เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

ถ้อยคำดีของศรัทธา - ถ้อยคำชั่วของผู้ไม่ศรัทธา (ทุกถาสูตร) 1717
  (ย่อ)

ถ้อยคำดีของศรัทธา - ถ้อยคำชั่วของผู้ไม่ศรัทธา
(ทุกถาสูตร)

ถ้อยคำปรารภศรัทธา เป็นถ้อยคำดีแก่ผู้มีศรัทธา แต่ เป็นถ้อยคำชั่วแก่ผู้ไม่มีศรัทธา
ถ้อยคำปรารภศีล เป็นถ้อยคำดีแก่ผู้มีศีล แต่ เป็นถ้อยคำชั่วแก่ผู้ทุศีล
ถ้อยคำปรารภการสั่งสมสุตตะ เป็นถ้อยคำดีแก่ผู้ได้สดับมาก แต่ ป็นถ้อยคำชั่วแก่ผู้ได้สดับน้อย
ถ้อยคำปรารภจาคะ เป็นถ้อยคำดีแก่ผู้มีจาคะ แต่ เป็นถ้อยคำชั่วแก่ผู้ตระหนี่
ถ้อยคำปรารภปัญญา เป็นถ้อยคำดีแก่ผู้มีปัญญา แต่ เป็นถ้อยคำชั่วแก่ผู้ทรามปัญญา

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 

 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๖๓

ถ้อยคำดี - ถ้อยคำชั่ว ของบุคคล ๕ จำพวก (ทุกถาสูตร)

          [๑๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้อยคำของบุคคล ๕ จำพวก ย่อมเป็นถ้อยคำชั่ว เมื่อเทียบบุคคลกับบุคคล

บุคคล ๕ จำพวกเป็นไฉน คือ
ถ้อยคำปรารภศรัทธา เป็นถ้อยคำชั่วแก่ผู้ไม่มีศรัทธา ๑
ถ้อยคำปรารภศีล เป็นถ้อยคำชั่วแก่ผู้ทุศีล ๑
ถ้อยคำปรารภพาหุสัจจะ(สั่งสมสุตตะ) เป็นถ้อยคำชั่วแก่ผู้ได้สดับน้อย ๑
ถ้อยคำปรารภจาคะ เป็นถ้อยคำชั่วแก่ผู้ตระหนี่ ๑
ถ้อยคำปรารภปัญญา เป็นถ้อยคำชั่วแก่ผู้ทรามปัญญา ๑

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุไร ถ้อยคำปรารภศรัทธา จึงเป็นถ้อยคำชั่ว แก่ผู้ไม่มีศรัทธา เพราะผู้ไม่มีศรัทธา เมื่อพูดเรื่องศรัทธา ย่อมขัดข้อง โกรธพยาบาท กระด้าง แสดงความโกรธเคือง และความขัดใจให้ปรากฏ
          ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะผู้ไม่มีศรัทธานั้น ย่อมไม่เห็นศรัทธาสัมปทาในตน และย่อมไม่ได้ปีติปราโมทย์ ที่มีศรัทธาสัมปทานั้นเป็นเหตุ ฉะนั้น ถ้อยคำปรารภ ศรัทธา จึงเป็นถ้อยคำชั่วแก่ผู้ไม่มีศรัทธา

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุไร ถ้อยคำปรารภศีล จึงเป็นถ้อยคำชั่วแก่ผู้ทุศีล เพราะผู้ทุศีล เมื่อพูดเรื่องศีลย่อมขัดข้อง โกรธ พยาบาท กระด้าง แสดงความโกรธ เคือง และความขัดใจให้ปรากฏ
          ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะผู้ทุศีลนั้น ย่อมไม่เห็นศีลสัมปทาในตน และย่อม ไม่ได้ปีติและปราโมทย์ ที่มีศีลสัมปทานั้นเป็นเหตุ ฉะนั้นถ้อยคำปรารภศีล จึงเป็น ถ้อยคำชั่วแก่ผู้ทุศีล

          เพราะเหตุไร ถ้อยคำปรารภพาหุสัจจะ จึงเป็นถ้อยคำชั่วแก่ผู้ได้สดับน้อย เพราะผู้ได้สดับน้อย เมื่อพูดเรื่องพาหุสัจจะ ย่อมขัดข้อง โกรธพยาบาทกระด้าง แสดงความโกรธเคืองและความขัดใจให้ปรากฏ
          ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะผู้ได้สดับน้อยนั้น ย่อมไม่เห็นสุตสัมปทาในตน และย่อมไม่ได้ปีติปราโมทย์ที่มีสุตสัมปทาเป็นเหตุ ฉะนั้น ถ้อยคำปรารภ พาหุสัจจะ จึงเป็นถ้อยคำชั่วแก่ผู้ได้สดับน้อย

          เพราะเหตุไรถ้อยคำปรารภจาคะ จึงเป็นถ้อยคำชั่วแก่ผู้ตระหนี่ เพราะผู้ตระหนี่ เมื่อพูดเรื่องจาคะ ย่อมขัดข้อง โกรธ พยาบาท กระด้าง แสดงความโกรธเคืองและ ความขัดใจให้ปรากฏ
          ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะผู้ตระหนี่นั้น ย่อมไม่เห็นจาคสัมปทาในตน และย่อมไม่ได้ปีติปราโมทย์ที่มีจาคสัมปทานั้น เป็นเหตุฉะนั้น ถ้อยคำปรารภจาคะ จึงเป็นถ้อยคำชั่วของผู้ตระหนี่

          เพราะเหตุไร ถ้อยคำปรารภปัญญา จึงเป็นถ้อยคำชั่วแก่ผู้ทรามปัญญา เพราะผู้ทรามปัญญา เมื่อพูดเรื่องปัญญา ย่อมขัดข้อง โกรธ พยาบาท กระด้าง แสดงความโกรธเคืองและความขัดใจให้ปรากฏ
          ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะผู้ทรามปัญญานั้น ย่อมไม่เห็นปัญญาสัมปทาในตน และย่อมไม่ได้ปีติปราโมทย์ที่มีปัญญาสัมปทานั้นเป็นเหตุ ฉะนั้นถ้อยคำปรารภปัญญา จึงเป็นถ้อยคำชั่วแก่ผู้ทรามปัญญา

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้อยคำของบุคคล ๕ จำพวกนี้แล ย่อมเป็นถ้อยคำชั่ว เมื่อเทียบบุคคลกับบุคคล

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้อยคำของบุคคล ๕ จำพวก ย่อมเป็นถ้อยคำดี เมื่อเทียบ บุคคล กับบุคคล

บุคคล ๕ จำพวกเป็นไฉน คือ
ถ้อยคำปรารภศรัทธา เป็นถ้อยคำดีแก่ผู้มีศรัทธา ๑
ถ้อยคำปรารภศีล เป็นถ้อยคำดีแก่ผู้มีศีล ๑
ถ้อยคำปรารภพาหุสัจจะ เป็นถ้อยคำดีแก่ผู้ได้สดับมาก ๑
ถ้อยคำปรารภจาคะ เป็นถ้อยคำดีแก่ผู้มีจาคะ ๑
ถ้อยคำปรารภปัญญา เป็นถ้อยคำดีแก่ผู้มีปัญญา ๑

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย
           เพราะเหตุไร ถ้อยคำปรารภศรัทธา จึงเป็นถ้อยคำดี แก่ผู้มีศรัทธา เพราะผู้มี ศรัทธา เมื่อพูดเรื่องศรัทธาย่อมไม่ขัดข้อง ไม่โกรธ ไม่พยาบาท ไม่กระด้าง ไม่แสดง ความโกรธเคืองและความขัดใจให้ปรากฏ
          ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะผู้มีศรัทธานั้น ย่อมเห็นศรัทธาสัมปทาในตน และ ย่อมได้ปีติปราโมทย์ที่มีศรัทธาสัมปทานั้นเป็นเหตุ ฉะนั้น ถ้อยคำปรารภศรัทธา จึงเป็นถ้อยคำดีแก่ผู้มีศรัทธา

          เพราะเหตุไร ถ้อยคำปรารภศีล จึงเป็นถ้อยคำดีแก่ผู้มีศีล เพราะผู้มีศีล เมื่อพูดเรื่องศีล ย่อมไม่ขัดข้อง ไม่โกรธ ไม่พยาบาท ไม่กระด้าง ไม่แสดงความ โกรธเคืองและความขัดใจให้ปรากฏ
          ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะผู้มีศีลนั้น ย่อมเห็นศีลสัมปทาในตน และย่อมได้ ปีติปราโมทย์ ที่มีศีลสัมปทานั้นเป็นเหตุฉะนั้น ถ้อยคำปรารภศีล จึงเป็นถ้อยคำดี แก่ผู้มีศีล

          เพราะเหตุไร ถ้อยคำปรารภพาหุสัจจะ จึงเป็นถ้อยคำดีแก่ผู้ได้สดับมาก เพราะผู้ได้สดับมาก เมื่อพูดเรื่องพาหุสัจจะ ย่อมไม่ขัดข้อง ไม่โกรธ ไม่พยาบาท ไม่กระด้าง ไม่แสดงความโกรธเคือง และความขัดใจให้ปรากฏ
          ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะผู้ได้สดับมาก ย่อมเห็นสุตสัมปทาในตน และย่อม ได้ปีติปราโมทย์ ที่มีสุตสัมปทานั้นเป็นเหตุ ฉะนั้นถ้อยคำปรารภพาหุสัจจะ จึงเป็นถ้อยคำดี แก่ผู้ได้สดับมาก

          เพราะเหตุไร ถ้อยคำปรารภจาคะ จึงเป็นถ้อยคำดีแก่ผู้มีจาคะ เพราะผู้มีจาคะ เมื่อพูดเรื่องจาคะ ย่อมไม่ขัดข้อง ไม่โกรธ ไม่พยาบาท ไม่กระด้าง ไม่แสดงความ โกรธเคือง และความขัดใจให้ปรากฏ
          ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะผู้มีจาคะนั้น ย่อมเห็นจาคะสัมปทาในตน และย่อม ได้ปีติปราโมทย์ที่มีจาคสัมปทานั้นเป็นเหตุ ฉะนั้นถ้อยคำปรารภจาคะ จึงเป็นถ้อยคำดี แก่ผู้มีจาคะ

          เพราะเหตุไร ถ้อยคำปรารภปัญญา จึงเป็นถ้อยคำดีแก่ผู้มีปัญญา เพราะผู้มี ปัญญา เมื่อพูดเรื่องปัญญา ย่อมไม่ขัดข้องไม่โกรธ ไม่พยาบาท ไม่กระด้าง ไม่แสดง ความโกรธเคือง และความขัดใจให้ปรากฏ
          ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะผู้มีปัญญานั้น ย่อมเห็นปัญญาสัมปทาในตน และ ย่อมได้ปีติปราโมทย์ที่มีปัญญาสัมปทานั้นเป็นเหตุ ฉะนั้นถ้อยคำปรารภปัญญา จึงเป็นถ้อยคำดีแก่ผู้มีปัญญา

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้อยคำของบุคคล๕ จำพวกนี้แลย่อมเป็นถ้อยคำดี เมื่อเทียบบุคคล กับบุคคล



 





พุทธวจน : ออนไลน์
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์