เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

ภัททกสูตร การอยู่อย่างมีความตายที่เจริญ คือไม่ชอบธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ชอบคุย ชอบคลุกคลี ชอบหลับ 2243
 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒

ภัททกสูตร การอยู่อย่างมีความตายที่เจริญ-ไม่เจริญ

ตายแล้วก็ไม่เจริญ เป็นอย่างไร
๑ เป็นผู้ชอบการงาน(งานก่อสร้าง)
๒ ชอบคุย
๓ ชอบความหลับ
๔ ชอบความคลุกคลีหมู่คณะ
๕ ชอบความคลุกคลีด้วยคฤหัสถ์
๖ ชอบธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า
ภิกษุนี้เรียกว่า ผู้ยินดีสักกายะ

ตายแล้วก็เจริญ เป็นอย่างไร
๑ ไม่ชอบการงาน
๒ ไม่ชอบคุย
๓ ไม่ชอบความหลับ
๔ ไม่ชอบความคลุกคลีหมู่คณะ
๕ ไม่ชอบความคลุกคลีด้วยคฤหัสถ์
๖ ไม่ชอบธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า
ภิกษุนี้เรียกว่า ผู้ยินดีนิพพาน

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 


 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๐๕-๓๐๖

๔. ภัททกสูตร
การอยู่อย่างมีความตายที่เจริญ

             [๒๘๕] ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรได้เรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว

(ตายแล้วก็ไม่เจริญ)

             ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวว่า

             ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุย่อมสำเร็จการอยู่ โดยประการที่เมื่อเธอสำเร็จ การอยู่ ย่อมไม่มีความตายที่เจริญ ตายแล้วก็ไม่เจริญ ก็ภิกษุย่อมสำเร็จการอยู่ โดยประการที่เมื่อเธอสำเร็จการอยู่ ย่อมไม่มีความตายที่เจริญ

ตายแล้วก็ไม่เจริญ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้ชอบการงาน (งานก่อสร้าง) ยินดีการงาน ขวนขวายความ เป็นผู้ชอบการงาน ชอบการคุย ยินดีการคุยขวนขวาย ความเป็นผู้ชอบการคุย
ชอบความหลับ ยินดีความหลับ ขวนขวายความชอบความหลับ
ชอบความคลุกคลีหมู่คณะ ยินดีความคลุกคลีหมู่คณะขวนขวาย ความเป็นผู้ชอบคลุกคลี หมู่คณะ
ชอบความคลุกคลีด้วยคฤหัสถ์ ยินดีความคลุกคลีด้วยคฤหัสถ์ ขวนขวายความชอบความ คลุกคลีด้วยคฤหัสถ์
ชอบธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ยินดีธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ขวนขวายความชอบธรรม ที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า

             ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุย่อมสำเร็จการอยู่ โดยประการที่เมื่อสำเร็จการอยู่ ย่อมไม่มีความตายที่เจริญ ตายแล้วก็ไม่เจริญ อย่างนี้แลภิกษุนี้เรียกว่า ผู้ยินดีสักกายะ (เตภูมิกวัฏ) ไม่ละสักกายะ เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบ
-----------------------------------------------------------------------------------------------------
(ตายแล้วก็เจริญ)

             ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุย่อมสำเร็จการอยู่ โดยประการที่ เมื่อเธอสำเร็จ การอยู่ ย่อมมีความตายที่เจริญ ตายแล้วก็เจริญ ก็ภิกษุย่อมสำเร็จการอยู่โดยประการ ที่เมื่อเธอ สำเร็จการอยู่ ย่อมมีความตายที่เจริญ

ตายแล้วก็เจริญ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ไม่ชอบการงาน ไม่ยินดีการงาน ไม่ขวนขวายความชอบการงาน
ไม่ชอบการคุย ไม่ยินดีการคุย ไม่ขวนขวายความชอบการคุย
ไม่ชอบความหลับ ไม่ยินดีความหลับ ไม่ขวนขวายความชอบความหลับ ไม่ชอบความคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ไม่ยินดีความคลุกคลีหมู่คณะ ไม่ขวนขวายความชอบ ความคลุกคลีหมู่คณะ
ไม่ชอบความคลุกคลีด้วยคฤหัสถ์ ไม่ยินดีความคลุกคลีด้วยคฤหัสถ์ ไม่ขวนขวาย ความชอบคลุกคลีด้วยคฤหัสถ์
ไม่ชอบธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ไม่ยินดีธรรมที่เป็นเหตุ ให้เนิ่นช้า ไม่ขวนขวายความ ชอบธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า

             ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุย่อมสำเร็จการอยู่โดยประการที่เมื่อเธอสำเร็จการอยู่ ย่อมมีความตายที่เจริญ ตายแล้วก็เจริญ อย่างนี้แล ภิกษุนี้เรียกว่า ผู้ยินดีนิพพาน ละสักกายะ เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบ

             ครั้นท่านพระสารีบุตรได้กล่าวไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว จึงได้กล่าวคาถา ประพันธ์ต่อไปอีกว่า

             ผู้ใดประกอบธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ยินดีธรรมที่เป็นเหตุ ให้เนิ่นช้า เช่นดัง เนื้อ ผู้นั้นย่อมไม่ได้ชมนิพพานที่เกษม จากโยคะ หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ ส่วนผู้ใด ละธรรมที่เป็น เหตุให้เนิ่นช้า ยินดีในบทคือธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ผู้นั้นย่อม ได้ชมนิพพานที่เกษมจากโยคะ หาธรรมอื่นยิ่งกว่า มิได้

 





หนังสือพุทธวจน ธรรมะของพระศาสดา
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์