เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

สมยสูตรที่ ๑ สมัยที่ควรพบผู้เจริญภาวนา ถูกกามราคะ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจ วิจิกิจฉา กลุ้มรุมจิตใจ 2247
 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒

สมยสูตรที่ ๑
สมัยที่ควรพบผู้เจริญภาวนา
๑ ภิกษุถูก กามราคะ กลุ้มรุม ครอบงำจิตใจ
๒ ภิกษุถูก พยาบาท กลุ้มรุม ครอบงำจิตใจ
๓ ภิกษุถูก ถีนมิทธะ กลุ้มรุม ครอบงำ จิตใจ
๔ ภิกษุถูก อุทธัจจกุกกุจจะ กลุ้มรุม ครอบงำจิตใจ
๕ ภิกษุถูก วิจิกิจฉา กลุ้มรุม ครอบงำจิตใจ
๖ ภิกษุ ไม่รู้ ไม่เห็น ซึ่งนิมิต เป็นที่สิ้นอาสวะโดยลำดับ

" ขอท่านผู้มีอายุจงแสดงธรรมเพื่อละกามราคะ...แก่ผม "

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 


 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๒๘-๓๓๐

๗. สมยสูตรที่ ๑
สมัยที่ควรพบผู้เจริญภาวนา

            [๒๙๘] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ถวายบังคม แล้วนั่ง ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ทูลถาม พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สมัยที่ควร เพื่อเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ มีเท่าไร หนอแล พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

            ดูกรภิกษุ สมัยที่ควรเพื่อเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ มี ๖ ประการ นี้ ๖ ประการเป็นไฉน

            ดูกรภิกษุ (๑) สมัยใด ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีใจถูกกามราคะ กลุ้มรุม ถูก กามราคะ ครอบงำอยู่ และเธอย่อมไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งอุบาย เป็นเครื่อง สลัดออก แห่งกามราคะที่เกิดขึ้นแล้ว สมัยนั้นภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุ ผู้เจริญ ภาวนา ทางใจ แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า
            ดูกรท่านผู้มีอายุ ผมมีใจถูกกามราคะกลุ้มรุม ถูกกามราคะครอบงำอยู่ และ ไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งอุบายเป็นเครื่องสลัดออกแห่งกามราคะที่เกิดขึ้นแล้ว ดีแล้ว ขอท่านผู้มีอายุจงแสดงธรรมเพื่อละกามราคะแก่ผม ภิกษุผู้เจริญภาวนา ทางใจ ย่อมแสดงธรรมเพื่อละกามราคะแก่เธอดูกรภิกษุ นี้เป็นสมัยที่ ๑ ที่ควรเข้าไปพบ ภิกษุ ผู้เจริญภาวนาทางใจ

            อีกประการหนึ่ง (๒) สมัยใด ภิกษุมีใจถูกพยาบาทกลุ้มรุม ถูกพยาบาทครอบงำ อยู่ และเธอย่อมไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งอุบายเป็นเครื่องสลัดออกแห่ง พยาบาท ที่เกิดขึ้นแล้ว สมัยนั้น ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ แล้วกล่าวอย่างนี้ ว่า
            ดูกรท่านผู้มีอายุ ผมมีใจถูกพยาบาทกลุ้มรุมถูกพยาบาทครอบงำอยู่ และไม่ ทราบชัด ตามความเป็นจริง ซึ่งอุบายเป็นเครื่องสลัดออกแห่งพยาบาทที่เกิดขึ้นแล้ว ดีแล้ว ขอท่านผู้มีอายุจงแสดงธรรม เพื่อละพยาบาทแก่ผม ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ ย่อม แสดงธรรมเพื่อละ พยาบาทแก่เธอดูกรภิกษุ นี้เป็นสมัยที่ ๒ ที่ควรเพื่อเข้าไปพบ ภิกษุผู้เจริญ ภาวนาทางใจ

            อีกประการหนึ่ง (๓) สมัยใด ภิกษุมีใจถูกถีนมิทธะกลุ้มรุม ถูกถีนมิทธะครอบงำ อยู่ และเธอย่อมไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งอุบายเป็นเครื่องสลัดออกแห่ง ถีนมิทธะ ที่เกิดขึ้นแล้ว สมัยนั้น ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ แล้วกล่าว อย่างนี้ว่า
            ดูกรท่านผู้มีอายุ ผมมีใจถูกถีนมิทธะกลุ้มรุมถูกถีนมิทธะครอบงำอยู่ และไม่ ทราบ ชัดตามความเป็นจริง ซึ่งอุบายเป็นเครื่องสลัดออกแห่งถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้ว ดีแล้ว ขอท่านผู้มีอายุจงแสดงธรรมเพื่อละถีนมิทธะแก่ผม ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ ย่อมแสดงธรรมเพื่อละถีนมิทธะแก่เธอดูกรภิกษุ นี้เป็นสมัยที่ ๓ ที่ควรเพื่อเข้าไปพบ ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ

            อีกประการหนึ่ง สมัยใด (๔) ภิกษุมีใจถูกอุทธัจจกุกกุจจะกลุ้มรุม อุทธัจจ กุกกุจจะ ครอบงำอยู่ และเธอย่อมไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งอุบายเป็น เครื่อง สลัดออก แห่งอุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้ว สมัยนั้น ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหา ภิกษุ ผู้เจริญภาวนา ทางใจ แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า
            ดูกรท่านผู้มีอายุ ผมมีใจถูกอุทธัจจกุกกุจจะกลุ้มรุม ถูกอุทธัจจกุกกุจจะครอบงำ อยู่ และไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งอุบายเป็นเครื่องสลัดออกแห่ง อุทธัจจ กุกกุจจะ ที่เกิดขึ้นแล้วดีแล้ว ขอท่านผู้มีอายุจงแสดงธรรมเพื่อละอุทธัจจกุกกุจจะแก่ผม ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ ย่อมแสดงธรรมเพื่อละอุทธัจจกุกกุจจะแก่เธอ ดูกรภิกษุ นี้เป็นสมัยที่ ๔ ที่ควรเพื่อเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ

            อีกประการหนึ่ง (๕) สมัยใด ภิกษุมีใจถูกวิจิกิจฉากลุ้มรุม ถูกวิจิกิจฉาครอบงำ อยู่ และเธอย่อมไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งอุบายเป็นเครื่องสลัดออกแห่ง วิจิกิจฉา ที่เกิดขึ้นแล้ว สมัยนั้น ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ แล้วกล่าว อย่างนี้ว่า
            ดูกรท่านผู้มีอายุ ผมมีใจถูกวิจิกิจฉากลุ้มรุม ถูกวิจิกิจฉาครอบงำอยู่ และไม่ ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งอุบายเป็นเครื่องสลัดออกแห่งวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้ว ดีแล้ว ขอท่านผู้มีอายุจงแสดงธรรมเพื่อละวิจิกิจฉาแก่ผม ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ ย่อมแสดงธรรมเพื่อละวิจิกิจฉาแก่เธอดูกรภิกษุ นี้เป็นสมัยที่ ๕ ที่ควรเพื่อเข้าไปพบ ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ

            อีกประการหนึ่ง (๖) สมัยใด ภิกษุไม่รู้ ไม่เห็น ซึ่งนิมิตเป็นที่สิ้นอาสวะโดยลำดับ ในเมื่อตนอาศัยกระทำไว้ในใจนั้น สมัยนั้น ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุผู้เจริญภาวนา ทางใจ แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า
            ดูกรท่านผู้มีอายุ ผมไม่รู้ ไม่เห็นซึ่งนิมิตเป็นที่สิ้นอาสวะโดยลำดับ ในเมื่อผม อาศัยกระทำไว้ในใจนั้น ดีแล้วขอท่านผู้มีอายุจงแสดงธรรมเพื่อความสิ้นอาสวะแก่ผม ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจย่อมแสดงธรรมเพื่อความสิ้นอาสวะแก่เธอ

            ดูกรภิกษุ นี้เป็นสมัยที่ ๖ ที่ควรเพื่อเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๓๑-๓๓๓

๘. สมยสูตรที่ ๒
พระมหากัจจานะสาธยายธรรม

            [๒๙๙] สมัยหนึ่ง ภิกษุชั้นเถระหลายรูป อยู่ที่ป่าอิสิปตนมิคทายวัน ใกล้เมือง พาราณสี ครั้งนั้นแล เมื่อภิกษุชั้นเถระเหล่านั้นกลับจากบิณฑบาตภายหลังภัต นั่งประชุมกันที่โรงฉัน ได้เกิดการสนทนากันขึ้นในระหว่างดังนี้ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย สมัยไหนหนอแล ควรเพื่อเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ

            เมื่อกล่าวกันอย่างนั้นแล้ว ภิกษุรูปหนึ่งจึงได้กล่าวกะภิกษุชั้นเถระทั้งหลายว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจกลับจากบิณฑบาต ภายหลังภัต ล้างเท้าแล้ว นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า สมัยนั้น ควรเพื่อเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ

            เมื่อภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งจึงกล่าวกะภิกษุรูปนั้นว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ สมัยนั้น ไม่ใช่สมัยที่ควรเพื่อเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ สมัยใด ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ กลับจากบิณฑบาต ภายหลังภัต ล้างเท้าแล้วนั่งคู้ บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า สมัยนั้น แม้ความเหน็ดเหนื่อย เพราะการ เที่ยวไปเพื่อบิณฑบาต แม้ความเหน็ดเหนื่อยเพราะฉันอาหารของภิกษุ ผู้เจริญภาวนา ทางใจนั้น ก็ยังไม่สงบระงับ ฉะนั้น สมัยนั้น ไม่ใช่สมัยที่ควรเพื่อเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญ ภาวนาทางใจ

            สมัยใด ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจออกจากที่เร้นในเวลาเย็น นั่งที่เงาวิหาร ด้านหลัง คู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า สมัยนั้น เป็นสมัยที่ควรเพื่อเข้าไป พบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ เมื่อภิกษุนั้นกล่าวอย่างนั้นแล้ว ภิกษุรูปหนึ่งจึงกล่าว กะ ภิกษุ รูปนั้นว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ สมัยนั้น ไม่ใช่สมัยที่ควรเพื่อเข้าไปพบภิกษุ ผู้เจริญ ภาวนาทางใจ

            สมัยใด ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ ออกจากที่เร้นในเวลาเย็น นั่งที่เงาวิหาร ด้านหลัง คู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า สมัยนั้น สมาธินิมิตใดที่ภิกษุ ผู้เจริญ ภาวนาทางใจนั้นได้ทำไว้ในใจในกลางวัน สมาธินิมิตนั้นก็ยังฟุ้งซ่านอยู่ ฉะนั้น สมัยนั้น ไม่ใช่สมัยที่ควรเพื่อเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ

            สมัยใด ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจลุกขึ้นในเวลาเช้ามืดแล้ว นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า สมัยนั้น เป็นสมัยที่ควรเพื่อเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญ ภาวนาทางใจ เมื่อภิกษุนั้นกล่าวอย่างนั้นแล้ว ภิกษุรูปหนึ่งจึงกล่าวกะภิกษุรูปนั้น ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ สมัยนั้น ไม่ใช่สมัยที่ควรเพื่อเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ

            สมัยใด ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจลุกขึ้นในเวลาเช้ามืดแล้ว นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า สมัยนั้น กายของภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจนั้น ก็ยังตั้งอยู่ในโอชา (มีโอชารสแห่งอาหารแผ่ซ่านไปทั่วตัว) ความสบาย ย่อมมีแก่ภิกษุ ผู้เจริญภาวนา ทางใจ นั้น เพื่อทำไว้ในใจซึ่งคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ทั้งหลาย ฉะนั้น สมัยนั้น เป็นสมัยที่ควร เพื่อเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ เมื่อภิกษุนั้นกล่าว อย่างนี้ แล้ว ท่านพระมหา กัจจานะ ได้กล่าวกะภิกษุชั้นเถระทั้งหลายว่า

            ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อนั้นผมได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์ของ พระผู้มีพระภาคว่า

-ดูกรภิกษุ สมัยที่ควรเพื่อเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ ๖ ประการนี้ ๖ ประการเป็นไฉน
-ดูกรภิกษุ สมัยใด ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีใจถูกกามราคะกลุ้มรุม ถูกกามราคะครอบงำอยู่ และเธอย่อมไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งอุบายเป็นเครื่องสลัดออกแห่งกามราคะที่เกิดขึ้นแล้วสมัยนั้น ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า

ดูกรท่านผู้มีอายุ ผมมีใจถูกกามราคะกลุ้มรุม ถูกกามราคะครอบงำอยู่ และไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งอุบายเป็นเครื่องสลัดออกแห่งกามราคะที่เกิดขึ้นแล้วดีแล้ว ขอท่านผู้มีอายุจงแสดงธรรมเพื่อละกามราคะแก่ผม ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ ย่อมแสดงธรรมเพื่อละกามราคะแก่เธอ
-ดูกรภิกษุ นี้เป็นสมัยที่ ๑ ที่ควรเพื่อเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ ฯลฯ ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลายข้อนั้นผมได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า

ดูกรภิกษุ สมัยที่ควรเพื่อเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ มี ๖ ประการนี้แล

 

 





หนังสือพุทธวจน ธรรมะของพระศาสดา
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์