เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
  
หนังสือพุทธวจนออนไลน์   ดูหนังสือทั้งหมด
90 90 90 90 90
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์  
   
ค้นหาคำที่ต้องการ        

  กรรม พุทธวจน   ดาวน์โหลดหนังสือ(ไฟล์ PDF)
  
ที่มา : http://watnapp.com/book 04 of 4    
   กรรม พุทธวจน  
       
    กรรมที่ทำให้สิ้นกรรม    
    ๓๕. ข้อปฏิบัติให้ถึงความสิ้นกรรม    
            -รายละเอียดของสัมมากัมมันตะ    
            -สัมมากัมมันตะโดยปริยายสองอย่าง    
            -อาชีพที่ไม่ควรกระทำ    
    ๓๖. “สิ้นตัณหา ก็ สิ้นกรรม”    
    ๓๗. การกระทำกรรมที่เป็นไปเพื่อการสิ้นกรรม    
    ๓๘. จะเกิดในตระกูลใดก็สิ้นกรรมได้    
       
    เรื่องเกี่ยวกับ “กรรม” ในเชิงปฏิจจสมุปบาท    
    (การที่ทุกข์เกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัยต่อเนื่องกันมา)    
    ๓๙. เหตุเกิดของทุกข์    
    ๔๐. ความหมายที่แท้จริงของคำว่า “สัตว์”    
    ๔๑. ความไม่มีสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา    
    ๔๒. เหตุเกิดของภพ    
    ๔๓. เครื่องนำไปสู่ภพ    
    ๔๔. ปฏิจจสมุปบาท ในฐานะเป็นกฎสูงสุดของธรรมชาติ    
       
 
 





กรรมที่ทำให้สิ้นกรรม
๓๕)

ข้อปฏิบัติให้ถึงความสิ้นกรรม

ภิกษุทั้งหลาย ! เราจักแสดง จักจำแนก ซึ่ง อริยอัฏฐังคิกมรรค (อริยมรรคมีองค์แปด) แก่เธอทั้งหลาย. เธอทั้งหลายจงฟังความข้อนั้น จงทำในใจให้สำเร็จประโยชน์เราจักกล่าว

ภิกษุทั้งหลาย ! อริยอัฏฐังคิกมรรค (อริยมรรค มีองค์แปด) เป็นอย่างไรเล่า ?

ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ สัมมาทิฏฐิสัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ

ภิกษุทั้งหลาย ! สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ) เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ความรู้อันใดเป็นความรู้ในทุกข์ เป็นความรู้ในเหตุให้เกิดทุกข์ เป็นความรู้ในความดับแห่งทุกข์ เป็นความรู้ในทาง ดำเนินให้ถึงความดับ ไม่เหลือ แห่งทุกข์. ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า สัมมาทิฏฐิ

ภิกษุทั้งหลาย ! สัมมาสังกัปปะ (ความดำาริชอบ) เป็นอย่างไรเล่า ? คือ ความดำริในการออกจากกาม ความดำริในการ ไม่มุ่งร้าย ความดำริในการไม่ เบียดเบียน. ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า สัมมาสังกัปปะ.

ภิกษุทั้งหลาย ! สัมมาวาจา (การพูดจาชอบ) เป็นอย่างไรเล่า ? คือ เจตนา เป็นเครื่องเว้น จาก การพูดไม่จริง เจตนา เป็นเครื่องเว้นจากการพูดส่อเสียด เจตนาเป็นเครื่องเว้น จากการพูดหยาบ เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ. ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า สัมมาวาจา.

ภิกษุทั้งหลาย ! สัมมากัมมันตะ (การทำาการงาน ชอบ) เป็นอย่างไรเล่า ? คือ เจตนาเป็น เครื่องเว้นจากการฆ่า เจตนาเป็น เครื่องเว้นจากการถือเอา สิ่งของ ที่เจ้าของ ไม่ได้ให้แล้ว เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการประพฤติผิด ในกาม. ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า สัมมากัมมันตะ

ภิกษุทั้งหลาย ! สัมมาอาชีวะ (การเลี้ยงชีวิตชอบ) เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! สาวกของพระอริยเจ้าในกรณีนี้ ละการหาเลี้ยงชีวิตที่ผิดเสีย ย่อมสำเร็จความเป็นอยู่ด้วย การเลี้ยงชีวิตที่ชอบ. ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า สัมมาอาชีวะ.

ภิกษุทั้งหลาย ! สัมมาวายามะ(ความเพียรชอบ) เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมปลูก ความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภ ความเพียร ย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้เพื่อความไม่บังเกิด แห่งอกุศลธรรม อันเป็น บาปทั้งหลายที่ยังไม่ได้บังเกิด ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความ เพียร ย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้เพื่อการ ละเสียซึ่งอกุศลธรรม อันเป็นบาป ทั้งหลายที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้เพื่อการ บังเกิดขึ้นแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย ที่ยังไม่ บังเกิด ย่อมปลูก ความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อม ประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อความยั่งยืน ความไม่เลอะเลือน ความงอกงามยิ่งขึ้น ความไพบูลย์ ความเจริญ ความเต็มรอบ แห่งกุศลธรรมทั้งหลายที่บังเกิดขึ้นแล้ว. ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า สัมมาวายามะ.

ภิกษุทั้งหลาย ! สัมมาสติ (ความระลึกชอบ) เป็นอย่างไรเล่า?
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มี ปกติพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียรเครื่องเผา กิเลส มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ นำความพอใจและ ความไม่พอใจในโลกออกเสียได้ เป็นผู้มีปกติพิจารณา เห็นเวทนาในเวทนา ทั้งหลายอยู่ มีความเพียรเครื่องเผา กิเลส มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ นำความ พอใจและ ความไม่พอใจในโลกออกเสียได้ เป็นมีปกติผู้พิจารณา เห็นจิตในจิต อยู่ มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีความรู้สึก ตัวทั่วพร้อม มีสติ นำความพอใจ และความ ไม่พอใจในโลก ออกเสียได้ เป็นผู้ปกติพิจารณาเห็นธรรมในธรรม ทั้งหลาย อยู่ มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ นำความพอใจ และความไม่พอใจในโลกออกเสียได้. ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า สัมมาสติ.

ภิกษุทั้งหลาย ! สัมมาสมาธิ (ความตั้งใจมั่นชอบ) เป็นอย่างไรเล่า?
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดแล้ว จากกามทั้งหลาย สงัดแล้วจาก อกุศลธรรมทั้งหลาย เข้าถึง ปฐมฌาน อันมีวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่ วิเวก แล้วแล อยู่ เพราะความที่วิตก วิจารทั้งสองระงับลง เข้าถึงทุติยฌาน อันเป็น เครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน ให้สมาธิเป็นธรรม อันเอกผุดมีขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุข อันเกิด จากสมาธิ แล้วแลอยู่ อนึ่ง เพราะ ความจางคลายไปแห่ง ปีติ ย่อมเป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติ มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม และย่อมเสวยสุขด้วย นามกาย ชนิดที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย ย่อมสรรเสริญผู้นั้น ว่า “เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติอยู่เป็นปกติสุข” ดังนี้ เข้าถึงตติยฌาน แล้วแลอยู่ เพราะละสุข และทุกข์เสีย ได้ เพราะความดับไปแห่งโสมนัสและโทมนัสทั้งสอง ในกาลก่อน เข้าถึง จตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติ บริสุทธิ์เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่. ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า สัมมาสมาธิ

๓๕-๑)

รายละเอียดของสัมมากัมมันตะ

(ปาณาติปาตา เวรมณี)
เธอนั้น ละปาณาติบาต เว้นขาดจากปาณาติบาต (ฆ่าสัตว์) วางท่อนไม้และศัสตรา เสียแล้ว มีความละอาย ถึงความเอ็นดูกรุณา หวังประโยชน์เกื้อกูลในบรรดาสัตว์ทั้งหลาย อยู่

(
อทินนาทานา เวรมณี) เธอนั้น ละอทินนาทาน เว้นขาดจากอทินนาทาน (ลักทรัพย์) ถือเอาแต่ของที่เขาให้แล้ว หวังอยู่แต่ของที่เขาให้ ไม่เป็นขโมย มีตนเป็นคนสะอาด เป็นอยู่

(
กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี-สำหรับฆราวาส) เธอนั้น ละการประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการ ประพฤติผิดในกาม (คือเว้นขาดจากการประพฤติผิด) ในหญิง ซึ่งมารดารักษา บิดารักษา พี่น้องชาย พี่น้องหญิง หรือ ญาติรักษา อันธรรม รักษา เป็นหญิงมีสามี หญิงอยู่ในสินไหม โดยที่สุดแม้หญิง อันเขาหมั้น ไว้ (ด้วยการคล้องพวงมาลัย) ไม่เป็นผู้ประพฤติผิดจารีตในรูปแบบเหล่านั้น

ในกรณีศีล ๕ อีกสองข้อที่เหลือ คือ การเว้นขาดจาก มุสาวาท และการ เว้นขาด จากการดื่มน้ำเมาคือ สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความ ประมาท ก็ตรัสอย่าง เดียวกัน

๓๕-๒)

สัมมากัมมันตะโดยปริยายสองอย่าง

ภิกษุทั้งหลาย ! สัมมากัมมันตะ เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! เรากล่าว แม้สัมมากัมมันตะว่า มีโดยส่วนสอง คือ

สัมมากัมมันตะ ที่ยังเป็นไปกับด้วยอาสวะเป็นส่วนแห่งบุญ มีอุปธิเป็นวิบาก ก็มีอยู่

สัมมากัมมันตะ อันเป็นอริยะ ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระ เป็นองค์แห่งมรรค ก็มีอยู่.

ภิกษุทั้งหลาย ! สัมมากัมมันตะ ที่ยังเป็นไปกับด้วยอาสวะ (กิเลสที่หมักหมม) เป็นส่วนแห่งบุญ มีอุปธิ เป็นวิบากนั้น เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย ! เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการ ทำาสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วงไป เจตนา เป็นเครื่องเว้น จากการถือ เอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้เจตนา เป็นเครื่องเว้นจากการ ประพฤติ ผิดในกามทั้งหลาย มีอยู่ ภิกษุทั้งหลาย ! นี้คือสัมมากัมมันตะ ที่ยังเป็นไปกับ ด้วยอาสวะ เป็นส่วนแห่ง บุญ มีอุปธิเป็นวิบาก

ภิกษุทั้งหลาย ! สัมมากัมมันตะ อันเป็นอริยะ ไม่มีอาสวะ เป็น โลกุตตระ เป็นองค์แห่งมรรค นั้นเป็นอย่างไรเล่า? คือ การงด การเว้น การเว้นขาด เจตนาเป็นเครื่องเว้น จากกายทุจริตทั้งสาม (ตามที่กล่าวแล้วข้างบน) ของผู้มี อริยจิต ของผู้มีอนาสวจิต (ผู้มีจิตที่ไม่มีอาสวะ) ของผู้เป็นอริยมัคคสมังคี ผู้เจริญอยู่ซึ่งอริยมรรค. ภิกษุทั้งหลาย ! นี้คือ สัมมากัมมันตะ อันเป็นอริยะ ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระ เป็นองค์แห่งมรรค

๓๕-๓)

อาชีพที่ไม่ควรกระทำ

ภิกษุทั้งหลาย ! ก็มิจฉาอาชีวะเป็นไฉน ? คือ การโกง การล่อลวง การตลบตะแลง การยอม มอบตนในทางผิด การเอาลาภต่อลาภ นี้คือมิจฉาอาชีวะ. อุปริ. ม. ๑๔/๑๘๖/๑๔๙.

ภิกษุทั้งหลาย ! การค้าขาย ๕ ประการนี้อันอุบาสกไม่พึงกระทำ ๕ ประการอย่างไรเล่า ? คือ
๑. การค้าขายศัสตรา (สตฺถวณิชฺชา)
๒. การค้าขายสัตว์ (สตฺตวณิชฺชา)
๓. การค้าขายเนื้อสัตว์ (มำสวณิชฺชา)
๔. การค้าขายน้ำเมา (มชฺชวณิชฺชา)
๕. การค้าขายยาพิษ (วิสวณิชฺชา)

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้แลการค้าขาย ๕ ประการ อันอุบาสกไม่พึงกระทำ.

๓๖)

“สิ้นตัณหา ก็ สิ้นกรรม”

ภิกษุทั้งหลาย ! มรรคาใด ปฏิปทาใด ย่อม เป็นไปเพื่อความสิ้นตัณหาเธอ ทั้งหลายจงเจริญมรรคานั้น ปฏิปทานั้น

มรรคาและปฏิปทา ที่เป็นไปเพื่อความสิ้นตัณหา เป็นอย่างไรเล่า ?
คือ โพชฌงค์ ๗

โพชฌงค์ ๗ เป็นอย่างไรเล่า ? คือ สติสัมโพชฌงค์ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์ ปีติสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์.

เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว พระอุทายีได้ทูลถามว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! โพชฌงค์ ๗ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว

อย่างไรย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นตัณหา

อุทายี! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญ สติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อันอาศัย วิราคะ อันอาศัย นิโรธ อันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ (ความสละ, ความปล่อย) อันไพบูลย์ ใหญ่หลวง ไม่มีประมาณ ไม่มีความพยาบาท เมื่อภิกษุนั้นเจริญสติ สัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อันอาศัย วิราคะ อาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อ โวสสัคคะ อันไพบูลย์ใหญ่หลวง ไม่มีประมาณ ไม่มีความพยาบาท ย่อมละ ตัณหาได้ ...ฯลฯ...

ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อันอาศัยวิราคะ อันอาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ อันไพบูลย์ ใหญ่หลวง ไม่มีประมาณ ไม่มีความ พยาบาท เมื่อภิกษุนั้นเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อันอาศัยวิราคะ อันอาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ อันไพบูลย์ใหญ่หลวง ไม่มีประมาณ ไม่มีความพยาบาท ย่อมละตัณหาได้ เพราะละตัณหาได้ จึงละกรรมได้ เพราะละกรรมได้ จึงละ ทุกข์ได้

อุทายี ! เพราะสิ้นตัณหาจึงสิ้นกรรม เพราะสิ้นกรรม จึงสิ้นทุกข์ ด้วยประการ ดังนี้ แล

๓๗)

การกระทำกรรมที่เป็นไปเพื่อการสิ้นกรรม

ภิกษุทั้งหลาย ! เหตุทั้งหลาย ๓ ประการ เหล่านี้ มีอยู่ เพื่อความเกิดขึ้นแห่งกรรม ทั้งหลาย. ๓ ประการ เหล่าไหนเล่า ? ๓ ประการ คือ
อโลภะ (ความไม่โลภ) เป็นเหตุเพื่อความเกิดขึ้น แห่งกรรมทั้งหลาย
อโทสะ
(ความไม่คิดประทุษร้าย) เป็นเหตุเพื่อ ความเกิดขึ้นแห่งกรรมทั้งหลาย
อโมหะ (ความไม่หลง) เป็นเหตุเพื่อความเกิดขึ้น แห่งกรรมทั้งหลาย

ภิกษุทั้งหลาย ! เปรียบเหมือนเมล็ดพืชทั้งหลาย ที่ไม่แตกหัก ที่ไม่เน่า ที่ไม่ถูก ทำลายด้วยลมและแดด เลือกเอาแต่เม็ดดี เก็บงำไว้ดี. บุรุษพึงเผาเมล็ดพืช เหล่านั้น ด้วยไฟ ครั้นเผาด้วยไฟแล้ว พึงกระทำให้เป็น ผงขี้เถ้า ครั้นกระทำ ให้เป็นผงขี้เถ้า แล้ว พึงโปรยไปใน กระแสลมอันพัดจัด หรือว่าพึงลอยไป ในกระแสน้ำ อันเชี่ยวใน แม่น้ำ. เมล็ดพืชทั้งหลายเหล่านั้นเป็นพืช มีมูล อันขาดแล้ว ถูกกระทำให้เหมือนตาล มีขั้วยอดอันด้วน ทำให้ถึงความไม่มีมี อันไม่เกิดขึ้นต่อไป เป็นธรรมดา โดยแน่นอน นี้ฉันใด

ภิกษุทั้งหลาย ! กรรมอันบุคคลกระทำแล้วด้วย อโลภะ เกิดจาก อโลภะ มีอโลภะ เป็นเหตุมีอโลภะเป็นสมุทัย อันใด เพราะปราศจากโลภะเสียแล้ว ด้วยอาการอย่างนี้เอง กรรมอันนั้น ย่อมเป็นกรรมอันบุคคลนั้นละขาดแล้ว มีราก อันถอนขึ้นแล้ว ถูกกระทำให้เหมือนตาลมีขั้วยอดอันด้วน ทำาให้ถึงความ ไม่มี มีอันไม่เกิดขึ้นต่อไป เป็นธรรมดา

ภิกษุทั้งหลาย ! กรรมอันบุคคลกระทำแล้วด้วย อโทสะ เกิดจาก อโทสะ มีอโทสะเป็นเหตุมีอโทสะเป็นสมุทัย อันใด เพราะปราศจากโทสะเสียแล้ว ด้วยอาการอย่างนี้เอง กรรมอันนั้น ย่อมเป็นกรรมอันบุคคลนั้นละขาดแล้ว มีรากอันถอนขึ้นแล้ว ถูกกระทำให้เหมือนตาลมีขั้วยอดอันด้วน ทำให้ถึงความ ไม่มี มีอันไม่เกิดขึ้นต่อไป เป็นธรรมดา.

ภิกษุทั้งหลาย ! กรรมอันบุคคลกระทำแล้วด้วย อโมหะ เกิดจาก อโมหะ มีอโมหะเป็นเหตุมีอโมหะเป็นสมุทัย อันใด เพราะปราศจากโมหะเสียแล้ว ด้วยอาการอย่างนี้เอง กรรมอันนั้น ย่อมเป็นกรรมอันบุคคลนั้นละขาดแล้ว มีรากอันถอนขึ้นแล้ว ถูกกระทำาให้เหมือนตาลมีขั้วยอดอันด้วน ทำาให้ถึงความไม่มี มีอันไม่เกิดขึ้นต่อไป เป็นธรรมดา

ภิกษุทั้งหลาย ! เหตุทั้งหลาย ประการ เหล่านี้แล เป็นไปเพื่อความเกิดขึ้น แห่งกรรมทั้งหลาย

๓๘)

จะเกิดในตระกูลใดก็สิ้นกรรมได้

อานนท์ ! อภิชาติ ชนิด เป็นอย่างไรเล่า ?
อานนท์ ! ในกรณีแห่งอภิชาติ หกนี้คือ

คนบางคนมีชาติดำ ก่อให้เกิดธรรมดำ ๑
บางคนมีชาติดำ ก่อให้ เกิดธรรมขาว ๑
บางคนมีชาติดำ ก่อให้เกิดนิพพาน (ความสิ้นราคะโทสะโมหะ) อันเป็นธรรม ไม่ดำไม่ขาว ๑
บางคนมีชาติขาว ก่อให้เกิดธรรมดำ ๑
บางคนมีชาติขาว ก่อให้เกิดธรรมขาว ๑
บางคนมีชาติขาว ก่อให้เกิดนิพพาน อันเป็นธรรมไม่ดำไม่ขาว ๑


อานนท์ ! คนมีชาติดำ ก่อให้เกิดธรรมดำ เป็นอย่างไรเล่า?

อานนท์! คนบางคนในกรณีนี้เกิดในตระกูลต่ำ คือ ตระกูลจัณฑาล ตระกูลพราน ตระกูลจักสาน ตระกูล ทำรถ หรือตระกูลเทหยากเยื่อ ซึ่งเป็นคนยากจน มีข้าวและ น้ำน้อย เป็นอยู่ฝืดเคือง มีอาหารและเครื่องนุ่งห่มหาได้โดยยาก เขาเป็นผู้มี ผิวพรรณทราม ไม่น่าดู เตี้ยค่อม ขี้โรค ตาบอด ง่อยกระจอก มีตัวตะแคงข้าง ไม่ค่อยจะมีข้าว น้ำ เครื่องนุ่งห่ม ยานพาหนะ ดอกไม้ของหอม เครื่องลูบไล้ที่นอน ที่อยู่ และประทีปโคมไฟ แต่เขาก็ยังประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ครั้นประพฤติทุจริตแล้ว เบื้องหน้า แต่การตาย เพราะการทำาลายแห่งกาย ย่อมเข้า ถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก. อย่างนี้แล อานนท์! เรียกว่า คนมีชาติดำ ก่อให้เกิด ธรรมดำ

อานนท์ ! คนมีชาติดำ ก่อให้เกิดธรรมขาว เป็นอย่างไรเล่า?
อานนท์! คนบางคนในกรณีนี้เกิดในตระกูลต่ำ คือ ตระกูลจัณฑาล ตระกูลพราน ฯลฯ มีอาหาร และเครื่อง นุ่งห่มหาได้โดยยาก มีผิวพรรณทรามไม่น่าดู ...ฯลฯ... ไม่ค่อยจะมีข้าว น้ำ ...ฯลฯ... ประทีปโคมไฟ แต่เขา ประพฤติกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ครั้นประพฤติสุจริตแล้ว เบื้องหน้าแต่การตาย เพราะการทำลายแห่งกาย ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์. อย่างนี้แล อานนท์ ! เรียกว่า คนมีชาติดำ ก่อให้เกิด ธรรมขาว

อานนท์ ! คนมีชาติดำ ก่อให้เกิดนิพพานอัน เป็นธรรมไม่ดำไม่ขาว
เป็นอย่างไร เล่า
? อานนท์! คนบางคนในกรณีนี้เกิดในตระกูลต่ำ คือตระกูลจัณฑาล ตระกูลพราน ...ฯลฯ.. มีผิวพรรณทราม ไม่น่าดู เตี้ยค่อม. เขาปลงผมและหนวด ครองผ้าย้อมฝาด ออกจากเรือน บวชเป็นผู้ไม่มีประโยชน์เกี่ยวข้องด้วยเรือน. เขานั้น ครั้นบวชแล้ว อย่างนี้ ละนิวรณ์ทั้งห้า อันเป็นเครื่อง เศร้าหมองจิต ทำปัญญาให้ถอยกำลังได้แล้ว มีจิตตั้งมั่นดี ในสติปัฏฐานทั้งสี่ ยังโพชฌงค์เจ็ดให้เจริญแล้ว ตามที่เป็นจริง ชื่อว่าย่อมก่อให้เกิดนิพพาน อันเป็นธรรมไม่ดำ ไม่ขาว. อย่างนี้แล อานนท์! เรียกว่า คนมีชาติดำ ก่อให้เกิด นิพพานอันเป็นธรรม ไม่ดำาไม่ขาว

อานนท์ ! คนมีชาติขาว ก่อให้เกิดธรรมดำ เป็นอย่างไรเล่?
อานนท์! คนบางคนในกรณีนี้ เกิดในสกุลสูง คือ สกุลกษัตริย์มหาศาล สกุล พราหมณ์มหาศาล หรือสกุล คหบดีมหาศาล อันมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก มีทอง และเงินพอตัว มีอุปกรณ์แห่งทรัพย์พอตัว มีทรัพย์และ ข้าวเปลือกพอตัว เขามีรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส ประกอบ ด้วยความเกลี้ยงเกลาแห่งผิวพรรณ อย่างยิ่ง ร่ำารวยด้วยข้าว ด้วยน้ำ เครื่องนุ่งห่ม ยานพาหนะ ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่ และประทีปโคมไฟ แต่เขา ประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ครั้นประพฤติ ทุจริตแล้ว เบื้องหน้าแต่การตายเพราะการ ทำลายแห่งกาย ย่อมเข้าพึง อบาย ทุคติ วินิบาต นรก. อย่างนี้แล อานนท์! เรียกว่า คนมีชาติขาว ก่อให้เกิดธรรมดำ

อานนท์ ! คนมีชาติขาว ก่อให้เกิดธรรมขาว เป็นอย่างไรเล่า ?
อานนท์! คนบางคนในกรณีนี้ เกิดในสกุลสูง คือสกุลกษัตริย์มหาศาล สกุลพราหมณ์มหาศาล ...ฯลฯ... มีทรัพย์และข้าวเปลือกพอตัว มีรูปงาม ...ฯลฯ... ร่ำรวย ด้วยข้าว น้ำ ...ฯลฯ... ประทีปโคมไฟ เขา ประพฤติกาย สุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ครั้นประพฤติสุจริตแล้ว เบื้องหน้าแต่การตาย เพราะการทำลายแห่งกาย ย่อมเข้า ถึงสุคติโลกสวรรค์. อย่างนี้แล อานนท์! เรียกว่า คนมีชาติข ก่อให้ เกิดธรรมขาว.

อานนท์ ! คนชาติขาว ก่อให้เกิดนิพพาน อันเป็นธรรมไม่ดำไม่ขาว เป็นอย่างไรเล่า ? อานนท์! คนบางคนในกรณีนี้ เกิดในสกุลสูง คือ สกุลกษัตริย์มหาศาล สกุล พราหมณ์มหาศาล ...ฯลฯ... มีทรัพย์และข้าวเปลือก พอตัว มีรูปงาม ....ฯลฯ.... ร่ำรวย ด้วยข้าว น้ำ ...ฯลฯ... ประทีปโคมไฟ เขาปลงผมและหนวด ครองผ้า กาสายะ ออกจากเรือน บวชเป็นผู้ไม่มีประโยชน์ เกี่ยวข้องด้วยเรือน เขานั้น ครั้นบวช แล้วอย่างนี้ ละนิวรณ์ทั้งห้า อันเป็นเครื่อง เศร้าหมองใจทำปัญญา ให้ถอยกำลัง ได้แล้ว มีจิตตั้งมั่นดีในสติปัฏฐานทั้งสี่ ยังโพชฌงค์เจ็ด ให้เจริญแล้วตาม ที่เป็นจริง ชื่อว่าย่อมก่อให้เกิดนิพพาน อันเป็นธรรมไม่ดำ ไม่ขาว. อย่างนี้แล อานนท์ ! เรียกว่า คนมีชาติขาว ก่อให้เกิดนิพพาน อันเป็นธรรมไม่ดำไม่ขาว

อานนท์ ! เหล่านี้แล อภิชาติ ชนิด



๓๙)

เรื่องเกี่ยวกับ “กรรม” ในเชิงปฏิจจสมุปบาท
(การที่ทุกข์เกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัยต่อเนื่องกันมา)

เหตุเกิดของทุกข์


ถูกแล้ว ถูกแล้ว อานนท์! ตามที่สารีบุตรเมื่อตอบ ปัญหาในลักษณะนั้นเช่นนั้น ชื่อว่าได้ตอบโดยชอบ

อานนท์ ! ความทุกข์นั้น เรากล่าวว่าเป็นสิ่งที่อาศัยปัจจัย อย่างใด อย่างหนึ่ง แล้วเกิดขึ้น (เรียกว่า ปฏิจจสมุปปันนธรรม)

ความทุกข์นั้น อาศัยปัจจัย อะไรเล่า ?

ความทุกข์นั้น อาศัยปัจจัย คือ ผัสสะ
ผู้กล่าว อย่างนี้แล ชื่อว่า กล่าวตรงตาม ที่เรากล่าว ไม่เป็นการ กล่าวตู่เราด้วยคำไม่จริง แต่เป็นการกล่าวโดยถูกต้อง และ สหธรรมิกบางคนที่กล่าวตาม ก็จะไม่พลอยกลายเป็น ผู้ควรถูกติไปด้วย. อานนท์ ! ในบรรดาสมณพราหมณ์ ที่กล่าวสอนเรื่องกรรม ทั้งสี่พวกนั้น

สมณพราหมณ์ที่กล่าวสอนเรื่องกรรมพวกใด ย่อมบัญญัติความทุกข์ ว่าเป็นสิ่งที่ ตนทำเอาด้วยตนเอง แม้ความทุกข์ที่พวกเขาบัญญัตินั้น ก็ยังต้องอาศัยผัสสะ เป็นปัจจัย จึงเกิดได้

สมณพราหมณ์ที่กล่าวสอนเรื่องกรรมพวกใด ย่อมบัญญัติความทุกข์ ว่าเป็นสิ่งที่ ผู้อื่นทำาให้ แม้ความทุกข์ที่พวกเขาบัญญัตินั้น ก็ยังต้องอาศัยผัสสะ เป็นปัจจัย จึงเกิดมีได้

สมณพราหมณ์ที่กล่าวสอนเรื่องกรรมพวกใด ย่อมบัญญัติความทุกข์ ว่าเป็นสิ่งที่ ตนทำเอาด้วยตนเอง ด้วย ผู้อื่นทำให้ด้วย แม้ความทุกข์ ที่พวกเขาบัญญัตินั้น ก็ยังต้องอาศัยผัสสะ เป็นปัจจัย จึงเกิดมีได้

ถึงแม้สมณพราหมณ์ ที่กล่าวสอนเรื่องกรรม พวกใด ย่อมบัญญัติความทุกข์ ว่าเป็นสิ่งที่ไม่ใช่ทำาเอง หรือใครทำให้ก็เกิดขึ้นได้ ก็ตาม แม้ความทุกข์ ที่พวกเขาบัญญัตินั้น ก็ยังต้องอาศัยผัสสะ เป็นปัจจัย จึงเกิดมีได้อยู่นั่นเอง

๔๐)

ความหมายที่แท้จริงของคำว่า “สัตว์”

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ที่เรียกว่า ‘สัตว์ สัตว์’ ดังนี้ อันว่าสัตว์มีได้ ด้วยเหตุเพียง เท่าไรเล่า พระเจ้าข้า !

ราธะ! ความพอใจอันใด ราคะอันใด นันทิอันใด ตัณหาอันใด มีอยู่ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขารทั้งหลาย และในวิญญาณ เพราะการติดแล้ว ข้องแล้ว ในสิ่งนั้นๆ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ‘สัตว์’ ดังนี้

๔๑)

ความไม่มีสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา

ภิกษุโมลิยผัคคุนะ ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ก็ใครเล่า ย่อมกลืนกินซึ่ง วิญญาณาหาร พระเจ้าข้า ?”

พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสตอบว่า

“นั่นเป็นปัญหาที่ไม่ควรจะเป็นปัญหาเลย เราย่อมไม่กล่าวว่า บุคคลย่อมกลืนกิน ดังนี้ ถ้าเราได้กล่าวว่า บุคคลย่อมกลืนกิน ดังนี้ นั่นแหละจึงจะเป็น ปัญหา ในข้อนี้ ที่ควรถามขึ้นว่า ก็ใครเล่า ย่อมกลืนกิน (ซึ่งวิญญาณาหาร) พระเจ้าข้า ? ดังนี้

ก็เรามิได้กล่าวอย่างนั้น ถ้าผู้ใดจะพึงถามเรา ผู้มิได้กล่าวอย่างนั้น เช่นนี้ว่า ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ! วิญญาณาหาร ย่อมมีเพื่ออะไรเล่าหนอ ? ดังนี้แล้ว นั่นแหละจึงจะ เป็นปัญหาที่ควรแก่ความเป็นปัญหา

คำาเฉลยที่ควรเฉลยในปัญหาข้อนั้นย่อมมีว่า‘วิญญาณาหาร ย่อมมีเพื่อความ เกิดขึ้น แห่งภพใหม่ต่อไป

เมื่อภูตะ (ความเป็นภพ) นั้น มีอยู่ สฬายตนะ ย่อมมี เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ (การสัมผัส) ดังนี้”

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! ก็ใครเล่า ย่อมสัมผัส พระเจ้าข้า?

นั่นเป็นปัญหาที่ไม่ควรจะเป็นปัญหาเลย เราย่อม ไม่กล่าวว่า บุคคล ย่อมสัมผัส ดังนี้ ถ้าเราได้กล่าวว่า บุคคล ย่อมสัมผัส ดังนี้นั่นแหละจึงจะเป็นปัญหาในข้อนี้ ที่ควรถามขึ้นว่า ก็ใครเล่า ย่อมสัมผัส พระเจ้าข้า ? ดังนี้

ก็เรามิได้กล่าวอย่างนั้น ถ้าผู้ใดจะพึงถามเรา ผู้มิได้กล่าวอย่างนั้น เช่นนี้ว่า “ผัสสะมี เพราะมีอะไรเป็น ปัจจัย พระเจ้าข้า ?” ดังนี้แล้ว นั่นแหละจึงจะเป็น ปัญหา ที่ควรแก่ ความเป็นปัญหา. คำเฉลยที่ควรเฉลยในปัญหาข้อนั้น ย่อมมีว่า “เพราะมีสฬายตนะ เป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา (ความรู้สึกต่อ อารมณ์)” ดังนี้. (จากนั้นได้มีการทูลถาม และพระผู้มีพระภาค ทรงตรัสตอบ ไปทีละอาการของ ปฏิจจสมุปบาทไปจนถึง เพราะมีเวทนา เป็นปัจจัย จึงมีตัณหา และพระองค์ได้ตรัส ต่อไปอีกว่า )

เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน (ความยึดมั่น)” ดังนี้

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! ก็ใครเล่า ย่อมยึดมั่น พระเจ้าข้า?”

นั่นเป็นปัญหาที่ไม่ควรจะเป็นปัญหาเลย เราย่อม ไม่กล่าวว่า “บุคคลย่อมยึดมั่น” ดังนี้ถ้าเราได้กล่าวว่า “บุคคลย่อมยึดมั่น” ดังนี้นั่นแหละจึงจะเป็นปัญหาในข้อนี้ ที่ควรถามขึ้นว่า “ก็ใครเล่า ย่อมยึดมั่น พระเจ้าข้า ?” ดังนี้

ก็เรามิได้กล่าวอย่างนั้น, ถ้าผู้ใดจะพึงถามเราผู้มิได้กล่าวอย่างนั้น เช่นนี้ว่า “เพราะมีอะไรเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน พระเจ้าข้า ?” ดังนี้แล้ว นั่นแหละจึงจะเป็น ปัญหา ที่ควรแก่ความเป็นปัญหา

คำาเฉลยที่ควรเฉลยในปัญหาข้อนั้น ย่อมมีว่า“เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมี อุปาทาน เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ ” เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการ อย่างนี้

ผัคคุนะ ! เพราะความจางคลายดับไปโดย ไม่เหลือแห่งผัสสายตนะทั้ง ๖ นั้น นั่นเทียว จึงมีความดับแห่ง ผัสสะ เพราะมีความดับแห่งผัสสะ จึงมีความดับแห่ง เวทนา เพราะมีความดับแห่งเวทนา จึงมีความดับแห่ง ตัณหา เพราะมีความดับ แห่งตัณหา จึงมีความดับแห่ง อุปาทาน เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับ แห่งภพ เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ เพราะมีความดับแห่งชาติ นั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขะโทมนัสอุปายาส ทั้งหลาย จึงดับสิ้น ความดับ ลงแห่ง กองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้ ดังนี้แล

๔๒)

เหตุเกิดของภพ

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! พระผู้มีพระภาคเจ้ากล่าวอยู่ว่า ภพ ภพ ดังนี้. ภพ ย่อมมีได้ด้วยเหตุเพียงเท่าไรเล่า พระเจ้าข้า!

อานนท์ ! ถ้ากรรม มีกามธาตุเป็นวิบาก จักไม่ได้มีแล้วไซร้ กามภพ จะพึง ปรากฏได้แลหรือ ?

“หามิได้ พระเจ้าข้า !”


อานนท์ ! ด้วยเหตุนี้แหละ กรรมจึงเป็น เนื้อนา วิญญาณเป็นเมล็ดพืช ตัณหาเป็นยาง (สำรับ หล่อเลี้ยงเชื้องอก) ของพืช. วิญญาณของสัตว์ ทั้งหลายมี อวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูกพัน ตั้งอยู่แล้ว ด้วยธาตุชั้นทราม (กามธาตุ) การบังเกิดขึ้นในภพใหม่ ต่อไป ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้

อานนท์ ! ถ้ากรรม มีรูปธาตุเป็นวิบาก จักไม่ได้มีแล้วไซร้, รูปภพ จะพึง ปรากฏได้แลหรือ ?

“หามิได้ พระเจ้าข้า !”

อานนท์ ! ด้วยเหตุนี้แหละ กรรมจึงเป็น เนื้อนา, วิญญาณเป็นเมล็ดพืช, ตัณหาเป็นยางของพืช วิญญาณของสัตว์ทั้งหลาย มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูกพัน ตั้งอยู่แล้วด้วยธาตุชั้นกลาง (รูปธาตุ) การบังเกิดขึ้นในภพใหม่ต่อไป ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้.

อานนท์ ! ถ้ากรรม มีอรูปธาตุเป็นวิบาก จักไม่ได้มีแล้วไซร้ อรูปภพ จะพึงปรากฏได้แลหรือ ?

“หามิได้ พระเจ้าข้า !”


อานนท์ ! ด้วยเหตุนี้แหละ กรรมจึงเป็น เนื้อนา วิญญาณเป็นเมล็ดพืช ตัณหาเป็นยางของพืช. วิญญาณของสัตว์ทั้งหลาย มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูกพัน ตั้งอยู่แล้วด้วยธาตุชั้นประณีต (อรูปธาตุ) การบังเกิดขึ้นในภพใหม่ต่อไป ย่อมมีได้ด้วย อากรอย่างนี้

อานนท์ ! ภพ ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้แล

๔๓)

เครื่องนำไปสู่ภพ

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! พระองค์ตรัสอยู่ว่า ‘เครื่องนำไป สู่ภพ เครื่องนำไปสู่ภพ’ ดังนี้ ก็เครื่องนำไปสู่ภพ เป็นอย่างไร พระเจ้าข้า ! และความดับไม่เหลือของ เครื่องนำไปสู่ภพนั้น เป็นอย่างไรเล่า พระเจ้าข้า !”


ราธะ ! ฉันทะ (ความพอใจ) ก็ดี ราคะ (ความ กำหนัด) ก็ดี นันทิ (ความเพลิน) ก็ดี ตัณหา (ความทะยานอยาก) ก็ดี อุปายะ (กิเลสเป็นเหตุเข้าไปสู่ภพ) และ อุปทาน (ความถือมั่นด้วยอำานาจกิเลส) อันเป็นเครื่องตั้งทับ เครื่องเข้าไป อาศัย และเครื่องนอนเนื่องแห่งจิตก็ดี ใดๆ ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขารทั้งหลาย และ ในวิญญาณ

กิเลสเหล่นี้า นี่เราเรียกว่า เครื่องนำไปสู่ภพ ความดับไม่เหลือของเครื่อง นำไปสู่ภพ มีได้เพราะความดับไม่เหลือของกิเลส มีฉันทะ ราคะ เป็นต้น เหล่านั้นเอง

๔๔)

ปฏิจจสมุปบาท ในฐานะเป็นกฎสูงสุดของธรรมชาติ

ภิกษุทั้งหลาย ! เราจักแสดงซึ่งปฏิจจสมุปบาท (คือ ธรรมอันเป็นธรรมชาติ อาศัยกันแล้วเกิดขึ้น) แก่พวกเธอ ทั้งหลาย. พวกเธอทั้งหลาย จงฟังซึ่ง ปฏิจจสมุปบาทนั้น จงทำาในใจให้สำเร็จประโยชน์ เราจักกล่าวบัดนี้ ...

ภิกษุทั้งหลาย ! ก็ปฏิจจสมุปบาท เป็นอย่างไรเล่า ?

(๑) ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะย่อมมี. ภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้ง หลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม จะไม่บังเกิดขึ้น ก็ตามธรรมธาตุนั้น ย่อมตั้งอยู่แล้วนั่นเทียว คือ ความตั้งอยู่แห่ง ธรรมดา (ธัมมัฏฐิตตา) คือ ความเป็นกฎตายตัวแห่ง ธรรมด(ธัมมนิยามตา) คือ ความที่เมื่อมีสิ่งนี้สิ่งนี้เป็น ปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น (อิทัปปัจจยตา)

ตถาคต ย่อมรู้พร้อมเฉพาะ ย่อมถึงพร้อมเฉพาะ ซึ่งธรรมธาตุนั้น ครั้นรู้พร้อม เฉพาะแล้ว ถึงพร้อมเฉพาะแล้ว ย่อมบอก ย่อมแสดง ย่อมบัญญัติ ย่อมตั้งขึ้นไว้ ย่อมเปิดเผย ย่อมจำาแนกแจกแจง ย่อมทำให้เป็นเหมือนการหงายของที่คว่ำ และได้กล่าวแล้วในบัดนี้ว่า “

ภิกษุทั้งหลาย ! ท่านทั้งหลาย จงมดู เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะย่อมมี” ดังนี้. ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุดังนี้แลธรรมธาตุใด ในกรณีนั้น อันเป็น ตถตา คือ ความเป็นอย่างนั้น เป็น อวิตถตา คือ ความไม่ผิดไปจากความ เป็นอย่างนั้นเป็น อนัญญถตาคือ ความไม่เป็นไปโดยประการอื่น เป็น อิทัปปัจจยตา คือ ความที่เมื่อมีสิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น

ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมนี้เรเารียกว่าปฏิจจสมุปบาท (คือธรรมอันเป็น ธรรมชาติ อาศัยกันแล้วเกิดขึ้น)

(๒) ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติ ย่อมมี. ...ฯลฯ…(1)
…………………..............................................................................................

(1)การละเปยยาล ...ฯลฯ... เช่นนี้ หมายความว่า ข้อความในข้อ (๒) เป็นต้นไปจนกระทั่งถึงข้อ (๑๐) นี้ ซ้ำกันโดยตลอดกับในข้อ (๑) ต่างกันแต่ เพียงปัจจยาการแต่ละปัจจยาการเท่านั้น สำหรับข้อสุดท้าย คือข้อ (๑๑) จะ พิมพ์ไว้เต็มเหมือนข้อ (๑) อีกครั้งหนึ่ง. ……………..............................................................................................

(๓) ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพย่อมมี. ...ฯลฯ…
(๔) ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทาน ย่อมมี. ...ฯลฯ…
(๕) ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาย่อมมี. ...ฯลฯ...
(๖) ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาย่อมมี. ...ฯลฯ…
(๗) ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะย่อมมี. ...ฯลฯ…
(๘) ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะย่อมมี. ...ฯลฯ…
(๙) ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปย่อมมี. ...ฯลฯ...
(๑๐) ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณย่อมมี. ...ฯลฯ…
(๑๑) ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารทั้งหลายย่อมมี.

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม จะไม่บังเกิดขึ้นก็ตาม ธรรมธาตุนั้น ย่อมตั้งอยู่แล้วนั่นเทียว คือความตั้งอยู่แห่ง ธรรมดา คือความเป็นกฎตายตัวแห่งธรรมดา คือ ความที่เมื่อสิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น.

ตถาคตย่อมรู้พร้อมเฉพาะ ย่อมถึงพร้อมเฉพาะ ซึ่งธรรมธาตุนั้น ครั้นรู้พร้อม เฉพาะแล้ว ถึงพร้อมเฉพาะแล้ว ย่อมบอก ย่อมแสดง ย่อมบัญญัติ ย่อมตั้งขึ้นไว้ ย่อมเปิดเผย ย่อมจำแนกแจกแจง ย่อมทำให้เป็นเหมือนการหงายของ ที่คว่ำและ ได้กล่าวแล้วในบัดนี้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย! ท่านทั้งหลาย จงดู เพราะอวิชชาเป็น ปัจจัย สังขารทั้งหลายย่อมมี” ดังนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุดังนี้แล ธรรมธาตุใด ในกรณีนั้น อันเป็น ตถตา คือความเป็นอย่างนั้น เป็น อวิตถตา คือ ความไม่ผิดไปจากความเป็นอย่างนั้น เป็น อนัญญถตา คือ ความไม่เป็นไปโดยประการอื่น เป็น อิทัปปัจจยตา คือความที่เมื่อมี สิ่งนี้ สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น

ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมนี้เราเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท.

บรรณานุกรม พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ (บาลีสยามรัฐ) พระไตรปิฎกภาษา ไทยฉบับหลวง (ไทยสยามรัฐ) หนังสือธรรมโฆษณ์ ชุดจากพระโอษฐ์

(ผลงานแปลพุทธวจน โดยท่านพุทธทาสภิกขุในนามกองตำราคณะธรรมทาน)

จบ