เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

จังกีพราหมณ์ สรรเสริญคุณของพระพุทธเจ้า 1720
  (ย่อ)

ทรงสละเงินและทองมากมาย เสด็จออกทรงผนวชเป็นบรรพชิต
ทรงมีพระรูปงาม มีพระวรรณะคล้ายพรหม มีพระสรีระคล้ายพรหม
ทรงมีศีล มีศีลเป็นอริยะ มีศีลเป็นกุศล
มีพระวาจาไพเราะ มีวาจาที่ไม่มีโทษ
ทรงเป็นอาจารย์ และปาจารย์ของคนหมู่มาก
ทรงมีกามราคะสิ้นแล้ว
ทรงเป็นกรรมวาทีเป็นกิริยวาที ไม่ทรงมุ่งร้ายแก่พวกพราหมณ์
ทรงเสด็จออกผนวชจากสกุลสูงคือ จากสกุลกษัตริย์
คนต่างรัฐต่างชนบท พากันมาทูลถามปัญหาพระสมณโคดม
เทวดาหลายพันพากันมอบกายถวายชีวิตถึงพระสมณโคดมเป็นสรณะ
กิตติศัพท์อันงามขจรไปแล้ว เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม
มทรงประกอบด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ
พระเจ้าพิมพิสารพร้อมทั้งพระโอรสและพระมเหสี ถึงพระสมณโคดมเป็นสรณะ
พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงมอบกาย ถวายพระชนม์ถึงพระสมณโคดมเป็นสรณะ
พราหมณ์โปกขรสาติพร้อมด้วยบุตรและภรรยา ถึงพระสมณโคดมเป็นสรณะ

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 

 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๓ สุตตันตปิฎกหน้าที่ ๔๔๖

จังกีพราหมณ์ สรรเสริญคุณของพระพุทธเจ้า

            [๖๕๐] เมื่อพราหมณ์ทั้งหลายกล่าวอย่างนี้แล้ว จังกีพราหมณ์ ได้กล่าวกะ พราหมณ์ เหล่านั้นว่า ดูกรท่านผู้เจริญทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น ขอท่านทั้งหลายจงฟัง ข้าพเจ้าบ้าง เรานี่แหละสมควรจะไปเฝ้าพระสมณโคดม พระองค์นั้นทุกประการ แต่ท่านพระสมณ โคดม พระองค์นั้นไม่สมควรเสด็จมาหาเราเลย

            ดูกรท่านผู้เจริญทั้งหลาย ได้ทราบว่า พระสมณโคดมทรงเป็น อุภโตสุชาติ ทั้งฝ่าย พระมารดาทั้งฝ่ายพระบิดา มีพระครรภ์เป็นที่ถือปฏิสนธิหมดจดดี ตลอด ๗ ชั่วบรรพบุรุษ ไม่มีใครคัดค้านติเตียนได้โดยอ้างถึงพระชาติ แม้เพราะเหตุที่พระสมณ โคดม เป็นอุภโตสุชาติ ฯลฯ ไม่มีใครคัดค้านติเตียนได้โดยอ้างถึงพระชาตินี้ ท่านพระ โคดมพระองค์นั้น จึงไม่สมควรจะเสด็จมาหาเราทั้งหลาย ที่ถูกเราทั้งหลาย นี้แหละ สมควรจะไปเฝ้าท่าน พระโคดมพระองค์นั้น

            ดูกรท่านผู้เจริญทั้งหลาย ได้ทราบว่า

      พระสมณโคดมทรงสละเงินและทองมากมาย ทั้งที่อยู่ในพื้นดินทั้งที่อยู่ในอากาศ เสด็จออกผนวช

      พระสมณโคดมกำลังรุ่น พระเกศาดำสนิทยังหนุ่มแน่น ตั้งอยู่ในปฐมวัย เสด็จออก ทรงผนวชเป็นบรรพชิต

      เมื่อพระมารดาและพระบิดาไม่ทรงปรารถนาให้ทรงผนวช พระพักตร์อาบไปด้วย พระอัสสุชล ทรงกันแสงอยู่ พระสมณโคดมทรงปลงพระเกศา และพระมัสสุ ทรงครอง ผ้ากาสายะ เสด็จออกทรงผนวชเป็นบรรพชิต

      พระสมณโคดมมีพระรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส ประกอบด้วยพระฉวีวรรณผุดผ่อง ยิ่งนัก มีพระวรรณะคล้ายพรหม

       มีพระสรีระคล้ายพรหม น่าดู น่าชม มิใช่น้อย

       พระสมณโคดมทรงมีศีล มีศีลเป็นอริยะ มีศีลเป็นกุศล ทรงประกอบด้วยศีลเป็น กุศล

       พระสมณโคดมมีพระวาจาไพเราะ มีพระสำเนียงไพเราะ ประกอบด้วยวาจาของ ชาวเมือง สละสลวย ไม่มีโทษ ยังผู้ฟังให้เข้าใจเนื้อความได้ชัดแจ้ง

       พระสมณโคดมทรงเป็นอาจารย์ และปาจารย์ของคนหมู่มาก

       พระสมณโคดมทรงมีกามราคะสิ้นแล้ว ทรงเลิกธนูศรศิลป์

       พระสมณโคดมทรงเป็นกรรมวาทีเป็นกิริยวาที ไม่ทรงมุ่งร้ายแก่พวกพราหมณ์

       พระสมณโคดมเสด็จออกทรงผนวชจากสกุลสูงคือ จากสกุลกษัตริย์อันไม่เจือปน

       พระสมณโคดมเสด็จออกทรงผนวช จากสกุลมั่งคั่งมีทรัพย์มาก มีโภคสมบัติมาก
คนต่างรัฐต่างชนบท พากันมาทูลถามปัญหาพระสมณโคดม

       เทวดาหลายพันพากันมอบกายถวายชีวิตถึงพระสมณโคดมเป็นสรณะ

       กิตติศัพท์อันงามของพระสมณโคดม ขจรไปแล้วอย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์

       เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม

       พระสมณโคดมทรงประกอบด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ

       พระเจ้าแผ่นดินมคธจอมทัพ ทรงพระนามว่าพิมพิสาร พร้อมทั้งพระโอรสและ พระมเหสี ทรงมอบกายถวายพระชนม์ถึงพระสมณโคดมเป็นสรณะ

       พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงมอบกาย ถวายพระชนม์ถึงพระสมณโคดมเป็นสรณะ

       พราหมณ์โปกขรสาติพร้อมด้วยบุตรและภรรยา มอบกายถวายชีวิตถึงพระสมณ โคดมเป็นสรณะ

            พระสมณโคดม เสด็จถึงโอปาสาทพราหมณคาม ประทับอยู่ ณ ป่าไม้สาละ อันชื่อว่า เทพวัน ทางทิศเหนือแห่ง โอปาสาท พราหมณคาม สมณะหรือพราหมณ์ เหล่าใดเหล่าหนึ่ง มาสู่เขตบ้านของเราทั้งหลาย สมณะหรือ พราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่า เป็นแขก ของเราทั้งหลาย และเป็นแขกที่เราทั้งหลายพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา

            ดูกรท่านผู้เจริญทั้งหลาย แม้เพราะเหตุที่พระสมณโคดม เสด็จถึงโอปาสาท พราหมณคาม ประทับอยู่ ณ ป่าไม้สาละอันชื่อว่าเทพวัน ทางทิศเหนือแห่งโอปาสาท พราหมณคาม ชื่อว่าเป็นแขกของเราทั้งหลาย และเป็นแขกที่เราทั้งหลายพึงสักการะ เคารพนับถือ บูชา นี้ ท่านพระสมณโคดมพระองค์นั้น จึงไม่สมควรจะเสด็จมาหาเรา ทั้งหลาย ที่ถูกเราทั้งหลายนี่แหละ สมควรไปเฝ้าท่านพระโคดมพระองค์นั้น

            ดูกรท่านผู้เจริญทั้งหลาย ข้าพเจ้าทราบพระคุณของพระโคดมพระองค์นั้น เพียงเท่านี้ แต่ท่านพระโคดมพระองค์นั้น มีพระคุณเพียงเท่านี้หามิได้ ความจริง ท่านพระโคดม พระองค์นั้น มีพระคุณหาประมาณมิได้

           ดูกรท่านผู้เจริญทั้งหลาย ถึงแม้ท่านพระโคดม พระองค์นั้น ทรงประกอบด้วย องค์คุณแต่ละอย่างๆ ทั้งหลาย ที่ถูก เราทั้งหลายนี้แหละ สมควรไปเฝ้าท่านพระโคดม พระองค์นั้น

            เว. ดูกรท่านผู้เจริญทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น เราทั้งปวงเทียว จักไปเฝ้าพระ สมณโคดม

            ครั้งนั้นแล จังกีพราหมณ์พร้อมด้วยคณะพราหมณ์หมู่ใหญ่ ได้เข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัย พอให้ระลึก ถึงกันไปแล้วจึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

            ก็สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประทับนั่ง ตรัสปราศรัยถึงเรื่องบางเรื่อง พอให้ เป็นเครื่องระลึก ถึงกันกับพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้แก่เฒ่าอยู่

            [๖๕๑] ก็สมัยนั้นแล มาณพชื่อว่ากาปทิกะ ยังเป็นเด็กโกนศีรษะมีอายุ ๑๖ ปีแต่กำเนิด เป็นผู้รู้จบไตรเพท ชำนาญในคัมภีร์โลกายตะ และตำราทำนายมหาปุริส ลักษณะ นั่งอยู่ในบริษัทนั้นด้วย. เขาพูดสอดขึ้นในระหว่างๆ เมื่อพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้แก่เฒ่ากำลังเจรจา อยู่กับพระผู้มีพระภาค

            ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงห้ามกาปทิกมาณพว่า เมื่อพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้แก่เฒ่า กำลังเจรจาอยู่ ท่านภารทวาชะอย่าพูดสอดขึ้นในระหว่างๆ ซิ ท่านภารทวาชะ จงรอ ให้จบเสียก่อน.

 





พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์