ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดี ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ (กึสุกสูตร)
เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดี ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ (กึสุกสูตร) 1732
  (โดยย่อ)

ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง (และรูปอื่นๆ)
ถาม ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดี ด้วยเหตุเพียง เท่าไร หนอแล

ภิกษุรูปที่ 1 ตอบว่า ภิกษุรู้ชัด เหตุเกิด และความดับแห่งผัสสายตนะ ๖ ตามความเป็นจริง ภิกษุนั้น ไม่ยินดีด้วยการพยากรณ์ปัญหา

ภิกษุรูปที่ 2 ตอบว่า ภิกษุรู้ชัดเหตุเกิดและความดับแห่งอุปาทานขันธ์ ๕ ตามความเป็นจริง ภิกษุนั้นไม่ยินดี...

ภิกษุรูปที่ 3 ตอบว่า ภิกษุรู้ชัดเหตุเกิด และความดับแห่งมหาภูตรูป ๔ ตามความเป็นจริง ภิกษุนั้นไม่ยินดี...

ภิกษุรูปที่ 4 ตอบว่า ภิกษุรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็น ธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา ภิกษุนั้นไม่ยินดี ด้วยการพยากรณ์ปัญหา

ภิกษุนั้นไม่ยินดี การพยากรณ์ปัญหาของภิกษุทั้ง 4 รูป จึงเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า บุรุษยังไม่เคยเห็นต้นทองกวาว จึงเข้าไปหาบุรุษคนใดคนหนึ่ง ผู้เคยเห็นต้น ทองกวาวถึงที่อยู่ แล้วถาม อย่างนี้ว่า ดูกรบุรุษผู้เจริญ ต้นทองกวาวเป็นเช่นไร
บุรุษนั้นพึงตอบว่า
บุรุษที่ 1 ต้นทองกวาว ดำเหมือนตอไม้ไหม้ ก็สมัยนั้นต้นทองกวาวเป็นดังที่บุรุษนั้นเห็น
บุรุษที่ 2 ต้นทองกวาว แดง เหมือนชิ้นเนื้อ ก็สมัยนั้นต้นทองกวาวเป็นดังที่บุรุษนั้นเห็น
บุรุษที่ 3 ต้นทองกวาว ที่เกิดนานมีฝักเหมือนต้นซึก ก็สมัยนั้นต้นทองกวาวเป็นดังที่บุรุษนั้นเห็น
บุรุษที่ 4 ต้นทองกวาว มีใบแก่และใบอ่อนหนาแน่น มีร่มทึบเหมือนต้นไทร ก็สมัยนั้น ต้นทองกวาว เป็นดัง ที่บุรุษนั้นเห็น

ดูกรภิกษุ ทัศนะของสัตบุรุษเหล่านั้น ผู้น้อมไปแล้ว เป็นอันหมดจดดี ด้วยประการใดๆ เป็นอันสัตบุรุษ ทั้งหลาย ผู้ฉลาด พยากรณ์แล้ว ด้วยประการนั้นๆ ฉันนั้นแล (ภิกษุเหล่านั้นพยากรณ์ด้วยดีแล้ว)


เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 

 

 

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๒๔-๒๒๗

กึสุกสูตร

           [๓๓๙] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง (รูปที่1) ถึงที่อยู่ ครั้นแล้ว ได้ถามภิกษุรูปนั้นว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดี ด้วยเหตุเพียง เท่าไร หนอแล ภิกษุรูปนั้นกล่าวว่า
          
         ดูกรท่านผู้มีอายุ ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดี ด้วยเหตุที่ ภิกษุรู้ชัด เหตุเกิด และความดับแห่งผัสสายตนะ ๖ ตามความเป็นจริง ที่นั้นแล ภิกษุนั้น ไม่ยินดีด้วยการพยากรณ์ปัญหา ของภิกษุนั้น(รูปที่1) จึงเข้าไปหาภิกษุ อีกรูปหนึ่ง (เข้าหารูปที่2) ครั้นแล้ว ได้ถามว่า

           ดูกรท่านผู้มีอายุ ทัศนะของภิกษุเป็นอัน หมดจดดี ด้วยเหตุเพียงเท่าไร หนอแล ภิกษุรูปนั้น(รูปที่2) กล่าวว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจด ดี ด้วยเหตุที่ ภิกษุรู้ชัดเหตุเกิดและความดับแห่งอุปาทานขันธ์ ๕ ตามความ เป็นจริง ที่นั้นแล ภิกษุนั้นไม่ยินดี ด้วยการพยากรณ์ปัญหาของภิกษุนั้น จึงเข้าไปหา ภิกษุ อีกรูปหนึ่ง((เข้าหารูปที่3) แล้วได้ถามว่า

           ดูกรท่านผู้มีอายุ ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดี ด้วยเหตุเพียงเท่าไร หนอแล ภิกษุนั้น (รูปที่3) กล่าวว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดี ด้วยเหตุที่ ภิกษุรู้ชัดเหตุเกิด และความดับแห่งมหาภูตรูป ๔ ตามความเป็นจริง ทีนั้นแล ภิกษุนั้นไม่ยินดี ด้วยการพยากรณ์ปัญหา ของภิกษุนั้น จึงเข้าไปหาภิกษุ อีกรูปหนึ่ง(เข้าหารูปที่4) แล้วได้ถามว่า

           ดูกรท่านผู้มีอายุ ทัศนะของภิกษุ เป็นอันหมดจดดี ด้วยเหตุเพียงเท่าไร หนอแล ภิกษุรูปนั้น (รูปที่4) กล่าวว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจด ดี ด้วยเหตุที่ ภิกษุรู้ชัด ตามความเป็นจริงว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็น ธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา

           [๓๔๐] ที่นั้นแล ภิกษุไม่ยินดี ด้วยการพยากรณ์ปัญหาของภิกษุนั้น จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอประทาน พระวโรกาส ข้าพระองค์เข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่งถึงที่อยู่ แล้วได้ถามว่าดูกรท่านผู้มีอายุ ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดี ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอแล ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อข้าพระองค์ถามอย่างนี้แล้ว ภิกษุนั้นได้กล่าวกะข้าพระองค์ว่า

           ดูกรท่านผู้มีอายุ ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดี ด้วยเหตุที่ภิกษุรู้ชัด เหตุเกิด และความดับแห่งผัสสายตนะ ๖ ตามความเป็นจริง ทีนั้นแล ข้าพระองค์ ไม่ยินดี ด้วยการพยากรณ์ปัญหาของภิกษุนั้น จึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่งถึงที่อยู่ แล้วได้ถามว่า

           ดูกรท่านผู้มีอายุ ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดี ด้วยเหตุเพียงเท่าไร เมื่อข้าพระองค์ถามอย่างนี้แล้ว ภิกษุนั้นได้กล่าวกะข้าพระองค์ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ทัศนะของภิกษุ เป็นอันหมดจดดี ด้วยเหตุที่ภิกษุรู้ชัดเหตุเกิด และความดับแห่ง อุปาทานขันธ์ ๕ ตามความเป็นจริง ทีนั้นแล ข้าพระองค์ไม่ยินดี ด้วยการพยากรณ์ ปัญหาของภิกษุนั้น จึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่งถึงที่อยู่ แล้วได้ถามว่า

          ดูกรท่านผู้มีอายุ ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดี ด้วยเหตุเพียงเท่าไร เมื่อข้าพระองค์ถามอย่างนี้แล้ว ภิกษุนั้นได้กล่าวกะข้าพระองค์ว่า

           ดูกรท่านผู้มีอายุ ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดี ด้วยเหตุที่ภิกษุรู้ชัด เหตุเกิด และความดับแห่งมหาภูตรูป ๔ ตามความเป็นจริง ทีนั้นแล ข้าพระองค์ ไม่ยินดี ด้วยการพยากรณ์ปัญหาของภิกษุนั้น จึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่งถึงที่อยู่ แล้วได้ถามว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ทัศนะของภิกษุเ ป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุเพียงเท่าไร เมื่อข้าพระองค์ถามอย่างนี้แล้ว ภิกษุนั้นได้กล่าวกะข้าพระองค์ว่า

           ดูกรท่านผู้มีอายุ ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดี ด้วยเหตุที่ภิกษุรู้ชัด ตามความเป็นจริงว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วน มีความดับไปเป็นธรรมดา ทีนั้นแล ข้าพระองค์ไม่ยินดี ด้วยการพยากรณ์ปัญหา ของภิกษุนั้น จึงเข้ามาเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ขอทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอแล

----------------------------------------------------------------------------------------------------------

           [๓๔๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ บุรุษยังไม่เคยเห็นต้นทองกวาว บุรุษนั้นพึงเข้าไปหาบุรุษคนใดคนหนึ่ง ผู้เคยเห็นต้นทองกวาวถึงที่อยู่ แล้วถาม อย่างนี้ว่า ดูกรบุรุษผู้เจริญ ต้นทองกวาวเป็นเช่นไร บุรุษนั้นพึงตอบว่า ดูกรบุรุษผู้เจริญ ต้นทองกวาวดำเหมือนตอไม้ไหม้ ก็สมัยนั้นแล ต้นทองกวาวเป็นดังที่บุรุษนั้นเห็น ทีนั้นแล บุรุษนั้นไม่ยินดี ด้วยการพยากรณ์ปัญหาของบุรุษนั้น พึงเข้าไปหาบุรุษ คนหนึ่ง ผู้เคยเห็นต้นทองกวาวถึงที่อยู่ แล้วถามว่า

           ดูกรบุรุษผู้เจริญ ต้นทองกวาวเป็นเช่นไร บุรุษนั้นพึงตอบว่า ต้นทองกวาว แดง เหมือนชิ้นเนื้อ ก็สมัยนั้น ต้นทองกวาวเป็นดังที่บุรุษนั้นเห็น ทีนั้นแล บุรุษนั้น ไม่ยินดี ด้วยการพยากรณ์ปัญหาของบุรุษนั้น พึงเข้าไปหาบุรุษคนหนึ่ง ผู้เคยเห็น ต้นทองกวาวถึงที่อยู่ แล้วถามอย่างนี้ว่า ดูกรบุรุษผู้เจริญ ต้นทองกวาวเป็นเช่นไร บุรุษนั้นพึงตอบอย่างนี้ว่า

           ดูกรบุรุษผู้เจริญ ต้นทองกวาวที่เกิดนานมีฝักเหมือนต้นซึก ก็สมัยนั้นแล ต้นทองกวาวเป็นดังที่บุรุษนั้นเห็น ทีนั้นแล บุรุษนั้นไม่ยินดี ด้วยการพยากรณ์ปัญหา ของบุรุษนั้น พึงเข้าไปหาบุรุษคนหนึ่ง ผู้เคยเห็นต้นทองกวาวถึงที่อยู่ แล้วถามอย่างนี้ ว่า ดูกรบุรุษผู้เจริญ ต้นทองกวาวเป็นเช่นไร บุรุษนั้นพึงตอบว่า

           ดูกรบุรุษผู้เจริญ ต้นทองกวาวมีใบแก่และใบอ่อนหนาแน่น มีร่มทึบเหมือนต้นไทร ก็สมัยนั้น ต้นทองกวาวเป็นดังที่บุรุษนั้นเห็น แม้ฉันใด

           ดูกรภิกษุ ทัศนะของสัตบุรุษเหล่านั้น ผู้น้อมไปแล้ว เป็นอันหมดจดดี ด้วยประการใดๆ เป็นอันสัตบุรุษทั้งหลายผู้ฉลาด พยากรณ์แล้ว ด้วยประการนั้นๆ ฉันนั้นแล (ภิกษุเหล่านั้นพยากรณ์ด้วยดีแล้ว)

---------------------------------------------------------------------------------------------------------


(พระผู้มีพระภาคอุปมาเหมือนเมืองที่มี 6 ประตู มีนายทวารเป็นคนฉลาด อนุญาตให้คนรู้จัก เข้าไป คนไม่รู้จักไม่ให้เข้า)

           [๓๔๒] ดูกรภิกษุ เหมือนอย่างว่า เมืองชายแดนของพระราชาเป็นเมือง ที่มั่นคง มีกำแพงและเชิงเทิน มีประตู ๖ ประตู นายประตูเมืองนั้นเป็นคนฉลาด เฉียบแหลมมีปัญญา คอยห้ามคนที่ตนไม่รู้จัก อนุญาตให้คนที่ตนรู้จักเข้าไป ใน เมืองนั้น

           ราชทูตคู่หนึ่งมีราชการด่วน มาแต่ทิศบูรพา พึงถามนายประตูนั้นว่า แน่ะ บุรุษผู้เจริญ เจ้าเมืองนี้อยู่ที่ไหน นายประตูนั้นตอบว่า แน่ะท่านผู้เจริญ นั่นเจ้าเมือง นั่งอยู่ ณ ทางสามแพร่งกลางเมือง ทีนั้นแล

           ราชทูตคู่นั้นมอบถ้อยคำ ตามความเป็นจริงแก่เจ้าเมืองแล้ว พึงดำเนิน กลับไปตามทางที่มาแล้ว ราชทูตคู่หนึ่งมีราชการด่วนมาแต่ทิศปัศจิม... ราชทูตคู่หนึ่ง มีราชการด่วนมาแต่ทิศอุดร...

           ราชทูตคู่หนึ่งมีราชการด่วนมาแต่ทิศทักษิณ แล้วถามนายประตูนั้นอย่างนี้ว่า แน่ะบุรุษผู้เจริญ เจ้าเมืองนี้อยู่ที่ไหน นายประตูนั้นพึงตอบว่า แน่ะท่านผู้เจริญ นั่นเจ้าเมืองนั่งอยู่ ณ ทางสามแพร่งกลางเมือง

           ทีนั้นแล ราชทูตคู่หนึ่งนั้นมอบถ้อยคำตามความเป็นจริงแก่เจ้าเมืองแล้ว พึงดำเนินกลับไปทางตามที่มาแล้ว

           ดูกรภิกษุ อุปมานี้แล เรากระทำแล้วเพื่อจะให้เนื้อความแจ่มแจ้ง ก็ในอุปมา นั้น มีเนื้อความดังต่อไปนี้

           คำว่าเมือง เป็นชื่อของกายนี้ที่ประกอบด้วยมหาภูตรูป ๔ ซึ่งมีมารดาและ บิดาเป็นแดนเกิด เจริญขึ้นด้วยข้าวสุกและขนมสด มีอันต้องอบ ต้องนวดฟั้นเป็นนิตย์ มีอันทำลายและกระจัดกระจายเป็นธรรมดา

           คำว่าประตู ๖ ประตู เป็นชื่อของอายตนะภายใน ๖

           คำว่านายประตู เป็นชื่อของสติ

           คำว่าราชทูตคู่หนึ่ง มีราชการด่วน เป็นชื่อของสมถะ และวิปัสสนา

           คำว่าเจ้าเมือง เป็นชื่อของวิญญาณ

           คำว่าทางสามแพร่งกลางเมือง เป็นชื่อ ของมหาภูตรูป ๔ คือปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ

           คำว่าถ้อยคำตามความเป็นจริง เป็นชื่อของนิพพาน

           คำว่าทางตามที่มาแล้ว เป็นชื่อของอริยมรรคมีองค์ ๘ คือสัมมาทิฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ

 





พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์