เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
  
หนังสือพุทธวจนออนไลน์   ดูหนังสือทั้งหมด
90 90 90 90 90
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์  
   
ค้นหาคำที่ต้องการ       

  กรรม พุทธวจน   ดาวน์โหลดหนังสือ(ไฟล์ PDF)
  
ที่มา : http://watnapp.com/book 03 of 4  
   กรรม พุทธวจน  
       
    ผลของกรรม แบ่งโดยระยะเวลาการให้ผล (ต่อ)    
    ๒๖. เหตุที่ทำให้มนุษย์เกิดมาแตกต่างกัน    
    ๒๗. บุรพกรรมของการได้ลักษณะ “มหาบุรุษ”    
    ๒๘. ทำไมคนที่ทำบาปกรรมอย่างเดียวกัน แต่รับวิบากกรรมต่างกัน    
    ๒๙. อานิสงส์ของการรักษาศีล    
    ๓๐. สุคติของผู้มีศีล    
    ๓๑. วิบากของผู้ทุศีล    
    ๓๒. ทุคติของผู้ทุศีล  
    ๓๓. ทำชั่วได้ชั่ว    
    ๓๔. บุคคล ๔ จำพวก    
       
 
 





ผลของกรรม แบ่งโดยระยะเวลาการให้ผล (ต่อ)
๒๖)

เหตุที่ทำให้มนุษย์เกิดมาแตกต่างกัน

สุภมาณพ โตเทยยบุตร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค ดังนี้ว่า

“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ !


อะไรหนอแล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้พวกมนุษย์ที่เกิดเป็นมนุษย์อยู่ ปรากฏความเลว และความประณีต คือ มนุษย์ทั้งหลายย่อมปรากฏมีอายุสั้น มีอายุยืน มีโรคมาก มีโรคน้อย มีผิวพรรณทราม มีผิวพรรณงาม มีศักดาน้อย มีศักดามาก มีโภคะน้อย มีโภคะมาก เกิดในสกุลต่ำ เกิดในสกุลสูง ไร้ปัญญา มีปัญญา.

ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ! อะไรหนอแล เป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้พวกมนุษย์ ที่เกิดเป็น มนุษย์อยู่ ปรากฏ ความเลว และ ความประณีต”

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

มาณพ ! สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็น เผ่าพันธุ์มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย กรรมย่อมจำแนกสัตว์ ให้เลวและประณีต ได้

ข้าพระองค์ย่อมไม่ทราบเนื้อความโดยพิสดารของอุเทศ ที่พระโคดมผู้เจริญตรัส โดยย่อ มิได้จำแนกเนื้อความโดยพิสดารนี้ได้ขอพระโคดมผู้เจริญ ! ได้โปรดแสดง ธรรมแก่ข้าพระองค์โดย ประการที่ข้าพระองค์จะพึงทราบ เนื้อความ แห่งอุเทศนี้ โดยพิสดาร ด้วยเถิด”

มาณพ ! ถ้าอย่างนั้น ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจะกล่าวต่อไป

สุภมาณพ โตเทยยบุตร ทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า

“ชอบแล้ว พระเจ้าข้า !”


พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า มาณพ ! บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม เป็นผู้มักทำชีวิตสัตว์ ให้ตกล่วง เป็นคน เหี้ยมโหด มีมือเปื้อนเลือด หมกมุ่นในการประหัตประหาร ไม่เอ็นดูในเหล่าสัตว์มีชีวิต เขาตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึง อบาย ทุคติวินิบาต นรก ถ้ามาเป็นมนุษย์เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคน มีอายุสั้น.

มาณพ ! ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความมีอายุสั้น นี้คือ เป็นผู้มักทำชีวิตสัตว์ให้ ตกล่วง เป็นคนเหี้ยมโหด มีมือเปื้อนเลือด หมกมุ่นในการประหัตประหาร ไม่เอ็นดู ในเหล่าสัตว์มีชีวิต

มาณพ ! บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม ละปาณาติบาตแล้ว เป็นผู้เว้นขาดจาก ปาณาติบาต วางอาชญา วางศัสตราได้ มีความละอาย ถึง ความเอ็นดู อนุเคราะห์ด้วยความเกื้อกูลในสรรพสัตว์และ ภูตอยู่  เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อมสมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึง สุคติโลกสวรรค์ ถ้ามาเป็นมนุษย์เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีอายุยืน

มาณพ ! ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความมีอายุยืนนี้คือ ละปาณาติบาตแล้ว เป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต วางอาชญาวางศัสตราได้ มีความละอาย ถึงความเอ็นดู อนุเคราะห์ด้วยความเกื้อกูลในสรรพสัตว์และภูตอยู่.

มาณพ ! บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม เป็นผู้มีปกติ เบียดเบียน สัตว์ด้วยฝ่ามือ หรือก้อนดิน หรือท่อนไม้ หรือศัสตรา เขาตายไป จะเข้าถึง อบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทาน ไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ถ้ามาเป็นมนุษย์เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีโรคมาก

มาณพ ! ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความมีโรคมากนี้คือ เป็นผู้มีปกติ เบียดเบียน สัตว์ ด้วยฝ่ามือ หรือก้อนดิน หรือท่อนไม้ หรือศัสตรา

มาณพ ! บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรี ก็ตาม บุรุษก็ตาม เป็นผู้มีปกติ ไม่เบียด เบียนสัตว์ด้วยฝ่ามือ หรือก้อนดิน หรือท่อนไม้ หรือศัสตรา เขาตายไป จะเข้าถึง สุคติโลกสวรรค์ เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้ อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ถ้ามาเป็นมนุษย์เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็น คนมีโรคน้อย

มาณพ ! ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความมีโรคน้อยนี้คือ เป็นผู้มีปกติ ไม่เบียดเบียน สัตว์ด้วยฝ่ามือ หรือ ก้อนดิน หรือท่อนไม้ หรือศัสตรา

มาณพ ! บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม เป็นคนมักโกรธ มากด้วยความ แค้นเคือง ถูกเขาว่าเล็กน้อยก็ขัดใจ โกรธเคือง พยาบาท มาดร้าย ทำาความโกรธ ความร้าย และความขึ้งเคียดให้ปรากฏ เขาตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อมสมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ถ้ามาเป็น มนุษย์เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีผิวพรรณทราม

มาณพ ! ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความมีผิวพรรณ ทรามนี้ คือ เป็นคนมักโกรธ มากด้วยความแค้นเคือง ถูกเขาว่าเล็กน้อยก็ขัดใจ โกรธเคือง พยาบาท มาดร้าย ทำความโกรธ ความร้าย และความขึ้งเคียดให้ปรากฏ

มาณพ ! บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม เป็นคนไม่มักโกรธ ไม่มากด้วยความ แค้นเคือง ถูกเขาว่ามากก็ไม่ขัดใจ ไม่โกรธเคือง ไม่พยาบาท ไม่มาดร้าย ไม่ทำความโกรธ ความร้าย และความขึ้งเคียดให้ปรากฏ เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนน่าเลื่อมใส

มาณพ ! ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความเป็น ผู้น่าเลื่อมใสนี้ คือ เป็นคนไม่ มักโกรธ ไม่มากด้วย ความแค้นเคือง ถูกเขาว่ามากก็ไม่ขัดใจ ไม่โกรธเคือง ไม่พยาบาท ไม่มาดร้าย ไม่ทำความโกรธ ความร้าย ความขึ้งเคียดให้ปรากฏ

มาณพ ! บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม มีใจริษยา ย่อมริษยา มุ่งร้าย ผูกใจอิจฉา ในลาภสักการะ ความเคารพ ความนับถือ การไหว้และ การบูชาของคนอื่น เขาตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติวินิบาต นรก เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไปไม่เข้าถึง อบาย ทุคติ วินิบาต นรก ถ้ามาเป็น มนุษย์เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลังจะเป็นคน มีศักดาน้อย

มาณพ ! ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความมีศักดา น้อยนี้คือ มีใจริษยา ย่อมริษยา มุ่งร้าย ผูกใจอิจฉา ในลาภสักการะ ความเคารพ ความนับถือ การไหว้ และ การบูชาของคนอื่น

มาณพ ! บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม เป็นผู้มีใจไม่ริษยา ย่อมไม่ริษยา ไม่มุ่งร้าย ไม่ผูกใจอิจฉาในลาภสักการะ ความเคารพ ความนับถือ การไหว้ และการบูชาของคนอื่น เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ เพราะกรรม นั้น อันเขาให้ พรั่งพร้อม สมาทาน ไว้อย่างนี้ หากตายไปไม่เข้าถึง สุคติ โลกสวรรค์ ถ้ามาเป็น มนุษย์เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคน มีศักดามาก

มาณพ ! ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความมีศักดา มากนี้คือ มีใจไม่ริษยา ย่อมไม่ ริษยา ไม่มุ่งร้าย ไม่ผูกใจอิจฉาในลาภสักการะ ความเคารพ ความนับถือ การไหว้ และการบูชาของคนอื่น

มาณพ ! บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม ย่อมไม่เป็นผู้ให้ ข้าว น้ำ เครื่องนุ่งห่ม ยานพาหนะ ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่ และประทีปโคมไฟแก่สมณะหรือพราหมณ์ เขาตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะกรรมนั้น อันเขา ให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไปไม่เข้าถึง อบาย ทุคติ วินิบาต นรก ถ้ามาเป็นมนุษย์เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลังจะเป็นคน มีโภคะน้อย

มาณพ ! ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความมีโภคะ น้อยนี้ คือ ไม่ให้ข้าว น้ำ เครื่อง นุ่งห่ม ยานพาหนะ ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่ และ ประทีป โคมไฟแก่สมณะ หรือพราหมณ์

มาณพ ! บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรี ก็ตาม บุรุษก็ตาม ย่อมเป็นผู้ให้ข้าว น้ำ เครื่องนุ่งห่ม ยานพาหนะ ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่ และ ประทีป โคมไฟแก่สมณะ หรือพราหมณ์ เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึง สุคติโลกสวรรค์ ถ้ามา เป็นมนุษย์เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคน มีโภคะมาก

มาณพ ! ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความมีโภคะ มากนี้ คือ ให้ข้าว น้ำ เครื่องนุ่งห่ม ยานพาหนะ ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่ และประทีปโคมไฟ แก่สมณะหรือพราหมณ์

มาณพ ! บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรี ก็ตาม บุรุษก็ตาม เป็นคนกระด้าง เย่อหยิ่ง ย่อมไม่กราบไหว้คนที่ควรกราบไหว้ ไม่ลุกรับคนที่ควรลุกรับ ไม่ให้ อาสนะ แก่คนที่ สมควรแก่อาสนะ ไม่ให้ทางแก่คนที่สมควรแก่ทาง ไม่สักการะ คนที่ควรสักการะ ไม่เคารพคนที่ควรเคารพ ไม่นับถือคนที่ควรนับถือ ไม่บูชา คนที่ควรบูชา เขาตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะกรรมนั้น อันเขา ให้พรั่งพร้อม สมาทาน ไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึง อบาย ทุคติ วินิบาต นรก ถ้ามาเป็นมนุษย์เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคน เกิดในสกุลต่ำ

มาณพ ! ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความเกิด ในสกุลต่ำนี้คือ เป็นคนกระด้าง เย่อหยิ่ง ย่อมไม่กราบไหว้คนที่ควรกราบไหว้ไม่ลุกรับคนที่ควรลุกรับ ไม่ให้ อาสนะ แก่คนที่สมควรแก่อาสนะ ไม่ให้ทางแก่คนที่สมควรแก่ทาง ไม่สักการะ คนที่ควรสักการะ ไม่เคารพคนที่ควรเคารพ ไม่นับถือคนที่ควร นับถือ ไม่บูชา คนที่ควรบูชา

มาณพ ! บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรี ก็ตาม บุรุษก็ตาม เป็นคนไม่กระด้าง ไม่เย่อหยิ่ง ย่อม กราบไหว้คนที่ควรกราบไหว้ ลุกรับคนที่ควรลุกรับ ให้อาสนะ แก่คน ที่สมควรแก่อาสนะ ให้ทางแก่คนที่สมควร แก่ทาง สักการะคนที่ควร สักการะ เคารพ คนที่ควรเคารพ นับถือคนที่ควรนับถือ บูชาคนที่ควรบูชา เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ เพราะกรรมนั้น อันเขาให้ พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ถ้ามาเกิดเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคน เกิดในสกุลสูง

มาณพ ! ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความเกิด ในสกุลสูงนี้ คือ เป็นคนไม่กระด้าง ไม่เย่อหยิ่ง ย่อม กราบไหว้คนที่ควรกราบไหว้ลุกรับคนที่ควรลุกรับ ให้อาสนะ แก่คนที่สมควรแก่อาสนะ ให้ทางแก่คนที่สมควรแก่ทาง สักการะคนที่ควร สักการะ เคารพคนที่ควรเคารพ นับถือ คนที่ควรนับถือ บูชาคนที่ควรบูชา

มาณพ ! บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม ย่อมไม่เป็นผู้ เข้าไปหา สมณะหรือ พราหมณ์แล้วสอบถามว่า อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล อะไรมีโทษ อะไรไม่มีโทษ อะไรควรเสพ อะไรไม่ควรเสพ อะไรเมื่อทำ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่ เกื้อกูล เพื่อความทุกข์ สิ้นกาลนาน หรือว่าอะไร เมื่อทำาย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ เกื้อกูล เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน เขาตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติวินิบาต นรก ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคน มีปัญญาทราม

มาณพ ! ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความมีปัญญาทรามนี้ คือ ไม่เป็นผู้เข้าไปหา สมณะ หรือพราหมณ์แล้ว สอบถามว่าอะไร เป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล อะไร มีโทษ อะไรไม่มีโทษ อะไรควรเสพ อะไรไม่ควรเสพ อะไรเมื่อทำ ย่อมเป็นไป เพื่อความไม่เกื้อกูล เพื่อความทุกข์สิ้นกาลนาน หรือว่ า อะไรเมื่อทำย่อมเป็น ไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน

มาณพ ! บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรี ก็ตาม บุรุษก็ตาม ย่อมเป็นผู้ เข้าไปหา สมณะ หรือพราหมณ์แล้วสอบถามว่า อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล อะไรมีโทษ อะไรไม่มีโทษ อะไรควรเสพ อะไรไม่ควรเสพ อะไรเมื่อทำ ย่อม เป็นไป เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน หรือว่า อะไรเมื่อทำาย่อมเป็นไปเพื่อ ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข สิ้นกาลนาน เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะ กรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ถ้ามาเป็นมนุษย์เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคน มีปัญญามาก

มาณพ ! ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความมีปัญญามากนี้ คือ เป็นผู้เข้าไปหา สมณะ หรือพราหมณ์แล้ว สอบถามว่า อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล อะไรมีโทษ อะไรไม่มีโทษ อะไรควรเสพ อะไรไม่ควรเสพ อะไรเมื่อทำ ย่อมเป็นไปเพื่อ ความไม่เกื้อกูล เพื่อความทุกข์สิ้นกาลนาน หรือว่า อะไรเมื่อทำาย่อมเป็นไป เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน

มาณพ ! ด้วยประการฉะนี้แล

ปฏิปทาที่เป็นไป เพื่อความมีอายุสั้น
        ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีอายุสั้น
ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความมีอายุยืน
        ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีอายุยืน
ปฏิปทาเป็นไปเพื่อความมีโรคมาก
        ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีโรคมาก
ปฏิปทาที่เป็นไป เพื่อความมีโรคน้อย
        ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีโรคน้อย
ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความมีผิวพรรณทราม
        ย่อมนำเข้าไปสู่ ความเป็นคนมี ผิวพรรณทราม
ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความเป็น ผู้น่าเลื่อมใส
        ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนน่าเลื่อมใส
ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความมีศักดาน้อย
        ย่อมนำเข้าไปสู่ความ เป็นคนมีศักดาน้อย
ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความมีศักดามาก
        ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีศักดามาก
ปฏิปทาที่เป็นไป เพื่อความมีโภคะน้อย
        ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีโภคะน้อย
ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความมีโภคะมาก
        ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีโภคะมาก
ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความเกิด ในสกุลต่ำ
        ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนเกิด ในสกุลต่ำ
ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความเกิดในสกุลสูง
        ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนเกิดในสกุลสูง
ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความ มีปัญญาทราม
        ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคน มีปัญญาทราม
ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความมีปัญญามาก
        ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคน มีปัญญามาก

มาณพ ! สัตว์ทั้งหลาย มีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็น กำเนิด มีกรรมเป็น เผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย กรรมย่อมจำแนกสัตว์ ให้เลวและประณีต

เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสแล้วอย่างนี้ สุภมาณพโตเทยยบุตรได้กราบทูล พระผู้มีพระ ภาค ดังนี้ว่า :-

แจ่มแจ้งแล้วพระเจ้าข้า ! แจ่มแจ้งแล้วพระเจ้าข้า ! พระโคดมผู้เจริญ ทรงประกาศ ธรรมโดยปริยายมิใช่น้อย เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ หรือเปิดของที่ปิดหรือบอก ทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีปในที่มืด ด้วยหวังว่าผู้มีตาดีจักเห็นรูปได้ฉะนั้น ข้าพระองค์นี้ ขอถึงพระโคดมผู้เจริญ พระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ. ขอพระโคดมผู้เจริญ ! จงทรงจำ ข้าพระองค์ว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป”.
อุปริ. ม. ๑๔/ ๓๗๖ /๕๗๙.


๒๗)

บุรพกรรมของการได้ลักษณะ “มหาบุรุษ”

ภิกษุทั้งหลาย ! พวกฤาษีภายนอกจำามนต์ มหาปุริสลักขณะได้ก็จริง แต่หารู้ไม่ว่า การที่มหาบุรุษได้ลักขณะอันนี้ๆ เพราะทำกรรมเช่นนี้ๆ

ก. ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ในชาติก่อน ในภพที่อยู่อาศัยก่อน ได้เป็นผู้บากบั่นใน กุศล ถือมั่นในกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ในการ บริจาคทาน การสมาทานศีล การรักษาอุโบสถ การปฏิบัติ มารดา บิดา การปฏิบัติสมณพราหมณ์ การอ่อนน้อมต่อ ผู้เจริญในตระกูล และในอธิกุศลธรรมอื่น

เพราะได้กระทำ ได้สร้างสม ได้พอกพูน ได้มั่วสุมกรรมนั้นๆไว้ ภายหลัง แต่การตาย เพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์

ตถาคตนั้นถือเอาในเทพเหล่าอื่นโดยฐานะ ๑๐ คือ อายุทิพย์ วรรณะทิพย์ สุขทิพย์ ยศทิพย์ อธิบดีทิพย์ รูปทิพย์ เสียงทิพย์ กลิ่นทิพย์ รสทิพย์ สัมผัสทิพย์ ครั้นจุติจากภพนั้น มาสู่ความเป็นมนุษย์อย่างนี้ จึงได้มหาปุริสลักขณะข้อนี้คือ มีฝ่าเท้าเสมอ จดลงก็เสมอยกขึ้นก็เสมอฝ่าเท้าถูกต้องพื้นพร้อมกัน.. (ลักขณะที่ ) ย่อมเป็นผู้ ไม่หวาดหวั่นต่อข้าศึกทั้งภายในและภายนอก คือราคะ โทสะ โมหะ ก็ตาม สมณะพราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ก็ตาม ในโลก ที่เป็นศัตรู

ข. ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ ในชาติก่อน ...(1) ได้เป็นผู้นำสุขมา ให้แก่มหาชนเป็นผู้บรรเทาภัยคือความสะดุ้งหวาดเสียว จัดการคุ้มครองรักษา โดยธรรม ได้ถวายทานมีเครื่องบริวาร. เพราะได้กระทำ... กรรมนั้นๆไว้ ... ครั้นมาสู่ ความเป็นมนุษย์อย่างนี้ จึงได้ มหาปุริสลักขณะข้อนี้คือภายใต้ฝ่าเท้า มีจักรทั้งหลาย เกิดขึ้น มีซี่ตั้งพัน พร้อมด้วยกงและดุม บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง มีระยะอันจัดไว้ ด้วยดี .... (ลักขณะที่ ๒) ย่อมเป็นผู้มี บริวารมาก ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา เทวดา มนุษย์ อสูร นาค คนธรรพ์ ย่อมเป็นบริวารของตถาคต
………………………………………………………………………………………………………
(1) ที่ละไว้ด้วยจุด ... ดังนี้ ทุกแห่งหมายความว่า คำที่ละไว้นั้นซ้ำกั เหมือนในข้อ (ก) ข้างบน. เติมเอาเองก็ได้ แม้ไม่ติก็ได้ควาเท่ากัน
………………………………………………………………………………………………………
ค. ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ ในชาติก่อน ... ได้เป็นผู้เว้นจาก ปาณาติบาต วางแล้วซึ่ง ศัสตรา และอาชญา มีความละอาย เอ็นดู กรุณาเกื้อกูลแก่ สัตว์มีชีวิตทั้งปวง.  เพราะ ... กรรมนั้นๆ ครั้นมาสู่ความ เป็นมนุษย์อย่างนี้ จึงได้มหา ปุริสลักขณะทั้ง ๓ ข้อนี้ คือ มีส้นยาว มีข้อนิ้วยาว มีกายตรงดุจกายพรหม ...
(ลักขณะที่๓, , ๑๕) ย่อมเป็นผู้มีชนมายุยืนยาว ตลอดกาลนาน สมณะหรือาพรหมณ์ เทวดา มาร พรหม ก็ตาม หรือใครๆ ที่เป็นศัตรู ไม่สามารถปลงชีวิต ตถาคตเสียในระหว่างได้

ฆ. ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ ในชาติก่อน ได้เป็นผู้ให้ทาน ของควร เคี้ยว ควรบริโภค ควรลิ้ม ควรจิบ ควรดื่ม มีรสอันประณีต. เพราะ … กรรมนั้นๆ.. ครั้นมาสู่ความเป็นมนุษย์อย่างนี้แล้ว จึงได้ มหาปุริสลักขณะ ข้อนี้คือ มีเนื้อนูนหนา ในที่ ๗ แห่ง คือ ที่มือทั้งสอง ที่เท้าทั้งสอง ที่บ่าทั้งสอง และที่คอ… (ลักขณะ ที่ ๑๖) ย่อมได้ของควรเคี้ยว ควรบริโภค ควรลิ้ม ควรจิบ ควรดื่ม อันมีรส ประณีต

ง. ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ ในชาติก่อน ... ได้สงเคราะห์ผู้อื่น ด้วย สังคหวัตถุทั้งสี่ คือ การให้สิ่งของ วาจาที่ไพเราะ การประพฤติประโยชน์ ผู้อื่น และ ความมีตนเสมอกัน. เพราะ ... กรรม นั้นๆ ...ครั้นมา สู่ความเป็นมนุษย์ อย่างนี้แล้ว จึงได้มหาปุริสลักขณะ ๒ ข้อนี้คือ มีมือและเท้าอ่อนนุ่ม มีลายฝ่ามือ ฝ่าเท้าดุจ ตาข่าย .... (ลักขณะที่ , ) ย่อมเป็นผู้สงเคราะห์บริษัท คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา เทวดา มนุษย์ อสูร นาค คนธรรพ์ ย่อม ได้รับความสงเคราะห์จากตถาคต

จ. ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ ในชาติก่อน ... ได้เป็นผู้กล่าว วาจา ประกอบด้วยอรรถ ด้วยธรรม แนะนำชนเป็นอันมาก เป็นผู้นำประโยชน์สุข มาให้แก่ ชนทั้งหลาย ตนเองก็เป็นผู้บูชาธรรม. เพราะ ... กรรมนั้นๆ ... ครั้นมาสู่ ความเป็น มนุษย์อย่างนี้ จึงได้ มหาปุริสลักขณะ ๒ ข้อนี้ คือ มีข้อเท้าอยู่สูง มีปลายขนช้อนขึ้น ... (ลักขณะที่ , ๑๔) ย่อมเป็นผู้เลิศประเสริฐเยี่ยม สูงกว่าสัตว์ทั้งหลาย

ฉ. ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ ในชาติก่อน ... ได้เป็นผู้บอก ศิลปะ วิทยา ข้อประพฤติ และ ลัทธิกรรม ด้วยความเคารพ ด้วยหวังว่าสัตว์ เหล่านั้นพึงรู้ ได้รวดเร็ว พึงปฏิบัติได้รวดเร็ว ไม่พึงเศร้าหมองสิ้นกาล นาน. เพราะ .. กรรมนั้นๆ ... ครั้นมาสู่ความเป็นมนุษย์ อย่างนี้ จึงได้มหาปุริสลักขณะ ข้อนี้คือ มีแข้งดังแข้งเนื้อ … (ลักขณะ ที่ ) ย่อมได้ วัตถุอันควรแก่ สมณะ เป็นองค์ แห่งสมณะ เป็นเครื่องอุปโภคแก่สมณะโดยเร็ว

ช. ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ ในชาติก่อน ... ได้เป็นผู้เข้าไปหา สมณพราหมณ์แล้ว สอบถามว่า “ท่านผู้เจริญ ! อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล อะไรมีโทษ อะไรไม่มีโทษ อะไรควรเสพ อะไรไม่ควรเสพ ทำ เป็นทุกข์ ไปนาน ทำอะไรไม่มี ประโยชน์อะไรมี ประโยชนเป็นสุขไปนาน. เพราะ ... กรรมนั้นๆ ... ครั้นมาสู่ความ เป็นมนุษย์อย่างนี้ จึงได้มหาปุริสลักขณะข้อนี้คือมีผิว ละเอียด อ่อน ธุลีไม่ติดอยู่ได้ ... (ลักขณะที่ ๑๒) ย่อม เป็นผู้มีปัญญาใหญ่ มีปัญญา หนาแน่น มีปัญญาเครื่อง ปลื้มใจ ปัญญาน ปัญญาแหลม ปัญญาแทง ตลอด ไม่มีสัตว์อื่นเสมอหรือยิ่งไปกว่า

ซ. ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ในชาติก่อน ...ได้เป็นผู้ไม่ มักโกรธ ไม่มากไปด้วยความ แค้น แม้ชนเป็นอันมากว่ากล่าวเอา  ก็ไม่เอาใจใส่ ไม่โกรธ ไม่พยาบาท ไม่คุมแค้น ไม่แสดงความโกรธ ความร้ายกาจ ความเสียใจ ให้ปรากฏ. ทั้งเป็นผู้ให้ทานผ้าเปลือกไม้ ผ้าด้าย ผ้าไหม ผ้าขนสัตว์ สำหรับลาด และนุ่งห่ม อันมีเนื้อละเอียดอ่อน. เพราะ ... กรรมนั้นๆ ... ครั้นมาสู่ความ เป็นมนุษย์อย่างนี้ จึงได้มหาปุริสลักขณะข้อนี้คือ มีกาย ดุจทอง มีผิวดุจทอง ... (ลักขณะที่ ๑๑) ย่อมเป็นผู้ได้ ผ้าเปลือกไม้ ผ้าด้าย ผ้าไหม ผ้าขนสัตว์ สำหรับลาดและห่ม มีเนื้อละเอียดอ่อน

ฌ. ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ ในชาติก่อน...ได้เป็นผู้สมาน ญาติมิตร สหายชาวเกลอ ผู้เหินห่างแยกกันไปนาน ได้สมานไมตรีมารดากับบุตร บุตรกับ มารดา บิดากับบุตร บุตรกับบิดา พี่น้องชายกับ พี่น้องหญิง พี่น้องหญิง กับพี่น้อง ชาย ครั้นทำความสามัคคีแล้ว พลอยชื่นชมยินดีด้วย. เพราะ ... กรรมนั้นๆ ... ครั้น มาสู่ความเป็นมนุษย์อย่างนี้ จึงได้มหาปุริสลักขณะข้อนี้คือ มีคุยหฐาน (อวัยวะที่ลับ) ซ่อนอยู่ในฝัก.... (ลักขณะที่๑๐) ย่อมเป็นผู้มีบุตร (สาวก) มาก มีบุตรกล้าหาญ มีแววแห่งคนกล้าอันเสนา แห่งบุคคลอื่น จะย่ำยีมิได้หลายพัน

ญ. ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ ในชาติก่อน ได้เป็นผู้สังเกต ชั้นเชิง ของมหาชน รู้ได้สม่ำาเสมอ รู้ได้เอง รู้จักบุรุษธรรมดาและบุรุษพิเศษ ว่าผู้นี้ ควรแก่ สิ่งนี้ๆ ได้เป็นผู้ทำประโยชน์อย่างวิเศษในชนชั้น นั้น. เพราะ ... กรรมนั้นๆ ... ครั้นมาสู่ความเป็นมนุษย์อย่างนี้ จึงได้มหาปุริสลักขณะ ๒ ข้อนี้ คือมีทรวดทรงดุจ ต้นไทร ยืนตรงไม่ย่อกาย ลูบถึงเข่าได้ด้วยมือทั้งสอง.. (ลักขณะที่ ๑๙,) ย่อมมั่งคั่งมีทรัพย์มาก มีโภคะมาก. ทรัพย์ของ ตถาคตเหล่านี้คือ ทรัพย์คือ ศรัทธา ทรัพย์คือ ศีล ทรัพย์คือหิริทรัพย์ คือโอตตัปปะ ทรัพย์คือการ ศึกษา (สุตะ) ทรัพย์คือจาคะ ทรัพย์ คือปัญญา

ฎ. ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ ในชาติก่อน ... ได้เป็นผู้ใคร่ต่อ ประโยชน์ ใคร่ต่อความ เกื้อกูล ใคร่ต่อความผาสุข ใคร่ต่อความเกษมจากโยคะ แก่ชนเป็นอันมากว่า “ไฉนชนเหล่านี้พึงเป็นผู้เจริญ ด้วยศรัทธา ด้วยศีล ด้วยการ ศึกษา ด้วยความรู้ ด้วยการ เผื่อแผ่ ด้วยธรรม ด้วยปัญญา ด้วยทรัพย์ และข้าว เปลือก ด้วยนา และสวน ด้วยสัตว์สองเท้าสี่เท้า ด้วยบุตรภรรยา ด้วยทาสกรรมกร และบุรุษ ด้วยญาติมิตรและพวกพ้อง”. เพราะ ... กรรมนั้นๆ ... ครั้นมาสู่ความเป็น มนุษย์อย่างนี้ จึงได้มหาปุริสลักขณะ ๓ ข้อนี้ คือมีกึ่งกายเบื้องหน้าดุจสีหะ มีหลังเต็ม, มีคอกลม .(ลักขณะที่ ๑๗,๑๘,๒๐) ย่อมเป็นผู้ไม่เสื่อมเป็น ธรรมดา คือไม่เสื่อมจากศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ไม่เสื่อมจากสมบัติ ทั้งปวง

ฏ. ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ ในชาติก่อน ... ได้เป็นผู้ไม่เบียดเบียน สัตว์ทั้งหลายด้วย ฝ่ามือก็ตาม ก้อนดินก็ตาม ท่อนไม้ก็ตาม ศัสตราก็ตาม. เพราะ ... กรรมนั้นๆ ... ครั้นมาสู่ความเป็นมนุษย์ อย่างนี้ จึงได้มหาปุริสลักขณะข้อนี้ คือมี ประสาทรับรสอันเลิศ มีปลายขึ้น เบื้องบน เกิดแล้วที่คอรับรสโดยสม่ำเสมอ ... (ลักขณะที่ ๒๑) ย่อมเป็นผู้มี อาพาธน้อย มีโรคน้อย มีวิบากอันสม่ำเสมอ ไม่เย็นเกิน ร้อนเกิน พอควร แก่ ความเพียร

ฐ. ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ ในชาติก่อน ... ได้เป็นผู้ไม่ถลึงตา ไม่ค้อนควัก ไม่จ้องลับหลัง เป็นผู้แช่มชื่นมองดูตรงๆ มองดูผู้อื่นด้วยสายตาอัน แสดงความรัก. เพราะ ... กรรมนั้น ๆ ... ครั้นมาสู่ความ เป็นมนุษย์อย่างนี้ จึงได้ มหาปุริสลักขณะ ๒ ข้อนี้คือ มีตาเขียวสนิท มีตาดุจตาโค ... (ลักขณะที่ ๒๙, ๓๐) ย่อมเป็นที่ต้องตาของชนหมู่มาก เป็นที่รักใคร่พอใจ ของภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา เทวดา มนุษย์ อสูร นาค คนธรรพ์

ฑ. ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ ในชาติก่อน ... ได้เป็นหัวหน้า ของชน เป็นอันมาก ใน กุศลธรรมทั้งหลาย ได้เป็นประธานของชนเป็นอันมาก ในกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ในการจำแนกทาน การสมาทานศีล การรักษา อุโบสถ การประพฤติเกื้อกูลใน มารดาบิดา สมณพราหมณ์ การนอบน้อมต่อ ผู้เจริญในตระกูล ในอธิกุศลธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง เพราะ ... กรรมนั้น ๆ ... ครั้นมาสู่ความ เป็นมนุษย์อย่างนี้จึงได้ มหาปุริสลักขณะข้อนี้คือ มีศีรษะรับกับ กรอบหน้า..(ลักขณะที่ ๓๒) ย่อมเป็นผู้ที่มหาชนประพฤติตาม คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา เทวดา มนุษย์อสูร นาค คนธรรพ์ ประพฤติตาม

ฒ. ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ ในชาติก่อน ... ได้เป็นผู้ละเว้น จาก มุสาวาท พูดคำจริง หลั่งคำสัจจ์เที่ยงแท้ซื่อตรง ไม่หลอกลวงโลก. เพราะ ... กรรมนั้น ๆ ... ครั้นมาสู่ความเป็นมนุษย์อย่างนี้แล้ว จึงได้มหาปุริสลักขณะ ๒ ข้อนี้คือ มีขนขุมละเส้น มี อุณาโลมหว่างคิ้วขาวอ่อนดุจสำาลี ... (ลักขณะที่ ๑๓, ๓๑) ย่อมเป็นผู้ที่มหาชนเป็นไปใกล้ชิด คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา เทวดา มนุษย์ อสูร นาค คนธรรพ์ ใกล้ชิด

ณ. ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ ในชาติก่อน ... ได้เป็นผู้ละเว้น วาจา ส่อเสียด (คือคำยุให้ แตกกัน) คือไม่ฟังจากข้างนี้แล้วไปบอกข้างโน้นเพื่อ ทำลาย ชนพวกนี้ ไม่ฟังจากข้างโน้นแล้วมาบอกข้างนี้ เพื่อทำลายชนพวกโน้น เป็นผู้สมาน พวกแตกกันแล้ว และส่งเสริมพวกที่พร้อมเพรียงกัน เป็นผู้ยินดี ในการ พร้อมเพรียง เพลินในการพร้อมเพรียง กล่าวแต่วาจาที่ทำให้เกิดความ พร้อมเพรียง. เพราะ ... กรรมนั้น ๆ ... ครั้นมาสู่ความเป็นมนุษย์อย่างนี้แล้ว จึงได้มหาปุริสลักขณะ ๒ อย่างนี้ คือมีฟันครบ ๔๐ ซี่ มีฟันสนิท ไม่ห่างกัน ... (ลักขณะที่ ๒๓,๒๕) ย่อมเป็นผู้มี บริษัท ไม่กระจัดกระจาย คือภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา เทวดา มนุษย์อสูร นาค คนธรรพ์เป็นบริษัท ไม่กระจัดกระจาย

ด. ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ในชาติก่อน ... ได้เป็นผู้ละเว้นการ กล่าวคำหยาบ กล่าว แต่วาจาที่ไม่มีโทษ เป็นสุขแก่หู เป็นที่ตั้งแห่งความรัก ซึมซาบถึงใจ เป็นคำพูดของชาวเมือง เป็นที่พอใจและ ชอบใจของชน เป็นอันมาก. เพราะ ... กรรมนั้นๆ ... ครั้น มาสู่ความเป็นมนุษย์อย่างนี้ ย่อมได้ มหาปุริสลักขณะ ๒ ข้อนี้ คือมีลิ้นอันเพียงพอ, มีเสียงเหมือนพรหม พูดเหมือน นกการวิก ... (ลักขณะที่ ๒๗,๒๘) ย่อมเป็นผู้มีวาจาที่ ผู้อื่นเอื้อเฟื้อเชื่อฟัง คือ ภิกษุภิกษุณีอุบาสก อุบาสิกา เทวดา มนุษย์ อสูรนาคคนธรรพ์ เอื้อเฟื้อเชื่อฟัง

ต. ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ในชาติก่อน ... ได้เป็นผู้ละเว้นการ พูดเพ้อเจ้อ เป็นผู้กล่าว ควรแก่เวลา กล่าวคำจริง กล่าวเป็นธรรม กล่าวมีอรรถ กล่าวเป็นวินัย กล่าวมีที่ตั้ง มีหลักฐาน มีที่สุด ประกอบ ด้วยประโยชน์. เพราะ ... กรรมนั้นๆ ... ครั้นมาสู่ความ เป็นมนุษย์อย่างนี้แล้ว ย่อมได้มหาปุริสลักขณะข้อนี้ คือมี คางดุจคางราชสีห์ ... (ลักขณะที่ ๒๒) ย่อมเป็นผู้ที่ศัตรู ทั้งภายในและ ภายนอกกำจัดไม่ได้ : ศัตรู คือ ราคะ โทสะ โมหะ หรือ สมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลก กำจัดไม่ได้

ถ. ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ ในชาติก่อน ... ได้เป็นผู้ละ มิจฉาชีพ มีการเลี้ยงชีพชอบ เว้นจากการฉ้อโกงด้วยตาชั่ง ด้วยของปลอม ด้วยเครื่อง ตวง เครื่องวัดจากการโกง การลวง เว้นจากการตัด การฆ่า การผูกมัด การร่วมทำร้าย การปล้น การกรรโชก เพราะกรรมนั้นๆ ครั้นมาสู่ความเป็น มนุษย์อย่างนี้ จึงได้มหาปุริ สลักขณะ ๒ ข้อนั้น คือมีฟันอันเรียบเสมอ มีเขี้ยวขาวงาม ... (ลักขณะที่๒๔,๒๖) ย่อมเป็นผู้มีบริวาร เป็นคน สะอาด คือมีภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา เทวด ามนุษย์ อสูร นาค คนธรรพ์ เป็นบริวารอันสะอาด

๒๘)

ทำไมคนที่ทำบาปกรรมอย่างเดียวกัน แต่รับวิบากกรรมต่างกัน

ภิกษุทั้งหลาย ! ใครพึงกล่าวว่า คนทำกรรม อย่างใดๆ ย่อมเสวยกรรมนั้น อย่างนั้นๆ ดังนี้ เมื่อเป็น อย่างนั้น การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ก็มีไม่ได้ช่องทาง ที่จะทำที่สุด ทุกข์ โดยชอบก็ไม่ปรากฏ ส่วนใครกล่าวว่า คนทำกรรมอันจะพึง ให้ผลอย่างใดๆ ย่อมเสวยผลของ กรรมนั้นอย่างนั้นๆ ดังนี้ เมื่อเป็นอย่างนี้ การอยู่ประพฤติ พรหมจรรย์ย่อมมีได้ ช่องทางที่จะทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบ ก็ย่อมปรากฏ.

ภิกษุทั้งหลาย ! บาปกรรมแม้ประมาณน้อย ที่ บุคคลบางคนทำแล้ว บาปกรรมนั้น ย่อมนำเขาไปนรกได้ บาปกรรมประมาณน้อย อย่างเดียวกันนั้น บางคนทำแล้ว กรรมนั้นเป็นทิฏฐธรรมเวทนียกรรม (ให้ผลในภพปัจจุบัน) ไม่ปรากฏผลมากต่อไป เลย. บาปกรรมแม้ประมาณน้อย บุคคลชนิดไร ทำแล้ว บาปกรรมนั้น จึงนำเขาไปนรก ได้ ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีกายมิได้อบรม มีศีลมิได้อบรม มีจิตมิได้อบรม มีปัญญามิได้อบรม มีคุณความดีน้อย เป็นอัปปาตุมะ (ผู้มีใจคับแคบ ใจหยาบ ใจต่ำทราม) เป็นอัปปทุกขวิหารี (มีปกติอยู่เป็นทุกข์ด้วยเหตุ เล็กน้อย คือเป็นคน เจ้าทุกข์) บาปกรรมแม้ประมาณน้อย บุคคลชนิดนี้ทำแล้ว บาปกรรม นั้น ย่อมนำเขาไปนรกได้

บาปกรรมประมาณน้อยอย่างเดียวกัน บุคคลชนิดไร ทำาแล้ว กรรมนั้นจึงเป็น ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม ไม่ปรากฏ ผลมากต่อไปเลย ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีกายได้อบรมแล้ว มีศีลได้อบรมแล้ว มีจิตได้อบรม แล้ว มีปัญญาได้อบรม แล้ว มีคุณความดีมาก เป็นมหาตมะ (ผู้มีใจกว้างขวาง ใจบุญ ใจสูง) เป็นอัปปมาณวิหารี (มีปกติอยู่ด้วยธรรม อันหา ประมาณมิได้ คือเป็นคนไม่มี หรือไม่แสดงกิเลส ซึ่งจะเป็นเหตุให้เขาประมาณได้ว่าเป็นคนดี แค่ไหน) บาปกรรม ประมาณน้อย อย่างเดียวกันนั้น บุคคลชนิดนี้ทำาแล้ว กรรมนั้นเป็น ทิฏฐธรรม เวทนียกรรม ไม่ปรากฏผลมาก ต่อไปเลย

ภิกษุทั้งหลาย ! ต่างว่าคนใส่เกลือลงไปในถ้วยน้ำ เล็กๆ หนึ่งก้อน ท่านทั้งหลาย จะสำคัญว่ากระไร น้ำอันน้อย ในถ้วยน้ำนั้น จะกลายเป็นน้ำเค็ม ไม่น่าดื่มไป เพราะ เกลือ ก้อนนั้นใช่ไหม ?

เป็นเช่นนั้น พระพุทธเจ้าข้า ! ”. เพราะเหตุไร ? เพราะเหตุว่า น้ำในถ้วยน้ำนั้น มีน้อย มันจึงเค็มได้... เพราะเกลือก้อนนั้น.

ต่างว่า คนใส่เกลือก้อนขนาดเดียวกันนั้น ลงไปใน แม่น้ำคงคา ท่านทั้งหลาย จะสำคัญว่ากระไร น้ำในแม่น้ำ คงคานั้นจะกลายเป็นน้ำเค็ม ดื่มไม่ได้เพราะเกลือ ก้อนนั้น หรือ ?

หามิได้ พระพุทธเจ้าข้า !”. เพราะเหตุไร ? เพราะเหตุว่า น้ำในแม่น้ำาคงคา มีมาก น้ำนั้นจึง ไม่เค็ม...เพราะเกลือก้อนนั้น. ฉันนั้นนั่นแหละ.

ภิกษุทั้งหลาย ! บาปกรรมแม้ประมาณน้อย บุคคลบางคนทำแล้ว บาปกรรมนั้น ย่อม นำไปนรกได้ ส่วนบาปกรรมประมาณน้อยอย่างเดียวกันนั้น บางคน ทำแล้ว กรรมนั้น เป็นทิฏฐธรรมเวทนียกรรม ไม่ปรากฏ ผลมากต่อไปเลย...

ภิกษุทั้งหลาย ! คนบางคนย่อมผูกพันเพราะ ทรัพย์ แม้กึ่งกหาปณะ... แม้ ๑ กหาปณะ... แม้ ๑๐๐ กหาปณะ ส่วนบางคนไม่ผูกพันเพราะทรัพย์เพียงเท่านั้น คนอย่างไร จึงผูกพันเพราะทรัพย์แม้กึ่งกหาปณะ ฯลฯ คนบางคนในโลกนี้ เป็นคนจน มีสมบัติน้อย มีโภคะน้อย คนอย่างนี้ย่อมผูกพันเพราะทรัพย์ แม้กึ่ง กหาปณะ ฯลฯ

คนอย่างไรไม่ผูกพันเพราะทรัพย์เพียงเท่านั้น ? คนบางคนในโลกนี้เป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก คนอย่างนี้ย่อมไม่ผูกพัน เพราะทรัพย์เพียงเท่านั้น ฉันนั้นนั่นแหละ

ภิกษุทั้งหลาย ! บาปกรรมแม้ประมาณน้อย บุคคลบางคนทำาแล้ว บาปกรรมนั้น ย่อม นำเขาไปนรกได้ ส่วนบาปกรรมประมาณน้อยอย่างเดียวกันนั้น บุคคล บางคน ทำแล้ว กรรมนั้นเป็นทิฏฐธรรมเวทนียกรรม ไม่ปรากฏผลมาก ต่อไปเลย...

ภิกษุทั้งหลาย ! พรานแกะหรือคนฆ่าแกะ บางคนอาจฆ่า มัด ย่างหรือทำาตาม ประสงค์ ซึ่งแกะที่ขโมยเขามาได้ บางคนไม่อาจทำาอย่างนั้น พรานแกะหรือ คนฆ่า แกะเช่นไร จึงอาจฆ่า มัด ย่าง หรือทำาตามประสงค์ ซึ่งแกะที่ขโมย เขามาได้ ?

บางคนเป็นคนยากจน มีสมบัติน้อย มีโภคะน้อย พรานแกะหรือคนฆ่าแกะเช่นนี้ อาจฆ่า ฯลฯ ซึ่งแกะที่ขโมยเขามาได้. พรานแกะหรือคนฆ่าแกะเช่นไร ไม่อาจทำ อย่างนั้น ?

บางคนเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก เป็นพระราชาหรือราชมหาอำามาตย์ พรานแกะหรือ คนฆ่าแกะเช่นนี้ไม่อาจทำอย่างนั้น มีแต่ว่าคนอื่นจะ ประณามมือ ขอ กะเขาว่าท่านผู้นิรทุกข์ ท่านโปรดให้แกะ หรือทรัพย์ค่าซื้อแกะ แก่ข้าพเจ้าบ้าง ดังนี้ ฉันใด ฉันนั้น เหมือนกัน.

ภิกษุทั้งหลาย ! บาปกรรมแม้ประมาณน้อย บุคคล บางคนทำแล้ว บาปกรรมนั้น นำเขาไปนรกได้ ส่วน บาปกรรมประมาณน้อยอย่างเดียวกันนั้น บางคนทำแล้ว กรรมนั้นเป็นทิฏฐธรรมเวทนียกรรม ไม่ปรากฏผลมาก ต่อไปเลย...

ภิกษุทั้งหลาย ! ใครกล่าวว่า คนทำกรรม อย่างใดๆ ย่อมเสวยกรรมนั้นอย่างนั้นๆ ดังนี้ เมื่อเป็น อย่างนั้นๆ การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมมีไม่ได้ ช่องทางที่จะทำ ที่สุดทุกข์โดยชอบก็ไม่ปรากฏ

ส่วนใครกล่าวว่า คนทำากรรมอันจะพึงให้ผล อย่างใดๆ ย่อมเสวยผลของ กรรมนั้นอย่างนั้นๆ ดังนี้เมื่อเป็นอย่างนี้ การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ย่อมมีได้ ช่องทางที่จะทำที่สุดทุกข์โดยชอบก็ย่อมปรากฏ


๒๙)

อานิสงส์ของการรักษาศีล

ภิกษุทั้งหลาย ! อริยสาวก ในกรณีนี้ ละปาณาติบาต เว้นขาดจาก ปาณาติบาต.

ภิกษุทั้งหลาย ! อริยสาวกเว้นขาดจาก ปาณาติบาตแล้ว ย่อมชื่อว่า ให้อภัยทาน อเวรทาน อัพยาปัชฌทาน แก่สัตว์ทั้งหลายมากไม่มีประมาณ ครั้นให้ อภัยทาน อเวรทาน อัพยาปัชฌทาน แก่สัตว์ทั้งหลายมาก ไม่มีประมาณแล้ว ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งความไม่มีภัย ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน อันไม่มีประมาณ

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เป็น (อภัย) ทานชั้นปฐม เป็นมหาทาน รู้จักกันว่าเป็นของ เลิศ เป็นของมีมานาน เป็นของประพฤติสืบกันมาแต่โบราณไม่ถูกทอดทิ้งเลย ไม่เคยถูก ทอดทิ้งในอดีต ไม่ถูกทอดทิ้งอยู่ในปัจจุบัน และจักไม่ถูกทอดทิ้ง ในอนาคต อันสมณ พราหมณ์ผู้รู้ไม่คัดค้าน.

ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนี้เป็นท่อธารแห่งบุญ เป็น ที่ไหลออกแห่งกุศล นำมา ซึ่งสุข เป็นไปเพื่อยอดสุด อันดี มีสุขเป็นวิบาก เป็นไปเพื่อสวรรค์ เป็นไป เพื่อประโยชน์ เกื้อกูล เพื่อความสุขอันพึงปรารถนา น่ารักใคร่น่าพอใจ.

ภิกษุทั้งหลาย ! ข้ออื่นยังมีอีก อริยสาวก ละอทินนาทาน เว้นขาดจาก อทินนาทาน.

ภิกษุทั้งหลาย ! อริยสาวก เว้นขาด จากอทินนาทานแล้ว ย่อมชื่อว่าให้ อภัยทาน อเวรทาน อัพยาปัชฌทาน แก่สัตว์ทั้งหลายมากไม่มีประมาณ ครั้นให้ อภัยทาน อเวรทาน อัพยาปัชฌทาน แก่สัตว์ทั้งหลายมาก ไม่มีประมาณแล้ว ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งความไม่มีภัย ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน อันไม่มีประมาณ

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เป็น (อภัย) ทานอันดับที่สอง เป็นมหาทาน รู้จักกันว่า เป็นของ เลิศ เป็นของมีมานาน เป็นของประพฤติสืบกันมาแต่โบราณ ไม่ถูก ทอดทิ้งเลย ไม่เคยถูกทอดทิ้งในอดีต ไม่ถูกทอดทิ้งอยู่ในปัจจุบัน และ จักไม่ถูก ทอดทิ้งใน อนาคต อันสมณพราหมณ์ผู้รู้ไม่คัดค้าน

ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนี้เป็นท่อธารแห่งบุญ เป็น ที่ไหลออกแห่งกุศล นำามาซึ่งสุข เป็นไปเพื่อยอดสุดอันดี มีสุขเป็นวิบาก เป็นไปเพื่อสวรรค์ เป็นไปเพื่อประโยชน์ เกื้อกูล เพื่อความสุขอันพึงปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ

ภิกษุทั้งหลาย ! ข้ออื่นยังมีอีก อริยสาวก ละกาเมสุมิจฉาจาร เว้นขาดจาก กาเมสุมิจฉาจาร

ภิกษุทั้งหลาย ! อริยสาวก เว้นขาดจาก กาเมสุมิจฉาจารแล้ว ย่อมชื่อว่า ให้อภัยทาน อเวรทาน อัพยาปัชฌทาน แก่สัตว์ทั้งหลายมากไม่มีประมาณ ครั้นให้ อภัยทาน อเวรทาน อัพยาปัชฌทาน แก่สัตว์ทั้งหลายมาก ไม่มีประมาณ แล้ว ย่อมเป็นผู้มีส่วน แห่งความไม่มีภัย ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน อันไม่มี ประมาณ

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เป็น (อภัย) ทานอันดับที่สาม เป็นมหาทาน รู้จักกันว่าเป็น ของ เลิศ เป็นของมีมานาน เป็นของประพฤติสืบกันมาแต่โบราณ ไม่ถูกทอดทิ้ง เลย ไม่เคยถูกทอดทิ้งในอดีต ไม่ถูกทอดทิ้งอยู่ในปัจจุบัน และจักไม่ถูกทอดทิ้ง ในอนาคต อันสมณพราหมณ์ผู้รู้ไม่คัดค้าน

ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนี้เป็นท่อธารแห่งบุญ เป็นที่ ไหลออกแห่งกุศลนำมาซึ่งสุข เป็นไปเพื่อยอดสุดอันดี มีสุขเป็นวิบาก เป็นไปเพื่อสวรรค์ เป็นไปเพื่อประโยชน์ เกื้อกูล เพื่อความสุขอันพึงปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ

๓๐)

สุคติของผู้มีศีล

ภิกษุทั้งหลาย ! สัตว์ทั้งหลาย เป็นผู้มีกรรมเป็นของตน เป็นทายาท แห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย กระทำกรรม ใดไว้ ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม จักเป็นผู้รับผลแห่งกรรมนั้น

ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ ละปาณาติบาต เว้นขาดจาก ปาณาติบาต วางท่อนไม้วางศัสตรา มีความละอาย ถึงความเอ็นดูกรุณา เกื้อกูลแก่ สัตว์ทั้งหลาย. เขาไม่กระเสือกกระสนด้วย (กรรมทาง) กาย ไม่กระเสือกกระสน ด้วย (กรรมทาง) วาจา ไม่กระเสือกกระสน ด้วย (กรรมทาง) ใจ กายกรรมของเขาตรง วจีกรรมของ เขาตรง มโนกรรมของเขาตรง คติของเขาตรง อุปบัติของเขาตรง

ภิกษุทั้งหลาย ! สำหรับผู้มีคติตรง มีอุปบัติตรง นั้น เรากล่าวคติอย่างใด อย่างหนึ่ง ในบรรดาคติสองอย่าง แก่เขา คือ เหล่าสัตว์ผู้มีสุขโดย ส่วนเดียว หรือว่าตระกูล อันสูง ตระกูลขัตติยมหาศาล ตระกูลพราหมณ์ มหาศาล หรือ ตระกูลคหบดีมหาศาล อันมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก มีทองและเงินมาก มีอุปกรณ์แห่งทรัพย์มาก

ภิกษุทั้งหลาย ! ภูตสัตว์ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้คืออุปบัติ(การเข้าถึงภพ) ย่อมมี แก่ภูตสัตว์ เขาทำกรรมใดไว้เขาย่อมอุปบัติด้วยกรรมนั้น ผัสสะทั้งหลาย ย่อมถูกต้อง ภูตสัตว์นั้นผู้อุปบัติแล้ว

ภิกษุทั้งหลาย ! เรากล่าวว่า สัตว์ทั้งหลาย เป็น ทายาทแห่งกรรม ด้วยอาการ อย่างนี้ ดังนี้. (ในกรณีแห่งบุคคลผู้ไม่กระทำอทินนาทาน ไม่กระทำกาเม สุมิจฉาจาร ก็ได้ ตรัสไว้ด้วยข้อความอย่างเดียวกันกับ ในกรณีของผู้ไม่ กระทำ ปาณาติบาต ดังกล่าว มาแล้วข้างบนทุกประการ และยังได้ตรัสเลยไปถึง วจีสุจริตสี่ มโนสุจริตสาม ด้วย ข้อความอย่างเดียวกันอีกด้วย)

๓๑)

วิบากของผู้ทุศีล

ภิกษุทั้งหลาย ! ปาณาติบาต (ฆ่าสัตว์) ที่เสพ ทั่วแล้ว เจริญแล้ว ทำให้มาก แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อนรก เป็นไปเพื่อกำเนิดดิรัจฉาน เป็นไปเพื่อเปรตวิสัย. วิบาก แห่ง ปาณาติบาตของผู้เป็นมนุษย์ที่เบากว่าวิบากทั้งปวง คือ วิบากที่เป็นไปเพื่อมีอายุ สั้น

ภิกษุทั้งหลาย ! อทินนาทาน (ลักทรัพย์) ที่เสพ ทั่วแล้ว เจริญแล้ว ทำให้มาก แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อนรก เป็นไปเพื่อกำาเนิดดิรัจฉาน เป็นไปเพื่อเปรตวิสัย. วิบาก แห่งอทินนาทานของผู้เป็นมนุษย์ที่เบากว่าวิบากทั้งปวง คือ วิบาก ที่เป็นไปเพื่อ ความเสื่อมแห่งโภคะ

ภิกษุทั้งหลาย ! กาเมสุมิจฉาจาร (ประพฤติผิด ในกาม) ที่เสพทั่วแล้ว เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อม เป็นไปเพื่อนรก เป็นไปเพื่อกำเนิดดิรัจฉาน เป็นไปเพื่อ เปรตวิสัย. วิบากแห่งกาเมสุมิจฉาจาร ของผู้เป็นมนุษย์ที่เบากว่า วิบากทั้งปวง คือ วิบากที่เป็นไปเพื่อก่อเวรด้วยศัตรู

ภิกษุทั้งหลาย ! มุสาวาท (คำเท็จ) ที่เสพทั่วแล้ว เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อม เป็นไปเพื่อนรก เป็นไปเพื่อกำเนิดดิรัจฉาน เป็นไปเพื่อเปรตวิสัย. วิบากแห่ง มุสาวาท ของผู้เป็นมนุษย์ที่เบากว่าวิบากทั้งปวง คือ วิบากที่เป็นไปเพื่อการ ถูกกล่าวตู่ด้วยคำไม่จริง

ภิกษุทั้งหลาย ! ปิสุณวาท (คำยุยงให้แตกกัน) ที่เสพทั่วแล้ว เจริญแล้ว ทำาให้ มากแล้ว ย่อมเป็นไป เพื่อนรก เป็นไปเพื่อกำเนิดดิรัจฉาน เป็นไปเพื่อ เปรตวิสัย. วิบากแห่งปิสุณวาทของผู้เป็นมนุษย์ที่เบากว่าวิบากทั้งปวง คือ วิบากที่เป็นไปเพื่อ การแตกจากมิตร

ภิกษุทั้งหลาย ! ผรุสวาท(คำหยาบ) ที่เสพทั่วแล้ว เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อนรก เป็นไปเพื่อกำาเนิดดิรัจฉาน เป็นไปเพื่อเปรตวิสัย. วิบากแห่ง ผรุสวาทของผู้เป็นมนุษย์ที่เบากว่าวิบากทั้งปวง คือ วิบากที่เป็นไป เพื่อการได้ฟัง เสียงที่ไม่น่าพอใจ

ภิกษุทั้งหลาย ! สัมผัปปลาปะ (คำเพ้อเจ้อ) ที่เสพทั่วแล้ว เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ นรก เป็นไปเพื่อกำเนิดดิรัจฉาน เป็นไปเพื่อ เปรตวิสัย.

วิบากแห่งสัมผัปปลาปะของผู้เป็นมนุษย์ที่เบากว่าวิบากทั้งปวง คือ วิบาก ที่เป็นไป เพื่อวาจาที่ไม่มีใครเชื่อถือ

ภิกษุทั้งหลาย ! การดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย ที่เสพทั่วแล้ว เจริญแล้ว ทำให้ มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ นรก เป็นไปเพื่อกำาเนิดดิรัจฉาน เป็นไป เพื่อเปรตวิสัย. วิบากแห่งการดื่มน้ำาเมาคือสุรา และเมรัยของผู้เป็นมนุษย์ที่เบา กว่าวิบากทั้งปวง คือ วิบากที่เป็นไปเพื่อความเป็นบ้า (อุมฺมตฺตก)

๓๒
)

ทุคติของผู้ทุศีล

ภิกษุทั้งหลาย ! เราจักแสดงธรรมปริยาย อันเป็นเหตุแห่งความกระเสือก กระสนไปตามกรรม (ของหมู่สัตว์) แก่พวกเธอ. เธอทั้งหลาย จงตั้งใจฟังให้ดี

ธรรมปริยายอันแสดงความกระเสือกกระสนไป ตามกรรม (ของหมู่สัตว์) เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย ! สัตว์ทั้งหลาย เป็นผู้มีกรรม เป็นของตน เป็นทายาทแห่ง กรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์กรรมเป็นที่พึ่งอาศัย กระทำกรรมใดไว้ ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม จักเป็นผู้รับผลกรรมนั้น

ภิกษุทั้งหลาย ! คนบางคนในกรณีนี้ เป็น ผู้มีปกติทำาปาณาติบาตหยาบช้า มีฝ่ามือ เปื้อนด้วยโลหิต มีแต่การฆ่าและการทุบตี ไม่มีความเอ็นดูในสัตว์มีชีวิต. เขา กระเสือกกระสน ด้วยกาย กระเสือกกระสนด้วยวาจา กระเสือกกระสนด้วยใจ กายกรรมของเขาคด วจีกรรม ของเขาคด มโนกรรมของเขาคด คติของ เขาคด อุปบัติ (การเข้าถึงภพ) ของเขาคด

ภิกษุทั้งหลาย ! สำหรับผู้มีคติคด มีอุปบัติคดนั้น เรากล่าวคติอย่างใดอย่าง หนึ่ง ในบรรดาคติสองอย่าง แก่เขา คือ เหล่าสัตว์นรก ผู้มีทุกข์โดย ส่วนเดียว หรือว่า สัตว์เดรัจฉานผู้มีกำาเนิดกระเสือกกระสน ได้แก่ งู แมลงป่อง ตะขาบ พังพอน แมว หนู นกเค้า หรือสัตว์เดรัจฉานเหล่าอื่น ที่เห็นมนุษย์ แล้วกระเสือก กระสน.

ภิกษุทั้งหลาย ! ภูตสัตว์ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้คืออุปบัติย่อมมีแก่ภูตสัตว์ เขาทำกรรมใดไว้เขาย่อม อุปบัติด้วยกรรมนั้น ผัสสะทั้งหลายย่อมถูกต้อง ภูตสัตว์นั้น ผู้อุปบัติแล้ว

ภิกษุทั้งหลาย ! เรากล่าวว่า สัตว์ทั้งหลาย เป็นทายาทแห่งกรรม ด้วยอาการ อย่างนี้ ดังนี้. (ในกรณีแห่งบุคคลผู้กระทำาอทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร ก็ได้ตรัสไว้ ด้วย ข้อความอย่างเดียวกันกับในกรณี ของผู้กระทำ ปาณาติบาต ดังกล่าวมาแล้ว ข้างบน ทุกประการ และยังได้ตรัสเลยไปถึง วจีทุจริตสี่ มโนทุจริตสาม ด้วยข้อความอย่าง เดียวกันอีกด้วย)

๓๓)

ทำชั่วได้ชั่ว

ความยากจน และการกู้หนี้ ท่านกล่าวว่าเป็น ความทุกข์ในโลก. คนจนกู้หนี้มา เลี้ยง ชีวิต ย่อมเดือดร้อนเพราะ เจ้าหนี้ติดตามบ้าง เพราะถูกจับกุมบ้าง. การถูกจับกุมนั้น เป็นความทุกข์ของผู้ได้กาม

ถึงแม้ในอริยวินัยนี้ก็เหมือนกัน
ผู้ใด ไม่มีศรัทธา ไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะ สั่งสมแต่บาปกรรม กระทำกายทุจริต-วจีทุจริต-มโนทุจริต ปกปิดอยู่ด้วย การกระทำาทางกาย ทางวาจา ทางจิต เพื่อไม่ให้ผู้ใดรู้จักเขา ผู้นั้น พอกพูน บาปกรรมอยู่เนืองนิตย์ ในที่นั้นๆ

คนชั่วทำบาปกรรม รู้สึกแต่กรรมชั่วของตน เสมือนคนยาจนกู้หนี้ มา บริโภคอยู่ ย่อมเดือดร้อน. ความตริตรึกที่เกิดจาก วิปฏิสาร (ความร้อนใจ) อันเป็น เครื่องทรมานใจ ย่อมติดตมเขาทั้งในบ้านและ ในป่า

คนชั่วทำบาปกรรม รู้สึกแต่กรรมชั่วของตน ไปสู่ กำเนิดเดรัจฉานบางอย่าง หรือว่า ถูกจองจำ อยู่ในนรก. การถูกจองจำนั้นเป็นทุกข์ ชนิดที่ธีรชนไม่เคย ประสบเลย

๓๔)

บุคคล จำพวก

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสแก่พระเจ้าปเสนทิโกศลว่า
มหาราช ! บุคคล จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก บุคคล ๔ จำพวกเป็นไฉน ?
บุคคล
จำพวกคือ
บุคคลผู้มืดแล้วมืดต่อไป จำพวก

บุคคลผู้มืดแล้วกลับสว่างต่อไป จำพวก
บุคคลผู้สว่างแล้วกลับมืดต่อไป จำพวก

บุคคลผู้สว่างแล้วคงสว่างต่อไป จำพวก

มหาราช ! ก็อย่างไร บุคคลชื่อว่ามืดแล้วคงมืด ต่อไป ?

มหาราช ! บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ เกิดมาภายหลังในตระกูลอันต่ำ คือในตระกูลจัณฑาล ตระกูลพราน ตระกูลจักสาน ตระกูลทำารถ หรือตระกูล เทหยากเยื่อ ซึ่ง เป็นคนยากจน มีข้าวและน้ำน้อย เป็นอยู่ฝืดเคือง มีอาหาร และ เครื่องนุ่งห่มหาได้โดยยาก เขาเป็นผู้มีผิวพรรณทราม ไม่น่าดู เตี้ยค่อม ขี้โรค ตาบอด ง่อยกระจอก มีตัวตะแคงข้าง ไม่ค่อยจะมีข้าว น้ำ เครื่องนุ่งห่ม ยานพาหนะ ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่ และประทีปโคมไฟ เขาซ้ำประพฤติ ทุจริตด้วยกาย วาจา ใจ ครั้นเขาประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา ใจแล้ว ครั้นตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก.

มหาราช ! บุรุษพึงไปจากความมืดทึบ สู่ความมืดทึบ หรือพึงไปจากความมืดมัว สู่ความมืดมัว หรือพึงไปจากโลหิต อันมีมลทินสู่โลหิตอันมีมลทิน ฉันใด มหาราช ! ตถาคตกล่าวว่าบุคคลนี้ มีอุปไมยฉันนั้น

มหาราช ! อย่างนี้แล บุคคลชื่อว่าเป็นผู้มืดแล้ว คงมืดต่อไป. มหาราช ! ก็อย่างไร บุคคลชื่อว่าเป็นผู้มืดแล้ว กลับสว่างต่อไป ?

มหาราช ! บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เกิดมาภายหลังในตระกูลอันต่ำทราม คือในตระกูลจัณฑาล ตระกูลพราน ตระกูลจักสาน ตระกูลทำารถ หรือตระกูล เทหยากเยื่อ ซึ่งเป็นคนยากจน มีข้าวและน้ำน้อย เป็นอยู่ ฝืดเคือง มีอาหารและ เครื่องนุ่งห่มหาได้โดยยาก เขาเป็น ผู้มีผิวพรรณทราม ไม่น่าดู เตี้ยค่อม ขี้โรค ตาบอด ง่อย กระจอกมีตัวตะแคงข้าง ไม่ค่อยจะมีข้าว น้ำ เครื่องนุ่งห่ม ยานพาหนะ ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่ และประทีปโคมไฟ แม้กระนั้น เขาก็ ประพฤติสุจริตด้วย กาย วาจา ใจ ครั้นเขา ประพฤติสุจริตด้วยกาย วาจา ใจ แล้ว ครั้นตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์.

มหาราช ! บุรุษพึงขึ้นจากแผ่นดินสู่บัลลังก์ หรือพึงขึ้นจากบัลลังก์สู่หลังม้า หรือพึง ขึ้นจากหลังม้าสู่คอช้าง หรือพึงขึ้นจากคอ ช้างสู่ปราสาท แม้ฉันใด มหาราช ! ตถาคตย่อมกล่าวว่า บุคคลนี้มีอุปไมยฉันนั้น.

มหาราช ! อย่างนี้แล บุคคลชื่อว่าเป็นผู้มืดแล้ว กลับสว่างต่อไป.

มหาราช ! ก็อย่างไร บุคคลชื่อว่าเป็นผู้สว่างแล้ว กลับมืดต่อไป ?

มหาราช ! บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เกิดมา ภายหลังในตระกูลสูง คือในสกุลกษัตริย์มหาศาล สกุล พราหมณ์มหาศาล หรือสกุลคหบดีมหาศาล อันมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก มีทองและเงินพอตัว มีอุปกรณ์ แห่งทรัพย์พอตัว มีทรัพย์และข้าวเปลือกพอตัว เขามีรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส ประกอบด้วยความ เกลี้ยงเกลาแห่ง ผิวพรรณอย่างยิ่ง ร่ำรวยด้วยข้าว ด้วยน้ำา เครื่องนุ่งห่ม ยานพาหนะ ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่ และประทีปโคมไฟ แต่เขากลับประพฤติทุจริตด้วย กายวาจา ใจ ครั้นเขาประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา ใจ แล้ว ครั้นตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติวินิบาต นรก.

มหาราช ! บุรุษลงจากปราสาทสู่คอช้าง หรือลงจากคอช้าง สู่หลังม้า หรือลงจาก หลังม้า สู่บัลลังก์ หรือลงจากบัลลังก์สู่พื้นดิน หรือจากพื้นดินเข้าไป สู่ที่มืด แม้ฉันใด มหาราช ! ตถาคตกล่าวว่า บุคคลนี้มีอุปไมยฉันนั้น.

มหาราช ! อย่างนี้แล บุคคลชื่อว่าเป็นผู้สว่าง แล้วกลับมืดต่อไป.

มหาราช ! ก็อย่างไร บุคคลชื่อว่าเป็นผู้สว่าง แล้วคงสว่างต่อไป ?

มหาราช ! บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เกิดมา ภายหลังในตระกูลสูง คือในสกุล กษัตริย์มหาศาล สกุล พราหมณ์มหาศาล หรือสกุลคหบดีมหาศาล อันมั่งคั่ง มีทรัพย์ มาก มีโภคะมาก มีทองและเงินพอตัว มีอุปกรณ์แห่ง ทรัพย์พอตัว มีทรัพย์และข้าว เปลือกพอตัว เขามีรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส ประกอบด้วยความ เกลี้ยงเกลาแห่ง ผิวพรรณอย่างยิ่ง ร่ำรวยด้วยข้าว ด้วยน้ำ เครื่องนุ่งห่ม ยานพาหนะ ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่ และ ประทีปโคมไฟ เขย่อมประพฤติ สุจริตด้วยกาย วาจา ใจ ครั้นเขาประพฤติ สุจริตด้วยกาย วาจา ใจแล้ว ครั้นตายไป ย่อมเข้าถึง สุคติโลกสวรรค์.

มหาราช ! บุรุษ พึงก้าวไปด้วยดีจากบัลลังก์สู่บัลลังก์ หรือพึงก้าว ไปด้วยดี จากหลังม้า สู่หลังม้า หรือพึงก้าวไปด้วยดีจากคอช้างสู่คอช้าง หรือพึงก้าว ไปด้วยดีจาก ปราสาทสู่ปราสาท แม้ฉันใด มหาราช ! ตถาคตย่อมกล่าวว่า บุคคลนี้มี อุปไมยฉันนั้น.

มหาราช ! อย่างนี้แล บุคคลชื่อว่าเป็นผู้สว่าง แล้วคงสว่างต่อไป

มหาราช ! บุคคล จำาพวกนี้แล มีปรากฏ อยู่ในโลก ดังนี้