เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

อานาปานสติ ๑๖ ขั้น (อานาปานัสสติสูตร ว่าด้วยวิธีเจริญอานาปานสติ) 1737
  (ย่อ)

กายานุปัสสนา
(1) เมื่อหายใจเข้ายาว - หายใจออกยาว ก็รู้ชัด
(2) เมื่อหายใจเข้าสั้น-หายใจออกสั้น ก็รู้ชัด
(3) เราเป็นผู้ รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจเข้า - หายใจออก
(4) เราเป็นผู้ ทำกายสังขารให้รำงับ หายใจเข้า - หายใจออก

เวทนานุปัสสนา
(5) เราเป็นผู้ รู้พร้อม เฉพาะซึ่งปีติ หายใจเข้า - หายใจออก
(6) เราเป็นผู้รู้ พร้อม เฉพาะซึ่งสุข หายใจเข้า - หายใจออก
(7) เราเป็นผู้ รู้พร้อม เฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจเข้า - หายใจออก
(8) เราเป็น ผู้ทำจิตตสังขารให้รำงับ หายใจเข้า - หายใจออก

จิตตานุปัสสนา
(9) เราเป็นผู้รู้พร้อม เฉพาะซึ่งจิต หายใจเข้า - หายใจออก
(10) เราเป็น ผู้ทำจิตให้ ปราโมทย์ยิ่ง หายใจเข้า - หายใจออก
(11) เราเป็น ผู้ทำจิตให้ ตั้งมั่น หายใจเข้า - หายใจออก
(12) เราเป็น ผู้ทำจิตให้ ปล่อยอยู่ หายใจเข้า - หายใจออก

ธัมมานุปัสสนา
(13) เราเป็น ผู้เห็นซึ่ง ความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า - หายใจออก
(14) เราเป็น ผู้เห็นซึ่ง ความจางคลายอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า - หายใจออก
(15) เราเป็น ผู้เห็นซึ่ง ความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ หายใจเข้า - หายใจออก
(16) เราเป็น ผู้เห็นซึ่ง ความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า - หายใจออก

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 


มหาวาร. สํ. ๑๙/๓๙๖-๓๙๗/๑๓๑๑-๑๓๑๓./ อานาปานสติ พุทธวจน หน้า 5

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก [ฉบับมหาจุฬาฯ] หน้าที่ ๑๘๓-๑๙๕
๘. อานาปานัสสติสูตร ว่าด้วยวิธีเจริญอานาปานสติ


อานาปานสติ ๑๖ ขั้น

          ภิกษุทั้งหลาย ! อานาปานสติ อันบุคคลเจริญ กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ ก็อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้ว อย่างไร จึงมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ ?

          ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนี้ ภิกษุไปแล้วสู่ป่า หรือ โคนไม้ หรือเรือนว่างก็ตาม นั่งคู้ขาเข้ามาโดยรอบ ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า

เธอนั้น มีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก

(กายานุปัสสนา)

(1) เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว
เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว

(2) เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น
เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น

(3) เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็นผู้ รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจเข้า
ว่า เราเป็นผู้รู้พร้อม เฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจออก

(4) เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็นผู้ ทำกายสังขารให้รำงับ หายใจเข้า
ว่า เราเป็นผู้ทำ กายสังขารให้รำงับ หายใจออก

(เวทนานุปัสสนา)

(5) เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็นผู้ รู้พร้อม เฉพาะซึ่งปีติ หายใจเข้า
ว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะ ซึ่งปีติ หายใจออก

(6) เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็นผู้รู้ พร้อม เฉพาะซึ่งสุข หายใจเข้า
ว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะ ซึ่งสุข หายใจออก

(7) เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็นผู้ รู้พร้อม เฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจเข้า
ว่า เราเป็นผู้รู้พร้อม เฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจออก

(8) เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็น ผู้ทำ จิตตสังขารให้รำงับ หายใจเข้า
ว่า เราเป็นผู้ทำ จิตตสังขารให้รำงับ หายใจออก

(จิตตานุปัสสนา)

(9) เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็นผู้รู้พร้อม เฉพาะซึ่งจิต หายใจเข้า
ว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะ ซึ่งจิต หายใจออก

(10) เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็น ผู้ทำจิตให้ ปราโมทย์ยิ่ง หายใจเข้า
ว่า เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่ง หายใจออก

(11) เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็น ผู้ทำจิตให้ ตั้งมั่น หายใจเข้า
ว่า เราเป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่น หายใจออก

(12) เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็น ผู้ทำจิตให้ ปล่อยอยู่ หายใจเข้า
ว่า เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่ หายใจออก

(ธัมมานุปัสสนา)

(13) เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็น ผู้เห็นซึ่ง ความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า
ว่า เราเป็น ผู้เห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ หายใจออก

(14) เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็น ผู้เห็นซึ่ง ความจางคลายอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า
ว่า เราเป็น ผู้เห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นปะจำ หายใจออก

(15) เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็น ผู้เห็นซึ่ง ความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ หายใจเข้
ว่า เราเป็น ผู้เห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ หายใจออก

(16) เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
เราเป็น ผู้เห็นซึ่ง ความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า
ว่า เราเป็น ผู้เห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ หายใจออก

          ภิกษุทั้งหลาย ! อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ย่อมมีผลใหญ่มีอานิสงส์ใหญ่
 





พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์