เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

ทีฆจาริกสูตร การจาริกนาน-ไม่นาน อภินิวาสสูตร โทษการอยู่ประจำที่นาน กุลุปกสูตร โทษของภิกษุผู้เข้าสู่สกุล สัปปสูตร มาตุคามเปรียบเหมือนงูเห่า มีกลิ่น มีพิษร้าย มีสองลิ้น (มีลิ้นสองแฉก) 2236
 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒

๑. ทีฆจาริกสูตรที่ ๑ การจาริกนาน กับจาริกไปมีกำหนด
จาริกนาน ..ไม่ได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง ไม่เข้าใจชัดสิ่งที่ได้ฟังแล้ว ย่อมไม่มีมิตร
จาริกมีกำหนด..ได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง เข้าใจชัดสิ่งที่ได้ฟังแล้ว ย่อมมีมิตร

๒. ทีฆจาริกสูตรที่ ๒ การจาริกไปนาน กับจาริกไปมีกำหนด
จาริกมีกำหนด...บรรลุคุณวิเศษ ไม่เสื่อมจากคุณวิเศษ แกล้วกล้าด้วยคุณวิเศษที่ได้บรรลุแล้ว
จาริกนาน ..ไม่ได้บรรลุคุณวิเศษ เสื่อมจากคุณวิเศษ ไม่แกล้วกล้าด้วยคุณวิเศษที่ได้บรรลุแล้ว


๓. อภินิวาสสูตร โทษในการอยู่ประจำที่นาน
อยู่นาน... ย่อมมีสิ่งของมาก มีการสะสม มีกิจมาก ย่อมอยู่คลุกคลีด้วยคฤหัสถ์
อยู่ไม่นาน... ย่อมมีสิ่งของไม่มาก ของสะสมไม่มาก มีกิจไม่มาก ไม่เป็นผู้คลุกคลีด้วยคฤหัสถ์

๔. มัจฉรสูตร อยู่นานจึงตระหนี่
อยู่ประจำที่นานจึง...ตระหนี่ที่อยู่ ตระหนี่สกุล ตระหนี่ลาภ ตระหนี่วรรณะ ตระหนี่ธรรม
อยู่พอสมควร...ไม่ตระหนี่ที่อยู่ ไม่ตระหนี่สกุล ไม่ตระหนี่ลาภ ไม่ตระหนี่วรรณะ ไม่ตระหนี่ธรรม


๕. กุลุปกสูตรที่ ๑ โทษของภิกษุผู้เข้าสู่สกุล
ย่อมอาบัติเพราะเที่ยวไปโดยไม่บอกลา ย่อมอาบัติเพราะนั่งในที่ลับหู.. ในที่ลับตากับมาตุคาม .. แสดงธรรมแก่มาตุคาม(หญิง) เกินกว่า ๕-๖ คำ ย่อมอาบัติ.. ย่อมมากด้วยความดำริในกาม

๖. กุลุปกสูตรที่ ๒ โทษของภิกษุผู้เข้าสู่สกุลเกินเวลา
ทำให้เห็นมาตุคามเนืองๆ เมื่อเห็นเนืองๆย่อมเกี่ยวข้อง เมื่อเกี่ยวข้องย่อมคุ้นเคย
เมื่อคุ้นเคยย่อม มีจิตจดจ่อ..อาจต้องอาบัติที่เศร้าหมอง หรือบอกลาสิกขา


๗. โภคสูตร โทษและอานิสสงส์เพราะโภคทรัพย์
โภคทรัพย์เป็นของทั่วไปแก่ไฟ เป็นของทั่วไปแก่น้ำ เป็นของทั่วไปแก่พระราชา
เป็นของทั่วไปแก่ โจร เป็นของทั่วไปแก่ทายาทผู้ไม่เป็นที่รัก

๘. ภัตตสูตร สกุลหุงอาหารสายกับหุงตามเวลา
หุงอาหารสาย..ไม่ได้ต้อนรับแขกที่ควรต้อนรับ ไม่ได้ต้อนรับภิกษุฉันหนเดียว คนงานหลบหน้า
หุงอาหารตามเวลา..ได้ต้อนรับแขกที่ควรต้อนรับ ได้ต้อนรับภิกษุฉัหนเดียว คนงานไม่หลบหน้า


๙. สัปปสูตรที่ ๑ มาตุคามเปรียบเหมือนงูเห่า
โทษในงูเห่า...เป็นสัตว์ไม่สะอาด มีกลิ่นเหม็น น่ากลัวมาก มีภัยเฉพาะหน้า มักประทุษร้ายมิตร
โทษในมาตุคาม...เป็นผู้ไม่สะอาด มีกลิ่นเหม็น น่ากลัวมาก มีภัยเฉพาะหน้า มักประทุษร้ายมิตร

๑๐. สัปปสูตรที่ ๒ มาตุคามเปรียบเหมือนงูเห่า
โทษในงูเห่า...เป็นสัตว์มักโกรธ มักผูกโกรธ มีพิษร้าย มีสองลิ้น มักประทุษร้ายมิตร
โทษในมาตุคาม...เป็นสัตว์มักโกรธ มักผูกโกรธ มีพิษร้าย มีสองลิ้น มักประทุษร้ายมิตร

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 


 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๖๔

๑. ทีฆจาริกสูตรที่ ๑
การจาริกนานกับจาริกไปมีกำหนด

          [๒๒๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทษของภิกษุผู้ประกอบการเที่ยวไปนาน การเที่ยวไปไม่มีกำหนด ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ
๑ ย่อมไม่ได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง
๒ ย่อมไม่เข้าใจชัดสิ่งที่ได้ฟังแล้ว
๓ ย่อมไม่แกล้วกล้าด้วยสิ่งที่ได้ฟังแล้วบางประการ
๔ ย่อมได้รับโรคเรื้อรังอย่างหนัก
๕ ย่อมไม่มีมิตร

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทษของภิกษุผู้ประกอบการเที่ยวไปนาน การเที่ยวไปไม่มีกำหนด๕ ประการนี้แล

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในการเที่ยวไปมีกำหนดพอสมควร ๕ ประการนี้๕ ประการเป็นไฉน คือ
๑ ย่อมได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง
๒ ย่อมเข้าใจชัดสิ่งที่ได้ฟังแล้ว
๓ ย่อมแกล้วกล้าด้วยสิ่งที่ได้ฟังแล้วบางประการ
๔ ย่อมไม่ได้รับโรคเรื้อรังอย่างหนัก
๕ ย่อมมีมิตร

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในการเที่ยวไปมีกำหนดพอสมควร ๕ ประการนี้แล


-------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๖๔-๒๖๕

๒. ทีฆจาริกสูตรที่ ๒
การจาริกไปนาน

          [๒๒๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทษของภิกษุผู้ประกอบการเที่ยวไปนาน การเที่ยวไปไม่มีกำหนด ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ
๑ ย่อมไม่ได้บรรลุคุณวิเศษที่ยังไม่ได้บรรลุ
๒ ย่อมเสื่อมจากคุณวิเศษที่ได้บรรลุแล้ว
๓ ย่อมไม่แกล้วกล้าด้วยคุณวิเศษที่ได้บรรลุแล้วบางประการ
๔ ย่อมได้รับโรคเรื้อรังอย่างหนัก
๕ ย่อมไม่มีมิตร

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทษของภิกษุผู้ประกอบการ เที่ยวไปนาน การเที่ยวไป ไม่มีกำหนด ๕ ประการนี้แล

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในการเที่ยวไป มีกำหนดพอสมควร ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ
๑ ย่อมได้บรรลุคุณวิเศษที่ยังไม่ได้บรรลุ
๒ ย่อมไม่เสื่อมจากคุณวิเศษที่ได้บรรลุแล้ว
๓ ย่อมแกล้วกล้าด้วยคุณวิเศษที่ได้บรรลุแล้วบางประการ
๔ ย่อมไม่ได้รับโรคเรื้อรังอย่างหนัก
๕ ย่อมมีมิตร

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในการเที่ยวไป มีกำหนดพอสมควร ๕ ประการนี้แล


-------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๖๕

๓. อภินิวาสสูตร
โทษในการอยู่ประจำที่นาน

          [๒๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทษในการอยู่ประจำที่ ๕ ประการนี้๕ ประการเป็นไฉน คือ
๑ ภิกษุอยู่ประจำที่ย่อมมีสิ่งของมาก มีการสะสมสิ่งของมาก
๒ มีเภสัชมาก มีการสะสมเภสัชมาก
๓ มีกิจมาก มีกรณียมาก ไม่ฉลาดในกิจที่จะต้องทำ
๔ ย่อมอยู่คลุกคลีด้วยคฤหัสถ์และบรรพชิต ด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์อันไม่สมควร
๕ เมื่อจะหลีกไปจากอาวาสนั้น ย่อมมีความห่วงใยหลีกไป

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทษในการอยู่ประจำที่ ๕ ประการนี้แล

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในการอยู่มีกำหนดพอสมควร ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ
๑ ภิกษุผู้อยู่มีกำหนดพอสมควร ย่อมไม่มีสิ่งของมาก ไม่มีการสะสมสิ่งของมาก
๒ ไม่มีเภสัชมาก ไม่มีการสะสมเภสัชมาก ๓ ไม่มีกิจมาก ไม่มีกรณียมาก ฉลาดในกิจ ที่จะต้องทำ
๔ ไม่เป็นผู้คลุกคลีด้วยคฤหัสถและบรรพชิต ด้วยการคลุกคลี กับคฤหัสถ์ อันไม่สมควร
๕ เมื่อจะหลีกไปจากอาวาสนั้น ไม่มีความห่วงใยหลีกไป

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในการอยู่มีกำหนดพอสมควร ๕ ประการนี้แล


-------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๖๕-๒๖๖

๔. มัจฉรสูตร
อยู่ปรำที่นานจึงตระหนี่

          [๒๒๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทษในการอยู่ประจำที่ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ
๑ ภิกษุผู้อยู่ประจำที่เป็นผู้ตระหนี่ที่อยู่
๒ ตระหนี่สกุล
๓ ตระหนี่ลาภ
๔ ตระหนี่วรรณะ
๕ ตระหนี่ธรรม

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทษในการอยู่ประจำที่ ๕ ประการนี้แล

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในการอยู่มีกำหนดพอสมควร ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ
๑ ภิกษุผู้อยู่มีกำหนดพอสมควร เป็นผู้ไม่ตระหนี่ที่อยู่
๒ ไม่ตระหนี่สกุล
๓ ไม่ตระหนี่ลาภ
๔ ไม่ตระหนี่วรรณะ
๕ ไม่ตระหนี่ธรรม

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในการอยู่มีกำหนดพอสมควร ๕ ประการนี้แล


-------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๖๖

๕. กุลุปกสูตรที่ ๑
โทษของภิกษุผู้เข้าสู่สกุล

          [๒๒๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทษ ๕ ประการนี้ มีอยู่ใน ภิกษุผู้เข้าสู่สกุล
๕ ประการเป็นไฉน คือ
๑ ภิกษุผู้เข้าไปสู่สกุลย่อมต้องอาบัติเพราะเที่ยวไปโดยไม่บอกลา
๒ ย่อมต้องอาบัติเพราะนั่งในที่ลับหูกับมาตุคาม
๓ ย่อมต้องอาบัติเพราะนั่งในที่ลับตากับมาตุคาม
๔ เมื่อแสดงธรรมแก่มาตุคามเกินกว่า ๕-๖ คำย่อมต้องอาบัติ
*
๕ ย่อมมากด้วยความดำริในกามอยู่

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทษ ๕ประการนี้แล มีอยู่ในภิกษุผู้เข้าไปสู่สกุล

* เรื่องนี้อยู่ในพระวินัย ดังนั้นการแสดงธรรมของภิกษุ(เมื่อมาสู่สกุล) จึงต้องมีบุรุษมานั่งฟังอยู่ด้วย


-------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๖๖

๖. กุลุปกสูตรที่ ๒
ภิกษุผู้เข้าไปสู่สกุลเกินเวลา

          [๒๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทษ ๕ ประการนี้ ย่อมมีแก่ ภิกษุผู้เข้าไปสู่สกุล คลุกคลีอยู่ในสกุลเกินเวลา ๕ ประการเป็นไฉน คือ
๑ การเห็นมาตุคามเนืองๆ
๒ เมื่อมีการเห็นย่อมมีการเกี่ยวข้อง
๓ เมื่อมีการเกี่ยวข้องย่อมมีการคุ้นเคย
๔ เมื่อมีการคุ้นเคยย่อมมีจิตจดจ่อ
๕ เมื่อมีจิตจดจ่อแล้วพึงหวังผลข้อนี้คือ เธอย่อมไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์ จักต้องอาบัติที่เศร้าหมอง หรือจักบอกคืนสิกขาลาเพศ

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทษ ๕ ประการนี้แล ย่อมมีแก่ภิกษุผู้เข้าไปสู่สกุล คลุกคลีอยู่ในสกุลเกินเวลา


-------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๖๗

๗. โภคสูตร
โทษและอานิสสงส์เพราะโภคทรัพย์

          [๒๒๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทษในเพราะโภคทรัพย์ ๕ ประการนี้๕ ประการเป็นไฉน คือ
๑ โภคทรัพย์เป็นของทั่วไปแก่ไฟ
๒ เป็นของทั่วไปแก่น้ำ
๓ เป็นของทั่วไปแก่พระราชา
๔ เป็นของทั่วไปแก่โจร
๕ เป็นของทั่วไปแก่ทายาทผู้ไม่เป็นที่รัก

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทษในเพราะโภคทรัพย์ ๕ ประการนี้แล

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในเพราะโภคทรัพย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ
๑ เพราะอาศัยโภคทรัพย์ บุคคลจึงเลี้ยงตนให้เป็นสุข เอิบอิ่มบริหารให้เป็นสุข ได้โดยชอบ
๒ เลี้ยงมารดาบิดาให้เป็นสุข เอิบอิ่ม บริหารให้เป็นสุขได้โดยชอบ
๓ เลี้ยงบุตรภรรยา คนใช้ คนงาน และบริวารให้เป็นสุขเอิบอิ่ม บริหารให้เป็นสุขได้ โดยชอบ
๔ เลี้ยงมิตรและอำมาตย์ ให้เป็นสุขเอิบอิ่ม บริหารให้เป็นสุขได้โดยชอบ
๕ ย่อมบำเพ็ญทักษิณาทาน ที่มีผลเลิศเป็นทางสวรรค์ มีสุขเป็นผล เป็นไปเพื่อสวรรค์ ในสมณพราหมณ์ทั้งหลาย

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในเพราะโภคทรัพย์ ๕ ประการนี้แล


-------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๖๗-๒๖๘

๘. ภัตตสูตร
สกุลหุงอาหารสาย กับหุงตามเวลา

          [๒๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทษ ๕ ประการนี้ มีอยู่ในสกุลที่หุงต้มอาหาร ในเวลาสาย ๕ ประการเป็นไฉน คือ
๑ ย่อมไม่ได้ต้อนรับแขกที่ควรต้อนรับตามเวลา
๒ ไม่ได้บูชาเทวดาผู้รับพลีตามเวลา
๓ ไม่ได้ต้อนรับสมณพราหมณ์ ผู้ฉันหนเดียว งดการฉันในเวลากลางคืน เว้นการฉันในเวลาวิกาลตามเวลา
๔ พวกคนใช้ คนงาน และบริวารหลบหน้าทำการงาน
๕ อาหารที่บริโภคตามเวลาที่ไม่ควรเช่นนั้นไม่มีโอชา

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทษ ๕ ประการนี้แล มีอยู่ใน สกุลที่หุงต้มอาหารในเวลาสาย

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ ๕ ประการนี้ มีอยู่ในสกุลที่หุงต้มอาหาร ตามเวลา ๕ ประการเป็นไฉน คือ
๑ ย่อมได้ต้อนรับแขกที่ควรต้อนรับตามเวลา
๒ ย่อมได้บูชาเทวดาผู้รับพลีตามเวลา
๓ ย่อมได้ต้อนรับสมณพราหมณ์ผู้ฉันหนเดียว งดการฉันในเวลากลางคืน เว้นการฉัน ในเวลาวิกาลตามเวลา
๔ คนใช้ คนงานและบริวารย่อมไม่หลบหน้าทำการงาน
๕ อาหารที่บริโภคตามเวลาที่ควรเช่นนั้นย่อมมีโอชา

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ ๕ ประการนี้แล มีอยู่ในสกุลที่หุงต้มอาหารตามเวลา


-------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๖๘

๙. สัปปสูตรที่ ๑
มาตุคามเปรียบเหมือนงูเห่า

          [๒๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทษในงูเห่า ๕ ประการนี้ ๕ ประการ เป็นไฉน คือ
๑ เป็นสัตว์ไม่สะอาด
๒ มีกลิ่นเหม็น
๓ มีความน่ากลัวมาก
๔ มีภัยเฉพาะหน้า
๕ มักประทุษร้ายมิตร

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทษในงูเห่า ๕ ประการนี้แล

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทษในมาตุคาม ๕ ประการฉันนั้นเหมือนกัน ๕ ประการเป็นไฉน คือ
๑ เป็นผู้ไม่สะอาด
๒ มีกลิ่นเหม็น
๓ มีความน่ากลัวมาก
๔ มีภัยเฉพาะหน้า
๕ มักประทุษร้ายมิตร

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทษในมาตุคาม ๕ ประการนี้แล


-------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๖๘-๒๖๙

๑๐. สัปปสูตรที่ ๒
มาตุคามเปรียบเหมือนงูเห่า

          [๒๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทษในงูเห่า ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ
๑ เป็นสัตว์มักโกรธ
๒ มักผูกโกรธ
๓ มีพิษร้าย
๔ มีสองลิ้น
๕ มักประทุษร้ายมิตร

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทษในงูเห่า ๕ ประการนี้แล

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทษในมาตุคาม ๕ ประการนี้ฉันนั้นเหมือนกัน ๕ ประการเป็นไฉน คือ
๑ เป็นผู้มักโกรธ
๒ มักผูกโกรธ
๓ มีพิษร้าย
๔ มีสองลิ้น
๕ มักประทุษร้ายมิตร

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในโทษ ๕ ประการนั้น ความที่มาตุคามเป็นผู้มีพิษร้าย คือ โดยมากมาตุคามมีราคะจัด ความที่มาตุคามเป็นผู้มีสองลิ้น คือ โดยมากมาตุคาม มีวาจาส่อเสียด ความที่มาตุคามเป็นผู้มักประทุษร้ายมิตร คือ โดยมากมาตุคาม มักประพฤตินอกใจ

          ดูกรภิกษุทั้งหลายโทษในมาตุคาม ๕ ประการนี้แล




 





หนังสือพุทธวจน ธรรมะของพระศาสดา
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์