เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

ท้าวสหัมบดีพรหมปลดเปลื้องความเห็นผิดแก่นางพราหมณี (พรหมเทวสูตรที่ ๓) 1738
  (โดยย่อ)

ท้าวสหัมบดีพรหม (เทวดาพรหม)
หายตัวมาปรากฎต่อหน้านางพราหมณี มารดาของพรหมเทวะ ผู้สำเร็จอรหันต์แล้ว เพื่อปลดเปลื้อง ความเชื่อแบบผิดๆของนางพราหมณี ในการบูชาพรหมด้วยก้อนข้าวอยู่เป็นประจำ

ดูกรนางพราหมณี ท่านถือการบูชาด้วยก้อนข้าวแก่พรหมใด มั่นคงเป็นนิตย์ พรหมโลกของพรหมนั้น อยู่ไกลจากที่นี้ ดูกรนางพราหมณี ภักษาของพรหมไม่ใช่เช่นนี้ ท่านไม่รู้จักทางของพรหม ทำไม จึงบ่น (บริกรรม) ถึงพรหม (เทวดามีอาหารทิพย์ ไม่ได้กินอาหารเป็นคำๆ เหมือนมนุษย์)

ท้าวสหัมบดีพรหม แนะนำให้นางพราหมณี ให้ไปบูชาบิณฑบาตแก่พรหมเทวะ ผู้หมดกิเลส
เป็นผู้มีเสนามารไปปราศแล้ว เป็นอรหันต์ขีนาสพผูัมั่นคงแล้ว และกำลังแสวงหาอาหารอยู่

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 

 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๙๖-๑๙๘


ท้าวสหัมบดีพรหมปลดเปลื้องความเห็นผิดแก่นางพราหมณี
(พรหมเทวสูตรที่ ๓
)


             [๕๖๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามแห่งท่านอนาถบิณฑิก เศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี

             ก็สมัยนั้นแล บุตรแห่งนางพราหมณีคนหนึ่ง ชื่อพรหมเทวะ ออกบวช ใน สำนักของพระผู้มีพระภาค ครั้งนั้นแล ท่านพระพรหมเทวะ เป็นผู้เดียวหลีกออกแล้ว ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนอันส่งไปแล้ว อยู่ไม่นานเท่าไรก็ได้กระทำให้แจ้ง ประโยชน์ ที่กุลบุตรทั้งหลาย ผู้ออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องประสงค์ อันนั้น อย่างยอดเยี่ยม เป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์

             เพราะรู้แจ้งชัดเองใน ปรัตยุบัน(ปัจจุบัน) นี้แหละเข้าถึงอยู่ ท่านได้ทราบว่า ชาติ สิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่จะต้องทำ ได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความ เป็นอย่างนี้อีก มิได้มี ก็แหละท่านพรหมเทวะ ได้เป็น พระอรหันต์องค์หนึ่ง ในบรรดา พระอรหันต์แล้ว

             [๕๖๔] ครั้งนั้นแล ท่านพระพรหมเทวะ ในเวลารุ่งเช้านุ่งห่มแล้ว ถือ บาตรจีวร เข้าไปบิณฑบาตในพระนครสาวัตถี ท่านเที่ยวบิณฑบาตในพระนครสาวัตถี ตามลำดับ ตรอกเข้าไปยังนิเวศน์แห่งมารดาของตนแล้ว

             ก็สมัยนั้นแล นางพราหมณีผู้มารดาของท่านพระพรหมเทวะ ถือการบูชา บิณฑะแก่พรหม มั่นคงเป็นนิตย์

             ครั้งนั้นแล ท้าวสหัมบดีพรหม(เทวดาพรหม) คิดว่า นางพราหมณีผู้มารดา ของท่าน พระพรหมเทวะนี้แล ถือการบูชาบิณฑะ แก่พรหมมั่นคงเป็นนิตย์ ไฉนหนอ เราพึงเข้าไปหานาง แล้วทำให้สลดใจ

             [๕๖๕] ลำดับนั้น ท้าวสหัมบดีพรหม หายไปในพรหมโลกปรากฏแล้ว ในนิเวศน์ ของมารดา แห่งท่านพระพรหมเทวะ เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีกำลัง พึงเหยียดออก ซึ่งแขนที่คู้เข้าแล้ว หรือพึงคู้เข้าซึ่งแขนที่เหยียดออกแล้ว ฉะนั้น

             ครั้งนั้นแล ท้าวสหัมบดีพรหม ลอยอยู่ในอากาศ ได้กล่าวกะนางพราหมณี ผู้มารดาของท่านพระพรหมเทวะ ด้วยคาถาทั้งหลายว่า

            ดูกรนางพราหมณี ท่านถือการบูชาด้วยก้อนข้าวแก่พรหมใด มั่นคง เป็นนิตย์ พรหมโลกของพรหมนั้นอยู่ไกลจากที่นี้ ดูกรนางพราหมณี ภักษาของ พรหมไม่ใช่เช่นนี้ ท่านไม่รู้จักทางของพรหม ทำไมจึงบ่นถึงพรหม
(เทวดามีอาหารทิพย์ ไม่ได้กินอาหารเป็นคำๆ เหมือนมนุษย์)

             ดูกรนางพราหมณี ก็ท่านพระพรหมเทวะของท่านนั้น เป็นผู้หมดอุปธิ กิเลส ถึงความเป็นอติเทพ ไม่มีกิเลสเป็นเครื่องกังวล มีปรกติขอ ไม่เลี้ยงดูผู้อื่น ท่านพระพรหมเทวะ ที่เข้าสู่เรือนของท่านเพื่อบิณฑบาต เป็นผู้สมควรแก่บิณฑะ ที่บุคคลพึงนำมาบูชา ถึงเวท มีตนอันอบรมแล้ว สมควรแก่ทักษิณาทานของมนุษย์ และเทวดาทั้งหลาย ลอยบาปเสียแล้ว อันตัณหา และทิฐิไม่ฉาบทาแล้ว เป็นผู้ เยือกเย็น กำลังเที่ยวแสวงหาอาหารอยู่

             อดีต อนาคต ไม่มีแก่ท่านพระพรหมเทวะนั้น ท่านพระพรหมเทวะ เป็นผู้สงบ ระงับ ปราศจากควัน ไม่มีทุกข์ ไม่มีความหวัง วางอาชญาในปุถุชน ผู้ยังมี ความหวาดหวั่น และพระขีณาสพผู้มั่นคงแล้ว ขอท่านพระพรหมเทวะนั้น จงบริโภค บิณฑบาตอันเลิศที่สำหรับบูชาพรหมของท่าน

             ท่านพระพรหมเทวะ ซึ่งเป็นผู้มีเสนามารไปปราศแล้ว มีจิตสงบระงับ ฝึกตนแล้ว เที่ยวไปเหมือนช้างตัวประเสริฐ ไม่หวั่นไหว เป็นภิกษุมีศีลดี มีจิตพ้นวิเศษ แล้ว ขอท่านพระพรหมเทวะนั้น จงบริโภคบิณฑบาตอันเลิศที่สำหรับบูชาพรหม ของท่าน

             ท่านจงเป็นผู้เลื่อมใสในท่านพระพรหมเทวะนั้น เป็นผู้ไม่หวั่นไหว ตั้ง ทักษิณาไว้ในท่าน ผู้เป็นทักษิเณยยบุคคล ดูกรนางพราหมณี ท่านเห็นมุนีผู้มีโอฆะ อันข้ามแล้วจงทำบุญ อันจะนำความสุขต่อไปมาให้

             ท่านจงเป็นผู้เลื่อมใสในท่าน พระพรหมเทวะนั้น เป็นผู้ไม่หวั่นไหว ตั้ง ทักษิณาไว้ในท่านผู้เป็นทักษิเณยยบุคคล

            ดูกรนางพราหมณี ท่านเห็นมุนี ผู้มีโอฆะ อันข้ามแล้ว ได้ทำบุญอันจะนำ ความสุข ต่อไปมาให้แล้ว

 




 





พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์