เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

ธรรม ๗ ประการของผู้ถูกความโกรธครอบงำแล้ว (โกธนาสูตร) 1733
  (โดยย่อ)
ผู้ถูกความโกรธครอบงำแล้ว (๑)
1.ย่อมเป็นผู้มีผิวพรรณทราม
2.ย่อมนอนเป็นทุกข์
3.ย่อมเป็นไปเพื่อความฉิบหาย มิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ตลอดกาลนาน
4.ถูกพระราชาริบทรัพย์ของคนขี้โกรธเข้าพระคลังหลวง
5.แม้จะได้ยศมาเพราะความไม่ประมาท ก็เสื่อมจากยศนั้นได้
6.มิตรอำมาตย์ญาติสาโลหิตเหล่านั้นก็เว้นเขาเสียห่างไกล
7.ครั้นตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก

ผู้ถูกความโกรธครอบงำแล้ว (๒)
1. คนโกรธมีผิวพรรณทราม ย่อมนอนเป็นทุกข์ ย่อมถึงความเสื่อมทรัพย์
2. ผู้มัวเมาเพราะความโกรธ ย่อมถึงความไม่มียศ ญาติมิตร และ สหาย
3. คนผู้โกรธย่อมก่อกรรม ที่ทำได้ยากเหมือนทำได้ง่าย
4. คนที่ถูกความโกรธครอบงำย่อมไม่มีความสว่างแม้แต่น้อยเลย
5. คนโกรธฆ่าบิดาก็ได้ ฆ่ามารดาของตนก็ได้ ฆ่าพระขีณาสพก็ได้ ฆ่าปุถุชนก็ได้
6. คนโกรธหมกมุ่นในรูปต่างๆ ย่อมฆ่าตัวเองได้เพราะเหตุต่างๆ
7. บุคคลผู้มักโกรธมีการฝึกตนคือมีปัญญา ความเพียรและสัมมาทิฐิ พึงตัดความโกรธนั้นขาดได้
เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 

 


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๘๘-๙๓

ธรรม ๗ ประการของผู้ถูกความโกรธครอบงำแล้ว
(โกธนาสูตร)


             [๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๗ ประการนี้ เป็นความมุ่งหมายของคน ผู้เป็นข้าศึกกัน เป็นความต้องการของคนผู้เป็นข้าศึกกัน ย่อมมาถึงหญิงหรือชาย ผู้มีความโกรธ ธรรม ๗ ประการเป็นไฉน

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนผู้เป็นข้าศึกกันในโลกนี้ ย่อมปรารถนาต่อคนผู้เป็น ข้าศึกกันอย่างนี้ว่า ขอให้บุคคลผู้นี้ มีผิวพรรณทรามเถิดหนอ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะคนผู้เป็นข้าศึกกัน ย่อมไม่ยินดีให้คนที่เป็นข้าศึกกัน มีผิวพรรณงาม ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนผู้โกรธ ถูกความโกรธครอบงำย่ำยีแล้ว แม้จะอาบน้ำ ไล้ทา ตัดผม โกนหนวด นุ่งผ้าขาวสะอาดแล้วก็ตาม แต่ถูกความโกรธครอบงำแล้ว ย่อมเป็น ผู้มีผิวพรรณทราม ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นธรรมข้อที่ ๑ เป็นความมุ่งหมาย ของคน ผู้เป็นข้าศึกกัน เป็นความต้องการของคนผู้เป็นข้าศึกกัน ย่อมมาถึงหญิงหรือ ชาย ผู้มีความโกรธ อีกประการหนึ่ง คนผู้เป็นข้าศึกกัน ย่อม ปรารถนา ต่อคนที่เป็นข้าศึกกัน อย่างนี้ว่า ขอให้บุคคลผู้นี้ พึงนอนเป็นทุกข์เถิดหนอ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะคน ผู้เป็นข้าศึกกัน ย่อมไม่ยินดีให้คนที่เป็นข้าศึกกัน อยู่สบาย

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนผู้โกรธ ถูกความโกรธครอบงำย่ำยีแล้ว แม้จะนอนบน บัลลังก์ อันลาดด้วยผ้าขนสัตว์ ลาดด้วยผ้าขาวเนื้ออ่อน ลาดด้วยเครื่องลาดอย่างดี ทำด้วยหนังชะมด มีผ้าดาดเพดาน มีหมอนหนุนศีรษะ และหนุนเท้าแดงทั้งสองข้าง ก็ตาม แต่ถูกความโกรธครอบงำแล้ว ย่อมนอนเป็นทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็น ธรรมข้อที่ ๒ เป็นความมุ่งหมายของคนผู้เป็น ข้าศึกกัน เป็นความต้องการของคน ผู้เป็น ข้าศึกกัน ย่อมมาถึงหญิงหรือชายผู้มี ความโกรธ อีกประการหนึ่ง คนเป็นข้าศึก กัน ย่อมปรารถนาต่อคนผู้เป็นข้าศึก กัน อย่างนี้ว่า ขอให้บุคคลผู้นี้อย่ามีความเจริญ เลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะคนผู้เป็น ข้าศึกกัน ย่อมไม่ยินดีให้คนที่เป็นข้าศึกกัน มีความเจริญ

             ดูกรภิกษุทั้งหลายคนผู้โกรธ ถูกความโกรธครอบงำย่ำยีแล้ว แม้จะถือเอา สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ก็สำคัญว่า เราถือเอาสิ่งที่เป็นประโยชน์ แม้ถือเอาสิ่งที่เป็น ประโยชน์ ก็สำคัญว่าเราถือเอาสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ธรรมเหล่านี้อันคนผู้โกรธ ถูกความโกรธครอบงำถือเอาแล้ว เป็นข้าศึกแก่กันและกัน ย่อมเป็นไปเพื่อความ ฉิบหาย มิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ตลอดกาลนาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็น ธรรมข้อที่ ๓ เป็นความมุ่งหมายของคนผู้เป็น ข้าศึกกัน เป็นความต้องการของคน ผู้เป็นข้าศึกกัน ย่อมมาถึงหญิงหรือชายผู้มี ความโกรธ อีกประการหนึ่ง คนผู้เป็นข้าศึก กัน ย่อมปรารถนาต่อคนผู้เป็นข้าศึกกัน อย่างนี้ว่า ขอให้บุคคลผู้นี้อย่ามีโภคะเลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะคนที่เป็นข้าศึกกัน ย่อมไม่ยินดีให้คนที่เป็นข้าศึกกันมีโภคะ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนผู้โกรธถูกความโกรธครอบงำย่ำยีแล้ว แม้จะมีโภคะ ที่ตนหามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร สั่งสมได้ด้วยกำลังแขน อาบเหงื่อต่างน้ำ เป็นของชอบธรรม ได้มาโดยธรรมพระราชาทั้งหลาย ย่อมริบโภคะของคนขี้โกรธ เข้าพระคลังหลวง ดูกรภิกษุทั้งหลายนี้เป็นธรรมข้อที่ ๔ เป็นความมุ่งหมายของคน ผู้เป็น ข้าศึกกัน เป็นความต้องการของคนผู้เป็นข้าศึกกัน ย่อมมาถึงหญิงหรือชายผู้มี ความโกรธ อีกประการหนึ่ง คนผู้เป็นข้าศึกกัน ย่อมปรารถนาต่อคนผู้เป็นข้าศึกกัน อย่างนี้ว่า ขอให้บุคคลผู้นี้อย่ามียศเลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะคนผู้เป็นข้าศึกกัน ย่อมไม่ยินดีให้คนที่เป็นข้าศึกกันมียศ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนผู้โกรธ ถูกความโกรธครอบงำย่ำยีแล้ว แม้จะได้ ยศมาเพราะความไม่ประมาท ก็เสื่อมจากยศนั้นได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นธรรม ข้อที่ ๕ เป็นความมุ่งหมายของคนผู้เป็นข้าศึกกัน เป็นความต้องการของคนผู้เป็น ข้าศึกกัน ย่อมมาถึงหญิงหรือชายผู้มีความโกรธ อีกประการหนึ่ง คนผู้เป็นข้าศึกกัน ย่อมปรารถนาต่อคนผู้เป็นข้าศึกกัน อย่างนี้ว่า ขอให้บุคคลนี้อย่ามีมิตรเลย ข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะคนที่เป็นข้าศึกกัน ย่อมไม่ยินดี ให้คนที่เป็นข้าศึกกันมีมิตร

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนผู้โกรธ ถูกความโกรธครอบงำย่ำยีแล้ว แม้เขาจะมี มิตรอำมาตย์ญาติสาโลหิต มิตรอำมาตย์ญาติสาโลหิตเหล่านั้น ก็เว้นเขาเสีย ห่างไกล ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นธรรมข้อที่ ๖ เป็นความมุ่งหมายของคน ผู้เป็น ข้าศึกกัน เป็นความต้องการของคนผู้เป็นข้าศึกกัน ย่อมมาถึงหญิงหรือชายผู้มี ความโกรธ อีกประการหนึ่ง คนผู้เป็นข้าศึกกัน ย่อมปรารถนาต่อคน ผู้เป็นข้าศึกกัน อย่างนี้ว่า ขอให้บุคคลนี้ เมื่อตายไป พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ข้อนั้นเพราะ เหตุไร เพราะคนที่เป็นข้าศึกกัน ย่อมไม่ยินดีให้คนที่เป็นข้าศึกกันไปสุคติ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนผู้โกรธ ถูกความโกรธครอบงำย่ำยีแล้ว ย่อมประพฤติ ทุจริตด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ ครั้นตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรกดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นธรรมข้อที่ ๗ เป็นความมุ่งหมาย ของคนผู้เป็น ข้าศึกกัน เป็นความต้องการของคนผู้เป็นข้าศึกกัน ย่อมมาถึงหญิงหรือชายผู้มี ความโกรธ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๗ ประการนี้แล เป็นความมุ่งหมาย ของคนผู้เป็น ข้าศึกกัน เป็นความต้องการของคนผู้เป็นข้าศึกกัน ย่อมมาถึงหญิงหรือชาย ผู้มีความโกรธ


             1. คนโกรธมีผิวพรรณทราม ย่อมนอนเป็นทุกข์
ถือเอาสิ่งที่เป็นประโยชน์แล้ว กลับปฏิบัติสิ่งอันไม่เป็นประโยชน์ ทำปาณาติบาต ด้วยกายและวาจา ย่อมถึงความเสื่อมทรัพย์

             2. ผู้มัวเมาเพราะความโกรธ ย่อมถึงความไม่มียศ ญาติมิตร และ สหาย ย่อมเว้น คนโกรธเสียห่างไกล คนผู้โกรธย่อมไม่รู้จักความเจริญ ทำจิตให้ กำเริบ ภัยที่เกิดมาจากภายในนั้น คนผู้โกรธย่อมไม่รู้สึก คนโกรธย่อมไม่รู้ อรรถ ไม่เห็นธรรม ความโกรธ ย่อมครอบงำนรชนในขณะใด ความมืดตื้อย่อมมีใน ขณะนั้น

             3. คนผู้โกรธย่อมก่อกรรม ที่ทำได้ยากเหมือนทำได้ง่าย
ภายหลัง เมื่อหายโกรธแล้ว เขาย่อมเดือดร้อนเหมือนถูกไฟไหม้ คนผู้โกรธย่อม แสดงความเก้อ ยากก่อน เหมือนไฟแสดงควันก่อน ในกาลใด ความโกรธเกิดขึ้น คนย่อมโกรธ ในกาล นั้น คนนั้นไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะ และไม่ มีความเคารพ

             4. คนที่ถูกความโกรธครอบงำย่อมไม่มีความสว่างแม้แต่น้อยเลย
กรรมใด ยังห่างไกลจากธรรม อันให้เกิดความเดือดร้อน เราจักบอกกรรมเหล่านั้น เธอทั้งหลาย จงฟังธรรมนั้นไปตามลำดับ

             5. คนโกรธฆ่าบิดาก็ได้ ฆ่ามารดาของตนก็ได้ ฆ่าพระขีณาสพ ก็ได้ ฆ่าปุถุชน ก็ได้ ลูกที่มารดาเลี้ยงไว้จนได้ลืมตาดูโลกนี้ ลูกเช่นนั้น กิเลสหยาบช้า โกรธขึ้นมา ย่อมฆ่าแม้มารดานั้นผู้ให้ชีวิตความเป็นอยู่ได้ จริงอยู่ สัตว์เหล่านั้นมีตน เป็นเครื่อง เปรียบเทียบ เพราะตนเป็นที่รักอย่างยิ่ง

             6. คนโกรธหมกมุ่นในรูปต่างๆ ย่อมฆ่าตัวเองได้เพราะเหตุต่างๆ
ย่อมฆ่าตัวเอง ด้วยดาบบ้าง กินยาพิษบ้าง เอาเชือกผูกคอตายบ้าง โดดเขาตายบ้าง คนเหล่านั้นเมื่อ กระทำกรรม อันมีแต่ความเสื่อมและทำลายตน ก็ไม่รู้สึกความเสื่อม เกิดแต่ความโกรธ ตามที่กล่าวมานี้ เป็นบ่วงของมัจจุราช มีถ้ำเป็นที่อยู่อาศัย

             7. บุคคลผู้มักโกรธ มีการฝึกตนคือมีปัญญา ความเพียรและสัมมาทิฐิ พึงตัด ความโกรธนั้นขาดได้ บัณฑิตพึงตัดอกุศลธรรม แต่ละอย่างเสียให้ขาด พึงศึกษา ในธรรมเหมือนอย่างนั้น

             เธอทั้งหลายปรารถนาอยู่ว่า ขอความเป็นผู้เก้อยาก อย่าได้มีแก่เรา ทั้งหลาย เธอทั้งหลายเป็นผู้ปราศจากความโกรธ ไม่มีความคับแค้นใจ ปราศจาก ความโลภ ไม่มีความริษยา ฝึกฝนตนแล้ว ละความโกรธได้ เป็นผู้ไม่มีอาสวะ จักปรินิพพาน

 


 





พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์