เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

ไฟ ๓ ประการที่ควรละ ควรเว้น ... ไฟ ๓ ประการที่ควรสักการะ..ไฟที่ควรจุดตามกาล 1731
  (โดยย่อ)

อัคคิ(ไฟ) ๓ ประการนี้ เป็นสิ่งที่ควรละ ควรเว้น ไม่ควรเสพ คือ
๑. ราคัคคิ (ไฟคือราคะ)
๒. โทสัคคิ (ไฟคือโทสะ)
๓. โมหัคคิ (ไฟคือโมหะ)

อัคคิ ๓ ประการนี้ เป็นสิ่งที่ควรสักการะ เคารพ นับถือ บูชาแล้ว เป็นสุขโดยชอบ คือ
๑. อาหุเนยยัคคิ (บิดามารดา)
๒. คหปตัคคิ (คหบดี ข้าทาส กรรมกร)
๓. ทักขิเณยยัคคิ (สมณะพราหมณ์ ผู้ประพฤติพรหมจรรย์)

ส่วนกัฏฐัคคิ (ไฟจากไม้) นี้
๑. ต้องจุด ตามกาลอันควร
๒. ต้องคอยดู ตามกาลอันควร
๓. ต้องคอยดับ ตามกาลอันควร
๔. ต้องคอยเก็บ ตามกาลอันควร


เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 

 


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก [ฉบับมหาจุฬาฯ] หน้าที่ ๗๐-๗๔

ทุติยอัคคิสูตร (ว่าด้วยไฟ สูตรที่ ๒)


           [๔๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี

           สมัยนั้นแล อุคคตสรีรพราหมณ์ ตระเตรียมมหายัญ
โคผู้ ๕๐๐ ตัว ถูกนำเข้าไปผูกไว้ที่หลัก เพื่อประโยชน์แก่การบูชายัญ
ลูกโคผู้ ๕๐๐ ตัว ถูกนำเข้าไปผูกไว้ที่หลัก เพื่อประโยชน์แก่การบูชายัญ
ลูกโคตัวเมีย ๕๐๐ ตัว ถูกนำเข้าไปผูกไว้ที่หลัก เพื่อประโยชน์แก่การบูชายัญ
แพะ ๕๐๐ ตัว ถูกนำเข้าไปผูกไว้ที่หลัก เพื่อประโยชน์แก่การบูชายัญ
แกะ ๕๐๐ ตัว ถูกนำเข้าไปผูกไว้ที่หลัก เพื่อประโยชน์แก่การบูชายัญ

           ครั้งนั้นแล อุคคตสรีรพราหมณ์ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกัน แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ท่านพระโคดม ข้าพเจ้าได้สดับมาว่า ‘การก่อไฟ การปักหลักบูชายัญ ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก”

           พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “พราหมณ์ แม้เราก็ได้สดับมาว่า ‘การก่อไฟการ ปักหลักบูชายัญ ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก”
           แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ
           แม้ครั้งที่ ๓
           อุคคตสรีรพราหมณ์ ก็ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ท่านพระโคดม ข้าพเจ้าได้สดับมาว่า ‘การก่อไฟ การปักหลักบูชายัญ ย่อมมีผลมากมีอานิสงส์มาก”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “พราหมณ์ แม้เราก็ได้สดับมาว่า ‘การก่อไฟการปักหลัก บูชายัญ ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก” พราหมณ์กราบทูลว่า “ท่านพระโคดม
ข้อความทั้งหมดของท่านพระโคดม และของข้าพเจ้าย่อมสมกัน”


           เมื่ออุคคตสรีรพราหมณ์ กราบทูลอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์ ได้กล่าวกับ อุคคตสรีรพราหมณ์ดังนี้ว่า “พราหมณ์ ท่านไม่ควรถามพระตถาคต อย่างนี้ ว่า

           ‘ท่านพระโคดม ข้าพเจ้าได้สดับมาว่า ‘การก่อไฟ การปักหลักบูชายัญ ย่อมมีผลมากมีอานิสงส์มาก’ แต่ควรถามพระตถาคตอย่างนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ข้าพเจ้าประสงค์จะก่อไฟ ประสงค์จะปักหลักบูชายัญ ขอพระผู้มีพระภาค โปรดตักเตือน โปรดพร่ำสอนข้าพเจ้า ถึงข้อที่จะพึงเป็นไปเพื่อ เกื้อกูล เพื่อสุข แก่ข้าพเจ้า ตลอดกาลนานเถิด”

           ลำดับนั้น อุคคตสรีรพราหมณ์ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าประสงค์จะก่อไฟ ประสงค์จะปักหลักบูชายัญ ขอท่าน พระโคดมโปรดตักเตือน โปรดพร่ำสอนข้าพเจ้า ถึงข้อที่จะพึงเป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่ข้าพเจ้าตลอดกาลนานเถิด”

           พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์ บุคคลเมื่อจะก่อไฟ ปักหลักบูชายัญ ก่อนที่จะบูชายัญ ย่อมเงื้อศัสตรา ๓ ชนิด ที่เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นผล

           ศัสตรา ๓ ชนิด อะไรบ้าง คือ
๑. ศัสตราทางกาย
๒. ศัสตราทางวาจา
๓. ศัสตราทางใจ

           บุคคลเมื่อจะก่อไฟ ปักหลักบูชายัญ ก่อนที่จะบูชายัญ ย่อมคิดอย่างนี้ว่า ‘ต้องฆ่าโคผู้เท่านี้ตัว เพื่อประโยชน์แก่การบูชายัญ ต้องฆ่าลูกโคผู้เท่านี้ตัว เพื่อประโยชน์ แก่การบูชายัญ ต้องฆ่าลูกโคตัวเมียเท่านี้ตัว เพื่อประโยชน์แก่การ บูชายัญ ต้องฆ่าแพะเท่านี้ตัว เพื่อประโยชน์แก่การบูชายัญ ต้องฆ่าแกะเท่านี้ตัว เพื่อประโยชน์แก่การบูชายัญ’เขาคิดว่า ‘จะทำบุญ’ แต่กลับทำสิ่งที่มิใช่บุญ คิดว่า ‘จะทำกุศล’ แต่กลับทำอกุศลคิดว่า ‘จะแสวงหาทางสุคติ’ แต่กลับแสวงหาทางทุคติ พราหมณ์ บุคคลเมื่อจะก่อไฟปักหลักบูชายัญ ก่อนที่จะบูชายัญ ย่อมเงื้อศัสตราทางใจชนิดที่ ๑ นี้ ที่เป็นอกุศลมีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นผล

           บุคคลเมื่อจะก่อไฟ ปักหลักบูชายัญ ก่อนที่จะบูชายัญ ย่อมกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ต้องฆ่าโคผู้เท่านี้ตัวเพื่อประโยชน์แก่การบูชายัญ ต้องฆ่าลูกโคผู้เท่านี้ตัว เพื่อประโยชน์แก่การบูชายัญ ต้องฆ่าลูกโคตัวเมียเท่านี้ตัว เพื่อประโยชน์แก่การ บูชายัญ ต้องฆ่าแพะเท่านี้ตัว เพื่อประโยชน์แก่การบูชายัญ ต้องฆ่าแกะเท่านี้ตัว เพื่อประโยชน์แก่การบูชายัญ’เขาคิดว่า ‘จะทำบุญ’ แต่กลับทำสิ่งที่มิใช่บุญ คิดว่า ‘จะทำกุศล’ แต่กลับทำอกุศลคิดว่า ‘จะแสวงหาทางสุคติ’ แต่กลับแสวงหาทางทุคติ พราหมณ์ บุคคลเมื่อจะก่อไฟปักหลักบูชายัญ ก่อนที่จะบูชายัญ ย่อมเงื้อศัสตราทางวาจาชนิดที่ ๒ นี้ที่เป็นอกุศลมีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นผล

           บุคคลเมื่อจะก่อไฟปักหลักบูชายัญ ก่อนที่จะบูชายัญ ตนเองลงมือฆ่าโค ผู้ก่อน เพื่อประโยชน์แก่การบูชายัญ ตนเองลงมือฆ่าลูกโคผู้ก่อน เพื่อประโยชน์ แก่ การบูชายัญ ตนเองลงมือฆ่าลูกโคตัวเมียก่อน เพื่อประโยชน์แก่การบูชายัญ ตนเองลงมือ ฆ่าแพะก่อน เพื่อประโยชน์แก่การบูชายัญ ตนเองลงมือฆ่าแกะก่อน เพื่อประโยชน์ แก่การบูชายัญ

          เขาคิดว่า ‘จะทำบุญ’ แต่กลับทำสิ่งที่มิใช่บุญ
          คิดว่า ‘จะทำกุศล’ แต่กลับทำ อกุศล
          คิดว่า ‘จะแสวงหาทางสุคติ’ แต่กลับแสวงหาทางทุคติ


          พราหมณ์ บุคคลเมื่อจะก่อไฟปักหลักบูชายัญ ก่อนที่จะบูชายัญ ย่อมเงื้อ ศัสตราทางกายชนิดที่ ๓ นี้ที่เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นผล

           พราหมณ์ บุคคลเมื่อจะก่อไฟปักหลักบูชายัญ ก่อนที่จะบูชายัญ ย่อมเงื้อ ศัสตรา ๓ ชนิดนี้แล ที่เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นผล

           พราหมณ์ อัคคิ(ไฟ) ๓ ประการนี้ เป็นสิ่งที่ควรละ ควรเว้น ไม่ควรเสพ
อัคคิ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ราคัคคิ (ไฟคือราคะ)
๒. โทสัคคิ (ไฟคือโทสะ)
๓. โมหัคคิ (ไฟคือโมหะ)

           เพราะเหตุไร ราคัคคินี้ จึงเป็นสิ่งที่ควรละควรเว้น ไม่ควรเสพ เพราะ บุคคลผู้มีราคะ ถูกราคะครอบงำ มีจิตถูกราคะกลุ้มรุม ย่อมประพฤติทุจริตทางกาย ประพฤติ ทุจริตทางวาจา ประพฤติทุจริตทางใจ หลังจากตายแล้วเขาจึงไปเกิดใน อบาย ทุคติ วินิบาต นรก ฉะนั้น ราคัคคินี้ จึงเป็นสิ่งที่ควรละ ควรเว้นไม่ควรเสพ

           เพราะเหตุไร โทสัคคินี้ จึงเป็นสิ่งที่ควรละ ควรเว้น ไม่ควรเสพ เพราะ บุคคลผู้มีโทสะ ถูกโทสะครอบงำ มีจิตถูกโทสะกลุ้มรุม ย่อมประพฤติทุจริต ทางกาย ประพฤติทุจริตทางวาจา ประพฤติทุจริตทางใจ หลังจากตายแล้วเขาจึง ไปเกิด ใน อบาย ทุคติ วินิบาต นรก ฉะนั้น โทสัคคินี้ จึงเป็นสิ่งที่ควรละควรเว้น ไม่ควรเสพ

           เพราะเหตุไร โมหัคคินี้ จึงเป็นสิ่งที่ควรละ ควรเว้น ไม่ควรเสพ เพราะ บุคคลผู้มีโมหะ ถูกโมหะครอบงำ มีจิตถูกโมหะกลุ้มรุม ย่อมประพฤติทุจริต ทางกาย ประพฤติ ทุจริตทางวาจา ประพฤติทุจริตทางใจ หลังจากตายแล้วเขาจึง ไปเกิด ในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ฉะนั้น

           โมหัคคินี้ จึงเป็นสิ่งที่ควรละ ควรเว้น ไม่ควรเสพ พราหมณ์อัคคิ ๓ ประการนี้ แล เป็นสิ่งที่ควรละ ควรเว้น ไม่ควรเสพ

           พราหมณ์ อัคคิ ๓ ประการนี้ เป็นสิ่งที่ควรสักการะ เคารพ นับถือ บูชาแล้ว บริหารให้เป็นสุขโดยชอบ
อัคคิ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อาหุเนยยัคคิ (บิดารมารดา)
๒. คหปตัคคิ (คหบดี ข้าทาส กรรมกร)
๓. ทักขิเณยยัคคิ (สมณะพราหมณ์ ผู้ประพฤติพรหมจรรย์)

           อาหุเนยยัคคิ เป็นอย่างไร
คือ บุตรในโลกนี้มีมารดาหรือบิดา นี้เรียกว่า อาหุเนยยัคคิ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะบุตรเกิดมาจากมารดาบิดานี้ ฉะนั้น อาหุเนยยัคคินี้ จึงเป็นผู้ที่ควรสักการะ เคารพ นับถือ บูชา บริหารให้เป็นสุขโดยชอบ

           คหปตัคคิ เป็นอย่างไร
คือ คหบดีในโลกนี้มีบุตร ภรรยา ทาส คนใช้ หรือกรรมกร นี้เรียกว่าคหปตัคคิ ฉะนั้น คหปตัคคินี้ จึงเป็นผู้ที่ควรสักการะ เคารพ นับถือ บูชา บริหารให้เป็นสุขโดยชอบ

           ทักขิเณยยัคคิ เป็นอย่างไร
คือ สมณพราหมณ์ ผู้เว้นขาดจากความมัวเมา และประมาท ตั้งมั่นอยู่ในขันติ และ โสรัจจะ ฝึกตนได้เป็นหนึ่ง ทำตนให้สงบได้เป็นหนึ่ง ทำตนให้ดับเย็นได้เป็นหนึ่ง นี้เรียกว่า ทักขิเนยยัคคิ ฉะนั้น ทักขิเณยยัคคินี้ จึงเป็นผู้ที่ควรสักการะ เคารพนับถือ บูชา แล้วบริหารให้เป็นสุขโดยชอบ

           พราหมณ์ อัคคิ ๓ ประการนี้แล เป็นสิ่งที่ควรสักการะ เคารพ นับถือ บูชาแล้ว บริหารให้เป็นสุขโดยชอบ

           ส่วนกัฏฐัคคิ (ไฟจากไม้) นี้ ต้องจุดตามกาลอันควร ต้องคอยดูตามกาล อันควร ต้องคอยดับ ตามกาลอันควร ต้องคอยเก็บตามกาลอันควร

           เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว อุคคตสรีรพราหมณ์ ได้กราบทูลพระผู้มี พระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของท่านพระโคดม ชัดเจนไพเราะ ยิ่งนักฯลฯ ขอท่านพระโคดม โปรดทรงจำข้าพระองค์ว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป จนตลอดชีวิต

           ข้าพระองค์จะปล่อยโคผู้ ๕๐๐ ตัว ให้ชีวิตพวกมัน จะปล่อยลูกโคผู้ ๕๐๐ ตัว ให้ชีวิตพวกมัน จะปล่อยลูกโคตัวเมีย ๕๐๐ ตัว ให้ชีวิตพวกมันจะปล่อยแพะ ๕๐๐ ตัว ให้ชีวิตพวกมัน จะปล่อยแกะ ๕๐๐ ตัว ให้ชีวิตพวกมัน พวกมันจะกินหญ้าสด ดื่มน้ำเย็น และรับลมเย็น”

 





พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์