เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

สมณสูตรที่ ๒ (ผู้ไม่ควรยกย่องว่าเป็นสมณพราหมณ์) โสตาปันนสูตร ว่าด้วยผู้เป็นพระโสดาบัน 1999
 

(พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ )

สมณสูตรที่ ๒ (ว่าด้วยผู้ไม่ควรยกย่องว่าเป็นสมณพราหมณ์)
สมณะหรือพราหมณ์ ไม่รู้ชัดซึ่งเหตุเกิด ความดับ คุณ โทษ และ อุบายเครื่องสลัดออก แห่ง อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ ตามความเป็นจริง. ย่อมไม่ได้รับยกย่องว่า เป็นสมณะในหมู่สมณะ และไม่ได้ รับยกย่องว่า เป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์

โสตาปันนสูตร ว่าด้วยผู้เป็นพระอริยสาวกโสดาบัน
อุปาทานขันธ์ คือรูป คือเวทนา สัญญา สังขาร คือวิญญาณ ที่พระอริยสาวก ย่อมรู้ชัดซึ่ง เหตุเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกฯ เรียกว่า “โสดาบัน” มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา มีอันจะตรัสรู้ในเบื้องหน้า

อรหันตสูตร ว่าด้วยผู้เป็นพระอรหันตขีณาสพ
ภิกษุรู้เหตุเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่อง สลัดออกแห่งอุปาทานขันธ์ ๕ ตามความเป็น จริง จึงเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะไม่ถือมั่น. นี้เรียกว่าภิกษุผู้เป็นอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์

ฉันทปหีนสูตรที่ ๑ ว่าด้วยการละความพอใจในขันธ์ ๕
เธอจงละความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก ในรูปเสีย .. ในเวทนา สัญญา... รูปนั้นจักเป็นอันเธอทั้งหลาย ละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว กระทำให้เป็นดุจตาลยอดด้วน กระทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไป เป็นธรรมดา

ฉันทปหีนสูตรที่ ๒ ว่าด้วยการละความพอใจในขันธ์ ๕
เธอทั้งหลายจงละความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก ความเข้าถึง และความยึดมั่น อันเป็น ที่ตั้ง ที่อยู่ประจำ และ ที่อาศัยแห่งจิต ในรูป เสีย ใน วทนา สัญญา.... ด้วยอาการอย่างนี้ รูปนั้น จักเป็น อันเธอทั้งหลายละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 


 


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก หน้า ๑๕๓

๖. สมณสูตรที่ ๒
ว่าด้วยผู้ไม่ควรยกย่องว่าเป็นสมณพราหมณ์

            [๒๙๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้.
อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นไฉน?
ได้แก่ อุปาทานขันธ์คือรูป ฯลฯ อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ.

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด เหล่าหนึ่ง ไม่รู้ชัดซึ่งเหตุเกิด ความดับ คุณ โทษ และ อุบายเครื่องสลัดออก แห่งอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ ตามความเป็นจริง.

            สมณะหรือพราหมณ์เหล่านี้นั้น ย่อมไม่ได้รับยกย่องว่า เป็นสมณะในหมู่สมณะ และไม่ได้ รับยกย่องว่า เป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ อนึ่งท่านเหล่านั้นย่อมทำให้แจ้ง ซึ่ง ประโยชน์ แห่ง ความเป็นสมณะ หรือประโยชน์ แห่งความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญา อันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ไม่ได้.

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะ หรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ชัดซึ่งเหตุเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ ตามความ เป็นจริง. สมณะหรือ พราหมณ์เหล่านี้นั้นแล ย่อมได้รับยกย่องว่า เป็นสมณะในหมู่สมณะ และได้รับยกย่องว่าเป็น พราหมณ์ ในหมู่พราหมณ์

            อนึ่ง ท่านเหล่านั้นย่อมทำให้แจ้ง ซึ่งประโยชน์แห่งความเป็นสมณะ หรือ ประโยชน์แห่งความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญา อันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ได้.

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก หน้า ๑๕๓

๗. โสตาปันนสูตร
ว่าด้วยผู้เป็นพระอริยสาวกโสดาบัน

            [๒๙๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้. อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นไฉน? ได้แก่ อุปาทานขันธ์ คือรูป ฯลฯ อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ.

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุ ที่พระอริยสาวก ย่อมรู้ชัดซึ่ง เหตุเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ ตามความเป็นจริง.

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า พระอริยสาวกผู้โสดาบัน มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงมีอันจะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก หน้า ๑๕๔

๘. อรหันตสูตร
ว่าด้วยผู้เป็นพระอรหันตขีณาสพ

            [๒๙๗] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้. อุปาทานขันธ์ ๕เป็นไฉน? คือ อุปาทานขันธ์คือรูป ฯลฯ อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่ภิกษุรู้เหตุเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่อง สลัดออกแห่งอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ตามความเป็นจริง จึงเป็นผู้หลุดพ้นแล้วเพราะ ไม่ถือมั่น.

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ภิกษุผู้เป็นอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว มีประโยชน์ของตนอันบรรลุแล้วโดยลำดับ มีกิเลสเป็นเครื่อง ประกอบ ไว้ในภพสิ้นไปรอบแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ.

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก หน้า ๑๕๔

๙. ฉันทปหีนสูตรที่ ๑
ว่าด้วยการละความพอใจในขันธ์ ๕

            [๒๙๘] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยากในรูปเสีย ด้วยอาการอย่างนี้ รูปนั้นจักเป็นอันเธอทั้งหลาย ละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว กระทำให้เป็นดุจตาลยอดด้วน กระทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไป เป็นธรรมดา.

            เธอทั้งหลายจงละความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยาน อยากในเวทนา ... ในสัญญา ... ในสังขาร ... ในวิญญาณเสีย ด้วยอาการอย่างนี้ วิญญาณนั้น จักเป็นอันเธอ ทั้งหลาย ละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว กระทำให้เป็นดุจตาล ยอดด้วน กระทำไม่ให้มีไม่ให้เกิดอีกต่อไป เป็นธรรมดา.

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก หน้า ๑๕๔-๑๕๕

๑๐. ฉันทปหีนสูตรที่ ๒
ว่าด้วยการละความพอใจในขันธ์ ๕

            [๒๙๙] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก ความเข้าถึงและความยึดมั่น อันเป็น ที่ตั้ง ที่อยู่ประจำ และ ที่อาศัยแห่งจิตในรูปเสีย ด้วยอาการอย่างนี้ รูปนั้น จักเป็น อันเธอทั้งหลายละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นดุจตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา.

            เธอทั้งหลายจงละความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยาน อยาก ความเข้าถึง และความยึดมั่น อันเป็นที่ตั้ง ที่อยู่ประจำและที่อาศัยแห่งจิต ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณเสีย ฯลฯ ด้วยอาการอย่างนี้ วิญญาณนั้นจัก เป็นอันเธอทั้งหลายละได้แล้ว ตัดราก ขาดแล้ว ทำให้เป็นดุจตาล ยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา ฉะนี้แล

 





หนังสือพุทธวจน ธรรมะของพระศาสดา
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์