เว็บไซต์ อนาคามี แหล่งเผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
  
หนังสือพุทธวจนออนไลน์   ดูหนังสือทั้งหมด
90 90 90 90 90
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์  
 
ค้นหาคำที่ต้องการ                    

  อริยวินัย พุทธวจน   ดาวน์โหลดหนังสือ(ไฟล์ PDF)
  
P406 หน้า 415-503 06 of 13  
ออกไปหน้าสารบาญ

หน้า1  : หน้า2  :  หน้า3  : หน้า4  : หน้า5  :  หน้า6  :  หน้า7  : หน้า8  : หน้า9  : หน้า10  : หน้า11  : หน้า12  : หน้า13
 
 






หน้า 415
คัมภีร์ มหาวรรค ภาค ๒
(วินัยปิฎก เล่มที่ ๕)

มหาวรรค ภาค ๒ : แบ่งเป็น ๖ ขันธ์
มี ๗๔๘ สิกขาบท


หน้า 416
ขันธ์ที่ : จัมมขันธกะ
หมวดว่าด้วยหนัง

หน้า 416-1
ทรงอนุญาตรองเท้า
[๕]
1. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตรองเท้าชั้นเดียว ภิกษุไม่พึงสวมรองเท้า ๒ ชั้น ไม่พึงสวมรองเท้า ๓ ชั้น ไม่พึงสวมรองเท้าหลายชั้นรูปใดสวม ต้องอาบัติทุกกฏ.

หน้า 416-2
ทรงห้ามสวมรองเท้าสีต่างๆ

[๖]
2. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสวมรองเท้าสีเขียวล้วน รูปใดสวมต้องอาบัติทุกกฏ.
3. … ไม่พึงสวมรองเท้าสีเหลืองล้วน …
4. … ไม่พึงสวมรองเท้าสีแดงล้วน …
5. … ไม่พึงสวมรองเท้าสีบานเย็นล้วน …
6. … ไม่พึงสวมรองเท้าสีดำล้วน …
7. … ไม่พึงสวมรองเท้าสีแสดล้วน …
8. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสวมรองเท้าสีชมพูล้วน รูปใดสวมต้องอาบัติทุกกฏ.

หน้า 416-3
ทรงห้ามสวมรองเท้ามีหูไม่สมควร
9. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสวมรองเท้ามีหูสีเขียว รูปใดสวมต้องอาบัติทุกกฏ.
10. … ไม่พึงสวมรองเท้ามีหูสีเหลือง …
11 . … ไม่พึงสวมรองเท้ามีหูสีแดง …
12 . … ไม่พึงสวมรองเท้ามีหูสีบานเย็น …
13. … ไม่พึงสวมรองเท้ามีหูสีดำ …
14 . … ไม่พึงสวมรองเท้ามีหูสีแสด …
15 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสวมรองเท้ามีหูสีชมพู รูปใดสวมต้องอาบัติทุกกฏ.

หน้า 417

ทรงห้ามสวมรองเท้าบางชนิด
16 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสวมรองเท้าติดแผ่นหนังหุ้มส้นรูปใดสวม ต้องอาบัติทุกกฏ.
17 . …ไม่พึงสวมรองเท้าหุ้มแข้ง…
18 . …ไม่พึงสวมรองเท้าปกหลังเท้า…
19. …ไม่พึงสวมรองเท้ายัดนุ่น…
20. …ไม่พึงสวมรองเท้ามีหูลายคล้ายขนปีกนกกระทา…
21 . …ไม่พึงสวมรองเท้าที่ทำหูงอนมีสัณฐานดุจเขาแกะ…
22 . …ไม่พึงสวมรองเท้าที่ทำหูงอนมีสัณฐานดุจเขาแพะ…
23. …ไม่พึงสวมรองเท้าที่ทำประกอบหูงอนดุจหางแมลงป่อง…
24 . …ไม่พึงสวมรองเท้าที่เย็บด้วยขนปีกนกยูง…
25 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสวมรองเท้าที่อันวิจิตร รูปใดสวม ต้องอาบัติทุกกฏ.

หน้า 418

ทรงห้ามสวมรองเท้าขลิบหนัง
26 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสวมรองเท้าขลิบด้วยหนังราชสีห์รูปใดสวม ต้องอาบัติทุกกฏ.
27 . … ไม่พึงสวมรองเท้าขลิบด้วยหนังเสือโคร่ง …
28 . … ไม่พึงสวมรองเท้าขลิบด้วยหนังเสือเหลือง ไม่พึงสวมรองเท้าขลิบด้วยหนังชะมด …
29. … ไม่พึงสวมรองเท้าขลิบด้วยหนังนาก …
30. … ไม่พึงสวมรองเท้าขลิบด้วยหนังแมว …
31. … ไม่พึงสวมรองเท้าขลิบด้วยหนังค่าง …
32. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสวมรองเท้าขลิบด้วยหนังนกเค้ารูปใดสวม ต้องอาบัติทุกกฏ.

หน้า 418-1
ทรงอนุญาตรองเท้าหลายชั้นที่ใช้แล้ว
[๗]
33. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตรองเท้าหลายชั้นที่ใช้แล้ว
34. ดูกรภิกษุทั้งหลาย รองเท้าหลายชั้นที่ใหม่ ภิกษุไม่พึงสวม รูปใดสวม ต้องอาบัติทุกกฏ.

หน้า 418-2

ทรงห้ามสวมรองเท้าในที่บางแห่ง
[๘]
…ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าเมื่อเราผู้ศาสดาเดินมิได้สวมรองเท้า แม้เมื่อภิกษุผู้เถระทั้งหลายเดินก็ไม่สวมรองเท้า แต่พระฉัพพัคคีย์เดินสวมรองเท้า จริงหรือ
จริงพระพุทธเจ้าข้า
.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเราผู้ศาสดาเดินมิได้สวม รองเท้า แม้เมื่อภิกษุผู้เถระทั้งหลายเดินก็ไม่สวมรองเท้า แต่ไฉนโมฆบุรุษเหล่านั้นจึงได้เดินสวมรองเท้าเล่า อันคฤหัสถ์ชื่อเหล่านี้นุ่งห่มผ้าขาว ยังมีความเคารพ มีความยำเกรง มีความประพฤติเสมอภาค ในอาจารย์ทั้งหลาย เพราะเหตุแห่งศิลปะซึ่งเป็นเครื่องเลี้ยงชีพอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พึงงามในธรรมวินัยนี้เป็นแน่ ถ้าพวกเธอบวชใน ธรรมวินัยอันเรากล่าวดีแล้วอย่างนี้ จะพึงมีความเคารพ มีความยำเกรง มีความประพฤติเสมอภาค อยู่ในอาจารย์ใน ภิกษุปูนอาจารย์ในอุปัชฌายะ ในภิกษุปูนอุปัชฌายะ…

35. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่ออาจารย์ ภิกษุปูนอาจารย์ อุปัชฌายะ ภิกษุปูนอุปัชฌายะเดินมิได้สวมรองเท้า ภิกษุไม่พึง เดินสวมรองเท้า รูปใดเดินสวมรองเท้า ต้องอาบัติทุกกฏ.

36.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสวมรองเท้าภายในอาราม รูปใดสวมต้องอาบัติทุกกฏ.

หน้า 419
ทรงอนุญาตให้สวมรองเท้าเป็นพิเศษ

[๑๐]
37. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้มีเท้าชอกช้ำ หรือมีเท้าแตก หรืออาพาธมีหน่อที่เท้า สวมรองเท้าได้

38.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สวมรองเท้าในขณะที่คิดว่าประเดี๋ยวจักขึ้นเตียงหรือขึ้นตั่ง.
สมัยต่อมา
เวลากลางคืนภิกษุทั้งหลายเดินไปสู่โรงอุโบสถก็ดีสู่ที่ประชุมก็ดีย่อมเหยียบตอบ้างหนามบ้างในที่มืดเท้าทั้งสอง ได้รับบาดเจ็บตรัสว่า

39.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภายในอาราม เราอนุญาตให้สวมรองเท้า และใช้คบเพลิง ประทีป ไม้เท้าได้.

หน้า 419-1

ทรงห้ามสวมเขียงเท้าไม้

40. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เขียงเท้าที่ทำด้วยไม้ อันภิกษุไม่พึงสวม รูปใดสวม ต้องอาบัติทุกกฏ.

หน้า 419-2
ทรงห้ามสวมเขียงเท้าใบตาล

[๑๑]
41 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เขียงเท้าสานด้วยใบตาล อันภิกษุไม่พึงสวมรูปใดสวม ต้องอาบัติทุกกฏ.

หน้า 420
ทรงห้ามสวมเขียงเท้าไม้ไผ่
42 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เขียงเท้าสานด้วยใบไผ่ อันภิกษุไม่พึงสวมรูปใดสวม ต้องอาบัติทุกกฏ.

หน้า 420-1
ทรงห้ามสวมเขียงเท้าต่างชนิด

[๑๒]
43. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสวมเขียงเท้าสานด้วยหญ้า รูปใดสวม ต้องอาบัติทุกกฏ.
44 . … เขียงเท้าสานด้วยหญ้ามุงกระต่าย เขียงเท้าสานด้วยหญ้าปล้อง …
45 . … เขียงเท้าสานด้วยใบเป้ง …
46 . … เขียงเท้าสานด้วยแฝก …
47 . … เขียงเท้าถักด้วยขนสัตว์ …
48 . … เขียงเท้าประดับด้วยทองคำ …
49. … เขียงเท้าประดับด้วยเงิน …
50. … เขียงเท้าประดับด้วยแก้วมณี …
51 . … เขียงเท้าประดับด้วยแก้วไพฑูรย์ …
52 . … เขียงเท้าประดับด้วยแก้วผลึก …
53. … เขียงเท้าประดับด้วยทองสัมฤทธิ์ …
54 . … เขียงเท้าประดับด้วยกระจก …
55 . … เขียงเท้าทำด้วยดีบุก …
56 . … เขียงเท้าทำด้วยสังกะสี …
57 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสวมเขียงเท้าทำด้วยทองแดง รูปใด สวม ต้องอาบัติทุกกฏ.
58 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง เขียงเท้าบางชนิดที่สำหรับสวมเดิน อันภิกษุไม่พึงสวม รูปใดสวม ต้องอาบัติ ทุกกฏ.
59. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเขียงเท้าที่ตรึงอยู่กับที่ ไม่ใช่สำหรับใช้สวมเดิน ๓ ชนิด คือ เขียงเท้าที่สำหรับเหยียบถ่ายอุจจาระ ๑
เขียงเท้าที่สำหรับเหยียบถ่ายปัสสาวะ ๑
เขียงเท้าที่สำหรับเหยียบในที่ชำระ ๑.

หน้า 421

ทรงห้ามจับโค

[๑๓]
60. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงจับเขาโค รูปใดจับ ต้องอาบัติทุกกฏ.
61 . … ไม่พึงจับหูโค …
62 . … ไม่พึงจับคอโค …
63. … ไม่พึงจับหางโค …
64 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงขี่หลังโค รูปใดจับและขึ้นขี่ ต้องอาบัติทุกกฏ.
65 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง องค์กำเนิดโค อันภิกษุมีจิตกำหนัด ไม่พึงถูกต้อง รูปใดถูกต้อง ต้องอาบัติ ถุลลัจจัย
66 . ภิกษุไม่พึงฆ่าลูกโค รูปใดฆ่า พึงปรับอาบัติตามธรรม.

หน้า 421-1
ข้ออนุญาตเกี่ยวกับเรื่องยาน
[๑๔]
67 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงไปด้วยยาน รูปใดไป ต้องอาบัติทุกกฏ.
68 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตยานแก่ภิกษุผู้อาพาธ.
69. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตยานที่เทียมด้วยโคตัวผู้ และยานที่ใช้มือลาก.
70. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตคานหามมีตั่งนั่ง และเปลผ้าที่เขาผูกติดกับไม้คาน.

หน้า 422
ทรงห้ามใช้ที่นั่งและที่นอนสูงใหญ่
[๑๕]
71 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้ที่นั่งและที่นอนอันสูงใหญ่ คือ
1. เตียงมีเท้าสูงเกินประมาณ
2. เตียงมีเท้าทำเป็นรูปสัตว์ร้าย
3. ผ้าโกเชาว์ขนยาว
4. เครื่องลาดที่ทำด้วยขนแกะวิจิตรลวดลาย
5. เครื่องลาดที่ทำด้วยขนแกะสีขาว
6. เครื่องลาดที่มีสัณฐานเป็นช่อดอกไม้
7. เครื่องลาดที่ยัดนุ่น
8. เครื่องลาดขนแกะวิจิตรด้วยรูปสัตว์ร้ายมีสีหะและเสือเป็นต้น
9. เครื่องลาดขนแกะมีขนตั้ง
10 . เครื่องลาดขนแกะมีขนข้างเดียว
11 . เครื่องลาดทองและเงินแกมไหม
12 . เครื่องลาดไหมขลิบทองและเงิน
13 . เครื่องลาดขนแกะจุนางฟ้อน ๑๖ คน
14 . เครื่องลาดหลังช้าง
15 . เครื่องลาดหลังม้า
16 . เครื่องลาดในรถ
17 . เครื่องลาดที่ทำด้วยหนังสัตว์ชื่ออชินะ มีขนอ่อนนุ่ม
18 . เครื่องลาดอย่างดีทำด้วยหนังชะมด
19. เครื่องลาดมีเพดาน
20 . เครื่องลาดมีหมอนข้าง

รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ.

หน้า 423
ทรงห้ามใช้หนังผืนใหญ่
[๑๖]
21 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้หนังผืนใหญ่คือ หนังสีหะ หนังเสือโคร่ง หนังเสือเหลือง รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ.

หน้า 423-1
ทรงห้ามใช้หนังโค
[๑๘]
22 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงชักชวนในการฆ่าสัตว์ รูปใดชักชวน พึงปรับอาบัติตามธรรม.
23. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง หนังโคอันภิกษุไม่พึงใช้ รูปใดใช้ ต้อง อาบัติทุกกฏ
24 . หนังอะไรๆ ภิกษุไม่พึงใช้ รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ.

สมัยต่อมาเตียงก็ดีตั่งก็ดีของชาวบ้านเขาหุ้มด้วยหนังถักด้วยหนังภิกษุทั้งหลายรังเกียจไม่นั่งทับแล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาคตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า

25 .
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้นั่งทับเตียงตั่งที่เป็นอย่างคฤหัสถ์แต่ไม่อนุญาตให้นอนทับ.สมัยต่อมาวิหารทั้งหลายเขาผูกรัดด้วยเชือกหนังภิกษุทั้งหลายรังเกียจไม่นั่งพิงตรัสว่า
26 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้นั่งพิงเฉพาะเชือก.

หน้า 423-2

ทรงห้ามสวมรองเท้าเข้าบ้าน

[๑๙]
27 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสวมรองเท้าเข้าบ้าน รูปใดสวมเข้าไป ต้องอาบัติทุกกฏ.

หน้า 424
ทรงอนุญาตให้ภิกษุอาพาธสวมรองเท้าเข้าบ้าน
[๑๙]
28 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุอาพาธสวมรองเท้าเข้าบ้านได้.

หน้า 424-1
ข้ออนุญาตพิเศษ

[๒๓]
29. ดูกรภิกษุทั้งหลาย จังหวัดอวันตีทักขิณาบถ มีภิกษุน้อยรูปเราอนุญาตการอุปสมบทด้วยคณะสงฆ์ มีวินัยธรเป็นที่ ๕ ได้ทั่วปัจจันตชนบท.

กำหนดเขตปัจจันตชนบทและมัชฌิมชนบท
บรรดาชนบทเหล่านั้น ปัจจันตชนบท มีกำหนดเขต ดังนี้ :-ในทิศบูรพามีนิคมชื่อกชังคละ ถัดนิคมนั้นมาถึง มหาสาล นคร นอกนั้นออกไปเป็นปัจจันตชนบท ร่วมในเป็นมัชฌิมชนบท (จังหวัดภายในเป็นศูนย์กลางของ ประเทศ) ในทิศ อาคเนย์ มีแม่น้ำชื่อสัลลวตี นอกแม่น้ำสัลลวตีนั้นออกไปเป็นปัจจันตชนบท ร่วมในเป็นมัชฌิม ชนบทในทิศทักษิณ มีนิคมชื่อเสตกัณณิกะ นอกนิคมนั้นออกไป เป็นปัจจันตชนบท ร่วมในเป็นมัชฌิมชนบท ในทิศปัจฉิม มีพราหมณคาม ชื่อถูนะ นอกนั้นออกไป เป็นปัจจันตชนบทร่วมในเป็นมัชฌิมชนบทในทิศอุดร มีภูเขาชื่ออุสีรธชะ นอกนั้นออกไปเป็น ปัจจันตชนบทร่วมในเป็นมัชฌิมชนบท
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตการอุปสมบท ด้วยคณะสงฆ์มีวินัยธรเป็นที่ ๕ ได้ ทั่วปัจจันตชนบทเห็นปานนี้.

30.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย พื้นดินในอวันตีทักขิณาบถ มีดินสีดำมาก ดื่นดาดด้วยระแหงกีบโค เราอนุญาตรองเท้า หลายชั้น ทั่วปัจจันตชนบท

31.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนทั้งหลายในอวันตีทักขิณาบถ นิยมการอาบน้ำถือว่าน้ำทำให้บริสุทธิ์ เราอนุญาตการอาบน้ำได้เป็นนิตย์ทั่วปัจจันตชนบท

32.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในอวันตีทักขิณาบถ มีหนังเครื่องลาด คือ หนังแกะหนังแพะ หนังมฤค ในมัชฌิม ชนบท มีหญ้าตีนกา หญ้าหางนกยูงหญ้าหนวดแมว หญ้าหางช้าง แม้ฉันใด ในอวันตีทักขิณาบถ ก็มีหนัง เครื่องลาด คือ หนังแกะ หนังแพะ หนังมฤค ฉันนั้นเหมือนกันแล เราอนุญาตหนังเครื่องลาด คือ หนังแกะ หนังแพะ หนังมฤคทั่ว ปัจจันตชนบท

33.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง คนทั้งหลายในโลกนี้ฝากถวายจีวรเพื่อหมู่ภิกษุผู้อยู่นอกสีมาด้วยคำว่า ข้าพเจ้า ทั้งหลาย ถวายจีวรผืนนี้แก่ภิกษุผู้มีชื่อนี้ ดังนี้. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ยินดีได้จีวรนั่นยังไม่ควรนับ ราตรีตลอดเวลา ที่ยังไม่ถึงมือ.
จัมมขันธกะจบ.



หน้า 426
ขันธ์ที่ ๒ : เภสัชชขันธกะ
หมวดว่าด้วยยา

หน้า 426-1
ข้ออนุญาตเกี่ยวกับเภสัช
[๒๕]
… ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไปในที่สงัดหลีกเร้นอยู่ ณ ตำบลนี้ ได้มีความปริวิตกแห่งจิตเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า เดี๋ยวนี้ ภิกษุ ทั้งหลายอันอาพาธซึ่งเกิดชุมในฤดูสารท ถูกต้องแล้ว ยาคูที่ดื่มเข้าไปก็พุ่งออก แม้ข้าวสวยที่ฉันแล้ว ก็พุ่งออก เพราะ อาพาธนั้น พวกเธอจึงซูบผอม เศร้าหมอง มีผิวพรรณไม่ดีมีผิวเหลืองขึ้นๆ มีเนื้อตัวสะพรั่ง ด้วยเอ็น เราจะพึงอนุญาต อะไรหนอเป็นเภสัชแก่ภิกษุทั้งหลาย ซึ่งเป็นเภสัชอยู่ในตัว และเขาสมมติว่าเป็น เภสัช ทั้งจะพึงสำเร็จประโยชน์ใน อาหารกิจแก่สัตวโลกและไม่ปรากฏเป็นอาหารหยาบ.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรานั้นได้มีความปริวิตกสืบต่อไปว่า เภสัช ๕ นี้แลคือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย เป็นเภสัชอยู่ในตัว และเขาสมมติว่าเป็นเภสัชทั้งสำเร็จประโยชน์ในอาหารกิจแก่สัตวโลก และไม่ปรากฏเป็น อาหาร หยาบ ผิฉะนั้น เราพึงอนุญาตเภสัช ๕ นี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ให้รับประเคนในกาลแล้วบริโภคในกาล.

34.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้รับประเคนเภสัช ๕ นั้นในกาลแล้วบริโภคในกาล.
[๒๖]
35. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้รับประเคนเภสัช ๕ นั้น แล้วบริโภคได้ทั้งในกาลทั้งนอกกาล.

หน้า 426-2
ทรงอนุญาตน้ำมันเปลว

[๒๗]
ก็โดยสมัยนั้นแลภิกษุทั้งหลายที่อาพาธมีความต้องการด้วยน้ำมันเปลวเป็นเภสัชตรัสว่า
36. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำมันเปลวเป็นเภสัช คือ น้ำมันเปลวหมี น้ำมันเปลวปลา น้ำมันเปลวปลา ฉลาม น้ำมันเปลวหมูน้ำมันเปลวลา ที่รับประเคนในกาล เจียวในกาล กรองในกาลบริโภคอย่างน้ำมัน.

37.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุรับประเคนในวิกาล เจียวในวิกาล กรองในวิกาล หากจะพึงบริโภคน้ำมันเปลว นั้น ต้องอาบัติทุกกฏ ตัว.

38.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุรับประเคนในกาล เจียวในวิกาล กรองในวิกาล หากจะพึงบริโภคน้ำมันเปลวนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ ตัว.

39.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุรับประเคนในกาล เจียวในกาล กรองในวิกาล หากจะพึงบริโภคน้ำมันเปลวนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ ตัว.

40.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุรับประเคนในกาล เจียวในกาล กรองในกาล หากจะพึงบริโภคน้ำมันเปลวนั้น ไม่ต้องอาบัติ.

หน้า 427

ทรงอนุญาตมูลเภสัช
[๒๘]
41 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต รากไม้ที่เป็นเภสัช คือ ขมิ้น ขิง ว่านน้ำว่านเปราะ อุตพิด ข่า แฝก แห้วหมู ก็หรือมูลเภสัช แม้ชนิดอื่นใดบรรดามี ที่ไม่สำเร็จประโยชน์แก่ของควรเคี้ยวในของควรเคี้ยว ที่ไม่ สำเร็จประโยชน์แก่ ของควรบริโภคในของควรบริโภค รับประเคนมูลเภสัชเหล่านั้นแล้วเก็บไว้ได้จนตลอดชีพ ต่อมีเหตุ จึงให้บริโภคได้ เมื่อเหตุไม่มี ภิกษุบริโภค ต้องอาบัติทุกกฏ.

หน้า 427-1

ทรงอนุญาตเครื่องบดยา

42 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตตัวหินบด ลูกหินบด.

หน้า 428
ทรงอนุญาตกสาวเภสัช
[๒๙]
43. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำฝาดที่เป็นเภสัช คือ น้ำฝาดสะเดาะ น้ำฝาดมูกมัน น้ำฝาดกระดอม หรือ ขี้กา น้ำฝาดบรเพ็ด หรือ พญามือเหล็ก น้ำฝาดกถินพิมาน ก็หรือกสาวเภสัช แม้ชนิดอื่นใดบรรดามี ที่ไม่ สำเร็จประโยชน์ แก่ของควรเคี้ยว ในของควรเคี้ยว ที่ไม่สำเร็จประโยชน์แก่ของ ควรบริโภคในของควร บริโภค รับประเคนกสาวเภสัช เหล่านั้น แล้วเก็บไว้ได้จนตลอดชีพต่อมีเหตุ จึงให้บริโภคได้ เมื่อเหตุไม่มี ภิกษุบริโภค ต้องอาบัติทุกกฏ.

หน้า 428-1
ทรงอนุญาตปัณณเภสัช

[๓๐]
44 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตใบไม้ที่เป็นเภสัช คือ ใบสะเดา ใบมูกมัน ใบกระดอม หรือขี้กา ใบกะเพรา หรือแมงลัก ใบฝ้าย ก็หรือปัณณเภสัช แม้ชนิดอื่นใดบรรดามี ที่ไม่สำเร็จประโยชน์แก่ของควรเคี้ยว ในของควร เคี้ยว ที่ไม่สำเร็จประโยชน์แก่ของควรบริโภคในของควรบริโภค รับประเคนปัณณเภสัชเหล่านั้น แล้วเก็บไว้ได้ จนตลอดชีพ ต่อมีเหตุ จึงให้บริโภคได้ เมื่อเหตุไม่มีภิกษุบริโภค ต้องอาบัติทุกกฏ.

หน้า 428-2
ทรงอนุญาตผลเภสัช
[๓๑]
45 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผลไม้ที่เป็นเภสัช คือ ลูกพิลังกาสาดีปลี พริก สมอไทย สมอพิเภก มะขามป้อม ผลแห่งโกฐ ก็หรือผลเภสัช แม้ชนิดอื่นใดบรรดามี ที่ไม่สำเร็จประโยชน์แก่ของ ควรเคี้ยวในของ ควรเคี้ยว ที่ไม่สำเร็จ ประโยชน์แก่ของควรบริโภคในของควรบริโภค รับประเคนผลเภสัชเหล่านั้นแล้วเก็บไว้ได้ จนตลอดชีพ ต่อมีเหตุจึงให้ บริโภคได้ เมื่อเหตุไม่มี ภิกษุบริโภค ต้องอาบัติทุกกฏ.

หน้า 429
ทรงอนุญาตชตุเภสัช
[๓๒]46 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตยางไม้ที่เป็นเภสัช คือ ยางอันไหลออกจากต้นหิงคุ ยางอันเขาเคี่ยว จากก้าน และใบแห่งต้นหิงคุยางอันเขาเคี่ยวจากใบแห่งต้นหิงคุ หรือเจือของอื่นด้วย ยางอันไหลออกจาก ยอดไม้ตกะ ยางอัน ไหลออกจากใบแห่งต้นตกะยางอันเขาเคี่ยวจากใบ หรือไหลออกจากก้านแห่ง ต้นตกะ กำยานก็หรือชตุเภสัชชนิด

อื่นใดบรรดามีที่ไม่สำเร็จประโยชน์แก่ของควรเคี้ยวในของควรเคี้ยว ที่ไม่สำเร็จประโยชน์แก่ของควรบริโภค ในของ ควรบริโภค รับประเคนชตุเภสัชเหล่านั้น แล้วเก็บไว้ได้จนตลอดชีพ ต่อมีเหตุ จึงให้บริโภคได้ เมื่อเหตุ ไม่มี ภิกษุ บริโภค ต้องอาบัติทุกกฏ.

หน้า 429-1

ทรงอนุญาตโลณเภสัช

[๓๓]
47 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเกลือที่เป็นเภสัช คือ เกลือสมุทรเกลือดำ เกลือสินเธาว์ เกลือดินโป่ง เกลือหุง ก็หรือโลณเภสัชชนิดอื่นใดบรรดามี ที่ไม่สำเร็จประโยชน์แก่ของควรเคี้ยวในของควรเคี้ยวที่ไม่ สำเร็จประโยชน์แก่ของควรบริโภคในของควรบริโภครับประเคนโลณเภสัชเหล่านั้น แล้วเก็บไว้ได้จนตลอดชีพ ต่อมีเหตุจึงให้บริโภคได้ เมื่อเหตุไม่มี ภิกษุบริโภค ต้องอาบัติทุกกฏ.

หน้า 429-2
ทรงอนุญาตจุณเภสัช
เป็นต้น
[๓๔]
48 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเภสัชชนิดผง สำหรับภิกษุผู้เป็นฝีก็ดี พุพองก็ดี สิวก็ดี โรคฝีดาษ หรือ อีสุกอีใส ก็ดี มีกลิ่นตัวแรงก็ดี.
49. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตโคมัย ดินเหนียว กากน้ำย้อมสำหรับภิกษุไม่อาพาธ.
50. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตครก สาก.

หน้า 430
ทรงอนุญาตเครื่องกรอง

[๓๕]
51 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตวัตถุเครื่องกรองยาผง.
52 . …ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้ากรองยา.

หน้า 430-1
ทรงอนุญาตเนื้อดิบและเลือดสด
[๓๖]
53. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเนื้อดิบ เลือดสด ในเพราะอาพาธเกิดแต่ผีเข้า.(1)
(1). คำนี้มีบาลีว่า อมนุสฺสิกาพาเธ ซึ่งแปลได้ว่า อาพาธเพราะอมนุษย์ –ผู้รวบรวม

หน้า 430-2
ทรงอนุญาตยาตาเป็นต้น

[๓๗]
54 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตยาตา คือ ยาตาที่ปรุงด้วยเครื่องปรุงหลายอย่าง ยาตาที่ทำด้วยเครื่อง ปรุงต่างๆ ยาตาที่เกิดในกระแสน้ำเป็นต้น หรดาลกลีบทอง เขม่าไฟ.พวกภิกษุอาพาธมีความต้องการ ด้วย เครื่องยาที่จะบดผสม กับยาตาตรัสว่า

55 .
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตไม้จันทร์ กฤษณา กะลัมพักใบเฉียง แห้วหมู.
สมัยต่อมาภิกษุทั้งหลาย ก็บยาตาชนิดผงไว้ในโอบ้างในขันบ้างผงหญ้าบ้างฝุ่นบ้างปลิวลงตรัสว่า

56 .
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตกลักยาตา

57 .
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้กลักยาตาชนิดต่างๆ (คือ ชนิดที่ทำด้วยทองคำบ้าง ชนิดที่ทำด้วยเงิน บ้าง) รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ.

58 .
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตกลักยาตาที่ทำด้วยกระดูก ทำด้วยงา ทำด้วยเขา ทำด้วยไม้อ้อ ทำด้วย ไม้ไผ่ ทำด้วยยาง ทำด้วยผลไม้ ทำด้วยโลหะ ทำด้วยเปลือกสังข์

59.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตฝาปิด (กลักยาตา).ฝาปิดยังตกได้พระผู้มีพระภาคตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า

60.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ผูกด้าย แล้วพันกับกลักยาตา.กลักยาตาแตกพระผู้มีพระภาคตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า

61 .
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถักด้วยด้าย.

62 .
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตไม้ป้ายยาตา.
สมัยต่อมาพระฉัพพัคคีย์ใช้ไม้ป้ายตาชนิดต่างๆคือที่ทำด้วยทองคำบ้างที่ทำด้วยเงินบ้างคนทั้งหลายจึง เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่าเหมือนเหล่าคฤหัสถ์ผู้บริโภคกามตรัสว่า

63.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้ไม้ป้ายยาตาชนิดต่างๆ (คือ ชนิดที่ทำด้วยทองคำบ้าง ชนิดที่ทำด้วยเงิน บ้าง) รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ.

64 .
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตไม้ป้ายยาตาที่ทำด้วยกระดูก ทำด้วยงา ทำด้วยเขา ทำด้วยเปลือกสังข์

65 .
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตภาชนะสำหรับเก็บไม้ป้ายยาตา.

66 .
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตถุงกลักยาตา.หูถุงสำหรับสะพายไม่มีตรัสว่า

67 .
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเชือกผูกเป็นสายสะพาย.

หน้า 432
ทรงอนุญาตน้ำมันเป็นต้น
[๓๘]
68 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำมันทาศีรษะ
69. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตการนัตถุ์
70. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตกล้องสำหรับนัตถุ์.

71 .
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้กล้องสำหรับนัตถุ์ชนิดต่างๆ (คือชนิดที่ทำด้วยทองคำบ้าง ชนิดที่ำด้วย เงินบ้าง) รูปใดใช้ ต้อง อาบัติทุกกฏ.

72 .
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตกล้องสำหรับนัตถุ์ที่ทำด้วยกระดูกทำด้วยงา ทำด้วยเขา ทำด้วยเปลือกสังข์

73.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตกล้องสำหรับนัตถุ์ ประกอบด้วยหลอดคู่
74 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สูดควัน
75 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตกล้องสูดควัน

76 .
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้กล้องสูดควันชนิดต่างๆ (คือ ชนิดที่ทำด้วยทองคำบ้าง ชนิดที่ทำด้วยเงินบ้าง) รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ.

77 .
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตกล้องสูดควันที่ทำด้วยกระดูก ทำด้วยงา ทำด้วยเขา ทำด้วยเปลือกสังข์.
78 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตฝาปิด (กล้องสูดควัน).
79. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตถุงกล้องสูดควัน
80. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตถุงคู่ (สำหรับกล้องสูดควัน)หูสำหรับสะพายไม่มีตรัสว่า
81 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเชือกผูกเป็นสายสะพาย.

หน้า 433
ข้ออนุญาตเกี่ยวกับอาพาธโรคลม
[๓๙]
82 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำมันที่หุง.
83. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เจือน้ำเมาลงในน้ำมันที่หุง.
84 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงดื่มน้ำมันที่เจือน้ำเมาลงไปเกินขนาดรูปใดดื่ม พึงปรับอาบัติตามธรรม.

85 .
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ดื่มน้ำมันเจือน้ำเมา ชนิดที่เขาหุงไม่ปรากฏสี กลิ่น และรสของน้ำเมา. สมัยต่อมาน้ำมันที่พวกภิกษุหุงเจือน้ำเมาลงไปเกินขนาดมีมากครั้งนั้นภิกษุทั้งหลายได้มีความปริวิตกว่าจะพึงปฏิบัติ ในน้ำมันที่เจือน้ำเมาลงไปเกินขนาดอย่างไรหนอตรัสว่า

86 .
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ตั้งเอาไว้เป็นยาทา.สมัยต่อมาท่านพระปิลินทวัจฉะหุงน้ำมันไว้มากภาชนะสำหรับบรรจุ้ำมันไม่มีตรัสว่า

87 .
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตลักจั่น ๓ ชนิด คือ ลักจั่นทำด้วยโลหะ ๑ ลักจั่นทำด้วยไม้ ๑ ลักจั่นทำด้วยผลไม้ ๑.สมัยต่อมาท่านพระปิลินทวัจฉะอาพาธเป็นโรคลมตามอวัยวะตรัสว่า

88 .
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตการเข้ากระโจม.
89. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตการรมใบไม้ต่างๆ.
90. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำที่ต้มเดือดด้วยใบไม้ต่างชนิด.
91. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตอ่างน้ำ.

หน้า 434
ข้ออนุญาตเกี่ยวกับอาพาธโรคลมเสียดยอกตามข้อ

[๔๐]
92. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ระบายโลหิตออก
93. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ระบายโลหิตออกแล้วกรอกด้วยเขา.

หน้า 434-1
ข้ออนุญาตเกี่ยวกับอาพาธเท้าแตก

[๔๑]
94. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตยาทาเท้า
95. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ปรุงน้ำมันทาเท้า.

หน้า 434-2
ข้ออนุญาตเกี่ยวกับอาพาธเป็นโรคฝี

[๔๒]
96. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตการผ่าตัด.
97. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำฝาด.
98. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตงาที่บดแล้ว.
99. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตยาพอก.
100. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้าพันแผล.แผลคันตรัสว่า
101. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ชะด้วยน้ำแป้งเมล็ดพรรณผักกาด.
แผลชื้นหรือเป็นฝ้าตรัสว่า
102. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้รมควันเนื้องอกยื่นออกมาตรัสว่า
103. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ตัดด้วยก้อนเกลือแผลไม่งอกตรัสว่า
104. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำมันทาแผล
105. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้าเก่าสำหรับซับน้ำมันและการรักษาบาดแผลทุกชนิด.

หน้า 435
ทรงอนุญาตยามหาวิกัฏ
อย่าง
[๔๓]
ก็โดยสมัยนั้นแลภิกษุรูปหนึ่งถูกงูกัดตรัสว่า
106. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้ยามหาวิกัฏ ๔ อย่าง คือคูถ มูตร เถ้า ดิน.ต่อมาภิกษุทั้งหลายคิด สงสัยว่ายามหาวิกัฏไม่ต้องรับประเคนหรือต้องรับประเคนตรัสว่า

107.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุรับประเคน ในเมื่อมีกัปปิยการก เมื่อกัปปิยการกไม่มี ให้ภิกษุหยิบบริโภคเองได้.สมัยต่อมาภิกษุรูปหนึ่งดื่มยาพิษเข้าไปตรัสว่า

108.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ดื่มน้ำเจือคูถต่อมาภิกษุทั้งหลายคิดสงสัยว่าน้ำเจือคูถนั้นจะไม่ต้อง รับประเคนหรือต้องรับประเคนตรัสว่า

109.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตคูถที่ภิกษุหยิบไว้ตอนกำลังถ่ายนั่นแหละเป็นอันประเคนแล้ว ไม่ต้องรับ ประเคนอีก.

หน้า 435-1
ข้ออนุญาตเกี่ยวกับอาพาธด้วยโรคต่างๆ

[๔๔]
ก็โดยสมัยนั้นแลภิกษุรูปหนึ่งอาพาธถูกยาแฝดตรัสว่า
110. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ดื่มน้ำที่เขาละลายจากดินรอยไถ ซึ่งติดผาล. สมัยต่อมาภิกษุรูปหนึ่ง อาพาธ เป็นพรรดึก (1) ตรัสว่า

111 .
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ดื่มน้ำด่างอามิส.
………………………………………………………………………………
1. อุจจาระที่เป็นก้อนแข็งกลม หรือ โรคท้องผูก –ผู้รวบรวม
………………………………………………………………………………
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ดื่มยาผลสมอดองน้ำมูตรโค.สมัยต่อมาภิกษุรูปหนึ่งอาพาธเป็นโรคผิวหนังตรัสว่า
113. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทำการลูบไล้ด้วยของหอม.สมัยต่อมาภิกษุรูปหนึ่งมีกายกอปรด้วยโทษมากตรัสว่า

114 .
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ดื่มยาประจุถ่าย ภิกษุนั้นมีความต้องการน้ำข้าวใสตรัสว่า
115 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำข้าวใส.ภิกษุนั้นมีความต้องการด้วยน้ำถั่วเขียวต้มที่ไม่ข้นตรัสว่า

116 .
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำถั่วเขียวต้มที่ไม่ข้น. ภิกษุนั้นมีความต้องการด้วยน้ำถั่วเขียวต้ม ที่ข้นนิดหน่อยตรัสว่า

117 .
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำถั่วเขียวต้มที่ข้นนิดหน่อย. ภิกษุนั้นมีความต้องการด้วยน้ำเนื้อต้มตรัสว่า
118 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำเนื้อต้ม.

หน้า 436
ทรงอนุญาตอารามิก

119. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้มีคนทำการวัด.

หน้า 436-1
ทรงอนุญาตเภสัช
เพิ่มเติม
[๔๗]
12 0. อนึ่ง มีเภสัชอันควรลิ้มของภิกษุผู้อาพาธ คือ เนยใส เนยข้น น้ำมันน้ำผึ้ง น้ำอ้อย ภิกษุรับประเคนของ นั้นแล้ว พึงเก็บไว้ฉันได้ ๗ วันเป็นอย่างยิ่ง ภิกษุให้ล่วงกำหนดนั้นไป พึงปรับอาบัติตามธรรม.

หน้า 437
ทรงอนุญาตงบน้ำอ้อย

[๔๘]
121 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าคนทั้งหลายผสมแป้งบ้าง เถ้าบ้าง ลงในงบน้ำอ้อย เพื่อประสงค์ให้เกาะกันแน่น งบน้ำอ้อยนั้นก็ยังถึงความนับว่า งบน้ำอ้อยนั่นแหละ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ฉันงบน้ำอ้อยตาม สบาย.

หน้า 437-1
ทรงอนุญาตถั่วเขียวต้ม

122 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถั่วเขียวแม้ที่ต้มแล้ว ก็ยังงอกได้ เราอนุญาตให้ฉันถั่วเขียวได้ตามสบาย.

หน้า 437-2
ทรงอนุญาตยาดองโลณโสจิรกะ

123. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุอาพาธฉันยาดองโลณโสจิรกะได้ตามสบาย แต่ภิกษุไม่อาพาธ ต้องเจือ น้ำฉันอย่างน้ำปานะ.

หน้า 438
ทรงห้ามเก็บอาหารไว้ในที่อยู่
เป็นต้น
[๔๙]
…ดูกรอานนท์ การกระทำของเธอนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร มิใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ดูกรอานนท์ ไฉนเธอจึงได้พอใจในความมักมากเช่นนี้เล่า ดูกรอานนท์ อามิสที่เก็บไว้ในภายในที่อยู่ เป็นอกัปปิยะ แม้ที่หุงต้มใน ภายในที่อยู่ ก็เป็นอกัปปิยะ แม้ที่หุงต้มเองก็เป็นอกัปปิยะ …
[๔๙]
124 . …ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงฉันอามิสที่เก็บไว้ในภายในที่อยู่ ที่หุงต้มในภายในที่อยู่ และที่หุงต้ม เอง รูปใดฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ.

125 .
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อามิส ถ้าเก็บไว้ในภายในที่อยู่ หุงต้มในภายในที่อยู่ และหุงต้มเอง ถ้าภิกษุฉันอามิส นั้น ต้องอาบัติทุกกฏ ตัว.

126 .
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อามิส ถ้าเก็บไว้ในภายในที่อยู่ หุงต้มในภายในที่อยู่ แต่ผู้อื่นหุงต้ม ถ้าภิกษุฉันอามิส ต้องอาบัติทุกกฏ ตัว

127 .
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อามิส ถ้าเก็บไว้ในภายในที่อยู่ แต่หุงต้มในภายนอก และหุงต้มเอง ถ้าภิกษุฉันอามิส นั้น ต้องอาบัติทุกกฏ๒ ตัว

128 .
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อามิส ถ้าเก็บไว้ในภายนอก แต่หุงต้มในภายในและหุงต้มเอง ถ้าภิกษุฉันอามิสนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ ตัว

129.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อามิส ถ้าเก็บไว้ในภายในที่อยู่ แต่หุงต้มในภายนอก และผู้อื่นหุงต้ม ถ้าภิกษุฉัน อามิสนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ
ตัวเดียว

130.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อามิส ถ้าเก็บไว้ในภายนอก หุงต้มในภายใน แต่ผู้อื่นหุงต้ม ถ้าภิกษุฉันอามิสนั้น ต้องอาบัติทุกกฏตัวเดียว

131.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อามิส ถ้าเก็บไว้ในภายนอก หุงต้มในภายนอกแต่หุงต้มเอง ถ้าภิกษุฉันอามิสนั้น ต้องอาบัติทุกกฏตัวเดียว.

132.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อามิส ถ้าเก็บไว้ในภายนอก หุงต้มในภายนอกและผู้อื่นหุงต้ม ถ้าภิกษุฉันอามิสนั้นแล ไม่ต้องอาบัติ.

หน้า 438-1
ทรงอนุญาตให้อุ่นโภชนาหาร
[๕๐]
133. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้อุ่นภัตตาหารที่ต้องอุ่น.

หน้า 439
ทรงอนุญาตเก็บอาหารไว้ในที่อยู่(1) เป็นต้น
[๕๑]
ก็โดยสมัยนั้นแลพระนครราชคฤห์บังเกิดทุพภิกขภัยคนทั้งหลายนำเกลือบ้างน้ำมันบ้างข้าวสารบ้างของควร เคี้ยวบ้างมายังอารามภิกษุทั้งหลายให้เก็บของเหล่านั้นไว้ข้างนอกสัตว์ต่างๆกินเสียบ้างพวกโจรลักเอาไปบ้างตรัสว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เก็บไว้ ณ ภายในได้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้หุงต้มในภายใน.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้หุงต้มเอง.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตอามิสที่เก็บไว้ในภายในที่อยู่ ที่หุงต้มในภายในที่อยู่ และที่หุงต้มเอง.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตภิกษุเห็นของขบเคี้ยว คือ ผลไม้ในที่ใดถึงกัปปิยการกไม่มี ก็ให้หยิบนำไปเอง พบกัปปิยการกแล้ว วางไว้บนพื้นดินให้กัปปิยการกประเคนแล้วฉัน.ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้รับประเคน สิ่งของที่ภิกษุถูกต้องแล้วได้.
[๕๓]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงรับประเคนฉันเถิด เราอนุญาตให้ภิกษุฉันเสร็จ ห้ามภัตแล้ว ฉันโภชนะอันไม่ เป็นเดน ซึ่ง (ทายก) นำมาจากสถานที่ฉัน.
[๕๔]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงรับประเคนฉันเถิด เราอนุญาตให้ภิกษุผู้ฉันเสร็จ ห้ามภัตรแล้ว ฉันโภชนะอัน ไม่เป็นเดน ซึ่งรับประเคนไว้ในปุเรภัตรได้.
[๕๕]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงรับประเคนฉันเถิด เราอนุญาตให้ภิกษุผู้ฉันเสร็จ ห้ามภัตแล้ว ฉันโภชนะอัน ไม่เป็นเดน ซึ่งเกิดในป่าเกิดในสระบัว.
……………………………………………………………………
1. เมื่อพ้นจากทุพภิกขภัย ทรงยกเลิกข้ออนุญาตเหล่านี้ในภายหลัง ดังปรากฏในหน้า 442 แห่ง หนังสือเล่มนี้ –ผู้รวบรวม

หน้า 440
ทรงอนุญาตผลไม้ที่ใช้เพาะพันธุ์ไม่ได้
[๕๖]
134. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ฉันผลไม้ที่ใช้เพาะพันธุ์ไม่ได้หรือที่ปล้อนเมล็ดออกแล้ว ยังมิได้ทำ กัปปะ ก็ฉันได้.

หน้า
440-1
ทรงห้ามทำสัตถกรรมและวัตถิกรรม

[๕๗]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย การกระทำของโมฆบุรุษนั้นไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควรมิใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฉนโมฆบุรุษนั้นจึงได้ให้ทำสัตถกรรมในที่แคบเล่า ในที่แคบมีผิวเนื้ออ่อน แผลงอกเต็ม ยากผ่าตัด ไม่สะดวก…

135.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงให้ทำสัตถกรรมในที่แคบ รูปใดให้ทำ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.

136.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงให้ทำสัตถกรรม หรือวัตถิกรรมในที่ประมาณ ๒ นิ้วโดยรอบแห่งที่แคบ รูปใดให้ทำ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.

หน้า 440-2
ทรงห้ามฉันเนื้อ
๑๐ อย่าง
[๕๙]
137. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงฉันเนื้อมนุษย์ รูปใดฉัน ต้องอาบัติถุลลัจจัย
138. อนึ่ง ภิกษุยังมิได้พิจารณา ไม่พึงฉันเนื้อ รูปใดฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ.
[๖๐]
139. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงฉันเนื้อช้าง รูปใดฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ.
14 0. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงฉันเนื้อม้า รูปใดฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ.
141 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงฉันเนื้อสุนัข รูปใดฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ.
142 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงฉันเนื้องู รูปใดฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ.
143. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงฉันเนื้อราชสีห์ รูปใดฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ.
144 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงฉันเนื้อเสือโคร่ง รูปใดฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ
145 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงฉันเนื้อเสือเหลือง รูปใดฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ.
146 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงฉันเนื้อหมี รูปใดฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ.
147 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงฉันเนื้อเสือดาว รูปใดฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ.

หน้า
441
ข้าวยาคูมีคุณ ๑๐ อย่าง
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้กะพราหมณ์นั้นผู้นั่งอยู่ที่ควรส่วนข้างหนึ่งว่า ดูกรพราหมณ์ ข้าวยาคูมีคุณ ๑๐ อย่างนี้ ๑๐ อย่างเป็นไฉน คือ ผู้ให้ข้าวยาคู ชื่อว่าให้อายุ ๑ ให้วรรณะ ๑ ให้สุข ๑ ให้กำลัง ๑ ให้ปฏิภาณ ๑ ข้าวยาคู ที่ดื่มแล้วกำจัดความหิว ๑ บรรเทาความระหาย ๑ ทำลมให้เดินคล่อง ๑ ล้างลำไส้ ๑ ย่อยอาหารใหม่ที่เหลืออยู่ ๑.

ดูกรพราหมณ์ ข้าวยาคูมีคุณ ๑๐ อย่างนี้แล.

หน้า 441-1
ทรงอนุญาตข้าวยาคูและขนมปรุงด้วยน้ำหวาน
[๖๓]
148 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตข้าวยาคู และขนมปรุงด้วยน้ำหวาน.

149. …ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอันทายกนิมนต์ไว้แห่งอื่น ไม่พึงฉันยาคูที่แข้นของผู้อื่น รูปใดฉัน พึงปรับอาบัติ ตามธรรม.

หน้า 442
ทรงอนุญาตงบน้ำอ้อย
[๖๖]
150. …ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตงบน้ำอ้อยแก่ภิกษุผู้อาพาธ และงบน้ำอ้อยละลายน้ำ แก่ภิกษุผู้ไม่ อาพาธ.

หน้า 442-1
ทรงห้ามฉันเนื้อที่ทำเฉพาะ
[๘๐]
151 . …ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรู้อยู่ไม่พึงฉันเนื้อที่เขาทำจำเพาะรูปใดฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ.
152 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต ปลา เนื้อ ที่บริสุทธิ์โดยส่วนสามคือ ไม่ได้เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้รังเกียจ.

หน้า 442-2
ทรงห้ามภัตตาหารบางชนิด
[๘๑]
15 3. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภัตตาหารที่เราอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลาย เมื่อคราวอัตคัดอาหาร มีข้าวกล้าน้อย บิณฑบาตได้ฝืดเคือง คืออาหารที่เก็บไว้ภายในที่อยู่ ๑ อาหารที่หุงต้มภายในที่อยู่ ๑ อาหารที่หุงต้มเอง ๑ อาหารที่จับต้องแล้วประเคนใหม่ ๑ อาหารที่ทายกนำมาจากที่นิมนต์นั้น ๑ อาหารที่รับประเคนฉันในปุเรภัต ๑ อาหารที่เกิดในป่าและเกิดในสระบัว ๑ ภัตตาหารเหล่านั้น เราห้ามจำเดิมนี้เป็นต้นไป.

154 .
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงฉันอาหารที่เก็บไว้ภายในที่อยู่ อาหารที่หุงต้มภายในที่อยู่ อาหารที่หุง ต้มเอง อาหารที่จับต้องแล้วประเคนใหม่ รูปใดฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ.

อาจารโคจรสมฺปนฺนา
155 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนอาหารที่ทายกนำมาจากที่นิมนต์นั้น อาหารที่รับประเคนฉันในปุเรภัต อาหาร ที่เกิดในป่าและเกิดในสระบัว ยังไม่เป็นเดน ภิกษุฉันเสร็จ ห้ามภัตแล้วไม่พึงฉัน รูปใดฉัน พึงปรับอาบัติตามธรรม.

หน้า 443
ทรงอนุญาตกัปปิยภูมิ
[๘๒]
156 . ดูกรอานนท์ ถ้าเช่นนั้น สงฆ์จงสมมติวิหารที่ตั้งอยู่สุดเขตวัด ให้เป็นสถานที่เก็บของกัปปิยะ แล้วให้เก็บ ไว้ใน สถานที่ที่สงฆ์จำนงหมายคือวิหาร เรือนมุงแถบเดียว เรือนชั้น เรือนโล้น หรือถ้ำก็ได้.

วิธีสมมติกัปปิยภูมิ
157 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงสมมติอย่างนี้ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติ ทุติย-กรรมวาจา ว่าดังนี้ :-

กรรมวาจาสมมติกัปปิยภูมิ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสมมติวิหารมีชื่อนี้ให้เป็น กัปปิยภูมิ นี้เป็นญัตติท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์สมมติวิหารมีชื่อนี้ให้เป็นกัปปิยภูมิ การสมมติ วิหารมีชื่อนี้ ให้เป็น กัปปิยภูมิ ชอบแก่ท่านผู้ใดท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด วิหารมีชื่อนี้ สงฆ์สมมติให้เป็น กัปปิยภูมิแล้ว ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.

หน้า 444
ทรงอนุญาตกัปปิยภูมิ
ชนิด
158 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้สถานที่กัปปิยภูมิซึ่งสงฆ์สมมติรูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ.
159. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตสถานที่กัปปิยภูมิ ๓ ชนิด คืออุสสาวนันติกา ๑ โคนิสาทิกา ๑ คหปติกา ๑.

หน้า
444-1
ทรงอนุญาตกัปปิยภูมิ ชนิด
สมัยต่อมาท่านพระยโสชะอาพาธชาวบ้านนำเภสัชมาถวายท่านภิกษุทั้งหลายให้เก็บเภสัชเหล่านั้นไว้ข้างนอกสัตว์กินเสียบ้างขโมยลักไปเสียบ้างตรัสว่า

160.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้สถานที่กัปปิยภูมิที่สงฆ์สมมติ.

161 .
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตสถานที่กัปปิยภูมิ ๔ ชนิด คืออุสสาวนันติกา ๑ โคนิสาทิกา ๑ คหปติกา ๑ สมมติกา ๑.

หน้า 444-2
เมณฑกานุญาต
[๘๕]
162 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตโครส ๕ คือ นมสด นมส้ม เปรียงเนยข้น เนยใส.

163.
มีอยู่ ภิกษุทั้งหลาย หนทางกันดารอัตคัดน้ำ อัตคัตอาหาร ภิกษุไม่มีเสบียงจะเดินทางไปทำไม่ได้ง่าย เราอนุญาตให้แสวงหาเสบียงได้คือ ภิกษุต้องการข้าวสาร พึงแสวงหาข้าวสาร ต้องการถั่วเขียวพึงแสวงหา ถั่วเขียว ต้องการถั่วราชมาส พึงแสวงหาถั่วราชมาสต้องการเกลือ พึงแสวงหาเกลือ ต้องการน้ำอ้อย พึงแสวงห าน้ำอ้อย ต้องการน้ำมัน พึงแสวงหาน้ำมัน ต้องการเนยใส ก็พึงแสวงหาเนยใส.

164 . มีอยู่ ภิกษุทั้งหลาย ชาวบ้านที่มีศรัทธาเลื่อมใส เขามอบเงินทองไว้ในมือกัปปิยการกสั่งว่า สิ่งใดควร แก่พระ ผู้เป็นเจ้า ขอท่านจงถวายสิ่งนั้นด้วยกัปปิยภัณฑ์นี้. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ยินดีของอันเป็น กัปปิยะ จาก กัปปิยภัณฑ์นั้นได้ แต่เรามิได้กล่าวว่าพึงยินดี พึงแสวงหาทองและเงินโดยปริยายไรๆ เลย.

หน้า
445
ทรงอนุญาตน้ำอัฏฐบาน

[๘๖]
165 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำปานะ ๘ ชนิด คือ น้ำปานะทำด้วยผลมะม่วง ๑ น้ำปานะทำด้วย ผลหว้า ๑ น้ำปานะทำด้วยผลกล้วยมีเมล็ด ๑ น้ำปานะทำด้วยผลกล้วยไม่มีเมล็ด ๑ น้ำปานะทำด้วยผล มะทราง ๑ น้ำปานะทำด้วยผลจันทน์หรือองุ่น ๑น้ำ ปานะทำ ด้วยเง่าบัว ๑ น้ำ ปานะทำ ด้วยผลมะปราง หรือลิ้นจี่ ๑.

166 .
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำผลไม้ทุกชนิด เว้นน้ำต้มเมล็ดข้าวเปลือก.
167 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำใบไม้ทุกชนิด เว้นน้ำผักดอง.
168 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำดอกไม้ทุกชนิด เว้นน้ำดอกมะทราง.
16 9. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำอ้อยสด.

หน้า
445-1
ทรงอนุญาตผักและแป้ง
[๘๘]
170. …ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผักสดทุกชนิด และของขบฉันที่ทำด้วยแป้งทุกชนิด.

หน้า 446

ทรงห้ามภิกษุผู้เคยเป็นช่างกัลบกเก็บรักษามีดโกน
[๘๙]
171 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรพชิตไม่พึงชักจูงทายกในสิ่งอันไม่ควร รูปใดชักจูง ต้องอาบัติทุกกฏ.
172 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุผู้เคยเป็นช่างกัลบก ไม่พึงเก็บรักษาเครื่องตัดโกนผมไว้สำหรับตัว รูปใดเก็บ รักษาไว้ ต้องอาบัติทุกกฏ.

หน้า
446-1
ทรงอนุญาตผลไม้
[๙๐]
173. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผลไม้ทุกชนิด.
[๙๑]
174 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย พืชของสงฆ์ที่เพาะปลูกในที่ของบุคคล พึงให้ส่วนแบ่งแล้วบริโภค พืชของบุคคล ที่เพาะ ปลูกในที่ของสงฆ์ พึงให้ส่วนแบ่งแล้วบริโภค.

หน้า 446-2
มหาประเทศ

[๙๒]
175 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดที่เราไม่ได้ห้ามไว้ว่า สิ่งนี้ไม่ควร หากสิ่งนั้นเข้ากับสิ่งที่ไม่ควร ขัดกับสิ่งที่ควร สิ่งนั้นไม่ควรแก่เธอทั้งหลาย.

176 .
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่เราไม่ได้ห้ามไว้ว่า สิ่งนี้ไม่ควร หากสิ่งนั้นเข้ากับสิ่งที่ควร ขัดกับสิ่งที่ไม่ควร สิ่งนั้นควรแก่เธอทั้งหลาย.

177 .
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดที่เราไม่ได้อนุญาตไว้ว่า สิ่งนี้ควร หากสิ่งนั้นเข้ากับสิ่งที่ไม่ควร ขัดกับสิ่ง ที่ควร สิ่งนั้นไม่ควรแก่เธอทั้งหลาย.

178 .
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดที่เราไม่ได้อนุญาตไว้ว่า สิ่งนี้ควร หากสิ่งนั้นเข้ากับสิ่งที่ควร ขัดกับสิ่งที่ ไม่ควร สิ่งนั้นควรแก่เธอทั้งหลาย.

หน้า 447
ทรงอนุญาตกาลิกระคน
[๙๓]
179. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ยามกาลิกระคนกับยาวกาลิกที่รับประเคนในวันนั้น ควรในกาล ไม่ควรในวิกาล
180. สัตตาหกาลิกระคนกับยาวกาลิกที่รับประเคนในวันนั้น ควรในกาลไม่ควรในวิกาล
181 . ยาวชีวิกระคนกับยาวกาลิกที่รับประเคนในวันนั้น ควรในกาล ไม่ควรในวิกาล
182 . สัตตาหกาลิกระคนกับยามกาลิกที่รับประเคนในวันนั้น ควรชั่วยามล่วงยามแล้วไม่ควร.
18 3. ยาวชีวิกระคนกับยามกาลิกที่รับประเคนในวันนั้น ควรชั่วยามล่วงยามแล้วไม่ควร.
184 . ยาวชีวิกระคนกับสัตตาหกาลิกที่รับประเคนในวันนั้น ควรตลอด๗ วัน ล่วง ๗ วันแล้วไม่ควร.
เภสัชชขันธกะจบ.



หน้า 448
ขันธ์ที่ ๓ : กฐินขันธกะ
หมวดว่าด้วยกฐิน

หน้า 448-1
ทรงอนุญาตให้กรานกฐิน

[๙๖]
185 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลาย ผู้จำพรรษาแล้วได้กรานกฐิน พวกเธอผู้ได้กรานกฐิน แล้ว จักได้อานิสงส์ ๕ ประการ คือ
1. เที่ยวไปไหนไม่ต้องบอกลา
2. ไม่ต้องถือไตรจีวรไปครบสำรับ
3. ฉันคณะโภชน์ได้
4. ทรงอติเรกจีวรไว้ได้ตามปรารถนา
5. จีวรอันเกิดขึ้น ณ ที่นั้นจักได้แก่พวกเธอ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ ๕ ประการนี้ จักได้แก่เธอทั้งหลายผู้ได้กรานกฐินแล้ว.

วิธีกรานกฐิน

186 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงกรานกฐินอย่างนี้ คือ ภิกษุผู้ฉลาดผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบ ด้วย ญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้ :-

กรรมวาจาให้ผ้ากฐิน
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผ้ากฐินผืนนี้เกิดแล้วแก่สงฆ์ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้ ผ้ากฐิน ผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้ เพื่อกรานกฐิน นี้เป็นญัตติท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผ้ากฐินผืนนี้เกิดแล้ว แก่สงฆ์สงฆ์ ให้ผ้ากฐินผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้เพื่อกรานกฐิน การให้ผ้ากฐินผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้ เพื่อกรานกฐิน ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้ นั้นพึงเป็นผู้นิ่งไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด ผ้ากฐินผืนนี้ สงฆ์ให้แล้วแก่ภิกษุ มีชื่อนี้ เพื่อกรานกฐิน ชอบแก่ สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้ แล กฐินเป็นอันกราน อย่างนี้ไม่เป็น อันกราน.

กฐินไม่เป็นอันกราน
[๙๗]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างไรเล่า กฐินไม่เป็นอันกราน คือ :-
1. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงขีดรอย
2. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงซักผ้า
3. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงกะผ้า
4. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงตัดผ้า
5. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงเนาผ้า
6. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงเย็บด้น
7. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงทำลูกดุม
8. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงทำรังดุม
9. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงประกอบผ้าอนุวาต
10 . กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงประกอบผ้าอนุวาตด้านหน้า
11 . กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงดามผ้า
12 . กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงย้อมเป็นสีหม่นเท่านั้น
13 . กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยผ้าที่ทำนิมิตได้มา
14 . กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยผ้าที่พูดเลียบเคียงได้มา
15 . กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยผ้าที่ยืมเขามา
16 . กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยผ้าที่เก็บไว้ค้างคืน
17 . กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยผ้าที่เป็นนิสสัคคีย์
18 . กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยผ้าที่มิได้ทำกัปปะพินทุ
19. กฐินไม่เป็นอันกราน เว้นจากผ้าสังฆาฏิเสีย
20 . กฐินไม่เป็นอันกราน เว้นจากผ้าอุตราสงค์เสีย
21 . กฐินไม่เป็นอันกราน เว้นจากผ้าอันตรวาสกเสีย
22 . กฐินไม่เป็นอันกราน เว้นจากจีวรมีขัณฑ์ หรือเกิน ซึ่ง ตัดดีแล้ว ทำให้มีมณฑลเสร็จในวันนั้น
23 . กฐินไม่เป็นอันกราน เว้นจากการกรานแห่งบุคคล
24 . กฐินไม่เป็นอันกรานโดยชอบ ถ้าภิกษุผู้อยู่นอกสีมา อนุโมทนากฐินนั้น แม้อย่างนี้กฐิน ก็เชื่อว่าไม่เป็นอันกราน.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล กฐินไม่เป็นอันกราน.

กฐินเป็นอันกราน
[๙๘]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างไรเล่า กฐินเป็นอันกราน คือ :-

1. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าใหม่
2. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าเทียมใหม
3. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าเก่า
4. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าบังสุกุล
5. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าที่ตกตามร้าน
6. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าที่ไม่ได้ทำนิมิตได้มา
7. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าที่ไม่ได้พูดเลียบเคียงได้มา
8. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าที่ไม่ได้ยืมเขามา
9. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าที่ไม่ได้เก็บไว้ค้างคืน
10 . กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าที่ไม่ได้เป็นนิสสัคคีย
11 . กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าที่ทำกัปปะพินทุแล้ว
12 . กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าสังฆาฏิ
13 . กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าอุตราสงค์
14 . กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าอันตรวาสก
15 . กฐินเป็นอันกราน ด้วยจีวรมีขัณฑ์ หรือเกิน ซึ่งตัดดีแล้ว ทำให้มีมณฑลเสร็จใน วันนั้น
16 . กฐินเป็นอันกราน เพราะการแห่งบุคคล
17 . กฐินเป็นอันกราน ถ้าภิกษุอยู่ในสีมาอนุโมทนากฐินนั้นแม้อย่างนี้ กฐินก็ชื่อว่าเป็นอันกราน.ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล กฐินเป็นอันกราน.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างไรเล่า กฐินเป็นอันเดาะ.

มาติกา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย มาติกาเพื่อเดาะกฐิน ๘ ข้อนี้ คือ :-
1. กำหนดด้วยหลีกไป
2. กำหนดด้วยจีวรทำเสร็จ
3. กำหนดด้วยตกลงใจ
4. กำหนดด้วยผ้าเสียหาย
5. กำหนดด้วยได้ยินข่าว
6. กำหนดด้วยสิ้นหวัง
7. กำหนดด้วยล่วงเขต
8. กำหนดด้วยเดาะพร้อมกัน.

อาทายสัตตกะ ที่ 1 (การเดาะกฐินด้วยการถือจีวรหลีกไป)
[๑๐๐]
๑. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว ถือจีวรที่ทำเสร็จแล้วหลีกไป ด้วยคิดว่าจักไม่กลับมา การเดาะกฐิน ของภิกษุนั้น กำหนดด้วยหลีกไป.

๒. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว ถือจีวรหลีกไป เธออยู่นอกสีมา เกิดความคิดอย่างนี้ว่า จักให้ทำจีวร ผืนนี้ ณ ภายนอกสีมานี้แหละ จักไม่กลับมาละ เธอให้ทำจีวรผืนนั้นเสร็จ การเดาะกฐินของภิกษุนั้น
กำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ.

๓. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว ถือจีวรหลีกไป เธออยู่นอกสีมา เกิดความคิดอย่างนี้ว่า จักไม่ให้จีวรผืนนี้ จักไม่กลับ การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วยตกลงใจ.
…………………………………………………………………………………
1. พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับหลวง ปีพิมพ์ พ.ศ. 25 ๒๕ ใช้ว่า อาทายสัตกะ ที่ ๖ แต่ในปีพิมพ์ พ.ศ. ๒๕๐๐ และ พ.ศ. ๒๕๑๔ ใช้ว่า อาทายสัตกะ ที่ ๑ ซึ่งบาลีตอนจบมีว่า อาทายสตฺตกํํ นิฏฺฐิตํ ปฐมํ แปลได้ว่า อาทายสัตกะ ที่ ๑ จบ –ผู้รวบรวม

๔. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว ถือจีวรหลีกไป เธออยู่นอกสีมาเกิดความคิดอย่างนี้ว่า จักให้ทำจีวรผืนนี้ ณ ภายนอกสีมานี้แหละจักไม่กลับ แล้วทำจีวรผืนนั้น จีวรของเธอ ที่กำลังทำอยู่นั้นได้เสียหาย การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วยผ้าเสียหาย.

๕. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว ถือจีวรหลีกไป ด้วยคิดว่าจักกลับมาเธออยู่นอกสีมา ให้ำจีวรผืนนั้น ครั้นทำจีวรเสร็จแล้ว ได้ยินข่าวว่าในอาวาสนั้นกฐินเดาะเสียแล้ว การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วยได้ยินข่าว.

๖. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว ถือจีวรหลีกไป ด้วยคิดว่าจักกลับมาเธออยู่นอกสีมา ให้ทำจีวรผืนนั้น ครั้นทำจีวรเสร็จ คิดว่าจักกลับมาจักกลับมา แล้วล่วงคราวกฐินเดาะ ณ ภายนอกสีมา การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วยล่วงเขต.

๗. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว ถือจีวรหลีกไป ด้วยคิดว่าจักกลับมาเธออยู่นอกสีมา ให้ทำจีวรผืนนั้น ครั้นทำจีวรเสร็จ คิดว่าจักกลับมาจักกลับมา แล้วกลับมาทันกฐินเดาะ การเดาะกฐินของภิกษุนั้น
(ชื่อว่าเดาะ) พร้อมกับภิกษุทั้งหลาย.

สมาทายสัตตกะ ที่ (การเดาะกฐินด้วยการนำจีวรติดตัวหลีกไป)
[๑๐๑]

๑. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว นำจีวรที่ทำเสร็จแล้วหลีกไป ด้วยคิดว่าจักไม่กลับมา การเดาะกฐิน ของภิกษุนั้น กำหนดด้วยหลีกไป.

๒. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว นำจีวรหลีกไป เธออยู่นอกสีมาเกิดความคิดอย่างนี้ว่า จักให้ทำจีวรผืนนี้ ณ ภายนอกสีมานี้แหละจักไม่กลับ เธอให้ทำจีวรผืนนั้นเสร็จ การเดาะกฐินของภิกษุนั้นกำหนด ด้วยทำจีวรเสร็จ.

๓. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว นำจีวรหลีกไป เธออยู่นอกสีมาเกิดความคิดอย่างนี้ว่า จักไม่ให้ทำจีวร ผืนนี้ จักไม่กลับ การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วยตกลงใจ.

๔. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว นำจีวรหลีกไป เธออยู่นอกสีมา เกิดความคิดอย่างนี้ว่า จักให้ทำจีวรผืนนี้ ณ ภายนอกสีมา นี้แหละจักไม่กลับ เธอให้ทำจีวรผืนนั้น จีวรของเธอที่ทำอยู่นั้น ได้เสียหายการ เดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วย ผ้าเสียหาย.

๕. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว นำจีวรหลีกไป ด้วยคิดว่าจักกลับมาเธออยู่นอกสีมา ให้ทำจีวรผืนนั้น ครั้นทำจีวรเสร็จแล้ว ได้ยินข่าวว่าในอาวาสนั้น กฐินเดาะเสียแล้ว การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วยได้ยินข่าว.

๖. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว นำจีวรหลีกไป ด้วยคิดว่าจักกลับมาเธออยู่นอกสีมา ให้ทำจีวรผืนนั้น ครั้นทำจีวรเสร็จแล้วคิดว่า จักกลับมาจักกลับมา แล้วล่วงคราวกฐินเดาะ ณ ภายนอกสีมา การเดาะ กฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วยล่วงเขต.

๗. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว นำจีวรหลีกไป ด้วยคิดว่าจักกลับมาเธออยู่ ณ ภายนอกสีมาให้ทำจีวร ผืนนั้น ครั้นทำจีวร เสร็จแล้ว คิดว่าจักกลับมา จักกลับมา แล้วกลับมาทันกฐินเดาะ การเดาะกฐิน ของภิกษุนั้น (ชื่อว่าเดาะ) พร้อมกับ ภิกษุทั้งหลาย.

อาทายฉักกะ ที่ (การเดาะกฐินด้วยการถือจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป)
[๑๐๒]
๑. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว ถือจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป เธออยู่นอกสีมา เกิดความคิดอย่างนี้ว่า เราจักให้ทำจีวรผืนนี้ ณ ภายนอกสีมานี้แหละ จักไม่กลับ แล้วให้ทำจีวรผืนนั้นเสร็จ การเดาะกฐิน ของภิกษุนั้น กำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ.

๒. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว ถือจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป เธออยู่นอกสีมา เกิดความคิดอย่างนี้ว่า จักไม่ให้ทำจีวรผืนนี้ จักไม่กลับมาการเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วยตกลงใจ.

๓. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว ถือจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป เธออยู่นอกสีมา เกิดความคิดอย่างนี้ว่า จักให้ทำจีวรผืนนี้ ณ ภายนอกสีมานี้แหละ จักไม่กลับ แล้วให้ทำจีวรผืนนั้น จีวรของเธอที่ทำ อยู่นั้นได้เสียหาย การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วยผ้าเสียหาย.

๔. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว ถือจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป ด้วยคิดว่าจักกลับมา เธออยู่นอกสีมา ให้ทำจีวรผืนนั้น ครั้นทำจีวรเสร็จแล้วได้ทราบข่าวว่า ในอาวาสนั้นกฐินเดาะแล้ว การเดาะกฐิน ของภิกษุนั้นกำหนดด้วยได้ยินข่าว.

๕. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว ถือจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป ด้วยคิดว่าจักกลับมา เธออยู่นอกสีมา ให้ทำจีวรผืนนั้น ครั้นทำจีวรเสร็จแล้วคิดว่าจักกลับมา จักกลับมา แล้วล่วงคราวกฐินเดาะ ณ ภายนอกสีมาการเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วยล่วงเขต.

๖. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว ถือจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป ด้วยคิดว่าจักกลับมา เธออยู่นอกสีมา ให้ทำจีวรผืนนั้น ครั้นทำจีวรเสร็จแล้วคิดว่าจักกลับมา จักกลับมา แล้วกลับมาทันกฐินเดาะ การเดาะกฐินของภิกษุนั้น (ชื่อว่าเดาะ) พร้อมกับภิกษุทั้งหลาย.

สมาทายฉักกะ ที่ (การเดาะกฐินด้วยการนำจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป)
[๑๐๓]
๑. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว นำจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป เธออยู่นอกสีมา เกิดความคิดอย่างนี้ว่า เราจักให้ทำจีวรผืนนี้ ณ ภายนอกสีมานี้แหละ จักไม่กลับ เธอให้ทำจีวรผืนนั้นเสร็จ การเดาะกฐิน ของภิกษุนั้นกำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ.

๒. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว นำจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป เธออยู่นอกสีมา เกิดความคิดอย่างนี้ว่า จักไม่ให้ทำจีวรผืนนี้ จักไม่กลับมาการเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วยตกลงใจ.

๓. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว นำจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป เธออยู่นอกสีมา เกิดความคิดอย่างนี้ว่า จักให้ทำจีวรผืนนี้ ณ ภายนอกสีมานี้แหละ จักไม่กลับ แล้วให้ทำจีวรผืนนั้น จีวรของเธอที่ทำ อยู่นั้นได้เสียหาย การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วยผ้าเสียหาย.

๔. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว นำจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป ด้วยคิดว่าจักกลับมา เธออยู่นอกสีมา ให้ทำจีวรผืนนั้น ครั้นทำจีวรเสร็จแล้วได้ยินข่าวว่า ในอาวาสนั้นกฐินเดาะเสียแล้ว การเดาะกฐิน ของภิกษุนั้นกำหนดด้วยได้ยินข่าว.

๕. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว นำจีวรที่ค้างไว้หลีกไป ด้วยคิดว่าจักกลับมา เธออยู่นอกสีมา ให้ทำ จีวรผืนนั้น ครั้นทำจีวร เสร็จแล้ว คิดว่าจักกลับมา จักกลับมา แล้วล่วงคราวกฐินเดาะ ณ ภายนอก สีมา การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนด ด้วยล่วงเขต.

๖. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว นำจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป ด้วยคิดว่าจักกลับมา เธออยู่นอกสีมา ให้ทำจีวรผืนนั้น ครั้นทำ จีวรเสร็จแล้วคิดว่าจักกลับมา จักกลับมา แล้วกลับมาทันกฐินเดาะ การเดาะกฐินของภิกษุนั้น (ชื่อว่าเดาะ) พร้อมกับภิกษุทั้งหลาย.

การเดาะกฐินกำหนดด้วยทำจีวรเสร็จเป็นต้น
[๑๐๔]
๑. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว ถือจีวรหลีกไป เธออยู่นอกสีมาเกิดความคิดอย่างนี้ว่าจักให้ทำจีวรผืนนี้ ณ ภายนอกสีมา นี้แหละจักไม่กลับมา เธอให้ทำจีวรผืนนั้นเสร็จ การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ.

๒. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว ถือจีวรหลีกไป เธออยู่นอกสีมาเกิดความคิดอย่างนี้ว่า จักไม่ให้ทำจีวร ผืนนี้ จักไม่กลับ การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วยตกลงใจ.

๓. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว ถือจีวรหลีกไป เธออยู่นอกสีมาเกิดความคิดอย่างนี้ว่า จักให้ทำจีวร ผืนนี้ ณ ภายนอกสีมา นี้แหละจักไม่กลับ แล้วให้ทำจีวรผืนนั้น จีวรของเธอที่ทำอยู่นั้น ได้เสียหาย การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วย ผ้าเสียหาย.
[๑๐๕]

๔. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว ถือจีวรหลีกไป ด้วยตั้งใจว่า จักไม่กลับมา เธออยู่นอกสีมา เกิดความ คิดอย่างนี้ว่า จักให้ ทำจีวรผืนนี้ ณ ภายนอกสีมานี้แหละ เธอให้ทำจีวรผืนนั้นเสร็จ การเดาะกฐิน ของภิกษุนั้น กำหนดด้วย ทำจีวรเสร็จ.

๕. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว ถือจีวรหลีกไป ด้วยตั้งใจว่า จักไม่กลับมา เธออยู่นอกสีมา เกิดความ คิดอย่างนี้ว่า จักไม่ ให้ทำจีวรผืนนี้การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วยตกลงใจ.

๖. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว ถือจีวรหลีกไป ด้วยตั้งใจว่า จักไม่กลับมา เธออยู่นอกสีมาเกิดความคิด อย่างนี้ว่า จักให้ทำ จีวรผืนนี้ ณ ภายนอกสีมานี้แหละ แล้วให้ทำจีวรผืนนั้น จีวรของเธอที่ทำอยู่นั้น ได้เสียหาย การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วยผ้าเสียหาย.
[๑๐๖]
๗. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว ถือจีวรหลีกไป ด้วยไม่ตั้งใจ คือเธอไม่ได้คิดว่าจักกลับมา และไม่ได้ คิดว่าจักไม่กลับมา เธออยู่นอกสีมา เกิดความคิดอย่างนี้ว่าจัก ให้ทำจีวรผืนนี้ ณ ภายนอกสีมา นี้แหละ จักไม่กลับ เธอให้ทำจีวรผืนนั้น เสร็จ การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ.

๘. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว ถือจีวรหลีกไป ด้วยไม่ตั้งใจ คือเธอไม่ได้คิดว่าจักกลับมา และไม่ได้ คิดว่าจักไม่กลับมา เธออยู่นอกสีมา เกิดความคิดอย่างนี้ว่า จักไม่ให้ทำจีวรผืนนี้ จักไม่กลับการ เดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วย ตกลงใจ.

๙. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว ถือจีวรหลีกไป ด้วยไม่ตั้งใจ คือเธอไม่ได้คิดว่าจักกลับมา และไม่ได้ คิดว่าจักไม่กลับมา เธออยู่นอกสีมา เกิดความคิดอย่างนี้ว่า จักให้ทำจีวรผืนนี้ ณ ภายนอกสีมา นี้แหละจักไม่กลับแล้วให้ทำจีวรผืนนั้น จีวรของเธอที่ทำอยู่นั้นได้เสียหาย การเดาะกฐินของภิกษุ นั้น กำหนดด้วยผ้าเสียหาย.
[๑๐๗]
๑๐. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว ถือจีวรหลีกไป ด้วยคิดว่า จักกลับมาเธออยู่นอกสีมา เกิดความคิด อย่างนี้ว่าจักให้ทำ จีวรผืนนี้ ณ ภายนอกสีมานี้แหละ จักไม่กลับ เธอให้ทำจีวรผืนนั้นเสร็จ การเดาะ กฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วย ทำจีวรเสร็จ.

เธออยู่นอกสีมา เกิดความคิดอย่างนี้ว่า จักไม่ให้ทำจีวรผืนนี้จักไม่กลับ การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วย ตกลงใจ.

๑๒. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว ถือจีวรหลีกไป ด้วยคิดว่า จักกลับมาเธออยู่นอกสีมา เกิดความคิด อย่างนี้ว่า จักให้ทำ จีวรผืนนี้ ณ ภายนอกสีมานี้แหละ จักไม่กลับ แล้วให้ทำจีวรผืนนั้น จีวรของ เธอที่ทำอยู่นั้นได้เสียหาย การเดาะกฐิน ของภิกษุนั้น กำหนดด้วยผ้าเสียหาย.

๑๓. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว ถือจีวรหลีกไป ด้วยคิดว่า จักกลับมาเธออยู่นอกสีมา ให้ทำจีวรผืนนั้น ครั้นทำจีวรเสร็จ แล้ว ได้ยินข่าวว่าในอาวาสนั้นกฐินเดาะแล้ว การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนด ด้วยได้ยินข่าว.

๑๔. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว ถือจีวรหลีกไป ด้วยคิดว่า จักกลับมาเธออยู่นอกสีมา ให้ทำจีวรผืนนั้น ครั้นทำจีวรเสร็จ แล้ว คิดว่าจักกลับมา จักกลับมา แล้วล่วงคราวกฐินเดาะ ณ ภายนอกสีมา การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วย ล่วงเขต.

๑๕. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว ถือจีวรหลีกไป ด้วยคิดว่า จักกลับมาเธออยู่นอกสีมา ให้ทำจีวรผืนนั้น ครั้นทำจีวรเสร็จ แล้ว คิดว่าจักกลับมา จักกลับมา แล้วกลับมาทันกฐินเดาะ การเดาะกฐินของภิกษ ุนั้น พร้อมกับภิกษุทั้งหลาย.
[๑๐๘]
ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว นำจีวรหลีกไป (1)
(พึงขยายความโดยละเอียดเหมือนวาระที่ว่าด้วยเรื่องการเดาะกฐินกำหนดด้วยถือจีวรหลีกไป)
.
…………………………………………………………………..
1. พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับหลวง ปีพิมพ์ พ.ศ. ๒๕๐๐, พ.ศ. ๒๕๑๔ และ พ.ศ. 25 ๒๕ ใช้ว่า ถือจีวรหลีกไป ซึ่งบาลีมีว่า จีวรํ สมาทาย ปกฺกมติ แปลได้ว่า นำจีวรหลีกไป –ผู้รวบรวม

ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว ถือจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป เธออยู่นอกสีมาเกิดความคิดอย่างนี้ว่า จักให้ ทำจีวรผืนนี้ ณ ภายนอกสีมานี้แหละจักไม่กลับ เธอให้ทำจีวรผืนนั้นเสร็จ การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ (พึงขยายความโดยละเอียดเหมือนวาระที่ว่าด้วยเรื่องการเดาะกฐินกำหนดด้วยนำจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป).
[๑๐๙]
๑. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว นำจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป เธออยู่นอกสีมา เกิดความคิดอย่างนี้ว่า จักให้ทำจีวรผืนนี้ ณ ภายนอกสีมานี้แหละ จักไม่กลับ เธอให้ทำจีวรผืนนั้นเสร็จ การเดาะกฐิน ของภิกษุนั้นกำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ.

๒. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว นำจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป เธออยู่นอกสีมา เกิดความคิดอย่างนี้ว่า จักไม่ให้ทำจีวรผืนนี้ จักไม่กลับการเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วยตกลงใจ.

๓. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว นำจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป เธออยู่นอกสีมา เกิดความคิดอย่างนี้ว่า จักให้ทำจีวรผืนนี้ ณ ภายนอกสีมานี้แหละ จักไม่กลับ แล้วให้ทำจีวรผืนนั้น จีวรของเธอที่ทำ อยู่นั้นได้เสียหาย การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วยผ้าเสียหาย.

๔. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว นำจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป ด้วยคิดว่าจักไม่กลับมา เธออยู่นอกสีมา เกิดความคิดอย่างนี้ว่า จักให้ทำจีวรผืนนี้ ณ ภายนอกสีมานี้แหละ เธอให้ทำจีวรผืนนั้นเสร็จ การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ.

๕. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว นำจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป ด้วยคิดว่าจักไม่กลับมา เธออยู่นอกสีมา เกิดความคิดอย่างนี้ว่า จักไม่ให้ทำจีวรผืนนี้แหละ การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วย ตกลงใจ.

๖. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว นำจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป ด้วยคิดว่าจักไม่กลับมา เธออยู่นอกสีมา เกิดความคิดอย่างนี้ว่า จักให้ทำจีวรผืนนี้ ณ ภายนอกสีมานี้แหละ แล้วให้ทำจีวรผืนนั้น จีวรของ เธอที่ทำอยู่นั้นได้เสียหาย การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วยผ้าเสียหาย.

๗. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว นำจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป ด้วยไม่ตั้งใจคือไม่ได้คิดว่าจักกลับมา และไม่ได้คิดว่าจักไม่ กลับมา เธออยู่นอกสีมา เกิดความคิดอย่างนี้ว่า จักให้ทำจีวรผืนนี้ ณ ภายนอกสีมานี้แหละ จักไม่กลับ เธอให้ทำจีวร ผืนนั้นเสร็จ การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนด ด้วยทำจีวรเสร็จ.

๘. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว นำจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป ด้วยไม่ตั้งใจคือไม่ได้คิดว่าจักกลับมา และไม่ได้คิดว่าจักไม่ กลับ เธออยู่นอกสีมาเกิดความคิดอย่างนี้ว่า จักไม่ให้ทำจีวรผืนนี้ จักไม่กลับ การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วยตกลงใจ.

๙. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว นำจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป ด้วยไม่ตั้งใจคือไม่ได้คิดว่าจักกลับมา และไม่ได้คิดว่าจัก กลับมา เธออยู่นอกสีมาเกิดความคิดอย่างนี้ว่า จักให้ทำจีวรผืนนี้ ณ ภายนอก สีมานี้แหละจักไม่กลับ แล้วให้ทำจีวร ผืนนั้น จีวรของเธอที่ทำอยู่นั้นได้เสียหายการเดาะกฐิน ของภิกษุนั้น กำหนดด้วยผ้าเสียหาย.
[๑๑๒]
๑๐. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว นำจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป ด้วยคิดว่าจักกลับมา เธออยู่นอกสีมา เกิดความคิดอย่างนี้ว่า จักให้ทำจีวรผืนนี้ ณ ภายนอกสีมานี้แหละ จักไม่กลับละ เธอให้ทำจีวร ผืนนั้นเสร็จการเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ.

๑๑. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว นำจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป ด้วยคิดว่าจักกลับมา เธออยู่นอกสีมาเกิด ความคิดอย่างนี้ว่า จักไม่ให้ทำจีวรผืนนี้จักไม่กลับ การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วย ตกลงใจ.

๑๒. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว นำจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป ด้วยคิดว่าจักกลับมา เธออยู่นอกสีมา เกิดความคิดอย่างนี้ว่า จักให้ทำจีวรนี้ ณ ภายนอกสีมานี้แหละ จักไม่กลับ เธอให้ทำจีวรนั้น จีวรของเธอที่ทำอยู่นั้นได้เสียหาย การเดาะกฐิน ของภิกษุนั้น กำหนดด้วยผ้าเสียหาย.

๑๓. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว นำจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป ด้วยคิดว่าจักกลับมา เธออยู่นอกสีมา ให้ทำจีวรผืนนั้น ครั้นทำจีวรเสร็จแล้วได้ยินข่าวว่า ในอาวาสนั้น กฐินเดาะเสียแล้ว การเดาะกฐิน ของภิกษุนั้นกำหนดด้วยได้ยินข่าว.

๑๔. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว นำจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป ด้วยคิดว่าจักกลับมา เธออยู่นอกสีมา ให้ทำจีวรผืนนั้น ครั้นทำจีวรเสร็จแล้วคิดว่าจักกลับมา จักกลับมา แล้วล่วงคราวกฐินเดาะ ณ ภายนอกสีมาการเดาะกฐินของ ภิกษุนั้น กำหนดด้วยล่วงเขต.

๑๕. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว นำจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป ด้วยคิดว่าจักกลับมา เธออยู่นอกสีมา ให้ทำจีวรผืนนั้น ครั้นทำจีวรเสร็จแล้วคิดว่าจักกลับมา จักกลับมา แล้วกลับมาทันกฐินเดาะ การเดาะกฐินของภิกษุนั้น พร้อมกับ ภิกษุทั้งหลาย.

ความสิ้นหวัง ๑๒ หมวด
[๑๑๓]
๑. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว หลีกไปด้วยหวังจะได้จีวร เธออยู่นอกสีมา เข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังจะ ได้จีวรนั้น ได้ไม่สมหวัง ไม่ได้ตามหวังเธอคิดอย่างนี้ว่า จักให้ทำจีวรผืนนี้ ณ ภายนอกสีมานี้แหละ จักไม่กลับเธอให้ทำจีวร ผืนนั้นเสร็จ การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ.

๒. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว หลีกไปด้วยหวังจะได้จีวร เธออยู่นอกสีมา เข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังจะได้ จีวรนั้น ได้ไม่สมหวัง ไม่ได้ตามหวังเธอคิดอย่างนี้ว่า จักไม่ให้ทำจีวรผืนนี้ จักไม่กลับ การเดาะกฐิน ของภิกษุนั้น กำหนดด้วยตกลงใจ.

๓. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว หลีกไปด้วยหวังจะได้จีวร เธออยู่นอกสีมา เข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังจะ ได้จีวรนั้น ได้ไม่สมหวัง ไม่ได้ตามหวังเธอคิดอย่างนี้ว่า จักให้ทำจีวรผืนนี้ ณ ภายนอกสีมานี้แหละ จักไม่กลับเธอ ให้ทำจีวรผืนนั้น จีวรของเธอที่ทำอยู่นั้นได้เสียหาย การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วยผ้าเสียหาย.

๔. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว หลีกไปด้วยหวังจะได้จีวร เธออยู่นอกสีมา เกิดความคิดอย่างนี้ว่า จักเข้าไปยัง ที่ซึ่งมีหวังว่าจะได้จีวรนี้ ณ ภายนอกสีมานี้แหละ จักไม่กลับ แล้วเข้าไปยังที่ซึ่งมีหวัง ว่าจะได้ จีวรนั้น เธอสิ้น หวังว่าจะได้จีวรนั้น การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วยสิ้นหวัง
[๑๑๔]
๕. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว หลีกไปด้วยหวังจะได้จีวร คิดว่าจักไม่กลับมา เธออยู่นอกสีมา เข้าไป ยังที่ซึ่งมี หวังจะได้จีวรนั้นได้ไม่สมหวัง ไม่ได้ตามหวัง เธอคิดอย่างนี้ว่า จักให้ทำจีวรผืนนี้ ณ ภายนอกสีมานี้แหละ เธอให้ทำจีวรผืนนั้นเสร็จ การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วย ทำจีวรเสร็จ.

๖. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว หลีกไปด้วยหวังจะได้จีวร คิดว่าจักไม่กลับมา เธออยู่นอกสีมา เข้าไป ยังที่ซึ่งมี หวังจะได้จีวรนั้นได้ไม่สมหวัง ไม่ได้ตามหวัง เธอคิดอย่างนี้ว่า จักไม่ให้ทำจีวรผืนนี้การ เดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วยตกลงใจ.

๗. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว หลีกไปด้วยหวังจะได้จีวร คิดว่าจักไม่กลับมา เธออยู่นอกสีมาเข้าไป ยังที่ซึ่งมี หวังจะได้จีวรนั้น ได้ไม่สมหวังไม่ได้ตามหวัง เธอคิดอย่างนี้ว่า จักให้ทำจีวรผืนนี้ ณ ภายนอกสีมานี้แหละ เธอให้ทำจีวรผืนนั้นเสร็จ จีวรของเธอที่ทำอยู่นั้นได้เสียหายการ เดาะกฐิน ของภิกษุนั้น กำหนดด้วย ผ้าเสียหาย.

๘. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว หลีกไปด้วยหวังจะได้จีวร คิดว่าจักไม่กลับมา เธออยู่นอกสีมา เกิดความคิด อย่างนี้ว่า จักเข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังจะได้จีวรนี้ ณ ภายนอกสีมานี้แหละ แล้วเข้าไปยัง ที่ซึ่งมีหวังจะได้จีวรนั้น เธอสิ้นหวังว่าจะได้จีวรนั้น การเดาะกฐินของภิกษุนั้นกำหนดด้วยสิ้นหวัง.
[๑๑๕]
๙. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว หลีกไปด้วยหวังจะได้จีวร โดยไม่ได้ตั้งใจคือ เธอไม่ได้คิดว่าจะกลับ และไม่คิดว่า จักไม่กลับมา เธออยู่ นอกสีมา เข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังจะได้จีวรนั้นได้ไม่สมหวัง ไม่ได้ตามหวังเธอคิดอย่างนี้ว่า จักให้ทำจีวรผืนนี้ ณ ภายนอกสีมานี้แหละ จักไม่กลับเธอให้ทำจีวร ผืนนั้นเสร็จการเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ.

๑๐. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว หลีกไปด้วยหวังจะได้จีวร โดยไม่ตั้งใจคือ เธอไม่ได้คิดว่า จะกลับมา และไม่ได้ คิดว่าจักไม่กลับมา เธออยู่นอกสีมา เข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังจะได้จีวรนั้น ได้ไม่สมหวัง ไม่ได้ตามหวังเธอคิด อย่างนี้ว่า จักไม่ให้ทำจีวรผืนนี้ จักไม่กลับ การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนด ด้วยตกลงใจ.

๑๑. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว หลีกไปด้วยหวังจะได้จีวร โดยไม่ตั้งใจคือเธอไม่ได้คิดว่าจะกลับมา และไม่ได้ คิดว่าจักไม่กลับมา เธออยู่นอกสีมา เข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังจะได้จีวรนั้น ได้ไม่สมหวัง ไม่ได้ตามหวังเธอคิดอย่าง นี้ว่า จักให้ทำจีวรผืนนี้ ณ ภายนอกสีมานี้แหละ จักไม่กลับเธอให้ทำ จีวรผืนนั้นเสร็จ จีวรของเธอที่ทำอยู่ นั้นได้เสียหาย การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วย ผ้าเสียหาย.

๑๒. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว หลีกไปด้วยหวังจะได้จีวร โดยไม่ตั้งใจคือ เธอไม่ได้คิดว่าจักกลับมา และไม่ได้ คิดว่าจักไม่กลับมา เธออยู่นอกสีมา เกิดความคิดอย่างนี้ว่า จักเข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังจะได้ จีวรนี้ ณ ภายนอกสีมา นี้แหละ จักไม่กลับ แล้วเข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังจะได้จีวรนั้น เธอสิ้นหวังว่า จะได้จีวรนั้น การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วยสิ้นหวัง.

ความสมหวัง ๑๒ หมวด
[๑๑๖]
๑. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว หลีกไปด้วยหวังจะได้จีวร คิดว่าจักกลับมา เธออยู่นอกสีมา เข้าไปยัง ที่ซึ่งมีหวัง จะได้จีวรนั้น ได้สมหวังไม่ได้ผิดหวัง เธอคิดอย่างนี้ว่า จักให้ทำจีวรผืนนี้ ณ ภายนอก สีมานี้แหละ จักไม่กลับ เธอให้ทำจีวรผืนนั้นเสร็จ การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วย ทำจีวร เสร็จ.

๒. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว หลีกไปด้วยหวังจะได้จีวร คิดว่าจักกลับมา เธออยู่นอกสีมา เข้าไปยังที่ ซึ่งมีหวังจะ ได้จีวรนั้น ได้สมหวังไม่ได้ผิดหวัง เธอคิดอย่างนี้ว่า จักไม่ให้ทำจีวรผืนนี้ จักไม่กลับ การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วยตกลงใจ

๓. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว หลีกไปด้วยหวังจะได้จีวร คิดว่าจักกลับมา เธออยู่นอกสีมา เข้าไปยังที่ซึ่งมีหวัง จะได้จีวรนั้น ได้สมหวังไม่ได้ผิดหวัง เธอคิดอย่างนี้ว่า จักให้ทำจีวรผืนนี้ ณ ภายนอกสีมานี้แหละ จักไม่กลับ เธอให้ทำจีวรผืนนั้นเสร็จ จีวรของเธอที่ทำอยู่นั้นได้เสีย หรือหาย การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วย ผ้าเสียหาย.

๔. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว หลีกไปด้วยหวังจะได้จีวร คิดว่าจักกลับมา เธออยู่นอกสีมา เกิดความคิดอย่างนี้ว่า จักเข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังจะได้จีวรนี้ ณ ภายนอกสีมานี้แหละ จักไม่กลับ แล้วเข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังจะได้จีวรผืนนั้น เธอสิ้นหวังว่าจะได้จีวรผืนนั้น การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วยสิ้นหวัง.
[๑๑๗]
๕. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว หลีกไปด้วยหวังจะได้จีวร คิดว่าจักกลับมา เธออยู่นอกสีมา ได้ยินข่าวว่า ในอาวาสนั้นกฐินเดาะเสียแล้ว จึงคิดอย่างนี้ว่า เพราะกฐินในอาวาสนั้นเดาะ จักเข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังจะได้จีวรนี้ ณ ภายนอกสีมานี้แหละ เธอเข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังจะได้จีวรนั้น ได้สมหวัง ไม่ได้ผิดหวัง เธอคิดอย่างนี้ว่า จักให้ทำจีวรผืนนี้ ณ ภายนอกสีมานี้แหละจักไม่กลับ เธอให้ทำจีวรผืนนั้นเสร็จการเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ.

๖. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว หลีกไปด้วยหวังจะได้จีวร คิดว่าจะกลับมา เธออยู่นอกสีมา ได้ยินข่าวว่า ในอาวาสนั้นกฐินเดาะเสียแล้วจึงคิดอย่างนี้ว่า เพราะกฐินในอาวาสนั้นเดาะ จักเข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังจะได้จีวรนี้ ณ ภายนอกสีมานี้แหละ เธอเข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังจะได้จีวรนั้น ได้สมหวัง ไม่ได้ผิดหวัง เธอคิดอย่างนี้ว่า จักไม่ให้ทำจีวรผืนนี้ จักไม่กลับ การเดาะกฐินของ ภิกษุนั้น กำหนดด้วยตกลงใจ.

๗. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว หลีกไปด้วยหวังจะได้จีวร คิดว่าจะกลับมา เธออยู่นอกสีมา ได้ยินข่าวว่า ในอาวาสนั้นกฐินเดาะเสียแล้วจึงคิดอย่างนี้ว่า เพราะกฐินในอาวาสนั้นเดาะ จักเข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังจะได้จีวรนี้ ณ ภายนอกสีมานี้แหละ จักไม่กลับ แล้วเข้าไปยังที่ซึ่งมีหวัง จะได้จีวรนั้น เธอสิ้นหวังจะได้อย่างนี้ว่า จักให้ทำจีวรผืนนี้ณ ภายนอกสีมานี้แหละ จักไม่กลับ แล้วให้ทำจีวรผืนนั้น จีวรของเธอที่ทำอยู่นั้นได้เสียหาย การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วย ผ้าเสียหาย.

๘. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว หลีกไปด้วยหวังจะได้จีวร คิดว่าจักกลับมา เธออยู่นอกสีมา ได้ทราบข่าวว่า ในอาวาสนั้นกฐินเดาะเสียแล้วจึงคิดอย่างนี้ว่า เพราะกฐินในอาวาสนั้นเดาะ จักเข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังจะได้จีวรนี้ ณ ภายนอกสีมานี้แหละ จักไม่กลับ แล้วเข้าไปยังที่ซึ่งมีหวัง จะได้จีวรนั้น เธอสิ้นหวังจะได้จีวรผืนนั้น การเดาะกฐินของภิกษุนั้นกำหนดด้วยสิ้นหวัง.
[๑๑๘]
๙. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว หลีกไปด้วยหวังจะได้จีวร คิดว่าจักกลับมา เธออยู่นอกสีมา เข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังจะ ได้จีวรนั้น ได้สมหวังไม่ได้ผิดหวัง เธอให้ทำจีวรผืนนั้น ครั้นทำจีวรเสร็จ แล้วได้ยินข่าวว่าในอาวาสนั้น กฐิน เดาะเสีย การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วยได้ยินข่าว

๑๐. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว หลีกไปด้วยหวังจะได้จีวร คิดว่าจักกลับมา เธออยู่นอกสีมาเกิด ความคิด อย่างนี้ ว่า จักเข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังจะได้จีวรนี้ ณ ภายนอกสีมานี้แหละ จักไม่กลับ แล้วเข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังจะได้จีวรนั้น เธอสิ้นหวังจะได้จีวรนั้น การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนด ด้วยสิ้นหวัง.

๑๑. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว หลีกไปด้วยหวังจะได้จีวร คิดว่าจักกลับมา เธออยู่นอกสีมา เข้าไป ยังที่ซึ่งมีหวัง จะได้จีวรนั้น ได้สมหวังไม่ได้ผิดหวัง เธอให้ทำจีวรนั้น ครั้นทำจีวรเสร็จแล้ว คิดว่าจัก กลับมาจักกลับมา ล่วงคราวเดาะกฐินนอกสีมา การเดาะกฐินของภิกษุนั้นกำหนดด้วยล่วงเขต.

๑๒. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว หลีกไปด้วยหวังจะได้จีวร คิดว่าจักกลับมา เธออยู่นอกสีมา เข้าไป ยังที่ ซึ่งมี หวังจะได้จีวรนั้น ได้สมหวังไม่ได้ผิดหวัง เธอให้ทำจีวรนั้น ครั้นทำจีวรเสร็จแล้ว คิดว่า จักกลับมา จักกลับมา แล้วกลับมาทันกฐินเดาะ การเดาะกฐินของภิกษุนั้นพร้อมกับภิกษุทั้งหลาย.

กรณียะ ๑๒ หมวด
[๑๑๙]
๑. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว หลีกไปด้วยกรณียะบางอย่าง เธออยู่นอกสีมา มีความหวังจะได้จีวร เธอเข้าไปยัง ที่ซึ่งมีหวังจะได้จีวรนั้นได้ไม่สมหวัง ไม่ได้ตามหวัง จึงคิดอย่างนี้ว่า จักให้ทำจีวรนี้ ณ ภายนอกสีมานี้แหละ จักไม่กลับ เธอให้ทำจีวรนั้นเสร็จ การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ.

๒. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว หลีกไปด้วยกรณียะบางอย่าง เธออยู่นอกสีมา มีความหวังว่าจะได้จีวร เธอเข้า ไปยังที่ซึ่งมีหวังว่าจะได้จีวรนั้น ได้ไม่สมหวัง ไม่ได้ตามหวัง จึงคิดอย่างนี้ว่า จักไม่ให้ทำ จีวรนี้จักไม่กลับ การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วยตกลงใจ.

๓. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว หลีกไปด้วยกรณียะบางอย่าง เธออยู่นอกสีมา มีความหวังว่าจะได้จีวร เธอเข้า ไปยังที่ซึ่งมีหวังจะได้จีวรนั้น ได้ไม่สมหวัง ไม่ได้ตามหวัง จึงคิดอย่างนี้ว่า จักให้ทำจีวรนี้ ณ ภายนอกสีมา นี้แหละ จักไม่กลับ จึงให้ทำจีวรนั้น จีวรของเธอที่ทำอยู่นั้นได้เสีย หรือหาย การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วยผ้าเสียหาย.

๔. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว หลีกไปด้วยกรณียะบางอย่าง เธออยู่นอกสีมา มีความหวังว่าจะได้ จีวร จึงคิด อย่างนี้ว่า จักเข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังว่าจะได้จีวรนี้ ณ ภายนอกสีมานี้แหละ จักไม่กลับละ จึงเข้าไปยังที่ซึ่งมี หวังจะได้จีวรนั้น เธอสิ้นหวังว่าจะได้จีวรนั้น การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนด ด้วยสิ้นหวัง.
[๑๒๐]
๕. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว หลีกไปด้วยกรณียะบางอย่าง คิดว่าจักไม่กลับมา เธออยู่นอกสีมา มีความหวัง ว่าจะได้จีวร จึงเข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังว่าจะได้จีวรนั้น ได้ไม่สมหวัง ไม่ได้ตามหวัง เธอคิด อย่างนี้ว่า จักให้ทำจีวร นี้ ณ ภายนอกสีมานี้แหละ แล้วให้ทำจีวรนั้นเสร็จการเดาะกฐิน ของภิกษุนั้น กำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ.

๖. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว หลีกไปด้วยกรณียะบางอย่าง คิดว่าจักไม่กลับมา เธออยู่นอกสีมา มีความหวังว่า จะได้จีวร จึงเข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังว่าจงได้จีวรนั้น ได้ไม่สมหวัง ไม่ได้ตามหวัง เธอคิดอย่างนี้ว่าจักไม่ให้ทำจีวรนี้ การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วยตกลงใจ.

๗. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว หลีกไปด้วยกรณียะบางอย่าง คิดว่าจักไม่กลับมา เธออยู่นอกสีมา มีความหวังว่า จะได้จีวร จึงเข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังว่าจะได้จีวรนั้น ได้ไม่สมหวัง ไม่ได้ตามหวัง เธอคิดอย่างนี้ว่า จักให้ทำจีวรนี้ ณ ภายนอกสีมานี้แหละ แล้วให้ทำจีวรนั้น จีวรของเธอที่ทำอยู่นั้น ได้เสียหาย การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วยผ้าเสียหาย.

๘. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว หลีกไปด้วยกรณียะบางอย่าง คิดว่าจักไม่กลับ เธออยู่นอกสีมา มีความหวังว่า จะได้จีวร จึงคิดอย่างนี้ว่า จักเข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังว่าจะได้จีวรนี้ ณ ภายนอกสีมา นี้แหละแล้วเข้าไปยังที่ซึ่ง มีหวังว่าจะได้จีวรนั้น เธอสิ้นหวังว่าจะได้จีวรนั้นการเดาะกฐินของ ภิกษุนั้น กำหนดด้วยสิ้นหวัง.
[๑๒๑]
๙. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว หลีกไปด้วยกรณียะบางอย่าง โดยไม่ตั้งใจคือ เธอไม่ได้คิดว่าจัก กลับมา และ ไม่ได้คิดว่าจักไม่กลับมาเธออยู่นอกสีมา มีความหวังว่าจะได้จีวร จึงเข้าไปยังที่ซึ่งมี หวังว่าจะได้จีวรนั้น ได้ไม่ สมหวัง ไม่ได้ตามหวัง เธอคิดอย่างนี้ว่าจักให้ทำจีวรนี้ ณ ภายนอกสีมา นี้แหละ จักไม่กลับจึงให้ทำจีวรนั้นเสร็จ การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ.

๑๐. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว หลีกไปด้วยกรณียะบางอย่าง โดยไม่ตั้งใจ คือ เธอไม่ได้คิดว่า จักกลับมา และไม่ได้คิดว่าจักไม่กลับมาเธออยู่นอกสีมา มีความหวังว่าจะได้จีวร จึงเข้าไปยังที่ซึ่งมี หวังว่าจะได้จีวรนั้น ได้ไม่สมหวัง ไม่ได้ตามหวัง เธอคิดอย่างนี้ว่าจักไม่ให้ทำจีวรนี้ จักไม่กลับละ การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วยตกลงใจ.

๑๑. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว หลีกไปด้วยกรณียะบางอย่าง โดย ไม่ตั้งใจ คือเธอไม่ได้คิดว่า จักกลับ และไม่ได้คิดว่าจักไม่กลับมา เธออยู่นอกสีมา มีความหวังว่าจะได้จีวร จึงเข้าไปยังที่ซึ่งมี หวังว่า จะได้จีวรนั้น ได้ไม่สมหวัง ไม่ได้ตามหวัง เธอคิดอย่างนี้ว่า จักให้ทำจีวรนี้ ณ ภายนอกสีมา นี้แหละ จักไม่กลับ แล้วให้ทำ จีวรนั้น จีวรของเธอที่ทำอยู่นั้นได้เสียหาย การเดาะกฐินของภิกษุ นั้น กำหนดด้วยผ้าเสียหาย.

๑๒. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว หลีกไปด้วยกรณียะบางอย่าง โดยไม่ตั้งใจ คือ เธอไม่ได้คิดว่า จักกลับมา และไม่ได้คิดว่าจักไม่กลับมาเธออยู่นอกสีมา มีความหวังว่าจะได้จีวร จึงคิดอย่างนี้ว่า จักเข้าไปยังที่ซึ่งมี หวังว่าจะได้จีวรนี้ ณ ภายนอกสีมานี้แหละ จักไม่กลับละ แล้วเข้าไปยังที่ซึ่งมี หวังว่าจะได้จีวรนั้น เธอสิ้นหวังที่จะได้จีวรนั้น การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วยสิ้นหวัง.

หวังได้ส่วนจีวร วิธี
[๑๒๒]
๑. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว ประสงค์จะไปสู่ทิศ จึงหลีกไป แต่ยังหวังได้ส่วนจีวร เธอไปสู่ทิศแล้ว ภิกษุ ทั้งหลายถามว่า อาวุโส คุณจำพรรษาที่ไหน และส่วนจีวรของคุณอยู่ที่ไหน เธอตอบอย่างนี้ ว่า ผมจำพรรษาในอาวาสโน้น และส่วนจีวรของผมก็อยู่ที่อาวาสนั้น ภิกษุเหล่านั้นกล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโส คุณจงไป นำจีวรนั้นมา พวกผมจักทำจีวรให้คุณ ณ ที่นี้ เธอกลับไปสู่อาวาสนั้น แล้วถาม ภิกษุทั้งหลายว่าอาวุโส ส่วนจีวรของผมอยู่ที่ไหน ภิกษุเหล่านั้นตอบ อย่างนี้ว่า อาวุโสนี้ส่วนจีวร ของคุณๆ จักไปไหน เธอตอบ อย่างนี้ว่า ผมจักไปสู่อาวาสชื่อโน้น ภิกษุทั้งหลายในอาวาส นั้นจักทำจีวรให้ผม ภิกษุเหล่านั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ไม่ควร อาวุโส คุณอย่าไปเลย พวกผมจักช่วย ทำจีวรให้คุณ ณ ที่นี้ เธอคิดอย่างนี้ว่า จักให้ทำจีวรผืนนี้ ณ ภายนอกสีมานี้แหละจักไม่กลับ แล้วให้ทำจีวรนั้นเสร็จ การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ.

๒. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว ประสงค์จะไปสู่ทิศ จึงหลีกไป ....การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วยตกลงใจ

๓. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว ประสงค์จะไปสู่ทิศ จึงหลีกไป ....การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนด ด้วยผ้าเสียหาย.
[๑๒๓]
๔. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว ประสงค์จะไปสู่ทิศ จึงหลีกไป แต่ยังหวังได้ส่วนจีวร เธอนั้นไปสู่ทิศ แล้ว ภิกษุทั้งหลายถามว่า อาวุโสคุณจำพรรษาที่ไหน และส่วนจีวรของคุณอยู่ที่ไหน เธอตอบ อย่างนี้ว่าผมจำ พรรษาในอาวาสโน้น และส่วนจีวรของผมก็อยู่ที่อาวาสนั้น ภิกษุเหล่านั้นกล่าว อย่างนี้ว่า อาวุโส คุณจงไป นำจีวรนั้นมา พวกผมจักทำจีวรให้คุณ ณ ที่นี้ เธอกลับไปสู่อาวาส นั้นแล้ว ถามภิกษุทั้งหลายว่าอาวุโส ส่วนจีวรของผมอยู่ที่ไหน ภิกษุเหล่านั้น ตอบอย่างนี้ว่า อาวุโสนี้ส่วนจีวรของคุณ เธอถือจีวรนั้นไปสู่อาวาส แห่งนั้น ภิกษุทั้งหลายในระหว่างทางถามเธอ ว่า อาวุโส คุณจักไปไหน เธอตอบอย่างนี้ว่าผมจักไปสู่อาวาส ชื่อโน้น ภิกษุทั้งหลายใน อาวาส นั้น จักทำจีวรให้ผมภิกษุเหล่านั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ไม่ควรอาวุโส อย่าไปเลย พวกผมจักทำจีวร ให้คุณ ณ ที่นี้ เธอคิดอย่างนี้ว่า จักให้ทำจีวรนี้ ณ ภายนอกสีมานี้แหละ จักไม่กลับ แล้วให้ทำ จีวรนั้นเสร็จ การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ.

หวังได้ส่วนจีวร เธอนั้นไปสู่ทิศแล้ว ภิกษุทั้งหลายถามว่า อาวุโสคุณจำพรรษาที่ไหน และส่วน จีวรของคุณ อยู่ที่ไหน เธอตอบอย่างนี้ว่า ผมจำพรรษาในอาวาสโน้น และส่วนจีวรของผมก็อยู่ ที่อาวาสนั้น ภิกษุเหล่านั้น กล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโส คุณจงไปนำจีวรนั้นมา พวกผมจักทำจีวรให้คุณ ณ ที่นี้ เธอกลับไปสู่อาวาสนั้นแล้ว ถามภิกษุทั้งหลายว่า อาวุโส ส่วนจีวรของผมอยู่ที่ไหน ภิกษุ เหล่านั้นตอบอย่างนี้ว่าอาวุโส นี้ส่วนจีวรของคุณ เธอถือจีวรนั้นไปสู่อาวาสแห่งนั้น ภิกษุทั้งหลาย ในระหว่างทางถามเธอว่า อาวุโส คุณจักไปไหน เธอตอบ อย่างนี้ว่า ผมจักไปสู่อาวาสชื่อโน้น ภิกษุทั้งหลายในอาวาสนั้นจักทำจีวรให้ผม ภิกษุเหล่านั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ไม่ควรอาวุโส อย่าไปเลย พวกผมจักทำจีวรให้คุณ ณ ที่นี้ เธอคิดอย่างนี้ว่าจักไม่ให้ทำจีวรนี้จักไม่กลับ การเดาะกฐินของ ภิกษุนั้น กำหนดด้วยตกลงใจ.

๖. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว ประสงค์จะไปสู่ทิศ จึงหลีกไป แต่ยังหวังได้ส่วนจีวรเธอนั้นไปสู่ทิศแล้ว ภิกษุทั้ง หลายถามว่า อาวุโสคุณจำพรรษาที่ไหน และส่วนจีวรของคุณอยู่ที่ไหน เธอตอบอย่างนี้ ว่า ผมจำพรรษาใน อาวาสโน้น และส่วนจีวรของผมก็อยู่ที่อาวาสนั้นภิกษุเหล่านั้นกล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโส คุณจงไปนำจีวรนั้นมา พวกผมจักทำจีวรให้คุณ ณ ที่นี้ เธอกลับไปสู่อาวาสนั้นแล้ว ถาม ภิกษุทั้งหลายว่า อาวุโส ส่วนจีวรของผม อยู่ที่ไหน ภิกษุเหล่านั้นตอบอย่างนี้ว่า อาวุโสนี้ส่วนจีวร ของคุณ เธอถือจีวรนั้นไปสู่อาวาสแห่งนั้น ภิกษุทั้ง หลายในระหว่างทาง ถามเธอนั้นว่า อาวุโส คุณจักไปไหน เธอตอบอย่างนี้ว่าผมจักไปสู่อาวาสชื่อโน้น ภิกษุทั้งหลายในอาวาสนั้น จักทำจีวร ให้ผมภิกษุเหล่านั้น กล่าวอย่างนี้ว่า ไม่ควร อาวุโส อย่าไปเลย พวกผมจักทำจีวรให้คุณ ณ ที่นี้ เธอคิดอย่างนี้ว่า จักให้ทำจีวรนี้ ณ ภายนอกสีมานี้แหละ จักไปกลับ แล้วให้ทำจีวรนั้น จีวรของเธอ ที่ทำอยู่นั้นได้เสียหาย การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วยผ้าเสียหาย.

๗. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว ประสงค์จะไปสู่ทิศ จึงหลีกไป แต่ยังหวังจะได้จีวร เธอนั้นไปสู่ทิศแล้ว ภิกษุ ทั้งหลายถามว่า อาวุโส คุณจำพรรษาที่ไหน และส่วนจีวรของคุณอยู่ที่ไหน เธอตอบอย่างนี้ ว่า ผมจำพรรษา ในอาวาสโน้น และส่วนจีวรของผมก็อยู่ที่อาวาสนั้นภิกษุเหล่านั้นกล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโส คุณจงไปนำจีวรนั้นมา พวกผมจักทำจีวรให้คุณ ณ ที่นี้ เธอกลับไปสู่อาวาสนั้นแล้ว ถามภิกษุทั้งหลายว่า อาวุโส ส่วนจีวรของผม อยู่ที่ไหน ภิกษุเหล่านั้นตอบอย่างนี้ว่านี้ ส่วนจีวร ของคุณ เธอถือจีวรนั้นมาสู่อาวาสนั้น เมื่อเธอมาถึงอาวาสนั้น แล้ว ได้คิดอย่างนี้ว่า จักให้ทำจีวรนี้ ณ ภายนอกสีมานี้แหละจักไม่กลับละ เธอให้ทำจีวรนั้นเสร็จ การเดาะ กฐินของภิกษุนั้น กำหนด ด้วยทำจีวรเสร็จ.

๘. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว ประสงค์จะไปสู่ทิศ เธอคิดอย่างนี้ว่าจักไม่ให้ทำจีวรผืนนี้ จักไม่กลับละ การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วยตกลงใจ.

๙. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว ประสงค์จะไปสู่ทิศ จึงหลีกไป ....เธอคิดอย่างนี้ว่า จักให้ทำจีวรผืนนี้ ณ ภายนอกสีมานี้แหละ จักไม่กลับละ เธอให้ทำจีวรผืนนั้นเสร็จ จีวรของเธอที่ทำอยู่นั้นได้เสียหาย การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วยผ้าเสียหาย.

ผาสุวิหาร คือ อยู่ตามสบาย ข้อ
[๑๒๕]
๑. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว ต้องการจะอยู่ตามสบาย จึงถือจีวรหลีกไปด้วยตั้งใจว่า จักไปสู่อาวาส ชื่อโน้น ถ้าในอาวาสนั้น ความสบายจักมีแก่เรา เราจักอยู่ ถ้าความสบายไม่มีแก่เรา เราจักไปสู่ อาวาสชื่อโน้น ถ้าในอาวาสนั้น ความสบายจักมีแก่เรา เราจักอยู่ ถ้าความสบายไม่มีแก่เรา เราจักไปสู่อาวาสชื่อโน้น ถ้าในอาวาสนั้น ความสบายจักมีแก่เรา เราจักอยู่ ถ้าความสบายไม่มี แก่เรา เราจักกลับ เธออยู่ นอกสีมา เกิดความคิดอย่างนี้ว่า จักให้ทำจีวรผืนนี้ ณ ที่นี้แหละจัก ไม่กลับละ เธอให้ทำจีวรผืนนั้นเสร็จ การเดาะกฐินของภิกษุนั้นกำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ.

๒. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว ต้องการจะอยู่ตามสบาย จึงถือจีวรหลีกไปด้วยตั้งใจว่า จักไปสู่อาวาส ชื่อโน้น ถ้าในอาวาสนั้น ความสบายจักมีแก่เรา เราจักอยู่ ถ้าความสบายไม่มีแก่เรา เราจักไปสู่ อาวาสชื่อโน้น ถ้าในอาวาสนั้น ความสบายจักมีแก่เรา เราจักอยู่ ถ้าความสบาย ไม่มีแก่เรา เราจัก ไปสู่อาวาสชื่อโน้น ถ้าในอาวาสนั้น ความสบายจักมีแก่เรา เราจักอยู่ ถ้าความสบายไม่มีแก่เรา เราจักกลับ เธออยู่นอกสีมา เกิดความคิดอย่างนี้ว่า จักไม่ให้ทำจีวรผืนนี้ จักไม่กลับละการเดาะ กฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วยตกลงใจ.

๓. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว ต้องการจะอยู่ตามสบาย จึงถือจีวรหลีกไป ด้วยตั้งใจว่า จักไปสู่ อาวาสชื่อโน้น ถ้าในอาวาสนั้น ความสบายจักมีแก่เรา เราจักอยู่ ถ้าความสบายไม่มีแก่เรา เราจักไปสู่อาวาสชื่อโน้น ถ้าในอาวาสนั้น ความสบายจักมีแก่เรา เราจักอยู่ ถ้าความสบาย ไม่มีแก่เรา เราจักไปสู่อาวาสชื่อโน้น ถ้าในอาวาสนั้น ความสบายจักมีแก่เรา เราจักอยู่ ถ้าความ สบายไม่มีแก่เรา เราจักกลับ เธออยู่นอกสีมา เกิดความคิดอย่างนี้ว่า จักให้ทำจีวรผืนนี้ ณ ที่นี้ แหละจักไม่กลับละ เธอให้ทำจีวรผืนนั้นเสร็จ จีวรของเธอที่ทำอยู่นั้นได้เสียหาย การเดาะกฐิน ของภิกษุนั้น กำหนดด้วยผ้าเสียหาย.

๔. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว ต้องการจะอยู่ตามสบาย จึงถือจีวรหลีกไป ด้วยตั้งใจว่า จักไปสู่ อาวาสชื่อโน้น ถ้าในอาวาสนั้น ความสบายจักมีแก่เรา เราจักอยู่ ถ้าความสบายไม่มีแก่เรา เราจักไปสู่อาวาสชื่อโน้น ถ้าในอาวาสนั้น ความสบายจักมีแก่เรา เราจักอยู่ถ้าความสบายไม่มี แก่เรา เราจักไปสู่อาวาสชื่อโน้น ในอาวาสนั้นความสบายจักมีแก่เรา เราจักอยู่ ถ้าความสบาย ไม่มีแก่เรา เราจักกลับเธออยู่นอกสีมา ให้ทำจีวรผืนนั้น ครั้นทำจีวรเสร็จแล้ว คิดว่าจักกลับจักกลับ จนล่วงคราวกฐินเดาะ ณ ภายนอกสีมา การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วยล่วงเขต.

๕. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว ต้องการจะอยู่ตามสบาย จึงถือจีวรหลีกไป ด้วยตั้งใจว่าจะไปสู่ อาวาสชื่อโน้น ถ้าในอาวาสนั้น ความสบายจักมีแก่เรา เราจักอยู่ ถ้าความสบายไม่มีแก่เรา เราจักไปสู่อาวาสชื่อโน้น ถ้าในอาวาสนั้น ความสบายจักมีแก่เรา เราจักอยู่ ถ้าความสบายไม่มี แก่เรา เราจักไปสู่อาวาสชื่อโน้น ถ้าในอาวาสนั้นความสบายจักมีแก่เรา เราจักอยู่ ถ้าความสบาย ไม่มีแก่เรา เราจักกลับเธออยู่นอกสีมา ให้ทำจีวรผืนนั้น ครั้นทำเสร็จแล้ว คิดว่าจักกลับจักกลับ กลับมาทันกฐินเดาะ การเดาะกฐินของภิกษุนั้น (ชื่อว่าเดาะ) พร้อมกับภิกษุทั้งหลาย.

ปลิโพธและสิ้นปลิโพธ
[๑๒๖]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย กฐินมีปลิโพธ ๒ และสิ้นปลิโพธ ๒. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างไรเล่า. กฐินมีปลิโพธ ๒ คือ อาวาสปลิโพธ ๑จีวรปลิโพธ ๑.

ปลิโพธ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อาวาสปลิโพธเป็นอย่างไร. ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุในธรรมวินัยนี้ ยังอยู่ใน อาวาสนั้น หรือหลีกไป ผูกใจอยู่ว่าจักกลับมา อย่างนี้แลชื่อว่าอาวาสลิโพธ.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็จีวรปลิโพธเป็นอย่างไร. ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุในธรรมวินัยนี้ ยังไม่ได้ทำจีวร หรือทำค้างไว้ก็ดี ยังไม่สิ้นความหวังว่าจะได้จีวรก็ดี อย่างนี้แลชื่อว่าจีวรปลิโพธ.ดูกรภิกษุทั้งหลาย กฐินมีปลิโพธ ๒ อย่างนี้แล.

สิ้นปลิโพธ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างไรเล่า. กฐินสิ้นปลิโพธ ๒ คือสิ้นอาวาสปลิโพธ ๑ สิ้นจีวรปลิโพธ ๑.อาจารโคจรสมฺปนฺนาดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สิ้นอาวาสปลิโพธอย่างไร. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ หลีกไปจากอาวาสนั้น ด้วยสละใจวางใจ ปล่อยใจ ทอดธุระว่าจักไม่กลับมา อย่างนี้แล ชื่อว่าสิ้นอาวาสปลิโพธ.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สิ้นจีวรปลิโพธเป็นอย่างไร. ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุในธรรมวินัยนี้ ทำจีวรเสร็จแล้วก็ดี ทำเสียก็ดี ทำหายเสียก็ดีทำไฟไหม้เสียก็ดี สิ้นความหวังว่าจะได้จีวรก็ดี อย่างนี้แล ชื่อว่า
สิ้นจีวรปลิโพธ.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย กฐินสิ้นปลิโพธมี ๒ อย่างนี้แล.
กฐินขันธกะจบ.



หน้า 474
ขันธ์ที่ ๔ : จีวรขันธกะ
หมวดว่าด้วยจีวร

หน้า
474-1
ทรงอนุญาตคหบดีจีวร
[๑๓๕]
187 . …ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตคหบดีจีวร รูปใดปรารถนาจงถือผ้าบังสุกุล รูปใดปรารถนา จงยินดีคหบดีจีวร แต่เราสรรเสริญการยินดี ด้วยปัจจัยตามมีตามได้.

หน้า
474-2
ทรงอนุญาตผ้าปาวารและผ้าโกเชาว์

[๑๓๗]
188 . …ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้าปาวาร.
189. …ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้าปาวารแกมไหม.
190. …ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้าโกเชาว์.

หน้า
474-3
ทรงอนุญาตผ้ากัมพล

[๑๓๘]
191. …ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้ากัมพล.

หน้า 474-4
ทรงอนุญาตคหบดีจีวร
ชนิด
[๑๓๙]
192. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตจีวร ๖ ชนิด คือ จีวรทำด้วยเปลือกไม้ ๑ ทำด้วยฝ้าย ๑ ทำด้วยไหม ๑ ทำด้วยขนสัตว์ ๑ทำด้วยป่าน ๑ ทำด้วยของเจือกัน ๑.

193. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้ยินดีคหบดีจีวร ยินดีผ้าบังสุกุลได้ แต่เราสรรเสริญความสันโดษด้วยจีวรทั้งสองนั้น.

หน้า 475
การให้ส่วนแบ่งจีวร
[๑๔๐]
ก็โดยสมัยนั้นแลภิกษุหลายรูปด้วยกันเดินทางไกลไปในโกศลชนบทบางพวกแวะเข้าสุสานเพื่อแสวงหาผ้าบังสุกุลบางพวกไม่รอคอยบรรดาภิกษุที่แวะเข้าสุสานเพื่อแสวงหาผ้าบังสุกุลนั้นต่างก็ได้ผ้าบังสุกุลพวกที่ไม่รอคอยนั้นพูดอย่างนี้ว่าอาวุโสทั้งหลายขอท่านจงให้ส่วนแบ่งแก่พวก ข้าพเจ้าบ้างภิกษุพวกนั้นพูดอย่างนี้ว่าอาวุโสทั้งหลายเราไม่ให้ส่วนแบ่งแก่พวกท่านเพราะเหตุไรพวกท่านจึงไม่รอคอยเล่าตรัสว่า

194.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลาย ผู้ไม่ปรารถนาไม่ต้องให้ส่วนแบ่งแก่ภิกษุ พวกที่ไม่รอคอย.สมัยต่อมาภิกษุหลายรูปด้วยกันเดินทางไกลไปในโกศลชนบทบางพวกแวะเข้า สุสานเพื่อแสวงหาผ้าบังสุกุลบางพวกรอคอยอยู่บรรดาพวกที่แวะเข้าสุสานเพื่อแสวงหา ผ้าบังสุกุล นั้นต่างก็ได้ผ้าบังสุกุลพวกภิกษุที่รอคอยอยู่นั้นพูดอย่างนี้ว่าอาวุโสทั้งหลายขอพวกท่านจงให้ ส่วนแบ่งแก่พวกข้าพเจ้าบ้างภิกษุพวกนั้นพูดอย่างนี้ว่าอาวุโสทั้งหลายพวกข้าพเจ้าจักไม่ให้ส่วน แบ่งแก่พวกท่านเพราะเหตุไรพวกท่านจึงไม่แวะเข้าไปเล่าตรัสว่า

195.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลาย
ผู้ไม่ปรารถนาก็ต้องให้ส่วนแบ่งแก่ภิกษุ พวกที่รอคอย. สมัยต่อมาภิกษุหลายรูปด้วยกันเดินทางไกลไปในโกศลชนบทบางพวกแวะเข้า สุสานก่อนเพื่อแสวงหาผ้าบังสุกุลบางพวกแวะเข้าทีหลังบรรดาภิกษุที่แวะเข้าสุสานก่อนเพื่อแสวงหาผ้าบังสุกุลนั้นต่างก็ได้ผ้าบังสุกุลพวกภิกษุที่แวะเข้าทีหลังไม่ได้จึงพูดอย่างนี้ว่าอาวุโสทั้งหลายขอพวกท่านจงให้ส่วนแบ่งแก่พวกข้าพเจ้าบ้างภิกษุเหล่านั้นตอบอย่างนี้ว่าพวกข้าพเจ้าจักไม่ให้ส่วนแบ่งแก่พวกท่านเพราะเหตุไรพวกท่านจึงแวะเข้าไปทีหลังเล่าตรัสว่า

196.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลาย ผู้ไม่ปรารถนาไม่ต้องให้ส่วนแบ่งแก่ภิกษุพวกที่แวะเข้าไปทีหลัง.สมัยต่อมาภิกษุหลายรูปด้วยกันเดินทางไกลไปในโกศลชนบทภิกษุเหล่านั้นแวะเข้าสุสานเพื่อแสวงหาผ้าบังสุกุลพร้อมกันบางพวกได้ผ้าบังสุกุลบางพวกไม่ได้พวกที่ไม่ได้พูดอย่างนี้ว่าอาวุโสทั้งหลายขอพวกท่านจงให้ส่วนแบ่งแก่พวกข้าพเจ้าบ้างภิกษุเหล่านั้นตอบอย่างนี้ว่าอาวุโสทั้งหลายพวกข้าพเจ้าจักไม่ให้ส่วนแบ่งแก่พวกท่านทำไมพวกท่านจึงหาไม่ได้เล่าตรัสว่า

197.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลาย ผู้ไม่ปรารถนาก็ต้องให้ส่วนแบ่งแก่ภิกษุทั้งหลายที่แวะเข้าไปพร้อมกัน.สมัยต่อมาภิกษุหลายรูปด้วยกันเดินทางไกลไปในโกศลชนบทภิกษุเหล่านั้นนัดแนะกันแล้วแวะเข้าสุสานเพื่อแสวงหาผ้าบังสุกุลบางพวกได้ผ้าบังสุกุลบางพวกไม่ได้พวกที่ไม่ได้พูดอย่างนี้ว่าอาวุโสทั้งหลายขอพวกท่านจงให้ส่วนแบ่งแก่พวกข้าพเจ้าบ้างภิกษุเหล่านั้นพูดอย่างนี้ว่าอาวุโสทั้งหลายพวกข้าพเจ้าจักไม่ให้ส่วนแบ่งแก่พวกท่านทำไมพวกท่านจึงหาไม่ได้เล่าตรัสว่า

198.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายไม่ปรารถนาก็ต้องให้ส่วนแบ่งแก่ภิกษุพวกที่นัดแนะกันไว้แล้วแวะเข้าไป.

หน้า 476
ทรงอนุญาตเจ้าหน้าที่ผู้รับจีวร

[๑๔๑]
199. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สมมติภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เป็นเจ้าหน้าที่รับจีวร คือ
1. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความชอบพอ
2. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความเกลียดชัง
3. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความงมงาย
4. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความกลัว และ
5. รู้จักจีวรจำนวนที่รับไว้ และยังมิได้รับ
วิธีสมมติ
[๑๔๑]
200. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงสมมติอย่างนี้.สงฆ์พึงขอร้องภิกษุก่อน ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้ :-

กรรมวาจาสมมติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสมมติภิกษุ มีชื่อนี้ ให้เป็นเจ้าหน้าที่รับจีวร นี้เป็นญัตติท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์สมมติภิกษุมีชื่อนี้ ให้เป็นเจ้าหน้าที่รับจีวร การสมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นเจ้าหน้าที่รับจีวรชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้น พึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใดท่านผู้นั้นพึงพูด.สงฆ์สมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นเจ้าหน้าที่รับจีวรแล้ว ชอบแก่สงฆ์เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.

หน้า 477
ทรงอนุญาตเจ้าหน้าที่ผู้เก็บจีวร

[๑๔๒]
201. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สมมติภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เป็นเจ้าหน้าที่เก็บจีวร คือ :-
1. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความชอบพอ
2. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความเกลียดชัง
3. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความงมงาย
4. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความกลัว และ
5. รู้จักจีวรจำนวนที่เก็บไว้ และยังมิได้เก็บ
วิธีสมมติ
202. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงสมมติอย่างนี้.สงฆ์พึงขอร้องภิกษุก่อน ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้ :-

กรรมวาจาสมมติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสมมติภิกษุมีชื่อนี้ ให้เป็นเจ้าหน้าที่เก็บจีวร นี้เป็นญัตติ.

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์สมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นเจ้าหน้าที่เก็บจีวร การสมมติภิกษุ มีชื่อนี้ให้เป็นเจ้าหน้าที่เก็บจีวรชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด.สงฆ์สมมติภิกษุมีชื่อนี้ ให้เป็นเจ้าหน้าที่เก็บจีวร ชอบแก่สงฆ์เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้า ทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.

หน้า 478
ทรงอนุญาตเรือนคลัง

[๑๔๓]
203. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สมมติ วิหาร เพิง เรือนชั้นเรือนโล้น หรือถ้ำที่สงฆ์ จำหมายให้เป็นเรือนคลัง.
วิธีสมมติ
204. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงสมมติอย่างนี้ คือ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้ สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้ :-

กรรมวาจาสมมติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสมมติวิหาร มีชื่อนี้ ให้เป็นเรือนคลัง นี้เป็นญัตติ.ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์สมมติวิหารมีชื่อนี้ให้เป็น เรือนคลัง การสมมติวิหารมีชื่อนี้ให้เป็นเรือนคลัง ชอบแก่ท่านผู้ใดท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด.สงฆ์สมมติวิหารมีชื่อนี้ ให้เป็นเรือนคลังแล้ว ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.

หน้า 479
ทรงอนุญาตเจ้าหน้าที่ผู้รักษาเรือนคลัง
[๑๔๔]
205. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สมมติภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ป็นเจ้าหน้าที่รักษาเรือน คลัง คือ :-
1. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความชอบพอ
2. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความเกลียดชัง
3. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความงมงาย
4. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความกลัว และ
5. รู้จักจีวรจำนวนที่รักษา และยังมิได้รักษา
วิธีสมมติ
206. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงสมมติอย่างนี้.สงฆ์พึงขอร้องภิกษุก่อน ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้ :-

กรรมวาจาสมมติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสมมติภิกษุมีชื่อนี้ ให้เป็นเจ้าหน้าที่รักษาเรือนคลังนี้เป็นญัตติ.ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์สมมติภิกษุ มีชื่อนี้ให้เป็น เจ้าหน้าที่รักษาเรือนคลัง การสมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นเจ้าหน้าที่รักษาเรือนคลัง ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด.สงฆ์สมมติ ภิกษุมีชื่อ นี้ให้เป็นเจ้าหน้าที่รักษาเรือนคลังแล้วชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วย อย่างนี้.

หน้า 480
ทรงห้ามย้ายเจ้าหน้าที่ผู้รักษาเรือนคลัง
[๑๔๕]
207. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงย้ายเจ้าหน้าที่ผู้รักษาเรือนคลังรูปใดย้าย ต้องอาบัติทุกกฏ.

หน้า 480-1
ทรงอนุญาตเจ้าหน้าที่ผู้แจกจีวร

[๑๔๖]
ก็โดยสมัยนั้นแลจีวรในเรือนคลังของสงฆ์มีมากตรัสว่า
208. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สงฆ์ผู้อยู่พร้อมหน้าแจก.
209. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สมมติภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เป็นเจ้าหน้าที่แจกจีวร คือ :-
1. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความชอบพอ
2. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความเกลียดชัง
3. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความงมงาย
4. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความกลัว และ
5. รู้จักจีวรจำนวนที่แจกแล้ว และยังมิได้แจก

วิธีสมมติ

210. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงสมมติอย่างนี้.สงฆ์พึงขอร้องภิกษุก่อน ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้

กรรมวาจาสมมติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่ แล้วสงฆ์พึงสมมติภิกษุชื่อนี้ ให้เป็น เจ้าหน้าที่แจกจีวร นี้เป็นญัตติ.
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์สมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นเจ้าหน้าที่แจกจีวร การสมมติภิกษุ มีชื่อนี้เป็น เจ้าหน้าที่แจกจีวรชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้น พึงพูด.
สงฆ์สมมติ ภิกษุชื่อนี้ให้เป็นเจ้าหน้าที่แจกจีวรแล้ว ชอบแก่สงฆ์เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ ไว้ด้วยอย่างนี้ครั้งนั้นภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเจ้าหน้าที่แจกจีวรได้มีความปริวิตกดังนี้ว่าควรแจกจีวรอย่างไรหนอตรัสว่า

211 .
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้คัดเลือกผ้าก่อน แล้วตีราคาคิดถัวกัน นับภิกษุ ผูกผ้า เป็นมัดๆ แล้วตั้งส่วนจีวรไว้.

212 .
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้มอบส่วนกึ่งหนึ่งให้แก่พวกสามเณร.สมัยต่อมาภิกษุรูปหนึ่งปรารถนาจะรีบเดินทางไปกับส่วนของตนตรัสว่า

213.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้มอบส่วนของตนแก่ภิกษุผู้รีบเดินทางไป.สมัยต่อมาภิกษุรูปหนึ่งปรารถนาจะรีบเดินทางไปกับส่วนพิเศษตรัสว่า

214 .
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้มอบส่วนพิเศษในเมื่อให้สิ่งทดแทนสมกัน.ครั้งนั้นภิกษุเจ้าหน้าที่แจกจีวรคิดว่าพึงให้ส่วนจีวรอย่างไรหนอคือพึงให้ตามลำดับภิกษุผู้มาหรือพึงให้ตามลำดับภิกษุผู้แก่พรรษาตรัสว่า

215 .
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สมยอมส่วนที่บกพร่อง แล้วทำการจับสลาก.

หน้า 482
ข้ออนุญาตเกี่ยวกับการย้อมผ้า
[๑๔๗]
216 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำย้อม ๖ อย่าง คือ น้ำย้อมเกิดแต่รากหรือเง่า ๑ น้ำย้อมเกิดแต่ต้นไม้ ๑ น้ำย้อมเกิดแต่เปลือกไม้ ๑ น้ำย้อมเกิดแต่ใบไม้ ๑ น้ำย้อมเกิดแต่ดอกไม้ ๑น้ำย้อมเกิดแต่ผลไม้ ๑.สมัยต่อมาภิกษุทั้งหลายย้อมจีวรด้วยน้ำย้อมที่เย็นจีวรมีกลิ่นสาบตรัสว่า

217 .
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตหม้อย้อมขนาดเล็กเพื่อต้มน้ำย้อม.น้ำย้อมล้นหม้อตรัสว่า

218 .
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ผูกตะกร้อกันล้น.สมัยต่อมาภิกษุทั้งหลายไม่รู้ว่าน้ำย้อม ต้มสุกแล้วหรือยังไม่สุกตรัสว่า

219.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้หยดหยาดน้ำลงในน้ำ หรือหลังเล็บ.สมัยต่อมาภิกษุทั้งหลายยกหม้อน้ำย้อมลงทำหม้อกลิ้งไปหม้อแตกตรัสว่า

220.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตกระบวยตักน้ำย้อมอันเป็นภาชนะมีด้าม.สมัยต่อมาภิกษุทั้งหลายไม่มีภาชนะสำหรับย้อมตรัสว่า

221 .
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตอ่างสำหรับย้อม หม้อสำหรับย้อม.
สมัยต่อมาภิกษุทั้งหลายขยำจีวรในถาดบ้างในบาตรบ้างจีวรขาดปริตรัสว่า

222 .
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตรางสำหรับย้อม.สมัยต่อมาภิกษุทั้งหลายตากจีวรบนพื้นดินจีวรเปื้อนฝุ่นตรัสว่า

223.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเครื่องรองทำด้วยหญ้า.เครื่องรองทำด้วยหญ้าถูกปลวกกัดตรัสว่า

224 .
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตราวจีวร สายระเดียง.
ภิกษุทั้งหลายตากจีวรตอนกลางน้ำย้อมหยดออกทั้งสองชายตรัสว่า

225 .
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ผูกมุมจีวรไว้.มุมจีวรชำรุดตรัสว่า

226 .
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตด้ายผูกมุมจีวร.น้ำย้อมหยดออกชายเดียวตรัสว่า

227 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ย้อมจีวรพลิกกลับไปกลับมาแต่เมื่อหยาดน้ำยังหยด ไม่ขาดสาย อย่าหลีกไป.สมัยต่อมาจีวรเป็นผ้าเนื้อแข็งตรัสว่า

228 .
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้จุ่มลงในน้ำ.สมัยต่อมาจีวรเป็นผ้ากระด้างตรัสว่า

229.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทุบด้วยฝ่ามือ.

หน้า 483
ทรงห้ามใช้จีวรที่ไม่ตัด

[๑๔๘]
230. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้จีวรที่มิได้ตัด รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ.

หน้า 483-1
ทรงให้แต่งจีวร

[๑๔๙]
อานนท์เธอเห็นนาของชาวมคธ ซึ่งเขาพูนดินขึ้นเป็นคันนาสี่เหลี่ยมพูนคันนายาว ทั้งด้านยาว และด้านกว้าง พูนคันนาคั่นในระหว่างๆ ด้วยคันนาสั้นๆ พูนคันนาเชื่อมกันทาง ๔ แพร่ง ตามที่ ซึ่งคันนากับคันนา ผ่านตัดกัน ไปหรือไม่.เห็นตามพระพุทธดำรัสพระพุทธเจ้าข้า. เธอสามารถแต่ง จีวรของภิกษุทั้งหลาย ให้มีรูปอย่างนั้นได้ หรือไม่. สามารถพระพุทธเจ้าข้า

ครั้งนั้นท่านพระอานนท์แต่งจีวรสำหรับภิกษุหลายรูป
ครั้นแล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคได้กราบทูล ว่าขอพระผู้มีพระภาคจงทรงทอดพระเนตรจีวรที่ข้าพระพุทธเจ้าแต่งแล้วพระพุทธเจ้าข้า.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานนท์เป็นคนฉลาด อานนท์ได้ซาบซึ้งถึงเนื้อความแห่งถ้อยคำ ที่เรากล่าวย่อ ได้โดยกว้างขวาง อานนท์ทำผ้ากุสิก็ได้ ทำผ้าชื่ออัฑฒกุสิก็ได้ ทำผ้าชื่อมณฑลก็ได้ ทำผ้าชื่อ อัฑฒมณฑลก็ได้ ทำผ้าชื่อวิวัฏฏะก็ได้ ทำผ้าชื่ออนุวิวัฏฏะก็ได้ ทำผ้าชื่อคีเวยยกะก็ได้ ทำผ้าชื่อ ชังเฆยยกะก็ได้ และทำผ้าชื่อพาหันตะก็ได้จีวรจักเป็นผ้าที่ตัดแล้วเศร้าหมองด้วยศัสตรา สมควรแก่สมณะ และพวกศัตรู ไม่ต้องการ.

231.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้าสังฆาฏิตัด ผ้าอุตราสงค์ตัดผ้าอันตรวาสกตัด.

หน้า 484
ทรงอนุญาตไตรจีวร

[๑๕๐]
… ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราเดินทางไกลในระหว่างพระนครราชคฤห์ และระหว่างพระนครเวสาลี ต่อกัน ได้เห็น ภิกษุหลายรูปในธรรมวินัยนี้ หอบผ้าพะรุงพะรัง บ้างก็ทูนห่อผ้าที่พับดังฟูกขึ้น บนศรีษะ บ้างก็แบกขึ้นบ่า บ้าง ก็กระเดียดไว้ที่สะเอว เดินมาอยู่ ครั้นแล้วเราได้ดำริว่า โมฆบุรุษ เหล่านี้เวียนมาเพื่อความมักมาก ในจีวร เร็วนัก ไฉนหนอเราจะพึงกั้นเขตตั้งกฏใน เรื่องผ้าแก่ ภิกษุทั้งหลาย.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราครองผ้าผืนเดียว นั่งอยู่กลางแจ้ง ณ ตำบลนี้ตอนกลางคืน ขณะน้ำค้างตก ในราตรี เหมันตฤดู กำลังหนาว ตั้งอยู่ระหว่างเดือน ๓ กับระหว่างเดือน ๔ ต่อกันความหนาว มิได้ มีแก่เราเมื่อปฐมยาม ผ่านไปแล้ว ความหนาวจึงได้มีแก่เรา เราจึงห่มจีวรผืนที่สอง ความหนาวมิได้ มีแก่เรา เมื่อมัชฌิมยามผ่านไป แล้ว ความหนาวได้มีแก่เราเราจึงห่มจีวรผืนที่สาม ความหนาวมิได้ มีแก่เรา เมื่อปัจฉิมยามผ่านไปแล้ว ขณะรุ่ง อรุณ แห่งราตรีอันเป็นเบื้องต้นแห่งความสดชื่น ความหนาวจึงได้มีแก่เรา เราจึงห่มจีวรผืนที่สี่ ความหนาว มิได้มีแก่เรา.ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรานั้นได้ดำริว่า กุลบุตรในธรรมวินัยนี้ ที่เป็นคนขี้หนาว กลัวต่อความหนาว ก็อาจดำรงชีวิตอยู่ได้ ด้วยผ้าสามผืน ไฉนหนอเราจะพึงกั้นเขต ตั้งกฏ ในเรื่องผ้าแก่ภิกษุทั้งหลาย เราจะพึงอนุญาต ไตรจีวร.

232.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตไตรจีวร คือ ผ้าสังฆาฏิ ๒ ชั้นผ้าอุตราสงค์ชั้นเดียว ผ้าอันตรวาสก ชั้นเดียว.

หน้า 485
ข้อบัญญัติเกี่ยวกับอดิเรกจีวร

[๑๕๑]
233. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงทรงอดิเรกจีวร รูปใดทรง พึงปรับอาบัติตามธรรม.
234. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทรงอดิเรกจีวรไว้ได้ ๑๐ วันเป็นอย่างยิ่ง.
235. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้วิกัปอดิเรกจีวร.

หน้า 485-1
ทรงอนุญาตผ้าปะ
เป็นต้น
[๑๕๒]
236. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้าสังฆาฏิ ๒ ชั้น ผ้าอุตราสงค์ชั้นเดียว ผ้าอันตรวาสก ชั้นเดียว สำหรับ ผ้าใหม่มีกับปะใหม่ผ้าสังฆาฏิ ๔ ชั้น ผ้าอุตราสงค์ ๒ ชั้น อันตรวาสก ๒ ชั้นสำหรับผ้าที่เก็บไว้ล่วงฤดู พึงทำ อุตสาหะในผ้าบังสุกุลจนพอต้องการ หรือทำอุตสาหะ ในผ้าที่ตกจากร้านตลาด.

237.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้าปะ การชุน รังดุม ลูกดุมการทำให้มั่น.

หน้า 486
ทรงอนุญาตผ้าวัสสิกสาฎก
เป็นต้น
[๑๕๕]
238. …ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้าวัสสิกสาฎก อาคันตุกภัตรคมิกภัตร คิลานภัตร คิลานุปัฏฐากภัตร คิลานเภสัช ยาคูประจำ อนุญาตผ้าอุทกสาฎก สำหรับภิกษุณีสงฆ์.

นอนหลับลืมสติ
มีโทษ ประการ
… ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่นอนหลับ ลืมสติ ไม่รู้สึกตัว มีโทษ๕ ประการ นี้คือ หลับเป็นทุกข์ ๑ ตื่นเป็นทุกข์ ๑ เห็นความฝันอันลามก ๑เทพดาไม่รักษา ๑ อสุจิเคลื่อน ๑.ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่นอนหลับ ลืมสติ ไม่รู้สึกตัว มีโทษ ๕ ประการนี้แล.

นอนหลับคุมสติ
มีคุณ ประการ
[๑๕๖]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่นอนหลับ มีสติตั้งมั่น รู้สึกตัวอยู่ มีคุณ๕ ประการนี้ คือ หลับเป็นสุข ๑ ตื่นเป็นสุข ๑ ไม่เห็นความฝันอันลามก ๑เทพดารักษา ๑ อสุจิไม่เคลื่อน ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่นอนหลับ มีสติตั้งมั่น รู้สึกตัว มีคุณ๕ ประการ นี้แล.

หน้า 487
ทรงอนุญาตผ้านิสีทนะ (ผ้าปูนั่ง)
239. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้านิสีทนะ เพื่อรักษากาย รักษาจีวร รักษาเสนาสนะ.

หน้า 487-1
ทรงอนุญาตผ้าปัจจัตถรณะ
(ผ้าปูนอน)
[๑๕๖]
240. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุต้องการผ้าปูนอนใหญ่เพียงใด เราอนุญาตให้ทำผ้าปูนอน ใหญ่เพียงนั้น.

หน้า 487-2
ทรงอนุญาตผ้าปิดฝี

[๑๕๗]
241 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้าปิดฝีแก่ภิกษุที่อาพาธเป็นฝีก็ดีเป็นพุพองก็ดี เป็นสิวก็ดี เป็นโรคฝีดาดหรืออีสุกอีใสก็ดี.

หน้า
487-3
ทรงอนุญาตผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดปาก
[๑๕๘]
242 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดปาก.

หน้า 487-4
องค์ของการถือวิสาสะ
ประการ
[๑๕๙]
243. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถือวิสาสะแก่บุคคลผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ คือ เคยเห็นกันมา ๑ เคยคบกันมา ๑ เคยบอกอนุญาตกันไว้ ๑ เขายังมีชีวิตอยู่ ๑ รู้ว่าเมื่อเราถือเอาไว้ เขาจักพอใจ ๑.ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถือวิสาสะแก่บุคคลที่ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้.

หน้า 488
ทรงอนุญาตผ้าบริขาร
[๑๖๐]
ก็โดยสมัยนั้นแลภิกษุทั้งหลายมีไตรจีวรบริบูรณ์แต่ยังต้องการผ้ากรองน้ำบ้างถุงบ้างตรัสว่า
244 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้าบริขาร.

หน้า 488-1
ทรงอนุญาตผ้าที่ต้องอธิษฐานและวิกัป

[๑๖๐]
245 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผ้าไตรจีวร เราอนุญาตให้อธิษฐาน ไม่ใช่ให้วิกัปผ้าวัสสิกสาฎก ให้อธิษฐาน ตลอด ๔ เดือนแห่งฤดูฝน พ้นจากนั้นให้วิกัป ผ้านิสีทนะ ให้อธิษฐาน ไม่ใช่ให้วิกัป ผ้าปัจจัตถรณะ ให้อธิษฐาน ไม่ใช่ให้วิกัป ผ้าปิดฝี ให้อธิษฐานตลอดเวลาที่อาพาธ พ้นจากนั้น ให้วิกัป ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดปาก ให้อธิษฐาน ไม่ใช่ให้วิกัปผ้าบริขาร ให้อธิษฐาน ไม่ใช่ให้วิกัป.

246 .
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผ้าขนาดเล็กยาว ๘ นิ้ว กว้าง ๔ นิ้ว โดยนิ้วพระสุคต เราอนุญาตให้วิกัปสมัยต่อมาผ้าอุตราสงค์ที่ทำด้วยผ้าบังสุกุลของท่านพระมหากัสสปเป็นของหนักตรัสว่า

247 .
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทำการเย็บดามด้วยด้าย.มุมสังฆาฏิไม่เสมอกันตรัสว่า

248 .
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เจียนมุมที่ไม่เสมอออกเสีย.ด้ายลุ่ยออกตรัสว่า

249.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ติดผ้าอนุวาต ผ้าหุ้มขอบ.สมัยต่อมาแผ่นผ้าสังฆาฏิลุ่ยออกตรัสว่า

250.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เย็บตะเข็บดังตาหมากรุก.

หน้า 489
ทรงอนุญาตผ้าที่ตัดและไม่ตัด
[๑๖๑]
ก็โดยสมัยนั้นแลเมื่อสงฆ์กำลังทำจีวรให้ภิกษุรูปหนึ่งผ้าตัดทั้งหมดไม่พอตรัสว่า

251 .
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้าที่ต้องตัด ๒ ผืน ไม่ต้องตัด ๑ ผืน.ผ้าต้องตัดผืนไม่ต้องตัดผืนหนึ่งผ้าก็ยังไม่พอตรัสว่า

252 .
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้า ๒ ผืนไม่ต้องตัด ผืนหนึ่งต้องตัด.ผ้าผืนไม่ต้องตัดผืนหนึ่งต้องตัดผ้าก็ยังไม่พอตรัสว่า

253.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เพิ่มผ้าเพลาะแต่ผ้าทุกผืนที่ไม่ได้ตัด ภิกษุไม่พึงใช้ รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ.

ทรงอนุญาตให้ผ้าแก่มารดาบิดาได้
[๑๖๒]
ก็โดยสมัยนั้นแลผ้าเกิดขึ้นแก่ภิกษุรูปหนึ่งหลายผืนและท่านปรารถนา จะให้ผ้านั้นแก่โยม มารดาบิดาตรัสว่า
254 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุให้ด้วยรู้ว่ามารดาบิดา เราจะพึงว่าอะไรเราอนุญาตให้สละแก่มารดาบิดา แต่ภิกษุไม่พึงทำศรัทธาไทย1ให้ตกไป รูปใดให้ตกไป ต้องอาบัติทุกกฏ.

ทรงห้ามครองผ้า ผืนเข้าบ้าน
[๑๖๓]
255 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมีแต่ผ้าอุตราสงค์กับผ้าอันตรวาสกไม่พึง เข้าบ้าน รูปใดเข้าไป ต้องอาบัติทุกกฏ.

เหตุที่เก็บจีวรไว้ได้ (สามารถครองผ้า ๒ ผืนเข้าบ้านได้)
256 .ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหตุทเก็บผ้าสังฆาฏิไว้ได้ มี ๕ อย่าง คือเจ็บไข้ ๑ สังเกตเห็นว่าฝนจะตก ๑ ไปสู่ฝั่งแม่น้ำ ๑ ที่อยู่คุ้มได้ด้วยดาล ๑ได้กรานกฐิน ๑ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหตุที่เก็บผ้าสังฆาฏิ ไว้ได้มี ๕ อย่างนี้แล.

257 .
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหตุที่เก็บผ้าอุตราสงค์ไว้ได้มี ๕ อย่างนี้ คือเจ็บไข้ ๑ สังเกตเห็นว่าฝน จะตก ๑ ไปสู่ฝั่งแม่น้ำ ๑ ที่อยู่คุ้มได้ด้วยดาล ๑ ได้กรานกฐิน ๑ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหตุที่เก็บผ้า อุตราสงค์ไว้ได้มี ๕ อย่างนี้แล.

258 .
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหตุที่เก็บผ้าอันตรวาสกไว้ได้มี ๕ อย่างนี้เจ็บไข้ ๑ สังเกตเห็นว่าฝน จะตก ๑ ไปสู่ฝั่งแม่น้ำ ๑ ที่อยู่คุ้มได้ด้วยดาล ๑ ได้กรานกฐิน ๑ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหตุที่เก็บผ้า อันตรวาสกไว้ได้มี ๕ อย่างนี้แล.

259.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหตุที่เก็บผ้าอาบน้ำฝนไว้ได้มี ๕ อย่างนี้ คือเจ็บไข้ ๑ ไปนอกสีมา ๑ ไปสู่ฝั่งแม่น้ำ ๑ ที่อยู่คุ้มได้ด้วยดาล ๑ ผ้าอาบน้ำฝนยังไม่ได้ทำหรือทำค้างไว้ ๑ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหตุที่เก็บผ้าอาบน้ำฝนไว้ได้มี ๕ อย่างนี้แล.

หน้า 490
ทรงอนุญาตเกี่ยวกับการแบ่งจีวร

[๑๖๔]
ก็โดยสมัยนั้นแลภิกษุรูปหนึ่งจำพรรษาอยู่แต่ผู้เดียวคนทั้งหลายในถิ่นนั้นได้ถวายจีวรด้วย เปล่งวาจา ว่าข้าพเจ้าทั้งหลายถวายแก่สงฆ์จึงภิกษุรูปนั้นได้มีความปริวิตกว่าพระผู้มีพระภาค ทรงบัญญัติไว้ว่าภิกษุรูปเป็นอย่างน้อยชื่อว่าสงฆ์แต่เรารูปเดียวและคนเหล่านี้ได้ถวายจีวร ด้วยเปล่งวาจาว่าข้าพเจ้าทั้งหลาย ถวายแก่สงฆ์ดังนี้ถ้าไฉนเราจะพึงำจีวรของสงฆ์ เหล่านี้ไปพระนครสาวัตถีครั้นแล้วได้นำจีวรเหล่านั้นไป พระนครสาวัตถีตรัสว่า

260. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ในข้อนี้ ภิกษุจำพรรษารูปเดียว ประชาชนในถิ่นนั้นถวายจีวร ด้วยเปล่งวาจาว่า พวกข้าพเจ้าถวายแก่สงฆ์.ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต จีวรเหล่านั้นแก่เธอรูปเดียวจนถึงเวลาเดาะกฐิน.

สมัยต่อมา
ภิกษุรูปหนึ่งอยู่รูปเดียวตลอดฤดูกาลประชาชนในถิ่นนั้นได้ถวายจีวรเปล่งวาจาว่าพวกข้าพเจ้า ถวายแก่สงฆ์จึงภิกษุรูปนั้นได้ดำริดังนี้ว่าพระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ว่าภิกษุรูปเป็นอย่างน้อยชื่อว่าสงฆ์แต่เราอยู่ผู้เดียวและคนเหล่านี้ได้ถวายจีวรด้วยเปล่งวาจาว่าพวกข้าพเจ้าถวายแก่สงฆ์ถ้าไฉนเราจะพึงนำ จีวรของสงฆ์เหล่านี้ไปพระนครสาวัตถีครั้นแล้วได้นำจีวรเหล่านั้นไปพระนครสาวัตถีแจ้งความนั้นแก่ภิกษุ ทั้งหลายตรัสว่า

261 .
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สงฆ์ผู้อยู่พร้อมหน้ากันแจก.

262 .
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ในข้อนี้ ภิกษุอยู่ผู้เดียวตลอดฤดูกาล ประชาชนในถิ่นนั้นได้ถวายจีวร ด้วยเปล่ง วาจาว่าพวกข้าพเจ้าถวายแก่สงฆ์.ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุรูปนั้น อธิษฐาน จีวรเหล่านั้นว่า จีวรเหล่านี้ของเรา ถ้าเมื่อภิกษุรูปนั้นยังไม่ได้อธิษฐานจีวรนั้น มีภิกษุ รูปอื่นมาพึงให้ส่วนแบ่งเท่าๆ กัน ถ้าเมื่อภิกษุ ๒ รูปกำลังแบ่งจีวรนั้น แต่ยังมิได้จับสลาก มีภิกษุรูป อื่นมาพึงให้ส่วนแบ่งเท่าๆ กัน ถ้าเมื่อภิกษุ ๓ รูปกำลังแบ่งจีวรนั้น และจับสลากเสร็จแล้ว มีภิกษุรูป อื่นมา พวกเธอไม่ปรารถนาก็ไม่ต้องให้ส่วนแบ่ง.
[๑๖๕]
263. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุจำพรรษาในวัดหนึ่งแล้ว ไม่พึงยินดีส่วนจีวรในวัดอื่น รูปใดยินดี ต้องอาบัติทุกกฏ.สมัยต่อมาท่านพระอุปนนทศากยบุตรรูปเดียวจำพรรษาอยู่สองวัดด้วยคิดว่าโดย วิธีอย่างนี้จีวรจักเกิดขึ้นแก่เรามากครั้งนั้นภิกษุทั้งหลายได้มีความสงสัยว่าพวกเราจักให้ ส่วนจีวร แก่ท่านพระอุปนนท ศากยบุตรอย่างไรหนอตรัสว่า

264 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงให้ส่วนแก่โมฆบุรุษส่วนเดียว.ภิกษุทั้งหลาย ก็ในข้อนี้ภิกษุ รูปเดียว จำพรรษาอยู่ ๒ วัด ด้วยคิดว่าโดยวิธีอย่างนี้ จีวรจักเกิดขึ้นแก่เรามาก ถ้าภิกษุจำพรรษา ในวัดโน้นกึ่งหนึ่ง วัดโน้นกึ่งหนึ่ง พึงให้ส่วนจีวรในวัดโน้นกึ่งหนึ่ง วัดโน้นกึ่งหนึ่ง หรือจำพรรษา ในวัดใดมากกว่า พึงให้ส่วนจีวรในวัดนั้น.

ทรงให้พยาบาลภิกษุผู้อาพาธ

[๑๖๖]
…ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไม่มีมารดาไม่มีบิดา ผู้ใดเล่าจะพึงพยาบาลพวกเธอ ถ้าพวกเธอจักไม่ พยาบาล กันเอง ใครเล่าจักพยาบาล

265 .
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดจะพึงอุปัฏฐากเรา ผู้นั้นจึงพยาบาลภิกษุอาพาธ ถ้ามีอุปัชฌายะ อุปัชฌายะพึง พยาบาลจนตลอดชีวิตหรือจนกว่าจะหาย ถ้ามีอาจารย์ อาจารย์พึงพยาบาลจนตลอดชีวิต หรือจนกว่าจะหาย ถ้ามีสัทธิวิหาริก สัทธิวิหาริกพึงพยาบาลจนตลอดชีวิต หรือจนกว่าจะหาย ถ้ามีอันเตวาสิก อันเตวาสิกพึง พยาบาลจนตลอดชีวิต หรือจนกว่าจะหาย ถ้ามีภิกษุผู้ร่วมอุปัชฌายะ ภิกษุผู้ร่วมอุปัชฌายะพึงพยาบาลจน ตลอดชีวิต หรือจนกว่าจะหาย ถ้ามีภิกษุผู้ร่วมอาจารย์ ภิกษุผู้ร่วมอาจารย์พึงพยาบาลจนตลอดชีวิต หรือจน กว่าจะหาย ถ้าไม่มีอุปัชฌายะอาจารย์ สัทธิวิหาริก อันเตวาสิก ภิกษุผู้ร่วมอุปัชฌายะ หรือภิกษุผู้ร่วมอาจารย์ สงฆ์ต้องพยาบาล ถ้าไม่พยาบาล ต้องอาบัติทุกกฏ.

องค์ของภิกษุอาพาธที่พยาบาลได้ยาก อย่าง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาพาธที่ประกอบด้วยองค์ ๕ เป็นผู้พยาบาลได้ยาก คือ
1. ไม่ทำความสบาย
2. ไม่รู้ประมาณในความสบาย
4. ไม่บอกอาการไข้ตามจริงแก่ผู้พยาบาลที่มุ่งประโยชน์ คือ ไม่บอกอาการไข้ที่กำเริบว่ากำเริบ อาการไข้ ที่ทุเลา ว่าทุเลา อาการไข้ที่ทรงอยู่ว่าทรงอยู่
5. มีนิสัยเป็นคนไม่อดทนต่อทุกขเวทนาที่เกิดปรากฏในร่างกาย อันกล้าแข็ง รุนแรงไม่เป็นที่ยินดี ไม่เป็นที่ พอใจ อันจะพล่าชีวิตเสียดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาพาธที่ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เป็นผู้พยาบาลได้ยาก.

องค์ของภิกษุอาพาธที่พยาบาลได้ง่าย อย่าง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาพาธที่ประกอบด้วยองค์ ๕ เป็นผู้พยาบาลได้ง่าย
1. คือทำความสบาย
2. รู้ประมาณในความสบาย
3. ฉันยา
4. บอกอาการป่วยไข้ตามจริงแก่ผู้พยาบาลที่มุ่งประโยชน์ คือบอกอาการไข้ที่กำเริบว่ากำเริบ อาการไข้ที่ทุเลาว่าทุเลา อาการไข้ที่ทรงอยู่ว่าทรงอยู่
5. มีนิสัยเป็นคนอดทนต่อทุกขเวทนา อันกล้าแข็ง รุนแรง ไม่เป็นที่ยินดี ไม่เป็นที่พอใจ อันจะพล่าชีวิตเสียดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาพาธที่ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แลเป็นผู้พยาบาลได้ง่าย.

องค์ของภิกษุผู้ไม่เข้าใจพยาบาล อย่าง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พยาบาลไข้ที่ประกอบด้วยองค์ ๕ไม่ควรพยาบาลไข้ คือ
1. เป็นผู้ไม่สามารถเพื่อประกอบยา
2. ไม่รู้จักของแสลงและไม่แสลง คือ นำของแสลงเข้าไปให้ กันของไม่แสลงออกเสีย
3. พยาบาลไข้เห็นแก่อามิส ไม่มีจิตเมตตา
4. เป็นผู้เกลียดที่จะนำอุจจาระ ปัสสาวะ เขฬะ หรือของที่อาเจียนออกไป
5. เป็นผู้ไม่สามารถจะชี้แจงให้คนไข้เห็นแจ้งสมาทาน อาจหาญร่าเริง ด้วยธรรมีกถาในกาลทุกเมื่อ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พยาบาลไข้ที่ประกอบด้วยองค์ ๔ นี้แลไม่ควรพยาบาลไข้.

องค์ของภิกษุผู้เข้าใจพยาบาล
อย่าง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พยาบาลไข้ที่ประกอบด้วยองค์ ๕ ควรพยาบาลไข้ คือ
1. เป็นผู้สามารถประกอบยา
2. รู้จักของแสลง และไม่แสลง คือกันของแสลงออก นำของไม่แสลงเข้าไปให้
3. มีจิตเมตตาพยาบาลไข้ ไม่เห็นแก่อามิส
4. เป็นผู้ไม่เกลียดที่จะนำอุจจาระ ปัสสาวะ เขฬะ หรือของที่อาเจียนออกไปเสีย
5. เป็นผู้สามารถที่จะชี้แจงให้คนไข้ เห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญร่าเริง ด้วยธรรมีกถา ในกาลทุกเมื่อ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพยาบาลไข้ที่ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แลควรพยาบาลไข้.

ทรงอนุญาตให้บาตรจีวรของผู้มรณภาพแก่คิลานุปัฏฐาก

[๑๖๗]
ก็โดยสมัยนั้นแลภิกษุรูปเดินทางไกลไปในโกศลชนบทได้เข้าไปอยู่อาวาสแห่งหนึ่งบรรดาภิกษุรูปนั้นรูปหนึ่งอาพาธจึงภิกษุเหล่านั้นได้ปรึกษาตกลงกันดังนี้ว่าอาวุโสทั้งหลายพระผู้มีพระภาค ทรงสรรเสริญ การพยาบาลภิกษุอาพาธผิฉะนั้นพวกเราจงพยาบาลภิกษุรูปนี้เถิดแล้วพากันพยาบาลภิกษุอาพาธนั้น เธออันภิกษุเหล่านั้นพยาบาลอยู่ได้ถึงมรณภาพจึงภิกษุเหล่านั้นถือบาตรจีวรของเธอไปพระนครสาวัตถีตรัสว่า

266 .
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เป็นเจ้าของบาตรจีวร แต่ภิกษุผู้พยาบาลไข้มีอุปการะมาก เราอนุญาตให้สงฆ์มอบไตรจีวรและบาตรแก่ภิกษุผู้พยาบาลไข้.

วิธีให้

267 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงให้ไตรจีวรและบาตรอย่างนี้คือ ภิกษุผู้พยาบาลไข้นั้น พึงเข้าไปหาสงฆ์ แล้วกล่าวอย่างนี้ว่าท่านเจ้าข้า ภิกษุมีชื่อนี้ถึงมรณภาพ นี้จีวรและบาตรของท่าน.ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติย- กรรมวาจา ว่าดังนี้ :-

กรรมวาจาให้จีวรและบาตร
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้ถึงมรณภาพนี้ไตรจีวรและบาตรของเธอ ถ้าความพร้อมพรั่ง ของสงฆ์ถึงที่แล้วสงฆ์พึงให้ไตรจีวรและบาตรนี้ แก่ภิกษุผู้พยาบาลไข้ นี้เป็นญัตติ.
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้ถึงมรณภาพนี้ไตรจีวรและบาตรของเธอ สงฆ์ให้ไตรจีวรและ บาตรนี้ แก่ภิกษุผู้พยาบาลไข้ การให้ไตรจีวรและบาตรนี้แก่ภิกษุผู้พยาบาลไข้ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้น พึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใดท่านผู้นั้นพึงพูด.
สงฆ์ให้จีวรและบาตรนี้แก่ภิกษุผู้พยาบาลไข้แล้ว ชอบแก่สงฆ์เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.
สมัยต่อมาสามเณรรูปหนึ่งถึงมรณภาพตรัสว่า

268 .
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อสามเณรถึงมรณภาพ สงฆ์เป็นเจ้าของบาตรจีวร แต่ภิกษุผู้พยาบาลไข้ มีอุปการะมาก เราอนุญาตให้สงฆ์มอบจีวรและบาตรแก่ภิกษุผู้พยาบาลไข้.

วิธีให้

269. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงให้จีวรและบาตรอย่างนี้ คือ ภิกษุผู้พยาบาลไข้นั้น พึงเข้าไปหาสงฆ์ แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า.ท่านเจ้าข้า สามเณรชื่อนี้ถึงมรณภาพ นี้จีวรและบาตรของเธอ.ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้ :-

กรรมวาจาให้จีวรและบาตร
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สามเณรมีชื่อนี้ถึงมรณภาพนี้จีวรและบาตรของเธอ ถ้าความพร้อมพรั่งของ สงฆ์ถึงที่แล้วสงฆ์พึงให้จีวรและบาตรนี้แก่ผู้พยาบาลไข้ นี้เป็นญัตติท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สามเณรมีชื่อนี้ถึงมรณภาพนี้จีวรและบาตรของเธอ สงฆ์ให้จีวรและบาตรนี้ แก่ภิกษุผู้พยาบาลไข้การให้จีวร และบาตรนี้ แก่ภิกษุผู้พยาบาลไข้ ชอบแก่ท่านผู้ใดท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด.
สงฆ์ให้จีวรและบาตรนี้แก่ภิกษุผู้พยาบาลไข้แล้ว ชอบแก่สงฆ์เหตุนั้นจึงนิ่ง

ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.สมัยต่อมาภิกษุรูปหนึ่งสามเณรรูปหนึ่งช่วยกันพยาบาลภิกษุอาพาธเธออันภิกษุและสามเณรนั้นพยาบาลอยู่ได้ถึงมรณภาพจึงภิกษุผู้พยาบาลไข้นั้นได้มีความปริวิตกว่าเราพึงให้ส่วนจีวรแก่สามเณรผู้พยาบาลไข้อย่างไรหนอตรัสว่า

270.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้มอบส่วนแก่สามเณร ผู้พยาบาลไข้เท่าๆ กัน.สมัยต่อมาภิกษุรูปหนึ่งมีของใช้มากมีบริขารมากได้ถึงแก่มรณภาพตรัสว่า

271 .
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุถึงมรณภาพ สงฆ์เป็นเจ้าของบาตรจีวร แต่ภิกษุผู้พยาบาลไข้มีอุปการะมาก เราอนุญาตให้สงฆ์มอบไตรจีวรและบาตรให้แก่ภิกษุผู้พยาบาลไข้ บรรดาสิ่งของเหล่านั้นสิ่งใดเป็นลหุภัณฑ์ ลหุบริขาร สิ่งนั้นเราอนุญาตให้สงฆ์พร้อมเพรียงกันแบ่ง บรรดาสิ่งของเหล่านั้น สิ่งใดเป็นครุภัณฑ์ครุบริขาร สิ่งนั้นเป็นของสงฆ์ผู้อยู่ในจตุรทิศ ทั้งที่มาแล้วและยังไม่มา ไม่ควรแบ่ง ไม่ควรแจก.

ทรงห้ามสมาทานติตถิยวัตร
[๑๖๘]
272 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสมาทานการเปลือยกายที่พวกเดียรถีย์สมาทาน รูปใดสมาทาน ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
273. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงนุ่งผ้าคากรองอันเป็นธงชัยของเดียรถีย์ รูปใดนุ่ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
274 . … ไม่พึงนุ่งผ้าเปลือกไม้กรอง …
275 . … นุ่งผ้าผลไม้กรอง …
276 . … นุ่งผ้ากัมพลทำด้วยผมคน …
277 . … นุ่งผ้ากัมพลทำด้วยขนสัตว์ …
278 . … นุ่งผ้าทำด้วยปีกนกเค้า …
279. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงทรงหนังเสืออันเป็นธงชัยของเดียรถีย์ รูปใดทรง ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
280. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงนุ่งผ้าทำด้วยก้านดอกรัก รูปใดนุ่งต้องอาบัติทุกกฏ.
281 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงนุ่งผ้าทำด้วยเปลือกปอ รูปใดนุ่งต้องอาบัติทุกกฏ.

หน้า 498
ข้ออนุญาตเกี่ยวกับจีวร
[๑๖๙]
282 . …ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงทรงจีวรสีครามล้วน รูปใดทรง
ต้องอาบัติทุกกฏ.
283. … ไม่พึงทรงจีวรสีเหลืองล้วน …
284 . … ไม่พึงทรงจีวรสีแดงล้วน …
285 . … ไม่พึงทรงจีวรสีบานเย็นล้วน …
286 . … ไม่พึงทรงจีวรสีดำล้วน …
287 . … ไม่พึงทรงจีวรสีแสดล้วน …
288 . … ไม่พึงทรงจีวรสีชมพูล้วน …
289. … ไม่พึงทรงจีวรที่ไม่ตัดชาย …
290. … ไม่พึงทรงจีวรมีชายยาว …
291. … ไม่พึงทรงจีวรมีชายเป็นลายดอกไม้ …
292. … ไม่พึงทรงจีวรมีชายเป็นแผ่น …
293. … ไม่พึงสวมเสื้อ ไม่พึงสวมหมวก …
294. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงทรงผ้าโพก รูปใดทรง ต้องอาบัติทุกกฏ.

หน้า 499
ข้ออนุญาตในการแบ่งจีวร (เพิ่มเติม)
[๑๗๐]
295. …ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ในข้อนี้ ภิกษุที่จำพรรษาแล้ว เมื่อจีวรยังไม่เกิดขึ้น หลีกไปเสีย เมื่อผู้รับแทน ที่สมควรมีอยู่ สงฆ์พึงให้.

296.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในข้อนี้ ภิกษุที่จำพรรษาแล้ว เมื่อจีวรยังไม่เกิดขึ้น สึกเสีย ถึงมรณภาพ ปฏิญาณเป็นสามเณร ปฏิญาณเป็นผู้บอกลาสิกขา ปฏิญาณเป็นผู้ต้องอันติมวัตถุ สงฆ์เป็นเจ้าของ.

297.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในข้อนี้ ภิกษุที่จำพรรษาแล้ว เมื่อจีวรยังไม่เกิดขึ้น ปฏิญาณเป็นผู้วิกลจริต ปฏิญาณเป็นผู้มีจิตฟุ้งซ่านปฏิญาณเป็นผู้กระสับกระส่ายเพราะเวทนา ปฏิญาณเป็นผู้ถูกสงฆ์ยกเสีย ฐานไม่ เห็นอาบัติ ปฏิญาณเป็นผู้ถูกสงฆ์ยกเสียฐานไม่ทำคืนอาบัติ ปฏิญาณเป็นผู้ถูกสงฆ์ยกเสีย ฐานไม่สละ คืนทิฏฐิ อันลามกเมื่อผู้รับแทนที่สมควรมีอยู่ สงฆ์พึงให้.

298.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในข้อนี้ ภิกษุที่จำพรรษาแล้ว เมื่อจีวรยังไม่เกิดขึ้น ปฏิญาณเป็นบัณเฑาะก์ … ปฏิญาณเป็นอุภโตพยัญชนกสงฆ์เป็นเจ้าของ.

299.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในข้อนี้ ภิกษุที่จำพรรษาแล้ว เมื่อจีวรเกิดขึ้นแล้ว แต่ยังไม่ทันได้แบ่งกัน หลีกไปเสีย เมื่อผู้รับแทนที่สมควรมีอยู่

สงฆ์พึงให้
.
300. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในข้อนี้ ภิกษุที่จำพรรษาแล้ว เมื่อจีวรเกิดขึ้นแล้ว แต่ยังไม่ทันได้แบ่งกัน สึกเสีย ถึงมรณภาพ ปฏิญาณเป็นสามเณร ปฏิญาณเป็นผู้บอกลาสิกขา ปฏิญาณเป็นผู้ต้องอันติมวัตถุ

สงฆ์เป็นเจ้าของ
.
301. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในข้อนี้ ภิกษุที่จำพรรษาแล้ว เมื่อจีวรเกิดขึ้น แต่ยังไม่ทันได้แบ่งกัน ปฏิญาณเป็นผู้วิกลจริต ปฏิญาณเป็นผู้มีจิตฟุ้งซ่าน ปฏิญาณเป็นผู้กระสับกระส่ายเพราะเวทนาปฏิญาณเป็นผู้ถูกสงฆ์ยกเสียฐานไม่เห็นอาบัติ ปฏิญาณเป็นผู้ถูกสงฆ์ยกเสียฐาน ไม่ทำคืนอาบัติ ปฏิญาณเป็นผู้ถูกสงฆ์ยกเสียฐานไม่สละคืนทิฏฐิอันลามก เมื่อผู้รับแทนที่สมควรมีอยู่ สงฆ์พึงให้.

302.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในข้อนี้ ภิกษุที่จำพรรษาแล้ว เมื่อจีวรเกิดขึ้นแล้ว แต่ยังไม่ทันได้แบ่งกัน ปฏิญาณเป็นบัณเฑาะก์ … ปฏิญาณเป็นอุภโตพยัญชนก สงฆ์เป็นเจ้าของ.

303.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในข้อนี้ เมื่อจีวรยังไม่เกิดขึ้นแก่ภิกษุทั้งหลายที่จำพรรษาแล้วสงฆ์แตกกัน คนทั้งหลายในถิ่นนั้น ถวายน้ำในฝ่ายหนึ่ง ถวายจีวรในฝ่ายหนึ่ง ด้วยเปล่งวาจาว่า ข้าพเจ้าถวายแก่สงฆ์ นั่นเป็นของสงฆ์ฝ่ายเดียว.

304.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในข้อนี้ เมื่อจีวรยังไม่เกิดขึ้นแก่ภิกษุทั้งหลายที่จำพรรษาแล้วสงฆ์แตกกัน คนทั้งหลายในถิ่นนั้น ถวายน้ำในฝ่ายหนึ่ง ถวายจีวรในฝ่ายนั้นเหมือนกัน ด้วยเปล่งวาจาว่า ข้าพเจ้าถวายแก่สงฆ์ นั่นเป็นของสงฆ์ฝ่ายเดียว.

305.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในข้อนี้ เมื่อจีวรยังไม่เกิดขึ้นแก่ภิกษุทั้งหลายที่จำพรรษาแล้วสงฆ์แตกกัน คนทั้งหลายในถิ่นนั้น ถวายน้ำในฝ่ายหนึ่ง ถวายจีวรในฝ่ายหนึ่ง ด้วยเปล่งวาจาว่า ข้าพเจ้าถวายฝ่ายหนึ่ง นั่นเป็นของเฉพาะฝ่ายหนึ่ง.

306.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในข้อนี้ เมื่อจีวรยังไม่เกิดขึ้นแก่ภิกษุทั้งหลายที่จำพรรษา สงฆ์แตกกัน คนทั้งหลายในถิ่นนั้น ถวายน้ำในฝ่ายหนึ่งถวายจีวรในฝ่ายนั้นเหมือนกัน ด้วยเปล่งวาจาว่า ข้าพเจ้าถวายแก่ ฝ่ายหนึ่ง นั่นเป็นของเฉพาะฝ่ายหนึ่ง.

307. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในข้อนี้ เมื่อจีวรเกิดขึ้นแล้วแก่ภิกษุทั้งหลายที่จำพรรษา แต่ยังมิทันได้แบ่ง สงฆ์แตกกัน พึงแบ่งส่วนให้ภิกษุทุกรูปเท่าๆ กัน.

หน้า 501
ข้ออนุญาตในการฝากจีวร
และการถือวิสาสะ
[๑๗๑]
308. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในข้อนี้ ภิกษุฝากจีวรแก่ภิกษุไปด้วยสั่งว่าจงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้ ภิกษุผู้รับฝากถือเอาเสียในระหว่างทางเพราะวิสาสะต่อผู้ฝาก ชื่อว่าถือเอาถูกต้อง ถือเอาเสีย เพราะวิสาสะต่อผู้รับ ชื่อว่าถือเอาไม่ถูกต้อง.

309.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในข้อนี้ ภิกษุฝากจีวรแก่ภิกษุไปด้วยสั่งว่าจงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้ ภิกษุผู้รับฝากถือเอาเสียในระหว่างทางเพราะวิสาสะต่อผู้รับ ชื่อว่าถือเอาไม่ถูกต้อง ถือเอาเสีย เพราะวิสาสะต่อผู้ฝาก ชื่อว่าถือเอาถูกต้อง.

310.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในข้อนี้ ภิกษุฝากจีวรแก่ภิกษุไปด้วยสั่งว่าจงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้ ภิกษุผู้รับฝากทราบข่าวในระหว่างทางว่า ผู้ฝากถึงมรณภาพเสียแล้ว จึงอธิษฐานเป็นจีวรมรดก ของภิกษุผู้ฝาก ชื่อว่าอธิษฐานถูกต้องแล้ว ถือเอาเสียเพราะวิสาสะต่อผู้รับ ชื่อว่าถือเอาไม่ถูกต้อง.

311 .
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในข้อนี้ ภิกษุฝากจีวรแก่ภิกษุไปด้วยสั่งว่าจงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้ ภิกษุผู้รับฝากทราบข่าวในระหว่างทางว่า ผู้รับถึงมรณภาพเสียแล้ว จึงอธิษฐานเป็นจีวรมรดกของผู้รับ ชื่อว่าอธิษฐานไม่ถูกต้อง ถือเอาเสียเพราะวิสาสะต่อผู้ฝากชื่อว่าถือเอาถูกต้อง.

312 .
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในข้อนี้ ภิกษุฝากจีวรแก่ภิกษุไปด้วยสั่งว่าจงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้ ภิกษุผู้รับฝากทราบข่าวในระหว่างทางว่า ทั้งสองรูปถึงมรณภาพเสียแล้ว จึงอธิษฐานเป็นมรดก ของผู้ฝาก ชื่อว่าอธิษฐานถูกต้อง อธิษฐานเป็นจีวรมรดกของผู้รับชื่อว่าอธิษฐานไม่ถูกต้อง.

313. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในข้อนี้ ภิกษุฝากจีวรแก่ภิกษุไปด้วยสั่งว่าฉันให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้ ภิกษุผู้รับฝากถือเอาเสียในระหว่างทางเพราะวิสาสะต่อผู้ฝาก ชื่อว่าถือเอาไม่ถูกต้อง ถือเอาเสีย เพราะวิสาสะต่อผู้รับ ชื่อว่าถือเอาถูกต้อง.

314 .
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในข้อนี้ ภิกษุฝากจีวรแก่ภิกษุไปด้วยสั่งว่า ฉันให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้ ภิกษุผู้รับฝากถือเอาเสียในระหว่างทางเพราะวิสาสะต่อผู้รับ ชื่อว่าถือเอาถูกต้องถือเอาเสีย เพราะวิสาสะต่อผู้ฝาก ชื่อว่าถือเอาไม่ถูกต้อง.

315 .
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในข้อนี้ ภิกษุฝากจีวรแก่ภิกษุไปด้วยสั่งว่าฉันให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้ ภิกษุผู้ฝากทราบข่าวในระหว่างทางว่า ผู้ฝากถึงมรณภาพเสียแล้ว จึงอธิษฐานเป็นจีวรมรดกของผู้ฝาก ชื่อว่าอธิษฐานไม่ถูกต้อง ถือเอาเสียเพราะวิสาสะต่อผู้รับ ชื่อว่าถือเอาถูกต้อง.

316 .
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในข้อนี้ ภิกษุฝากจีวรแก่ภิกษุไปด้วยสั่งว่า ฉันให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้ ภิกษุผู้รับฝากทราบข่าวในระหว่างทางว่า ผู้รับถึงมรณภาพเสียแล้ว จึงอธิษฐานเป็นจีวรมรดกของผู้รับ ชื่อว่าอธิษฐานถูกต้อง ถือเอาเสียเพราะวิสาสะต่อผู้ฝากชื่อว่าถือเอาไม่ถูกต้อง.

317 .
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในข้อนี้ ภิกษุฝากจีวรแก่ภิกษุไปด้วยสั่งว่าฉันให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้ ภิกษุผู้รับฝากทราบข่าวในระหว่างทางว่า ทั้งสองรูปถึงมรณภาพเสียแล้ว จึงอธิษฐานเป็นจีวร มรดก ของผู้ฝาก ชื่อว่าอธิษฐานไม่ถูกต้อง อธิษฐานเป็นจีวรมรดกของผู้รับ ชื่อว่าอธิษฐานถูกต้อง.

หน้า 503
มาติกาเพื่อจีวรที่เกิดขึ้น ๘
[๑๗๒]
318 . ดูกรภิกษุทั้งหลาย มาติกาเพื่อจีวรเกิดขึ้นนี้ มี ๘ คือ
1. ถวายแก่สีมา
2. ถวายตามกติกา
3. ถวายในสถานที่จัดภิกษา
4. ถวายแก่สงฆ์
5. ถวายแก่อุภโตสงฆ์
6. ถวายแก่สงฆ์ผู้จำพรรษาแล้ว
7. ถวายเจาะจง
8. ถวายแก่บุคคล

จีวรขันธกะ จบ.