เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

มรณัสสติสูตร ภิกษุเจริญมรณัสสติว่า โอหนอเราพึงอยู่ได้คืนหนึ่งวันหนึ่ง...งูพึงกัดเรา เราพึงตานเพราะเหตุนั้น 2245
 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒

มรณัสสติสูตรที่ ๑
ก็ภิกษย่อมเจริญมรณัสสติ อย่างนี้ว่า
  โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ได้ ตลอดคืนหนึ่งวันหนึ่ง
  โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ได้ตลอดวันหนึ่ง
  โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ได้ชั่วขณะที่ฉัน บิณฑบาตมื้อหนึ่ง
  โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ได้ชั่วขณะ ที่เคี้ยวข้าวสี่คำกลืนกิน
  โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ได้ชั่วขณะ ที่เคี้ยวข้าวคำหนึ่งกลืนกิน
  โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ได้ชั่วขณะ ที่หายใจเข้าแล้วหายใจออก หรือหายใจออกแล้วหายใจเข้า
เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักเป็นผู้ไม่ประมาท จักเจริญมรณัสสติ เพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะ

มรณัสสติสูตรที่ ๒
เหตุแห่งความตายของเรามีมากหนอ คือ
งูพึงกัดเรา แมงป่องพึงต่อยเรา หรือตะขาบพึงกัดเรา
เราพึงพลาดล้มลง อาหารที่เราฉันแล้วไม่พึงย่อย
ดีของเราพึงกำเริบ เสมหะของเราพึงกำเริบ ...
เราพึงตายเพราะเหตุนั้น อันตรายนั้นพึงมีแก่เรา


เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 


 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๑๕-๓๑๘

๙. มรณัสสติสูตรที่ ๑
การเจริญมรณัสสติ

            [๒๙๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปราสาทสร้างด้วยอิฐ ใกล้บ้าน นาทิกคาม ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย มรณัสสติอันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย ย่อมเจริญ มรณัสสติหรือ เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสถามอย่างนี้
-----------------------------------------------------------------------------------
            ภิกษุรูปหนึ่ง (รูปที่๑) ได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้าพระองค์ก็เจริญ มรณัสสติ

            พ. ดูกรภิกษุ ก็เธอเจริญมรณัสสติอย่างไร
            ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์คิดอย่างนี้ว่า โอหนอเราพึงเป็นอยู่ได้ (มีชีวิต) ตลอดคืนหนึ่ง วันหนึ่ง เราพึงมนสิการ คำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาค เราพึง กระทำกิจ ให้มากหนอ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เจริญมรณัสสติ อย่างนี้แล
-----------------------------------------------------------------------------------

            ภิกษุอีกรูปหนึ่ง(รูปที่๒)ได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้าพระองค์ ก็เจริญมรณัสสติ
            พ. ดูกรภิกษุ ก็เธอย่อมเจริญมรณัสสติอย่างไร
            ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญข้าพระองค์คิดอย่างนี้ว่า โอหนอเราพึง เป็นอยู่ได้ ตลอดวันหนึ่ง เราพึงมนสิการ คำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาค เราพึงกระทำกิจ ให้มาก หนอ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เจริญมรณัสสติอย่างนี้แล
-----------------------------------------------------------------------------------

            ภิกษุอีกรูปหนึ่ง(รูปที่๓) ได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้าพระองค์ ก็เจริญมรณัสสติ
            พ. ดูกรภิกษุ ก็เธอย่อมเจริญมรณัสสติอย่างไร
            ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญข้าพระองค์คิดอย่างนี้ว่า โอหนอเราพึง เป็นอยู่ชั่วขณะ ที่ ฉันบิณฑบาตมื้อหนึ่ง เราพึงมนสิกาคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาค เราพึงกระทำกิจ ให้มากหนอ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เจริญมรณัสสติอย่างนี้แล
-----------------------------------------------------------------------------------

            ภิกษุอีกรูปหนึ่ง(รูปที่๔) ได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้าพระองค์ ก็เจริญมรณัสสติ
            พ. ดูกรภิกษุ ก็เธอย่อมเจริญมรณัสสติอย่างไร
            ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์คิดอย่างนี้ว่า โอหนอเราพึง เป็นอยู่ ชั่วขณะ ที่ เคี้ยวคำข้าวสี่คำกลืนกิน เราพึงมนสิการคำสั่งสอนของ พระผู้มีพระภาค เราพึงกระทำ กิจให้มากหนอ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เจริญมรณัสสติ อย่างนี้แล
-----------------------------------------------------------------------------------

            ภิกษุอีกรูปหนึ่ง(รูปที่๕) ได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้าพระองค์ก็ เจริญมรณัสสติ
            พ. ดูกรภิกษุ ก็เธอย่อมเจริญมรณัสสติอย่างไร
            ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์คิดอย่างนี้ว่า โอหนอเรา พึงเป็นอยู่ ชั่วขณะ ที่เคี้ยวข้าวคำหนึ่งกลืนกิน เราพึงมนสิการคำสั่งสอนของ พระผู้มีพระภาค เราพึงกระทำกิจให้มากหนอ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เจริญ มรณัสสติ อย่างนี้แล
-----------------------------------------------------------------------------------

            ภิกษุอีกรูปหนึ่ง(รูปที่๖) ได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้าพระองค์ ก็เจริญมรณัสสติ
            พ. ดูกรภิกษุ ก็เธอย่อมเจริญมรณัสสติอย่างไร
            ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์คิดอย่างนี้ว่า โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ได้ ชั่วขณะที่หายใจเข้าแล้วหายใจออก หรือหายใจออกแล้วหายใจเข้า เราพึงมนสิการ คำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาค เราพึงกระทำกิจให้มากหนอ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เจริญมรณัสสติอย่างนี้แล
-----------------------------------------------------------------------------------

(พระพุทธเจ้ากล่าวตามภิกษุทั้ง ๖ รูป ที่กล่าวตรงกับคำตอบของพระองค์)

            เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุใดย่อมเจริญมรณัสสติ อย่างนี้ว่า โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ได้ (มีชีวิต) ตลอดคืนหนึ่งวันหนึ่ง เราพึงมนสิการคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาค เราพึงกระทำกิจ ให้มากหนอ

            ก็ภิกษุใดย่อมเจริญมรณัสสติอย่างนี้ว่า โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ได้ตลอดวันหนึ่ง เราพึงมนสิการคำสั่งสอน ของพระผู้มีพระภาค เราพึงกระทำกิจให้มากหนอ

            ก็ภิกษุใดย่อมเจริญมรณัสสติอย่างนี้ว่า โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ได้ชั่วขณะที่ฉัน บิณฑบาตมื้อหนึ่ง เราพึงมนสิการ คำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาค เราพึงกระทำกิจ ให้มากหนอ

            และภิกษุใดย่อมเจริญมรณัสสติอย่างนี้ว่า โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ได้ ชั่วขณะ ที่เคี้ยวคำข้าวสี่คำกลืนกิน เราพึงมนสิการคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาค เราพึงกระทำ กิจให้มากหนอ

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านี้เรากล่าวว่า เป็นผู้ประมาท เจริญมรณัสสติ เพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายช้า

            ส่วนภิกษุใดย่อมเจริญมรณัสสติอย่างนี้ว่า โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ได้ชั่วขณะ ที่เคี้ยวข้าวคำหนึ่งกลืนกิน เราพึงมนสิการ คำสั่งสอน ของพระผู้มีพระภาค เราพึงกระทำกิจให้มากหนอ

            และภิกษุใดย่อมเจริญมรณัสสติอย่างนี้ว่า โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ได้ชั่วขณะ ที่หายใจเข้าแล้วหายใจออก หรือหายใจออกแล้วหายใจเข้า เราพึงมนสิการคำสั่งสอน ของพระผู้มีพระภาค เราพึงกระทำกิจให้มากหนอ

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้ เรากล่าวว่าเป็นผู้ไม่ประมาท ย่อมเจริญมรณัสสติ เพื่อความสิ้นไปแห่ง อาสวะ ทั้งหลายแรงกล้า

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราทั้งหลาย จักเป็นผู้ไม่ประมาท จักเจริญมรณัสสติเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย อย่างแรงกล้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล

----------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๑๘-๓๒๐

๑๐. มรณัสสติสูตรที่ ๒
การเจริญมรณัสสติ

            [๒๙๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปราสาทสร้างด้วยอิฐ ใกล้บ้าน นาทิกคาม ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย มรณัสสติ อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่ อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด

            ก็มรณัสส
ติอันภิกษุเจริญแล้วอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อกลางวันผ่านไป กลางคืนย่างเข้ามา ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เหตุแห่งความตายของเรามีมากหนอ คือ งูพึงกัดเรา แมงป่อง พึงต่อยเรา หรือตะขาบพึงกัดเรา เราพึงตายเพราะเหตุนั้น อันตรายนั้นพึงมี แก่เรา เราพึง พลาดล้มลง อาหารที่เราฉันแล้วไม่พึงย่อย ดีของเราพึงกำเริบ เสมหะ ของเราพึงกำเริบ หรือลมที่มีพิษเพียงดังศัสตราของเราพึงกำเริบ เราพึงตาย เพราะเหตุนั้น อันตรายนั้น พึงมีแก่เรา

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นพึงพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ธรรมอันเป็นบาปอกุศล ที่เรายังละไม่ได้ อันจะพึงเป็นอันตรายแก่เราผู้กระทำกาละในกลางคืน มีอยู่หรือหนอ ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ ย่อมทราบอย่างนี้ว่า ธรรมอันเป็นบาปอกุศล ที่เรายังไม่ได้ละ อันจะพึงเป็นอันตรายแก่เรา ผู้กระทำกาละในกลางคืน ยังมีอยู่ ภิกษุนั้นพึงทำฉันทะ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความเพียร ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะให้มี ประมาณยิ่ง เพื่อละธรรมอันเป็น บาปอกุศล เหล่านั้น เปรียบเหมือนบุคคลผู้มีผ้าโพก ศีรษะ ถูกไฟไหม้ หรือมีศีรษะถูกไฟไหม้ พึงทำฉันทะ ความพยายามความอุตสาหะ ความเพียร ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะ ให้มีประมาณยิ่ง เพื่อดับผ้าโพกศีรษะ หรือศีรษะนั้น ฉะนั้น

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ย่อมทราบอย่างนี้ว่า ธรรมอันเป็น บาปอกุศลที่เรา ยังละไม่ได้ อันจะพึงเป็นอันตรายแก่เราผู้กระทำกาละในกลางคืนไม่มี ภิกษุนั้น พึงเป็นผู้มีปีติและปราโมทย์ ตามศึกษาในกุศลธรรมทั้งหลาย ทั้งกลางวัน กลางคืนอยู่เถิด

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อกลางคืนผ่านไป กลางวันย่าง เข้ามา ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เหตุแห่งความตายของเรามีมากหนอ คือ งูพึงกัดเรา แมงป่องพึงต่อยเรา หรือตะขาบพึงกัดเรา เราพึงตายเพราะเหตุนั้น อันตรายนั้นพึงมี แก่เรา เราพึงพลาดล้มลง อาหารที่เราฉันแล้วไม่พึงย่อย ดีของเราพึงกำเริบเสมหะ ของเรา พึงกำเริบ หรือลมที่มีพิษเพียงศาตราของเราพึงกำเริบ เราพึงตายเพราะเหตุนั้น อันตรายนั้นพึงมีแก่เรา

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นพึงพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ธรรมอันเป็นบาป อกุศล ที่เรายังละไม่ได้ อันจะพึงเป็นอันตรายแก่เราผู้กระทำกาละในกลางวัน มีอยู่หรือหนอ ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ ย่อมทราบอย่างนี้ว่า ธรรมอันเป็นบาปอกุศลที่เรายังละไม่ได้ อันจะพึงเป็นอันตรายแก่เรา ผู้กระทำกาละในกลางวัน ยังมีอยู่ ภิกษุนั้นพึงทำฉันทะ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความเพียร ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะ ให้มีประมาณยิ่ง เพื่อละธรรม อันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้น เปรียบเหมือนบุคคลผู้มี ผ้าโพกศีรษะ ถูกไฟไหม้ หรือมีศีรษะ ถูกไฟไหม้ พึงทำฉันทะ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความเพียรความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะ ให้มีประมาณยิ่ง เพื่อดับผ้าโพกศีรษะหรือศีรษะนั้น ฉะนั้น

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ย่อมทราบอย่างนี้ว่า ธรรมอันเป็นบาป อกุศล ที่เรายังละไม่ได้ อันจะพึงเป็นอันตรายแก่เราผู้กระทำกาละในกลางวันไม่มี ภิกษุนั้น พึงเป็นผู้มีปีติและปราโมทย์ ตามศึกษาในกุศลธรรมทั้งหลาย ทั้งกลางวัน กลางคืนอยู่เถิด

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มรณัสสติอันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด



 





หนังสือพุทธวจน ธรรมะของพระศาสดา
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์