เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

นิสสารณียสูตร ว่าด้วยธาตุทั้ง ๕ ที่ต้องสลัดออก คือ ๑กามทั้งหลาย ๒พยาบาท ๓วิหิงสา ๔รูปทั้งหลาย ๕สักกายะ 2233
 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒

นิสสารณียสูตร ว่าด้วยธาตุทั้ง ๕ ที่ต้องสลัดออก
๑ เมื่อภิกษุมนสิการถึงกามทั้งหลาย จิตย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปใน กามทั้งหลาย
   แต่เมื่อมนสิการ ถึงเนกขัมมะ จิตของเธอย่อมน้อมไปในเนกขัมมะ
   จิตของเธอนั้น ชื่อว่าเป็นจิต ดำเนินไปแล้ว อบรมดีแล้ว

๒ เมื่อภิกษุมนสิการถึง พยาบาท (ความโกรธ ไม่พอใจ) จิตย่อมไม่แล่นไป...ในพยาบาท
   แต่เมื่อเธอมนสิการถึงความ ไม่พยาบาท...
   จิตของเธอนั้น ชื่อว่าเป็นจิต ดำเนินไปแล้ว อบรมดีแล้ว

๓ เมื่อภิกษุมนสิการถึง วิหิงสา (ทำร้ายเบียดเบียน) จิตย่อมไม่แล่นไป...ในวิหิงสา
    แต่เมื่อเธอมนสิการถึง อวิหิงสา ...
    จิตของเธอนั้น ชื่อว่าเป็นจิต ดำเนินไปแล้ว อบรมดีแล้ว

๔ เมื่อภิกษมนสิการถึง รูปทั้งหลาย จิตย่อมไม่แล่นไป...ในรูปทั้งหลาย
    แต่เมื่อเธอมนสิการถึง อรูป ...
    จิตของเธอนั้น ชื่อว่าเป็นจิต ดำเนินไปแล้ว อบรมดีแล้ว

๕ เมื่อภิกษ มนสิการถึง สักกายะ (เห็นว่ากายเป็นของตน)...จิตย่อมไม่แล่นไปในสักกายะ
    แต่เมื่อเธอมนสิการถึง ความดับแห่งสักกายะ
    จิตของเธอนั้น ชื่อว่าเป็นจิต ดำเนินไปแล้ว อบรมดีแล้ว

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 


 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๔๗-๒๕๐

๑๐. นิสสารณียสูตร
ว่าด้วยธาตุที่สลัด

            [๒๐๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธาตุที่พึงพรากได้ ๕ ประการนี้ ๕ ประการ เป็นไฉน คือ เมื่อภิกษุในธรรมวินัยนี้ มนสิการถึงกามทั้งหลาย จิตของเธอย่อมไม่แล่นไป ย่อมไม่เลื่อมใส ย่อมไม่ตั้งอยู่ ย่อมไม่น้อมไปในกามทั้งหลาย แต่เมื่อเธอมนสิการ ถึงเนกขัมมะ จิตของเธอ ย่อมแล่นไป ย่อมเลื่อมใส ย่อมตั้งอยู่ ย่อมน้อมไปในเนกขัมมะ จิตของเธอนั้น ชื่อว่าเป็นจิต ดำเนินไปแล้ว อบรมดีแล้ว ตั้งอยู่ดีแล้ว หลุดพ้นดีแล้ว พรากออกดีแล้ว จากกามทั้งหลาย อาสวะทุกข์และความเร่าร้อนเหล่าใด ย่อมเกิดเพราะ กามเป็นปัจจัย เธอหลุดพ้นแล้วจาก อาสวะ ทุกข์และความเร่าร้อน เหล่านั้น เธอย่อม ไม่เสวยเวทนาที่เกิดเพราะเหตุนั้น นี้เรากล่าวว่า เป็นการพรากออก แห่งกามทั้งหลาย

            อีกประการหนึ่ง เมื่อภิกษุมนสิการถึงพยาบาท จิตของเธอย่อมไม่แล่นไป ย่อมไม่ เลื่อมใส ย่อมไม่ตั้งอยู่ ย่อมไม่น้อมไปในพยาบาท แต่เมื่อเธอมนสิการถึง ความไม่พยาบาท จิตของเธอย่อมแล่นไป ย่อมเลื่อมใส ย่อมตั้งอยู่ ย่อมน้อมไปใน ความไม่พยาบาท จิตของเธอนั้นชื่อว่า เป็นจิตดำเนินไปดีแล้ว อบรมดีแล้วหลุดพ้นดีแล้ว พรากออก ดีแล้ว จากพยาบาท อาสวะ ทุกข์และความเร่าร้อนเหล่าใด ย่อมเกิดเพราะ พยาบาทเป็นปัจจัย เธอหลุดพ้นแล้วจากอาสวะ ทุกข์และความเร่าร้อนเหล่านั้น เธอย่อม ไม่เสวยเวทนา ที่เกิด เพราะเหตุนั้น นี้เรากล่าวว่าเป็นการพรากออก แห่งพยาบาท

            อีกประการหนึ่ง เมื่อภิกษุมนสิการถึงวิหิงสา จิตของเธอย่อมไม่แล่นไป ย่อมไม่ เลื่อมใส ย่อมไม่ตั้งอยู่ ย่อมไม่น้อมไปในวิหิงสา แต่เมื่อเธอมนสิการถึงอวิหิงสา จิตของเธอ ย่อมแล่นไป ย่อมเลื่อมใส ย่อมตั้งอยู่ ย่อมน้อมไปในอวิหิงสา จิตของเธอนั้น ชื่อว่าเป็นจิต ดำเนินไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว ตั้งอยู่ดีแล้วหลุดพ้นดีแล้ว พรากออกดีแล้ว จากวิหิงสา อาสวะ ทุกข์และความเร่าร้อนเหล่าใด ย่อมเกิดเพราะวิหิงสาเป็นปัจจัย เธอหลุดพ้นแล้วจากอาสวะ ทุกข์และความเร่าร้อนเหล่านั้น เธอย่อมไม่เสวยเวทนา ที่เกิดเพราะเหตุนั้น นี้เรากล่าวว่า เป็นการพรากออกแห่งวิหิงสา

            อีกประการหนึ่ง เมื่อภิกษุมนสิการถึงรูปทั้งหลาย จิตของเธอย่อมไม่แล่นไป ย่อมไม่ เลื่อมใส ย่อมไม่ตั้งอยู่ ย่อมไม่น้อมไปในรูปทั้งหลาย แต่เมื่อเธอมนสิการถึง อรูป จิตของเธอย่อมแล่นไป ย่อมเลื่อมใส ย่อมตั้งอยู่ ย่อมน้อมไปในอรูป จิตของเธอ นั้นชื่อว่า เป็นจิต ดำเนินไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว ตั้งอยู่ดีแล้วหลุดพ้นดีแล้ว พรากออกดี แล้ว จากรูป ทั้งหลาย อาสวะ ทุกข์และความเร่าร้อนเหล่าใด ย่อมเกิดเพราะรูปเป็น ปัจจัย เธอหลุดพ้น แล้วจากอาสวะ ทุกข์และความเร่าร้อนเหล่านั้น เธอย่อมไม่เสวย เวทนา ที่เกิด เพราะเหตุนั้น นี้เรากล่าวว่าเป็นการพรากออกแห่งรูปทั้งหลาย

            อีกประการหนึ่ง เมื่อภิกษุมนสิการถึงสักกายะ จิตของเธอย่อมไม่แล่นไป ย่อมไม่เลื่อมใส ย่อมไม่ตั้งอยู่ ย่อมไม่น้อมไปในสักกายะ แต่เมื่อเธอมนสิการถึง ความดับแห่งสักกายะ จิตของเธอย่อมแล่นไป ย่อมเลื่อมใส ย่อมตั้งอยู่ ย่อมน้อมไป ในความดับ แห่ง สักกายะ จิตของเธอนั้นชื่อว่า เป็นจิตดำเนินไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว ตั้งอยู่ดีแล้ว หลุดพ้น ดีแล้ว พรากออกดีแล้วจากสักกายะ อาสวะทุกข์ และความเร่าร้อน เหล่าใด ย่อมเกิดเพราะ สักกายะเป็นปัจจัย เธอหลุดพ้นแล้วจากอาสวะ ทุกข์และความ เร่าร้อน เหล่านั้น เธอย่อม ไม่เสวยเวทนาที่เกิดเพราะเหตุนั้น นี้เรากล่าวว่า เป็นการ พราก ออก แห่งสักกายะ ความเพลินในกามก็ดี ความเพลินในพยาบาทก็ดี  ความเพลินในวิหิงสาก็ดี  ความเพลินในรูปก็ดี ความเพลินในสักกายะก็ดี ย่อมไม่บังเกิด ขึ้นแก่เธอ

     เพราะความเพลิน ในกามก็ดี  ความเพลินในพยาบาทก็ดี ความเพลินในวิหิงสาก็ดี ความเพลินในรูปก็ดี  ความเพลินในสักกายะก็ดี  ไม่บังเกิดขึ้น  ภิกษุนี้ เรา
กล่าวว่าเป็น ผู้ไม่มีอาลัย ตัดตัณหา ได้แล้ว คลายสังโยชน์ได้แล้ว ทำที่สุดทุกข์ได้แล้ว เพราะ ละมานะ ได้ โดยชอบ

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธาตุที่พึงพรากได้ ๕ ประการนี้แล

 





หนังสือพุทธวจน ธรรมะของพระศาสดา
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์