เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

เทวทัต ถูกลาภสักการะ และชื่อเสียงครอบงำ ย่ำยีจิตแล้ว จึงทำลายสงฆ์ 1987
 

เรื่องลาภ สักการะ ชื่อเสียง (พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๖)

๑. ภินทิสูตร
เทวทัต ถูกลาภสักการะ และชื่อเสียงครอบงำ ย่ำยีจิตแล้ว จึงทำลายสงฆ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและชื่อเสียง ทารุณ ฯลฯ อย่างนี้แล เธอทั้งหลาย พึงศึกษาอย่างนี้แหละ

๒. มูลสูตร
กุศลมูลของเทวทัต ผู้ถูกลาภสักการะ และชื่อเสียงครอบงำ ย่ำยีจิตถึงความขาดสูญแล้ว

๓. ธรรมสูตร ที่ ๑
กุศลธรรมของเทวทัต ผู้ถูกลาภสักการะ และชื่อเสียงครอบงำ ย่ำยีจิตถึงความขาดสูญแล้ว

๔. ธรรมสูตร ที่ ๒
สุกกธรรมของเทวทัต ผู้ถูกลาภสักการะ และชื่อเสียง ครอบงำ ย่ำยีจิตถึงความขาดสูญแล้ว

๕. ปักกันตสูตร
ลาภสักการะและชื่อเสียง เกิดแก่เทวทัต เพื่อฆ่าตนเอง เพื่อความเสื่อม
    เปรียบเหมือนต้นกล้วยเผล็ดผล เพื่อฆ่าตนเอง
    เปรียบเหมือนไม้ไผ่ออกขุย เพื่อฆ่าตนเอง
    เปรียบเหมือนไม้อ้อออกดอก เพื่อฆ่าตนเอง
    เปรียบเหมือน แม่ม้าอัสดรตั้งครรภ์ เพื่อฆ่าตนเอง

๖. รถสูตร
อย่ายินดีลาภ สักการะ และชื่อเสียงของเทวทัตเลย เพราะพระเจ้าอชาตศัตรูราชกุมาร จักเสด็จ ไปบำรุงเทวทัต ทั้งเวลาเย็นเวลาเช้า ด้วยรถประมาณ ๕๐๐ คัน และจักรับสั่งให้นำ ภัตตาหาร สำหรับบูชาไปพระราชทาน ๕๐๐ หม้อ

๗. มาตุสูตร
เรากำหนดใจด้วยใจแล้ว ย่อมรู้บุคคลบางคนในโลกนี้ อย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุมารดา ท่านผู้นี้ก็ไม่จงใจพูดมุสา แต่สมัยต่อมา เราเห็นเขาถูก ลาภสักการะและชื่อเสียงครอบงำ ย่ำยีจิตแล้ว ก็กล่าวมุสาทั้งที่รู้ได้

๘. ปิตุสูตร
เรากำหนดใจด้วยใจแล้ว ย่อมรู้บุคคลบางคนในโลกนี้ อย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุบิดา...

๙. ภาตุสูตร
เรากำหนดใจด้วยใจแล้ว ย่อมรู้บุคคลบางคนในโลกนี้ อย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุพี่ชาย น้องชาย

๑๐. ภคินิสูตร
เรากำหนดใจด้วยใจแล้ว ย่อมรู้บุคคลบางคนในโลกนี้ อย่างนี้ว่าแม้เพราะเหตุพี่สาว น้องสาว

๑๑. ปุตตสูตร
เรากำหนดใจด้วยใจแล้ว ย่อมรู้บุคคลบางคนในโลกนี้ อย่างนี้ว่าแม้เพราะเหตุ แห่งบุตร

๑๒. ธีตุสูตร
เรากำหนดใจด้วยใจแล้ว ย่อมรู้บุคคลบางคนในโลกนี้ อย่างนี้ว่าแม้เพราะเหตุ แห่งธิดา

๑๓. ปชาปติสูตร
รากำหนดใจด้วยใจแล้ว ย่อมรู้บุคคลบางคนในโลกนี้ อย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุแห่ง ภรรยา ท่านผู้นี้ ก็ไม่จงใจพูดมุสา แต่สมัยต่อมา เราเห็นเขาถูกลาภสักการะ และชื่อเสียง ครอบงำย่ำยีจิตแล้ว ก็กล่าวมุสาทั้งที่รู้ได้


เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 


 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๖๗-๒๗๓

๑. ภินทิสูตร

          [๕๘๒] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก เศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค ... ได้ตรัสว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและชื่อเสียง ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย เป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรม อันเกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวทัตถูกลาภสักการะ และชื่อเสียงครอบงำ ย่ำยีจิตแล้ว จึงทำลายสงฆ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและชื่อเสียง ทารุณ ฯลฯ อย่างนี้แล เธอทั้งหลาย พึงศึกษาอย่างนี้แหละ

--------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๖๐- ๒๖๖

๒. มูลสูตร

          [๕๘๓] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก เศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค ... ได้ตรัสว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและชื่อเสียง ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย เป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรม อันเกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย กุศลมูลของเทวทัต ผู้ถูกลาภสักการะ และชื่อเสียงครอบงำ ย่ำยีจิตถึงความขาดสูญแล้ว ลาภสักการะและชื่อเสียง ทารุณ ฯลฯ อย่างนี้แล เธอทั้งหลาย พึงศึกษาอย่างนี้แหละ

--------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๖๐- ๒๖๖

๓. ธรรมสูตรที่ ๑

          [๕๘๔] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก เศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค ... ได้ตรัสว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะ และชื่อเสียง ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย เป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรม อันเกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย กุศลธรรมของเทวทัต ผู้ถูกลาภสักการะ และชื่อเสียงครอบงำ ย่ำยีจิตถึงความขาดสูญแล้ว ลาภสักการะและชื่อเสียง ทารุณ ฯลฯ อย่างนี้แล เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ

--------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๖๐- ๒๖๖

๔. ธรรมสูตรที่ ๒

          [๕๘๕] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก เศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค ... ได้ตรัสว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและชื่อเสียง ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย เป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรม อันเกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย สุกกธรรมของเทวทัต ผู้ถูกลาภสักการะ และชื่อเสียง ครอบงำ ย่ำยีจิตถึงความขาดสูญแล้ว ลาภสักการะและชื่อเสียง ทารุณ ฯลฯ อย่างนี้แล เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ


--------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๖๐- ๒๖๖

๕. ปักกันตสูตร

          [๕๘๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ เขตพระนคร ราชคฤห์ เมื่อพระเทวทัต หลีกไปยังไม่นาน ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค ทรงปรารภ พระเทวทัต ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและชื่อเสียง เกิดแก่เทวทัต เพื่อฆ่าตนเอง เพื่อความเสื่อม

          [๕๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนต้นกล้วยเผล็ดผล เพื่อฆ่าตนเอง เพื่อความเสื่อม ฉันใด ลาภสักการะและชื่อเสียงเกิดแก่เทวทัต เพื่อฆ่าตนเอง เพื่อความเสื่อม ฉันนั้นเหมือนกัน

          [๕๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนไม้ไผ่ออกขุย เพื่อฆ่าตนเอง เพื่อความเสื่อม ฉันใด ลาภสักการะและชื่อเสียงเกิดแก่เทวทัต เพื่อฆ่าตนเอง เพื่อความเสื่อม ฉันนั้นเหมือนกัน

          [๕๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนไม้อ้อออกดอก เพื่อฆ่าตนเอง เพื่อความเสื่อม ฉันใด ลาภสักการะและชื่อเสียงเกิดแก่เทวทัต เพื่อฆ่าตนเอง เพื่อความเสื่อม ฉันนั้นเหมือนกัน

          [๕๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือน แม่ม้าอัสดรตั้งครรภ์ เพื่อฆ่าตนเอง เพื่อความเสื่อม ฉันใด ลาภสักการะและชื่อเสียงเกิด แก่เทวทัตเพื่อฆ่าตนเอง เพื่อความเสื่อม ฉันนั้นเหมือนกัน

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและชื่อเสียง ทารุณ ฯลฯ อย่างนี้แล เธอทั้งหลาย พึงศึกษาอย่างนี้แหละ

          [๕๙๑] พระผู้มีพระภาค ผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคำเป็นคาถาประพันธ์ ต่อไปอีกว่า ผลกล้วยฆ่าต้นกล้วย ขุยฆ่าไม้ไผ่ ดอกฆ่าไม้อ้อ ลูกฆ่า แม่ม้าอัสดร ฉันใด สักการะก็ฆ่าคนชั่ว ฉันนั้น

--------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๖๐- ๒๖๖

๖. รถสูตร

          [๕๙๒] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน เขตพระนคร ราชคฤห์ สมัยนั้น พระเจ้าอชาตศัตรูราชกุมาร เสด็จไปบำรุงพระเทวทัต ทั้งเวลาเย็นเวลาเช้า ด้วยรถประมาณ ๕๐๐ คัน และรับสั่งให้นำภัตตาหาร สำหรับบูชา ไปพระราชทาน ๕๐๐ หม้อ ครั้งนั้น ภิกษุหลายรูปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ครั้นเข้า ไปเฝ้าแล้ว ถวายบังคมแล้วนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นภิกษุเหล่านั้นนั่งเรียบร้อย แล้ว ได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระเจ้าอชาตศัตรูราชกุมารจักเสด็จไปบำรุง พระเทวทัต ทั้งเวลาเย็นเวลาเช้า ด้วยรถประมาณ ๕๐๐ คัน และจักรับสั่งให้นำภัตตาหาร สำหรับบูชาไปพระราชทาน ๕๐๐หม้อ พระเจ้าข้า

          [๕๙๓] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย อย่ายินดีลาภ สักการะ และชื่อเสียงของเทวทัตเลย เพราะพระเจ้าอชาตศัตรูราชกุมาร จักเสด็จไป บำรุง เทวทัต ทั้งเวลาเย็นเวลาเช้า ด้วยรถประมาณ ๕๐๐ คัน และจักรับสั่งให้นำ ภัตตาหาร สำหรับบูชาไปพระราชทาน ๕๐๐ หม้อเพียงใด เทวทัตก็พึงหวังความเสื่อม ในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่พึงหวังความเจริญ เพียงนั้น

          [๕๙๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนสุนัขดุที่เขาขยี้ดี [ดีหมีดีปลา]ใส่ในจมูก เมื่อเป็นเช่นนี้ มันก็ยิ่งดุร้ายกว่าเดิมหลายเท่า โดยแท้ ฉันใด พระเจ้าอชาตศัตรูราชกุมาร จักเสด็จไปบำรุงเทวทัต ทั้งเวลาเย็นเวลาเช้า ด้วยรถประมาณ๕๐๐ คัน และจักรับสั่ง ให้นำ ภัตตาหารสำหรับบูชาไปพระราชทาน ๕๐๐ หม้อเพียงใด เทวทัตก็พึงหวังความ เสื่อมในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่พึงหวังความเจริญเพียงนั้น ฉันนั้นเหมือนกัน ลาภสักการะ และ ชื่อเสียง ทารุณ ฯลฯ อย่างนี้แลเธอทั้งหลาย พึงศึกษาอย่างนี้แหละ


--------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๖๐- ๒๖๖

๗. มาตุสูตร

          [๕๙๕] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก เศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค ... ได้ตรัสว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและชื่อเสียง ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย เป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรม อันเกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า

          [๕๙๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากำหนดใจด้วยใจแล้ว ย่อมรู้บุคคลบางคนในโลกนี้ อย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุมารดา ท่านผู้นี้ก็ไม่จงใจพูดมุสา แต่สมัยต่อมา เราเห็นเขาถูก ลาภสักการะและชื่อเสียงครอบงำ ย่ำยีจิตแล้ว ก็กล่าวมุสาทั้งที่รู้ได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและชื่อเสียง ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย เป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรม อันเกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า

          ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราทั้งหลาย จักละลาภสักการะ และชื่อเสียงที่เกิดขึ้นแล้วเสีย และลาภสักการะ และชื่อเสียงที่ยัง ไม่เกิดขึ้น ก็จักไม่ครอบงำจิตของพวกเราตั้งอยู่ไม่ได้ ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอ พึงศึกษาอย่างนี้แหละ

--------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๖๐- ๒๖๖

๘. ปิตุสูตร

          [๕๙๗] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก เศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค ... ได้ตรัสว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและชื่อเสียง ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย เป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรม อันเกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า

          [๕๙๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากำหนดใจด้วยใจแล้ว ย่อมรู้บุคคลบางคนในโลกนี้ อย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุบิดา ...


--------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๖๐- ๒๖๖

๙. ภาตุสูตร

... เรากำหนดใจด้วยใจแล้ว ย่อมรู้บุคคลบางคนในโลกนี้ อย่างนี้ว่าแม้เพราะเหตุพี่ชาย น้องชาย ... ฯ

๑๐. ภคินิสูตร

... เรากำหนดใจด้วยใจแล้ว ย่อมรู้บุคคลบางคนในโลกนี้ อย่างนี้ว่าแม้เพราะเหตุพี่สาว น้องสาว ... ฯ

๑๑. ปุตตสูตร

... เรากำหนดใจด้วยใจแล้ว ย่อมรู้บุคคลบางคนในโลกนี้ อย่างนี้ว่าแม้เพราะเหตุ แห่งบุตร ... ฯ

๑๒. ธีตุสูตร

... เรากำหนดใจด้วยใจแล้ว ย่อมรู้บุคคลบางคนในโลกนี้ อย่างนี้ว่าแม้เพราะเหตุ แห่งธิดา ... ฯ

--------------------------------------------------------------------------------------------------

๑๓. ปชาปติสูตร

... เรากำหนดใจด้วยใจแล้ว ย่อมรู้บุคคลบางคนในโลกนี้ อย่างนี้ว่าแม้เพราะเหตุแห่ง ภรรยา ท่านผู้นี้ก็ไม่จงใจพูดมุสา แต่สมัยต่อมา เราเห็นเขาถูกลาภสักการะ และชื่อเสียง ครอบงำย่ำยีจิตแล้ว ก็กล่าวมุสาทั้งที่รู้ได้

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและชื่อเสียง ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย เป็นอันตราย แก่การบรรลุธรรม อันเกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่าอย่างนี้ เพราะเหตุนั้นแล

          ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย พึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราทั้งหลายจักละลาภสักการะ และชื่อเสียงที่เกิดขึ้นแล้วเสีย และลาภสักการะและชื่อเสีย งที่บังเกิดขึ้นแล้ว จักย่ำยี จิตของเราทั้งหลายตั้งอยู่ไม่ได้ เธอทั้งหลาย พึงศึกษาอย่างนี้แหละ

 





หนังสือพุทธวจน ธรรมะของพระศาสดา
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์