เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

ว่าด้วย มัคคอริยสัจ ความจริงอันประเสริฐ คือมรรค
อริยสัจจากพระโอษฐ์ ๒ ภาค ๔  หน้าที่ ๑๓๓๑ - ๑๓๖๗
(ทั้งหมด ๒๓ เรื่อง)
1223
จำนวน ๒๓ เรื่อง

  ๒๓  


อริยสัจจากพระโอษฐ์ ๒  ภาค ๔ (หน้าที่ ๑๓๓๑- ๑๓๖๗)

ว่าด้วย มัคคอริยสัจ ความจริงอันประเสริฐคือมรรค

(๒๓) เจโตวิมุตติ ชนิดที่ยังมีอุปสรรค


        ภิกษุ ท. !  บุคคล ๔ จำพวกเหล่านี้ มีอยู่ หาได้อยู่ ในโลก.

         สี่จำพวกอย่างไรเล่า ? สี่จำพวกคือ

        ๑. ภิกษุ ท. ! ภิกษุ ในกรณีนี้ เข้าถึงเจโตวิมุตติอันสงบ อย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วแลอยู่. เธอย่อม (อาศัยเจโตวิมุตตินั้น) กระทำในใจซึ่งสักกายนิโรธ (ความดับ แห่งสักกายะ) เมื่อเธอกระทำในใจซึ่ง สักกายนิโรธ จิตของเธอ (ก็ยัง) ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ดำรงอยู่ ไม่น้อมไป ในสักกายนิโรธ. ความเป็นอย่างนี้ของภิกษุนั้น ทำให้เธอหวังสักกายนิโรธไม่ได้. เปรียบเหมือนบุรุษมือเปื้อนตังเหนียว จับกิ่งไม้  มือของเขาข้องอยู่ จับอยู่ ติดอยู่ (ไม่เป็นอิสระ) นี้ฉันใด
       ภิกษุ ท. !  ภิกษุที่เข้าถึงเจโตวิมุตติอันสงบ อย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วแลอยู่. เธอย่อมกระทำในใจซึ่งสักกายนิโรธ เมื่อเธอกระทำในใจซึ่งสักกายนิโรธอยู่ จิต ของเธอ (ก็ยัง) ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ดำรงอยู่ ไม่น้อมไป ในสักกายนิโรธ. ความเป็นอย่างนี้ของภิกษุนั้น ทำให้เธอหวังสักกายนิโรธไม่ได้ ฉันนั้นเหมือนกัน

       . ภิกษุ ท. !  ภิกษุ ในกรณีนี้ เข้าถึงเจโตวิมุตติอันสงบ อย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วแลอยู่. เธอย่อม (อาศัยเจโตวิมุตตินั้น) กระทำในใจซึ่งสักกายนิโรธ เมื่อเธอ กระทำในใจซึ่ง สักกายนิโรธอยู่ จิตของเธอ ก็แล่นไป เลื่อมใส ดำรงอยู่ น้อมไป ในสักกายนิโรธ ความเป็นอย่างนี้ของภิกษุนั้น ทำให้เธอหวังสักกายนิโรธได้. เปรียบเหมือนบุรุษมือสะอาด จับกิ่งไม้ มือของเขาก็ไม่ข้องอยู่ ไม่จับอยู่ ไม่ติดอยู่ (ยังเป็นอิสระ) นี้ฉันใด 
         ภิกษุ ท. ! ภิกษุที่เข้าถึงเจโตวิมุตติอันสงบ อย่างใดอย่าง หนึ่ง แล้วแลอยู่. เธอย่อมกระทำในใจซึ่งสักกายนิโรธ เมื่อเธอกระทำในใจซึ่งสักกาย นิโรธอยู่ จิตของเธอก็แล่นไป เลื่อมใส ดำรงอยู่ น้อมไป ในสักกายนิโรธ. ความเป็นอย่างนี้ ของภิกษุนั้น ทำให้เธอหวังสักกายนิโรธได้ ฉันนั้นเหมือนกัน.

        ๓. ภิกษุ ท. !  ภิกษุ ในกรณีนี้ เข้าถึงเจโตวิมุตติอันสงบ อย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วแลอยู่. เธอย่อม (อาศัยเจโตวิมุตตินั้น) กระทำในใจซึ่ง อวิชชาปเภท (การทำลายแห่งอวิชชา) เมื่อเธอกระทำในใจซึ่ง อวิชชาปเภทอยู่ จิตของเธอ (ก็ยัง) ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ดำรงอยู่ ไม่น้อมไป ในอวิชชาปเภท ความเป็น อย่างนี้ของ ภิกษุนั้น ทำให้เธอหวังอวิชชาปเภทไม่ได้. เปรียบเหมือนชัมพาลีอันสร้างมาแล้ว หลายปี คนเขาปิดทางน้ำไหลเข้าของมันเสีย และเปิดทางน้ำไหล ออกไว้ทั้งหมด ทั้งฝนก็ไม่ตกตามฤดูกาล เมื่อเป็นอย่างนี้ การที่จะมีน้ำไหลออกจาก ขอบคัน แห่ง ตระพังนั้น ก็เป็นอันไม่มีหวัง นี้ฉันใด  
        ภิกษุ ท. !  ภิกษุที่เข้าถึง เจโตวิมุตติ อันสงบ อย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วแลอยู่. เธอย่อมกระทำในใจซึ่ง อวิชชาปเภท เมื่อเธอกระทำ ในใจซึ่งอวิชชาปเภทอยู่ จิตของเธอ (ก็ยัง)ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ดำรงอยู่ ไม่น้อมไป ในอวิชชาปเภท  . ตระพังใหญ่ที่ทิ้งของ โสโครก ประจำเมือง มีขอบคัน. ความเป็นอย่างนี้ของภิกษุ นั้น ทำให้เธอหวัง อวิชชาปเภทไม่ได้ ฉันนั้นเหมือนกัน.

        ๔. ภิกษุ ท. !  ภิกษุ ในกรณีนี้ เข้าถึงเจโตวิมุตติอันสงบ อย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วแลอยู่. เธอย่อม (อาศัยเจโตวิมุตตินั้น) กระทำในใจซึ่ง อวิชชาปเภท เมื่อเธอ กระทำในใจซึ่ง อวิชชาปเภท อยู่ จิตของเธอ ก็แล่นไป เลื่อมใส ดำรงอยู่ น้อมไป ในอวิชชาปเภท. ความเป็นอย่างนี้ของภิกษุนั้น ทำให้เธอหวัง อวิชชาปเภท ได้. เปรียบเหมือนชัมพาลี อันสร้างมาแล้วหลายปี คนเขาเปิดทางน้ำไหลเข้าของมัน และปิดทางน้ำไหลออกไว้ทั้งหมด ทั้งฝนก็ตกตามฤดูกาล เมื่อเป็นอย่างนี้ การที่จะมี น้ำไหล ออกจากขอบคันแห่งตระพังนั้น ก็เป็นอันหวังได้ นี้ฉันใด  
       ภิกษุ ท. !  ภิกษุ ที่เข้าถึง เจโตวิมุตติ อันสงบ อย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วแลอยู่. เธอย่อมกระทำ ในใจ ซึ่งอวิชชาปเภท เมื่อเธอกระทำในใจซึ่งอวิชชาปเภทอยู่ จิตของเธอ ก็แล่นไป เลื่อมใส ดำรงอยู่ น้อมไปในอวิชชาปเภท. ความเป็นอย่างนี้ ของภิกษุนั้น ทำให้เธอหวัง อวิชชาปเภทได้ ฉันนั้นเหมือนกัน.

       ภิกษุ ท. !  บุคคล ๔ จำพวก เหล่านี้แล มีอยู่ หาได้อยู่ ในโลก.
        - จตุกฺก. อํ. ๒๑/๒๒๓ - ๒๒๕/๑๗๘.

นิทเทศ ๒๑ว่าด้วย สัมมาสมาธิ จบ






พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์