เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
 (5/5) มหานิทานสูตร : วิญญาณฐิติ๗ อายตนะ๒ วิโมกข์๘ อสัญญีสัตตายตนะ เนวสัญญา 950
 
  P946 P947 P948 P949 P950
มหานิทานสูตร
ตรัสกับอานนท์
  มหานิทานสูตร ( P 946 ) ตรัสสอนเรื่องปฏิจจสมุปบาทอันลุ่มลึก/เมื่อภพไม่มีเพราะภพดับไป ชาติจะพึงปรากฏได้บ้างไหม
มหานิทานสูตร ( P 947 ) ตรัสสอนเหตุเกิด-เหตุดับของอกุศลธรรมอันลามก อันอาศัยตัณหาเป็นปัจจัยของการแสวงหา
มหานิทานสูตร ( P 948 ) สมุทัยปัจจัยแห่งเวทนา ผัสสะ นามรูป /นามกาย รูปกาย นามรูป /นามรูปปรากฎ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย
มหานิทานสูตร ( P 949 ) ดูกรอานนท์ บุคคลเมื่อจะบัญญัติอัตตา ย่อมบัญญัติด้วยเหตุประมาณเท่าไร
มหานิทานสูตร ( P 950 ) เรื่องวิญญาณฐิติ ๗ / อายตนะ ๒ /วิโมกข์ ๘
 
 
P950 (โดยย่อ)
วิญญาณฐิติ ๗
๑. วิญญาณฐิติที่ ๑ สัตว์มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน ได้แก่มนุษย์ เทพบางพวก วินิบาตบางพวก
๒. วิญญาณฐิติที่ ๒ มีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เทพผู้นับเนื่องในชั้นพรหม ได้ปฐมฌาน
๓. วิญญาณฐิติที่ ๓ สัตว์มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาต่างกัน ได้แก่พวกเทพชั้นอาภัสสร 
๔. วิญญาณฐิติที่ ๔ สัตว์ที่มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน ได้แก่พวกเทพ ชั้น สุภกิณหะ
๕. วิญญาณฐิติที่ ๕ เข้าถึงชั้นอากาสา- ล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆะสัญญา ไม่ใส่ใจถึงนานัตต สัญญา
๖. วิญญาณฐิติที่ ๖ เข้าถึงชั้นวิญญาณัญจายตนะ วิญญาณหาที่สุด มิได้ ล่วงชั้นอากาสานัญจายตนะ
๗. วิญญาณฐิติที่ ๗ สัตว์ที่เข้าถึงชั้นอากิญจัญญายตนะ เพราะล่วงชั้น วิญญาณัญจายตนะ

อายตนะ ๒
๑.อสัญญีสัตตายตนะ
๒.เนวสัญญานาสัญญายตนะ

วิโมกข์ ๘
(ทางหลุดพ้น วิมุตติ นิพพาน)
๑. ได้รูปฌานย่อมเห็นรูป นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๑
๒. ไม่มีความสำคัญในรูปในภายในย่อมเห็นรูปในภายนอก นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๒
๓. น้อมใจเชื่อว่า กสิณเป็นของงาม นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๓
๔. บรรลุอากาสา- อากาศหาที่สุดมิได้ ล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่ใส่ใจนานัตตสัญญา
๕. บรรลุวิญญาณัญจา- วิญญาณหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงชั้นอากาสา- นี้เป็นวิโมกข์ที่ ๕
๖. บรรลุอากิญจัญญา- ด้วยมนสิการว่าไม่มีอะไร เพราะล่วงวิญญาณัญจา นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๖
๗. บรรลุเนวสัญญานาสัญญา-เพราะล่วงอากิญจัญญา- นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๗
๘. บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ ล่วงเนวสัญญานาสัญญา นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๘
 
 


ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๐ สุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค หน้าที่ ๕๐ – ๖๔


มหานิทานสูตร
วิญญาณฐิติ ๗


      [๖๕] ดูกรอานนท์ วิญญาณฐิติ ๗ อายตนะ ๒ เหล่านี้

วิญญาณฐิติ ๗ เป็นไฉน คือ

      ๑. สัตว์มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน ได้แก่พวกมนุษย์ และพวกเทพบางพวก พวกวินิบาตบางพวก นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๑

      ๒. สัตว์มีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกันได้แก่พวกเทพผู้นับ เนื่องใน ชั้นพรหม ผู้บังเกิดด้วยปฐมฌาน และสัตว์ผู้เกิดในอบาย ๔ นี้เป็นวิญญาณ ฐิติที่ ๒

      ๓. สัตว์มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาต่างกัน ได้แก่พวกเทพชั้นอาภัสสร นี้เป็น วิญญาณฐิติที่ ๓

      ๔. สัตว์ที่มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน ได้แก่พวกเทพ ชั้น สุภกิณหะ นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๔

       ๕. สัตว์ที่เข้าถึงชั้นอากาสานัญจายตนะด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุด มิได้ เพราะล่วงรูปสัญญา เพราะดับปฏิฆะสัญญา เพราะไม่ใส่ใจถึงนานัตตสัญญา โดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๕

      ๖. สัตว์ที่เข้าถึงชั้นวิญญาณัญจายตนะด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุด มิได้ เพราะล่วงชั้นอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๖

      ๗. สัตว์ที่เข้าถึงชั้นอากิญจัญญายตนะ ด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไร เพราะล่วงชั้น วิญญาณัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๗


อายตนะ ๒

      ส่วนอายตนะอีก ๒ คือ อสัญญีสัตตายตนะ (ข้อที่ ๑) และข้อที่ ๒ คือ เนวสัญญานาสัญญายตนะ

      ดูกรอานนท์ บรรดาวิญญาณฐิติทั้ง ๗ ประการนั้น วิญญาณฐิติข้อที่ ๑ มี ว่า สัตว์มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน ได้แก่พวกมนุษย์และพวกเทพบางพวก พวก วินิบาต บางพวกผู้ที่รู้ชัดวิญญาณฐิติข้อนั้น รู้ความเกิดและความดับ รู้คุณและโทษ แห่งวิญญาณฐิติข้อนั้น และรู้อุบายเป็นเครื่องออกไปจากวิญญาณฐิติ ข้อนั้น เขายังจะ ควรเพื่อเพลิดเพลินวิญญาณฐิตินั้นอีกหรือ
        ไม่ควร พระเจ้าข้า
         ฯลฯ    ฯลฯ

       วิญญาณฐิติที่ ๗ มีว่า สัตว์ผู้เข้าถึงชั้นอากิญจัญญายตนะ ด้วยมนสิการ ว่า ไม่มีอะไรเพราะล่วงชั้นวิญญาณณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง ผู้ที่รู้ชัด วิญญาณฐิติ ข้อนั้น รู้ความเกิดและความดับ รู้คุณและโทษ แห่งวิญญาณฐิติ ข้อนั้น และรู้อุบาย เป็นเครื่องออกไปจากวิญญาณฐิติ ข้อนั้น เขายังจะควร เพลิดเพลินวิญญาณฐิตินั้น อีกหรือ
        ไม่ควร พระเจ้าข้า

       ดูกรอานนท์ ส่วนบรรดาอายตนะทั้ง ๒ นั้นเล่า

       ข้อที่ ๑ คือ อสัญญีสัตตายตนะ ผู้ที่รู้ชัด อสัญญีสัตตายตนะ ข้อนั้น รู้ความเกิด และความดับ รู้คุณ และโทษ แห่ง อสัญญีสัตตายตนะ ข้อนั้น และรู้อุบาย เป็นเครื่อง ออกไปจาก อสัญญีสัตตายตนะ ข้อนั้น เขายังจะควรเพื่อเพลิดเพลิน อสัญญี สัตตายตนะ นั้น อีกหรือ.....
        ไม่ควร พระเจ้าข้า


         ส่วนข้อที่ ๒ คือ เนวสัญญานาสัญญายตนะ ผู้ที่รู้ชัดเนวสัญญา นาสัญญา ยตนะ ข้อนั้นรู้ความเกิดและความดับ รู้คุณและโทษแห่งเนวสัญญานาสัญญายตนะ ข้อนั้น และรู้อุบายเป็นเครื่องออกไปจากเนวสัญญานาสัญญายตนะ ข้อนั้น เขายังจะ ควรเพื่อ เพลิดเพลินเนวสัญญานาสัญญายตนะข้อนั้นอีกหรือ...
        ไม่ควร พระเจ้าข้า


        ดูกรอานนท์ พราะภิกษุมาทราบชัด ความเกิดและความดับทั้งคุณและโทษ และ อุบายเป็นเครื่องออกไปจากวิญญาณฐิติ ๗ และอายตนะ ๒ เหล่านี้ ตามเป็น  จริงแล้ว ย่อมเป็นผู้หลุดพ้นได้เพราะไม่ยึดมั่น อานนท์ภิกษุนี้เราเรียกว่า ปัญญาวิมุตติ


วิโมกข์ ๘

        [๖๖] ดูกรอานนท์ วิโมกข์ ๘ ประการเหล่านี้ ๘ ประการเป็นไฉน คือ

      ๑. ผู้ได้รูปฌานย่อมเห็นรูป นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๑

      ๒. ผู้ไม่มีความสำคัญในรูปในภายในย่อมเห็นรูปในภายนอก นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๒

      ๓. ผู้ที่น้อมใจเชื่อว่า กสิณเป็นของงาม นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๓

     ๔. ผู้บรรลุอากาสานัญจายตนะด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้ เพราะล่วง รูปสัญญา เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่ใส่ใจถึงนานัตตสัญญา โดย ประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๔

     ๕. ผู้ที่บรรลุวิญญาณัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ เพราะ ล่วงชั้นอากาสานัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ที่ ๕

     ๖. ผู้ที่บรรลุอากิญจัญญายตนะ ด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไร เพราะล่วง วิญญา ณัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๖

     ๗. ผู้ที่บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะ เพราะล่วงอากิญจัญญายตนะ โดย ประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๗

     ๘. ผู้ที่บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะ โดย ประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๘

       ดูกรอานนท์ เหล่านี้แล วิโมกข์ ๘ ประการ ภิกษุเข้าวิโมกข์ ๘ ประการ เหล่านี้ เป็นอนุโลมบ้าง เป็นปฏิโลมบ้าง เข้าทั้งอนุโลมและปฏิโลมบ้าง เข้าบ้าง ออกบ้าง ตามคราวที่ต้องการ ตามสิ่งที่ปรารถนา และตามกำหนดที่ต้องประสงค์จึงบรรลุ เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไป เพราะทำให้แจ้งด้วย ปัญญาอันยิ่ง ด้วยตนเองในปัจจุบัน

       อานนท์ ภิกษุนี้ เราเรียกว่า อุภโตภาควิมุตติ อุภโตภาควิมุตติ อื่นจาก อุภโตภาควิมุตตินี้ ที่จะยิ่งหรือประณีตไป กว่าไม่มี พระผู้มีพระภาคตรัสพระพุทธพจน์ นี้แล้ว ท่านพระอานนท์ยินดี ชื่นชมพระภาษิตของ พระผู้มีพระภาค แล้วแล ฯ

จบมหานิทานสูตร ที่ ๒

     
 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์