เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

เขมสุมนสูตร การพยากรณ์อรหัตผลของพระเขมะ และพระสุมนะ อินทรียสังวรสูตร  เรื่องอินทรียสังวร 2257
 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒

เขมสุมนสูตร การพยากรณ์อรหัตผล ของพระเขมะ และพระสุมนะ
ท่านพระเขมะ และพระสุมนะ กราบทูลฯ ว่า ภิกษุผู้เป็นพระอรหันตขีณาสพ หลุดพ้นแล้ว ย่อมไม่มีความคิดอย่างนี้ว่า คนที่ดีกว่าเรามีอยู่ คนที่เสมอเรามีอยู่ หรือ คนที่เลวกว่าเรามีอยู่
...พระศาสดาทรงพอพระทัย ครั้นเมื่อท่านเขมะและท่านพระสุมนะ หลีกไปแล้วไม่นาน ทรงตรัส กะภิกษุทั้งหลายว่า กุลบุตรทั้งหลายย่อมพยากรณ์ อรหัตผล อย่างนี้แล พระขีณาสพทั้งหลาย ไม่น้อมตนเข้าไปเปรียบบุคคลที่ดีกว่า ที่เลวกว่า หรือบุคคลที่เสมอกัน เพราะหลุดพ้นจากสังโยชน

อินทรียสังวรสูตร
  -  เมื่ออินทรียสังวรมีอยู่ ศีล ของภิกษุ ย่อมมีอุปนิสัยสมบูรณ์
  -  เมื่อศีลมีอยู่ สัมมาสมาธิ ย่อมมีอุปนิสัยสมบูรณ์
  -  เมื่อสัมมาสมาธิมีอยู่ ยถาภูตญาณทัสนะ ย่อมมีอุปนิสัยสมบูรณ์
  -  เมื่อยถาภูตญาณทัสนะมีอยู่ นิพพิทาวิราคะ ย่อมมีอุปนิสัยสมบูรณ์
  -  เมื่อนิพพิทาวิราคะมีอยู่ วิมุตติญาณทัสนะ ย่อมมีอุปนิสัยสมบูรณ์

เปรียบเหมือนต้นไม้ ที่มีกิ่งและใบสมบูรณ์ แม้สะเก็ดของต้นไม้นั้น ก็ถึงความบริบูรณ์ แม้เปลือกก็ถึงความบริบูรณ์ แม้กระพี้ก็ถึงความบริบูรณ์ แม้แก่น ก็ถึงความบริบูรณ์ ฉะนั้น



เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 


 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๗๒-๓๗๓

๗. เขมสุมนสูตร
การพยากรณ์อรหัตผล ของพระเขมะ และพระสุมนะ

             [๓๒๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอาราม ของท่าน อนาถ บิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล ท่านพระเขมะ และ ท่านพระสุมนะ ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง

             ครั้นแล้ว ท่านพระเขมะ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุผู้เป็น พระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ มีกิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว ปลงภาระ ลงแล้ว บรรลุประโยชน์ของตนแล้ว หมดสิ้นสังโยชน์ในภพแล้ว หลุดพ้นแล้ว เพราะรู้โดยชอบ ภิกษุนั้นย่อมไม่มีความคิดอย่างนี้ว่า คนที่ดีกว่าเรามีอยู่ คนที่เสมอเรามีอยู่ หรือ คนที่เลวกว่าเรามีอยู่ ท่านพระเขมะได้กราบทูลดังนี้แล้ว พระศาสดาทรงพอพระทัย ครั้งนั้นแล ท่านพระเขมะทราบว่า พระศาสดา ทรงพอพระทัยเรา จึงลุกจากอาสนะ ถวายบังคม ทำประทักษิณพระผู้มีพระภาค แล้วหลีกไป

             ครั้นเมื่อท่านเขมะหลีกไปแล้วไม่นาน ท่านพระสุมนะ ได้กราบทูล พระผู้มีพระภาค ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญภิกษุ ผู้เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ มีกิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้วปลงภาระลงแล้ว บรรลุประโยชน์ของตน แล้ว หมดสิ้นสังโยชน์ในภพแล้วหลุดพ้นแล้ว เพราะรู้โดยชอบ ภิกษุนั้นย่อมไม่มีความคิด อย่างนี้ว่า คนที่ดีกว่าเราไม่มี คนที่เสมอเราไม่มี หรือคนที่เลวกว่าเราไม่มี

             ท่านพระสุมนะ ได้กราบทูลดังนี้แล้ว พระศาสดาทรงพอพระทัย ครั้งนั้นแล ท่านพระสุมนะทราบว่า พระศาสดาทรงพอพระทัยเรา จึงลุกจากอาสนะ ถวายบังคม ทำประทักษิณ พระผู้มีพระภาคแล้ว หลีกไป

             ครั้นเมื่อท่านเขมะและท่านพระสุมนะ หลีกไปแล้วไม่นานพระผู้มีพระภาค ได้ตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรทั้งหลายย่อมพยากรณ์ อรหัตผล อย่างนี้แล กล่าวแต่เนื้อความ และไม่น้อมตนเข้าไป ส่วนว่าโมฆบุรุษ บางพวกในธรรมวินัยนี้ เหมือนจะร่าเริงพยากรณ์อรหัตผล เขาเหล่านั้นย่อมถึง ความทุกข์ ในภายหลัง

             พระขีณาสพทั้งหลาย ไม่น้อมตนเข้าไปเปรียบบุคคลที่ดีกว่า ไม่น้อมตน เข้าไปเปรียบบุคคล ที่เลวกว่า ไม่น้อมตนเข้าไป เปรียบบุคคลที่เสมอกัน มีชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์ แล้ว ประพฤติเป็นผู้หลุดพ้นจากสังโยชน์

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๗๓

๘. อินทรียสังวรสูตร

             [๓๒๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
      เมื่ออินทรียสังวรไม่มี ศีลของภิกษุผู้มีอินทรีย์สังวร วิบัติ ย่อมมีอุปนิสัย ถูกขจัด
      เมื่อศีลไม่มี สัมมาสมาธิของภิกษุผู้มีศีลวิบัติ ย่อมมีอุปนิสัย ถูกขจัด
      เมื่อสัมมาสมาธิไม่มี ยถาภูตญาณทัสนะของภิกษุผู้มีสัมมาสมาธิวิบัติ ย่อมมี อุปนิสัยถูกขจัด
      เมื่อยถาภูตญาณทัสนะไม่มี นิพพิทาวิราคะของภิกษุ ผู้มียถาภูตญาณ ทัสนะ วิบัติ ย่อมมีอุปนิสัยถูกขจัด
      เมื่อนิพพิทาวิราคะไม่มี วิมุตติญาณทัสนะของภิกษุ ผู้มีนิพพิทาวิราคะวิบัติ ย่อมมีอุปนิสัยถูกขจัด เปรียบเหมือนต้นไม้ ที่มีกิ่งและใบวิบัติ แม้สะเก็ดของต้นไม้นั้น ก็ไม่ถึงความบริบูรณ์ แม้เปลือกก็ไม่ถึงความบริบูรณ์ แม้กระพี้ ก็ไม่ถึงความบริบูรณ์ แม้แก่นก็ไม่ถึง ความบริบูรณ์ ฉะนั้น

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย
       เมื่ออินทรียสังวรมีอยู่ ศีลของภิกษุผู้มีอินทรียสังวรสมบูรณ์ ย่อมมีอุปนิสัยสมบูรณ์
       เมื่อศีลมีอยู่ สัมมาสมาธิของภิกษุผู้มีศีลสมบูรณ์ ย่อมมีอุปนิสัย สมบูรณ์
       เมื่อสัมมาสมาธิมีอยู่ ยถาภูตญาณทัสนะของภิกษุผู้มีสัมมาสมาธิสมบูรณ์ ย่อมมี อุปนิสัยสมบูรณ์
       เมื่อยถาภูตญาณทัสนะมีอยู่ นิพพิทาวิราคะ ของภิกษุ ผู้มียถาภูตญาณ ทัสนะ สมบูรณ์ ย่อมมีอุปนิสัยสมบูรณ์
       เมื่อนิพพิทาวิราคะมีอยู่ วิมุตติญาณทัสนะของภิกษุ ผู้มีนิพพิทาวิราคะสมบูรณ์ ย่อมมีอุปนิสัยสมบูรณ์ เปรียบเหมือนต้นไม้ที่มีกิ่งและใบสมบูรณ์ แม้สะเก็ดของต้นไม้นั้น ก็ถึงความบริบูรณ์ แม้เปลือกก็ถึงความบริบูรณ์ แม้กระพี้ก็ถึงความบริบูรณ์แม้แก่น ก็ถึง ความบริบูรณ์ ฉะนั้น

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๗๔-๓๗๕

๙. อานันทสูตร

            [๓๒๒] ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ ได้เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับ ท่านพระสารีบุตร ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วน ข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามท่านพระสารีบุตรว่า

            ดูกรท่านสารีบุตร ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอแล
(๑) ภิกษุจึงได้ฟังธรรม ที่ยังไม่เคยฟังธรรมทั้งหลาย
(๒) ที่เธอได้ฟังแล้วย่อมไม่ถึงความหลงลืม
(๓) ธรรมทั้งหลายที่เธอได้ เคยถูกต้องด้วยใจในกาลก่อน ย่อมขึ้นใจ
(๔) และเธอย่อมทราบชัดธรรมที่ยังไม่ทราบชัด

            ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวว่า ท่านพระอานนท์แลเป็นพหูสูต ขอเนื้อความแห่ง ธรรมข้อนั้น จงแจ่มแจ้งกะท่านพระอานนท์เถิด

            อา. ดูกรท่านสารีบุตร ถ้าอย่างนั้นท่านจงฟังธรรม จงทำไว้ในใจให้ดี เราจักกล่าว ท่านพระสารีบุตร รับคำท่านพระอานนท์แล้ว ท่านพระอานนท์ได้กล่าวว่า

             ดูกรท่านสารีบุตร ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
(๑) ย่อมเล่าเรียนธรรม คือสุตตะ เคยยะ เวยยากรณ์ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละเธอย่อมแสดงธรรม ตามที่ได้ฟังมาได้เรียนมา แก่ผู้อื่นโดยพิสดาร
(๒) ย่อมบอกสอนธรรมที่ได้ฟังมา ได้เรียนมา แก่ผู้อื่นโดยพิสดาร
(๓) ย่อมทำการสาธยายธรรมตามที่ได้ฟังมาได้เรียนมาโดยพิสดาร
(๔) ย่อมตรึกตรอง เพ่งด้วยใจ
ซึ่งธรรมตามที่ได้ฟังมาได้เรียนมา
(๕) ย่อมจำพรรษาอยู่ในอาวาส ที่มีภิกษุผู้เถระเป็นพหูสูต ชำนาญคัมภีร์ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกาอยู่
(๖) ย่อมเข้าไปหาภิกษุผู้เถระ
เหล่านั้น โดยกาลอันควร แล้วไต่ถามสอบสวนว่า

            ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ภาษิตนี้เป็นอย่างไร เนื้อความของภาษิตนี้อย่างไร ภิกษุผู้เถระเหล่านั้น ย่อมเปิดเผยภาษิต ที่ยังไม่แจ่มแจ้ง ย่อมทำภาษิตที่ยากให้ง่าย แก่เธอ และย่อมบรรเทาความสงสัยในธรรมทั้งหลาย อันเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัย มีประการต่างๆ

            ดูกรท่านสารีบุตร ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล ภิกษุจึงได้ฟังธรรม ที่ยังไม่เคยฟัง ธรรมทั้งหลายที่เธอได้ฟังแล้ว ย่อมไม่ถึงความหลงลืม ธรรมทั้งหลาย ที่เธอได้เคย ถูกต้องด้วยใจ ในกาลก่อน ย่อมขึ้นใจ และเธอย่อมทราบชัดธรรม ที่ยังไม่ทราบชัด

            สา. ดูกรท่านอานนท์ น่าอัศจรรย์ เรื่องไม่เคยมีได้มีแล้ว เรื่องนี้ท่านอานนท์ ได้กล่าวดีแล้ว และพวกผมจะทรงจำท่านพระอานนท์ ว่าเป็นผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้ เพราะว่าท่านอานนท์ ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะเวยยากรณ์ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ ท่านอานนท์ ย่อมแสดงธรรม ตามที่ได้ฟังมา ได้เรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร

            ท่านอานนท์ย่อมบอกสอนธรรม ตามที่ได้ฟังมาได้เรียนมา แก่ผู้อื่นโดยพิสดาร ท่านอานนท์ย่อมทำการสาธยายธรรม ตามที่ได้ฟังมาได้เรียนมาโดยพิสดาร ท่านอานนท์ ย่อมตรึกตรอง เพ่งด้วยใจ ซึ่งธรรมตามที่ได้ฟังมาได้เรียนมา ท่านอานนท์ ย่อมจำพรรษา อยู่ในอาวาส ที่มีภิกษุผู้เถระผู้เป็นพหูสูต ชำนาญคัมภีร์ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกาอยู่ ท่านอานนท์ ย่อมเข้าไปหาภิกษุผู้เถระเหล่านั้น โดยกาลอันควร แล้วไต่ถามสอบสวนว่า

            ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ภาษิตนี้เป็นอย่างไร เนื้อความของภาษิตนี้ เป็นอย่างไร ภิกษุผู้เถระเหล่านั้นย่อมเปิดเผยภาษิต ที่ยังไม่แจ่มแจ้ง ย่อมทำภาษิตที่ยากให้ง่าย แก่ท่านอานนท์ และย่อมบรรเทาความสงสัย ในธรรมทั้งหลาย อันเป็นที่ตั้งแห่ง ความสงสัย มีประการต่างๆ

 





หนังสือพุทธวจน ธรรมะของพระศาสดา
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์