เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

อารัญญกสูตร ภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตร ๕ จำพวก..อยู่ป่าเป็นวัตรเพราะโง่เขลา ปรารถนาลามก เพราะเป็นบ้า ฯลฯ 2228
 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒

๑. อารัญญกสูตร ภิกษุผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร
ภิกษุผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร ๕ จำพวก
     ๑ ภิกษุผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร เพราะโง่เขลา เพราะหลงงมงาย
     ๒ มีความปรารถนาลามก ถูกความอยากครอบงำ จึงถืออยู่ป่าเป็นวัตร
     ๓ ถืออยู่ป่าเป็นวัตร เพราะเป็นบ้า เพราะจิตฟุ้งซ่าน
     ๔ ถืออยู่ป่าเป็นวัตร เพราะรู้ว่าพระพุทธเจ้าและสาวกทั้งหลายสรรเสริญ
     ๕ ถืออยู่ป่าเป็นวัตร เพราะผู้มีความปรารถนาน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความสงัด ความเป็นผู้มีความต้องการด้วยข้อปฏิบัติอันงามเช่นนี้

๒. ปังสุกูลิกสูตร ผู้ถือ ทรงผ้าบังสุกุล เป็นวัตร
๓. รุกขมูลิกสูตร ภิกษุผู้ถือ อยู่โคนไม้ เป็นวัตร
๔. โสสานิกสูตร ภิกษุผู้ถือ อยู่ป่าช้า เป็นวัตร
๕. อัพโภกาสิกสูตร ภิกษุผู้ถือ อยู่ในที่แจ้ง เป็นวัตร
๖. เนสัชชิกสูตร ภิกษุผู้ถือ การนั่ง เป็นวัตร
๗. ยถาสันถติกสูตร ภิกษุผู้ถือ อยู่ในเสนาสนะ
๘. เอกาสนิกสูตร ภิกษุผู้ถือ การนั่งฉัน ณ อาสนะเดียวเป็นวัตร
๙. ขลุปัจฉาภัตติกสูตร ภิกษุผู้ถือ ห้ามภัตอันนำมาถวายเมื่อภายหลัง เป็นวัตร
๑๐. ปัตตปิณฑิกสูตร ภิกษุผู้ถือ ฉันเฉพาะในบาตร เป็นวัตร

(ทั้ง ๑๐ พระสูตร มีเนื้อความเช่นเดียวกันทั้ง ๕ ประการ)

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 


 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๒๓

๑. อารัญญกสูตร

            [๑๘๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร ๕ จำพวกนี้
๕ จำพวกเป็นไฉน คือ
        ๑ ภิกษุผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร เพราะโง่เขลา เพราะหลงงมงาย
        ๒ มีความปรารถนาลามก ถูกความอยากครอบงำ จึงถืออยู่ป่าเป็นวัตร
        ๓ ถืออยู่ป่าเป็นวัตร เพราะเป็นบ้า เพราะจิตฟุ้งซ่าน
        ๔ ถืออยู่ป่าเป็นวัตร เพราะรู้ว่าเป็นวัตร อันพระพุทธเจ้าและสาวก แห่งพระพุทธเจ้า ทั้งหลายสรรเสริญ
        ๕ ถืออยู่ป่าเป็นวัตร เพราะอาศัยความเป็นผู้มีความปรารถนาน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความสงัด ความเป็นผู้มีความต้องการด้วยข้อปฏิบัติอันงามเช่นนี้

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร ๕ จำพวกนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร ๕ จำพวกนี้ ภิกษุผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร เพราะอาศัยความ เป็นผู้มีความปรารถนาน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความสงัด ความเป็นผู้มี ความต้องการ ด้วยข้อปฏิบัติอันงามเช่นนี้ เป็นผู้เลิศ ประเสริฐ เป็นประธาน สูงสุดและ ดีกว่าภิกษุผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร ๕ จำพวกนี้ เปรียบเหมือนนมสด เกิดจากโคนมส้ม เกิดจากนมสด เนยข้นเกิดจากนมส้ม เนยใสเกิดจากเนยข้น หัวเนยใสเกิดจากเนยใส หัวเนยใสชาวโลกย่อมกล่าวว่าเป็นยอดในจำพวกโครส ๕ เหล่านั้นฉันใด

            บรรดาภิกษุผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร ๕ จำพวกนี้ ภิกษุผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตรเพราะอาศัย ความเป็นผู้มีความปรารถนาน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความสงัด ความเป็นผู้มี ความต้องการ ด้วยข้อปฏิบัติอันงามเช่นนี้ เป็นเลิศ ประเสริฐเป็นประธาน สูงสุด และ ดีกว่า ภิกษุผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร ๕ จำพวกนี้ ฉันนั้นเหมือนกัน


-------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๒๔

๒. ปังสุกูลิกสูตร

            [๑๘๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถือทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ๕ จำพวกนี้ ฯลฯ
(เนื้อความเช่นเดียวกับ ภิกษุผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร ๕ จำพวก)

-------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๒๔

๓. รุกขมูลิกสูตร

            [๑๘๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถืออยู่โคนไม้เป็นวัตร ๕ จำพวกนี้ ฯลฯ
(เนื้อความเช่นเดียวกับ ภิกษุผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร ๕ จำพวก)

-------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๒๔

๔. โสสานิกสูตร

            [๑๘๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถืออยู่ป่าช้าเป็นวัตร ๕ จำพวกนี้ ฯลฯ
(เนื้อความเช่นเดียวกับ ภิกษุผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร ๕ จำพวก)


-------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๒๔

๕. อัพโภกาสิกสูตร

            [๑๘๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถืออยู่ในที่แจ้งเป็นวัตร ๕ จำพวกนี้ ฯลฯ
(เนื้อความเช่นเดียวกับ ภิกษุผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร ๕ จำพวก)

-------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๒๔

๖. เนสัชชิกสูตร

            [๑๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถือการนั่งเป็นวัตร ๕ จำพวกนี้ ฯลฯ
(เนื้อความเช่นเดียวกับ ภิกษุผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร ๕ จำพวก)


-------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๒๔

๗. ยถาสันถติกสูตร

            [๑๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถืออยู่ในเสนาสนะตามที่ท่านจัดให้อย่างไร เป็นวัตร ๕ จำพวกนี้ ฯลฯ
(เนื้อความเช่นเดียวกับ ภิกษุผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร ๕ จำพวก)

-------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๒๕

๘. เอกาสนิกสูตร

            [๑๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถือการนั่งฉัน ณ อาสนะเดียวเป็นวัตร ๕ จำพวกนี้ ฯลฯ
(เนื้อความเช่นเดียวกับ ภิกษุผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร ๕ จำพวก)


-------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๒๕

๙. ขลุปัจฉาภัตติกสูตร

            [๑๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถือห้ามภัตอันนำมาถวาย เมื่อภายหลัง เป็นวัตร ๕ จำพวกนี้ ฯลฯ
(เนื้อความเช่นเดียวกับ ภิกษุผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร ๕ จำพวก)


-------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๒๕-๒๒๖

๑๐. ปัตตปิณฑิกสูตร

            [๑๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถือฉันเฉพาะในบาตรเป็นวัตร ๕ จำพวก นี้

๕ จำพวกเป็นไฉน คือ
           ๑ ภิกษุเป็นผู้ถือฉันเฉพาะในบาตรเป็นวัตร เพราะโง่เขลา เพราะหลงงมงาย
           ๒ มีความปรารถนาลามก ถูกความอยากครอบงำ จึงเป็นผู้ถือฉันเฉพาะ ใน บาตรเป็นวัตร
           ๓ เป็นผู้ถือฉันเฉพาะในบาตรเป็นวัตรเพราะเป็นบ้าเพราะจิตฟุ้งซ่าน
           ๔ เป็นผู้ถือฉันเฉพาะในบาตรเป็นวัตร เพราะ รู้ว่าเป็นวัตรอันพระพุทธเจ้าและ สาวก แห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายสรรเสริญ
           ๕ เป็นผู้ถือฉันเฉพาะในบาตรเป็นวัตร เพราะอาศัยความเป็นผู้มีความปรารถนา น้อย ความสันโดษความขัดเกลา ความสงัด ความเป็นผู้มีความต้องการด้วยข้อปฏิบัติ อันงาม เช่นนี้

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถือฉันเฉพาะในบาตรเป็นวัตร ๕ จำพวกนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุผู้ถือฉันเฉพาะในบาตรเป็นวัตร ๕ จำพวกนี้ ภิกษุผู้ถือฉัน เฉพาะในบาตรเป็นวัตร เพราะอาศัยความเป็นผู้มีความปรารถนาน้อย ความสันโดษความ ขัดเกลา ความสงัด ความเป็นผู้มีความต้องการ ด้วยข้อปฏิบัติอันงามเช่นนี้เป็นผู้เลิศ ประเสริฐ เป็นประธาน สูงสุด และดีกว่าภิกษุผู้ถือฉันเฉพาะในบาตรเป็นวัตร ๕ จำพวกนี้ เปรียบเหมือนนมสดเกิดจากโค นมส้มเกิดจากนมสดเนยข้นเกิดจากนมส้ม เนยใส เกิดจากเนยข้น หัวเนยใสเกิดจากเนยใส หัวเนยใสชาวโลก ย่อมกล่าวว่าเป็นเลิศ ในจำพวกโครส ๕ เหล่านั้น ฉันใด

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุผู้ถือฉันเฉพาะในบาตรเป็นวัตร ๕ จำพวกนี้ ภิกษุผู้ถือฉันเฉพาะในบาตรเป็นวัตร เพราะอาศัยความเป็นผู้มีความปรารถนาน้อย ความสันโดษความขัดเกลา ความสงัด ความเป็นผู้มีความต้องการ ด้วยข้อปฏิบัติ อันงามเช่นนี้เป็นผู้เลิศ ประเสริฐ เป็นประธาน สูงสุด และดีกว่าภิกษุผู้ถือฉันเฉพาะ ในบาตรเป็นวัตร ๕ จำพวกนี้ ฉันนั้นเหมือนกัน

 




 





หนังสือพุทธวจน ธรรมะของพระศาสดา
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์