดอาศัยบ้านอยู่ รูปนั้นพึงต้องโทษ ... ภิกษุทั้งหลายไม่พึงฉันปลา และเนื้อตลอดชีวิต รูปใดพึงฉันปลาและเนื้อ รูปนั้นพึงต้องโทษ วัตถุ ๕ ประการนี้ พระสมณโคดม ไม่ทรงอนุญาต แต่พวกเรานั้นย่อมสมาทาน ประพฤติตามวัตถุ ๕ ประการนี้ วัตถุ ๕ ประการนี้ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นจงจับสลาก ฯ

          [๓๙๐] สมัยนั้น พระวัชชีบุตร ชาวเมืองเวสาลี ประมาณ ๕๐๐ รูป เป็นพระ บวชใหม่ และรู้พระธรรมวินัยน้อย พวกเธอจับสลากด้วยเข้าใจว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ลำดับนั้นพระเทวทัตทำลายสงฆ์แล้ว พาภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูป หลีกไปทางคยาสีสะประเทศ ฯ

          [๓๙๑] ครั้งนั้น พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายบังคมนั่งณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เมื่อท่านพระสารีบุตรนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า พระเทวทัตทำลายสงฆ์แล้ว พาภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูปหลีกไปทางคยาสีสะประเทศ

          พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรสารีบุตร โมคคัลลานะ พวกเธอจักมีความการุญ
ใน ภิกษุใหม่เหล่านั้นมิใช่หรือ พวกเธอจงรีบไป ภิกษุเหล่านั้นกำลังจะถึง  ความย่อยยับ

          พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ ทูลรับสนองพระพุทธพจน์แล้ว ลุกจาก อาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณแล้วเดินทางไปคยาสีสะประเทศ


(28)
ฉบับหลวง เล่มที่ ๗ วินัยปิฎก จุลวรรค ภาค ๒ หน้าที่ ๑๓๐


ภิกษุยืนร้องให้


         เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง

          [๓๙๒] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งยืนร้องไห้อยู่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค จึงพระผู้มี พระภาค ตรัสถามภิกษุนั้นว่า ดูกรภิกษุ เธอร้องไห้ทำไม

          ภิกษุนั้นกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะเป็นอัคร สาวกของพระผู้มีพระภาค ไปในสำนักพระเทวทัต คงจะชอบใจธรรมของ พระเทวทัต

          พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ ข้อที่สารีบุตรโมคคัลลานะ จะพึงชอบ 
ใจธรรมของเทวทัต นั่นมิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส
แต่เธอทั้งสองไปเพื่อซ้อมความ เข้าใจกะภิกษุ


(29)
ฉบับหลวง เล่มที่ ๗ วินัยปิฎก จุลวรรค ภาค ๒ หน้าที่ ๑๓๑


พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะพาภิกษุ ๕๐๐ กลับ


         พระอัครสาวกพาภิกษุ ๕๐๐ กลับ

          [๓๙๓] สมัยนั้น พระเทวทัต อันบริษัทหมู่ใหญ่แวดล้อม แล้วนั่งแสดงธรรม อยู่ เธอได้เห็นพระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ มาแต่ไกล จึงเตือนภิกษุ ทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เห็นไหม ธรรมเรากล่าวดีแล้ว พระสารีบุตร โมคคัลลานะ อัครสาวก ของพระสมณโคดม พากันมาสู่สำนักเรา ต้องชอบใจธรรม ของเรา

          เมื่อพระเทวทัตกล่าวอย่างนี้แล้ว พระโกกาลิกะ ได้กล่าวกะพระเทวทัตว่า ท่านเทวทัต ท่านอย่าไว้วางใจพระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะ เพราะเธอ ทั้งสอง มีความปรารถนาลามก ลุอำนาจแก่ความปรารถนาลามก พระเทวทัตกล่าวว่า 
อย่าเลย คุณท่านทั้งสองมาดี เพราะชอบใจธรรมของเรา

          ลำดับนั้น ท่านพระเทวทัตนิมนต์ ท่านพระสารีบุตร ด้วยอาสนะกึ่งหนึ่งว่า มาเถิด ท่านสารีบุตร นิมนต์นั่งบนอาสนะนี้ ท่านพระสารีบุตรห้ามว่า อย่าเลยท่าน แล้วถืออาสนะแห่งหนึ่งนั่งณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แม้ท่านพระมหาโมคคัลลานะ  ก็ถืออาสนะแห่งหนึ่งนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

          ลำดับนั้น พระเทวทัตแสดงธรรมกถา ให้ภิกษุทั้งหลายเห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริงหลายราตรี แล้วเชื้อเชิญ ท่านพระสารีบุตรว่า ท่านสารีบุตร ภิกษุสงฆ์ปราศจากถีนมิทธะแล้วธรรมีกถา ของภิกษุทั้งหลายจงแจ่มแจ้งกะท่าน เราเมื่อยหลังจักเอน ท่านพระสารีบุตรรับคำ พระเทวทัตแล้ว

          ลำดับนั้น พระเทวทัตปูผ้าสังฆาฏิ ๔ ชั้น แล้วจำวัตร โดยข้างเบื้องขวา เธอเหน็ด เหนื่อยหมดสติสัมปชัญญะ ครู่เดียวเท่านั้น ก็หลับไป

          [๓๙๔] ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรกล่าวสอน พร่ำสอนภิกษุทั้งหลาย ด้วย ธรรมีกถาอันเป็นอนุศาสนี เจือด้วยอาเทสนาปาฏิหาริย์ ท่านพระมหาโมคคัลลานะ กล่าวสอน พร่ำสอน ภิกษุทั้งหลายด้วยธรรมีกถา อันเป็นอนุศาสนีเจือด้วย อิทธิปาฏิหาริย์

          ขณะเมื่อภิกษุเหล่านั้น อันท่านพระสารีบุตร กล่าวสอนอยู่ พร่ำสอนอยู่ด้วย อนุศาสนี เจือด้วย อาเทศนาปาฏิหาริย์ และอันท่านพระมหา โมคคัลลานะกล่าว สอนอยู่ พร่ำสอนอยู่ ด้วยอนุศาสนี เจือด้วย อิทธิปาฏิหาริย์ ดวงตาเห็นธรรมที่ ปราศจากธุลี ปราศจากมลทินได้เกิดขึ้นว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็น ธรรมดา สิ่งนั้น ทั้งหมด มีความดับเป็นธรรมดา

          ที่นั้น ท่านพระสารีบุตร เรียกภิกษุทั้งหลาย มาว่า ท่านทั้งหลาย เราจักไป เฝ้าพระผู้มีพระภาค ผู้ใดชอบใจธรรมของพระผู้มี พระภาคนั้น ผู้นั้นจงมา

          ครั้งนั้น พระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะ พาภิกษุ ๕๐๐ รูปนั้นเข้า ไปทางพระเวฬุวัน


(30)
ฉบับหลวง เล่มที่ ๗ วินัยปิฎก จุลวรรค ภาค ๒ หน้าที่ ๑๓๓

โลหิตร้อนได้พุ่งออกจากปากพระเทวทัต


          ครั้งนั้น พระโกกาลิกะปลุก พระเทวทัตให้ลุกขึ้น ด้วยคำว่าท่านเทวทัต ลุก ขึ้นเถิดพระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ พาภิกษุเหล่านั้นไปแล้ว เราบอกท่านแล้ว มิใช่หรือว่า อย่าไว้วางใจพระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ เพราะเธอทั้งสองมีความ ปรารถนาลามก ถึงอำนาจความปรารถนาลามก

         ครั้งนั้น โลหิตร้อนได้พุ่งออกจากปากพระเทวทัต ในที่นั้นเอง

         [๓๙๕] ครั้งนั้น พระสารีบุตรพระโมคคัลลานะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายบังคมนั่งณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เมื่อท่านพระสารีบุตร นั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า ขอประทานพระวโรกาส ภิกษุทั้งหลาย ผู้ประพฤติตามภิกษุผู้ทำลาย พึงอุปสมบทใหม่

          พ. อย่าเลย สารีบุตร เธออย่าพอใจการอุปสมบทใหม่ ของพวกภิกษุผู้ ประพฤติตามภิกษุผู้ทำลายเลย ดูกรสารีบุตร ถ้าเช่นนั้น เธอจงให้พวกภิกษุผู้    ประพฤติตามภิกษุผู้ทำลาย แสดงอาบัติถุลลัจจัย ก็เทวทัตปฏิบัติแก่เธออย่างไร

          ส. พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงธรรมีกถาให้ภิกษุทั้งหลาย
เห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ตลอดราตรีเป็นอันมาก แล้วได้รับสั่งกะ  ข้าพระพุทธเจ้าว่า

         ดูกรสารีบุตรภิกษุสงฆ์ ปราศจากถีนมิทธะแล้ว ธรรมีกถาของภิกษุทั้งหลาย จงแจ่มแจ้งแก่เธอ เราเมื่อยหลัง ดังนี้ฉันใด พระเทวทัต ก็ได้ปฏิบัติ ฉันนั้นเหมือนกัน พระพุทธเจ้าข้า

          [๓๙๖] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาค รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว มีสระใหญ่อยู่ในราวป่า ช้างทั้งหลายอาศัย สระนั้นอยู่ และพวกมันพากันลงสระนั้น เอางวงถอนเง่าและรากบัวล้างให้สะอาด จนไม่มีตม แล้วเคี้ยวกลืน กินเง่าและรากบัวนั้น เง่าและรากบัวนั้น ย่อมบำรุงวรรณะ และกำลังของช้างเหล่านั้น และช้างเหล่านั้น ก็ไม่เข้าถึงความตาย หรือความทุกข์ ปางตาย มีข้อนั้นเป็นเหตุ

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนลูกช้างตัวเล็กๆ เอาอย่างช้างใหญ่เหล่านั้น และ พากันลงสระนั้น เอางวงถอนเง่าและรากบัว แล้วไม่ล้างให้สะอาดเคี้ยวกลืน กิน ทั้งที่มี ตม เง่า และรากบัวนั้น ย่อมไม่บำรุงวรรณะ และกำลังของลูกช้าง เหล่านั้น
 และพวกมันย่อมเข้าถึงความตาย หรือความทุกข์ปางตาย มีข้อนั้นเป็นเหตุ

         ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวทัตเลียนแบบเราจักตายอย่างคนกำพร้า อย่างนั้น เหมือนกัน

         พระผู้มีพระภาคได้ตรัสประพันธคาถา ว่าดังนี้:

         [๓๙๗] เมื่อช้างใหญ่คุมฝูง ขุดดิน กินเง่าบัวอยู่ในสระใหญ่ ลูกช้างกินเง่า บัว ทั้งที่มีตมแล้วตาย ฉันใด เทวทัตเลียนแบบเราแล้ว จักตายอย่างคนกำพร้า ฉันนั้น






พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์