เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

มหาจุนทสูตร ว่าด้วยพระมหาจุนทะ สันทิฏฐิกสูตร ธรรมที่พึงเห็นด้วยตนเอง (รู้ว่าโลภะ โทสะ โมหะ ที่เกิดในใจ) 2256
 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒

มหาจุนทสูตรทรงสรรเสริญผู้เพ่งฌาน กับผู้ประกอบธรรม เป็นบุคคลที่หายากในโลก
- ภิกษุผู้ประกอบธรรม ย่อมรุกรานภิกษุผู้เพ่งฌาน ว่าเพ่งฌานทำไม เพ่งฌานเพื่ออะไร
- ภิกษุผู้เพ่งฌาน ย่อมรุกราน ภิกษุผู้ประกอบธรรม ว่าเป็นผู้ฟุ้งเฟ้อ เย่อหยิ่ง วางท่า มีสติหลงใหล
- ภิกษุผู้ประกอบธรรม ย่อมสรรเสริญภิกษุผู้ประกอบธรรมเท่านั้น ไม่สรรเสริญภิกษุผู้เพ่งฌาน
- ภิกษุผู้เพ่งฌาน ย่อมสรรเสริญภิกษุผู้เพ่งฌานเท่านั้น ไม่สรรเสริญภิกษุผู้ประกอบธรรม

ท่านทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า
เราเป็นผู้ประกอบธรรม จักสรรเสริญภิกษุผู้เพ่งฌาน เพราะบุคคลผู้ที่ถูกต้องอมตธาตุ ด้วยกาย เป็นอัจฉริยบุคคล หาได้ยากในโลก

เราทั้งหลายเป็นผู้เพ่งฌาน จักสรรเสริญภิกษุผู้ประกอบธรรม เพราะว่าบุคคลผู้ที่แทงทะลุ เห็นข้ออรรถ อันลึกซึ้งด้วยปัญญานั้น เป็นอัจฉริยบุคคล หาได้ยากในโลก
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
สันทิฏฐิกสูตรที่ ๑
ธรรมที่ผู้ปฏิบัติพึงเห็นชัดด้วยตนเอง
ธรรมอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน มีด้วยเหตุเท่าไรหนอ
-ท่านย่อมทราบชัด โลภะ มีอยู่ ในภายในว่า(ในใจ) มีอยู่ หรือไม่มีอยู่..อย่างนั้น พระเจ้าข้า(รู้)
-ท่านย่อมทราบชัด โทสะ มีอยู่ ในภายในว่า มีอยู่ หรือไม่มีอยู่..อย่างนั้น พระเจ้าข้า(รู้)
-ท่านย่อมทราบชัด โลภะ มีอยู่ ในภายในว่า มีอยู่ หรือไม่มีอยู่..อย่างนั้น พระเจ้าข้า(รู้)
อย่างนี้แล เป็นธรรมอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง (รู้ว่า โลภะ โทสะ โมหะ มีอยู่ หรือไม่มีอยู่ การรู้นี่แหละ คือ พึงเห็นเองรู้เองโดยไม่ต้องพึ่งใคร)

สันทิฏฐิกสูตรที่ ๒ ธรรมที่ผู้ปฏิบัติพึงเห็นชัดด้วยตนเอง
ท่านทราบชัด ราคะ ที่มีอยู่ในภายใน (ในใจ)
ท่านทราบชัด โทสะ ที่มีอยู่ในภายใน
ท่านทราบชัด โมหะ มีอยู่ในภายใน
ท่านทราบชัดเหตุเครื่องประทุษร้ายกาย วาจา ใจ
การที่ท่านทราบชัด ราคะ โทสะ โมหะ. . เหตุเครื่องประทุษร้ายกาย วาจา ใจ ที่มีอยู่ในภายใน อย่างนี้แล เป็นธรรมอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง (สังเกตุอกุศล ที่เกิดในใจเรา ซึ่งคนอื่นไม่อาจรู้ได้)

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 


 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๖๗-๓๖๙

๔. มหาจุนทสูตร
ว่าด้วยพระมหาจุนทะ

             [๓๑๗] สมัยหนึ่ง ท่านพระมหาจุนทะอยู่ที่นิคมชื่อสัญชาติในแคว้นเจดีย์ ครั้งนั้น ท่านพระมหาจุนทะเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลายภิกษุเหล่านั้น รับคำท่านพระมหาจุนทะแล้ว ท่านพระมหาจุนทะได้กล่าวดังนี้ว่า

         (๑) ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบธรรม ในธรรมวินัยนี้ ย่อมรุกราน ภิกษุผู้เพ่งฌาน ว่า ก็ภิกษุผู้เพ่งฌานเหล่านี้ ย่อมเพ่งฌานยึดหน่วงฌานว่า เราเพ่งฌานๆ ดังนี้ ก็ภิกษุเหล่านี้ เพ่งฌานทำไม เพ่งฌานเพื่ออะไร เพ่งฌาน เพราะเหตุไร ภิกษุผู้ประกอบธรรม ย่อมไม่เลื่อมใสในการเพ่งฌานนั้น และภิกษุ ผู้เพ่งฌาน ย่อมไม่เลื่อมใสในการ ประกอบธรรมนั้น ทั้งไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูล แก่ชนหมู่มาก เพื่อความสุขแก่ชน หมู่มาก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูลแก่ชนหมู่มาก เพื่อความสุข แก่ เทวดาและมนุษย์ ทั้งหลาย

         (๒) ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุผู้เพ่งฌาน ในธรรมวินัยนี้ ย่อมรุกราน พวกภิกษุผู้ประกอบธรรม ว่า ก็ภิกษุผู้ประกอบธรรมเหล่านี้ ย่อมเป็นผู้ฟุ้งเฟ้อ เย่อหยิ่ง วางท่า ปากจัด พูดพล่าม มีสติหลงใหล ไม่มีสัมปชัญญะ มีใจไม่ตั้งมั่น มีจิตฟุ้งซ่าน มีอินทรีย์ ปรากฏว่า เราประกอบธรรมๆ ดังนี้ ก็ภิกษุเหล่านี้ประกอบธรรมทำไม ประกอบธรรม เพื่ออะไร ประกอบธรรมเพราะเหตุไร ภิกษุผู้เพ่งฌานย่อมไม่เลื่อมใส ในการ ประกอบธรรม นั้น และภิกษุผู้ประกอบธรรมย่อมไม่เลื่อมใสในการเพ่งฌานนั้น ทั้งไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนหมู่มาก ...

        (๓) ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุผู้ประกอบธรรมในธรรมวินัยนี้ ย่อม สรรเสริญภิกษุผู้ประกอบธรรมเท่านั้น ไม่สรรเสริญภิกษุผู้เพ่งฌาน ภิกษุผู้ประกอบ ธรรมย่อมไม่เลื่อมใสในการเพ่งฌานนั้น และภิกษุผู้เพ่งฌาน ย่อมไม่ เลื่อมใส ในการ ประกอบธรรมนั้น ทั้งไม่เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนหมู่มาก ...

        (๔) ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุผู้เพ่งฌาน ในธรรมวินัยนี้ ย่อมสรรเสริญภิกษุผู้เพ่งฌานเท่านั้น ไม่สรรเสริญภิกษุผู้ประกอบธรรม ภิกษุผู้เพ่งฌานย่อมไม่ เลื่อมใส ในการประกอบธรรมนั้น และภิกษุผู้ประกอบธรรม ย่อมไม่เลื่อมใส ในการ เพ่งฌาน นั้น ทั้งไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนหมู่มาก เพื่อความสุขแก่ชนหมู่มาก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูลแก่ชนหมู่มาก เพื่อความสุข แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

             เพราะเหตุนั้นแหละ ท่านทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราทั้งหลายเป็นผู้ ประกอบธรรม จักสรรเสริญภิกษุผู้เพ่งฌาน ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย พึงศึกษาอย่างนี้แล ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าบุคคลผู้ที่ถูกต้องอมตธาตุด้วยกาย เป็นอัจฉริยบุคคล หาได้ยากในโลก

             เพราะเหตุนั้นแหละ ท่านทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราทั้งหลายเป็นผู้ เพ่งฌาน จักสรรเสริญภิกษุผู้ประกอบธรรม ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย พึงศึกษาอย่างนี้แล ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าบุคคลผู้ที่แทงทะลุเห็นข้ออรรถ อันลึกซึ้งด้วยปัญญานั้น เป็นอัจฉริยบุคคล หาได้ยากในโลก


-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๖๙-๓๗๐

๕. สันทิฏฐิกสูตรที่ ๑
ธรรมที่ผู้ปฏิบัติพึงเห็นชัดด้วยตนเอง

             [๓๑๘] ครั้งนั้นแล โมฬิยสิวกปริพาชกเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่า ธรรมอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง ธรรมอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง ดังนี้ ธรรมอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามา อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ย่อมมีด้วยเหตุเท่าไรหนอแล พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

             ดูกรสิวกะ ถ้าเช่นนั้นเราจักย้อนถามท่านในข้อนี้ ท่านพึงพยากรณ์ข้อนั้นตาม ที่ควร แก่ท่าน ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน คือ ท่านย่อมทราบชัด โลภะ ที่มีอยู่ ในภายในว่า โลภะมีอยู่ในภายในของเรา หรือ ทราบชัดโลภะที่ไม่มีอยู่ในภายใน ว่า โลภะไม่มีอยู่ในภายใน
             สิ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า

             พ. ดูกรสิวกะ การที่ท่านทราบชัดโลภะที่มีอยู่ในภายในว่า โลภะมีอยู่ในภายใน ของเรา หรือทราบชัดโลภะที่ไม่มีอยู่ในภายในว่า โลภะไม่มีอยู่ในภายในของเรา อย่างนี้แล เป็นธรรมอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง ฯลฯ

              ดูกรสิวกะท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน คือ ท่านทราบชัด โทสะ ที่มีอยู่ในภายใน ฯลฯโมหะที่มีอยู่ในภายใน ฯลฯ ธรรมที่ประกอบด้วยโลภะ ที่มีอยู่ใน ภายใน ฯลฯธรรมที่ประกอบด้วยโทสะที่มีอยู่ในภายใน ฯลฯ ธรรมที่ประกอบด้วย โมหะ ที่มีอยู่ใน ภายในว่า ธรรมที่ประกอบด้วยโมหะมีอยู่ในภายในของเรา หรือทราบชัด ธรรมที่ประกอบ ด้วย โมหะที่ไม่มีอยู่ในภายในว่า ธรรมที่ประกอบด้วยโมหะไม่มีอยู่ ในภายใน ของเรา
             สิ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า

             พ. ดูกรสิวกะ การที่ท่านทราบชัดธรรมที่ประกอบด้วย โมหะ ที่มีอยู่ในภายใน ว่า ธรรมที่ประกอบด้วยโมหะมีอยู่ในภายในของเรา หรือทราบชัดธรรมที่ประกอบด้วย โมหะ ที่ไม่มีอยู่ในภายในว่า ธรรมที่ประกอบด้วยโมหะไม่มีอยู่ในภายในของเรา อย่างนี้แล เป็นธรรมอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาลควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามา อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน

             สิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ฯลฯ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์นี้ขอถึง พระผู้มีพระภาค กับทั้งพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาค โปรดทรงจำข้าพระองค์ว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป


-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๗๐-๓๗๑

๖. สันทิฏฐิกสูตรที่ ๒
ธรรมที่ผู้ปฏิบัติพึงเห็นชัดด้วยตนเอง

             [๓๑๙] ครั้งนั้นแล พราหมณ์คนหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่าข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่า ธรรมอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง ธรรมอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง ดังนี้ ธรรมอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาลควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามา อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ย่อมมีด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอแล

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

             ดูกรพราหมณ์ ถ้าเช่นนั้น เราจักย้อนถามท่านในข้อนี้ ท่านพึงพยากรณ์ ข้อนั้น ตามที่ควร แก่ท่าน ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน คือ ท่าน ทราบชัด ราคะ ที่มีอยู่ใน ภายในว่า ราคะมีอยู่ในภายในของเราหรือทราบชัดราคะที่ไม่มีอยู่ในภายในว่า ราคะไม่มีอยู่ใน ภายใน ของเรา
             อัญญะ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า

             พ. ดูกรพราหมณ์ การที่ท่านทราบชัดราคะที่มีอยู่ในภายในว่า ราคะมีอยู่ใน ภายใน ของเรา หรือทราบชัดราคะที่ไม่มีอยู่ในภายในว่า ราคะไม่มีอยู่ในภายในของเรา อย่างนี้แล เป็นธรรมอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง ฯลฯ

             ดูกรพราหมณ์ ท่านจะสำคัญความ ข้อนั้น เป็นไฉน คือ ท่านทราบชัด โทสะ ที่มีอยู่ในภายใน ฯลฯ
โมหะ มีอยู่ ในภายใน ฯลฯ
เหตุเครื่องประทุษร้ายกาย ที่มีอยู่ ในภายใน ฯลฯ
เหตุเครื่องประทุษร้ายวาจา มีอยู่ในภายใน ฯลฯ
เหตุเครื่องประทุษร้ายใจ ที่มีอยู่ในภายในว่า
เหตุเครื่องประทุษร้ายใจ มีอยู่ในภายใน ของเรา
หรือ ทราบชัดเหตุเครื่องประทุษร้ายใจ ที่ไม่มีอยู่ในภายในว่า
เหตุเครื่องประทุษร้ายใจ ไม่มีอยู่ในภายใน ของเรา
              อัญญะ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า

             พ. ดูกรพราหมณ์ การที่ท่านทราบชัดเหตุเครื่องประทุษร้ายใจ ที่มีอยู่ใน ภายในว่า เหตุเครื่องประทุษร้ายใจมีอยู่ในภายในของเรา หรือทราบชัดเหตุเครื่อง ประทุษร้ายใจ ที่ไม่มีอยู่ในภายในว่า เหตุเครื่องประทุษร้ายในไม่มีอยู่ในภายในของเรา อย่างนี้แล เป็นธรรมอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามา อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน

             อัญญะ. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระโคดม ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งยิ่งนัก ฯลฯ ขอท่านพระโคดม โปรดทรงจำข้าพระองค์ว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป

 





หนังสือพุทธวจน ธรรมะของพระศาสดา
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์