เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

การบรรลุ ฌาณที่ 1 - ฌาณที่ 4 พร้อมอุปมา 1727
  (โดยย่อ)

ฌาน1 ทรงอุปมาปิติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เปรียบเหมือนโรยผงถูกตัว ลงในขันสำริด แล้วพรม น้ำหมัก ไว้ ครั้นเวลาเย็น ก้อนผงออกยางเข้ากัน ซึมทั่วกายไม่ไหลหยด

ฌาน2 ทรงอุปมาปิติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ เปรียบเหมือนห้วงนํ้าอันลึก มีน้ำอันพลุ่ง ไม่มีปากทาง น้ำเข้าทางทิศต่างๆ และฝนก็ไม่ตกเพิ่มน้ำให้แก่ห้วงน้ำนั้นตลอดกาล ท่อน้ำเย็นพลุ่งขึ้นจากห้วงน้ำ ประพรมกายทำให้ชุ่ม

ฌาน 3 ทรงอุปมาผู้อยู่อุเบกขาด้วยสุขที่หาปิติมิได้ เปรียบเหมือนดอกบัว 3 เหล่า ที่แช่น้ำเย็นตั้งแต่ ยอดจนถึงราก

ฌาน 4 ทรงอุปมาสติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา เปรียบเหมือนชายที่นั่งคลุมด้วยผ้าขาว ตลอดทั้งตัว ไม่มีส่วนไหนที่ไม่ถูกคลุม

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 

 


อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคปลาย หน้า
1305 - 1308

การบรรลุ ฌาณที่ 1 - ฌาณที่ 4 พร้อมอุปมา


การบรรลุ ปฐมฌาน (ฌานที่1) พร้อมทั้งอุปมา

(ทรงอุปมาปิติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เปรียบเหมือน โรยผงถูกตัวลงในขันสำริด แล้วพรม น้ำหมักไว้ ครั้นเวลาเย็น ก้อนผงออกยางเข้ากัน ซึมทั่วกายไม่ไหลหยด)

          มหาราช ! เมื่อภิกษุนั้น มองเห็นนิวรณ์ทั้งห้าเหล่านี้ ที่ตนละได้แล้วอยู่ ปราโมทย์ย่อมเกิด เมื่อปราโมทย์เกิด ปีติย่อมเกิด กายของผู้มีใจปิติย่อมสงบ รำงับ ผู้มีกายสงบรำงับ ย่อมเสวยสุข จิตของผู้มีสุขย่อมตั้งมั่น. ภิกษุนั้น เพราะสงัด จากกามและสงัดจากอกุลธรรมทั้งหลาย จึงบรรลุฌานที่หนึ่ง ซึ่งมีวิตกวิจาร มีปีติ และสุขอันเกิดแต่วิเวก แล้วแลอยู่. เธอประพรมกายนี้ทำให้ชุ่มทั่ว ชุ่มรอบ เต็มรอบ ด้วยปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกนั้น ส่วนใดส่วนหนึ่งของ กายเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุข อันเกิดแต่วิเวกนั้น ไม่ถูกต้องแล้ว มิได้มี

          มหาราช ! เปรียบเหมือน นายช่างอาบ ก็ดี หรือ ลูกมือของเขา ก็ดีเป็น คนฉลาด โรยผงที่ใช้สำหรับถูตัวในเวลาอาบน้ำ ลงในขันสำริด แล้วพรมน้ำหมักไว้ ครั้นเวลาเย็น ก้อนผงออกยางเข้ากัน ซึมทั่วกันแล้ว จับกันทั้งภายใน ภายนอก ไม่ไหลหยด ฉันใด

          มหาราช ! ภิกษุ ประพรมกายนี้ ทำให้ชุ่มทั่ว ชุ่มรอบ เต็มรอบ ด้วยปีติและสุข อันเกิดแต่วิเวก ส่วนใดส่วนหนึ่งของกายเธอ ที่ปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก ไม่ถูกต้อง แล้ว มิได้มี ฉันนั้นเหมือนกัน.

การบรรลุ ทุติยฌาน (ฌานที่2) พร้อมทั้งอุปมา
(ทรงอุปมาปิติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ เปรียบเหมือนห้วงนํ้าอันลึก มีน้ำอันพลุ่ง ไม่มีปากทาง น้ำเข้า)

          มหาราช ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุ เพราะสงบวิตกวิจารเสียได้ จึงบรรลุ ฌาน ที่สอง อันเป็นเครื่องผ่องใส แห่งใจในภายใน นำให้เกิดสมาธิมีอารมณ์อันเดียว ไม่มี วิตกวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ แล้วแลอยู่. เธอประพรมกายนี้ทำให้ ชุ่มทั่ว ชุ่มรอบ เต็มรอบ ด้วยปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ ส่วนใด ส่วนหนึ่งของกายเธอ ทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขอันเกิดแต่ สมาธิไม่ถูกต้องแล้ว มิได้มี.

          มหาราช ! เปรียบเหมือน ห้วงนํ้าอันลึก มีน้ำอันพลุ่ง ไม่มีปากทางน้ำ เข้าทางทิศตะวันออก ทิศใต้ ทิศตะวันตก ทิศเหนือ และฝนก็ไม่ตก เพิ่มน้ำให้แก่ ห้วงน้ำนั้น ตลอดกาลโดยกาล ท่อน้ำเย็นพลุ่งขึ้น จากห้วงน้ำ ประพรม ทำให้ ชุ่มถูกต้องห้วงน้ำนั้นเอง ส่วนไหนๆของห้วงน้ำนั้น ที่น้ำเย็นไม่ถูกต้องแล้ว มิได้มี. ข้อนี้เป็นฉันใด

          มหาราช ! ภิกษุ ประพรมกายนี้ทำให้ชุ่มทั่ว ชุ่มรอบเต็มรอบ ด้วยปีติและสุข อันเกิดแต่สมาธิ ส่วนใด ส่วนหนึ่งในกายเธอ ที่ปีติและสุข อันเกิดแต่สมาธิ ไม่ถูกต้อง แล้ว มิได้มี ฉันนั้นเหมือนกัน.

การบรรลุ ตติยฌาน (ฌานที่3) พร้อมทั้งอุปมา
(ทรงอุปมาผู้อยู่อุเบกขา ด้วยสุขที่หาปิติมิได้ เปรียบเหมือนดอกบัว 3 เหล่าที่แช่น้ำเย็น ตั้งแต่ยอดจนถึงราก)

          มหาราช ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุ เพราะความจางคลายไปแห่งปิติ เป็นผู้อยู่ อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วย นามกาย จึง บรรลุฌานที่สาม อันเป็นฌานที่ พระอริยเจ้ากล่าวว่า “ผู้ได้บรรลุฌานนี้ เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข” ดังนี้ แล้วแลอยู่. เธอ ประพรมกายนี้ทำให้ชุ่มทั่ว ชุ่มรอบ เต็มรอบ ด้วยสุขหาปิติมิได้ ส่วนใดส่วนหนึ่งของกายเธอ ทั่วทั้งตัว ที่สุขหาปิติมิได้ ไม่ถูกต้องแล้ว มิได้มี.

          มหาราช ! เปรียบเหมือน ในหนองบัวอุบล หนองบัวปทุม หนองบัว บุณฑริก มีดอกอุบล ดอกปทุม ดอกบุณฑริก บางเหล่าที่เกิดอยู่ในน้ำ เจริญอยู่ในน้ำ ยังขึ้นไม่พ้นน้ำ จมอยู่ภายใต้อันน้ำเลี้ยงไว้ ดอกบัวเหล่านั้นถูกน้ำเย็นแช่ชุ่ม ถูกต้อง ตั้งแต่ยอดตลอดราก ส่วนไหนๆของดอกบัวเหล่านั้น ทั่วทั้งดอกที่น้ำเย็น ไม่ถูกต้อง แล้ว มิได้มี. ข้อนี้เป็นฉันใด

          มหาราช ! ภิกษุประพรมกายนี้ทำให้ชุ่มทั่ว ชุ่มรอบ เต็มรอบ ด้วยสุขหาปิติ มิได้ ส่วนใดส่วนหนึ่งในกายเธอ ที่สุขหาปิติ มิได้ ไม่ถูกต้องแล้ว มิได้มี ฉันนั้น เหมือนกัน.

การบรรลุจตุตถฌาน (ฌานที่4) พร้อมทั้งอุปมา
(ทรงอุปมา สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ เพราะอุเบกขา เปรียบเหมือนชายที่นั่งคลุมด้วยผ้าขาว ตลอดทั้งตัว ไม่มีส่วนไหนที่ไม่ถูกคลุม)

          มหาราช ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุ เพราะละสุขและทุกข์เสียได้ เพราะความดับ หายไปแห่งโสมนัส และ โทมนัส ในกาลก่อน จึง บรรลุฌานที่สี่ อันไม่ทุกข์ไม่สุข มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ เพราะ อุเบกขา แล้วแลอยู่. เธอนั้น นั่งแผ่ไป ตลอดกาลนี้ ด้วยใจอันบริสุทธิ์ผ่องใส ส่วนใดส่วนหนึ่งของกายเธอ ทั่วทั้งตัว ที่ใจอันบริสุทธิ์ผ่องใส ไม่ถูกต้องแล้ว มิได้มี.

          มหาราช ! เปรียบเหมือน ชายคนหนึ่ง นั่งคลุมตัวด้วยผ้าขาวตลอดศีรษะ ส่วนไหน ๆ ในกายเธอทั่วทั้งตัว ที่ผ้าขาวไม่ถูกต้องแล้ว (คือไม่คลุมแล้ว) มิได้มี. ข้อนี้เป็นฉันใด

          มหาราช ! ภิกษุนั่งแผ่ใจอันบริสุทธิ์ผ่องใส ไปตลอดกายนี้ ส่วนใดส่วนหนึ่ง ในกายเธอทั่วทั้งตัว ที่ใจอัน บริสุทธิ์ ผ่องใส ไม่ถูกต้องแล้ว มิได้มี ฉันนั้นเหมือนกัน

 





พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์