เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

พระสูตรที่ไม่ได้สงเคราะห์เข้าในวรรค พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ 2246
 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒

พระสูตรที่ไม่ได้สงเคราะห์เข้าในวรรค

ธรรม ๕ ประการ พึงให้กุลบุตร อุปสมบทได้
ธรรม ๕ ประการ พึงให้นิสัยได้
ธรรม ๕ ประการ พึงให้สามเณร อุปัฏฐากได้
ความตระหนี่ ๕ ประการ
ความตระหนี่ที่น่าเกลียดยิ่ง คือ ความตระหนี่ธรรม

ภิกษุไม่ละธรรม ๕ ประการ ไม่ควรเพื่อบรรลุ บรรลุปฐมฌาน ทุติยฌาน ... ตติยฌาน ... จตุตถฌาน ... ไม่ควรเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล ... สกทาคามิผล ... อนาคามิผล ... อรหัตผล

ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ
ความตระหนี่ที่อยู่ ๑
ความตระหนี่สกุล ๑
ความตระหนี่ลาภ ๑
ความตระหนี่วรรณะ ๑
ความตระหนี่ธรรม ๑

ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์ไม่พึงสมมติ
ให้เป็น ภัตตุเทสก์ ผู้แจกภัต, ผู้แจกอาหารแก่พระสงฆ์
ให้เป็น เสนาสนปัญญาปกะ ผู้ปูลาดเสนาสนะ
ให้เป็น เสนาสนคาหาปกะ ผู้ให้ภิกษุถือเสนาสนะ
ให้เป็น ภัณฑาคาริก ผู้รักษาเรือนคลัง
ให้เป็น จีวรปฏิคคาหกะ ผู้รับจีวร
ให้เป็น จีวรภาชกะ ผู้แจกจีวร
ให้เป็น ยาคุภาชกะ ผู้แจกข้าวยาคู
ให้เป็น ผลภาชกะ ผู้แจกผลไม้
ให้เป็น ขัชชกภาชกะ ผู้แจกของขบเคี้ยว
ให้เป็น อัปปมัตตกวิสัชชกะ ผู้จ่ายของเล็กน้อย
ให้เป็น สาฏิยคาหาปกะ ผู้แจกผ้าสาฎก
ให้เป็น ปัตตคาหาปกะ ผู้แจกบาตร

ฯลฯ

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 


 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๙๒-๔๑๐

พระสูตรที่ไม่ได้สงเคราะห์เข้าในวรรค

          [๒๕๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วย ธรรม ๕ ประการ พึงให้กุลบุตร อุปสมบทได้ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ประกอบด้วยศีลขันธ์ อันเป็นของพระอเสขะ ๑
ประกอบด้วยสมาธิขันธ์ อันเป็นของพระอเสขะ ๑
ประกอบด้วยปัญญาขันธ์ อันเป็นของพระอเสขะ ๑
ประกอบด้วยวิมุติขันธ์ อันเป็นของพระอเสขะ ๑
ประกอบด้วยวิมุติญาณทัศนขันธ์ อันเป็นของพระอเสขะ ๑

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล พึงให้กุลบุตร อุปสมบทได้

          [๒๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วย ธรรม ๕ ประการ พึงให้นิสัยได้ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยศีลขันธ์อันเป็นของ พระอเสขะ ฯลฯ ประกอบด้วยวิมุติญาณทัศนขันธ์อันเป็นของพระอเสขะ
          ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล พึงให้นิสัยได้

          [๒๕๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ พึงให้สามเณร อุปัฏฐากได้ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยศีลขันธ์ อันเป็นของพระอเสขะ ฯลฯ ประกอบด้วยวิมุติญาณทัศนขันธ์อันเป็นของพระอเสขะ

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล พึงให้สามเณร อุปัฏฐากได้

          [๒๕๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความตระหนี่ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ
ความตระหนี่ที่อยู่ ๑
ความตระหนี่สกุล (อุปัฏฐาก) ๑
ความตระหนี่ลาภ ๑
ความตระหนี่ วรรณะ ๑
ความตระหนี่ธรรม ๑
          ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความตระหนี่ ๕ ประการนี้แล

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาความตระหนี่ ๕ ประการนี้ ความตระหนี่ที่น่าเกลียดยิ่ง คือ ความตระหนี่ธรรม

          [๒๕๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อละ เพื่อตัดขาดความ ตระหนี่ ๕ ประการ ความตระหนี่ ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุอยู่ประพฤติพรหมจรรย์
เพื่อละ เพื่อตัดขาดความตระหนี่ที่อยู่ ๑
เพื่อละ เพื่อตัดขาดความตระหนี่สกุล ๑
เพื่อละ เพื่อตัดขาดความตระหนี่ลาภ ๑
เพื่อละ เพื่อตัดขาดความตระหนี่วรรณะ ๑
เพื่อละ เพื่อตัดขาดความตระหนี่ธรรม ๑

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อละ เพื่อตัดขาดความตระหนี่ ๕ประการนี้แล

          [๒๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม ๕ ประการ ไม่ควรเพื่อบรรลุปฐมฌาน ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ
ความตระหนี่ที่อยู่ ๑
ความตระหนี่สกุล ๑
ความตระหนี่ลาภ ๑
ความตระหนี่วรรณะ ๑
ความตระหนี่ธรรม ๑

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม ๕ ประการนี้แล ไม่ควรบรรลุปฐมฌาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๕ ประการ ควรเพื่อบรรลุปฐมฌาน ธรรม ๕ประการ เป็นไฉน คือ
ความตระหนี่ที่อยู่ ๑
ความตระหนี่สกุล ๑
ความตระหนี่ลาภ ๑
ความตระหนี่วรรณะ ๑
ความตระหนี่ธรรม ๑

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๕ ประการนี้แล ควรบรรลุปฐมฌาน

          [๒๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม ๕ ประการ ไม่ควรเพื่อบรรลุ ทุติยฌาน ... ตติยฌาน ... จตุตถฌาน ... ไม่ควรเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล ... สกทาคามิผล ... อนาคามิผล ... อรหัตผล ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ
ความตระหนี่ที่อยู่ ๑
ความตระหนี่สกุล ๑
ความตระหนี่ลาภ ๑
ความตระหนี่วรรณะ ๑
ความตระหนี่ธรรม ๑

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม ๕ ประการนี้แล ไม่ควรเพื่อกระทำ ให้แจ้ง ซึ่งอรหัตผล

          ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุละธรรม ๕ ประการ ควรเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งอรหัตผล ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ความตระหนี่ที่อยู่ ฯลฯ ความตระหนี่ธรรม

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๕ ประการนี้แล ควรเพื่อกระทำให้แจ้ง ซึ่ง อรหัตผล

          [๒๕๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม ๕ ประการ ไม่ควรเพื่อบรรลุปฐมฌาน ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ
ความตระหนี่ที่อยู่ ๑
ความตระหนี่สกุล ๑
ความตระหนี่ลาภ ๑
ความตระหนี่วรรณะ ๑
ความเป็นคนอกตัญญูอกตเวที ๑

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ล ะธรรม ๕ ประการนี้แล ไม่ควรเพื่อบรรลุปฐมฌาน

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๕ ประการ ควรเพื่อบรรลุปฐมฌานธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ
ความตระหนี่ที่อยู่ ๑
ความตระหนี่สกุล ๑
ความตระหนี่ลาภ ๑
ความตระหนี่วรรณะ ๑
ความเป็นคนอกตัญญูอกตเวที ๑

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๕ ประการนี้แล ควรเพื่อบรรลุปฐมฌาน

          [๒๕๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม ๕ ประการ ไม่ควรเพื่อบรรลุ ทุติยฌาน ... ตติยฌาน ... จตุตถฌาน ... ไม่ควรเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล ... สกทาคามิผล ... อนาคามิผล ... อรหัตผล ธรรม ๕ ประการเป็นไฉนคือ
ความตระหนี่ ที่อยู่ ๑
ความตระหนี่สกุล ๑
ความตระหนี่ลาภ ๑
ความตระหนี่วรรณะ ๑
ความเป็นคนอก ตัญญูอกตเวที ๑

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม ๕ ประการนี้แล ไม่ควรเพื่อทำให้แจ้งซึ่ง อรหัตผล

           ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุละธรรม ๕ ประการ ควรเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตผล ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ความตระหนี่ที่อยู่ ฯลฯ ความเป็นคนอกตัญญูอกตเวที

          ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุละธรรม ๕ ประการนี้แล ควรเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตผล

          [๒๖๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์ไม่พึงสมมติ ให้เป็นภัตตุเทสก์
ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ
ลำเอียงเพราะรัก ๑
ลำเอียงเพราะชัง ๑
ลำเอียงเพราะหลง ๑
ลำเอียงเพราะกลัว ๑
ย่อมไม่รู้ภัตที่ได้นิมนต์แล้ว และยังไม่ได้นิมนต์ ๑

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม๕ ประการนี้แล สงฆ์ไม่พึงสมมติ ให้เป็นภัตตุเทสก์

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์พึงสมมติ ให้เป็น ภัตตุเทสก์
ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ
ไม่ลำเอียงเพราะรัก ๑
ไม่ลำเอียงเพราะชัง ๑
ไม่ลำเอียงเพราะหลง ๑
ไม่ลำเอียงเพราะกลัว ๑
ย่อมรู้ภัตที่ได้นิมนต์แล้วและยังไม่ได้นิมนต์ ๑

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม๕ ประการนี้แล สงฆ์พึงสมมติให้เป็น ภัตตุเทสก์

          [๒๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
-ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์ไม่พึงสมมติให้เป็นภัตตุเทสก์ แม้สมมติแล้ว ก็ไม่พึง ใช้ให้ทำการ ฯลฯ

-ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์พึงสมมติให้เป็นภัตตุเทสก์ สมมติแล้ว ก็พึงใช้ให้ทำการ ฯลฯ

-ภิกษุภัตตุเทสก์ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ พึงทราบว่าเป็นพาล ฯลฯ -ภิกษุภัตตุเทสก์ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ พึงทราบว่าเป็นบัณฑิต ฯลฯ
-ภิกษุภัตตุเทสก์ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมบริหารตนให้ถูกขจัด ถูกทำลาย ฯลฯ
-ภิกษุภัตตุเทสก์ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมบริหารตนไม่ให้ถูกขจัด ไม่ให้ถูก ทำลาย ฯลฯ

-ภิกษุภัตตุเทสก์ประกอบด้วยธรรม๕ ประการ ย่อมเกิดในนรก เหมือนนำมาโยนลง ฯลฯ
-ภิกษุภัตตุเทสก์ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเกิดในสวรรค์เหมือนเชิญมา ประดิษฐานไว้

ธรรม ๕ประการเป็นไฉน คือ
ไม่ลำเอียงเพราะรัก ๑
ไม่ลำเอียงเพราะชัง ๑
ไม่ลำเอียงเพราะหลง ๑
ไม่ลำเอียงเพราะกลัว ๑
ย่อมรู้ภัตที่ได้นิมนต์แล้วและยังไม่ได้นิมนต์ ๑

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุภัตตุเทสก์ผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แลย่อมเกิด ในสวรรค์ เหมือนเชิญมาประดิษฐานไว้

          [๒๖๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์ไม่พึงสมมติ ให้เป็น เสนาสนปัญญาปกะ ผู้ปูลาดเสนาสนะ ... ไม่รู้เสนาสนะที่ได้ปูลาดแล้ว และยัง ไม่ได้ปูลาด ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ประการ สงฆ์พึงสมมติ ให้เป็น เสนาสนะปัญญาปกะ ... ย่อมรู้เสนาสนะที่ได้ปูลาดแล้วและยังไม่ได้ปูลาด ...

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์ไม่พึงสมมติให้เป็น เสนาสนคาหาปกะ ผู้ให้ภิกษุถือเสนาสนะ ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์พึงสมมติให้เป็นเสนาสนคาหาปกะ ...

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์ไม่พึงสมมติให้เป็น ภัณฑาคาริก ผู้รักษาเรือนคลัง ... ย่อมไม่รู้ภัณฑะที่เก็บแล้วและยังไม่ได้เก็บ ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์พึงสมมติให้เป็นภัณฑาคาริก ... ย่อมรู้ภัณฑะที่ได้เก็บแล้วและยังไม่ได้เก็บ ...

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์ไม่พึงสมมติให้เป็น จีวรปฏิคคาหกะ ผู้รับจีวร ... ย่อมไม่รู้จีวรที่รับแล้วและยังไม่ได้รับ ...ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์พึงสมมติให้เป็นจีวรปฏิคคาหกะ ... ย่อมรู้จีวร ที่รับแล้วและยังไม่ได้รับ ...

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์ไม่พึงสมมติให้เป็น จีวรภาชกะ ผู้แจกจีวร ... ไม่รู้จีวรที่ได้แจกแล้วและยังไม่ได้แจก ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์พึงสมมติให้เป็นจีวรภาชกะ ... ย่อมรู้จีวรที่แจก แล้วและยังไม่ได้แจก ...

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์ไม่พึงสมมติให้เป็น ยาคุภาชกะ ผู้แจกข้าวยาคู ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์พึงสมมติให้เป็นยาคุภาชกะ ...

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์ไม่พึงสมมติให้เป็น ผลภาชกะ ผู้แจกผลไม้ ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์พึงสมมติให้เป็นผลภาชกะ ...

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์ไม่พึงสมมติให้เป็น ขัชชกภาชกะ ผู้แจกของขบเคี้ยว ... ย่อมไม่รู้ของขบเคี้ยวที่แจกแล้วและยังไม่ได้แจก ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์พึงสมมติให้เป็น ขัชชกภาชกะ ... ย่อมรู้ของขบเคี้ยวที่แจกแล้วและยังไม่ได้แจก ...

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์ไม่พึงสมมติให้เป็น อัปปมัตตกวิสัชชกะ ผู้จ่ายของเล็กน้อย ... ย่อมไม่รู้ของเล็กน้อยที่ได้จ่ายแล้ว และ ยังไม่ได้จ่าย ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ประการ สงฆ์พึง สมมติให้เป็นอัปปมัตตกวิสัชชกะ ... รู้ของเล็กน้อยที่ได้จ่ายแล้วและยังไม่ได้จ่าย ...

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์ไม่พึงสมมติให้เป็น สาฏิยคาหาปกะ ผู้แจกผ้าสาฎก ... ย่อมไม่รู้ผ้าสาฎกที่ได้รับแล้วและยังไม่ได้รับ ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์พึงสมมติให้เป็น สาฏิยคาหาปกะ ... ย่อมรู้ผ้าสาฎกที่ได้รับแล้วและยังไม่ได้รับ ...

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์ไม่พึงสมมติให้เป็น ปัตตคาหาปกะ ผู้แจกบาตร ... ย่อมไม่รู้บาตรที่รับแล้วและไม่ได้รับ ...ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์พึงสมมติให้เป็นปัตตคาหาปกะ ... ย่อมไม่รู้บาตร ที่รับแล้วและยังไม่ได้รับ ...
------------------------------------------------------------------------------------------------

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์ไม่พึงสมมติให้เป็น อารามิกเปสกะ ผู้ใช้คนวัด ... ย่อมไม่รู้คนที่ได้ใช้แล้วและยังไม่ได้ ใช้ ...

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์พึงสมมติให้ เป็นอารามิกเปสกะ ... ย่อมรู้คนที่ได้ใช้แล้วและยังไม่ได้ใช้ ...

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์ไม่พึงสมมติให้เป็น สามเณรเปสกะ ...

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการสงฆ์พึงสมมติให้เป็น สามเณรเปสกะ ...

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์ไม่พึงสมมติให้เป็น สามเณรเปสกะ แม้สมมติแล้ว ก็ไม่พึงใช้ให้ทำการ ...

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์พึงสมมติให้เป็น สามเณรเปสกะ สงฆ์สมมติแล้ว พึงใช้ให้ทำการ ...
---------------------------------------------------------------------------------------------

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุสามเณรเปสกะ ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ พึงทราบว่า เป็นพาล ... พึงทราบว่าเป็นบัณฑิต ...

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุสามเณรเปสกะ ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อม บริหารตนให้ถูกขจัด ถูกทำลาย ...

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุสามเณรเปสกะประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อม บริหารตนไม่ให้ถูกขจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ...

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุสามเณรเปสกะประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเกิดในนรกเหมือนถูกนำมาโยนลง ...

          ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุสามเณรเปสกะประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเกิดใน สวรรค์เหมือน เชิญมาประดิษฐานไว้
ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ
ไม่ลำเอียงเพราะรัก ๑
ไม่ลำเอียงเพราะชัง ๑
ไม่ลำเอียงเพราะหลง ๑
ไม่ลำเอียงเพราะกลัว ๑
ย่อมรู้สามเณรที่ใช้แล้วและยังไม่ได้ใช้ ๑

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุสามเณรเปสกะประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเกิดในสวรรค์เหมือนเชิญมาประดิษฐานไว้

          [๒๖๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเกิดในนรก เหมือนถูกนำมาโยนลง
ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ
เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ๑
ลักทรัพย์ ๑
ประพฤติผิดพรหมจรรย์ ๑
กล่าวเท็จ ๑
ดื่มน้ำเมาคือ สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ๑

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเกิดในนรก เหมือน ถูกนำมาโยนลง

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเกิดใน สวรรค์เหมือน เชิญมาประดิษฐานไว้
ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ
เป็นผู้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ๑
งดเว้นจากการลักทรัพย์ ๑
งดเว้นจากการประพฤติผิดพรหมจรรย์ ๑
งดเว้นจากการพูดเท็จ ๑
งดเว้นจากการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ๑

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ประการนี้แล ย่อมเกิดในสวรรค์ เหมือน เชิญมาประดิษฐานไว้

          [๒๖๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณี ... สิกขมานา ... สามเณร ...สามเณรี ... อุบาสก ... อุบาสิกา ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเกิดในนรกเหมือนถูกนำมา โยนลง
ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ
เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ๑
ลักทรัพย์ ๑
ประพฤติผิดในกาม ๑
พูดเท็จ ๑
ดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ๑

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุบาสิกาประกอบด้วยธรรม ๕ประการนี้แล ย่อมเกิดในนรกเ หมือน ถูกนำมาโยนลง

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุบาสิกาประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเกิดในสวรรค์ เหมือนถูกเชิญมาประดิษฐานไว้
ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ
เป็นผู้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ๑
งดเว้นจากการลักทรัพย์ ๑
งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม ๑
งดเว้นจากการพูดเท็จ ๑
งดเว้นจากการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นฐานะแห่งความประมาท ๑

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุบาสิกาประกอบด้วยธรรม ๕ประการนี้แล ย่อมเกิดในสวรรค์ เหมือนเชิญมาประดิษฐานไว้

          [๒๖๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาชีวกประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเกิดในนรก เหมือนถูกนำมาโยนลง
ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ
เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ๑
ลักทรัพย์ ๑
ประพฤติผิดในกาม ๑
พูดเท็จ ๑
ดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ๑

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาชีวกประกอบด้วยธรรม ๕ประการนี้แล ย่อมเกิดในนรกเหมือนถูกนำมาโยนลง

          [๒๖๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิครนถ์ ... สาวกนิครนถ์ ... ชฎิล ...ปริพาชก ... เดียรถีย์พวก มาคัณฑิกะ ... พวกเตทัณฑิกะ ... พวกอารุทธกะ ... พวกโคตมกะ ... พวกเทวธัมมิกะ ... ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเกิดในนรกเหมือนถูกนำมาโยนลง
ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ
เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ๑
ลักทรัพย์ ๑
ประพฤติผิดในกาม ๑
พูดเท็จ ๑
ดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอัน เป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ๑

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย เดียรถีย์พวกเทวธัมมิกะ ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเกิดในนรกเหมือนถูกนำมาโยนลง

          [๒๖๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการควรเจริญเพื่อรู้ยิ่งราคะ
๕ ประการเป็นไฉน คือ
อสุภสัญญา ๑
มรณสัญญา ๑
อาทีนวสัญญา ๑
อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑
สัพพโลเกอนภิรตสัญญา ๑

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล ควรเจริญเพื่อรู้ยิ่งราคะ

          [๒๖๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการควรเจริญเพื่อรู้ยิ่งราคะ
๕ ประการเป็นไฉน คือ
อนิจจสัญญา ๑
อนิจเจทุกขสัญญา ๑
ทุกเขอนัตตสัญญา ๑
ปหานสัญญา ๑
วิราคสัญญา ๑

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้ควรเจริญเพื่อรู้ยิ่งราคะ

          [๒๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการควรเจริญเพื่อรู้ยิ่งราคะ
๕ ประการเป็นไฉน คือ
สัทธินทรีย์ ๑
วิริยินทรีย์ ๑
สตินทรีย์ ๑
สมาธินทรีย์ ๑
ปัญญินทรีย์ ๑

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ควรเจริญเพื่อรู้ยิ่ง ราคะ

          [๒๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการควรเจริญเพื่อรู้ยิ่งราคะ
๕ ประการเป็นไฉน คือ
กำลังคือสัทธา ๑
กำลังคือวิริยะ ๑
กำลังคือสติ ๑
กำลังคือสมาธิ ๑
กำลังคือปัญญา ๑

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แลควรเจริญเพื่อรู้ยิ่งราคะ

          [๒๗๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการ ควรเจริญเพื่อกำหนดรู้ราคะ ฯลฯ เพื่อความสิ้นไปรอบ เพื่อละ เพื่อสิ้นไป เพื่อเสื่อมไป เพื่อคลายเพื่อดับ เพื่อสละ เพื่อ ปล่อยวางราคะ ฯลฯ

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการควรเจริญเพื่อรู้ยิ่ง ฯลฯ เพื่อกำหนดรู้ เพื่อ ความสิ้นไปรอบ เพื่อละ เพื่อสิ้นไปเพื่อเสื่อมไป เพื่อคลาย เพื่อดับ เพื่อสละ เพื่อปล่อย วาง โทสะ โมหะ โกธะอุปนาหะ มักขะ ปลาสะ อิสสา มัจฉริยะ มายา สาเถยยะ ถัมภะ สารัมภะมานะ อติมานะ มทะ ปมาทะ




 





หนังสือพุทธวจน ธรรมะของพระศาสดา
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์