เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม

  
หนังสือพุทธวจนออนไลน์   ดูหนังสือทั้งหมด
90 90 90 90 90
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์  
   
ค้นหาคำที่ต้องการ          

  อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น   ที่มา เว็บไซต์ พุทธทาสศึกษา : www.buddhadasa.org ดาวน์โหลดหนังสือ(ไฟล์ PDF)
  
  4 of 13  
 
อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาค 1 หน้า   อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาค 1 หน้า
อ้างอิงเลขหน้าตามหนังสือ     อ้างอิงเลขหน้าตามหนังสือ  
  วิญญาณขันธ์โดยนัยแห่งอริยสัจสี่ 208     เบญจขันธ์เป็นธรรมฝ่ายที่แตกสลายได้ 232
  (ข.) วิภาคแห่งปัญจุปาทานขันธ์ 208-1     เบญจขันธ์ไม่เที่ยง 233
  อุปาทานสี่ 210     เบญจขันธ์เป็นทุกข์ 236
  รากเง่าแห่งอุปาทานขันธ์ 212     เหตุปัจจัยของเบญจขันธ์ก็เป็นทุกข์ 238
  อุปาทานกับอุปาทานขันธ์มิใช่อันเดียวกัน 212-1     เบญจขันธ์เป็นอนัตตา 239
  อุปาทานและที่ตั้งแห่งอุปาทาน 212-2     ขันธ์ ๕ ไม่เป็นไปตามความต้องการของเรา 240
  เบญจขันธ์ได้นามว่า สักกายะ และ สักกายันตะ 214     สิ่งใดมิใช่ของเรา 243
  ที่ติดของสัตว์ 215     เหตุปัจจัยของเบญจขันธ์ก็เป็นอนัตตา 245
  ผู้ติดบ่วง - ผู้หลุดจากบ่วง 216     เบญจขันธ์เป็นภาระที่หนัก 246
  ความสะดุ้งหวาดเสียวเพราะอุปาทาน 217     เบญจขันธ์เป็ นทั้งผู้ฆ่าและผู้ตาย 246-1
         
  ความสะดุ้งหวาดเสียวเพราะอุปาทาน(อีกนัยหนึ่ง) 219     เบญจขันธ์เป็นกองถ่านเถ้ารึง 247
  ลัทธิอื่นไม่รู้จักเรื่องอัตตวาทุปาทาน 219-1     เบญจขันธ์เป็นเครื่องผูกพันสัตว์ 248
  ตอน ๒ ว่าด้วยเบญจขันธ์โดยสรุป 221     เรียกกันว่า “สัตว์” เพราะติดเบญจขันธ์ 249
  มูลฐานแห่งการบัญญัติเบญจขันธ์ (แต่ละขันธ์) 222     ไม่รู้จักเบญจขันธ์ชื่อว่ามีอวิชชา 251
  เบญจขันธ์เป็นที่บัญญัติกฎแห่งสังขตะ 223     เพลินในเบญจขันธ์เท่ากับเพลินในทุกข์ 251-1
  การถูกตราหน้าเพราะอนุสัยในเบญจขันธ์ 224     ต้องละฉันทราคะในเบญจขันธ์ 252
  สัญโญชน์และที่ตั้งแห่งสัญโญชน์ 226      
  ความลับของเบญจขันธ์ 228      
  เบญจขันธ์เนื่องด้วยปัจจัยแห่งความเศร้าหมองและบริสุทธิ์ 230      
 
 





หน้า 208 อ้างอิงเลขหน้าตามหนังสือ
วิญญาณขันธ์โดยนัยแห่งอริยสัจสี่

(เรื่องควรดูประกอบในเล่มนี้ หน้า ๖๘๔)

ภิกษุ ท. ! วิญญาณ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! หมู่แห่งวิญญาณหกเหล่านี้คือ วิญญาณทางตา วิญญาณทางหู วิญญาณทางจมูก วิญญาณทางลิ้น วิญญาณทางกาย และวิญญาณทางใจ.

ภิกษุ ท. ! นี้ เรียกว่า วิญญาณ.ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ มีได้ เพราะความเกิดขึ้นแห่งนามรูป ความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณ มีได้ เพราะความดับไม่เหลือแห่งนามรูป อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้นั่นเอง เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณ ได้แก่
     ความเห็นชอบ
     ความดำริชอบ
     การพูดจาชอบ
     การทำการงานชอบการเลี้ยงชีวิตชอบ
     ความพากเพียรชอบ
     ความระลึกชอบ
     ความตั้งใจมั่นชอบ.


208-1
(
ข.) วิภาคแห่งปัญจุปาทานขันธ์
ภิกษุ ท. ! ปัญจุปาทานขันธ์ เป็นอย่างไรเล่า ?



ภิกษุ ท. ! รูป ชนิดใดชนิดหนึ่ง มีอยู่ จะเป็นอดีต อนาคตหรือปัจจุบันก็ตาม เป็นภายในหรือ ภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม มีในที่ไกลหรือใกล้ก็ตาม ซึ่งยังมีอาสวะ เป็นที่ตั้งอาศัยอยู่แห่งอุปาทาน. ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า รูปขันธ์ที่ยังมี อุปาทาน.

ภิกษุ ท. ! เวทนา ชนิดใดชนิดหนึ่ง มีอยู่ จะเป็นอดีตอนาคตหรือปัจจุบันก็ตาม เป็นภายในหรือ ภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม มีในที่ไกลหรือใกล้ก็ตาม ซึ่งยังมีอาสวะ เป็นที่ตั้งอาศัยอยู่แห่งอุปาทาน. ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า เวทนาขันธ์ที่ยังมี อุปาทาน.

ภิกษุ ท. ! สัญญา ชนิดใดชนิดหนึ่ง มีอยู่ จะเป็นอดีตอนาคตหรือปัจจุบันก็ตาม เป็นภายใน หรือ ภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม มีในที่ไกลหรือใกล้ก็ตาม ซึ่งยังมีอาสวะ เป็นที่ตั้งอาศัยอยู่แห่งอุปาทาน. ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า สัญญาขันธ์ที่ยังมี อุปาทาน.

ภิกษุ ท. ! สังขารทั้งหลาย ชนิดใดชนิดหนึ่ง มีอยู่ จะเป็นอดีตอนาคตหรือปัจจุบันก็ตาม เป็นภายในหรือภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม มีในที่ไกลหรือ ใกล้ก็ตาม ซึ่งยังมีอาสวะ เป็นที่ตั้งอาศัยอยู่แห่งอุปาทาน. ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า สังขารขันธ์ ที่ยังมีอุปาทาน.

ภิกษุ ท. ! วิญญาณ ชนิดใดชนิดหนึ่ง มีอยู่ จะเป็นอดีตอนาคตหรือปัจจุบันก็ตาม เป็นภายใน หรือภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม มีในที่ไกลหรือใกล้ก็ตาม ซึ่งยังมีอาสวะ เป็นที่ตั้งอาศัยอยู่

แห่งอุปาทาน. ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า วิญญาณขันธ์ที่ยังมีอุปาทาน. ภิกษุ ท. ! ขันธ์ที่ยังมี อุปาทานห้าขันธ์เหล่านี้ เรียกว่า ปัญจุปาทานักขันธ์ แล.


210
อุปาทานสี่


ภิกษุ ท. ! อุปาทานมี อย่าง เหล่านี้. สี่อย่างเหล่าไหนเล่า ? สี่ อย่างคือ
     ๑. กามุปาทาน ความถือมั่นใน กาม
     ๒. ทิฏฐุปาทาน ความถือมั่นใน ทิฎฐิ
     ๓. สีลัพพตุปาทาน ความถือมั่นใน ศีลพรต
     ๔. อัตตวาทุปาทาน ความถือมั่นใน วาทะว่าตน.

ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล คือ อุปาทานสี่อย่าง.


212
รากเง่าแห่งอุปาทานขันธ์


ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! อุปาทานขันธ์มีแต่เพียงห้าอย่างคือรูปขันธ์ที่ยังมีอุปาทาน๑ เวทนาขันธ์ ที่ยังมีอุปาทาน๑ สัญญาขันธ์ที่ยังมีอุปาทาน๑ สังขารขันธ์ที่ยังมีอุปาทาน๑ และวิญญาณขันธ์ที่ยังมีอุปาทาน๑ เหล่านี้เท่านั้นหรือ?

ภิกษุ ! อุปาทานขันธ์ มีแต่เพียงห้าอย่าง คือ
     รูปขันธ์ที่ยังมีอุปาทาน ๑
     เวทนาขันธ์ที่ยังมีอุปาทาน ๑
     สัญญาขันธ์ที่ยังมีอุปาทาน ๑
     สังขารขันธ์ที่ยังมีอุปาทาน ๑
     และวิญญาณขันธ์ที่ยังมีอุปาทาน ๑ เหล่านี้เท่านั้น.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! ก็อุปาทานขันธ์ห้าเหล่านี้มีอะไรเป็นรากเง่าเล่าพระเจ้าข้า?”

ภิกษุ! อุปาทานขันธ์ห้าเหล่านี้ มีฉันทะ (ความพอใจ) เป็นรากเง่า แล.


212-1
อุปาทาน กับ อุปาทานขันธ์ มิใช่อันเดียวกัน


ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! อุปาทานนั้นเองหรือชื่อว่าปัญจุปาทานขันธ์เหล่านั้น? หรือว่าอุปทานเป็นอื่นไปจากปัญจุปาทานขันธ์ทั้งหลายเล่า? พระเจ้าข้า ! ”

ภิกษุ ! ตัวอุปาทานนั้น ไม่ใช่ตัวปัญจุปาทานขันธ์ แต่อุปาทานนั้นก็มิได้มีในที่อื่น นอกไปจาก ปัญจุปาทานขันธ์ทั้งหลาย เพราะว่า ตัวฉันทราคะ ที่มีอยู่ในปัญจุปาทานขันธ์ นั่นแหละ คือ ตัวอุปาทานในที่นี้แล.


212 -2
อุปาทาน และ ที่ตั้งแห่งอุปาทาน


ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงสิ่งซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน (อุปาทานิยมธมฺม)และตัวอุปาทาน. พวกเธอทั้งหลาย จงฟังข้อนั้น

ภิกษุ ท. ! สิ่งซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน เป็นอย่างไร ? และ ตัว อุปาทานเป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท. ! รูป (กาย) เป็นสิ่งซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน
ฉันทราคะ
(ความกำหนัดเพราะพอใจ) ใด เข้าไปมีอยู่ในรูปนั้น
นั่นคือ ตัวอุปาทาน ในรูปนั้น

ภิกษุ ท. ! เวทนา เป็นสิ่งซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน
ฉันทราคะใด เข้าไปมีอยู่ในเวทนานั้น
ฉันทราคะนั้น คือ ตัวอุปาทาน ในเวทนานั้น

ภิกษุ ท. ! สัญญา เป็นสิ่งเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน
ฉันทราคะ
ใด เข้าไปมีอยู่ในสัญญานั้น
ฉันทราคะนั้น คือ ตัวอุปาทาน ในสัญญานั้น

ภิกษุ ท. ! สังขาร ทั้งหลาย เป็นสิ่งซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน
ฉันทราคะ
ใด เข้าไปมีอยู่ในสังขารทั้งหลายเหล่านั้น
ฉันทราคะนั้น คือ ตัวอุปาทาน ในสังขารทั้งหลายเหล่านั้น

ภิกษุ ท. ! วิญญาณ เป็นสิ่งซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน
ฉันทราคะ
ใด เข้าไปมีอยู่ในวิญญาณนั้น
ฉันทราคะนั้น คือ ตัวอุปาทาน ในวิญญาณนั้น

ภิกษุ ท. ! ขันธ์เหล่านี้ เรียกว่า สิ่งซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน
ฉันทราคะนี้ เรียกว่า ตัวอุปาทาน แล

 (ในสูตรอื่นทรงแสดงอุปาทานิยธรรมด้วยอายตนะภายในหก (๑๘/๑๑๐/๑๖๐) และอายตนะ ภายนอกหก (๑๘/๑๓๖/๑๙๐).


214
เบญจขันธ์ได้นามว่า สักกายะ และ สักกายันตะ


ภิกษุ ท. ! สักกายะ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! คำตอบ คืออุปาทานขันธ์ทั้งห้า.
ห้าเหล่าไหนเล่า ? ห้าคือ
     รูปขันธ์ ที่ยังมีอุปาทาน ๑
     เวทนาขันธ์ ที่ยังมีอุปาทาน ๑
     สัญญาขันธ์ ที่ยังมีอุปาทาน ๑
     สังขารขันธ์ ที่ยังมีอุปาทาน ๑
     และวิญญาณขันธ์ ที่ยังมีอุปาทาน ๑
ภิกษุ ท. ! นี้ เรียกว่า สักกายะ.

ภิกษุ ท. ! สักกายันตะ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! คำตอบ คืออุปาทานขันธ์ทั้งห้า.
ห้าเหล่าไหนเล่า ? ห้าคือ
     รูปขันธ์ ที่ยังมีอุปาทาน ๑
     เวทนาขันธ์ ที่ยังมีอุปาทาน ๑
     สัญญาขันธ์ ที่ยังมีอุปาทาน ๑
     สังขารขันธ์ ที่ยังมีอุปาทาน ๑
     และวิญญาณขันธ์ ที่ยังมีอุปาทาน ๑
ภิกษุ ท. ! นี้ เรียกว่า สักกายันตะ แล.


215
ที่ติดของสัตว์


ภิกษุ ท. ! สังสารวัฏนี้ เป็นสิ่งที่มีเบื้องต้นและเบื้องปลายอันบุคคลรู้ไม่ได้ (เพราะเป็นวงกลม) เบื้องต้น เบื้องปลาย ไม่ปรากฏ แก่สัตว์ทั้งหลายซึ่งมีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็น เครื่องผูกพัน กำลังแล่นไปอยู่ ท่องเที่ยวไปอยู่

ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนสุนัข ถูกผูกด้วยเครื่องผูกสุนัข ซึ่งเขาผูกไว้ที่หลักหรือเสา อันมั่นคง ถ้ามันจะเดินก็เดินเบียดหลักหรือเสานั้นเอง ถ้ามันจะยืนก็ยืนเบียดหลักหรือเสานั้นเอง ถ้ามันจะนั่ง ก็นั่งเบียดหลักหรือเสานั้นเอง ถ้ามันจะนอนก็นอนเบียดหลักหรือเสานั้นเอง อุปมานี้ฉันใด

ภิกษุ ท. ! อุปไมยก็ฉันนั้น คือ บุถุชน ผู้ไม่ได้ยินได้ฟัง ย่อมตามเห็นพร้อม (คือเห็นดิ่งอยู่ เป็นประจำ) ซึ่ง รูป ว่า “นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ดังนี้ ย่อมตามเห็นพร้อม ซึ่ง เวทนา ว่า “นั่นของเรา (เอตฺ มม)นั่นเป็นเรา (เอโสหมสฺมิ) นั่นเป็นตัวตนของเรา (เอโส เม อตฺตา) ดังนี้

ย่อมตามเห็นพร้อม ซึ่ง สัญญา ว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ดังนี้ ย่อมตาม เห็นพร้อม ซึ่ง สังขาร ทั้งหลาย ว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ดังนี้ และ ย่อมตามเห็นพร้อม ซึ่ง วิญญาณ ว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ดังนี้.

ถ้าบุถุชนนั้นเดินอยู่ก็เดินอยู่ใกล้ๆ ปัญจุปาทานขันธ์นี้เอง ถ้าบุถุชนนั้นยืนอยู่ก็ยืนอยู่ใกล้ ๆปัญจุปาทานขันธ์นี้เอง ถ้าบุถุชนนั้นนั่งอยู่ก็นั่งอยู่ใกล้ๆ ปัญจุปาทานขันธ์นี้เอง ถ้าบุถุชนนั้น นอนอยู่ก็นอนอยู่ใกล้ๆ ปัญจุปาทานขันธ์นี้เอง

ภิกษุ ท. ! เพราะฉะนั้น ในเรื่องนี้ บุคคลควรพิจารณาดูจิตของตนอยู่เสมอไป ว่า “จิตนี้ เศร้าหมองแล้ว ด้วยราคะ โทสะ และโมหะ ตลอดกาลนาน” ดังนี้เถิด


216
ผู้ติดบ่วง
- ผู้หลุดจากบ่วง

ภิกษุ ! บุคคลผู้ยึดมั่นอยู่ เรียกว่ามีเครื่องผูกแห่งมาร. ผู้ไม่ยึดมั่นอยู่ เรียกว่า พ้นแล้วจาก (เครื่องผูกแห่ง) มาร.“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค! ข้าพระองค์เข้าใจซึมซาบแล้ว. ข้าแต่พระสุคต! ข้าพระองค์เข้าใจซึมซาบแล้ว”.

ภิกษุ ! เธอ เข้าใจเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวแล้วโดยย่อ ได้โดยพิสดารว่าอย่างไร ?

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! บุคคลผู้ยึดมั่นอยู่ซึ่งรูป ... ซึ่งเวทนา... ซึ่งสัญญา... ซึ่งสังขาร... ซึ่งวิญญาณชื่อว่ามีเครื่องผูกแห่งมาร; ส่วนผู้ไม่ยึดมั่นอยู่ซึ่งรูป ... ซึ่งเวทนา... ซึ่งสัญญา... ซึ่งสังขาร... ซึ่งวิญญาณชื่อว่าพ้นแล้วจาก (เครื่องผูกแห่ง) มาร. ข้าพระองค์เข้าใจ เนื้อความแห่งคำ อันพระผู้มีพระภาคตรัสแล้วโดยย่อนี้ได้โดยพิสดารอย่างนี้พระเจ้าข้า!”

สาธุ สาธุ ภิกษุ ! เธอ เข้าใจเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวแล้วโดยย่อได้โดยพิสดารอย่างดี. ภิกษุ ! เนื้อความแห่งคำอันเรากล่าวแล้วโดยย่อนี้ บุคคลพึงเห็นโดยพิสดาร อย่างนั้นแหละ.

 [ในสูตรนี้ใช้คำว่า “ยึดมั่นอยู่” (อุปาทิยมาน) สำหรับการติดบ่วง ; ในสูตรอื่นใช้คำว่า “สำคัญมั่นหมายอยู่” (มญฺฌมาน) ก็มี, ใช้คำว่า “หลงเพลิดเพลินอยู่” (อภินนฺทมาน) ก็มี;ซึ่งเป็นคำที่ใช้แทนกันได้. (๑๗/๙๒, ๙๓/๑๔๐, ๑๔๑)].


217
ความสะดุ้งหวาดเสียวเพราะอุปาทาน


ภิกษุ ท. ! เราจักแสดง ความสะดุ้งหวาดเสียวเพราะอุปาทาน.... แก่พวกเธอ. เธอทั้งหลาย จงฟังข้อนั้น กระทำไว้ในใจให้สำเร็จประโยชน์เราจักกล่าวบัดนี้.

ภิกษุ ท. ! ความสะดุ้งหวาดเสียวเพราะอุปาทาน เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ในโลกนี้ บุถุชนผู้ไม่ได้ยินได้ฟัง ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้า ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ถูกแนะนำ ในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ถูกแนะนำในธรรม ของ สัตบุรุษ เขาย่อม ตามเห็นอยู่เป็นประจำซึ่งรูปโดยความเป็นตนบ้าง ย่อมตามเห็นอยู่เป็น ประจำ ซึ่งตนว่ามีรูป บ้าง ย่อมตามเห็นอยู่เป็นประจำ ซึ่งรูปว่ามีอยู่ในตนบ้าง ย่อมตามเห็นอยู่ เป็นประจำ ซึ่งตนว่ามีอยู่ในรูปบ้าง

แต่รูปนั้น ย่อมแปรปรวน ย่อมเป็นโดยประการอื่น แก่เขา วิญญาณของเขาก็เป็นวิญญาณ ที่เปลี่ยนแปลงไปตามความแปรปรวนของรูป เพราะความแปรปรวนของรูปได้มีโดยประการอื่น ( เมื่อเป็นเช่นนั้น) ความเกิดขึ้นแห่งธรรม เป็นเครื่องสะดุ้งหวาดเสียว อันเกิดมาจากการ เปลี่ยนแปลง ไปตามความแปรปรวนของรูปย่อมครอบงำจิตของเขาตั้งอยู่ เพราะความที่จิต ถูกครอบงำด้วยธรรม เป็นเครื่องสะดุ้งหวาดเสียว เขาก็เป็ นผู้หวาดสะดุ้ง คับแค้น พะว้าพะวัง และสะดุ้งหวาดเสียวอยู่ด้วยอุปาทาน

(ในกรณีที่เกี่ยวกับการตามเห็น เวทนา สัญญา สังขาร และ วิญญาณ ก็ได้ตรัสไว้ด้วย ข้อความ ทำนองเดียวกันกับในกรณีแห่งรูป)

ภิกษุ ท. ! ความสะดุ้งหวาดเสียวเพราะอุปาทาน ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้ แล.


219
ความสะดุ้งหวาดเสียวเพราะอุปาทาน(อีกนัยหนึ่ง)


ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงความสะดุ้งหวาดเสียวเพราะอุปาทาน....แก่พวกเธอ. เธอทั้งหลาย จงฟัง ความข้อนั้น จงทำในใจให้สำเร็จประโยชน์ เราจักกล่าวบัดนี้.

ภิกษุ ท. ! ความสะดุ้งหวาดเสียวเพราะอุปาทาน เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ บุถุชนผู้ไม่มีการสดับ ย่อม ตามเห็นอยู่เป็ นประจำซึ่งรูป ว่านั่นของเรา (เอตํ มม) นั่นเป็นเรา (เอโสหมสฺมิ) นั่นเป็นอัตตาของเรา (เอโส เม อตฺตา)” ดังนี้.

แต่รูปนั้น ย่อมแปรปรวน ย่อมเป็นโดยประการอื่น แก่เขา. เพราะความแปรปรวน เป็นโดย ประการอื่นแห่งรูป โสกะปริ-เทวะทุกขะโทมนัส อุปายาสทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้นแก่บุถุชนนั้น.

(ในกรณีแห่งเวทนา สัญญา สังขาร และ วิญญาณ ก็มีข้อความที่ตรัสเหมือนกับ ในกรณีแห่งรูป).

ภิกษุ ท. ! ความสะดุ้งหวาดเสียวเพราะอุปาทาน ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้ แล.


219-1
ลัทธิอื่นไม่รู้จักเรื่องอัตตวาทุปาทาน

ภิกษุ ท. ! อุปาทานมีสี่อย่างเหล่านี้. สี่อย่างเหล่าไหนเล่า ?
สี่อย่างคือ
๑. กามุปาทาน ความถือมั่นในกาม
๒. ทิฏฐุปาทาน ความถือมั่นในทิฏฐิ
๓. สีลัพพตุปาทาน ความถือมั่นในศีลพรต
๔. อัตตวาทุปาทานความถือมั่นในวาทะว่าตน

ภิกษุ ท. ! มีสมณพราหมณ์บางพวก ซึ่งปฏิญาณตัวว่า เป็นผู้กล่าวการรอบรู้ซึ่งอุปาทานทั้งปวง แต่สมณพราหมณ์เหล่านั้น หาได้บัญญัติการรอบรู้ซึ่งอุปาทานทั้งปวงโดยชอบไม่
คือ เขาบัญญัติได้แต่การรอบรู้ ซึ่งกามุปาทาน แต่ไม่บัญญัติการรอบรู้ ซึ่งทิฏฐุปาทาน
ไม่บัญญัติการรอบรู้ ซึ่งสีลัพพตุปาทาน และไม่บัญญัติการรอบรู้ ซึ่งอัตตวาทุปาทาน.

ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? เพราะว่าสมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมไม่รู้จักฐานะ (อุปาทาน) ทั้งสาม (นอกนั้น) เหล่านี้ ตามที่เป็นจริง เพราะเหตุนั้น สมณพราหมณ์เหล่านั้น ทั้งที่ปฏิญาณตัวว่า เป็นผู้กล่าว การรอบรู้ ซึ่งอุปาทานทั้งปวง ก็หาได้บัญญัติการรอบรู้ซึ่งอุปาทานทั้งปวงโดยชอบ ไม่ คือเขาบัญญัติได้แต่การรอบรู้ซึ่งกามุปาทาน แต่ไม่บัญญัติการรอบรู้ ซึ่งทิฏฐุปาทาน ไม่บัญญัติการรอบรู้ซึ่งสีลัพพตุปาทาน และไม่บัญญัติการรอบรู้ ซึ่งอัตตวาทุปาทาน.

ภิกษุ ท. ! มีสมณพราหมณ์อีกบางพวก ซึ่งปฏิญาณตัวว่า เป็นผู้กล่าวการรอบรู้ ซึ่งอุปาทาน ทั้งปวง แต่สมณพราหมณ์เหล่านั้น หาได้บัญญัติการรอบรู้ ซึ่งอุปาทานทั้งปวงโดยชอบไม่ คือ เขาบัญญัติได้แต่การรอบรู้ ซึ่งกามุปาทาน และบัญญัติได้แต่การรอบรู้ ซึ่งทิฏฐุปาทาน แต่ไม่บัญญัติการรอบรู้ ซึ่งสีลัพพตุปาทาน และไม่บัญญัติการรอบรู้ ซึ่งอัตตวาทุปาทาน.

ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? เพราะว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมไม่รู้จักฐานะ (อุปาทาน)ทั้งสอง (นอกนั้น) เหล่านี้ ตามที่เป็นจริง เพราะเหตุนั้น สมณพราหมณ์เหล่านั้น ทั้งที่ปฏิญาณตัวว่า เป็นผู้กล่าวการรอบรู้ ซึ่งอุปาทานทั้งปวง ก็หาได้บัญญัติการรอบรู้ ซึ่งอุปาทานทั้งปวง โดยชอบ ไม่ คือ เขาบัญญัติได้แต่การรอบรู้ซึ่งกามุปาทาน และบัญญัติได้แต่การรอบรู้ ซึ่งทิฏฐุปาทาน แต่ไม่อาจบัญญัติการรอบรู้ ซึ่งสีลัพพตุปาทาน และไม่อาจบัญญัติการรอบรู้ ซึ่ง อัตตวาทุปาทาน.

ภิกษุ ท. ! มีสมณพราหมณ์อีกบางพวก ซึ่งปฏิญาณตัวว่า เป็นผู้กล่าวการรอบรู้ ซึ่งอุปาทาน ทั้งปวง แต่สมณพราหมณ์เหล่านั้น หาได้บัญญัติการรอบรู้ ซึ่งอุปาทานทั้งปวงโดยชอบไม่ คือ เขาบัญญัติได้แต่การรอบรู้ ซึ่งกามุปาทาน บัญญัติได้แต่การรอบรู้ ซึ่ง ทิฏฐุปาทาน และ บัญญัติได้แต่การรอบรู้ ซึ่ง สีลัพพตุปาทาน แต่ไม่อาจบัญญัติการรอบรู้ ซึ่งอัตตวาทุปาทาน

ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? เพราะว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมไม่รู้จักฐานะ(อุปาทาน) หนึ่งอันนี้ ตามที่เป็นจริง เพราะเหตุนั้น สมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งที่ปฏิญาณตัวว่า เป็นผู้กล่าวการรอบรู้ ซึ่ง อุปาทานทั้งปวง ก็หาได้บัญญัติการรอบรู้ ซึ่งอุปาทานทั้งปวง โดยชอบไม่ คือ เขาบัญญัติ ได้แต่การรอบรู้ ซึ่งกามุปาทาน บัญญัติได้แต่การรอบรู้ ซึ่งทิฏฐุปาทาน และบัญญัติได้แต่การ รอบรู้ ซึ่งสีลัพพตุปาทาน แต่ไม่อาจบัญญัติการรอบรู้ซึ่งอัตตาวาทุปาทาน แล


221
ตอน
ว่าด้วยเบญจขันธ์โดยสรุป
เบญจขันธ์เป็นสิ่งที่ควรรอบรู้


ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงสิ่งทั้งหลาย ซึ่งเป็นสิ่งที่ควรรอบรู้ ....พวกเธอทั้งหลายจงฟังข้อนั้น
ภิกษุ ท. ! สิ่งทั้งหลาย ซึ่งเป็นสิ่งที่ควรรอบรู้ เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! รูป เป็นสิ่งที่ควรรอบรู้ เวทนา เป็น สิ่งที่ควรรอบรู้ สัญญาเป็นสิ่งที่ควรรอบรู้ สังขารทั้งหลาย เป็นสิ่งที่ควรรอบรู้, และวิญญาณเป็นสิ่งที่ควรรอบรู้
ภิกษุ ท. ! สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ เรียกว่า สิ่งที่ควรรอบรู้แล


222
มูลฐานแห่งการบัญญัติเบญจขันธ์ (แต่ละขันธ์)


ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! อะไรเป็นเหตุปัจจัยเพื่อการบัญญัติรูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์
สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์เล่า
?
พระเจ้าข้า! ” ภิกษุ! มหาภูต (ธาตุ) สี่อย่าง เป็นเหตุเป็นปัจจัย เพื่อการบัญญัติรูปขันธ์

ภิกษุ! ผัสสะ(การประจวบแห่งอายตนะภายใน และภายนอก และวิญญาณ)
เป็นเหตุเป็นปัจจัย เพื่อการบัญญัติ เวทนาขันธ์
ภิกษุ ! ผัสสะ เป็นเหตุเป็นปัจจัย เพื่อการบัญญัติ สัญญาขันธ์
ภิกษุ ! ผัสสะ เป็นเหตุเป็นปัจจัย เพื่อการบัญญัติ สังขารขันธ์
ภิกษุ ! นามรูป แล เป็นเหตุเป็นปัจจัย เพื่อการบัญญัติ วิญญาณขันธ์


223
เบญจขันธ์เป็นที่บัญญัติกฎแห่งสังขตะ

(เรื่องควรดูประกอบในเล่มนี้หน้า๔๑๕, ๔๓๘, ๔๔๒, ๔๔๘, ๕๐๒, ๘๐๕ / ในพุ.โอ. หน้า๓๙๙, ๔๖๒ / ในปฏิจจ.โอ.หน้า๑๕, ๖๕๕)

อานนท์! ถ้าคนทั้งหลาย จะพึงถามเธออย่างนี้ว่า “ท่านอานนท์! กฎแห่งความบังเกิดขึ้นก็ดีกฎแห่งความเสื่อมไปก็ดีกฎแห่งความเปลี่ยนไปเป็นอย่างอื่นจากที่เป็นอยู่แล้วก็ดีได้ถูกบัญญัติ แล้ว จักถูกบัญญัติและย่อมถูกบัญญัติอยู่แก่ธรรมเหล่าไหนเล่า?” ดังนี้. อานนท์ !เธอถูกถาม อย่างนี้แล้ว จะตอบเขาว่าอย่างไร ?

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! ถ้าคนทั้งหลายจะพึงถามข้าพระองค์เช่นนั้นแล้ว ข้าแต่พระองค์จะตอบ แก่เขาอย่างนี้ว่าผู้มีอายุ! รูปเวทนาสัญญาสังขาร และ วิญญาณเหล่าใดล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว แปรปรวนไปแล้วกฎแห่งความบังเกิดขึ้นก็ดีกฎแห่งความเสื่อมไปก็ดี กฎแห่งความเปลี่ยนไป เป็น อย่างอื่นจากที่เป็นอยู่แล้วก็ดี ได้ถูกบัญญัติแล้วแก่หมู่แห่งธรรมเหล่านั้น.

ผู้มีอายุ
! รูปเวทนาสัญญาสังขารและวิญญาณเหล่าใดยังไม่เกิดยังไม่ปรากฏกฎแห่งความ บังเกิดขึ้นก็ดีกฎแห่งความเสื่อมไปก็ดี กฎแห่งความเปลี่ยนไปเป็นอย่างอื่นจากที่เป็นอยู่แล้วก็ดี จักถูกบัญญัติแก่หมู่แห่งธรรมเหล่านั้น

ผู้มีอายุ
! รูปเวทนาสัญญาสังขารและวิญญาณเหล่าใด เป็นสิ่งเกิดอยู่แล้วปรากฏอยู่แล้วกฎแห่งความบังเกิดขึ้นก็ดีกฎแห่งความเสื่อมไปก็ดี กฎแห่งความเปลี่ยนไปเป็นอย่างอื่น จากที่เป็นอยู่แล้วก็ดี ย่อมถูกบัญญัติอยู่แก่หมู่แห่งธรรมเหล่านั้น.ดังนี้. ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ! ข้าพระองค์เมื่อถูกถามอย่างนั้นจะพึงตอบแก่เขาอย่างนี้.


ถูกแล้ว อานนท์ ! ถูกแล้ว อานนท์ ! รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ เหล่าใด ล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว แปรปรวนไปแล้ว กฎแห่งความบังเกิดขึ้นก็ดี กฎแห่งความเสื่อมไปก็ดี กฎแห่งความเปลี่ยนไปเป็นอย่างอื่นจากที่เป็นอยู่แล้วก็ดี ได้ถูกบัญญัติแล้ว แก่หมู่แห่งธรรม เหล่านั้น.

อานนท์ !รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ เหล่าใด ยังไม่เกิด ยังไม่ปรากฏ แห่งความ บังเกิดขึ้นก็ดี กฎแห่งความเสื่อมไปก็ดี กฎแห่งความเปลี่ยนไปเป็นอย่างอื่นจาก ที่เป็นอยู่แล้ว ก็ดี จักถูกบัญญัติแก่หมู่แห่งธรรมเหล่านั้น.

อานนท์ !รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ เหล่าใด เป็นสิ่งเกิดอยู่แล้ว ปรากฏอยู่แล้ว กฎแห่งความบังเกิดขึ้นก็ดี กฎแห่งความเสื่อมไปก็ดี กฎแห่งความเปลี่ยนไปเป็นอย่างอื่น จากที่เป็นอยู่แล้วก็ดี ย่อมถูกบัญญัติอยู่ แก่หมู่แห่งธรรมเหล่านั้น.

อานนท์ ! เธอ เมื่อถูกถามอย่างนั้นแล้ว พึงตอบแก่เขาอย่างนี้เถิด.


224
การถูกตราหน้าเพราะอนุสัยในเบญจขันธ์

ถูกแล้ว ภิกษุ ! ถูกแล้ว ภิกษุ ! ภิกษุ ! เธอเข้าใจเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวโดยย่อ (ว่าถ้ามีอนุสัยในสิ่งใด จะถูกตราหน้า เพราะสิ่งนั้น) ได้โดยพิสดารอย่างถูกต้องแล้ว

ภิกษุ ! ถ้าบุคคลมีจิตเข้าไปมีอนุสัยใน รูป เขาย่อมถูกตราหน้าเพราะอนุสัยซึ่งเข้าไปมีใน รูป นั้น

ภิกษุ ! ถ้าบุคคลมีจิตเข้าไปมีอนุสัยใน เวทนา เขาย่อมถูกตราหน้าเพราะอนุสัยซึ่งเข้าไปมีใน เวทนา นั้น

ภิกษุ ! ถ้าบุคคลมีจิตเข้าไปมีอนุสัย ในสัญญา เขาย่อมถูกตราหน้าเพราะอนุสัยซึ่งเข้าไปมีใน สัญญา นั้น
..............................................................................................................................................
๑. อนุสัย ในที่นี้ ได้แก่ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย และ อวิชชานุสัย เป็นต้น และเขาจะถูกตรา หน้าว่าเป็นคนกำหนัดแล้ว ด้วยกามราคานุสัย หรือเป็นคนโกรธแล้วด้วยปฏิฆานุสัย หรือว่าเป็น คนหลงแล้วด้วยอวิชชานุสัย ในเพราะรูปเป็นต้น ดังนี้.
..............................................................................................................................................

ภิกษุ ! ถ้าบุคคลมีจิตเข้าไปมีอนุสัยใน สังขารทั้งหลาย เขาย่อมถูกตราหน้า เพราะอนุสัย ซึ่งเข้าไปมีใน สังขารทั้งหลาย นั้น ภิกษุ ! ถ้าบุคคลมีจิตเข้าไปมีอนุสัยใน วิญญาณ เขาย่อม ถูก ตราหน้าเพราะอนุสัย ซึ่งเข้าไปมีใน วิญญาณ นั้น
(ปฏิปักขนัย)

ภิกษุ ! ถ้าบุคคลมีจิตไม่เข้าไปมีอนุสัยใน รูป เขาย่อมไม่ถูกตราหน้า เพราะอนุสัยซึ่งเข้าไปมีใน รูป นั้น

ภิกษุ ! ถ้าบุคคลมีจิตไม่เข้าไปอนุสัยใน เวทนา เขาย่อมไม่ถูกตราหน้า เพราะอนุสัย ซึ่งเข้าไป มี ใน เวทนา นั้น

ภิกษุ ! ถ้าบุคคลมีจิตไม่เข้าไปอนุสัยใน สัญญา เขาย่อมไม่ถูกตราหน้า เพราะอนุสัยซึ่งเข้าไป มีใน สัญญา นั้น

ภิกษุ ! ถ้าบุคคลมีจิตไม่เข้าไปมีอนุสัยใน สังขารทั้งหลาย เขาย่อมไม่ถูกตราหน้า เพราะอนุสัย ซึ่งเข้าไปมีใน สังขารทั้งหลาย นั้น

ภิกษุ ! ถ้าบุคคลมีจิตไม่เข้าไปมีอนุสัยใน วิญญาณ เขาย่อมไม่ถูกตราหน้า เพราะอนุสัย ซึ่งเข้าไปมีใน วิญญาณ นั้นเลย

ภิกษุ ! เนื้อความแห่งภาษิตอันเรากล่าวแล้วโดยย่อนี้ ใคร ๆ พึงเห็นโดยพิสดาร ดังนี้เถิด


226
การถูกตราหน้าเพราะตายตามเบญจขันธ์


ถูกแล้ว ภิกษุ ! ถูกแล้ว ภิกษุ ! เธอเข้าใจเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวโดยย่อ (ว่าถ้ามีอนุสัย ในสิ่งใด ย่อมตายไปตามสิ่งนั้น ตายตามสิ่งใดไปย่อมถูกตราหน้า เพราะสิ่งนั้น) ได้ โดยพิสดาร อย่างถูกต้องแล้ว

ภิกษุ ! ถ้าบุคคลมีจิตเข้าไปมี อนุสัย (ยึดถือเคยชิน) ใน รูป เขาย่อมตายไปตามรูปนั้น ตายตาม สิ่งใดไป เขาย่อมถูกตราหน้า เพราะสิ่งนั้น

ภิกษุ ! ถ้าบุคคลมีจิตเข้าไปมีอนุสัยใน เวทนา เขาย่อมตายไปตามเวทนานั้น ตายตามสิ่งใดไป เขาย่อมถูกตราหน้า เพราะสิ่งนั้น

ภิกษุ ! ถ้าบุคคลมีจิตเข้าไปมีอนุสัยในสัญญา เขาย่อมตายไปตามสัญญานั้น ตายตามสิ่งใดไป เขาย่อมถูกตราหน้าเพราะสิ่งนั้น

ภิกษุ ! ถ้าบุคคลมีจิตเข้าไปมีอนุสัยในสังขารทั้งหลาย เขาย่อมตายไปตามสังขารนั้น ตายตาม สิ่งใดไป เขาย่อมถูกตราหน้าเพราะสิ่งนั้น

ภิกษุ ! ถ้าบุคคลมีจิตเข้าไปมีอนุสัยในวิญญาณ เขาย่อมตายไปตามวิญญาณนั้น ตายตามสิ่งใด ไป เขาย่อมถูกตราหน้าเพราะสิ่งนั้น

(ปฏิปักขนัย)

ภิกษุ ! ถ้าบุคคลมีจิตไม่เข้าไปมีอนุสัยในรูป เขาย่อมไม่ตายไปตามรูปนั้น ไม่ตายตามสิ่งใดไป เขาย่อมไม่ถูกตราหน้าเพราะสิ่งนั้น

ภิกษุ ! ถ้าบุคคลมีจิตไม่เข้าไปมีอนุสัยในเวทนา เขาย่อมไม่ตายไปตามเวทนานั้น ไม่ตายตาม สิ่งใดไป เขาย่อมไม่ถูกตราหน้า เพราะสิ่งนั้น

ภิกษุ ! ถ้าบุคคลมีจิตไม่เข้าไปมีอนุสัยในสัญญา เขาย่อมไม่ตายไปตามสัญญานั้น ไม่ตายตาม สิ่งใดไป เขาย่อมไม่ถูกตราหน้าเพราะสิ่งนั้น

ภิกษุ ! ถ้าบุคคลมีจิตไม่เข้าไปอนุสัยใน สังขารทั้งหลาย เขาย่อมไม่ตายไปตามสังขารนั้น ไม่ตายตามสิ่งใดไป เขาย่อมไม่ถูกตราหน้า เพราะสิ่งนั้น

ภิกษุ ! ถ้าบุคคลมีจิตไม่เข้าไปมีอนุสัยใน วิญญาณ เขาย่อมไม่ตายไปตามวิญญาณนั้น ไม่ตายตามสิ่งใดไป เขาย่อมไม่ถูกตราหน้า เพราะสิ่งนั้น

ภิกษุ ! เนื้อความแห่งภาษิตอันเรากล่าวแล้วโดยย่อนี้ ใคร ๆพึงเห็นโดยพิสดาร ดังนี้เถิด


227
สัญโญชน์และที่ตั้งแห่งสัญโญชน์

(ความยึดถือหรือเครื่องร้อยรัดจิต)


ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงสิ่งซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งสัญโญชน์ (สญฺโญชนิยธมฺม) และตัวสัญโญชน์ พวกเธอทั้งหลาย จงฟังข้อนั้น

ภิกษุ ท. ! สิ่งซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งสัญโญชน์ เป็นอย่างไร ?
และ ตัวสัญโญชน์ เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท. ! รูป (กาย) เป็นสิ่งซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งสัญโญชน์ ฉันทราคะ (ความกำหนัดเพราะพอใจ) ใด เข้าไปมีอยู่ในรูปนั้น ฉันทราคะนั้น คือตัวสัญโญชน์ในรูปนั้น

ภิกษุ ท. ! เวทนา เป็นสิ่งซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งสัญโญชน์ ฉันทราคะใด เข้าไปมีอยู่ในเวทนานั้น ฉันทราคะนั้น คือตัวสัญโญชน์ ในเวทนานั้น

ภิกษุ ท. ! สัญญา เป็นสิ่งซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งสัญโญชน์ ฉันทราคะใด เข้าไปมีอยู่ในสัญญานั้น ฉันทราคะนั้น คือ ตัวสัญโญชน์ ในสัญญานั้น

ภิกษุ ท. ! สังขาร ทั้งหลาย เป็นสิ่งซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งสัญโญชน์ ฉันทราคะใด เข้าไปมีอยู่ใน สังขารทั้งหลายเหล่านั้น ฉันทราคะนั้น คือตัวสัญโญชน์ ในสังขารทั้งหลายเหล่านั้น

ภิกษุ ท. ! วิญญาณ เป็นสิ่งซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งสัญโญชน์ ฉันทราคะใดเข้าไปมีอยู่ในวิญญาณ นั้น ฉันทราคะนั้น คือ ตัวสัญโญชน์ ในวิญญาณนั้น

ภิกษุ ท. ! ขันธ์เหล่านี้ เรียกว่า สิ่งซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งสัญโญชน์ ฉันทราคะนี้เรียกว่า ตัวสัญโญชน์ แล

(ในสูตรอื่นทรงแสดง สัญโญชนิยธรรม ด้วยอายตนะภายในหก (๑๘/๑๑๐/๑๕๙) และอายตนะภายนอกหก)


228
ความลับของเบญจขันธ์


ภิกษุ ท. ! ถ้าหาก อัสสาทะ (รสอร่อย) ของรูปก็ดี ของเวทนาก็ดี ของสัญญาก็ดี ของสังขาร ทั้งหลายก็ดี และของวิญญาณก็ดี เหล่านี้ จักไม่ได้มีอยู่แล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลาย ก็จะไม่กำหนัด ยินดีนักในรูป ในเวทนา ในสัญญาในสังขารทั้งหลาย และในวิญญาณ เหล่านี้

ภิกษุ ท. ! แต่เพราะเหตุที่อัสสาทะของรูปก็ดี ของเวทนาก็ดี ของสัญญาก็ดี ของสังขาร ทั้งหลายก็ดีและของวิญญาณก็ดี มีอยู่ สัตว์ทั้งหลาย จึงกำหนัดยินดีนัก ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขารทั้งหลาย และในวิญญาณ

ภิกษุ ท. ! ถ้าหาก อาทีนพ (โทษ) ของรูปก็ดี ของเวทนาก็ดี ของสัญญาก็ดี ของสังขาร ทั้งหลายก็ดี และของวิญญาณก็ดี เหล่านี้ จักไม่ได้มีอยู่แล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลาย ก็จะไม่ เบื่อหน่ายในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขารทั้งหลายและในวิญญาณ เหล่านี้

ภิกษุ ท. ! แต่เพราะเหตุที่อาทีนพของรูปก็ดี ของเวทนาก็ดี ของสัญญาก็ดี ของสังขาร ทั้งหลายก็ดี และของวิญญาณก็ดี มีอยู่ สัตว์ทั้งหลาย จึงเบื่อหน่ายในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขารทั้งหลายและในวิญญาณ

ภิกษุ ท. ! ถ้าหาก นิสสรณะ (อุบายเครื่องออกพ้นไปได้) จากรูปก็ดีจากเวทนาก็ดี จากสัญญาก็ดี จากสังขารทั้งหลายก็ดี และจากวิญญาณก็ดีเหล่านี้ จักไม่ได้มีอยู่แล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลาย ก็จะไม่ออกไปพ้นได้จากรูปจากเวทนา จากสัญญา จากสังขารทั้งหลาย และจากวิญญาณ เหล่านี้

ภิกษุ ท. ! แต่เพราะเหตุที่ นิสสรณะจากรูปก็ดี จากเวทนาก็ดี จากสัญญาก็ดี จากสังขาร ทั้งหลายก็ดี และจากวิญญาณก็ดี มีอยู่ สัตว์ทั้งหลาย จึงออกไปพ้นได้จากรูป จากเวทนา จากสัญญา จากสังขารทั้งหลาย และจากวิญญาณ ดังนี้ แล


230
เบญจขันธ์เนื่องด้วยปัจจัยแห่งความเศร้าหมองและบริสุทธ์ิ


ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! ปูรณกัสสปะได้กล่าวอย่างนี้ว่า เหตุไม่มีปัจจัยไม่มีเพื่อความเศร้าหมอง ของสัตว์ทั้งหลายสัตว์ทั้งหลายจักเศร้าหมองโดยไม่มีเหตุไม่มีปัจจัย และเหตุไม่มีปัจจัยไม่มี เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลายสัตว์ทั้งหลายย่อมบริสุทธิ์ได้โดยไม่มีเหตุไม่มีปัจจัยดังนี้ในเรื่องนี้พระผู้มีพระภาคเจ้ากล่าวอย่างไร? พระเจ้าข้า !”

มหลิ ! เหตุมีปัจจัยมี เพื่อความเศร้าหมองของสัตว์ทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายจักเศร้าหมอง
เพราะมีเหตุมีปัจจัย
มหลิ ! และเหตุมี ปัจจัยมี เพื่อความบริสุทธ์ิของสัตว์ทั้งหลายสัตว์ทั้งหลาย ย่อมบริสุทธ์ิได้เพราะมีเหตุ มีปัจจัย

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! เหตุปัจจัยเพื่อความเศร้าหมองของสัตว์ทั้งหลายเป็นอย่างไร? และสัตว์ทั้งหลายจักเศร้าหมองเพราะมีเหตุมีปัจจัยอย่างไรเล่า? พระเจ้าข้า!”

มหลิ ! ถ้าหากรูปก็ดี เวทนาก็ดี สัญญาก็ดี สังขารทั้งหลายก็ดีและวิญญาณก็ดี เหล่านี้ จักได้เป็นทุกข์โดยถ่ายเดียว อันทุกข์ตามสนอง หยั่งลงสู่ความทุกข์ ไม่หยั่งลงสู่ความสุข เสียเลยไซร้ สัตว์ทั้งหลาย ก็จะไม่กำหนัดยินดีนักในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ทั้งหลาย และในวิญญาณเหล่านี้

มหลิ ! แต่เพราะเหตุที่ (ตามความรู้สึกของสัตว์ผู้ยังไม่รู้ตามเป็นจริง) รูปก็ดีเวทนาก็ดี สัญญาก็ดี สังขารทั้งหลายก็ดี และวิญญาณก็ดี ยังนำมาซึ่งความสุขอันสุขตามสนอง หยั่งลงสู่ความสุข ไม่หยั่งลงสู่ความทุกข์ก็มีอยู่ สัตว์ทั้งหลาย จึงกำหนัดยินดีนักในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขารทั้งหลาย และในวิญญาณ เพราะความกำหนัดยินดี จึงพัวพันอยู่ในมัน เพราะความพัวพัน จึงเศร้าหมองรอบด้าน

มหลิ ! สิ่งเหล่านี้แหละ เป็นเหตุ เป็นปัจจัย เพื่อความเศร้าหมองของสัตว์ทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลาย ย่อมเศร้าหมองเพราะมีเหตุ มีปัจจัย โดยลักษณะเช่นนี้

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! ก็เหตุปัจจัยเพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลายเป็นอย่างไร? และ สัตว์ทั้งหลายย่อมบริสุทธิ์ได้เพราะมีเหตุมีปัจจัยอย่างไรเล่า? พระเจ้าข้า!”

มหลิ ! ถ้าหากรูปก็ดี เวทนาก็ดี สัญญาก็ดี สังขารทั้งหลายก็ดีและวิญญาณก็ดี เหล่านี้ จักได้ มีสุขโดยถ่ายเดียว อันสุขตามสนอง หยั่งลงสู่ความสุข ไม่หยั่งลงสู่ความทุกข์เสียเลยไซร้ สัตว์ทั้งหลาย ก็จะไม่เบื่อหน่ายในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขารทั้งหลาย และในวิญญาณ เหล่านี้

มหลิ ! แต่เพราะเหตุที่ รูปก็ดี เวทนาก็ดี สัญญาก็ดี สังขารทั้งหลายก็ดีและวิญญาณก็ดี เป็นทุกข์ อันทุกข์ตามสนอง หยั่งลงสู่ความทุกข์ ไม่หยั่งลงสู่ความสุข ก็มีอยู่ สัตว์ทั้งหลาย จึงเบื่อหน่าย ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขารทั้งหลาย และในวิญญาณ. เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมบริสุทธ์ิได้

มหลิ ! สิ่งเหล่านี้แหละ เป็นเหตุเป็นปัจจัยเพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลาย ย่อมบริสุทธิ์ได้ เพราะมีเหตุมีปัจจัย โดยลักษณะเช่นนี้ แล


232
เบญจขันธ์เป็นธรรมฝ่ายที่แตกสลายได้


ภิกษุ ท. ! เราจักแสดง สิ่งซึ่งแตกสลายได้ และ สิ่งซึ่งแตกสลายไม่ได้ พวกเธอทั้งหลาย จงฟังข้อนั้น

ภิกษุ ท.! สิ่งซึ่งแตกสลายได้ เป็นอย่างไร ? และสิ่งซึ่งแตกสลายไม่ได้เป็นอย่างไรเล่า?

ภิกษุ ท. ! รูป เป็นสิ่งซึ่งแตกสลายได้ ส่วนธรรมเป็นที่ดับไม่เหลือเป็นที่สงบระงับ และเป็นที่ เข้าไปตั้งอยู่ไม่ได้ ของรูป นั้น นั่นคือสิ่งซึ่งแตกสลายไม่ได้

ภิกษุ ท. ! เวทนา เป็นสิ่งซึ่งแตกสลายได้ ส่วนธรรมเป็นที่ดับไม่เหลือ เป็นที่สงบระงับและเป็น ที่เข้าไปตั้งอยู่ไม่ได้ ของเวทนานั้น นั่นคือสิ่งซึ่งแตกสลายไม่ได้

ภิกษุ ท. ! สัญญา เป็นสิ่งซึ่งแตกสลายได้ ส่วนธรรมเป็นที่ดับไม่เหลือ เป็นที่สงบระงับ และเป็นที่เข้าไปตั้งอยู่ไม่ได้ ของสัญญานั้น นั่นคือสิ่งซึ่งแตกสลายไม่ได้

ภิกษุ ท. ! สังขารทั้งหลาย เป็นสิ่งซึ่งแตกสลายได้ ส่วนธรรมเป็นที่ดับไม่เหลือ เป็นที่สงบ ระงับ และเป็นที่เข้าไปตั้งอยู่ไม่ได้ ของสังขารทั้งหลายเหล่านั้น นั่นคือสิ่งซึ่งแตกสลายไม่ได้

ภิกษุ ท. ! วิญญาณ เป็นสิ่งซึ่งแตกสลายได้ ส่วนธรรมเป็นที่ดับไม่เหลือ เป็นที่สงบระงับ และเป็นที่เข้าไปตั้งอยู่ไม่ได้ ของวิญญาณนั้น นั่นคือ สิ่งซึ่งแตกสลายไม่ได้ ดังนี้ แล


233
เบญจขันธ์ไม่เที่ยง


ภิกษุ ท. ! รูป เป็นของไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นโดยอย่างอื่นได้
ภิกษุ ท. ! เวทนา เป็นของไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นโดยอย่างอื่นได้
ภิกษุ ท. ! สัญญา เป็นของไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นโดยอย่างอื่นได้
ภิกษุ ท. ! สังขารทั้งหลาย เป็นของไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นโดยอย่างอื่นได้
ภิกษุ ท. ! วิญญาณ เป็นของไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นโดยอย่างอื่นได้ แล.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! คนกล่าวกันว่าสมุทยธรรมสมุทยธรรม’ (มีความก่อขึ้นเป็นธรรมดา) ดังนี้, ก็สมุทยธรรมนั้นเป็นอย่างไรเล่า? พระเจ้าข้า!”

ราธะ ! รูป เป็นสมุทยธรรม เวทนา เป็นสมุทยธรรม สัญญาเป็นสมุทยธรรม สังขารทั้งหลาย เป็นสมุทยธรรม และวิญญาณ เป็นสมุทยธรรม แล

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! คนกล่าวกันว่าวยธรรมวยธรรม (มีความเสื่อมเป็นธรรมดา)’ดังนี้, ก็วยธรรมนั้นเป็นอย่างไรเล่า ? พระเจ้าข้า ! ”ราธะ ! รูป เป็นวยธรรม, เวทนา เป็นวยธรรม, สัญญา เป็นวยธรรม, สังขารทั้งหลาย เป็นวยธรรม, และวิญญาณ เป็นวยธรรม แล.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! คนกล่าวกันว่านิโรธธรรม, นิโรธธรรม (มีความดับเป็นธรรมดา)’ดังนี้, ก็นิโรธธรรมนั้นเป็นอย่างไรเล่า ? พระเจ้าข้า !


ราธะ ! รูปเป็นนิโรธธรรม เวทนาเป็นนิโรธธรรม สัญญาเป็นนิโรธธรรม สังขารทั้งหลาย เป็นนิโรธธรรม และวิญญาณเป็นนิโรธธรรม แล.

ภิกษุ ท. ! รูป ไม่เที่ยง สิ่งใด ไม่เที่ยง สิ่งนั้น เป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้น เป็นอนัตตา สิ่งใด เป็นอนัตตา พึงเห็นสิ่งนั้น ด้วยปัญญาอันชอบ ตามที่เป็นจริง อย่างนี้ว่า “นั่น ไม่ใช่ ของเรา (เนตํ มม) นั่นไม่ใช่เรา(เนโสหมสฺมิ) นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา (น เมโส อตฺตา) ” ดังนี้

ภิกษุ ท. ! เวทนา ไม่เที่ยง สิ่งใด ไม่เที่ยง สิ่งนั้น เป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้น เป็นอนัตตา สิ่งใด เป็นอนัตตา พึงเห็นสิ่งนั้น ด้วยปัญญาอันชอบ ตามที่เป็นจริง อย่างนี้ว่า “นั่น ไม่ใช่ของเรา (เนตํ มม) นั่นไม่ใช่เรา(เนโสหมสฺมิ) นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา (น เมโส อตฺตา) ” ดังนี้

ภิกษุ ท. ! สัญญาไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา พึงเห็นสิ่งนั้น ด้วยปัญญาอันชอบ ตามที่เป็นจริงอย่างนี้ว่า “นั่น ไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา” ดังนี้

ภิกษุ ท. ! สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้น เป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา พึงเห็นสิ่งนั้น ด้วยปัญญาอันชอบ ตามที่เป็นจริงอย่างนี้ว่า “นั่น ไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา” ดังนี้

ภิกษุ ท. ! วิญญาณไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา พึงเห็นสิ่งนั้น ด้วยปัญญาอันชอบ ตามที่เป็นจริงอย่างนี้ว่า “นั่น ไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา” ดังนี้ แล

เหตุปัจจัยของเบญจขันธ์ก็ไม่เที่ยง

ภิกษุ ท. ! รูป ไม่เที่ยง ถึงแม้เหตุ แม้ปัจจัย เพื่อการบังเกิดขึ้นของรูปก็ไม่เที่ยง รูป ที่เกิดจาก เหตุปัจจัย อันไม่เที่ยงแล้ว จักเป็นของเที่ยงได้อย่างไร

ภิกษุ ท. ! เวทนา ไม่เที่ยง ถึงแม้เหตุ แม้ปัจจัย เพื่อการบังเกิดขึ้นของเวทนา ก็ไม่เที่ยง เวทนา ที่เกิดจากเหตุปัจจัย อันไม่เที่ยงแล้ว จักเป็นของเที่ยงได้อย่างไร

ภิกษุ ท. ! สัญญา ไม่เที่ยง ถึงแม้เหตุ แม้ปัจจัย เพื่อการบังเกิดขึ้นของสัญญาก็ไม่เที่ยง สัญญา ที่เกิดจากเหตุปัจจัย อันไม่เที่ยงแล้ว จักเป็นของเที่ยงได้อย่างไร

;ภิกษุ ท. ! สังขารทั้งหลาย ไม่เที่ยง ถึงแม้เหตุ แม้ปัจจัย เพื่อการบังเกิดขึ้นของสังขาร ทั้งหลาย ก็ไม่เที่ยง สังขารที่เกิดจากเหตุปัจจัยอันไม่เที่ยงแล้ว จักเป็นของเที่ยงได้อย่างไร

ภิกษุ ท. ! วิญญาณ ไม่เที่ยง ถึงแม้เหตุ แม้ปัจจัย เพื่อการบังเกิดขึ้นของวิญญาณ ก็ไม่เที่ยง วิญญาณ ที่เกิดจากเหตุปัจจัยอันไม่เที่ยงแล้ว จักเป็นของเที่ยงได้อย่างไร

236
เบญจขันธ์เป็นทุกข์


ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! คนกล่าวกันว่าทุกข์ทุกข์ดังนี้ทุกข์นั้นเป็นอย่างไรเล่า?พระเจ้าข้า!”

ราธะ ! รูป เป็นทุกข์ เวทนา เป็นทุกข์ สัญญา เป็นทุกข์ สังขารทั้งหลาย เป็นทุกข์ และวิญญาณ เป็นทุกข์ แล.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! คนกล่าวกันว่าทุกขธรรมทุกขธรรม (มีทุกข์เป็นธรรมดา) ดังนี้ ก็ทุกขธรรมนั้นเป็นอย่างไรเล่า? พระเจ้าข้า !”

ราธะ ! รูป เป็นทุกขธรรม เวทนา เป็นทุกขธรรม สัญญา เป็นทุกข์ธรรม สังขารทั้งหลาย เป็นทุกขธรรม และวิญญาณ เป็นทุกขธรรม แล.

ภิกษุ ท. ! รูปเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา พึงเห็นสิ่งนั้น ด้วยปัญญาอันชอบ ตามที่เป็นจริงอย่างนี้ว่า “นั่นไม่ใช่ของเรา (เนตํ มม) นั่นไม่ใช่เรา (เนโสหมสฺมิ) นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา(น เมโส อตฺตา)” ดังนี้

ภิกษุ ท. ! เวทนาเป็นทุกข์, สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา พึงเห็นสิ่งนั้น ด้วยปัญญาอันชอบ ตามที่เป็นจริงอย่างนี้ว่า“นั่น ไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่น ไม่ใช่ตัวตน ของเรา” ดังนี้

ภิกษุ ท. ! สัญญา เป็นทุกข์ สิ่งใด เป็นทุกข์ สิ่งนั้น เป็นอนัตตา สิ่งใด เป็นอนัตตา พึงเห็น สิ่งนั้น ด้วยปัญญาอันชอบ ตามที่เป็นจริงอย่างนี้ว่า“นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่น ไม่ใช่ ตัวตนของเรา” ดังนี้

ภิกษุ ท. ! สังขารทั้งหลาย เป็นทุกข์ สิ่งใด เป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใด เป็นอนัตตา พึงเห็นสิ่งนั้น ด้วยปัญญาอันชอบ ตามที่เป็นจริงอย่างนี้ว่า “นั่นไม่ใช่ของเรา (เนตํ มม), นั่น ไม่ใช่เรา (เนโสหมสฺมิ) นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา (น เมโส อตฺตา)” ดังนี้

ภิกษุ ท. ! วิญญาณ เป็นทุกข์ สิ่งใด เป็นทุกข์ สิ่งนั้น เป็นอนัตตา สิ่งใด เป็นอนัตตา พึงเห็น สิ่งนั้น ด้วยปัญญาอันชอบ ตามที่เป็นจริงอย่างนี้ว่า“นั่น ไม่ใช่ของเรา นั่น ไม่ใช่เรา นั่น ไม่ใช่ ตัวตนของเรา” ดังนี้ แล.


238
เหตุปัจจัยของเบญจขันธ์ก็เป็นทุกข์


ภิกษุ ท. ! รูป เป็นทุกข์ ถึงแม้เหตุ แม้ปัจจัย เพื่อการบังเกิดขึ้นของรูป ก็เป็นทุกข์ รูป ที่เกิดจาก เหตุปัจจัย อันเป็นทุกข์แล้ว จักเป็นสุขได้อย่างไร

ภิกษุ ท. ! เวทนา เป็นทุกข์ ถึงแม้เหตุ แม้ปัจจัย เพื่อการบังเกิดขึ้นของเวทนา ก็เป็นทุกข์ เวทนา ที่เกิดจากเหตุปัจจัย อันเป็นทุกข์แล้วจักเป็นสุขได้อย่างไร

ภิกษุ ท. ! สัญญา เป็นทุกข์ ถึงแม้เหตุ แม้ปัจจัย เพื่อการบังเกิดขึ้นของสัญญา ก็เป็นทุกข์ สัญญา ที่เกิดจากเหตุปัจจัย อันเป็นทุกข์แล้วจักเป็นสุขได้อย่างไร

ภิกษุ ท. ! สังขารทั้งหลาย เป็นทุกข์ ถึงแม้เหตุ แม้ปัจจัย เพื่อการบังเกิดขึ้นของสังขาร ทั้งหลาย ก็เป็นทุกข์ สังขาร ที่เกิดจากเหตุปัจจัย อันเป็นทุกข์แล้ว จักเป็นสุขได้อย่างไร

ภิกษุ ท. ! วิญญาณ เป็นทุกข์ ถึงแม้เหตุ แม้ปัจจัย เพื่อการบังเกิดขึ้นของวิญญาณ ก็เป็นทุกข์ วิญญาณ ที่เกิดจากเหตุปัจจัย อันเป็นทุกข์แล้วจักเป็นสุขได้อย่างไร.


239
เบญจขันธ์เป็นอนัตตา


ภิกษุ ท. ! รูป เป็นอนัตตา บุคคลพึงเห็นรูปนั้น ด้วยปัญญาอันชอบ ตามที่เป็นจริงอย่างนี้ว่า “นั่น ไม่ใช่ของเรา (เนตํ มม) นั่น ไม่ใช่เรา (เนโสหมสฺมิ) นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา (น เมโส อตฺตา)” ดังนี้

ภิกษุ ท. ! เวทนา เป็นอนัตตา บุคคล พึงเห็นเวทนานั้น ด้วยปัญญาอันชอบ ตามที่เป็นจริง อย่างนี้ว่า “นั่น ไม่ใช่ของเรา นั่น ไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา” ดังนี้

ภิกษุ ท. ! สัญญา เป็นอนัตตา บุคคล พึงเห็นสัญญานั้น ด้วยปัญญาอันชอบ ตามที่เป็นจริง อย่างนี้ว่า “นั่น ไม่ใช่ของเรา นั่น ไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา” ดังนี้

ภิกษุ ท. ! สังขารทั้งหลาย เป็นอนัตตา บุคคล พึงเห็นสังขารทั้งหลายเหล่านั้น ด้วยปัญญา อันชอบ ตามที่เป็นจริงอย่างนี้ ว่า “นั่น ไม่ใช่ของเรา(เนตํ มม) นั่น ไม่ใช่เรา (เนโสหมสฺมิ) นั่น ไม่ใช่ตัวตนของเรา (น เมโสอตฺตา)” ดังนี้

ภิกษุ ท. ! วิญญาณ เป็นอนัตตา บุคคล พึงเห็นวิญญาณนั้น ด้วยปัญญาอันชอบ ตามที่เป็นจริง อย่างนี้ ว่า “นั่น ไม่ใช่ของเรา นั่น ไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา” ดังนี้ แล


240
ขันธ์
ไม่เป็นไปตามความต้องการของเรา

ภิกษุ ท. ! รูป เป็นอนัตตา. ภิกษุ ท. ! ถ้ารูป จักเป็นอัตตาแล้วไซร้รูปนี้ ก็ไม่พึงเป็นไป เพื่อ อาพาธ (ความถูกเบียดเบียนด้วยโรคเป็นต้น) อนึ่งสัตว์จะพึงได้ในรูปตามปรารถนาว่า รูปของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด รูปของเรา อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย ดังนี้

ภิกษุ ท. ! แต่เพราะเหตุที่ รูปเป็นอนัตตารูป จึงเป็นไปเพื่ออาพาธ อนึ่ง สัตว์ย่อมไม่ได้ในรูป ตามปรารถนาว่ารูปของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด รูปของเรา อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย ดังนี้.

ภิกษุ ท. ! เวทนา เป็นอนัตตา. ภิกษุ ท. ! ถ้าเวทนา จักเป็นอัตตาแล้วไซร้ เวทนานี้ ก็ไม่พึง เป็น เพื่ออาพาธ อนึ่ง สัตว์จะพึงได้ในเวทนาตามปรารถนาว่า เวทนาของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด เวทนาของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย ดังนี้.

ภิกษุ ท. ! แต่เพราะเหตุที่ เวทนา เป็นอนัตตา เวทนาจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ อนึ่ง สัตว์ ย่อมไม่ได้ในเวทนาตามปรารถนาว่า เวทนาของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิดเวทนาของเรา อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย’ ดังนี้

ภิกษุ ท. ! สัญญา เป็นอนัตตา. ภิกษุ ท. ! ถ้าสัญญา จักเป็นอัตตาแล้วไซร้ สัญญานี้ ก็ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ อนึ่ง สัตว์ จะพึงได้ในสัญญาตามปรารถนาว่า ‘สัญญาของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด สัญญาของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย’ ดังนี้

ภิกษุ ท. ! แต่เพราะเหตุที่ สัญญา เป็นอนัตตาสัญญา จึงเป็นไปเพื่ออาพาธ อนึ่ง สัตว์ ย่อมไม่ได้ในสัญญาตามปรารถนาว่าสัญญาของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิดสัญญาของเรา อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย ดังนี้.

ภิกษุ ท. ! สังขารทั้งหลาย เป็นอนัตตา. ภิกษุ ท. ! ถ้าสังขารทั้งหลายจักเป็นอัตตาแล้วไซร้ สังขารทั้งหลายเหล่านี้ ก็ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ อนึ่งสัตว์ จะพึงได้ในสังขารทั้งหลาย ตามปรารถนาว่า สังขารทั้งหลายของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด สังขารทั้งหลายของเรา อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย ดังนี้.

ภิกษุ ท. !แต่เพราะเหตุที่สังขารทั้งหลายเป็นอนัตตา สังขารทั้งหลายจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ อนึ่ง สัตว์ ย่อมไม่ได้ในสังขารทั้งหลายตามปรารถนาว่า สังขารทั้งหลายของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิดสังขารทั้งหลายของเรา อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย ดังนี้.

ภิกษุ ท. ! วิญญาณ เป็นอนัตตา. ภิกษุ ท. ! ถ้าวิญญาณ จักเป็นอัตตาแล้วไซร้ วิญญาณนี้ ก็ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ อนึ่ง สัตว์ จะพึงได้ในวิญญาณตามปรารถนาว่า วิญญาณของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด วิญญาณของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย ดังนี้.

ภิกษุ ท. ! แต่เพราะเหตุที่ วิญญาณเป็นอนัตตาวิญญาณ จึงเป็นไปเพื่ออาพาธ อนึ่ง สัตว์ ย่อมไม่ได้ในวิญญาณตามปรารถนาว่า วิญญาณของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิดวิญญาณของเรา อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย ดังนี้. ....


ภิกษุ ท. ! เพราะฉะนั้น ในกรณีนี้ รูป ชนิดใดชนิดหนึ่งมีอยู่ จะเป็นอดีตอนาคตหรือปัจจุบัน ก็ตาม เป็นภายในหรือภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม มีในที่ไกล หรือใกล้ก็ตาม รูปทั้งปวงนั้น อันใคร ๆพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามที่เป็นจริง อย่างนี้ว่า นั่น ไม่ใช่ของเรา(เนตํ มม) นั่นไม่ใช่เรา (เนโสหมสฺมิ) นั่นไม่ใช่ตัวตน ของเรา ( เมโสอตฺตา) ดังนี้.

ภิกษุ ท. ! เวทนา ชนิดใดชนิดหนึ่ง มีอยู่ จะเป็นอดีตอนาคตหรือปัจจุบันก็ตาม เป็นภายใน หรือภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม มีในที่ไกลหรือใกล้ก็ตาม เวทนาทั้งปวงนั้น อันใคร ๆ พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามที่เป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ ของเรา นั่นไม่ใช่เรานั่น ไม่ใช่ตัวตนของเรา ดังนี้.

ภิกษุ ท. ! สัญญา ชนิดใดชนิดหนึ่ง มีอยู่ จะเป็นอดีตอนาคตหรือปัจจุบันก็ตาม เป็นภายในหรือ ภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม มีในที่ไกลหรือใกล้ก็ตาม สัญญาทั้งปวงนั้น อันใคร ๆพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามที่เป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่น ไม่ใช่ ของเรา นั่นไม่ใช่เรานั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ดังนี้.

ภิกษุ ท. ! สังขารทั้งหลาย ชนิดใดชนิดหนึ่ง มีอยู่ จะเป็นอดีตอนาคตหรือปัจจุบันก็ตาม เป็นภายในหรือภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตามเลวหรือประณีตก็ตาม มีในที่ไกลหรือ ใกล้ก็ตาม สังขารทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้น อันใครๆ พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามที่เป็นจริง อย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ดังนี้.

ภิกษุ ท. ! วิญญาณ ชนิดใดชนิดหนึ่ง มีอยู่ จะเป็นอดีตอนาคตหรือปัจจุบันก็ตาม เป็นภายใน หรือภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม มีในที่ไกลหรือใกล้ก็ตาม วิญญาณทั้งปวงนั้น อันใครๆพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามที่เป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ ของเรา (เนตํ มม) นั่นไม่ใช่เรา (เนโสหมสฺมิ) นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา เมโส อตฺตา) ดังนี้ แล

243
สิ่งใดมิใช่ของเรา


ภิกษุ ท. ! เพราะฉะนั้น ในกรณีนี้, สิ่งใดมิใช่ของพวกเธอ พวกเธอจงละสิ่งนั้นเสีย สิ่งนั้น อันพวกเธอละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขแก่พวกเธอเอง ตลอดกาลนาน

ภิกษุ ท. ! ก็สิ่งใดเล่า มิใช่ของพวกเธอ?

ภิกษุ ท. ! รูป มิใช่ของพวกเธอ พวกเธอจงละรูปนั้นเสีย รูปนั้น อันพวกเธอละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขแก่พวกเธอเอง ตลอดกาลนาน

ภิกษุ ท. ! เวทนา มิใช่ของพวกเธอ พวกเธอจงละเวทนานั้นเสีย เวทนานั้น อันพวกเธอ ละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขแก่พวกเธอเอง ตลอดกาลนาน

ภิกษุ ท. ! สัญญา มิใช่ของพวกเธอ, พวกเธอจงละสัญญานั้นเสีย สัญญานั้น อันพวกเธอ ละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขแก่พวกเธอเอง ตลอดกาลนาน

ภิกษุ ท. ! สังขารทั้งหลาย มิใช่ของพวกเธอ พวกเธอจงละสังขารทั้งหลายเหล่านั้นเสีย สังขารทั้งหลายเหล่านั้น อันพวกเธอละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขแก่พวกเธอเอง ตลอดกาลนาน

ภิกษุ ท. ! วิญญาณ มิใช่ของพวกเธอ, พวกเธอจงละวิญญาณนั้นเสีย วิญญาณนั้น อันพวกเธอละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขแก่พวกเธอเอง ตลอดกาลนาน

ภิกษุ ท. ! พวกเธอจะสำคัญ ความข้อนี้ว่าอย่างไร ? คือข้อที่หญ้าไม้ กิ่งไม้และใบไม้ ใดๆ มีอยู่ ในเชตวันนี้, เมื่อคนเขาขนเอามันไปก็ตามเผาเสียก็ตาม หรือกระทำ ตามความ ต้องการ อย่างใดอย่างหนึ่งก็ตาม พวกเธอเคยเกิด ความคิดอย่างนี้บ้างหรือไม่ ว่า คนเขาขนเอาเราไปบ้าง เขาเผาเราบ้าง เขาทำแก่เราตามความปรารถนาของเขาบ้าง” ดังนี้? “ข้อนั้นหามิได้พระเจ้าข้า !

” ข้อนั้น เพราะเหตุไรเล่า ? “เพราะเหตุว่านั่นหาได้เป็นตัวตนหรือของเนื่องด้วยตัวตนของข้าพระองค์ไม่พระเจ้าข้า!”

ภิกษุ ท. ! ฉันใดก็ฉันนั้น คือ สิ่งใด มิใช่ของพวกเธอ พวกเธอจงละสิ่งนั้นเสีย สิ่งนั้น อันพวกเธอละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์สุข แก่พวกเธอเอง ตลอดกาลนาน แล


245
เหตุปัจจัยของเบญจขันธ์ก็เป็นอนัตตา


ภิกษุ ท. ! รูป เป็นอนัตตา
ถึงแม้เหตุ แม้ปัจจัย เพื่อการบังเกิดขึ้นของรูป ก็เป็นอนัตตา
รูป ที่เกิดจากเหตุปัจจัย อันเป็นอนัตตาแล้ว จักเป็นอัตตาได้อย่างไร

ภิกษุ ท. ! เวทนา เป็นอนัตตา
ถึงแม้เหตุ แม้ปัจจัย เพื่อการบังเกิดขึ้นของเวทนา ก็เป็นอนัตตา
เวทนา ที่เกิดจากเหตุปัจจัย อันเป็นอนัตตาแล้ว จักเป็นอัตตาได้อย่างไร

ภิกษุ ท. ! สัญญา เป็นอนัตตา
ถึงแม้เหตุ แม้ปัจจัย เพื่อการบังเกิดขึ้นของสัญญา ก็เป็นอนัตตา
สัญญา ที่เกิดจากเหตุปัจจัย อันเป็นอนัตตาแล้วจักเป็นอัตตาได้อย่างไร

ภิกษุ ท. ! สังขารทั้งหลาย เป็นอนัตตา
ถึงแม้เหตุ แม้ปัจจัยเพื่อการบังเกิดขึ้นของสังขารทั้งหลาย ก็เป็นอนัตตา
สังขาร ที่เกิดจากเหตุปัจจัย อันเป็นอนัตตาแล้ว จักเป็นอัตตาได้อย่างไร

ภิกษุ ท. ! วิญญาณ เป็นอนัตตา
ถึงแม้เหตุ แม้ปัจจัย เพื่อการบังเกิดขึ้นของวิญญาณ ก็เป็นอนัตตา
วิญญาณที่เกิดจากเหตุปัจจัย อันเป็นอนัตตาแล้ว จักเป็นอัตตาได้อย่างไร แล


246
เบญจขันธ์เป็นภาระที่หนัก


ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงภาระ (ของหนัก)... แก่พวกเธอ
เธอทั้งหลายจงฟังข้อนั้น. ภิกษุ ท. ! อะไรเล่า เป็นของหนัก ?

ภิกษุ ท. ! อุปาทานขันธ์ทั้งห้านั้นแหละ เรากล่าวว่าเป็นของหนัก.
ห้าอย่างเหล่าไหนเล่า ? ห้าอย่างคือ

ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นคือ รูป
ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นคือ เวทนา
ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นคือ สัญญา
ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นคือ สังขาร
และขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นคือ วิญญาณ

ภิกษุ ท. ! นี้ เราเรียกว่า ของหนัก แล


246 -1
เบญจขันธ์เป็
นทั้งผู้ฆ่า และผู้ตาย

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คนกล่าวกันว่า มารมาร ดังนี้, เขากล่าวกันว่า มารเช่นนี้มีความหมายเพียงไรพระเจ้าข้า ?

ราธะ ! เมื่อ (ความยึดถือใน) รูป มีอยู่ มารก็จะมี ผู้ให้ตายก็จะมี หรือผู้ตายก็จะมี
ราธะ ! เมื่อ (ความยึดถือใน) เวทนา มีอยู่ มารก็จะมี ผู้ให้ตายก็จะมี หรือผู้ตายก็จะมี
ราธะ ! เมื่อ (ความยึดถือใน) สัญญา มีอยู่ มารก็จะมี ผู้ให้ตายก็จะมี หรือผู้ตายก็จะมี
ราธะ ! เมื่อ (ความยึดถือใน) สังขารทั้งหลาย มีอยู่ มารก็จะมี ผู้ให้ตายก็จะมี หรือผู้ตายก็จะมี
ราธะ ! เมื่อ (ความยึดถือใน) วิญญาณ มีอยู่ มารก็จะมี ผู้ให้ตายก็จะมี หรือผู้ตายก็จะมี

ราธะ ! เพราะฉะนั้น ในกรณีนี้ เธอ พึงเห็นรูปก็ดี เวทนาก็ สัญญาก็ดี สังขารทั้งหลายก็ดี และวิญญาณก็ดี ว่าเป็นมาร ว่าเป็นผู้ให้ตาย ว่าผู้ตายว่าโรค ว่าหัวฝี ว่าลูกศร ว่าทุกข์ และว่าทุกข์ที่เกิดแล้ว บุคคลเหล่าใดเห็นขันธ์ทั้งห้าในลักษณะเช่นนี้ บุคคลเช่นนั้นชื่อว่าเห็นอยู่โดยชอบ แล


247
เบญจขันธ์เป็นกองถ่านเถ้ารึง

(เถ้ารึง หมายถึงกองเถ้าที่ยังร้อนระอุ)

ภิกษุ ท. ! รูป เป็นกองถ่านเถ้ารึง เวทนา เป็นกองถ่านเถ้ารึง สัญญา เป็นกองถ่านเถ้ารึง สังขารทั้งหลาย เป็นกองถ่านเถ้ารึง และ วิญญาณ เป็นกองถ่านเถ้ารึง

ภิกษุ ท. ! สาวกของพระอริยเจ้า ผู้ได้ยินได้ฟัง เมื่อเห็นอยู่อย่างนี้ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน สัญญา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสังขารทั้งหลาย และย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ แล


248
เบญจขันธ์เป็นเครื่องผูกพันสัตว์

ภิกษุ ท. ! ในโลกนี้ บุถุชน ผู้ไม่ได้ยิน ได้ฟัง ไม่ได้เห็นเหล่าพระอริยเจ้า ไม่ฉลาดในธรรมของ พระอริยเจ้า ไม่ถูกแนะนำในธรรมของพระ-อริยเจ้า ไม่ได้เห็นเหล่าสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรม ของสัตบุรุษ ไม่ถูกแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ

ย่อมตามเห็นพร้อม (คือเห็นดิ่งอยู่เป็นประจำ) ซึ่งรูป โดยความเป็นตน หรือตามเห็นพร้อม ซึ่งตน ว่ามีรูป หรือตามเห็นพร้อม ซึ่งรูปว่ามีอยู่ในตนหรือตามเห็นพร้อม ซึ่งตนว่ามีอยู่ในรูป บ้าง

ย่อมตามเห็นพร้อม
ซึ่งเวทนา โดยความเป็นตน หรือตามเห็นพร้อมซึ่งตน ว่ามีเวทนา หรือตามเห็นพร้อม ซึ่งเวทนาว่ามีอยู่ในตน หรือตามเห็นพร้อม ซึ่งตนว่ามีอยู่ในเวทนา บ้าง

ย่อมตามเห็นพร้อม
ซึ่งสัญญา โดยความเป็นตน หรือตามเห็นพร้อมซึ่งตนว่ามีสัญญา หรือตามเห็นพร้อม ซึ่งสัญญาว่ามีอยู่ในตน หรือตามเห็นพร้อม ซึ่งตนว่ามีอยู่ในสัญญา บ้าง

ย่อมตามเห็นพร้อม ซึ่งสังขารทั้งหลาย โดยความเป็นตน หรือตามเห็นพร้อม ซึ่งตน ว่ามีสังขาร หรือตามเห็นพร้อม ซึ่งสังขารทั้งหลาย ว่ามีอยู่ในตน หรือตามเห็นพร้อม ซึ่งตนว่ามีอยู่ในสังขารทั้งหลาย บ้าง

ย่อมตามเห็นพร้อม
ซึ่งวิญญาณ โดยความเป็นตน หรือตามเห็นพร้อม ซึ่งตน ว่ามีวิญญาณ หรือตามเห็นพร้อม ซึ่งวิญญาณ ว่ามีอยู่ในตนหรือตามเห็นพร้อม ซึ่งตนว่ามีอยู่ในวิญญาณ บ้าง

ภิกษุ ท. ! บุถุชนผู้ไม่ได้ยินได้ฟังนี้ เราเรียกว่า ผู้ถูกผูกพันด้วยเครื่องผูกพันคือรูปบ้าง ผู้ถูก ผูกพัน ด้วยเครื่องผูกพันคือเวทนาบ้าง ผู้ถูกผูกพันด้วยเครื่องผูกพันคือสัญญาบ้าง ผู้ถูกผูกพัน ด้วยเครื่องผูกพันคือสังขารทั้งหลายบ้าง ผู้ถูกผูกพันด้วยเครื่องผูกพันคือวิญญาณบ้าง

เป็นผู้ถูกผูกพันด้วยเครื่องผูกพันทั้งภายในและภายนอก เป็นผู้ไม่เห็นฝั่งนี้ (คือวัฏฏสงสาร) เป็นผู้ไม่เห็นฝั่งโน้น (คือนิพพาน) เกิดอยู่อย่างผู้มีเครื่องผูกพันแก่อยู่อย่างผู้มีเครื่อง ผูกพัน ตายอยู่อย่างผู้มีเครื่องผูกพัน จากโลกนี้ไปสู่โลกอื่นอย่างผู้มีเครื่องผูกพัน แล


249
เรียกกันว่า
สัตว์เพราะติดเบญจขันธ์
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คนกล่าวกันว่า สัตว์สัตว์ดังนี, เขากล่าวกันว่า สัตว์เช่นนี้มีความหมาย เพียงไร? พระเจ้าข้า!”

ราธะ ! ฉันทะ (ความพอใจ) ราคะ (ความกำหนัด) นันทิ (ความเพลิน) ตัณหา (ความทะยาน อยาก) ใด ๆ มีอยู่ ในรูป สัตว์ ย่อมเกี่ยวข้อง ย่อมติดในรูปนั้น ด้วยฉันทราคะเป็นต้นนั้น เพราะฉะนั้น สัตว์นั้น จึงถูกเรียกว่า“สัตว์ (ผู้ข้องติด)” ดังนี้

ราธะ ! ฉันทะ ราคะ นันทิ ตัณหา ใด ๆ มีอยู่ในเวทนา
สัตว์ย่อมเกี่ยวข้อง ย่อมติดในเวทนานั้น ด้วยฉันทราคะเป็นต้นนั้น
เพราะฉะนั้นสัตว์นั้น จึงถูกเรียกว่า “สัตว์” ดังนี้

ราธะ ! ฉันทะ ราคะ นันทิ ตัณหา ใด ๆ มีอยู่ในสัญญา
สัตว์ย่อมเกี่ยวข้อง ย่อมติดในสัญญานั้น ด้วยฉันทราคะเป็นต้นนั้น
เพราะฉะนั้นสัตว์นั้น จึงถูกเรียกว่า “สัตว์” ดังนี้

ราธะ ! ฉันทะ ราคะ นันทิ ตัณหา ใด ๆ มีอยู่ในสังขารทั้งหลาย
สัตว์ย่อมเกี่ยวข้อง ย่อมติดในสังขารทั้งหลายเหล่านั้น ด้วยฉันทราคะเป็นต้นนั้น
เพราะฉะนั้น สัตว์นั้น จึงถูกเรียกว่า “สัตว์” ดังนี้

ราธะ ! ฉันทะ ราคะ นันทิ ตัณหา ใดๆ มีอยู่ในวิญญาณ สัตว์ย่อมเกี่ยวข้อง ย่อมติดในวิญญาณนั้น ด้วยฉันทราคะเป็นต้นนั้น
เพราะฉะนั้นสัตว์นั้น
จึงถูกเรียกว่าสัตว์ดังนี้ แล


251
ไม่รู้จักเบญจขันธ์ชื่อว่ามีอวิชชา


ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! คนกล่าวกันว่าอวิชชาอวิชชาดังนี้. ก็อวิชชานั้นเป็นอย่างไร? และบุคคลชื่อว่ามีอวิชชาด้วยเหตุเพียงไรเล่า? พระเจ้าข้า!”

ภิกษุ ! ในโลกนี้ บุถุชน ผู้ไม่ได้ยินได้ฟัง ย่อมไม่รู้จักรูป ไม่รู้จักเหตุให้เกิดของรูป ไม่รู้จัก ความ ดับไม่เหลือของรูป ไม่รู้จักทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของรูป

เขาย่อมไม่รู้จักเวทนา ไม่รู้จักเหตุให้เกิดของเวทนา ไม่รู้จักความดับไม่เหลือของเวทนา
ไม่รู้จักทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของเวทนา

เขาย่อมไม่รู้จักสัญญา ไม่รู้จักเหตุให้เกิดของสัญญา ไม่รู้จักความดับไม่เหลือของสัญญา
ไม่รู้จักทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของสัญญา

เขาย่อม ไม่รู้จักสังขารทั้งหลาย ไม่รู้จักเหตุให้เกิดของสังขารทั้งหลาย ไม่รู้จักความดับ ไม่เหลือ ของสังขารทั้งหลาย ไม่รู้จักทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของสังขารทั้งหลาย

และเขาย่อม ไม่รู้จักวิญญาณ ไม่รู้จักเหตุให้เกิดของวิญญาณ ไม่รู้จักความดับไม่เหลือ
ของวิญญาณ ไม่รู้จักทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของวิญญาณ

ภิกษุ ! ความไม่รู้นี้เราเรียกว่า อวิชชา’และบุคคลชื่อว่ามีอวิชชาด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้ แล


251-1
เพลินในเบญจขันธ์เท่ากับเพลินในทุกข์


ภิกษุ ท. ! ผู้ใด เพลิดเพลินอยู่ในรูป ผู้นั้น เท่ากับ เพลิดเพลินอยู่ในสิ่งที่เป็นทุกข์
เรากล่าวว่า “ผู้ใด เพลิดเพลินอยู่ ในสิ่งที่เป็นทุกข์
ผู้นั้น ย่อมไม่หลุดพ้นไปได้จากทุกข์” ดังนี้

ภิกษุ ท. ! ผู้ใด เพลิดเพลิน อยู่ในเวทนา ผู้นั้น เท่ากับเพลิดเพลินอยู่ ในสิ่งที่เป็นทุกข์
เรากล่าวว่า “ผู้ใด เพลิดเพลินอยู่ ในสิ่งที่เป็นทุกข์
ผู้นั้น ย่อมไม่หลุดพ้นไปได้จากทุกข์” ดังนี้

ภิกษุ ท. ! ผู้ใด เพลิดเพลินอยู่ ในสัญญา ผู้นั้น เท่ากับเพลิดเพลินอยู่ในสิ่งที่เป็นทุกข์.
เรากล่าวว่า “ผู้ใด เพลิดเพลินอยู่ ในสิ่งที่เป็นทุกข
ผู้นั้น ย่อมไม่หลุดพ้นไปได้จากทุกข์” ดังนี้

ภิกษุ ท. ! ผู้ใด เพลิดเพลินอยู่ ในสังขารทั้งหลาย ผู้นั้น เท่ากับเพลิดเพลินอยู่ ในสิ่งที่เป็น ทุกข์ เรากล่าวว่า “ผู้ใด เพลิดเพลินอยู่ ในสิ่งที่เป็นทุกข์
ผู้นั้น ย่อมไม่หลุดพ้นไปได้จากทุกข์” ดังนี้

ภิกษุ ท. ! ผู้ใด เพลิดเพลินอยู่ ในวิญญาณ ผู้นั้น เท่ากับเพลิดเพลินอยู่ ในสิ่งที่เป็นทุกข์ เรากล่าวว่า “ผู้ใด เพลิดเพลินอยู่ในสิ่งที่เป็นทุกข์
ผู้นั้น ย่อมไม่หลุดพ้นไปได้จากทุกข์” ดังนี้ แล


252
ต้องละฉันทราคะ ในเบญจขันธ์


ภิกษุ ท. ! สิ่งใดไม่เที่ยง พวกเธอพึงละฉันทราคะ (ความกำหนัดเพราะพอใจ) ในสิ่งนั้น
ภิกษุ ท. ! ก็สิ่งใดเล่าไม่เที่ยง ?

ภิกษุ ท. ! รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง และ วิญญาณ ไม่เที่ยง พวกเธอพึงละฉันทราคะในสิ่งนั้น

ภิกษุ ท. ! คือสิ่งใด ที่ไม่เที่ยงพวกเธอพึงละฉันทราคะในสิ่งนั้นแหละ

ภิกษุ ท. ! สิ่งใดเป็นทุกข์ พวกเธอพึงละฉันทราคะ (ความกำหนัดเพราะพอใจ)ในสิ่งนั้น
ภิกษุ ท. ! ก็สิ่งใดเล่าเป็นทุกข์ ?

ภิกษุ ท. ! รูปเป็นทุกข์ เวทนาเป็นทุกข์ สัญญาเป็นทุกข์ สังขารทั้งหลายเป็นทุกข์ และ วิญญาณ เป็นทุกข์ พวกเธอพึงละฉันทราคะในสิ่งนั้น

ภิกษุ ท. ! คือสิ่งใด ที่เป็นทุกข์ พวกเธอพึงละฉันทราคะในสิ่งนั้นแหละ

ภิกษุ ท. ! สิ่งใดเป็นอนัตตา พวกเธอพึงละฉันทราคะ (ความกำหนัดเพราะพอใจ)ในสิ่งนั้น ภิกษุ ท. ! ก็สิ่งใดเล่าเป็นอนัตตา ?

ภิกษุ ท. ! รูป เป็นอนัตตา เวทนา เป็นอนัตตา สัญญา เป็นอนัตตา สังขารทั้งหลาย เป็นอนัตตา และวิญญาณ เป็นอนัตตา พวกเธอพึงละฉันทราคะในสิ่งนั้น

ภิกษุ ท. ! คือสิ่งใด ที่เป็นอนัตตา พวกเธอพึงละฉันทราคะในสิ่งนั้นแหละ

นิทเทส

ว่าด้วยทุกข์สรุปในปัญจุปาทานขันธ์

จบ นิทเทส