เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

อันตสูตร (สักกายะ๔) สักกายสูตร (สักกายะตามอริยสัจธรรม) ปริญเญยยสูตร (ธรรมที่ควรกำหนดรู้) สมณสูตร ๑ (ผู้ไม่ควร-ผู้ควรยกย่องว่าเป็นสมณะ) 1998
 

(พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗)
อันตสูตร(ว่าด้วยส่วนคือสักกายะ๔)
สักกายะ ๔ ส่วน
ส่วน๑ คือสักกายะ (อุปาทานขันธ์คือรูป คือเวทนา คือสัญญา คือสังขาร คือวิญญาณ)
ส่วน๒ คือสักกายสมุทัย (ตัณหาอันนำให้เกิดในภพใหม่ คือความกำหนัด ด้วยอำนาจความเพลิน)
ส่วน๓ คือสักกายนิโรธ (ความดับโดยไม่เหลือแห่งตัณหานั้นแล ด้วยมรรค คือ วิราคะ ความสละ)
ส่วน๔ คือสักกายนิโรธคามินีปฏิปทา (ได้แก่อริยมรรค ประกอบด้วยองค์ ๘)

สักกายสูตร(ว่าด้วยสักกายะตามแนวอริยสัจธรรม)
สักกายะเป็นไฉน คำว่าสักกายะนั้น ควรจะกล่าว ว่า อุปาทานขันธ์ ๕
สักกายสมุทัยเป็นไฉน ตัณหาอันนำให้เกิดใน ภพใหม่ ประกอบด้วยความกำหนัด
สักกายนิโรธเป็นไฉน คือความดับโดยไม่เหลือ แห่งตัณหา นั้นแล ด้วยมรรค คือ วิราคะ
สักกายนิโรธคามินีปฏิปทาเป็นไฉน คือ อริยมรรค ประกอบด้วยองค์ ๘

ปริญเญยยสูตร (ว่าด้วยธรรมที่ควรกำหนดรู้)
ธรรมที่ควรกำหนดรู้เป็นไฉน? คือ รูป เวทนา สัญญาสังขาร วิญญาณ.
ความกำหนดรู้เป็นไฉน? ความสิ้นไปแห่งราคะ แห่งโทสะ แห่งโมหะ.
บุคคลผู้กำหนดรู้แล้วเป็นไฉน? บุคคลผู้กำหนดรู้แล้ว ควรจะกล่าวว่าพระอรหันต์

สมณสูตร ๑ (ว่าด้วยผู้ไม่ควรและผู้ควรยกย่องว่าเป็นสมณพราหมณ์)
สมณะไม่รู้ชัดซึ่งคุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งอุปาทานขันธ์ ๕
ย่อมไม่ได้รับยกย่องว่า เป็นสมณะในหมู่สมณะ และไม่ได้รับ ยกย่องว่า เป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 


 


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก หน้า ๑๔๙-๑๕๐

๑. อันตสูตร
ว่าด้วยส่วนคือสักกายะ ๔

            [๒๗๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก เศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วน ๔ อย่างเหล่านี้.

ส่วน ๔ อย่างเป็นไฉน?
ส่วนคือสักกายะ ๑
ส่วนคือสักกายสมุทัย ๑
ส่วนคือสักกายนิโรธ ๑
ส่วนคือ สักกายนิโรธคามินีปฏิปทา ๑.

            [๒๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ส่วนคือสักกายะเป็นไฉน? ส่วนคือสักกายะนั้น ควรจะกล่าวว่า อุปาทานขันธ์ ๕
อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นไฉน? อุปาทานขันธ์ ๕ นั้น ได้แก่
อุปาทานขันธ์คือรูป ๑
อุปาทานขันธ์คือเวทนา ๑
อุปาทานขันธ์คือสัญญา ๑
อุปาทานขันธ์ คือสังขาร ๑
อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ ๑


             ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ส่วนคือสักกายะ.

            [๒๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ส่วนคือสักกายสมุทัยเป็นไฉน? ส่วนคือสักกาย สมุทัยนั้นคือ ตัณหาอันนำให้เกิดในภพใหม่ ประกอบด้วยความกำหนัด ด้วยอำนาจ ความเพลิดเพลิน มีปกติเพลิดเพลินยิ่งในภพ หรืออารมณ์นั้นๆ. ได้แก่กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ส่วนคือสักกายสมุทัย.

            [๒๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ส่วนคือสักกายนิโรธเป็นไฉน? ส่วนคือสักกาย นิโรธนั้นคือ ความดับโดยไม่เหลือแห่งตัณหานั้นแล ด้วยมรรค คือ วิราคะ ความสละ ความสละคืนความหลุดพ้น ความไม่มีอาลัย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ส่วนคือ สักกายนิโรธ.

            [๒๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ส่วนคือสักกายนิโรธคามินี ปฏิปทาเป็นไฉน? ส่วนคือ สักกายนิโรธคามินีปฏิปทานั้น ได้แก่อริยมรรค ประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล สัมมาทิฏฐิ ๑ สัมมาสังกัปปะ ๑ สัมมาวาจา ๑ สัมมากัมมันตะ ๑ สัมมาอาชีวะ ๑ สัมมาวายามะ ๑ สัมมาสติ ๑.สัมมาสมาธิ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ส่วนคือ สักกายนิโรธคามินี ปฏิปทา. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วน ๔ อย่างนี้แล

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก หน้า ๑๕๑

๓. สักกายสูตร
ว่าด้วยสักกายะตามแนวอริยสัจธรรม

            [๒๘๔] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสักกายะ สักกายสมุทัย สักกายนิโรธ และสักกายนิโรธคามินีปฏิปทา แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง.

            [๒๘๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สักกายะเป็นไฉน? คำว่าสักกายะนั้น ควรจะกล่าว ว่า อุปาทานขันธ์ ๕. อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นไฉน? อุปาทานขันธ์ ๕ นั้น ได้แก่ อุปาทานขันธ์คือรูป ฯลฯ อุปาทานขันธ์คือ วิญญาณ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า สักกายะ.

            [๒๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สักกายสมุทัยเป็นไฉน? สักกายสมุทัยนั้นคือ ตัณหาอันนำให้เกิดใน ภพใหม่ ประกอบด้วยความกำหนัด ด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน ยิ่ง ในภพหรืออารมณ์นั้น. กล่าวคือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าสักกายสมุทัย.

            [๒๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สักกายนิโรธเป็นไฉน? คือความดับโดยไม่เหลือ แห่งตัณหา นั้นแล ด้วยมรรค คือ วิราคะ ความสละ ความสละคืน ความหลุดพ้น ความไม่อาลัย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า สักกายนิโรธ.

            [๒๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สักกายนิโรธคามินีปฏิปทาเป็นไฉน? คือ อริยมรรค ประกอบด้วยองค์ ๘ นี้ กล่าวคือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าสักกายนิโรธคามินีปฏิปทา.


-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก หน้า ๑๕๑-๑๕๒

๔. ปริญเญยยสูตร
ว่าด้วยธรรมที่ควรกำหนดรู้

            [๒๘๙] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ควรกำหนดรู้ ความกำหนดรู้ และบุคคลผู้กำหนดรู้แล้ว แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง

            [๒๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรกำหนดรู้เป็นไฉน? คือ รูป เวทนา สัญญาสังขาร วิญญาณ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่ควรกำหนดรู้

            [๒๙๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความกำหนดรู้เป็นไฉน? ความสิ้นไปแห่งราคะ ความสิ้นไปแห่งโทสะ ความสิ้นไปแห่งโมหะ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ความกำหนดรู้

            [๒๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้กำหนดรู้แล้วเป็นไฉน? บุคคลผู้กำหนด รู้แล้ว ควรจะกล่าวว่าพระอรหันต์ กล่าวคือ ท่านผู้มีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า บุคคลผู้กำหนดรู้แล้ว

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก หน้า ๑๕๒

๕. สมณสูตร ๑
ว่าด้วยผู้ไม่ควรและผู้ควรยกย่องว่าเป็นสมณพราหมณ์

            [๒๙๓] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้. อุปาทานขันธ์๕ เป็นไฉน? ได้แก่อุปาทานขันธ์คือรูป ฯลฯ อุปาทานขันธ์คือ วิญญาณ.

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือ พราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ไม่รู้ชัดซึ่งคุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ ตามความเป็นจริง. สมณะหรือ พราหมณ์เหล่านี้นั้น ย่อมไม่ได้รับยกย่องว่า เป็นสมณะในหมู่สมณะ และไม่ได้รับ ยกย่องว่า เป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ อนึ่ง ท่านเหล่านั้นทำให้แจ้งซึ่ง ประโยชน ์แห่งความเป็นสมณะ หรือประโยชน์แห่งความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอัน ยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ไม่ได้.

            [๒๙๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด เหล่าหนึ่ง ย่อม รู้ชัด ซึ่งคุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ ตามความเป็น จริง. สมณะหรือพราหมณ์ เหล่านี้นั้นแล ย่อมได้รับยกย่องว่า เป็นสมณะในหมู่สมณะ และได้รับยกย่องว่าเป็นพราหมณ์ ในหมู่พราหมณ์ อนึ่ง ท่านเหล่านั้นย่อมทำให้แจ้ง ซึ่งประโยชน์แห่ง ความเป็นสมณะหรือ ประโยชน์แห่งความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญา อันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ได้

 





หนังสือพุทธวจน ธรรมะของพระศาสดา
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์