เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

อักโกสกสูตร โทษของการด่าเพื่อนพรหมจรรย์ ภัณทนสูตรโทษก่ออธิกรณ์ สีลสูตรว่าด้วยศีล พหุภาณีสูตร 2235
 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒

๑. อักโกสกสูตร โทษของการด่าเพื่อนพรหมจรรย์
ต้องอาบัติปาราชิก ต้องอาบัตอย่างอื่น เป็นโรคเรื้อรังอย่างหนัก ...เมื่อตายไปเข้าถึงอบาย นรก

๒. ภัณทนสูตร โทษแห่งการทำความบาดหมาง ก่ออธิกรณ์
ไม่บรรลุคุณวิเศษที่ยังไม่ได้บรรลุ กิตติศัพท์ชั่วย่อมฟุ้งไป ...เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงอบาย นรก

๓. สีลสูตร ว่าด้วยศีล
โทษของคนทุศีล เสื่อมโภคทรัพย์ กิตติศัพท์ชั่วย่อมฟุ้งไป... เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงอบายนรก
อานิสงส์ของคนมีศีล เข้าถึงกองโภคทรัพย กิตติศัพท์อันงามย่อมฟุ้งไป ..เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์

๔. พหุภาณีสูตร บุคคลผู้พูดมาก
โทษในบุคคลผู้พูดมาก พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ ...เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงอบาย นรก
อานิสงส์บุคคลผู้พูดพอประมาณ ไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียด ..เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์

๕. อขันติสูตรที่ ๑ ความไม่อดทน สูตรที่ ๑
โทษของความไม่อดทน ย่อมเป็นผู้มากด้วยเวร มากด้วยโทษ ...เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงอบายนรก

๖. อขันติสูตรที่ ๒ ความไม่อดทน สูตรที่ ๒
ผู้ไม่อดทนย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของคนเป็นอันมาก... เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงอบายนรก

๗. อปาสาทิกสูตรที่ ๑ ผู้ไม่น่าเลื่อมใส สูตรที่ ๑
ผู้มีกายกรรมอันไม่น่าเลื่อมใส แม้ตนเองย่อมติเตียนตนได้ ..เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงอบายนรก

๘. อปาสาทิกสูตร ๒ ผู้ไม่น่าเลื่อมใส สูตรที่ ๒
ผู้ถึงพร้อมด้วยกายกรรมอันไม่น่าเลื่อมใส คนที่ยังไม่เลื่อมใสย่อมไม่เลื่อมใส ... เข้าถึงอบายนรก

๙. อัคคิสูตร โทษของไฟ
โทษเพราะไฟ ทำให้ตาฝ้าฟาง ทำให้ผิวเสีย ทำให้ทุรพล...เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงอบาย

๑๐. มธุราสูตร นครมธุรา
โทษ ๕ ประการมีอยู่ในนครมธุรา
๑ นครมธุรามีพื้นดินไม่ราบเรียบ ๒ มีฝุ่นมาก ๓ มีสุนัขดุ ๔ มียักษ์ร้าย ๕ หาอาหารได้ยาก

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 


 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๕๘

๑. อักโกสกสูตร
โทษของการด่าเพื่อนพรหมจรรย์

            [๒๑๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใดชอบด่า ชอบบริภาษ เพื่อนพรหมจรรย์ ชอบติเตียนพระอริยเจ้า ภิกษุนั้นพึงหวังได้โทษ ๕ ประการ
๕ ประการเป็นไฉน คือ
๑ เธอย่อมต้องอาบัติปาราชิก ขาดทางบรรลุโลกุตรธรรม
๒ ย่อมต้องอาบัติที่เศร้าหมองอย่างอื่น
๓ ย่อมได้รับโรคเรื้อรังอย่างหนัก
๔ ย่อมเป็นผู้หลงกระทำกาละ
๕ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใดชอบด่า ชอบบริภาษเพื่อนพรหมจรรย์ ชอบติเตียน พระอริยเจ้า ภิกษุนั้นพึงหวังได้โทษ ๕ ประการนี้แล


---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๕๘

๒. ภัณทนสูตร
โทษแห่งการทำความบาดหมาง

            [๒๑๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใดผู้ทำความบาดหมาง ทำการทะเลาะ ทำการอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ภิกษุนั้นพึงหวังได้โทษ ๕ ประการ
๕ ประการเป็นไฉน คือ

๑ ย่อมไม่ได้บรรลุคุณวิเศษที่ยังไม่ได้บรรลุ
๒ ย่อมเสื่อมจากคุณที่ ได้บรรลุแล้ว
๓ กิตติศัพท์ที่ชั่วย่อมฟุ้งไป
๔ ย่อมเป็นผู้หลงกระทำกาละ
๕ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใดทำความบาดหมาง ทำการทะเลาะ ทำการวิวาท ทำการอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ภิกษุนั้นพึงหวังได้โทษ ๕ ประการนี้แล


---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๕๗-๒๕๙

๓. สีลสูตร
ว่าด้วยศีล

            [๒๑๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทษของคนทุศีล เพราะศีลวิบัติ ๕ ประการ นี้
๕ ประการเป็นไฉน คือ

            ผู้ทุศีล มีศีลวิบัติ ในธรรมวินัยนี้ ย่อมถึงความเสื่อมโภคทรัพย์อย่างมาก อันมีความประมาทเป็นเหตุ นี้เป็นโทษข้อที่ ๑ ของคนทุศีล เพราะศีลวิบัติ

            อีกประการหนึ่ง กิตติศัพท์ที่ชั่วของผู้ทุศีล มีศีลวิบัติย่อมฟุ้งไป นี้เป็นโทษข้อที่ ๒ ของคนทุศีล เพราะศีลวิบัติ

            อีกประการหนึ่ง ผู้ทุศีลมีศีลวิบัติ จะเข้าสู่บริษัทใดๆ คือ ขัตติยบริษัท พราหมณบริษัท คฤหบดีบริษัท สมณบริษัทย่อมไม่องอาจ เก้อเขินเข้าไปนี้เป็นโทษ ข้อที่ ๓ ของคนทุศีล เพราะศีลวิบัติ

            อีกประการหนึ่งคนทุศีล มีศีลวิบัติ ย่อมเป็นผู้หลงกระทำกาละ นี้เป็นโทษข้อที่ ๔ ของคนทุศีล เพราะศีลวิบัติ

            อีกประการหนึ่ง คนทุศีล มีศีลวิบัติ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก นี้เป็นโทษ ข้อที่ ๕ ของคนทุศีลเพราะศีลวิบัติ

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทษของคนทุศีล เพราะศีลวิบัติ ๕ ประการ นี้แล

-------------------------------------------------------------------------------------------------------

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ของคนมีศีล เพราะความถึงพร้อมด้วยศีล ๕ ประการ นี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ

            คนมีศีล ถึงพร้อมด้วยศีล ในธรรมวินัยนี้ ย่อมถึงกองโภคทรัพย์มากมาย อันมีความไม่ประมาทเป็นเหตุ นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๑ ของคนมีศีล เพราะความถึงพร้อม ด้วยศีล

            อีกประการหนึ่ง กิตติศัพท์อันงามของคนมีศีล ถึงพร้อมด้วยศีล ย่อมฟุ้งไป นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๒ ของคนมีศีล เพราะความถึงพร้อมด้วยศีล

            อีกประการหนึ่ง คนมีศีล ถึงพร้อมด้วยศีล จะเข้าสู่บริษัทใดๆ คือ ขัตติยบริษัท พราหมณบริษัท คฤหบดีบริษัท สมณบริษัทย่อมองอาจ ไม่เก้อเขิน เข้าไป นี้เป็น อานิสงส์ข้อที่ ๓ ของคนมีศีล เพราะความถึงพร้อมด้วยศีล

            อีกประการหนึ่ง คนมีศีล ถึงพร้อมด้วยศีล ย่อมเป็นผู้ไม่หลงกระทำกาละ นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๔ ของคนมีศีล เพราะความถึงพร้อมด้วยศีล

            อีกประการหนึ่ง คนมีศีล ถึงพร้อมด้วยศีล เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๕ ของคนมีศีล เพราะความถึงพร้อมด้วยศีล

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ของคนมีศีล เพราะความถึงพร้อมด้วยศีล ๕ ประการนี้แล


---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๖๐

๔. พหุภาณีสูตร
บุคคลผู้พูดมาก

            [๒๑๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทษ ๕ ประการนี้ มีอยู่ในบุคคลผู้พูดมาก
๕ ประการเป็นไฉน คือ
๑ พูดเท็จ
๒ พูดส่อเสียด
๓ พูดคำหยาบ
๔ พูดเพ้อเจ้อ
๕ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทษ ๕ ประการนี้แล มีอยู่ในบุคคลผู้พูดมาก

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ ๕ ประการนี้ มีอยู่ในบุคคลผู้พูดพอประมาณ
๕ ประการเป็นไฉน คือ
๑ ไม่พูดเท็จ
๒ ไม่พูดส่อเสียด
๓ ไม่พูดคำหยาบ
๔ ไม่พูดเพ้อเจ้อ
๕ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ ๕ ประการนี้แล มีอยู่ในบุคคลผู้พูดพอประมาณ


---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๖๐

๕. อขันติสูตรที่ ๑
ความไม่อดทน สูตรที่ ๑

            [๒๑๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทษของความไม่อดทน ๕ ประการนี้
๕ ประการเป็นไฉน คือ

๑ ผู้ไม่อดทนย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของคนเป็นอันมาก
๒ ย่อมเป็นผู้มากด้วยเวร
๓ ย่อมเป็นผู้มากด้วยโทษ
๔ ย่อมเป็นผู้หลงกระทำกาละ
๕ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทษของความไม่อดทน ๕ ประการนี้แล
----------------------------------------------------------------------------------

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ของความอดทน ๕ ประการนี้
๕ ประการเป็นไฉน คือ
๑ ผู้อดทนย่อมเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของคนเป็นอันมาก
๒ ย่อมเป็นผู้ไม่มากด้วยเวร
๓ ย่อมเป็นผู้ไม่มากด้วยโทษ
๔ ย่อมเป็นผู้ไม่หลงกระทำกาละ
๕ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ของความอดทน ๕ ประการนี้แล


---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๖๐-๒๖๑

๖. อขันติสูตรที่ ๒
ความไม่อดทน สูตรที่ ๒

            [๒๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทษของความไม่อดทน ๕ ประการนี้
๕ ประการ เป็นไฉน คือ
๑ ผู้ไม่อดทนย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของคนเป็นอันมาก
๒ ย่อมเป็นผู้โหดร้าย
๓ ย่อมเป็นผู้เดือดร้อน
๔ ย่อมเป็นผู้หลงกระทำกาละ
๕ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทษของความไม่อดทน ๕ ประการนี้แล

----------------------------------------------------------------------------------

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ของความอดทน ๕ ประการนี้ ๕ ประการ เป็นไฉน คือ
๑ ผู้อดทนย่อมเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของคนเป็นอันมาก
๒ ย่อมเป็นผู้ไม่โหดร้าย
๓ ย่อมเป็นผู้ไม่เดือดร้อน
๔ ย่อมเป็นผู้ไม่หลงกระทำกาละ
๕ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ของความอดทน ๕ ประการนี้แล


---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๖๑

๗. อปาสาทิกสูตรที่ ๑
ผู้ไม่น่าเลื่อมใส สูตรที่ ๑

            [๒๑๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทษ ๕ ประการนี้ มีอยู่ในบุคคลผู้ถึงพร้อม ด้วยกายกรรม เป็นต้น อันไม่น่าเลื่อมใส ๕ ประการเป็นไฉน คือ
๑ แม้ตนเองย่อมติเตียนตนได้
๒ วิญญูชนพิจารณาแล้ว ย่อมติเตียน
๓ กิตติศัพท์ที่ชั่วย่อมฟุ้งไป
๔ ย่อมเป็นผู้หลงกระทำกาละ
๕ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทษ ๕ ประการนี้แล มีอยู่ในบุคคล ผู้ถึงพร้อมด้วยกายกรรมเป็นต้น อันไม่น่าเลื่อมใส

----------------------------------------------------------------------------------

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ ๕ ประการนี้ มีอยู่ในบุคคลผู้มีความประพฤติ นำมาซึ่งความเลื่อมใส ๕ ประการเป็นไฉน คือ
๑ แม้ตนเองย่อมไม่ติเตียนตนได้
๒ วิญญูชนพิจารณาแล้วย่อมสรรเสริญ
๓ กิตติศัพท์อันงามย่อมฟุ้งไป
๔ ย่อมเป็นผู้ไม่หลงกระทำกาละ
๕ เมื่อตายไปเข้าย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ ๕ ประการนี้แล มีอยู่ในบุคคลผู้มีความประพฤติ นำมาซึ่งความเลื่อมใส


---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๖๒

๘. อปาสาทิกสูตร ๒
ผู้ไม่น่าเลื่อมใส สูตรที่ ๒

            [๒๑๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทษ ๕ ประการนี้ มีอยู่ในบุคคลผู้ถึงพร้อม ด้วยกายกรรมเป็นต้น อันไม่น่าเลื่อมใส ๕ ประการเป็นไฉน คือ
๑ คนพวกที่ยังไม่เลื่อมใสย่อมไม่เลื่อมใส
๒ คนพวกที่เลื่อมใสแล้วบางพวกย่อมคลายความเลื่อมใส
๓ ชื่อว่าย่อมไม่กระทำตามคำสอนของพระศาสดา
๔ ประชุมชนชั้นหลังย่อมถือตาม
๕ จิตของเขาย่อมไม่เลื่อมใส

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทษ๕ ประการนี้แล มีอยู่ในบุคคลผู้ถึงพร้อม ด้วยกายกรรมเป็นต้นอันไม่น่าเลื่อมใส

----------------------------------------------------------------------------------

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ ๕ ประการนี้ มีอยู่ในบุคคล ผู้มีความประพฤติ นำมาซึ่งความเลื่อมใส ๕ ประการเป็นไฉน คือ
๑ คนพวกที่ยังไม่เลื่อมใส ย่อมเลื่อมใส
๒ คนพวกที่เลื่อมใสแล้วย่อมเลื่อมใสยิ่งขึ้น
๓ ชื่อว่าย่อมกระทำตามคำสั่งสอนของพระศาสดา
๔ ประชุมชนชั้นหลังย่อมถือตาม
๕ จิตของเขาย่อมเลื่อมใส

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ ๕ ประการนี้แล มีอยู่ในบุคคลผู้มีความประพฤติ นำมาซึ่งความเลื่อมใส


---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๖๒

๙. อัคคิสูตร
โทษของไฟ

            [๒๑๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทษ ๕ ประการนี้ มีอยู่เพราะไฟ ๕ ประการ เป็นไฉน คือ
๑ ทำให้ตาฝ้าฟาง
๒ ทำให้ผิวเสีย
๓ ทำให้ทุรพล
๔ ย่อมยังการคลุกคลีหมู่คณะให้เจริญ
๕ ย่อมยังติรัจฉานกถาให้เป็นไป

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทษ ๕ ประการนี้แล มีอยู่เพราะไฟ


---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๖๒-๒๖๓

๑๐. มธุราสูตร
นครมธุรา

            [๒๒๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทษ ๕ ประการนี้ มีอยู่ในนครมธุรา ๕ ประการ เป็นไฉน คือ
๑ นครมธุรามีพื้นดินไม่ราบเรียบ
๒ มีฝุ่นมาก
๓ มีสุนัขดุ
๔ มียักษ์ร้าย
๕ หาอาหารได้ยาก

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทษ ๕ ประการ นี้แล มีอยู่ในนครมธุรา

 





หนังสือพุทธวจน ธรรมะของพระศาสดา
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์