เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

อนัตตสูตร ละความพอใจในสิ่งที่เป็นอนัตตา อนัตตนิยสูตร ละความพอใจในสิ่งที่ไม่ใช่ของตน รชนิยสัณฐิตสูตร สิ่งใดจูงใจให้กำหนัดเธอควรละเสีย 1993
 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗

๖. อนัตตสูตร
ว่าด้วยการละความพอใจในสิ่งที่เป็นอนัตตา
ตรัสกับ ภิกษุรูปหนึ่ง
สิ่งใดแล เป็นอนัตตา เธอควรละความพอใจ ในสิ่งนั้นเสีย

๗. อนัตตนิยสูตร
ว่าด้วยการละความพอใจในสิ่งที่มิใช่ของตน
ตรัสกับ ภิกษุรูปหนึ่ง
ดูกรภิกษุ สิ่งใดแล ไม่ใช่เป็นของตน เธอควรละความพอใจ ในสิ่งนั้นเสีย

๘. รชนิยสัณฐิตสูตร
ว่าด้วยการละความพอใจในสิ่งที่จูงใจให้กำหนัด ตรัสกับ ภิกษุรูปหนึ่ง
สิ่งใดแลจูงใจให้กำหนัดเธอควรละ ความ พอใจ ในสิ่งนั้นเสีย

๙. ราธสูตร
ว่าด้วยการไม่มีอหังการมมังการและมานานุสัย ตรัสกับ ท่านพระราธะ
รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือ ละเอียด เลวหรือประณีต อยู่ในที่ไกล หรือใกล้อริยสาวก ย่อมพิจารณาเห็นรูปทั้งหมดนั้น ด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริง อย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวของเรา

๑๐. สุราธสูตร
ว่าด้วยการมีใจปราศจากอหังการมมังการและมานานุสัย ตรัสกับ ท่านพระสุราธะ
รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ฯลฯ อยู่ในที่ไกลหรือใกล้ อริยสาวก พิจารณาเห็นรูปทั้งหมดนั้น ด้วยปัญญา อันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตน ของเรา ดังนี้แล้ว เป็นผู้หลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่น

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 


 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๗๗

๖. อนัตตสูตร
ว่าด้วยการละความพอใจในสิ่งที่เป็นอนัตตา

            [๑๔๔] พระนครสาวัตถี ฯลฯ ภิกษุรูปหนึ่ง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มี พระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดประทานพระวโรกาส โปรดแสดงพระธรรมเทศนา โดยสังเขปแก่ข้าพระองค์ ที่ข้าพระองค์ได้สดับแล้ว ฯลฯ มีใจมั่นคงอยู่เถิด.

            พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ สิ่งใดแล เป็นอนัตตา เธอควรละความพอใจ ในสิ่งนั้นเสีย.

            ภิ. ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ทราบแล้ว ข้าแต่พระสุคต ข้าพระองค์ ทราบแล้ว.

            พ. ดูกรภิกษุ ก็เธอรู้ซึ้งถึงอรรถแห่งคำที่เรากล่าวแล้วอย่างย่อ โดยพิสดาร ได้อย่างไรเล่า?

            ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ เป็นอนัตตา ข้าพระองค์ ควรละความพอใจในสิ่งนั้นๆ เสีย.

            ข้าพระองค์รู้ซึ้งถึงอรรถแห่งพระดำรัส ที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้วอย่างย่อ โดยพิสดารอย่างนี้แล.

            พ. ดีแล้วๆ ภิกษุ เธอรู้ซึ้งถึงอรรถแห่งคำที่เรากล่าวอย่างย่อ โดยพิสดาร อย่างดีแล้ว.

            ดูกรภิกษุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ เป็นอนัตตา ควรละความ พอใจในสิ่งนั้นๆเสีย.

            เธอพึงทราบอรรถแห่งคำ ที่เรากล่าวแล้วอย่างย่อ โดยพิสดารอย่างนี้เถิด ฯลฯ ภิกษุรูปนั้นได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง ในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย.

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๗๘

๗. อนัตตนิยสูตร
ว่าด้วยการละความพอใจในสิ่งที่มิใช่ของตน

            [๑๔๕] พระนครสาวัตถี ฯลฯ ภิกษุรูปหนึ่ง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มี พระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาค โปรดประทานพระวโรกาส โปรดแสดงพระธรรมเทศนาโดยสังเขปแก่ข้าพระองค์ ที่ข้าพระองค์ได้สดับแล้ว ฯลฯ มีใจมั่นคงอยู่เถิด.

            พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ สิ่งใดแล ไม่ใช่เป็นของตน เธอควรละความ พอใจ ในสิ่งนั้นเสีย.

            ภิ. ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ทราบแล้ว ข้าแต่พระสุคต ข้าพระองค์ ทราบแล้ว.

            พ. ดูกรภิกษุ ก็เธอรู้ซึ้งถึงอรรถแห่งคำที่เรากล่าวแล้วอย่างย่อ โดยพิสดาร ได้อย่างไรเล่า?

            ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ มิใช่เป็นของ ตนข้าพระองค์ควรละความพอใจในสิ่งนั้นๆ เสีย.

            ข้าพระองค์รู้ซึ้งถึงอรรถแห่งพระดำรัส ที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้วอย่างย่อ โดย พิสดารอย่างนี้แล.

            พ. ดีแล้วๆ ภิกษุ เธอรู้ซึ้งถึงอรรถแห่งคำ ที่เรากล่าวแล้วอย่างย่อ โดยพิสดาร อย่างดีแล้ว.

            ดูกรภิกษุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ มิใช่เป็นของตน ควรละความ พอใจในสิ่งนั้นๆ เสีย.

            เธอพึงทราบอรรถแห่งคำ ที่เรากล่าวแล้วอย่างย่อ โดยพิสดารอย่างนี้เถิดฯลฯ ภิกษุรูปนั้น ได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง ในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย.


------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๗๘-๗๙

๘. รชนิยสัณฐิตสูตร
ว่าด้วยการละความพอใจในสิ่งที่จูงใจให้กำหนัด

            [๑๔๖] พระนครสาวัตถี ฯลฯ ภิกษุรูปหนึ่ง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มี พระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาค โปรดประทานพระวโรกาส โปรดแสดงพระธรรมเทศนา โดยสังเขปแก่ข้าพระองค์ ที่ข้าพระองค์ได้สดับแล้ว ฯลฯ มีใจมั่นคงอยู่เถิด.

            พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ สิ่งใดแลจูงใจให้กำหนัดเธอควรละ ความ พอใจ ในสิ่งนั้นเสีย.

            ภิ. ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ทราบแล้ว ข้าแต่พระสุคต ข้าพระองค์ ทราบแล้ว.

            พ. ดูกรภิกษุ ก็เธอรู้ซึ้งถึงอรรถแห่งคำที่เรากล่าวแล้วอย่างย่อ โดยพิสดารได้ อย่างไรเล่า?

            ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ล้วนจูงใจให้ กำหนัด ข้าพระองค์ควรละพอใจในสิ่งนั้นๆ เสีย.

             ข้าพระองค์รู้ซึ้งถึงอรรถแห่งพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้วอย่างย่อ โดย พิสดารอย่างนี้แล.

            พ. ดีแล้วๆ ภิกษุ เธอรู้ซึ้งถึงอรรถแห่งคำ ที่เรากล่าวแล้วอย่างย่อ โดยพิสดาร อย่างดีแล้ว.

            ดูกรภิกษุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ล้วนจูงใจให้กำหนัด ควรละ ความพอใจในสิ่งนั้นๆ เสีย.

            เธอพึงทราบอรรถแห่งคำที่เรากล่าวแล้วอย่างย่อ โดยพิสดารอย่างนี้เถิด ฯลฯ ภิกษุรูปนั้น ได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง ในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย.

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๗๙-๘๐

๙. ราธสูตร
ว่าด้วยการไม่มีอหังการมมังการและมานานุสัย

            [๑๔๗] พระนครสาวัตถี ฯลฯ ณ ที่นั้นแล ท่านพระราธะ ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มี พระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลรู้เห็นอย่างไรจึงจะไม่มีอหังการ มมังการ และมานานุสัย ในกายที่มีวิญญาณนี้ และในสรรพนิมิตภายนอก.

            พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรราธะ รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต อยู่ในที่ไกล หรือใกล้อริยสาวก ย่อมพิจารณาเห็นรูปทั้งหมดนั้น ด้วยปัญญาอันชอบ ตามความ เป็นจริง อย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวของเรา

            เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง สังขาร เหล่าใดเหล่าหนึ่ง วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ฯลฯ อยู่ในที่ไกล หรือใกล้ อริยสาวก ย่อมพิจารณาเห็นวิญญาณทั้งหมดนั้น ด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา.

            ดูกรราธะ บุคคลรู้เห็นอย่างนี้แล จึงไม่มีอหังการ มมังการ และมานานุสัย ในกาย ที่มีวิญญาณนี้ และในสรรพนิมิตภายนอก ฯลฯ ท่านพระราธะได้เป็นพระอรหันต์ องค์หนึ่ง ในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย.

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๘๐-๘๑

๑๐. สุราธสูตร
ว่าด้วยการมีใจปราศจากอหังการมมังการและมานานุสัย

            [๑๔๘] พระนครสาวัตถี ฯลฯ ณ ที่นั้นแล ท่านพระสุราธะ ได้ทูลถามพระผู้มี พระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลรู้เห็นอย่างไร จึงจะมีใจปราศจากอหังการ มมังการและมานานุสัย ในกายที่มีวิญญาณนี้ และในสรรพนิมิตภายนอก ก้าวล่วงมานะ ด้วยดี สงบระงับ พ้นวิเศษแล้ว.

            พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรสุราธะ รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ฯลฯ อยู่ในที่ไกลหรือใกล้ อริยสาวก พิจารณาเห็นรูปทั้งหมดนั้น ด้วยปัญญา อันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตน ของเรา ดังนี้แล้ว เป็นผู้หลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่น

            เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง อริยสาวก พิจารณาเห็นวิญญาณทั้งหมดนั้น ด้วยปัญญา อันชอบ ตามความเป็นจริง อย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตน ของเรา ดังนี้แล้ว เป็นผู้หลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่น.

            ดูกรสุราธะ บุคคลเมื่อรู้เห็นอย่างนี้แลจึงจะมีใจปราศจากอหังการ มมังการ และมานานุสัย ในกายที่มีวิญญาณนี้ และในสรรพนิมิตภายนอก ก้าวล่วงมานะด้วยดี สงบระงับ พ้นวิเศษแล้ว ฯลฯ ท่านพระสุราธะ ได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง ในจำนวน พระอรหันต์ทั้งหลาย.

 

 





หนังสือพุทธวจน ธรรมะของพระศาสดา
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์