เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

อกุศลธรรมเสื่อมไป เพราะความเจริญขึ้นของกุศลธรรม (นิชชรวัตถุสูตร) 1719
  (ย่อ)

อกุศลธรรมเสื่อมไป เพราะความเจริญขึ้นของกุศลธรรม (นิชชรวัตถุสูตร)
(๑) บุคคลผู้ถึงความเจริญบริบูรณ์ ในความเห็นชอบ ความเห็นผิดย่อมเสื่อมไป
(๒) บุคคลผู้ถึงความเจริญบริบูรณ์ ในความดำริชอบ ความดำริผิดย่อมเสื่อมไป
(๓) บุคคลผู้ ถึงความเจริญบริบูรณ์ ในวาจาชอบ วาจาผิดย่อมเสื่อมไป
(๔) บุคคลผู้ ถึงความเจริญบริบูรณ์ ในการงานชอบ การงานผิดย่อมเสื่อมไป
(๕) บุคคลผู้ถึงความเจริญบริบูรณ์ ในการเลี้ยงชีพชอบ การเลี้ยงชีพผิดย่อมเสื่อมไป
(๖) บุคคลผู้ถึงความเจริญบริบูรณ์ ในความพยายามชอบ ความพยายามผิดย่อมเสื่อมไป
(๗) บุคคลผู้ถึงความเจริญบริบูรณ์ ในความระลึกชอบ ความระลึกผิดย่อมเสื่อมไป
(๘) บุคคลผู้ถึงความเจริญบริบูรณ์ ในความตั้งใจชอบ ความตั้งใจผิดย่อมเสื่อมไป
(๙) บุคคลผู้ถึงความเจริญบริบูรณ์ ในความรู้ชอบ ความรู้ผิดย่อมเสื่อมไป
(๑๐)บุคคลผู้ถึงความเจริญบริบูรณ์ ในความหลุดพ้นชอบ ความหลุดพ้นผิดย่อมเสื่อมไป

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 

 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๔ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๘๔

อกุศลธรรมเสื่อมไป เพราะความเจริญขึ้นของกุศลธรรม
(นิชชรวัตถุสูตร)


           [๑๐๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหตุแห่งการเสื่อมไปมี ๑๐ ประการนี้ ๑๐ ประการเป็นไฉน

         ดูกรภิกษุทั้งหลาย (๑) บุคคลผู้มีความเห็นชอบ ย่อมมีความเห็นผิดเสื่อมไป มีอกุศลบาปธรรมเป็นอันมากที่เกิดขึ้น เพราะความเห็นผิด เป็นปัจจัยเสื่อมไป และ กุศลธรรมเป็นอันมาก ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะความเห็นชอบเป็นปัจจัย

         ดูกรภิกษุทั้งหลาย (๒) บุคคลผู้มีความดำริชอบ ย่อมมีความดำริผิดเสื่อมไป มีอกุศลบาปธรรมเป็นอันมากที่เกิดขึ้น เพราะความดำริผิด เป็นปัจจัยเสื่อมไป และ กุศลธรรมเป็นอันมาก ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะความดำริชอบเป็นปัจจัย

         ดูกรภิกษุทั้งหลาย(๓) บุคคลผู้มีวาจาชอบ ย่อมมีวาจาผิดเสื่อมไป ...และ กุศลธรรมเป็นอันมากย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะวาจาชอบเป็นปัจจัย

         ดูกรภิกษุทั้งหลาย(๔) บุคคลผู้มีการงานชอบ ย่อมมีการงานผิดเสื่อมไป ...และ กุศลธรรมเป็นอันมากย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะการงานชอบเป็นปัจจัย

         ดูกรภิกษุทั้งหลาย(๕) บุคคลผู้มีการเลี้ยงชีพชอบ ย่อมมีการเลี้ยงชีพผิด เสื่อมไป ... และ กุศลธรรมเป็นอันมาก ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะการเลี้ยงชีพ ชอบ เป็นปัจจัย

         ดูกรภิกษุทั้งหลาย (๖) บุคคลผู้มีความพยายามชอบ ย่อมมีความพยายาม ผิด เสื่อมไป ...และกุศลธรรมเป็นอันมากย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะความ พยายาม ชอบเป็นปัจจัย

         ดูกรภิกษุทั้งหลาย(๗) บุคคลผู้มีความระลึกชอบ ย่อมมีความระลึกผิด เสื่อมไป ... และกุศลธรรมเป็นอันมากย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะความระลึกชอบ เป็นปัจจัย

         ดูกรภิกษุทั้งหลาย(๘) บุคคลผู้มีความตั้งใจชอบ ย่อมมีความตั้งใจผิด เสื่อมไป ... และกุศลธรรมเป็นอันมากย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะความตั้งใจชอบ เป็นปัจจัย

         ดูกรภิกษุทั้งหลาย (๙) บุคคลผู้มีความรู้ชอบ ย่อมมีความรู้ผิดเสื่อมไป มี อกุศลบาปธรรม เป็นอันมาก ที่เกิดขึ้น เพราะความรู้ผิดเป็นปัจจัยเสื่อมไป และ กุศลธรรม เป็นอันมาก ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะความรู้ชอบเป็นปัจจัย

         ดูกรภิกษุทั้งหลาย (๑๐) บุคคลผู้มีความหลุดพ้นชอบ ย่อมมีความ หลุดพ้น ผิด เสื่อมไป มีอกุศลบาปธรรมเป็นอันมากที่เกิดขึ้น เพราะความหลุดพ้นผิด เป็นปัจจัย เสื่อมไป และกุศลธรรมเป็นอันมากย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะความหลุดพ้นชอบ เป็นปัจจัย

         ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหตุแห่งการเสื่อมไปมี ๑๐ ประการนี้แล

 





พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์