เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  ความหวงแหน ความตระหนี่ ความมุ่งจะเอา ก็เรียกว่าความตระหนี่ 952
 
(เนื้อหาพอสังเขป)

1 อาการที่ตระหนี่ ความเป็นผู้ประพฤติตระหนี่ ความเป็นผู้ ปรารถนาต่างๆความเหนียวแน่น ความเป็นผู้มีจิตหดหู่เจ็บร้อนในการให้ ความที่จิต อันใครๆ ไม่เชื่อถือได้ในการให้ นี้เรียกว่าความตระหนี่.
2. ความตระหนี่ขันธ์ก็ดี ความตระหนี่ธาตุก็ดี ความตระหนี่อายตนะ ก็ดี นี้เรียกว่าความตระหนี่.
3. ความมุ่งจะเอา ก็เรียกว่าความตระหนี่. ตัณหาเรียกว่าความติดใจ ได้แก่ ความกำหนัด ความกำหนัดกล้า ฯลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล
----------------------------------------------------------------------------------------

ความระแวง เพราะวัตถุถูกแย่งชิง
ความหวาดระแวงในการแย่งชิงวัตถุที่ถือว่าของเราย่อมเศร้าโศก
เศร้าโศกเพราะถูกกำลังแย่งชิง หรือ เพราะถูกชิงไปแล้ว

ความเศร้าโศก ย่อมรำพัน เพราะวัตถุแปรปรวน
เศร้าโศก เพราะวัตถุนั้นกำลังแปรปรวน หรือ แปรปรวนไปแล้ว

ชนทั้งหลายย่อมรักษาคุ้มครอง ป้องกัน หวงแหน วัตถุที่ถือว่าของเรา ไม่ละ ไม่สละ ไม่บรรเทา ไม่ทำให้สิ้นไป.. ชนทั้งหลายผู้ติดใจ ย่อมไม่ละความโศก ความรำพัน และความหวงแหน

 
 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๙ สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส


ชราสุตตนิทเทสที่ ๖

ความหวงแหน ความตระหนี่

คำว่า ความหวงแหน
ได้แก่ ความตระหนี่ ๕ ประการ คือ
๑. ความตระหนี่ที่อยู่
๒. ความตระหนี่ตระกูล
๓. ความตระหนี่ลาภ
๔. ความตระหนี่วรรณะ
๕. ความตระหนี่ธรรม


1 ความตระหนี่เห็นปานนี้ อาการที่ตระหนี่ ความเป็นผู้ประพฤติตระหนี่ ความเป็นผู้ ปรารถนาต่างๆความเหนียวแน่น ความเป็นผู้มีจิตหดหู่เจ็บร้อนในการให้ ความที่จิต อันใครๆ ไม่เชื่อถือได้ในการให้ นี้เรียกว่าความตระหนี่.

2. อีกอย่างหนึ่ง ความตระหนี่ขันธ์ก็ดี ความตระหนี่ธาตุก็ดี ความตระหนี่อายตนะ ก็ดี  นี้เรียกว่าความตระหนี่.

3. ความมุ่งจะเอา ก็เรียกว่าความตระหนี่. ตัณหาเรียกว่าความติดใจ ได้แก่ ความกำหนัด ความกำหนัดกล้า ฯลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล.

คำว่าความยึดถือว่าของเรา ได้แก่ ความยึดถือว่าของเรา ๒ อย่าง คือ ความยึดถือว่าของเราด้วย ตัณหา
ความยึดถือว่าของเราด้วย ทิฏฐิ ๑ ฯลฯ

นี้ชื่อว่า ความยึดถือว่าของเราด้วย ตัณหา ฯลฯ
นี้ชื่อว่า ความยึดถือของเราด้วย ทิฏฐิ

ชนทั้งหลายแม้ผู้มีความหวาดระแวงในการแย่งชิงวัตถุ ที่ถือว่าของเราย่อมเศร้าโศก คือ ย่อมเศร้าโศกเมื่อเขากำลังแย่งชิงเอาบ้าง. เมื่อเขาแย่งชิงเอาไปแล้วบ้าง. แม้ผู้มีความหวาดระแวงในความแปรปรวนไปแห่งวัตถุ ที่ถือว่าของเรา ย่อมเศร้าโศก คือ ย่อมเศร้าโศกเมื่อวัตถุนั้นกำลังแปรปรวนไปบ้าง เมื่อวัตถุนั้นแปรปรวนไปแล้วบ้าง.

แม้ผู้มีความหวาดระแวง การแย่งชิงวัตถุที่ถือว่าของเรา ย่อมรำพัน คือ ย่อมรำพัน เมื่อเขากำลังแย่งชิงเอาบ้าง เมื่อเขาแย่งชิงเอาไปแล้วบ้าง.

แม้ผู้มีความหวาดระแวง ในความแปรปรวนไปแห่งวัตถุที่ถือว่าของเรา ย่อมรำพันคือ ย่อมรำพันเมื่อวัตถุนั้นกำลังแปรปรวนไปบ้าง เมื่อวัตถุนั้นแปรปรวนไปแล้วบ้าง.

ชนทั้งหลายย่อมรักษาคุ้มครอง ป้องกันวัตถุที่ถือว่าของเรา หวงแหนวัตถุที่ถือว่า ของเรา ย่อมเศร้าโศก ไม่ละ ไม่สละ ไม่บรรเทา ไม่ทำให้สิ้นไป ไม่ทำให้ถึงความไม่มี ซึ่งความโศก ความรำพัน ความหวงแหน ความติดใจ ในวัตถุที่ยึดถือว่าของเรา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ชนทั้งหลายผู้ติดใจในวัตถุที่ถือว่าของเรา ย่อมไม่ละความโศก ความรำพัน และความหวงแหน.

 

 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์