เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  หมวดว่าด้วยบาป (อรรถกถา-คำแต่งใหม่) 1012
 
 


1008 ธรรมบท-อุทาน 1 หมวดว่าด้วยธรรมเป็นคู่กัน หมวดว่าด้วยความไม่ประมาท
1009 ธรรมบท-อุทาน 2 หมวดว่าด้วยการฝึกจิต หมวดว่าด้วยดอกไม้
1010 ธรรมบท-อุทาน 3 หมวดว่าด้วยคนพาล หมวดว่าด้วยบัณฑิต
1011 ธรรมบท-อุทาน 4 หมวดว่าด้วยพระอรหันต์ หมวดว่าด้วยหนึ่งในร้อยในพัน
1012 ธรรมบท-อุทาน 5 หมวดว่าด้วยบาป
1013 ธรรมบท-อุทาน 6 หมวดว่าด้วยความชรา หมวดว่าด้วยตน
1014 ธรรมบท-อุทาน 7 หมวดว่าด้วยเรื่องโลก หมวดว่าด้วยเรื่องพระพุทธเจ้า
1015 ธรรมบท-อุทาน 8 หมวดว่าด้วยความสุข หมวดว่าด้วยสิ่งเป็นที่รัก
1016 ธรรมบท-อุทาน 9 หมวดว่าด้วยความโกรธ หมวดว่าด้วยมลทินทางใจ
1017 ธรรมบท-อุทาน 10 หมวดว่าด้วยผู้ตั้งอยู่ในธรรม หมวดว่าด้วยมรรค
1018 ธรรมบท-อุทาน 11 หมวดว่าด้วยเรื่องเบ็ดเตล็ด หมวดว่าด้วยคนทำกรรมชั่วตกนรก
1019 ธรรมบท-อุทาน 12 หมวดว่าด้วยช้าง หมวดว่าด้วยตัณหา
1020 ธรรมบท-อุทาน 13 หมวดว่าด้วยภิกษุ หมวดว่าด้วยพราหมณ์

   เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
   การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
   การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
   แสวงหาสัจจะ บำเพ็ญทุกรกิริยา
   ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
   ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
   ปลงสังขาร ปรินิพพาน
   ลำดับขั้นการปรินิพพาน
   เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
   แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
 


(อรรถกถา-คำแต่งใหม่)


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ]
ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต


หมวดว่าด้วยบาป


๑. เรื่องพราหมณ์จูเฬกสาฎก (ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย)
บุคคลควรรีบเร่งทำบุญ ควรห้ามจิตจากบาป
เพราะเมื่อทำบุญช้าไป ใจจะยินดีในบาป

๒. เรื่องพระเสยยสกเถระ (ตรัสแก่พระเสยยสกเถระ)
หากบุคคลทำบาปไป ก็ไม่ควรทำบาปนั้นซ้ำอีก
ไม่ควรทำความพอใจในบาปนั้น
เพราะการสั่งสมบาปนำทุกข์มาให้

๓. เรื่องลาชเทพธิดา (ตรัสพระคาถานี้แก่ลาชเทพธิดา)
หากบุคคลทำบุญ ก็ควรทำบุญนั้นบ่อยๆ
ควรทำความพอใจในบุญนั้น
เพราะการสั่งสมบุญนำสุขมาให้

๔. เรื่องอนาถบิณฑิกเศรษฐี (ตรัสแก่อนาถบิณฑิกเศรษฐี และเทวดาผู้สิงสถิต อยู่ที่ซุ้มประตูบ้านของเศรษฐี)
ตราบใดที่บาปยังไม่ให้ผล
ตราบนั้น คนชั่วจะเห็นบาปว่าดี
แต่เมื่อใด บาปให้ผล
เมื่อนั้น คนชั่วจะเห็นบาปว่าชั่วแท้

ตราบใดที่กรรมดียังไม่ให้ผล
ตราบนั้น คนดีจะเห็นกรรมดีว่าชั่ว
แต่เมื่อใด กรรมดีให้ผล
เมื่อนั้นคนดีจะเห็นกรรมดีว่าดีแท้

๕. เรื่องภิกษุผู้ไม่เก็บรักษาบริขาร (ตรัสแก่ภิกษุรูปหนึ่ง)
บุคคลอย่าสำคัญว่าบาปเล็กน้อยคงจักไม่มาถึง
แม้หม้อน้ำยังเต็มด้วยน้ำที่ตกลงมาทีละหยาดๆ ได้ ฉันใด
คนพาล เมื่อสั่งสมบาปทีละเล็กทีละน้อย
ก็เต็มด้วยบาปได้ ฉันนั้น

๖. เรื่องพิฬารปทกเศรษฐี (ตรัสพระคาถานี้แก่เศรษฐีผู้อยู่เมืองสาวัตถี)
บุคคลอย่าสำคัญว่าบุญเล็กน้อยคงจักไม่มาถึง
แม้หม้อน้ำยังเต็มด้วยน้ำที่ตกลงมาทีละหยาดๆ ได้ ฉันใด
คนมีปัญญา เมื่อสั่งสมบุญแม้ทีละเล็กทีละน้อย
ก็เต็มด้วยบุญได้ ฉันนั้น

๗. เรื่องพ่อค้าผู้มีทรัพย์มาก (ตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย)
บุคคลควรละเว้นบาปทั้งหลาย
ดุจพ่อค้าที่มีทรัพย์มาก แต่มีพวกน้อย หลีกเลี่ยงทางที่มีภัย
และดุจคนรักชีวิตหลีกเลี่ยงยาพิษ ฉะนั้น

๘. เรื่องนายพรานเนื้อชื่อกุกกุฏมิต (ตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย)
หากที่ฝ่ามือไม่มีแผล บุคคลก็ใช้ฝ่ามือนำยาพิษไปได้
เพราะยาพิษจะไม่ซึมเข้าไปยังฝ่ามือที่ไม่มีแผล
เหมือนบาปไม่มีแก่ผู้ไม่ทำบาป ฉะนั้น

๙. เรื่องนายพรานสุนัขชื่อโกกะ (ตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุรูปหนึ่ง)
บุคคลใดประทุษร้ายต่อคนผู้ไม่ประทุษร้าย
เป็นผู้บริสุทธิ์ ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน
บาปย่อมกลับมาถึงบุคคลนั้นซึ่งเป็นคนพาลอย่างแน่แท้
ดุจผงธุลีอันละเอียดที่บุคคลซัดไปทวนลม ฉะนั้น๑-

๑๐. เรื่องพระติสสเถระผู้เข้าถึงตระกูลช่างแก้ว (ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย)
สัตว์พวกหนึ่ง ย่อมเกิดในครรภ์
พวกที่ทำบาปกรรมย่อมไปนรก
พวกที่ทำความดีย่อมไปสวรรค์
ส่วนผู้ที่ไม่มีอาสวะย่อมนิพพาน

๑๑. ตโยชนวัตถุเรื่องคน ๓ จำพวก (ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย)
คนทำบาป ถึงจะเหาะขึ้นไปในอากาศ ก็ไม่พ้นจากบาปกรรม
ถึงจะดำลงไปกลางทะเล ก็ไม่พ้นจากบาปกรรม
ถึงจะเข้าไปหลบตัวในซอกเขา ก็ไม่พ้นจากบาปกรรม
เพราะไม่มีแผ่นดินสักส่วนหนึ่งที่คนทำบาปยืนอยู่แล้ว
จะพ้นจากบาปกรรมได้

๑๒. เรื่องเจ้าศากยะสุปปพุทธะ (ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย)
บุคคล ถึงจะเหาะขึ้นไปในอากาศ ก็ไม่พ้นจากความตาย
ถึงจะดำลงไปกลางทะเล ก็ไม่พ้นจากความตาย
ถึงจะเข้าไปหลบตัวในซอกเขา ก็ไม่พ้นจากความตาย
เพราะไม่มีแผ่นดินสักส่วนหนึ่งที่บุคคลยืนอยู่แล้ว
จะไม่ถูกความตายครอบงำได้

หมวดว่าด้วยการลงทัณฑ์

๑. เรื่องพระฉัพพัคคีย์ (ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย)
สัตว์ทุกประเภท ย่อมสะดุ้งกลัวโทษทัณฑ์
สัตว์ทุกประเภท ย่อมหวาดกลัวความตาย
บุคคลนำตนเข้าไปเปรียบเทียบแล้ว
ไม่ควรฆ่าเอง ไม่ควรใช้ให้คนอื่นฆ่า

๒. เรื่องพระฉัพพัคคีย์ (ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย)
สัตว์ทุกประเภท ย่อมสะดุ้งกลัวโทษทัณฑ์
สัตว์ทุกประเภท ย่อมรักชีวิต
บุคคลนำตนเข้าไปเปรียบเทียบแล้ว
ไม่ควรฆ่าเอง ไม่ควรใช้ให้คนอื่นฆ่า

๓. เรื่องเด็กชายหลายคน (ตรัสแก่เด็กชายชาวเมืองสาวัตถี ประมาณ ๕๐๐ คนที่กำลังตีงูในระหว่างทาง )
ผู้ใดใฝ่หาความสุขเพื่อตน
แต่กลับใช้ท่อนไม้ทำร้ายสัตว์ทั้งหลายผู้รักสุข
ผู้นั้นตายไปแล้วย่อมไม่ได้รับความสุขเลย

ส่วนผู้ใดใฝ่หาความสุขเพื่อตน
ไม่ใช้ท่อนไม้ทำร้ายสัตว์ทั้งหลายผู้รักสุข
ผู้นั้นตายไปแล้วย่อมได้รับความสุข๑-

๔. เรื่องพระโกณฑธานเถระ (ตรัสพระคาถานี้แก่พระโกณฑธานเถระ)
เธออย่าได้กล่าวคำหยาบต่อใครๆ
คนที่ถูกเธอว่ากล่าวจะกล่าวโต้ตอบเธอ
เพราะว่าถ้อยคำที่โต้เถียงกัน ก่อให้เกิดทุกข์
และการทำร้ายโต้ตอบกันจะมาถึงเธอ
ถ้าเธอทำตนให้นิ่งเงียบได้
เหมือนกังสดาล ที่ตัดขอบปากออกแล้ว
เธอก็จะบรรลุนิพพานได้
การโต้เถียงกันก็จะไม่มีแก่เธอ

๕. เรื่องหญิงผู้รักษาอุโบสถศีล (ตรัสแก่นางวิสาขา และหญิงผู้รักษาอุโบสถศีลประมาณ ๕๐๐ คน)
คนเลี้ยงโคใช้ท่อนไม้ไล่ต้อนฝูงโคไปยังที่หากิน ฉันใด
ความแก่และความตาย ก็ไล่ต้อนอายุของสัตว์ทั้งหลายไป ฉันนั้น

๖. เรื่องเปรตงูเหลือม (ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย)
คนพาลมีปัญญาทราม เมื่อทำบาปกรรมย่อมไม่รู้สึกตัว
จึงมักเดือดร้อนเพราะกรรมของตน
เหมือนคนถูกไฟไหม้ ฉะนั้น

๗. เรื่องพระมหาโมคคัลลานเถระ (ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย)
ผู้ใดประทุษร้ายคนที่ไม่มีความผิด
(และ) คนที่ไม่ประทุษร้าย (ตอบ)ด้วยโทษทัณฑ์
ผู้นั้นย่อมได้รับผลอย่าง ๑ ใน ๑๐ อย่าง คือ

(๑) ทุกขเวทนาอย่างแรงกล้า
(๒) เสื่อมทรัพย์
(๓) ถูกทำร้ายร่างกาย
(๔) เจ็บป่วยอย่างหนัก
(๕) กลายเป็นคนวิกลจริต
(๖) ต้องราชภัย
(๗) ถูกกล่าวหาอย่างร้ายแรง
(๘) เสื่อมญาติ
(๙) ทรัพย์สมบัติพินาศย่อยยับ
(๑๐) บ้านเรือนถูกไฟไหม้ เขาผู้มีปัญญาทราม เมื่อตายไปย่อมตกนรก

๘. เรื่องภิกษุผู้มีเครื่องใช้สอยมาก (ตรัสแก่ภิกษุผู้มีเครื่องใช้สอยมาก)
การเป็นคนเปลือย การเกล้าชฎา การเอาโคลนทาตัว
การอดอาหาร การนอนบนพื้นดิน
การมีกายหมักหมมด้วยธุลี
หรือการทำความเพียรด้วยการนั่งกระโหย่ง วัตรทั้งหมดเหล่านี้หาชำระคน
ผู้ยังไม่ล่วงพ้นความสงสัยให้หมดจดได้ไม่

๙. เรื่องสันตติมหาอำมาตย (ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย)
แม้บุคคลจะแต่งตัวแบบใดก็ตาม
ถ้าเขาเป็นผู้สงบ ฝึกตนได้ เป็นผู้แน่นอน ประพฤติพรหมจรรย์
ละเว้นการเบียดเบียนสรรพสัตว์ ประพฤติสม่ำเสมอ
ควรเรียกบุคคลเช่นนั้นว่า พราหมณ์ สมณะ หรือภิกษุ ก็ได้

๑๐. เรื่องพระปิโลติกติสสเถระ (ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย)
บุคคลผู้กีดกันอกุศลวิตกได้ด้วยหิริ มีอยู่น้อยคนในโลก
ภิกษุใดหลบหลีกนินทาได้ ตื่นตัวอยู่ เหมือนม้าชั้นดีหลบแส้ได้
ภิกษุเช่นนั้นมีอยู่น้อยรูป

เธอทั้งหลายจงมีความเพียรและมีสังเวคธรรม
เหมือนม้าดีที่ถูกลงแส้ เธอทั้งหลายมีศรัทธา ศีล วิริยะ
สมาธิ และธัมมวินิจฉัย
สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะ มีสติมั่นคง
จักละทุกข์ มีประมาณไม่น้อยนี้ได้

๑๑. เรื่องสุขสามเณร (ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย)
คนไขน้ำ ย่อมไขน้ำ
ช่างศร ย่อมดัดลูกศร
ช่างไม้ ย่อมถากไม้
ผู้มีวัตรดี ย่อมฝึกตน

 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์