เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

ลาภสักการสังยุตต์ ลาภ สักการะและชื่อเสียง ทารุณเผ็ดร้อนหยาบคาย เป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรม 1986
 


เรื่องลาภ สักการะ ชื่อเสียง (พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๖)

๑. มาตุคามสูตร
มาตุคามคนเดียวไม่อาจย่ำยีจิต ของภิกษุรูปหนึ่งได้ แต่ลาภสักการะและชื่อเสียง อาจย่ำยีจิตได้

๒. ชนปทกัลยาณีสูตร
นางงามคนเดียวย่อมไม่อาจย่ำยีจิตของภิกษุรูปหนึ่งได้ แต่ลาภสักการะและชื่อเสียง อาจย่ำยีได้

๓. ปุตตสูตร
พระเสขะ ผู้ยังไม่บรรลุอรหัตผล ถูกลาภสักการะแลชื่อเสียงครอบงำ ถ้าลาภสักการะแลชื่อเสียง ครอบงำภิกษุผู้เป็นพระเสขะ ไม่บรรลุอรหัตผลไซร้ ก็ย่อมเป็นอันตรายแก่เธอ

๔. เอกธีตุสูตร
ถ้าลาภสักการะ และชื่อเสียง ย่อมครอบงำภิกษุณี ผู้เป็นพระเสขะ ยังไม่บรรลุอรหัตผล ไซร้ ก็ย่อม เป็นอันตรายแก่เธอ

๕. สมณพราหมณสูตร ที่ ๑
สมณะหรือพราหมณ์ บางพวกไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งความยินดี โทษ และอุบายเครื่อง สลัดออก แห่งลาภสักการะ และชื่อเสียง

๖. สมณพราหมณสูตร ที่ ๒
สมณะหรือพราหมณ์บางพวก ไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งเหตุเกิด เหตุดับ ความยินดี โทษ และอุบาย เครื่องสลัดออก แห่งลาภสักการะ และชื่อเสียง

๗. สมณพราหมณสูตร ที่ ๓
สมณะหรือพราหมณ์ บางพวกย่อมไม่ทราบชัดซึ่งลาภสักการะฯ เหตุเกิด ความดับ และปฏิปทา เครื่องให้ถึงความดับ แห่งลาภสักการะ

๘. ฉวิสูตร
ลาภสักการะฯ ย่อมตัดผิว แล้วตัดหนัง แล้วตัดเนื้อ แล้วตัดเอ็น แล้วตัดกระดูก แล้วตั้งอยู่ จดถึงเยื่อ ในกระดูก

๙. รัชชุสูตร
ลาภสักการะ เปรียบเหมือนบุรุษเอาเชือกหางสัตว์ อย่างเหนียว พันแข้ง แล้วสีไปสีมา เชือกนั้นพึง บาดผิว แล้วบาดหนัง แล้วบาดเนื้อ แล้วตัดเอ็น ตัดกระดูก แล้วตั้งอยู่ จดถึงเยื่อในกระดูก

๑๐. ภิกขุสูตร
ลาภสักการะฯ ว่าเป็นอันตรายแก่เจโตวิมุติ อันไม่กำเริบของภิกษุขีณาสพ นั้น ไม่ใช่ฐานะ

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 


 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๖๐- ๒๖๖

ตติยวรรคที่ ๓
๑. มาตุคามสูตร

           [๕๖๕] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก เศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค ... ได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภ สักการะและชื่อเสียง ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคายเป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรม อันเกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า

           [๕๖๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย มาตุคามคนเดียวย่อมไม่อาจย่ำยีจิต ของภิกษุรูปหนึ่ง ได้ แต่ลาภสักการะและชื่อเสียง ย่อมอาจย่ำยีจิตได้ ฯลฯ

           ดูกรภิกษุทั้งหลายลาภ สักการะและชื่อเสียงทารุณ ฯลฯ อย่างนี้แล เธอทั้งหลาย พึงศึกษาอย่างนี้แหละ

----------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๖๐- ๒๖๖

๒. ชนปทกัลยาณีสูตร

           [๕๖๗] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก เศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค ... ได้ตรัสว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและชื่อเสียง ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย เป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรม อันเกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า ฯ

           [๕๖๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย นางงามประจำชนบทคนเดียว ย่อมไม่อาจย่ำยี จิตของ ภิกษุรูปหนึ่งได้ แต่ลาภสักการะ และชื่อเสียง ย่อมอาจย่ำยีได้ ฯลฯ

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและชื่อเสียง ฯลฯ ทารุณอย่างนี้แล เธอทั้งหลาย พึงศึกษาอย่างนี้แหละ


----------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๖๐- ๒๖๖

๓. ปุตตสูตร

           [๕๖๙] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถ บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค ... ได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภ สักการะและชื่อเสียง ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย เป็นอันตราย แก่การบรรลุธรรม อันเกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า

           [๕๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุบาสิกาผู้มีศรัทธาเมื่อวิงวอนบุตรคนเดียว ซึ่งเป็น ที่รัก เป็นที่โปรดปราน โดยชอบ พึงวิงวอนอย่างนี้ว่า ขอพ่อจงเป็นเช่นจิตตคฤหบดี แลหัตถกอาฬวกอุบาสกเถิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาอุบาสกผู้เป็นสาวกของเรา จิตตคฤหบดี และหัตถกอาฬวกอุบาสก เป็นดุลเป็นประมาณเช่นนี้ ถ้าพ่อออกบวช ก็ขอจงเป็นเช่นพระสารีบุตร และพระมหาโมคคัลลานะเถิด

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุ ผู้เป็นสาวกของเรา สารีบุตรและโมคคัลลานะ เป็นดุล เป็นประมาณเช่นนี้ ขอพ่อจงอย่าเป็นเช่นพระเสขะ ผู้ยังไม่บรรลุอรหัตผล ถูกลาภสักการะแลชื่อเสียงครอบงำ ถ้าลาภสักการะแลชื่อเสียง ครอบงำภิกษุผู้เป็นพระ เสขะ ไม่บรรลุอรหัตผลไซร้ ก็ย่อมเป็นอันตรายแก่เธอ ลาภสักการะแลชื่อเสียง ทารุณ ฯลฯ อย่างนี้แล เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ

----------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๖๐- ๒๖๖

๔. เอกธีตุสูตร

           [๕๗๑] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก เศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค ... ได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภ สักการะแลชื่อเสียง ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย เป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรม อันเกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า

           [๕๗๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุบาสิกาผู้มีศรัทธา เมื่อวิงวอนธิดาคนเดียว ผู้เป็น ที่รัก เป็นที่โปรดปราน โดยชอบ พึงวิงวอนอย่างนี้ว่า ขอแม่จงเป็นเช่นนางขุชชุตตรา อุบาสิกา และนางนันทามารดา ของนางเวฬุกัณฑกีเถิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาอุบาสิกา ผู้เป็นสาวิกาของเรา ขุชชุตตราอุบาสิกา และนางนันทามารดาของ นางเวฬุกัณฑกี เป็นดุลเป็นประมาณเช่นนี้ ถ้าแม่ออกบวชก็ ขอจงเป็นเช่นพระเขมา ภิกษุณี และอุบลวรรณาภิกษุณีเถิด

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุณีผู้เป็นสาวิกาของเรา เขมาภิกษุณี และ อุบลวรรณา ภิกษุณี เป็นดุลเป็นประมาณเช่นนี้ ขอแม่จงอย่าเป็นเช่นพระเสขะ ผู้ยัง ไม่บรรลุ อรหัตผล ถูกลาภสักการะและชื่อเสียงครอบงำ ถ้าลาภสักการะ และชื่อเสียง ย่อมครอบงำ ภิกษุณีผู้เป็นพระเสขะ ยังไม่บรรลุอรหัตผลไซร้ ก็ย่อมเป็นอันตรายแก่เธอ ลาภสักการะและชื่อเสียงทารุณ ฯลฯ อย่างนี้แล เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ

----------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๖๐- ๒๖๖

๕. สมณพราหมณสูตรที่ ๑

           [๕๗๓] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก เศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค ... ได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและชื่อเสียง ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคายเป็นอันตราย แก่การบรรลุธรรม อันเกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์ บางพวกไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งความยินดี โทษ และอุบายเครื่องสลัดออก แห่งลาภสักการะ และชื่อเสียง บางพวก ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งความยินดี โทษ และอุบายเครื่องสลัดออก แห่งลาภ สักการะและชื่อเสียง ย่อมกระทำให้แจ้งด้วยปัญญา อันรู้ยิ่งเอง แล้วเข้าถึงอยู่

----------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๖๐- ๒๖๖

๖. สมณพราหมณสูตรที่ ๒

           [๕๗๔] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก เศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค ... ได้ตรัสว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและชื่อเสียง ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย เป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรม อันเกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางพวก ย่อมไม่ทราบชัดตามความ เป็นจริง ซึ่งเหตุเกิด เหตุดับ ความยินดี โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่ง ลาภ สักการะ และชื่อเสียง ฯ

           [๕๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางพวก ย่อมทราบชัดตาม ความเป็นจริง ซึ่งเหตุเกิด เหตุดับ ความยินดี โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งลาภ สักการะและชื่อเสียง ย่อมกระทำให้แจ้งด้วยปัญญา อันรู้ยิ่งเอง แล้วเข้าถึงอยู่


----------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๖๐- ๒๖๖

๗. สมณพราหมณสูตรที่ ๓

           [๕๗๖] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถ บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค ... ได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและชื่อเสียง ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย เป็นอันตราย แก่การบรรลุธรรม อันเกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์ บางพวกย่อมไม่ทราบชัดซึ่งลาภ สักการะ และชื่อเสียงเหตุเกิดแห่ง ลาภสักการะและชื่อเสียง ความดับแห่งลาภสักการะ และชื่อเสียง และปฏิปทาเครื่องให้ถึงความดับ แห่งลาภสักการ ะและชื่อเสียง บางพวก ย่อมทราบชัด ตามความเป็นจริง ซึ่งลาภสักการะและชื่อเสียง เหตุเกิดแห่งลาภสักการะ และชื่อเสียง ความดับแห่งลาภสักการะและชื่อเสียง และปฏิปทา เครื่องให้ถึงความดับ แห่งลาภสักการะ และชื่อเสียง ย่อมกระทำให้แจ้ง ด้วยปัญญาอันรู้ยิ่งเอง แล้วเข้าถึงอยู่


----------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๖๐- ๒๖๖

๘. ฉวิสูตร

           [๕๗๗] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก เศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค ... ได้ตรัสว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและชื่อเสียง ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย เป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรม อันเกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและชื่อเสียง ย่อมตัดผิว แล้วตัดหนัง แล้วตัดเนื้อ แล้วตัดเอ็น แล้วตัดกระดูก แล้วตั้งอยู่จดถึงเยื่อในกระดูก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะ และชื่อเสียง ทารุณ ฯลฯ อย่างนี้แล เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ ฯ


----------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๖๐- ๒๖๖

๙. รัชชุสูตร

           [๕๗๘] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถ บิณฑิก เศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค ... ได้ตรัสว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและชื่อเสียง ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย เป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรม อันเกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและ ชื่อเสียง ย่อมตัดผิว แล้วตัดหนัง แล้วตัดเนื้อแล้วตัดเอ็น แล้วตัดกระดูก แล้วตั้งอยู่จดถึง เยื่อในกระดูก

           [๕๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษแข็งแรง เอาเชือกหางสัตว์ อย่างเหนียว พันแข้ง แล้วสีไปสีมา เชือกนั้นพึงบาดผิว แล้วบาดหนังแล้วบาดเนื้อ แล้วตัดเอ็น แล้วตัดกระดูก แล้วตั้งอยู่จดถึงเยื่อในกระดูก ฉันใด ลาภสักการะ และ ชื่อเสียง ย่อมตัดผิว แล้วตัดหนัง แล้วตัดเนื้อ แล้วตัดเอ็นแล้วตัดกระดูก แล้วตั้งอยู่จด ถึงเยื่อในกระดูก ฉันนั้นเหมือนกัน

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและชื่อเสียง ทารุณอย่างนี้แล ฯลฯ เธอทั้งหลาย พึงศึกษาอย่างนี้แหละ

----------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๖๐- ๒๖๖

๑๐. ภิกขุสูตร

           [๕๘๐] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถ บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค ... ได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและชื่อเสียง ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย เป็นอันตราย แก่การบรรลุธรรม อันเกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมกล่าวถึงลาภสักการะ และชื่อเสียงว่า เป็นอันตราย แม้แก่ภิกษุผู้เป็นอรหันตขีณาสพ เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ ท่านพระอานนท์ จึงทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า เพราะเหตุไรเล่าพระเจ้าข้า ลาภสักการะและชื่อเสียง จึงเป็นอันตรายแก่ภิกษุขีณาสพ ฯ

           [๕๘๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ เรากล่าวถึงลาภสักการะและ ชื่อเสียง ว่าเป็นอันตราย แก่เจโตวิมุติอันไม่กำเริบของภิกษุขีณาสพนั้น หามิได้ แต่เรา กล่าวถึงลาภสักการะ และชื่อเสียง ว่าเป็นอันตรายแก่ธรรม เครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน อันภิกษุขีณาสพผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปแล้วอยู่นั้นบรรลุแล้ว กะเธอทั้งหลาย

           ดูกรอานนท์ ลาภสักการะและชื่อเสียง ทารุณเผ็ดร้อน หยาบคาย เป็นอันตราย แก่การบรรลุธรรม อันเกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่านี้ เพราะเหตุนั้นแล อานนท์ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราทั้งหลาย จักละลาภสักการะ และชื่อเสียง ที่เกิดขึ้นแล้วเสีย และลาภสักการะและชื่อเสียง ที่บังเกิดขึ้นแล้ว จักครอบงำจิตของเรา ทั้งหลา ยตั้งอยู่ไม่ได้ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ

 





หนังสือพุทธวจน ธรรมะของพระศาสดา
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์