เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
ค้นหาคำที่ต้องการ            

 
เทวตาสังยุต  ชุด1 นฬวรรคที่ ๑ (พระสูตรนี้น่าจะเป็นอรรถกถา) 1355
 

เทวตาสังยุต เทวดาเป็นอันมาก ในชั้นกามภพ และชั้นพรหม เข้าเฝ้าฯ
เพื่อกล่าว ภาษิตคาถา และทูลถามข้อธรรมต่างๆ (รวม ๑๑๑ พระสูตร)

ชุด1  (P1355)  นฬวรรคที่ ๑ (มี ๑๐ พระสูตร)
ชุด2  (P1356)  นันทนวรรคที่ ๒ (๑๐ พระสูตร)
ชุด3  (P1357)  สัตติวรรคที่ ๓ (๑๐ พระสูตร)
ชุด4  (P1358)  สตุลลปกายิกวรรคที่ ๔ (๑๐ พระสูตร)
ชุด5  (P1359)  อาทิตตวรรคที่ ๕ (๑๐ พระสูตร)

ชุด6  (P1360)  ชราวรรคที่ ๖ (๑๐ พระสูตร)
ชุด7  (P1361)  อันธวรรคที่ ๗ (๑๐ พระสูตร)
ชุด8  (P1362)  ฆัตวาวรรคที่ ๘ (๑๑ พระสูตร)
ชุด9  (P1363)  เทวปุตตสงยุต วรรคที่ ๑ (๑๐ พระสูตร)

ชุด10  (P1364)  อนาถปิณฑิก วรรคที่ ๒ (๑๐ พระสูตร)
ชุด11  (P1365) นานาติตถิยวรรคที่ ๓ (๑๐ พระสูตร)

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
รวมพระสูตร
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
(ดูทั้งหมด)

เทวดาสังยุต (ฉบับหลวง เล่มที่ 25) พระสูตรนี้น่าจะเป็นอรรถกถา ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณ
เทวดาเข้าเฝ้า   ชุด1/11
 

เทวตาสังยุต พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๕ หน้าที่ ๑

นฬวรรคที่ ๑

  นฬวรรคที่ ๑ (๑๐ พระสูตร โดยย่อ)

 ๑. ท.พระองค์ข้ามโอฆะ (วัฎฎะ)ได้อย่างไร .เราไม่พักอยู่ ไม่เพียรอยู่ ข้ามโอฆะได้แล้ว
 ๒. ท.พระองค์ทราบทางหลุดพ้นหรือหนอ .มรรคเป็นทางหลุดพ้น นิพพานเป็นที่สงัด
 ๓. ท.ชีวิตถูกต้อน ความชราไม่มีผู้ป้องกัน .บุคคลเมื่อเห็นภัย พึงละอามิสในโลกเสีย
 ๔. ท.วัยย่อมละไปตามลำดับ . บุคคลเมื่อเห็นภัย พึงละอามิสในโลกเสีย มุ่งสันติเถิด
 ๕. ท.บุคคลควรตัด ควรล่วงเครื่องข้องอะไร .ควรตัดสังโยชน์ บำเพ็ญอินทรีย์ ละขันธ์๕
 ๖. ท.ธรรมประเภทไหนนับว่าหลับ ประเภทไหนตื่น พ. อินทรีย์๕ ตื่น นิวรณ์ ๕ นับว่าหลับ
 ๗. พ. ผู้ใดแทงตลอดในธรรมดีแล้ว ย่อมไม่ถูกจูงไปในวาทะ ของชนพวกอื่น
 ๘. พ. ธรรมทั้งหลายอันชนใดไม่ลืมเลือนแล้ว ย่อมไม่ถูกจูงไปในวาทะ ของชนพวกอื่น
 ๙. พ. ละมานะแล้ว มีจิตตั้งมั่น พ้นธรรมทั้งปวงแล้ว ไม่ประมาท พึงข้ามฝั่งแห่งมัจจุได้
 ๑๐. ภิกษุอยู่ในป่า ฉันหนเดียว ผ่องใสด้วยอะไร พ.ไม่เศร้าโศก ถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว


โอฆตรณสูตรที่ ๑

เทวดา : พระองค์ข้ามโอฆะ (วัฎะสงสาร)ได้อย่างไร
พระพุทธเจ้า : เราไม่พักอยู่ ไม่เพียรอยู่ ข้ามโอฆะ ได้แล้ว
ท. พระองค์ไม่พักไม่เพียร ข้ามโอฆะได้ อย่างไรเล่า
พ. เมื่อใดเรายังพักอยู่ เมื่อนั้นเรายังจมอยู่ เมื่อใดเรายังเพียรอยู่เมื่อนั้นเรายังลอยอยู่

        [๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของ ท่านอนาถ บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล เมื่อปฐมยามล่วงไปแล้ว เทวดา องค์หนึ่ง มีวรรณงามยังพระวิหารเชตะวันทั้งสิ้น ให้สว่าง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ครั้นแล้ว ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค แล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วน ข้างหนึ่ง

        [๒] เทวดานั้น ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กราบทูลคำนี้ กะพระผู้มี พระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ไม่มีทุกข์ ข้าพระองค์ขอทูลถาม พระองค์ ข้ามโอฆะ ได้อย่างไร

     พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ท่านผู้มีอายุ เราไม่พักอยู่ ไม่เพียรอยู่ ข้ามโอฆะ ได้แล้ว

     ท. ข้าแต่พระองค์ผู้ไม่มีทุกข์ ก็พระองค์ไม่พักไม่เพียร ข้ามโอฆะได้ อย่างไรเล่า

     พ. ท่านผู้มีอายุ เมื่อใด เรายังพักอยู่ เมื่อนั้นเรายังจมอยู่โดยแท้ เมื่อใดเรายัง เพียรอยู่ เมื่อนั้นเรายังลอยอยู่โดยแท้ ท่านผู้มีอายุ เราไม่พัก เราไม่เพียร ข้ามโอฆะ ได้แล้วอย่างนี้แล

     เทวดานั้นกล่าวคาถานี้ว่า นานหนอ ข้าพเจ้าจึงจะเห็น ขีณาสว พราหมณ์ ผู้ดับรอบแล้ว ไม่พักอยู่ไม่เพียรอยู่ ข้ามตัณหา เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวในโลก

        [๓] เทวดานั้นกล่าวคำนี้แล้ว พระศาสดาทรงอนุโมทนา ครั้งนั้นแล เทวดา นั้น ดำริว่าพระศาสดา ทรงอนุโมทนาคำของเรา จึงถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณ แล้วก็หายไป ณ ที่นั้นแล


นิโมกขสูตรที่ ๒
ทวดา : พระองค์ทราบมรรคทางหลุดพ้นหรือหนอ นิพพานเป็นที่สงัด หรือหนอ
พระพุทธเจ้า : มรรคเป็นทางหลุดพ้น นิพพานเป็นที่สงัดของสัตว์ทั้งหลายอย่างแท้จริง


เทวดา : ท่านทราบได้อย่างไร ว่ามรรคเป็นทางหลีกพ้น นิพพานเป็นที่สงัดอย่างแท้จริง
พระพุทธเจ้า : เพราะความสิ้นภพ เพราะความดับไปของสัญญา และวิญญาณ ความหลุดพ้น และ นิพพาน เป็นอย่างนี้

        [๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาค ประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล เมื่อปฐมยามล่วงไปแล้ว เทวดาองค์หนึ่ง มีวรรณงาม ยังพระวิหารเชตะวันทั้งสิ้นให้ สว่าง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้วจึงถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค แล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

        [๕] เทวดานั้น ครั้นยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วแล ได้กราบทูล คำนี้กะ พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ไม่มีทุกข์ พระองค์ย่อมทรงทราบมรรค เป็นทาง หลีกพ้นผลเป็นความหลุดพ้น นิพพานเป็นที่สงัดของสัตว์ทั้งหลาย หรือหนอ

     พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ท่านผู้มีอายุ เรารู้จักมรรคเป็นทางหลีกพ้นผล เป็น ความหลุดพ้น นิพพานเป็นที่สงัด ของสัตว์ทั้งหลายโดยแท้จริง

     ท. ข้าแต่พระองค์ผู้ไม่มีทุกข์ ก็พระองค์ย่อมทรงทราบ มรรคเป็นทางหลีกพ้น ผลเป็นความหลุดพ้น นิพพานเป็นที่สงัด ของสัตว์ทั้งหลายอย่างไรเล่า

        [๖] พระผู้มีพระภาคทรงวิสัชนาโดยคาถานี้ว่า ท่านผู้มีอายุ เพราะความสิ้นภพ อันมีความเพลิดเพลินเป็นมูล เพราะความสิ้นแห่งสัญญา และวิญญาณ เพราะความ ดับ เพราะความสงบแห่งเวทนา ทั้งหลาย เราย่อมรู้จัก มรรคเป็นทางหลีกพ้น ผลเป็น ความหลุดพ้น นิพพานเป็นที่ สงัด ของสัตว์ทั้งหลายอย่างนี้


อุปเนยยสูตรที่ ๓
เทวดา : ชีวิตคืออายุมีปริมาณน้อย ถูกต้อนเข้าไปเรื่อย ความชราย่อมไม่มีผู้ป้องกัน บุคคล เมื่อเห็นภัย พึงทำบุญที่นำสุขมาให้
พระพุทธเจ้า : (ทวนคำถาม) บุคคลเมื่อเห็นภัย พึงละอามิสในโลกเสีย มุ่งสันติเถิด

        [๗] เทวดานั้น ครั้นยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วแล ได้กล่าวคาถา นี้ ใน สำนักพระผู้มีพระภาคว่า ชีวิตคืออายุมีประมาณน้อย ถูกต้อนเข้าไปเรื่อย เมื่อบุคคล ถูกชราต้อนเข้าไปแล้ว ย่อมไม่มีผู้ป้องกัน บุคคลเมื่อเห็นภัยนี้ในมรณะ พึงทำบุญ ทั้งหลายที่นำความสุขมาให้

        [๘] ชีวิตคืออายุมีประมาณน้อย ถูกต้อนเข้าไปเรื่อย เมื่อบุคคลถูกชราต้อน เข้าไปแล้ว ย่อมไม่มีผู้ป้องกัน บุคคลเมื่อเห็นภัยนี้ในมรณะ พึงละอามิสในโลกเสีย มุ่งสันติเถิด


อัจเจนติสูตรที่ ๔
เทวดา : ราตรีที่ผ่านไป วัยย่อมละไปตามลำดับ บุคคลผู้เห็นภัยพึงทำบุญที่นำสุขมาให้
พระพุทธเจ้า : (ทวนคำถาม) บุคคลเมื่อเห็นภัย พึงละอามิสในโลกเสีย มุ่งสันติเถิด

        [๙] เทวดานั้น ครั้นยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วแล ได้กล่าวคาถานี้ใน สำนัก พระผู้มีพระภาคว่ากาลทั้งหลายย่อมล่วงไป ราตรีทั้งหลายย่อมผ่านไป ชั้น แห่งวัยย่อมละลำดับไป บุคคลเมื่อเห็นภัยนี้ในมรณะ พึงทำบุญทั้งหลายที่นำ ความสุขมาให้

        [๑๐] กาลทั้งหลายย่อมล่วงไป ราตรีทั้งหลายย่อมผ่านไป ชั้นแห่งวัยย่อม ละลำดับไป บุคคลเมื่อเห็นภัยนี้ในมรณะ พึงละอามิสในโลกเสีย มุ่งสันติเถิด


กติฉินทิสูตรที่ ๕
เทวดา : บุคคลควรตัด ควรละ ควรบำเพ็ญ ควรล่วงธรรมเครื่องข้องอะไร จึงข้ามโอฆะได้
พระพุทธเจ้า : ควรตัดสังโยชน์เบื้องต่ำ๕ ละสังโยชน์เบื้องบน ๕ บำเพ็ญอินทรีย์ ๕ ละเครื่องข้อง ๕ (ขันธ์๕) เรากล่าวว่าเป็นผู้ข้ามโอฆะแล้ว

        [๑๑] เทวดานั้น ครั้นยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วแล ได้กราบทูลถาม พระผู้มีพระภาคด้วยคาถานี้ว่า บุคคลควรตัดเท่าไร ควรละเท่าไร ควรบำเพ็ญคุณ อันยิ่งเท่าไร ภิกษุล่วงธรรมเครื่องข้องเท่าไร พระองค์จึงตรัสว่าเป็นผู้ข้ามโอฆะแล้ว

        [๑๒] บุคคลควรตัดสังโยชน์ เป็นส่วนเบื้องต่ำ ๕ อย่าง ควรละ สังโยชน์ เป็นส่วนเบื้องบน ๕ อย่าง ควรบำเพ็ญอินทรีย์อันยิ่ง ๕ อย่าง ภิกษุล่วงธรรมเป็น เครื่องข้อง ๕ อย่าง เรากล่าวว่า เป็นผู้ข้ามโอฆะแล้ว


ชาครสูตรที่ ๖
ท. ธรรมประเภทไหนนับว่าหลับ ประเภทไหนนับว่าตื่น ประเภทไหนหมักหมมธุลี ธรรมประเภทไหนทำให้คนบริสุทธิ์

พ. เมื่ออินทรีย์ ๕ อย่างตื่นอยู่(มีสติ) นิวรณ์ ๕ อย่างนับว่าหลับ บุคคลหมักหมมธุลี
เพราะนิวรณ์ ๕ อย่าง บุคคลบริสุทธิ์เพราะอินทรีย์ ๕ อย่าง

        [๑๓] เทวดานั้น ครั้นยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วแล ได้กล่าวคาถานี้ ในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า

            เมื่อธรรมทั้งหลายตื่นอยู่ ธรรมประเภทไหนนับว่าหลับ เมื่อธรรมทั้งหลาย หลับ ธรรมประเภทไหนนับว่าตื่น บุคคลหมักหมมธุลีเพราะธรรมประเภทไหน บุคคล บริสุทธิ์เพราะธรรมประเภทไหน พระผู้มีพระภาคตรัส ตอบว่า

        [๑๔] เมื่ออินทรีย์ ๕ อย่างตื่นอยู่ นิวรณ์ ๕ อย่างนับว่าหลับ เมื่อนิวรณ์ ๕ อย่างหลับอินทรีย์ ๕ อย่าง นับว่าตื่นบุคคลหมักหมมธุลี เพราะนิวรณ์ ๕ อย่าง บุคคลบริสุทธิ์เพราะอินทรีย์ ๕ อย่าง


อัปปฏิวิทิตสูตรที่ ๗

เทวดา : ผู้ใดไม่แทงตลอดในธรรม ผู้นั้นย่อมถูกจูงไปในวาทะของชนพวกอื่น ผู้นั้นชื่อว่า ยังหลับไม่ตื่น กาลนี้เป็นกาลสมควรตื่น ของชนพวกนั้น

พ : ชนพวกใดแทงตลอดในธรรมดีแล้ว ย่อมไม่ถูกจูงไปในวาทะ ของชนพวกอื่น บุคคลผู้รู้ ทั่วถึงโดยชอบแล้ว ย่อมประพฤติเสมอ ในหมู่สัตว์ผู้ประพฤติไม่เสมอ

       [๑๕] เทวดานั้น ครั้นยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วแล ได้กล่าวคาถานี้ ในสำนักพระผู้มีพระภาค ว่าธรรมทั้งหลาย อันชนพวกใด ยังไม่แทงตลอดแล้ว ชนพวกนั้น ย่อมถูกจูงไปในวาทะ ของชนพวกอื่น ชนพวกนั้นชื่อว่ายังหลับ ไม่ตื่น (กาลนี้)เป็นกาลสมควร เพื่อจะตื่นของชนพวกนั้น

        [๑๖] ธรรมทั้งหลาย อันชนพวกใด แทงตลอดดีแล้ว ชนพวกนั้น ย่อมไม่ถูก จูงไปในวาทะ ของชนพวกอื่น บุคคลผู้รู้ดีทั้งหลาย รู้ทั่วถึงโดยชอบแล้วย่อมประพฤติ เสมอ ในหมู่สัตว์ผู้ประพฤติไม่เสมอ


สุสัมมุฏฐสูตรที่ ๘

เทวดา : ชนใดลืมเลือนในธรรมแล้ว ย่อมถูกจูงไปในวาทะของชนพวกอื่น ชนพวกนั้นชื่อว่า ยังหลับไม่ตื่น (กาลนี้) เป็นกาลควร เพื่อจะตื่นของชนพวกนั้น

พ. ธรรมทั้งหลาย อันชนพวกใด ไม่ลืมเลือนแล้ว ชนพวกนั้น ย่อมไม่ถูก จูงไปในวาทะของ ชนพวกอื่น บุคคลผู้รู้ดีทั้งหลายรู้ ทั่วถึงโดยชอบแล้วย่อมประพฤติ เสมอ ในหมู่สัตว์ผู้ ประพฤติไม่เสมอ

        [๑๗] เทวดานั้น ครั้นยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วแล ได้กล่าวคาถานี้ ในสำนักพระผู้มีพระภาค ว่าธรรมทั้งหลาย อันชนพวกใด ลืมเลือนแล้ว ชนพวกนั้น ย่อมถูกจูงไปในวาทะ ของชนพวกอื่น ชนพวกนั้น ชื่อว่ายังหลับไม่ตื่น (กาลนี้) เป็นกาลควร เพื่อจะตื่นของชนพวกนั้น

        [๑๘] ธรรมทั้งหลาย อันชนพวกใด ไม่ลืมเลือนแล้ว ชนพวกนั้น ย่อมไม่ถูก จูงไปในวาทะของชนพวกอื่น บุคคลผู้รู้ดีทั้งหลายรู้ ทั่วถึงโดยชอบแล้วย่อมประพฤติ เสมอ ในหมู่สัตว์ผู้ประพฤติไม่เสมอ


มานกามสูตรที่ ๙
เทวดา : ทมะ(ข่มใจ) ย่อมไม่มีแก่ผู้ปรารถนามานะ
ความรู้ย่อม ไม่มีแก่ ผู้ที่มีจิตไม่ตั้งมั่น
บุคคลผู้เดียว เมื่ออยู่ป่าโดยประมาทแล้ว ไม่พึงข้ามฝั่งมัจจุราชได้

พ. บุคคลละมานะแล้ว มีจิตตั้งมั่นดีแล้ว มีจิตดี พ้นในธรรมทั้งปวงแล้ว เป็นผู้เดียว เมื่ออยู่ในป่า ไม่ประมาทแล้วบุคคลนั้น พึงข้ามฝั่งแห่ง มัจจุราชได้

        [๑๙] เทวดานั้น ครั้นยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วแล ได้กล่าวคาถานี้ ในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า ทมะ* ย่อมไม่มีแก่บุคคลที่ปรารถนา มานะ ความรู้ย่อม ไม่มีแก่บุคคล ที่มีจิตไม่ตั้งมั่น บุคคลผู้เดียว เมื่ออยู่ในป่าประมาทแล้ว ไม่พึงข้าม พ้นฝั่ง แห่งเตภูมิกวัฏ อันเป็นที่ตั้งแห่งมัจจุได้
* ข่มใจ-ควบคุมอารมรณ์

        [๒๐] บุคคลละมานะแล้ว มีจิตตั้งมั่นดีแล้ว มีจิตดี พ้นในธรรมทั้งปวงแล้ว เป็นผู้เดียว เมื่ออยู่ในป่า ไม่ประมาทแล้วบุคคลนั้น พึงข้ามฝั่งแห่ง เตภูมิกวัฏ เป็นที่ตั้งแห่งมัจจุได้  


อรัญญสูตรที่ ๑๐
เทวดา : วรรณะของ ภิกษุ ท.ผู้อยู่ในป่า ฉันภัตหนเดียว เป็นสัตบุรุษผู้ประพฤติธรรม อันประเสริฐ ย่อมผ่องใสด้วยเหตุ อะไร

พ. ภิกษุ ท. ไม่เศร้าโศกถึงปัจจัยที่ล่วงแล้ว ไม่ปรารถนาปัจจัย ที่ยังมาไม่ถึง เลี้ยงตนด้วย ปัจจัยที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า วรรณะย่อมผ่องใสด้วยเหตุนั้น

        [๒๑] เทวดานั้น ครั้นยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วแล ได้ทูลถาม พระผู้มี พระภาคด้วยคาถาว่า วรรณของภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ในป่า ฉันภัตอยู่หนเดียว เป็นสัตบุรุษผู้ ประพฤติธรรมอันประเสริฐ ย่อมผ่องใสด้วยเหตุ อะไร

        [๒๒] ภิกษุทั้งหลาย ไม่เศร้าโศกถึงปัจจัยที่ล่วงแล้ว ไม่ปรารถนาปัจจัย ที่ยังมาไม่ถึง เลี้ยงตนด้วยปัจจัยที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า วรรณย่อมผ่องใสด้วยเหตุนั้น เพราะความปรารถนาถึงปัจจัย ที่ยังไม่มาถึงและความโศก ถึงปัจจัยที่ล่วงแล้ว พวกพาลภิกษุจึงซูบซีด เหมือนต้นอ้อสด ที่ถูกถอนเสียแล้ว ฉะนั้น

จบ นฬวรรค ที่ ๑

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------     สูตรที่กล่าวถึงในวรรคนั้น โอฆตรณสูตร นิโมกขสูตร อุปเนยยสูตร  อัจเจนติสูตรก ติฉินทิสูตร ชาครสูตร อัปปฏิวิทิตสูตร สุสัมมุฏฐสูตร มานกามสูตร อรัญญสูตร เป็นที่ ๑๐ นฬวรรค ท่านกล่าวด้วยสูตรทั้ง ๑๐ นั้น   ฉะนี้แล
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------

 






พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์