เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

ปุณณมสูตร : ว่าด้วยอุปาทานขันธ์ ๕ มูลแห่งอุปาทานขันธ์ ๕ เหตุปัจจัยแห่งขันธ์ ๕ 1994
 

(พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗)

๑๐. ปุณณมสูตร
1.ว่าด้วยอุปาทานขันธ์ ๕
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อุปาทานขันธ์ ๕ คือรูป คือเวทนา คือสัญญา คือสังขาร คือวิญญาณ เหล่านี้ ใช่ไหม พระเจ้าข้า? พ. ดูกรภิกษุ อุปาทานขันธ์ ๕ ได้แก่อุปาทานขันธ์ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เหล่านี้แหละ ภิกษุ

2.ว่าด้วยมูลแห่งอุปาทานขันธ์ ๕
พ. ดูกรภิกษุ อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้แล มีฉันทะเป็นมูลเหตุ ...
พ. ดูกรภิกษุ อุปาทานก็อันนั้น และอุปาทานขันธ์ ๕ ก็อันนั้น หามิได้ และ อุปาทานอื่น จากอุปาทานขันธ์ ๕ ก็หามิได้ แต่ฉันทราคะ ในอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านั้น เป็นตัวอุปาทาน ว่าด้วยฉันทราคะ ในอุปาทานขันธ์ ๕

3.ว่าด้วยเหตุที่เรียกว่าขันธ์
รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็น ภายใน ก็ดี ภายนอกก็ดี หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี เลวก็ดี ประณีตก็ดี มีในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ ก็ดี นี้เรียกว่า รูปขันธ์ (เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ ก็เช่นเดียวกับรูปขันธ์)

4.ว่าด้วยเหตุปัจจัยแห่งขันธ์ ๕
ภิกษุ อะไรหนอเป็นเหตุเป็น ปัจจัย ทำให้ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ ปรากฏ?
ดูกรภิกษุ มหาภูตรูป ๔ แล เป็นเหตุเป็นปัจจัย ทำให้รูปขันธ์ปรากฏ.
ผัสสะ เป็นเหตุเป็นปัจจัย ทำให้เวทนาขันธ์ปรากฏ.
ผัสสะ เป็นเหตุเป็นปัจจัย ทำให้สัญญาขันธ์ปรากฏ.
ผัสสะ เป็นเหตุเป็นปัจจัย ทำให้สังขารขันธ์ปรากฏ.
นามรูป เป็นเหตุเป็นปัจจัย ทำให้วิญญาณขันธ์ปรากฏ.

5.ว่าด้วยเหตุเกิดสักกายทิฏฐิ
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สักกายทิฏฐิมีได้ อย่างใด หนอ?
ดูกรภิกษุ ผู้ยังมิได้สดับ เป็นผู้ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้า ไม่ฉลาดในอริยธรรม ฯลฯ
ย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตน ย่อมเห็นตนมีรูป
ย่อมเห็นรูปในตน ย่อมเห็นตนในรูป

ย่อมเห็นเวทนา ...ย่อมเห็นสัญญา.. ย่อมเห็นสังขาร...ย่อมเห็นวิญญาณโดยความเป็นตน..

6.ว่าด้วยเหตุจะไม่มีสักกายทิฏฐิ
ผู้ได้สดับแล้ว
ย่อมไม่เห็นรูปโดยความเป็นตน ย่อมไม่เห็นตนมีรูป
ย่อมไม่เห็นรูปในตน ย่อมไม่เห็นตนในรูป

ย่อมไม่เห็นเวทนา ...ย่อมไม่เห็นสัญญา.. ย่อมไม่เห็นสังขาร...ย่อมไม่เห็นวิญญาณโดยความเป็นตน..

7.ว่าด้วยคุณโทษและอุบายสลัดออกแห่งอุปาทานขันธ์
อะไรหนอ เป็นคุณ เป็นโทษ เป็นเครื่องสลัดออก แห่งรูป แห่งเวทนา แห่งสัญญา แห่งสังขาร แห่งวิญญาณ? ดูกรภิกษุ สุขโสมนัส อาศัยรูปเกิดขึ้น นี้เป็นคุณแห่งรูป รูปไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษแห่งรูป การกำจัดฉันทราคะ การละฉันทราคะ ในรูปเสียได้ นี้เป็นเครื่องสลัดออกแห่งรูป (แห่งเวทนา แห่งสัญญา แห่งสังขาร แห่งวิญญาณ)

8.ว่าด้วยการไม่มีอหังการมมังการ และมานานุสัย
เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่อย่างไร จึงจะไม่มีอหังการ มมังการ และมานานุสัย ในกายที่มี วิญญาณนี้ และใน สรรพนิมิตภายนอก?
ดูกรภิกษุ รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นภายในก็ดี ภายนอกก็ดี หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี เลวก็ดี ประณีตก็ดี มีในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดีอริยสาวก ย่อมพิจารณาเห็นรูป ทั้งหมดนั้น ด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา. (แห่งเวทนา แห่งสัญญา แห่งสังขาร แห่งวิญญาณ)

9.ว่าด้วยกรรมที่อนัตตากระทำ จะถูกต้องอัตตา
ภิกษุรูปหนึ่ง ได้เกิดความปริวิตกแห่งใจขึ้นว่า รูปเป็นอนัตตา เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นอนัตตา กรรมที่อนัตตากระทำ จักถูกต้องอัตตาคือกรรมได้อย่างไร?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นอนัตตา เวทนา ... เป็นอนัตตา กรรมที่อนัตตา กระทำ จักถูกต้องอัตตา คือกรรม ได้อย่างไร? นี้เป็นฐานะที่จะมีได้

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอ ที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา? ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 


 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๙๑-๑๐๒

ปุณณมสูตร
๑) ว่าด้วยอุปาทานขันธ์ ๕

            [๑๘๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ มิคารมาตุปราสาท ในพระวิหารบุพพาราม ใกล้พระนครสาวัตถี พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์เป็นอันมาก. ก็ในสมัยนั้นแล ในคืนวันอุโบสถขึ้น ๑๕ ค่ำ เป็นวันเพ็ญ มีพระจันทร์เต็มดวง พระผู้มีพระภาค อันภิกษุสงฆ์ห้อมล้อมแล้ว ประทับนั่งอยู่ในที่แจ้ง

            [๑๘๓] ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งลุกจากอาสนะ ทำผ้าอุตตราสงฆ์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง แล้วประนมมือไปทางพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ข้าพระองค์จะพึงทูลถามเหตุประการหนึ่ง กะพระผู้มีพระภาค ถ้าพระผู้มีพระภาค ทรงประทานโอกาสที่จะพยากรณ์ปัญหา แก่ข้าพระองค์.

            พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรภิกษุ ถ้าเช่นนั้นเธอจงนั่ง ณ อาสนะของตน แล้ว ถามปัญหาที่เธอมุ่งจำนงเถิด ภิกษุนั้น รับพระดำรัสของ พระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ อาสนะของตน ทูลถามปัญหาพระผู้มีพระภาคว่า

            ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อุปาทานขันธ์ ๕ ได้แก่อุปาทานขันธ์คือรูป อุปาทานขันธ์ คือเวทนา อุปาทานขันธ์คือสัญญาอุปาทานขันธ์ คือสังขาร อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ เหล่านี้ ใช่ไหม พระเจ้าข้า?

            พ. ดูกรภิกษุ อุปาทานขันธ์ ๕ ได้แก่อุปาทานขันธ์ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เหล่านี้แหละภิกษุ

๒) ว่าด้วยมูลแห่งอุปาทานขันธ์ ๕

            [๑๘๔] ภิกษุนั้น ชื่นชมอนุโมทนาภาษิต ของพระผู้มีพระภาคว่า ดีแล้วพระเจ้า ข้า แล้วได้ทูลถามปัญหาที่ยิ่งขึ้นไปว่า อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้แล มีอะไรเป็นมูลเหตุ พระเจ้าข้า?

            พ. ดูกรภิกษุ อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้แล มีฉันทะเป็นมูลเหตุ ฯลฯ

            ภิ. อุปาทานก็อันนั้น และอุปาทานขันธ์ ๕ ก็อันนั้น หรือว่าอุปาทานอื่นจาก อุปาทานขันธ์ ๕ พระเจ้าข้า?

            พ. ดูกรภิกษุ อุปาทานก็อันนั้น และอุปาทานขันธ์ ๕ ก็อันนั้น หามิได้ และ อุปาทานอื่น จากอุปาทานขันธ์ ๕ ก็หามิได้ แต่ฉันทราคะ ในอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านั้น เป็นตัวอุปาทาน ว่าด้วยฉันทราคะ ในอุปาทานขันธ์ ๕

            [๑๘๕] ภิกษุนั้น ชื่นชมอนุโมทนาภาษิต ของพระผู้มีพระภาคว่า ดีแล้วพระเจ้า ข้า แล้วได้ทูลถามปัญหาที่ยิ่งขึ้นไปว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ฉันทราคะในอุปาทาน ขันธ์ ๕ แตกต่างกันหรือ? พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ต่างกันภิกษุ ดังนี้แล้ว ได้ตรัส ต่อไปว่า

            ดูกรภิกษุ บุคคลบางคนในโลกนี้ มีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ในอนาคตกาล ขอเราพึงมีรูปเช่นนี้ พึงมีเวทนาเช่นนี้ พึงมีสัญญาเช่นนี้ พึงมีสังขารเช่นนี้ พึงมีวิญญาณ เช่นนี้.

            ดูกรภิกษุ ฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕ ต่างกันด้วยประการฉะนี้แล.

๓) ว่าด้วยเหตุที่เรียกว่าขันธ์

            [๑๘๖] ภิกษุนั้น ชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาคว่า ดีแล้วพระเจ้า ข้า แล้วได้ทูลถามปัญหา ที่ยิ่งขึ้นไปว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ ขันธ์ จึงชื่อว่าขันธ์?

            พ. ดูกรภิกษุ รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็น ภายใน ก็ดี ภายนอกก็ดี หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี เลวก็ดี ประณีตก็ดี มีในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ ก็ดี นี้เรียกว่ารูปขันธ์ เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ นี้เรียกว่าเวทนาขันธ์ สัญญาอย่างใด อย่างหนึ่ง ฯลฯ นี้เรียกว่าสัญญาขันธ์ สังขารอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ นี้เรียกว่าสังขารขันธ์ วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นภายในก็ดี ภายนอก ก็ดี หยาบก็ดีละเอียดก็ดี เลวก็ดี ประณีตก็ดี มีในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี นี้เรียกว่า วิญญาณขันธ์.

            ดูกรภิกษุ ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล ขันธ์จึงชื่อว่าขันธ์.

๔) ว่าด้วยเหตุปัจจัยแห่งขันธ์ ๕

            [๑๘๗] ภิกษุนั้น ชื่นชมอนุโมทนาภาษิต ของพระผู้มีพระภาคว่า ดีแล้วพระเจ้า ข้า แล้วได้ทูลถามปัญหาที่ยิ่งขึ้นไปว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุเป็น ปัจจัย ทำให้ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ ปรากฏ?

            พ. ดูกรภิกษุ
มหาภูตรูป ๔ แล เป็นเหตุเป็นปัจจัย ทำให้รูปขันธ์ปรากฏ.
ผัสสะ เป็นเหตุเป็นปัจจัย ทำให้เวทนาขันธ์ปรากฏ.
ผัสสะ เป็นเหตุเป็นปัจจัย ทำให้สัญญาขันธ์ปรากฏ.
ผัสสะ เป็นเหตุเป็นปัจจัย ทำให้สังขารขันธ์ปรากฏ.
นามรูป เป็นเหตุเป็นปัจจัย ทำให้วิญญาณขันธ์ปรากฏ.

๕) ว่าด้วยเหตุเกิดสักกายทิฏฐิ

            [๑๘๘] ภิกษุนั้น ชื่นชมอนุโมทนาภาษิต ของพระผู้มีพระภาคว่า ดีแล้วพระเจ้า ข้า แล้วได้ทูลถามปัญหาที่ยิ่งขึ้นไปว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สักกายทิฏฐิมีได้ อย่างใด หนอ?

            พ. ดูกรภิกษุ ปุถุชนในโลกนี้ ผู้ยังมิได้สดับ เป็นผู้ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้าไม่ฉลาด ในอริยธรรม ไม่ได้รับแนะนำในอริยธรรม เป็นผู้ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดใน สัปปุริสธรรม ไม่ได้รับแนะนำในสัปปุริสธรรม

ย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตน ย่อมเห็นตนมีรูป
ย่อมเห็นรูปในตน ย่อมเห็นตนในรูป

ย่อมเห็นเวทนา โดยความเป็นตน ย่อมเห็นตนมีเวทนา
ย่อมเห็นเวทนาในตน ย่อมเห็นตนในเวทนา

ย่อมเห็นสัญญา โดยความเป็นตน ย่อมเห็นตนมีสัญญา
ย่อมเห็นสัญญาในตน ย่อมเห็นตนในสัญญา

ย่อมเห็นสังขาร โดยความเป็นตน ย่อมเห็นตนมีสังขาร
ย่อมเห็นสังขารในตน ย่อมเห็นตนในสังขาร

ย่อมเห็นวิญญาณ โดยความเป็นตน ย่อมเห็นตนมีวิญญาณ
ย่อมเห็นวิญญาณในตน ย่อมเห็นตนในวิญญาณ.

            ดูกรภิกษุ สักกายทิฏฐิมีได้ด้วยอาการเช่นนี้แล.

๖) ว่าด้วยเหตุจะไม่มีสักกายทิฏฐิ

            [๑๘๙] ภิกษุนั้น ชื่นชมอนุโมทนาภาษิต ของพระผู้มีพระภาคว่า ดีแล้วพระเจ้า ข้า แล้วได้ทูลถามปัญหาที่ยิ่งขึ้นไปว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สักกายทิฏฐิย่อมไม่มี ได้อย่างไร?

            พ. ดูกรภิกษุ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ผู้ได้สดับแล้ว เป็นผู้ได้เห็นพระอริยเจ้า ฉลาดในอริยธรรม ได้รับแนะนำแล้วเป็นอย่างดี ในอริยธรรม เป็นผู้ได้เห็นสัตบุรุษ ฉลาดในสัปปุริสธรรม ได้รับแนะนำแล้วเป็นอย่างดี ในสัปปุริสธรรม

-ย่อมไม่เห็นรูป โดยความเป็นตน ไม่เห็นตนมีรูป
ไม่เห็นรูปในตน หรือไม่เห็นตนในรูป

-ย่อมไม่เห็นเวทนา โดยความเป็นตน ไม่เห็นตนมีเวทนา
ไม่เห็นเวทนาในตน หรือไม่เห็นตนในเวทนา

-ย่อมไม่เห็นสัญญา โดยความเป็นตน ไม่เห็นตนมีสัญญา
ไม่เห็นสัญญาในตน หรือไม่เห็นตนในสัญญา

-ย่อมไม่เห็นสังขาร โดยความเป็นตน ไม่เห็นตนมีสังขาร
ไม่เห็นสังขารมีในตน หรือไม่เห็นตนในสังขาร

-ย่อมไม่เห็นวิญญาณ โดยความเป็นตน ไม่เห็นตนมีวิญญาณ
ไม่เห็นวิญญาณในตน หรือไม่เห็นตนในวิญญาณ.

            ดูกรภิกษุ สักกายทิฏฐิ ย่อมไม่มีด้วยอาการเช่นนี้แล.

๗) ว่าด้วยคุณโทษและอุบายสลัดออกแห่งอุปาทานขันธ์

            [๑๙๐] ภิกษุนั้น ชื่นชมอนุโมทนาภาษิต ของพระผู้มีพระภาคว่า ดีแล้วพระเจ้าข้า แล้วได้ทูลถามปัญหาที่ยิ่งขึ้นไปว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นคุณ เป็นโทษ เป็นเครื่องสลัดออก แห่งรูป แห่งเวทนา แห่งสัญญา แห่งสังขาร แห่งวิญญาณ?

            พ. ดูกรภิกษุ สุขโสมนัส อาศัยรูปเกิดขึ้น นี้เป็นคุณแห่งรูป รูปไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษแห่งรูป การกำจัดฉันทราคะ การละฉันทราคะ ในรูปเสียได้ นี้เป็นเครื่องสลัดออกแห่งรูป สุขโสมนัส อาศัยเวทนาเกิดขึ้น ฯลฯ อาศัยสัญญาเกิดขึ้น ฯลฯ อาศัยสังขารเกิดขึ้น อาศัยวิญญาณเกิดขึ้น นี้เป็นคุณแห่ง วิญญาณ วิญญาณไม่เที่ยงเป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษแห่ง วิญญาณ.

            การกำจัดฉันทราคะ การละฉันทราคะ ในวิญญาณเสียได้ นี้เป็นเครื่องสลัดออก แห่ง วิญญาณ.

๘) ว่าด้วยการไม่มีอหังการมมังการ และมานานุสัย

            [๑๙๑] ภิกษุนั้น ชื่นชมอนุโมทนาภาษิต ของพระผู้มีพระภาคว่า ดีแล้วพระเจ้า ข้า แล้วได้ทูลถามปัญหา ที่ยิ่งขึ้นไปอีกว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่อย่างไรจึงจะไม่มีอหังการ มมังการ และมานานุสัย ในกายที่มีวิญญาณนี้ และใน สรรพนิมิตภายนอก?

            พ. ดูกรภิกษุ รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นภายในก็ดี ภายนอกก็ดี หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี เลวก็ดี ประณีตก็ดี มีในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดีอริยสาวก ย่อมพิจารณาเห็นรูปทั้งหมดนั้น ด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา.

            เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง สังขารอย่างใดอย่างหนึ่ง วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นภายในก็ดี ภายนอก ก็ดี หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี เลวก็ดี ประณีตก็ดี มีในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี อริยสาวกย่อม พิจารณา เห็นวิญญาณทั้งหมดนั้น ด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา.

            ดูกรภิกษุ เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล จึงจะไม่มีอหังการ มมังการ และมานานุสัย ในกายที่มีวิญญาณนี้ และสรรพนิมิตภายนอก.

๙) ว่าด้วยกรรมที่อนัตตากระทำ จะถูกต้องอัตตา

            [๑๙๒] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง ได้เกิดความปริวิตกแห่งใจขึ้นว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ได้ยินว่า ด้วยประการดังนี้แล รูปเป็นอนัตตา เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นอนัตตา กรรมที่อนัตตากระทำ จักถูกต้อง อัตตาคือกรรม ได้อย่างไร? *ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบความปริวิตก แห่งใจของภิกษุนั้น ด้วยพระทัยแล้ว ได้ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
* (ภิกษุเข้าใจว่า รูป เวทนา... เป็นอนัตตา คือความไม่มีตัวตน เมื่อถูกกระทำโดยสิ่งที่ไม่มีตัวตน แล้ว จะถือว่ามีอัตตาคือตัวตน หรือมีกรรมได้อย่างไร)

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่โมฆบุรุษบางคน ในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ตกอยู่ในอำนาจ อวิชชา มีใจถูกตัณหาครอบงำ จะพึงสำคัญสัตถุศาสน์ ว่าเป็นคำสอนที่ควรคิด ให้ตระหนัก ว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลายได้ยินว่า ด้วยประการดังนี้แล รูปเป็นอนัตตา เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นอนัตตา กรรมที่อนัตตากระทำ จักถูกต้องอัตตาคือกรรม ได้อย่างไร? นี้เป็นฐานะที่จะมีได้
(นี้เป็นฐานะที่จะมีได้ นัยยะนี้ก็คือ มีได้ในความเข้าใจของปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ส่วนผู้ได้สดับ จะเห็นสิ่งนั้นว่า...นั่นเป็นตัวตนของเรา)

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย อันเราได้แนะนำไว้แล้ว ด้วยการทวนถาม ในธรรมนั้นๆ ในบาลีประเทศนั้นๆ จะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง? ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ไม่เที่ยงพระเจ้าข้า.

            พ. เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง?
            ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

            พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
            ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

            พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอ ที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา?
            ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

            พ. เพราะเหตุนั้นแล ฯลฯ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ ย่อมทราบชัดว่า ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฉะนี้แล.

 





หนังสือพุทธวจน ธรรมะของพระศาสดา
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์