เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  ปาฏิกสูตร ธรรมที่เป็นการสิ้นทุกข์ กับ ธรรมอันยิ่งยวดของมนุษย์ 951
 
(เนื้อหาพอสังเขป)

ดูกรสุนักขัตตะ
เพราะเหตุที่เมื่อเราได้กระทำอิทธิปาฏิหาริย์ ที่เป็นธรรมยิ่งยวด ของมนุษย์ หรือมิได้กระทำก็ดี ธรรมที่เราได้แสดงไว้ ย่อมนำผู้ประพฤติ ให้สิ้น ทุกข์โดยชอบ เช่นนี้ เธอจะปรารถนาการกระทำอิทธิปาฏิหาริย์ที่เป็น ธรรมยิ่งยวด ของมนุษย์ไปทำไม

(ธรรมของพระองค์ เป็นธรรมเพื่อสิ้นทุกข์ แต่อิทธิปาฏิหาริย์เป็นธรรมอันยิ่งยวดของมนุษย์ ซึ่งเป็นนัยยะที่ต่างกันโดยสิ้นเชิง เหมือนกับว่าเมื่อสิ้นทุกข์แล้ว ยังต้องการปาฏิหาริย์อีกหรือ)
 
 


ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๑ สุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค หน้าที่ ๑
พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๓ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค

๑. ปาฏิกสูตร (๒๔)

          [๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
          สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ อนุปิยนิคม ของชาวมัลละ ใน แคว้นมัลละ ครั้งนั้นแลเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงนุ่งแล้ว ทรงถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังอนุปิยนิคม ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ทรงพระดำริว่า ยังเช้านักที่จะเข้าไปบิณฑบาต ยังอนุปิยนิคม ถ้ากระไร เราพึงไปหาปริพาชก ชื่อ ภัคควโคตร ที่อารามของเขา ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปหาปริพาชกชื่อ ภคควโคตรที่อารามของเขาแล้ว ฯ

          ครั้นแล้ว จึงได้กราบทูลว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วันก่อนๆ พระโอรสเจ้าลิจฉวี ชื่อ สุนักขัตตะ ได้เข้ามาหาข้าพระองค์ถึงที่อยู่ แล้วบอกว่า ดูกรภัคควะ บัดนี้ ข้าพเจ้า บอกคืน(ขอสึก) พระผู้มีพระภาคแล้ว ข้าพเจ้าไม่อยู่อุทิศต่อ พระผู้มีพระภาค ดังนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คำนั้นเป็นดังที่เขากล่าวหรือ ฯ

     ก็เป็นดังที่โอรสเจ้าลิจฉวีชื่อ สุนักขัตตะ กล่าวนั้นแล

(จากนั้นพระผู็มีพระภาคทรงเล่า ภัคควะ ได้ทราบที่มาที่ไปของการบอกคืนของ สุนักขัตตะ)

(สุนักขัตตะ บอกคืนเพราะเห็นว่าพระผู้มีพระภาคไม่ทรงแสดงอิทธิปาฎิหาริย์ให้เห็น)
(เกิดความเข้าใจผิด เหมือนพระพุทธเจ้าไม่ได้ขอให้มาบวช เมื่อสุนักขัตตะ ขอคืน ก็อ้างว่า พระผู้มีพระภาคขอให้บวช ปัญหาคือ บอกคืนใคร)

        ดูกรสุนักขัตตะ เพราะเหตุที่เราไม่ได้กล่าวกะเธอว่า มาเถิด สุนักขัตตะ เธอจงอยู่ อุทิศต่อเรา ดังนี้ อนึ่ง เธอก็ไม่ได้กล่าวกะเราว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ จักอยู่อุทิศต่อพระผู้มีพระภาค ดังนี้ ดูกรโมฆบุรุษ เมื่อเป็นเช่นนี้ เธอเมื่อ บอกคืน จะชื่อว่าบอกคืนใคร เธอจงเห็นว่า ข้อนี้เป็นความผิดของเธอ เท่านั้น ฯ

          [๒] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็พระผู้มีพระภาค มิได้ทรงกระทำอิทธิปาฏิหาริย์ ที่เป็นธรรมยิ่งยวดของมนุษย์แก่ข้าพระองค์เลย ฯ

    ดูกรสุนักขัตตะ เราได้กล่าวกะเธออย่างนี้ว่ามาเถิดสุนักขัตตะ เธอจงอยู่อุทิศ ต่อเรา เราจะกระทำอิทธิปาฏิหาริย์ที่เป็นธรรม ยิ่งยวดของมนุษย์แก่เธอดังนี้ บ้างหรือ ฯ
    หามิได้ พระเจ้าข้า ฯ (สุนักขัตตะ ปฏิเสธว่า พระผู้มีพระภาคไม่ได้ชวนให้มาอุทิศ ต่อพระองค์ โดยพระองค์จะแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ให้เห็น)

    หรือว่า เธอได้กล่าวกะเรา อย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จักอยู่ อุทิศต่อ พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคจักทรงกระทำ อิทธิปาฏิหาริย์ที่เป็นธรรม ยิ่งยวดของมนุษย์ แก่ข้าพระองค์ ฯ
    หามิได้ พระเจ้าข้า ฯ (ขณะเดียวกัน สุนักขัตตะ ปฏิเสธว่าไม่ได้ขอมาอุทิศ เพื่อให้พระ ผู้มี พระภาคกระทำปาฏิหาริย์)
     ดูกรสุนักขัตตะ เพราะเหตุที่เรามิได้กล่าวกะเธอ และ เธอก็มิได้กล่าวกะเราฯ

     ดูกรโมฆบุรุษ เมื่อเป็นเช่นนี้ เธอเมื่อบอกคืนจะชื่อว่าบอกคืนใคร

    ดูกรสุนักขัตตะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน คือเมื่อเราได้กระทำ อิทธิปาฏิหาริย์ ที่เป็นธรรม ยิ่งยวดของมนุษย์ หรือมิได้กระทำก็ดี ธรรมที่เราได้ แสดงไว้ ย่อมนำผู้ประพฤติให้ สิ้นทุกข์โดยชอบ [หรือหาไม่] ฯ

     ดูกรสุนักขัตตะ เพราะเหตุที่เมื่อเราได้กระทำอิทธิปาฏิหาริย์ ที่เป็นธรรมยิ่งยวด ของมนุษย์ หรือมิได้กระทำก็ดี ธรรมที่เราได้แสดงไว้ ย่อมนำผู้ประพฤติ ให้สิ้น ทุกข์โดยชอบ เช่นนี้ เธอจะปรารถนาการกระทำอิทธิปาฏิหาริย์ที่เป็น ธรรมยิ่งยวด ของมนุษย์ไปทำไม

     ดูกรโมฆบุรุษ เธอจงเห็นว่า ข้อนี้เป็นความผิดของเธอเท่านั้น ฯ
(ธรรมของพระองค์ เป็นธรรมเพื่อสิ้นทุกข์ แต่อิทธิปาฏิหาริย์เป็นธรรมอันยิ่งยวดของมนุษย์ ซึ่งเป็นนัยยะที่ต่างกันโดยสิ้นเชิง เหมือนกับว่าเมื่อสิ้นทุกข์แล้ว ยังต้องการปาฏิหาริย์อีกหรือ)

 

 

 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์