เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

สมณะใดไม่ทราบชัดตามความเป็นจริงซึ่งธาตุทั้ง ๔ ย่อมไม่ได้นับว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ 1725
  (ย่อ)

สมณะและพราหมณ์ ไม่ทราบชัดตามความเป็นจริงซึ่งธาตุทั้ง ๔
ย่อมไม่ได้นับว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ ไม่นับว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์

1. ธาตุ ๔ อย่าง อย่างไหนเล่า
    ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ

2. ปุพพสูตร
1) สุขโสมนัสเกิดขึ้นเพราะอาศัย ปฐวีธาตุ นี้เป็นความแช่มชื่นแห่งปฐวีธาตุ
2) ปฐวีธาตุเป็นของไม่เที่ยงเป็นทุกข์ มีความแปรปรวน นี้เป็นโทษแห่งปฐวีธาตุ
3) การกำจัดฉันทราคะ การละฉันทราคะ ในปฐวีธาตุ นี้เป็นเครื่องสลัดออกแห่งปฐวีธาตุ


3. อจริสูตร
เราเที่ยวแสวงหา ความแช่มชื่นแห่ง ปฐวีธาตุ (และอาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ)
เราได้พบ ความแช่มชื่นแห่งปฐวีธาตุนั้นแล้ว
เราได้เห็น ความแช่มชื่นแห่งปฐวีธาตุ เท่าที่มีอยู่ด้วยดีแล้วด้วยปัญญา
เราได้ แสวงหาโทษแห่งปฐวีธาตุ
เราได้ พบโทษแห่ง ปฐวีธาตุนั้นแล้ว
เราได้ เห็นโทษแห่งปฐวีธาตุ เท่าที่มีอยู่ด้วยดีแล้วด้วยปัญญา
เราได้ แสวงหาเครื่องสลัดออกแห่งปฐวีธาตุ
เราได้พบ เครื่องสลัดออกแห่งปฐวีธาตุนั้นแล้ว
เราได้เห็นเครื่องสลัดออกแห่งปฐวีธาตุเท่าที่มีอยู่ด้วยดีแล้ว ด้วยปัญญา
เมื่อใด เราทราบชัดซึ่งโทษโดยความเป็นโทษ รู้เครื่องสลัดออก เราจึงปฏิญาณว่าเป้นผู้ตรัสรู้ สัมโพธิญาณ


4. โนเจทสูตร
ก็เมื่อใดแล สัตว์เหล่านี้ได้ ทราบชัดตามความเป็นจริงซึ่งความแช่มชื่นโดยเป็นความแช่มชื่น ซึ่งโทษโดยความเป็นโทษ ซึ่งเครื่องสลัดออก โดยความเป็นเครื่องสลัดออก แห่ง ธาตุทั้ง ๔ เหล่านี้ เมื่อนั้นสัตว์เหล่านี้ย่อมสลัดตนออกได้ พรากออกได้ หลุดพ้น ไปจากโลกพร้อมทั้งเทวโลกมารโลก พรหมโลก และจากหมู่สัตว์พร้อมทั้ง สมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ จึงได้มีใจข้ามพ้นจากแดนกิเลสและวัฏฏะอยู่ ดังนี้


5. ทุกขสูตร
ถ้าปฐวีธาตุมีทุกข์โดยส่วนเดียว โดยไม่มีสุข สัตว์จะไม่พึงยินดีในปฐวีธาตุ เพราะปฐวีธาตุ มีสุข ไม่มีทุกข์ สัตว์จึงไม่เบื่อหน่ายในปฐวีธาตุ แต่เพราะวาโยธาตุมีทุกข์อันหยั่งลงถึง อันสุขไม่หยั่งลงถึง สัตว์จึงเบื่อหน่ายจากวาโยธาตุ

6. อภินันทนสูตร
ผู้ใดชื่นชมปฐวีธาตุ ผู้นั้นชื่อว่าชื่นชมทุกข์
ผู้ใดย่อมชื่นชมทุกข์ เรากล่าวว่าผู้นั้นไม่หลุดพ้นจากทุกข์
ผู้ใดไม่ชื่นชมปฐวีธาตุ ผู้นั้นชื่อว่าไม่ชื่นชมทุกข์
ผู้ใดไม่ชื่นชมทุกข์ เรากล่าวว่าผู้นั้นหลุดพ้นจากทุกข์



7.
อุปปาทสูตร
ความเกิด ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏ แห่งปฐวีธาตุ เป็นความเกิดแห่งทุกข์ เป็นที่ตั้งแห่งโรค เป็นความปรากฏแห่งชรามรณะ
ความดับ ความสงบ ความสูญสิ้นแห่งปฐวีธาตุ นั่นเป็นความดับแห่งทุกข์ เป็นความสงบ แห่งโรค เป็นความสูญสิ้นแห่งชรามรณะ



8. สมณพราหมณสูตรที่ ๑
สมณะหรือพราหมณ์ ไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งความแช่มชื่น โทษ และเครื่องสลัดออก แห่ง ธาตุทั้ง ๔ สมณะหรือพราหมณ์พวกนั้น ย่อมไม่ได้รับสมมติว่าเป็นสมณะ ในหมู่สมณะ ย่อมไม่ได้รับ สมมติว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ

9. สมณพราหมณสูตรที่ ๒
สมณะหรือพราหมณ์บางพวก ไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งเหตุเกิด ความดับ ความ แช่มชื่น โทษ และเครื่องสลัดออกแห่งธาตุทั้ง ๔ เหล่านี้ สมณะหรือพราหมณ์พวกนั้น ย่อม ไม่ได้รับสมมติ ว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ ย่อมไม่ได้รับสมมติว่าเป็นพราหมณ์ ในหมู่พราหมณ์

10. สมณพราหมณสูตรที่ ๓
สมณะหรือพราหมณ์บางพวก ไม่ทราบชัดซึ่งปฐวีธาตุ เหตุเกิดแห่งปฐวีธาตุ ความดับแห่ง ปฐวีธาตุ ปฏิปทา เครื่องให้ถึงความดับแห่งปฐวีธาตุ สมณะหรือพราหมณ์พวกนั้น ย่อมไม่ได้รับ สมมติว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ ไม่ได้รับสมมติว่า เป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ และ ท่าน เหล่านั้น ย่อมไม่กระทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์แห่งความเป็นสมณะ หรือประโยชน์แห่งความเป็น พราหมณ์ ด้วยปัญญาอันรู้ยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่
(ไม่ทราบความจริงในธาตุนั้น เหตุเกิดของธาตุ ความดับไม่เหลือของธาตุ ปฏิปทาให้ถึงความดับ ไม่เหลือ ของธาตุ.. คือไม่ทราบ ญาณธาตุ ไม่มีความรู้ หรือ ไม่รู้อริยสัจสี่ในธาตุนั้นๆ)

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 

 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๖ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๖๙ - ๑๗๖

1.
จตัสสสูตร

          [๔๐๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแลพระผู้มีพระภาคตรัสเรียก ภิกษุทั้งหลาย ... แล้วได้ตรัสว่า

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธาตุเหล่านี้มี ๔ อย่าง คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ ภิกษุทั้งหลาย ธาตุ ๔ อย่างเหล่านี้แลดังนี้

2.
ปุพพสูตร

1) สุขโสมนัสเกิดขึ้นเพราะอาศัย ปฐวีธาตุ นี้เป็นความแช่มชื่นแห่งปฐวีธาตุ
2) ปฐวีธาตุเป็นของไม่เที่ยงเป็นทุกข์ มีความแปรปรวน นี้เป็นโทษแห่งปฐวีธาตุ
3) การกำจัดฉันทราคะ การละฉันทราคะ ในปฐวีธาตุ นี้เป็นเครื่องสลัดออกแห่งปฐวีธาตุ

          [๔๐๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก่อนแต่ตรัสรู้ เมื่อเราเป็นพระโพธิสัตว์ยังไม่ได้ตรัสรู้ ได้มีความดำริดังนี้ว่า อะไรหนอเป็นความแช่มชื่น อะไรเป็นโทษอะไรเป็นเครื่องสลัดออก แห่งปฐวีธาตุ อะไรเป็นความแช่มชื่น อะไรเป็นโทษอะไรเป็นเครื่องสลัดออก แห่งอาโปธาตุ อะไรเป็นความแช่มชื่น อะไรเป็นโทษอะไรเป็นเครื่องสลัดออก แห่งเตโชธาตุ อะไรเป็นความแช่มชื่น อะไรเป็นโทษอะไรเป็นเครื่องสลัดออก แห่งวาโยธาตุ

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรานั้นได้มีความดำริดังนี้ว่า
1) สุขโสมนัสเกิดขึ้นเพราะอาศัย
ปฐวีธาตุ นี้เป็นความแช่มชื่น แห่งปฐวีธาตุ
2)
ปฐวีธาตุเป็นของไม่เที่ยงเป็นทุกข์
มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษแห่ง ปฐวีธาตุ
3) การกำจัดฉันทราคะ การละฉันทราคะ ในปฐวีธาตุ นี้เป็นเครื่องสลัดออก แห่ง ปฐวีธาตุ

         สุขโสมนัสเกิดขึ้นเพราะอาศัย อาโปธาตุ นี้เป็นความแช่มชื่นแห่ง อาโปธาตุ อาโปธาตุ เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดานี้ เป็นโทษแห่ง อาโปธาตุ การกำจัดฉันทราคะ การละฉันทราคะใน อาโปธาตุ นี้เป็นเครื่องสลัดออก แห่ง อาโปธาตุ

       สุขโสมนัสเกิดขึ้นเพราะอาศัย เตโชธาตุ นี้เป็นความแช่มชื่นแห่ง เตโชธาตุ เตโชธาตุ เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษแห่ง เตโชธาตุ การกำจัดฉันทราคะ การละฉันทราคะใน เตโชธาตุ นี้เป็นเครื่องสลัดออก แห่ง เตโชธาตุ

      สุขโสมนัสเกิดขึ้นเพราะอาศัย วาโยธาตุ นี้เป็นความแช่มชื่นแห่ง วาโยธาตุ วาโยธาตุ เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษแห่ง วาโยธาตุ การกำจัดฉันทราคะ การละฉันทราคะใน วาโยธาตุ นี้เป็นเครื่องสลัดออก แห่ง วาโยธาตุ

          [๔๐๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตราบเท่าที่เรายังไม่ได้ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งความแช่มชื่นโดยเป็นความแช่มชื่น ซึ่งโทษโดยความเป็นโทษ ซึ่งเครื่องสลัดออก โดยความเป็นเครื่องสลัดออก แห่งธาตุเหล่านี้เพียงใด เราก็ปฏิญาณไม่ได้ว่า เป็นผู้ได้ ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลก พร้อมทั้งเทวโลกมารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์เพียงนั้น

          แต่เมื่อใด เราได้ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งความแช่มชื่นโดยเป็นความ แช่มชื่น ซึ่งโทษโดยความเป็นโทษ ซึ่งเครื่องสลัดออก โดยความเป็นเครื่องสลัดออก แห่งธาตุ ๔ เหล่านี้ เมื่อนั้น เราจึงปฏิญาณได้ว่า เป็นผู้ได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมา สัมโพธิญาณในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้ง สมณพราหมณ์เทวดาและมนุษย์ อนึ่ง ญาณทัสสนะได้เกิดขึ้นแก่เราว่า วิมุตติของเรา ไม่กำเริบ ชาตินี้เป็นชาติที่สุด บัดนี้การเกิดอีกย่อมไม่มี ดังนี้



3.
อจริสูตร

เราเที่ยวแสวงหา ความแช่มชื่นแห่ง ปฐวีธาตุ (และอาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ)
เราได้ พบ ความแช่มชื่นแห่งปฐวีธาตุนั้นแล้ว
เราได้ เห็น ความแช่มชื่นแห่งปฐวีธาตุ
เราได้ แสวงหาโทษแห่งปฐวีธาตุ
เราได้ พบโทษ แห่งปฐวีธาตุนั้นแล้ว
เราได้ เห็นโทษ แห่งปฐวีธาตุ เท่าที่มีอยู่ด้วยดีแล้วด้วยปัญญา
เราได้ แสวงหาเครื่องสลัดออก แห่งปฐวีธาตุ
เราได้ พบเครื่องสลัดออก แห่งปฐวีธาตุนั้นแล้ว
เราได้ เห็นเครื่องสลัดออกแห่งปฐวีธาตุ เท่าที่มีอยู่ด้วยดีแล้ว ด้วยปัญญา

เมื่อใด เราทราบชัดซึ่งโทษโดยความเป็นโทษ รู้เครื่องสลัดออก เราจึงปฏิญาณว่าเป้นผู้ตรัสรู้ สัมโพธิญาณ

          [๔๐๖] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถ บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย ... แล้วได้ตรัสว่า

         ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เราได้เที่ยวแสวงหาความแช่มชื่นแห่ง ปฐวีธาตุ
ได้พบความแช่มชื่นแห่งปฐวีธาตุนั้นแล้ว
เราได้เห็นความแช่มชื่นแห่งปฐวีธาตุ เท่าที่มีอยู่ด้วยดีแล้วด้วยปัญญา
เราได้แสวงหาโทษแห่งปฐวีธาตุ
ได้พบโทษแห่ง ปฐวีธาตุนั้นแล้ว
เราได้เห็นโทษแห่งปฐวีธาตุ เท่าที่มีอยู่ด้วยดีแล้วด้วยปัญญา
เราได้แสวงหาเครื่องสลัดออกแห่งปฐวีธาตุ
ได้พบเครื่องสลัดออกแห่งปฐวีธาตุนั้นแล้ว

เราได้เห็น เครื่องสลัดออกแห่งปฐวีธาตุเท่าที่มีอยู่ด้วยดีแล้ว ด้วยปัญญา

เราได้แสวงหาความแช่มชื่นแห่ง อาโปธาตุ ฯลฯ
เราได้แสวงหาความแช่มชื่นแห่ง เตโชธาตุ ฯลฯ
เราได้แสวงหาความแช่มชื่นแห่ง วาโยธาตุ
ได้พบความแช่มชื่นแห่งวาโยธาตุนั้นแล้ว เราได้เห็นความแช่มชื่นแห่งวาโยธาตุ เท่าที่มีอยู่ด้วยดีแล้ว ด้วยปัญญา เราได้เที่ยวแสวงหาโทษแห่งวาโยธาตุ ได้พบโทษแห่งวาโยธาตุนั้นแล้ว เราได้เห็นโทษแห่งวาโยธาตุเท่าที่มีอยู่ด้วยดีแล้วด้วยปัญญา เราได้แสวงหาเครื่องสลัดออกแห่งวาโยธาตุ ได้พบเครื่องสลัดออกแห่งวาโยธาตุ นั้นแล้ว เราได้เห็นเครื่องสลัดออกแห่งวาโยธาตุ เท่าที่มีอยู่ด้วยดีแล้ว ด้วยปัญญา

          [๔๐๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตราบเท่าที่เรายังไม่ได้ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งความแช่มชื่นซึ่งโทษโดยความเป็นโทษ ซึ่งเครื่องสลัดออก โดยความเป็นเครื่อง สลัดออก แห่งธาตุทั้ง ๔ เหล่านี้เพียงใด เราก็ยังปฏิญาณไม่ได้ว่า เป็นผู้ได้ตรัสรู้ พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์เพียงนั้น

          แต่เมื่อใด เราได้ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งความแช่มชื่นโดยเป็น ความแช่มชื่น ซึ่งโทษโดยความเป็นโทษ ซึ่งเครื่องสลัดออก โดยความเป็นเครื่อง สลัดออก แห่งธาตุทั้ง ๔ เหล่านี้ เมื่อนั้น เราจึงปฏิญาณว่า เป็นผู้ได้ตรัสรู้ พระอนุตตร สัมมาสัมโพธิญาณ ในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลกในหมู่สัตว์ พร้อมทั้ง สมณพราหมณ์เทวดาและมนุษย์ อนึ่ง ญาณทัสสนะได้เกิดขึ้นแก่เราว่า วิมุตติของเรา ไม่กำเริบ ชาตินี้เป็นชาติที่สุด บัดนี้ การเกิดอีกย่อมไม่มี ดังนี้



4.
โนเจทสูตร

ก็เมื่อใดแล สัตว์เหล่านี้ได้ ทราบชัดตามความเป็นจริงซึ่งความแช่มชื่นโดยเป็นความ แช่มชื่น ซึ่งโทษโดยความเป็นโทษ ซึ่งเครื่องสลัดออก โดยความเป็นเครื่องสลัดออก แห่ง ธาตุทั้ง ๔ เหล่านี้ เมื่อนั้นสัตว์เหล่านี้ย่อมสลัดตนออกได้ พรากออกได้ หลุดพ้น ไปจากโลก พร้อมทั้งเทวโลกมารโลก พรหมโลก และจากหมู่สัตว์พร้อมทั้ง สมณพราหมณ์ เทวดาและ มนุษย์ จึงได้มีใจข้ามพ้นจากแดนกิเลสและวัฏฏะอยู่ ดังนี้

          [๔๐๘] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถ บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย ... แล้วได้ตรัสว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าว่าความแช่มชื่น แห่งปฐวีธาตุไม่ได้มีแล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลายไม่พึงยินดีในปฐวีธาตุ ก็เพราะความแช่มชื่นแห่งปฐวีธาตุมีอยู่แล

          ฉะนั้นสัตว์ทั้งหลายจึงยินดีในปฐวีธาตุ ถ้าว่าโทษแห่งปฐวีธาตุ ไม่ได้มีแล้ว ไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงเบื่อหน่ายในปฐวีธาตุ ก็เพราะโทษแห่งปฐวีธาตุมีอยู่แล

          ฉะนั้นสัตว์ทั้งหลายจึงเบื่อหน่ายในปฐวีธาตุ ถ้าว่าเครื่องสลัดออกแห่ง ปฐวีธาตุ ไม่ได้มีแล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงสลัด [ตน] ออกจากปฐวีธาตุ ก็เพราะเครื่องสลัดออกจากปฐวีธาตุมีอยู่แล

          ฉะนั้นสัตว์ทั้งหลายจึงสลัด[ตน] ออกจากปฐวีธาตุ ถ้าว่าความแช่มชื่นแห่ง อาโปธาตุไม่ได้มีแล้วไซร้ ... แห่งเตโชธาตุไม่ได้มีแล้วไซร้ ... ถ้าว่าความแช่มชื่นแห่ง วาโยธาตุไม่ได้มีแล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงยินดีในวาโยธาตุ ก็เพราะความแช่มชื่น แห่งวาโยธาตุมีอยู่แล

          ฉะนั้นสัตว์ทั้งหลายจึงยินดีในวาโยธาตุ ถ้าว่าโทษแห่งวาโยธาตุไม่ได้มี แล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงเบื่อหน่ายในวาโยธาตุ ถ้าว่าเครื่องสลัดออกแห่ง วาโยธาตุไม่ได้มีแล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงสลัด [ตน] ออกจากวาโยธาตุ ก็เพราะเครื่องสลัดออก แห่งวาโยธาตุมีอยู่แล ฉะนั้นสัตว์ทั้งหลายจึงสลัด [ตน] ออกจากวาโยธาตุ

          [๔๐๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตราบเท่าที่สัตว์เหล่านี้ ยังไม่ทราบชัดตาม ความเป็นจริง ซึ่งความแช่มชื่น โดยเป็นความแช่มชื่น ซึ่งโทษโดยความเป็น โทษ ซึ่งเครื่องสลัดออก โดยความเป็นเครื่องสลัดออก แห่งธาตุทั้ง ๔ เหล่านี้ เพียงใด สัตว์เหล่านี้ ก็ยังสลัดตนออกไม่ได้ พรากออกไม่ได้ ยังไม่หลุดพ้นไปจาก โลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก และจากหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ มีใจข้ามพ้นจากแดนกิเลสและวัฏฏะไม่ได้เพียงนั้น ก็เมื่อใดแล สัตว์เหล่านี้ได้ ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งความแช่มชื่นโดยเป็นความแช่มชื่น ซึ่งโทษโดยความเป็นโทษ ซึ่งเครื่องสลัดออก โดยความเป็นเครื่องสลัดออก แห่ง ธาตุทั้ง ๔ เหล่านี้ เมื่อนั้นสัตว์เหล่านี้ย่อมสลัดตนออกได้ พรากออกได้ หลุดพ้น ไปจากโลกพร้อมทั้งเทวโลกมารโลก พรหมโลก และจากหมู่สัตว์พร้อมทั้ง สมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ จึงได้มีใจข้ามพ้นจากแดนกิเลสและวัฏฏะอยู่ ดังนี้



5.
ทุกขสูตร

ถ้าปฐวีธาตุมีทุกข์โดยส่วนเดียว โดยไม่มีสุข สัตว์จะไม่พึงยินดีในปฐวีธาตุ
เพราะปฐวีธาตุมีสุข ไม่มีทุกข์ สัตว์จึงไม่เบื่อหน่ายในปฐวีธาตุ

แต่เพราะวาโยธาตุมีทุกข์อันหยั่งลงถึง อันสุขไม่หยั่งลงถึง สัตว์จึงเบื่อหน่ายจากวาโยธาตุ



          [๔๑๐] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถ บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย ... แล้วได้ตรัสว่า

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฐวีธาตุ นี้ จักมี ทุกข์ โดยส่วนเดียว อันทุกข์ติดตามถึง อันทุกข์หยั่งลงถึง อัน สุข ไม่หยั่งลงถึง แล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงยินดี ใน ปฐวีธาตุ แต่เพราะปฐวีธาตุอันสุขติดตามถึง อันสุขหยั่ง ลงถึง อันทุกข์ไม่หยั่งลงถึง ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงยินดี ในปฐวีธาตุนี้ ..อาโปธาตุนี้ ..เตโชธาตุนี้ . วาโยธาตุนี้ จักมีทุกข์โดยส่วนเดียว อันทุกข์ติดตามถึง อันทุกข์หยั่งลงถึง อันสุขไม่หยั่งลงถึง แล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงยินดีในวาโยธาตุแต่เพราะวาโยธาตุ อันสุขติดตามถึง อันสุขหยั่งลงถึง อันทุกข์ไม่หยั่งลงถึง ฉะนั้นสัตว์ทั้งหลายจึงยินดีในวาโยธาตุ

          [๔๑๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฐวีธาตุ นี้ จักมี สุข โดยส่วนเดียว อันสุข ติดตามถึง อันสุขหยั่งลงถึง อัน ทุกข์ ไม่หยั่งลงถึง แล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึง เบื่อหน่าย จากปฐวีธาตุ แต่เพราะปฐวีธาตุมีทุกข์ อันทุกข์ติดตามถึง อันทุกข์หยั่งลง ถึง อันสุข ไม่หยั่งลงถึงฉะนั้นสัตว์ทั้งหลาย จึงเบื่อหน่ายจากปฐวีธาตุ อาโปธาตุนี้ ... เตโชธาตุนี้ ... วาโยธาตุนี้จักมีสุขโดยส่วนเดียว อันสุขติดตามถึง อันสุขหยั่งลงถึง อันทุกข์ไม่หยั่งลงถึงแล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงเบื่อหน่ายจากวาโยธาตุ

          แต่เพราะ วาโยธาตุมีทุกข์ อันทุกข์ติดตามถึง อันทุกข์หยั่งลงถึง อันสุข ไม่หยั่งลงถึง ฉะนั้นสัตว์ทั้งหลาย จึงเบื่อหน่ายจากวาโยธาตุ ดังนี้



6.
อภินันทนสูตร

ผู้ใดชื่นชมปฐวีธาตุ ผู้นั้นชื่อว่าชื่นชมทุกข์
ผู้ใดย่อมชื่นชมทุกข์ เรากล่าวว่าผู้นั้นไม่หลุดพ้นจากทุกข์
ผู้ใดไม่ชื่นชมปฐวีธาตุ ผู้นั้นชื่อว่าไม่ชื่นชมทุกข์
ผู้ใดไม่ชื่นชมทุกข์ เรากล่าวว่าผู้นั้นหลุดพ้นจากทุกข์

          [๔๑๒] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถ บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย ... แล้วได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดย่อมชื่นชมปฐวีธาตุ ผู้นั้นชื่อว่าย่อมชื่นชม ทุกข์ ผู้ใดย่อมชื่นชมทุกข์ เรากล่าวว่าผู้นั้นไม่หลุดพ้นจากทุกข์ ผู้ใดย่อมชื่นชม อาโปธาตุ ... ผู้ใดย่อมชื่นชมเตโชธาตุ ... ผู้ใดย่อมชื่นชมวาโยธาตุผู้นั้นชื่อว่า ชื่นชม ทุกข์ ผู้ใดชื่นชมทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้นไม่หลุดพ้นจากทุกข์ดังนี้

          [๔๑๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดย่อมไม่ชื่นชมปฐวีธาตุ ผู้นั้นชื่อว่าไม่ชื่นชม ทุกข์ ผู้ใดไม่ชื่นชมทุกข์ เรากล่าวว่าผู้นั้นหลุดพ้นจากทุกข์ ผู้ใดไม่ชื่นชมอาโปธาตุ ... ผู้ใดไม่ชื่นชมเตโชธาตุ ...ผู้ใดไม่ชื่นชมวาโยธาตุ ผู้นั้นชื่อว่าไม่ชื่นชมทุกข์ ผู้ใดไม่ชื่นชมทุกข์ เรากล่าวว่าผู้นั้นหลุดพ้นจากทุกข์ ดังนี้



7.

อุปปาทสูตร
ความเกิด ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏ แห่งปฐวีธาตุ เป็นความเกิดแห่งทุกข์ เป็นที่ตั้งแห่งโรค เป็นความปรากฏแห่งชรามรณะ
ความดับ ความสงบ ความสูญสิ้นแห่งปฐวีธาตุ นั่นเป็นความดับแห่งทุกข์ เป็นความสงบ แห่งโรค เป็นความสูญสิ้นแห่งชรามรณะ

          [๔๑๔] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถ บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย ... แล้วได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเกิด ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏ แห่งปฐวีธาตุ นั่นเป็นความเกิดแห่งทุกข์ เป็นที่ตั้งแห่งโรค เป็นความปรากฏแห่ง ชรามรณะ ความเกิด ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งอาโปธาตุ ... แห่ง เตโชธาตุ ...แห่งวาโยธาตุ นั่นเป็นความเกิดแห่งทุกข์เป็นที่ตั้งแห่งโรค เป็นความปรากฏ แห่งชรามรณะ

          [๔๑๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความดับ ความสงบ ความสูญสิ้นแห่งปฐวีธาตุ นั่นเป็นความดับแห่งทุกข์ เป็นความสงบแห่งโรค เป็นความสูญสิ้นแห่งชรามรณะ ความดับความสงบความสูญสิ้นแห่ง อาโปธาตุ ... แห่งเตโชธาตุ ... แห่งวาโยธาตุ นั่นเป็นความดับแห่งทุกข์ เป็นความสงบแห่งโรค เป็นความสูญสิ้นแห่งชรามรณะ



8.
สมณพราหมณสูตรที่ ๑

สมณะหรือพราหมณ์ ไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งความแช่มชื่น โทษ และเครื่องสลัด ออก แห่งธาตุทั้ง ๔ สมณะหรือพราหมณ์พวกนั้น ย่อมไม่ได้รับสมมติว่าเป็นสมณะ ในหมู่ สมณะ ย่อมไม่ได้รับสมมติว่าเป็นพราหมณ์ ในหมู่พราหมณ์

          [๔๑๖] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถ บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย ... แล้วได้ตรัสว่า

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธาตุเหล่านี้มี ๔ อย่างคือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ ก็สมณะหรือพราหมณ์บางพวก ย่อมไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งความแช่มชื่น โทษ และเครื่องสลัดออกแห่งธาตุทั้ง ๔ เหล่านี้ สมณะหรือ พราหมณ์ พวกนั้น ย่อมไม่ได้รับสมมติว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ ย่อมไม่ได้รับ สมมติ ว่าเป็นพราหมณ์ ในหมู่พราหมณ์ ท่านสมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมไม่กระทำให้แจ้ง ซึ่งประโยชน์แห่งความเป็นสมณะ หรือประโยชน์แห่งความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญา อันรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่

          [๔๑๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์บางพวก ย่อมทราบชัด ตามความเป็นจริง ซึ่งความแช่มชื่น โทษ และเครื่องสลัดออกแห่งธาตุทั้ง ๔ เหล่านี้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นแล ย่อมได้รับสมมติว่า เป็นสมณะในหมู่สมณะ ได้รับ สมมติว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ และท่านเหล่านั้น ย่อมกระทำให้แจ้งซึ่ง ประโยชน์ แห่งความเป็นสมณะ และประโยชน์แห่งความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญา อันรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ดังนี้



9.
สมณพราหมณสูตรที่ ๒

สมณะหรือพราหมณ์บางพวก ไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งเหตุเกิด ความดับ ความ แช่มชื่น โทษ และเครื่องสลัดออกแห่งธาตุทั้ง ๔ เหล่านี้ สมณะหรือพราหมณ์พวกนั้น ย่อม ไม่ได้รับสมมติว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ ย่อมไม่ได้รับสมมติว่าเป็นพราหมณ์ ในหมู่พราหมณ์

          [๔๑๘] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถ บิณฑิกเศรษฐีเขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย ... แล้วได้ตรัสว่า

         ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธาตุเหล่านี้มี ๔ อย่างคือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ ก็สมณะหรือพราหมณ์บางพวก ย่อมไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งเหตุเกิด ความดับ ความแช่มชื่น โทษ และเครื่องสลัดออกแห่งธาตุทั้ง ๔ เหล่านี้ สมณะหรือพราหมณ์พวกนั้น ย่อมไม่ได้รับสมมติว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ ไม่ได้รับสมมติว่า เป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ ส่วนสมณะหรือพราหมณ์บางพวก ย่อมทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งเหตุเกิดความดับ ความแช่มชื่น โทษและเครื่อง สลัดออกแห่งธาตุทั้ง ๔ เหล่านี้ ...



10.
สมณพราหมณสูตรที่ ๓

สมณะหรือพราหมณ์บางพวก ไม่ทราบชัดซึ่งปฐวีธาตุ เหตุเกิดแห่งปฐวีธาตุ ความดับแห่ง ปฐวีธาตุปฏิปทา เครื่องให้ถึงความดับแห่ง ปฐวีธาตุ สมณะหรือพราหมณ์พวกนั้น ย่อมไม่ได้ รับ สมมติว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ ไม่ได้รับสมมติว่า เป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ และ ท่าน เหล่านั้น ย่อมไม่กระทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์แห่งความเป็นสมณะ หรือประโยชน์แห่งความเป็น พราหมณ์ ด้วยปัญญาอันรู้ยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่

          [๔๑๙] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถ บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย ... แล้วได้ตรัสว่า

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์บางพวก ย่อมไม่ทราบชัด ซึ่งปฐวีธาตุ เหตุเกิดแห่งปฐวีธาตุ ความดับแห่งปฐวีธาตุปฏิปทา เครื่องให้ถึงความดับ แห่ง ปฐวีธาตุ ย่อมไม่ทราบชัดซึ่งอาโปธาตุ ...ซึ่งเตโชธาตุ ... ซึ่งวาโยธาตุ เหตุเกิด แห่งวาโยธาตุ ความดับแห่งวาโยธาตุ ปฏิปทาเครื่องให้ถึงความดับแห่งวาโยธาตุ สมณะ หรือ พราหมณ์ พวกนั้น ย่อมไม่ได้รับสมมติว่าเป็นสมณะในหมู่ สมณะ ไม่ได้รับสมมติ ว่า เป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ และท่านเหล่านั้น ย่อมไม่กระทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ แห่ง ความเป็นสมณะ หรือประโยชน์แห่งความ เป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันรู้ยิ่งด้วย ตนเอง ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่

          [๔๒๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์บางพวก ย่อมทราบชัด ซึ่งปฐวีธาตุเหตุเกิดแห่งปฐวีธาตุ ความดับแห่งปฐวีธาตุ ปฏิปทาเครื่องให้ถึงความดับ แห่งปฐวีธาตุ ย่อมทราบชัด ซึ่งอาโปธาตุ ... ซึ่งเตโชธาตุ ... ซึ่งวาโยธาตุ เหตุเกิด แห่ง วาโยธาตุ ความดับแห่งวาโยธาตุ ปฏิปทาเครื่องให้ถึงความดับแห่งวาโยธาตุ สมณะหรือพราหมณ์พวกนั้น ย่อมได้รับสมมติว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ ได้รับสมมติว่า เป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ และท่านเหล่านั้น ย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ แห่ง ความเป็นสมณะ หรือประโยชน์แห่งความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ดังนี้

 





พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์